คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 ม. 122

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 24 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3679/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำพิพากษาศาลเยาวชนฯ ที่ต้องห้ามตามกฎหมาย
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้ส่งตัวจำเลยไปฝึกและอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนมีกำหนดขั้นต่ำคนละ 2 ปี ขั้นสูงคนละ 4 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษา กรณีเป็นเรื่องกำหนดวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน ซึ่งต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 121 เว้นแต่ (3) ถ้าเป็นกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ส่งเด็กหรือเยาวชนไปกักและอบรมตามมาตรา 105 มีกำหนดระยะเวลาขั้นสูงเกิน 3 ปี จึงจะอุทธรณ์ได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ส่งจำเลยไปฝึกและอบรมขั้นต่ำ 2 ปี และขั้นสูง 4 ปี จึงมิใช่การส่งไปกักและอบรม อุทธรณ์ของจำเลยก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับกำหนดวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน ทั้งไม่ปรากฏว่ามีการอนุญาตให้อุทธรณ์ตามมาตรา 122จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยไว้ และศาลอุทธรณ์ภาค 9 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวรับพิจารณาและมีคำพิพากษาคดีจึงไม่ชอบ จำเลยย่อมไม่มีสิทธิฎีกาต่อมา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3679/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์และการฎีกาคดีเยาวชน: การกำหนดวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนและข้อจำกัดในการอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้ส่งตัวจำเลยไปฝึกและอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนมีกำหนดขั้นต่ำคนละ 2 ปี ขั้นสูงคนละ 4 ปีนับแต่วันมีคำพิพากษากรณีเป็นเรื่องกำหนดวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนซึ่งต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 121เว้นแต่ (3) ถ้าเป็นกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ส่งเด็กหรือเยาวชนไปกักและอบรมตามมาตรา 105 มีกำหนดระยะเวลาขั้นสูงเกิน 3 ปีจึงจะอุทธรณ์ได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ส่งจำเลยที่ 4 ไปฝึกและอบรมขั้นต่ำ 2 ปีและขั้นสูง 4 ปี มิใช่การส่งไปกักและอบรมตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวฯมาตรา 121(3) ข้อยกเว้นดังกล่าว ในส่วนอุทธรณ์ของจำเลยก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับกำหนดวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน ทั้งไม่ปรากฏว่ามีการ อนุญาตให้อุทธรณ์ตามมาตรา 122 จึงต้องห้ามมิให้จำเลยอุทธรณ์ตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยไว้ และศาลอุทธรณ์แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวรับพิจารณาและมีคำพิพากษาคดีจึงไม่ชอบ จำเลยที่ 4 ย่อมไม่มีสิทธิฎีกาต่อมา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3679/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คดีเยาวชนที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้ฝึกอบรม ต้องเป็นกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้กักและอบรมตามมาตรา 105 และมีกำหนดระยะเวลาเกิน 3 ปี
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้ส่งตัวจำเลยไปฝึกและอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนมีกำหนดขั้นต่ำคนละ2 ปี ขั้นสูงคนละ 4 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษา กรณีเป็นเรื่องกำหนดวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน ซึ่งต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 121 เว้นแต่ (3)ถ้าเป็นกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ส่งเด็กหรือเยาวชนไปกักและอบรมตามมาตรา 105 มีกำหนดระยะเวลาขั้นสูงเกิน 3 ปีจึงจะอุทธรณ์ได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ส่งจำเลยไปฝึกและอบรมขั้นต่ำ 2 ปีและขั้นสูง 4 ปี จึงมิใช่การส่งไปกักและอบรม อุทธรณ์ของจำเลยก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับกำหนดวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน ทั้งไม่ปรากฏว่ามีการอนุญาตให้อุทธรณ์ตามมาตรา 122 จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยไว้ และศาลอุทธรณ์ภาค 9แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวรับพิจารณาและมีคำพิพากษาคดีจึงไม่ชอบ จำเลยย่อมไม่มีสิทธิฎีกาต่อมา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2825/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาในคดีเยาวชนต้องห้ามตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนฯ ไม่มีอำนาจอนุญาตฎีกา
คดีที่ต้องห้ามฎีกาตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534มาตรา 124 ไม่มีบทบัญญัติใดให้อำนาจอธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัว หรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวอนุญาตให้ฎีกาได้ดังเช่นกรณีอุทธรณ์ตามมาตรา 121 และกรณีไม่อาจนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221 โดยอาศัยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 6 มาใช้บังคับแก่กรณีนี้ได้ แม้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจะอนุญาตให้ฎีกาก็เป็นการไม่ชอบ และเมื่อคดีต้องห้ามฎีกาแล้วก็ไม่จำต้องส่งสำนวนไปให้ผู้พิพากษาที่ระบุตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221 มีคำสั่งเกี่ยวกับคำร้องขออนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2825/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การห้ามฎีกาในคดีเยาวชนและครอบครัว แม้ผู้พิพากษาอนุญาตก็ไม่ชอบ
คดีที่ต้องห้ามฎีกาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 124 ไม่มีบทบัญญัติใดให้อำนาจอธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัว หรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวอนุญาตให้ฎีกาได้ดังเช่นกรณีอุทธรณ์ตามมาตรา 121 และกรณีไม่อาจนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ.มาตรา 221 โดยอาศัย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 6 มาใช้บังคับแก่กรณีนี้ได้ แม้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจะอนุญาตให้ฎีกาก็เป็นการไม่ชอบ และเมื่อคดีต้องห้ามฎีกาแล้วก็ไม่จำต้องส่งสำนวนไปให้ผู้พิพากษาที่ระบุตาม ป.วิ.อ.มาตรา 221 มีคำสั่งเกี่ยวกับคำร้องขออนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2383/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คดีเยาวชนและครอบครัวที่ศาลเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการส่งตัวไปฝึกอบรม และข้อยกเว้นการห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
คดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 121 แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 นั้น ต้องห้ามอุทธรณ์แต่เฉพาะกรณีที่โจทก์อุทธรณ์เกี่ยวกับการที่ศาลใช้ดุลพินิจเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการส่งตัวไปฝึกและอบรมเท่านั้น คดีนี้แม้ศาลชั้นต้นจะพิพากษาให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการส่งตัวไปฝึกและอบรมที่สถานพินิจเป็นเวลาไม่เกิน 2 ปี แต่โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงว่าจำเลยกระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดหรือไม่ ไม่ได้อุทธรณ์เกี่ยวกับการที่ศาลใช้ดุลพินิจเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการส่งตัวไปฝึกและอบรม ฉะนั้นโจทก์จะอุทธรณ์ได้หรือไม่จึงต้องพิจารณาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความเหมือนคดีธรรมดา ไม่จำต้องได้รับอนุญาตจากผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวตามมาตรา 122 ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวแต่อย่างใด
การจะพิจารณาว่าคดีจะอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้หรือไม่นั้น ต้องพิจารณาอัตราโทษที่บัญญัติไว้ในกฎหมายตามฟ้อง แม้ศาลชั้นต้นจะพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 295 , 83 ซึ่งอัตราโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่โจทก์อุทธรณ์ว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวการในความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหายซึ่งตาม ป.อ. มาตรา 288 , 80 , 83 ระวางโทษไว้สองในสามส่วนของโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี ซึ่งเป็นอัตราโทษสูงกว่าที่กำหนดไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ โจทก์จึงอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7427/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาในคดีเยาวชนที่ศาลชั้นต้นเปลี่ยนโทษเป็นสถานพินิจฯ และข้อจำกัดการฎีกาตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนฯ
ศาลชั้นต้นเปลี่ยนโทษจำคุกจำเลยที่ 2 เป็นส่งตัวไปฝึกอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนไม่เกินสามปี กรณีจึงไม่เข้าข้อยกเว้นตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 121(1) คดีจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อที่เกี่ยวกับการใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนแต่เนื่องจากมาตรา 122 กำหนดว่าในคดีซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 121 ถ้าอธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวหรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวเห็นว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาค และอนุญาตให้อุทธรณ์ก็ให้รับอุทธรณ์นั้นไว้พิจารณาต่อไป ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2อุทธรณ์ขอให้รอการกำหนดโทษหรือรอการลงโทษโดยผู้พิพากษาหัวหน้าศาลชั้นต้นแผนกคดีเยาวชนและ ครอบครัวอนุญาตให้อุทธรณ์ คดีจึงขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 3 ได้ แต่สำหรับการฎีกานั้นตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวฯมาตรา 124 คงมีความหมายว่า คดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 121 นั้นย่อมต้องห้ามฎีกาไปด้วย โดยไม่มีบทบัญญัติใดให้อำนาจอธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวหรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวอนุญาตให้ฎีกาได้ดังเช่นกรณีอุทธรณ์ เพราะหากกฎหมายประสงค์จะให้มีการอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาดังกล่าวได้แล้วก็ชอบที่จะบัญญัติไว้โดยชัดแจ้งเช่นเดียวกับการอนุญาตให้อุทธรณ์ตามมาตรา 122 ด้วย กรณีไม่อาจนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221โดยอาศัย พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวฯมาตรา 6 มาใช้บังคับแก่กรณีนี้ได้ ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2ฎีกาขอให้รอการกำหนดโทษหรือรอการลงโทษโดยผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวอนุญาตให้ฎีกาและศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 2 มานั้นจึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6701/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาในคดีเยาวชนที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวไปฝึกอบรม ไม่อาจฎีกาได้หากไม่ได้รับอนุญาต
ในคดีที่ศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลเยาวชนและครอบครัวได้กำหนดให้ใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตามมาตรา 104ที่มิใช่การพิพากษาหรือมีคำสั่งให้ส่งเด็กหรือเยาวชนไปเพื่อกักและอบรมมีกำหนดระยะเวลาเกินสามปีแล้ว ย่อมต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อที่ศาลใช้ดุลพินิจกำหนดวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนและคู่ความจะอุทธรณ์ได้ต่อเมื่อ อธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัว หรือ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวอนุญาตให้อุทธรณ์ ในข้อดังกล่าวได้เท่านั้น คดีที่ศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาคแผนกคดีเยาวชนและ ครอบครัวได้พิพากษาหรือมีคำสั่ง ให้ฎีกาคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น ไปยังศาลฎีกาได้ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณา ความเหมือนคดีธรรมดา เว้นแต่กรณีที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ ตามมาตรา 121 ซึ่งมีความหมายว่า คดีที่ศาลต้องห้ามอุทธรณ์ ตามมาตรา 121 นั้น ย่อมต้องห้ามฎีกาไปด้วย โดยไม่มีบทบัญญัติ ใดให้อำนาจอธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัว หรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวอนุญาตให้ฎีกาได้ดังเช่นกรณีอุทธรณ์ ศาลเยาวชนและครอบครัวซึ่งเป็นศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษ จำเลยจำคุก 6 เดือน และให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวไปฝึก และอบรมมีกำหนดขั้นต่ำ 1 ปี ขั้นสูง 2 ปี นับแต่วันพิพากษา ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณา คดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 104(2) คดีจึงต้องห้าม อุทธรณ์ในข้อที่เกี่ยวกับการใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน เมื่อ จำเลยอุทธรณ์ขอให้ลงโทษสถานเบาหรือรอการลงโทษแก่จำเลย โดยผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวอนุญาต ให้อุทธรณ์ได้ และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนคดีจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาดังกล่าวตามมาตรา 124 ทั้งคดีไม่อาจมีการอนุญาต ให้ฎีกาในปัญหาดังกล่าวได้ด้วย และกรณีไม่อาจนำบทบัญญัติ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221โดยอาศัยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 6มาใช้บังคับแก่กรณีนี้ได้ การที่จำเลยฎีกาขอให้ลงโทษสถานเบา และรอการลงโทษโดยผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัว อนุญาตให้ฎีกา และศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาจำเลยมานั้น เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว ไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6701/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์และฎีกาในคดีเยาวชนและครอบครัว: การใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน
ในคดีที่ศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลเยาวชนและครอบครัวได้กำหนดให้ใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตามมาตรา 104 ที่มิใช่การพิพากษาหรือมีคำสั่งให้ส่งเด็กหรือเยาวชนไปเพื่อกักและอบรมมีกำหนดระยะเวลาเกินสามปีแล้ว ย่อมต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อที่ศาลใช้ดุลพินิจกำหนดวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนและคู่ความจะอุทธรณ์ได้ต่อเมื่ออธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัว หรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวอนุญาตให้อุทธรณ์ในข้อดังกล่าวได้เท่านั้น
คดีที่ศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาคแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวได้พิพากษาหรือมีคำสั่ง ให้ฎีกาคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นไปยังศาลฎีกาได้ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความเหมือนคดีธรรมดา เว้นแต่กรณีที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามมาตรา 121 ซึ่งมีความหมายว่า คดีที่ศาลต้องห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 121 นั้น ย่อมต้องห้ามฎีกาไปด้วย โดยไม่มีบทบัญญัติใดให้อำนาจอธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวหรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวอนุญาตให้ฎีกาได้ดังเช่นกรณีอุทธรณ์
ศาลเยาวชนและครอบครัวซึ่งเป็นศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยจำคุก 6 เดือน และให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวไปฝึกและอบรมมีกำหนดขั้นต่ำ 1 ปี ขั้นสูง 2 ปี นับแต่วันพิพากษา ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 104 (2)คดีจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อที่เกี่ยวกับการใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน เมื่อจำเลยอุทธรณ์ขอให้ลงโทษสถานเบาหรือรอการลงโทษแก่จำเลยโดยผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวอนุญาตให้อุทธรณ์ได้ และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนคดีจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาดังกล่าวตามมาตรา 124 ทั้งคดีไม่อาจมีการอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาดังกล่าวได้ด้วย และกรณีไม่อาจนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ.มาตรา 221โดยอาศัย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 6 มาใช้บังคับแก่กรณีนี้ได้ การที่จำเลยฎีกาขอให้ลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษโดยผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวอนุญาตให้ฎีกา และศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาจำเลยมานั้น เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2888/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คดีเยาวชนและครอบครัว: ข้อจำกัดในการอุทธรณ์การกำหนดวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนฯ
ศาลเยาวชนและครอบครัวซึ่งเป็นศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 335(1)(3)(11) วรรคสาม ประกอบด้วยมาตรา 83ขณะกระทำความผิดจำเลยมีอายุ 15 ปีเศษ ลดมาตราส่วนโทษให้กึ่งหนึ่ง ลงโทษจำคุก 2 ปี ให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปควบคุม เพื่อฝึกและอบรมยังสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน มีกำหนดขั้นต่ำ 1 ปี ขั้นสูง 1 ปี 6 เดือน อันเป็นกรณีที่ศาลเยาวชนและครอบครัวกำหนดให้ใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดี เยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 104 มิใช่เป็นกรณีที่ ศาลเยาวชนและครอบครัวพิพากษาหรือมีคำสั่งให้ส่งเด็กหรือเยาวชน ไปเพื่อกักและอบรมมีกำหนดระยะเวลาเกินสามปี ซึ่งต้องห้ามมิให้ อุทธรณ์ในข้อที่ศาลเยาวชนและครอบครัวใช้ดุลพินิจกำหนด วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 121 คดีจึงไม่ต้องห้ามมิให้จำเลยอุทธรณ์ ว่าพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบแตกต่างขัดแย้งกันและไม่มีน้ำหนัก ให้ฟังว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิด เพราะเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงที่มิได้เกี่ยวกับการใช้ดุลพินิจกำหนด วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น
of 3