คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1653

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 22 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1274/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีอื่น และการวินิจฉัยนอกประเด็นเกี่ยวกับรูปแบบพินัยกรรม
โจทก์ฟ้องว่าพินัยกรรมของ อ. ซึ่งยกทรัพย์มรดกให้จำเลยเป็นพินัยกรรมปลอม ให้จำเลยแบ่งมรดกของ อ.ให้แก่โจทก์กึ่งหนึ่ง ปรากฏว่าอีกคดีหนึ่งซึ่งจำเลยร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของ อ. ตามพินัยกรรม และโจทก์คัดค้านว่าเป็นพินัยกรรมปลอมนั้น คดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลล่างว่า มิใช่พินัยกรรมปลอมคำพิพากษาดังกล่าวย่อมผูกพันคู่ความในคดีนี้ด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 ดังนั้น ในคดีนี้โจทก์จะกล่าวอ้างว่าพินัยกรรมดังกล่าวเป็นพินัยกรรมปลอมหาได้ไม่
แม้พินัยกรรมจะมิได้ลงชื่อผู้พิมพ์พินัยกรรมตามมาตรา 1671ก็ตาม หาก อ. ผู้ทำพินัยกรรมเป็นผู้จัดพิมพ์พินัยกรรมเองก็ไม่จำต้องลงชื่อระบุว่าเป็นผู้พิมพ์พินัยกรรมตามมาตราดังกล่าว ทั้งพินัยกรรมที่มิได้ลงชื่อผู้พิมพ์ก็หาทำให้พินัยกรรมเป็นโมฆะไม่ เพราะมาตรา 1705หาได้บัญญัติให้พินัยกรรมที่ทำไม่ถูกต้องตามมาตรา 1671เป็นโมฆะด้วยไม่
คดีมีประเด็นว่าพินัยกรรมตามที่จำเลยอ้างเป็นพินัยกรรมปลอมหรือไม่ ไม่มีข้อเท็จจริงโต้เถียงกันว่าจำเลยเป็นผู้เขียนหรือผู้พิมพ์พินัยกรรมหรือไม่แต่อย่างใดการที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกข้อเท็จจริงซึ่งคู่ความมิได้นำสืบและมิใช่ประเด็นแห่งคดี โดยฟังว่าจำเลยเป็นผู้พิมพ์พินัยกรรม แล้วนำมาวินิจฉัยปรับเป็นข้อกฎหมายว่าจำเลยต้องห้ามมิให้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมพินัยกรรมตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1653,1705ย่อมเป็นการชี้ขาดตัดสินคดีนอกฟ้องนอกประเด็น แม้ปัญหาดังกล่าวจะเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ก็จะต้องเป็นข้อกฎหมายที่เกิดจากข้อเท็จจริงในการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1274/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีอื่น และการพิจารณาประเด็นนอกฟ้องในคดีแพ่งเกี่ยวกับพินัยกรรม
โจทก์ฟ้องว่าพินัยกรรมของ อ. ซึ่งยกทรัพย์มรดกให้จำเลยเป็นพินัยกรรมปลอมให้จำเลยแบ่งมรดกของ อ. ให้แก่โจทก์กึ่งหนึ่ง ปรากฏว่าอีกคดีหนึ่งซึ่งจำเลยร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของ อ. ตามพินัยกรรม และโจทก์คัดค้านว่าเป็นพินัยกรรมปลอมนั้น คดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลล่างว่า มิใช่พินัยกรรมปลอม คำพิพากษาดังกล่าวย่อมผูกพันคู่ความในคดีนี้ด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 ดังนั้น ในคดีนี้โจทก์จะกล่าวอ้างว่าพินัยกรรมดังกล่าวเป็นพินัยกรรมปลอมหาได้ไม่
แม้พินัยกรรมจะมิได้ลงชื่อผู้พิมพ์พินัยกรรมตามมาตรา 1671 ก็ตาม หาก อ. ผู้ทำพินัยกรรมเป็นผู้จัดพิมพ์พินัยกรรมเองก็ไม่จำต้องลงชื่อระบุว่า เป็นผู้พิมพ์พินัยกรรมตามมาตรา ดังกล่าว ทั้งพินัยกรรมที่มิได้ลงชื่อผู้พิมพ์ก็หาทำให้พินัยกรรมเป็นโมฆะไม่ เพราะมาตรา 1705 หาได้บัญญัติให้พินัยกรรมที่ทำไม่ถูกต้องตามมาตรา 1671 เป็นโมฆะด้วยไม่
แม้พินัยกรรมจะมิได้ลงชื่อผู้พิมพ์พินัยกรรมตามมาตรา 1671 ก็ตาม หาก อ. ผู้ทำพินัยกรรมเป็นผู้จัดพิมพ์พินัยกรรมเองก็ไม่จำต้องลงชื่อระบุว่าเป็นผู้พิมพ์พินัยกรรมตามมาตราดังกล่าว ทั้งพินัยกรรมที่มิได้ลงชื่อผู้พิมพ์ก็หาทำให้พินัยกรรมเป็นโมฆะไม่ เพราะมาตรา 1705 หาได้บัญญัติให้พินัยกรรมที่ทำไม่ถูกต้องตามมาตรา 1671 เป็นโมฆะด้วยไม่
คดีมีประเด็นว่า พินัยกรรมตามที่จำเลยอ้างเป็นพินัยกรรมปลอมหรือไม่ ไม่มีข้อเท็จจริงโต้เถียงกันว่า จำเลยเป็นผู้เขียนหรือผู้พิมพ์พินัยกรรมหรือไม่แต่อย่างใด การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกข้อเท็จจริงซึ่งคู่ความมิได้นำสืบ และมิใช่ประเด็นแห่งคดี โดยฟังว่าจำเลยเป็นผู้พิมพ์พินัยกรรม แล้วนำมาวินิจฉัยปรับเป็นข้อกฎหมายว่าจำเลยต้องห้ามมิให้รับทรัพย์ตามพินัยกรรม พินัยกรรมตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1653, 1705 ย่อมเป็นการชี้ขาดตัดสินคดีนอกฟ้องนอกประเด็น แม้ปัญหาดังกล่าวจะเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ก็จะต้องเป็นข้อกฎหมายที่เกิดจากข้อเท็จจริงในการดำเนินการกระบวนพิจารณาโดยชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2268/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกข้อต่อสู้ใหม่ในฎีกา และการไม่ยกประเด็นในชั้นอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่วินิจฉัย
จำเลยฎีกาว่า ตามพินัยกรรมมีชื่อสามีของโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมลงชื่อเป็นพยานด้วย. โดยจำเลยไม่ได้ยกข้อเท็จจริงข้อนี้ขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในศาลชั้นต้น และจำเลยฎีกาว่าที่พิพาทต้องตกเป็นของจำเลยตามข้อตกลงแบ่งทรัพย์ระหว่างจำเลยกับเจ้ามรดก ซึ่งเจ้ามรดกมิได้บอกล้าง โดยจำเลยมิได้ยกปัญหาข้อนี้ขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์คงกล่าวแก้อุทธรณ์โจทก์เพียงข้อเดียวว่า พินัยกรรมตามฟ้องไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย ดังนี้ ศาลฎีกาวินิจฉัยปัญหาทั้งสองข้อนี้ให้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2268/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกข้อต่อสู้ใหม่ในชั้นฎีกาที่ไม่เคยกล่าวอ้างในชั้นศาลล่าง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยฎีกาว่า ตามพินัยกรรมมีชื่อสามีของโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมลงชื่อเป็นพยานด้วย โดยจำเลยไม่ได้ยกข้อเท็จจริงข้อนี้ขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในศาลชั้นต้น และจำเลยฎีกาว่าที่พิพาทต้องตกเป็นของจำเลยตามข้อตกลงแบ่งทรัพย์ระหว่างจำเลยกับเจ้ามรดก ซึ่งเจ้ามรดกมิได้บอกล้าง โดยจำเลยมิได้ยกปัญหาข้อนี้ขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์คงกล่าวแก้อุทธรณ์โจทก์เพียงข้อเดียวว่า พินัยกรรมตามฟ้องไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย ดังนี้ ศาลฎีกาวินิจฉัยปัญหาทั้งสองข้อนี้ให้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 816/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรส, พินัยกรรม, การครอบครองปรปักษ์ และข้อยกเว้นการเป็นพยานในคดี
สามีภริยาซึ่งทำการสมรสกันก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ สินสมรสของภริยามีอยู่ 1 ใน 3 และของสามีมีอยู่ 2 ใน 3
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1477 สามีภริยาทำพินัยกรรมยกทรัพย์อันเป็นสินบริคณห์ให้แก่ผู้อื่นได้เฉพาะแต่ที่เป็นส่วนของตนเท่านั้น
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1653 ผู้เขียนหรือพยานในพินัยกรรมจะเป็นผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมไม่ได้เท่านั้น มิได้ห้ามศาลไม่ให้รับฟังคำบุคคลเหล่านี้เป็นพยาน
ผู้ที่ครอบครองมิได้มีเจตนาครอบครองที่พิพาทไม่มีทางได้กรรมสิทธิ์
เดิม โจทก์มอบอำนาจให้ไวยาวัจกรดำเนินคดี ต่อมาไวยาวัจกรตาย โจทก์จึงมอบอำนาจให้บุคคลอีกคนหนึ่งดำเนินคดีต่อไปในชั้นฎีกา ผู้รับมอบอำนาจคนหลังจึงมีสิทธิยื่นฎีกาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 816/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรส, พินัยกรรม, การครอบครอง และการเพิกถอนพินัยกรรม: สิทธิในทรัพย์สินหลังการสมรส
สามีภริยาซึ่งทำการสมรสกันก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ สินสมรสของภริยามีอยู่ 1 ใน3 และของสามีมีอยู่ 2 ใน 3
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1477 สามีภริยาทำพินัยกรรมยกทรัพย์อันเป็นสินบริคณห์ให้แก่ผู้อื่นได้เฉพาะแต่ที่เป็นส่วนของตนเท่านั้น
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1653 ผู้เขียนหรือพยานในพินัยกรรมจะเป็นผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมไม่ได้เท่านั้น มิได้ห้ามศาลไม่ให้รับฟังคำบุคคลเหล่านี้เป็นพยาน
ผู้ที่ครอบครองมิได้มีเจตนาครอบครองที่พิพาท ไม่มีทางได้กรรมสิทธิ์
เดิมโจทก์มอบอำนาจให้ไวยาวัจกรดำเนินคดี ต่อมาไวยาวัจกรตาย โจทก์จึงมอบอำนาจให้บุคคลอีกคนหนึ่งดำเนินคดีต่อไปในชั้นฎีกาผู้รับมอบอำนาจคนหลังจึงมีสิทธิยื่นฎีกาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 336/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมสมบูรณ์แม้มีผู้รับทรัพย์ลงนามเป็นพยาน แต่สิทธิรับทรัพย์เป็นโมฆะ
การที่ผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมลงนามเป็นพยานในพินัยกรรมด้วยนั้นมีผลทำให้เป็นผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมนั้นไม่ได้แต่สภาพแห่งการลงนามเป็นพยานในพินัยกรรมนั้นและพินัยกรรมนั้นยังสมบูรณ์อยู่สำหรับผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมที่ไม่ได้ลงนามเป็นพยานด้วยผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมลงนามเป็นผู้รับมอบทรัพย์ตามพินัยกรรมนั้นได้ไม่ถือว่าการลงนามนั้นเป็นพยานในพินัยกรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 336/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยานในพินัยกรรมเป็นผู้รับทรัพย์ไม่ได้ แต่สภาพการเป็นพยานไม่เสียไป พินัยกรรมสมบูรณ์หากมีพยานเพียงพอ
การที่ผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมลงนามเป็นพยานในพินัยกรรมด้วยนั้น มีผลทำให้เป็นผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมนั้นไม่ได้ แต่สภาพแห่งการลงนามเป็นพยานในพินัยกรรมหาเสียตามไปไม่ คงยังถือว่าเป็นพยานในพินัยกรรมนั้น และพินัยกรรมนั้นยังสมบูรณ์อยู่ สำหรับผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมที่ไม่ได้ลงนามเป็นพยานด้วย
ผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมลงนามเป็นผู้รับมอบทรัพย์ตามพินัยกรรมนั้นได้ ไม่ถือว่าการลงนามนั้นเป็นพยานในพินัยกรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1233/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำพินัยกรรม การตีความเจตนาผู้ทำพินัยกรรม และสถานะผู้รับผลประโยชน์ในฐานะนิติบุคคล
การระบุไว้ในเอกสารที่ทำขึ้นว่าเป็นหนังสือพินัยกรรมและมีบุคคลหลายคนเซ็นเป็นพยานลุกนั่ง และได้กล่าวถึงกิริยาอาการของผู้ทำเอกสารว่าเป็นปกติ เหล่านี้ เป็นไปตามแบบแห่งการทำพินัยกรรมโดยทั่วๆไป เมื่อฟังประกอบกับเจตนาของผู้ทำที่ปรากฏในเอกสารทั้งฉบับรวมกัน เห็นได้ว่าเป็นการกำหนดการเผื่อตายแล้ว ก็ย่อมเข้าลักษณะเป็นพินัยกรรมตามกฎหมายโดยชอบ
ทำพินัยกรรมยกทรัพย์ให้วัดโดยเจ้าอาวาสลงชื่อเป็นพยานในพินัยกรรมด้วยนั้นหาทำให้พินัยกรรมเป็นโมฆะไม่ เพราะวัดเป็นนิติบุคคล จึงย่อมเป็นอีกบุคคลหนึ่งต่างหากจากเจ้าอาวาส แม้เจ้าอาวาสจะเป็นผู้แทนของวัด และความประสงค์ของนิติบุคคลย่อมแสดงปรากฏจากผู้แทนทั้งหลายของนิติบุคคลก็ดี ก็ไม่มีผลทางกฎหมายให้เจ้าอาวาสกับวัดรวมมาเป็นบุคคลคนเดียวกันได้ จึงไม่ถือว่าวัดเป็นพยานในพินัยกรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1233/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำพินัยกรรมโดยมีผู้รับประโยชน์เป็นพยาน และการตีความเจตนาของผู้ทำพินัยกรรม
การระบุไว้ในเอกสารที่ทำขึ้นว่าเป็นหนังสือพินัยกรรม และมีบุคคลหลายคนเซ็นเป็นพยานลุกนั่งและได้กล่าวถึงกิริยาอาการของผู้ทำเอกสารว่าเป็นปกติ เหล่านี้ เป็นไปตามแบบแห่งการทำพินัยกรรมโดยทั่ว ๆ ไป เมื่อฟังประกอบกันเจตนาของผู้ทำที่ปรากฏในเอกสารทั้งฉบับรวมกัน เห็นได้ว่าเป็นการกำหนดเผื่อตายแล้ว ก็ย่อมเข้าลักษณะเป็นพินัยกรรมตามกฎหมายโดยชอบ
ทำพินัยกรรมยกทรัพย์ให้วัดโดยเจาอาวาสลงชื่อเป็นพยานในพินัยกรรมด้วยนั้น หาทำให้พินัยกรรมเป็นโมฆะไม่ เพราะวัดเป็นนิติบุคคล จึงย่อมเป็นอีกบุคคลหนึ่งต่างหากจากเจ้าอาวาส แม้เจ้าอาวาสจะเป็นผู้แทนของวัดและความประสงค์ของนิติบุคคลย่อมแสดงปรากฎจากผู้แทนทั้งหลายของนิติบุคคลก็ดี ก็ไม่มีผลทางกฎหมายให้เจ้าอาวาสกับวัดรวมมาเป็นบุคคลคนเดียวกันได้ จึงไม่ถือว่าวัดเป็นพยานในพินัยกรรม
of 3