พบผลลัพธ์ทั้งหมด 29 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7601/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีขับไล่ที่ดิน: การต่อสู้กรรมสิทธิ์โดยอ้างสิทธิของบุคคลอื่น ทำให้เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยอ้างว่าเป็นเจ้าของที่ดินพิพาท จำเลยให้การว่า จำเลยอยู่ในที่พิพาทโดยอาศัยสิทธิของ ส. ที่พิพาทเป็นของ ส. มิใช่ของโจทก์ เป็นการยกข้อต่อสู้ว่าที่พิพาทเป็นของบุคคลอื่นจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยต่อสู้กรรมสิทธิ์ ส่วนคำให้การของจำเลยในตอนท้ายที่ว่า จำเลยและ ส. ได้ครอบครองที่พิพาทโดยสงบ เปิดเผยและมีเจตนาเป็นเจ้าของเกินกว่า 10 ปีแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยเป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งขัดแย้งกันเอง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง แต่เป็นคำให้การที่เข้าใจได้ว่า จำเลยปฏิเสธฟ้องโจทก์โดยสิ้นเชิง และเป็นเพียงข้อเถียงข้อกล่าวหาของโจทก์ว่าจำเลยมิได้บุกรุกที่พิพาทตามคำฟ้องเท่านั้น จะแปลว่าเป็นคำให้กาที่ต่อสู้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทมิได้ เพราะจำเลยให้การว่าอยู่ในที่พิพาทโดยอาศัยสิทธิของบุคคลอื่น จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ไม่อยู่ในอำนาจศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6234/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
องค์คณะผู้พิพากษาคดีอาญา – ศาลชั้นต้นต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อย 2 คน
คำพิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงมีผู้พิพากษานายเดียวลงนามให้จำคุกจำเลย 1 ปี ในความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสไม่ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25 (5) ซึ่งจะต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อย 2 คน เป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 26 กรณีจึงเป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายศาลอุทธรณ์ภาค 7 ยังไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี ศาลฎีกาให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้องเสียก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5943/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาลงโทษจำคุกเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดโดยผู้พิพากษาคนเดียว ทำให้คำพิพากษาไม่ชอบ
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 1 ปี และปรับ 5,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี และให้คุมความประพฤติจำเลยไว้ แต่มีผู้พิพากษาลงนามในคำพิพากษาคนเดียว จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (5) ทั้งนี้เพราะผู้พิพากษาคนเดียวจะพิพากษาลงโทษจำคุกเกินหกเดือน หรือปรับเกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งโทษจำคุกหรือปรับอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างเกินอัตราที่กล่าวแล้วไม่ได้ คำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4637/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีแพ่งหลังศาลมีคำสั่งฟื้นฟูกิจการ: ศาลฎีกาอนุญาตฟ้องได้หากมูลหนี้เกิดหลังมีคำสั่งฟื้นฟู
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลล้มละลายมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องฟ้องลูกหนี้เป็นคดีแพ่ง อันเป็นการขอให้ศาลล้มละลายมีคำสั่งเพื่อแก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกข้อจำกัดสิทธิของผู้ร้องตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/13 ประกอบมาตรา 90/12(4) เมื่อศาลล้มละลายได้มีคำสั่งยกคำร้องอันถือได้ว่าเป็นคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดคดีของศาลในส่วนที่เกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการ ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามมาตรา 90/79(4)
การขออนุญาตฟ้องลูกหนี้ผู้ร้องหลังจากที่ศาลล้มละลายมีคำสั่งรับคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/12(4) เป็นเรื่องสำคัญ เพราะกรณีของผู้ร้องยังมีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยให้กระจ่างชัดว่า ผู้ร้องอาจขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการได้ตามมาตรา 90/27 หรือไม่ เนื่องจากผู้ร้องกล่าวอ้างว่ามูลแห่งหนี้ของผู้ร้องเกิดขึ้นหลังวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ ซึ่งหากกรณีเป็นดังที่อ้างผู้ร้องก็ไม่อาจขอรับชำระหนี้ได้คงมีเพียงหนทางเดียวที่ผู้ร้องจะขอคุ้มครองประโยชน์ของผู้ร้องได้ก็ด้วยการขอให้ศาลมีคำสั่งแก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกข้อจำกัดสิทธิตามมาตรา 90/12(4) ในกรณีที่ศาลเห็นว่าการจำกัดสิทธิของผู้ร้องนั้นไม่มีความจำเป็นต่อการฟื้นฟูกิจการตามมาตรา 90/13(1) การที่ศาลล้มละลายมีคำสั่งให้ยกคำร้องโดยอ้างว่ามูลแห่งหนี้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการทั้ง ๆ ที่คำร้องได้ระบุไว้ชัดแจ้งว่า มูลแห่งหนี้เกิดขึ้นภายหลังจากศาลล้มละลายมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและตั้งผู้ทำแผนแล้ว อีกทั้งเป็นคำสั่งซึ่งกระทำโดยผู้พิพากษาคนเดียว จึงเป็นการไม่ชอบ ดังนั้น เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นต้องแก้ไขข้อผิดพลาด อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 26 ศาลฎีกาเห็นสมควรรับพิจารณาพิพากษาคดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ดังกล่าวนั้นได้
ผู้ร้องมีหนังสือถึงลูกหนี้ในวันที่ 14 มิถุนายน 2544 อันเป็นวันก่อนที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ 1 วัน ระบุว่า ผู้ร้องขอเชิญลูกหนี้ยื่นข้อเสนอขายสินค้าที่แน่นอนให้ผู้ร้องพิจารณาสัญญาระหว่างผู้ร้องกับบริษัท อ. และลูกหนี้ซึ่งเป็นตัวแทนของบริษัท อ. ในการเสนอขายสินค้าจึงยังไม่เกิด จนกระทั่งวันที่ 18 มิถุนายน 2544 ภายหลังจากศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ลูกหนี้โดยผู้ทำแผนจึงแจ้งแก่บริษัท อ. ว่า ผู้ร้องระบุการประกวดราคาไม่เกิน 69.5 เหรียญดอลลาร์สหรัฐสินค้า20.000เมตริกัน จึงขอให้บริษัท อ. หาเรือที่มั่นคงมีตารางแน่นอน ครั้นวันรุ่งขึ้นลูกหนี้โดยผู้ทำแผนจึงแจ้งแก่บริษัทดังกล่าวว่า ผู้ร้องได้ยืนยันการซื้อสินค้าตามหนังสือสั่งซื้อของผู้ร้องลงวันที่ 18 มิถุนายน 2544 ที่มีถึงบริษัท อ. ที่อยู่ ณ กรุงปารีส แสดงว่า มูลหนี้ระหว่างผู้ร้องและบริษัท อ. พร้อมทั้งลูกหนี้ได้เกิดขึ้นภายหลังศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการมิใช่เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการอันจะเป็นเหตุให้ผู้ร้องอาจขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/27
ผู้ทำแผนกระทำการในนามของลูกหนี้ตามอำนาจหน้าที่ในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้เมื่อศาลมีคำสั่งตั้งผู้ทำแผนแล้วตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 90/25 ถือได้ว่าเป็นการกระทำที่จำเป็นเพื่อให้การดำเนินการค้าตามปกติของลูกหนี้สามารถดำเนินต่อไปได้ เพราะเป็นการดำเนินกิจการที่ต่อเนื่องมาจากการติดต่อทางการค้ากับผู้ร้องในนามของลูกหนี้ในฐานะของกรรมการลูกหนี้มาตั้งแต่ก่อนศาลมีคำสั่งฟื้นฟูกิจการ จึงไม่ต้องห้ามมิให้ลูกหนี้ก่อหนี้ตามมาตรา 90/12(9)
ผู้ร้องอ้างว่าลูกหนี้ผิดสัญญาจึงดำเนินการฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายจากลูกหนี้ เป็นกรณีที่ผู้ร้องฟ้องลูกหนี้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ ซึ่งมูลแห่งหนี้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน จึงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 90/12(4) แต่ผู้ร้องอาจมีคำร้องขอเพื่อให้ศาลมีคำสั่งแก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกข้อจำกัดสิทธิของตนได้ตามมาตรา 90/13 หากข้อจำกัดสิทธินั้นไม่มีความจำเป็นต่อการฟื้นฟูกิจการ เมื่อผู้ร้องไม่อาจขอคุ้มครองสิทธิด้วยการขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการตามมาตรา 90/27 ได้ จึงถือได้ว่าการจำกัดสิทธิมิให้ผู้ร้องฟ้องลูกหนี้ต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ เป็นกรณีที่ไม่มีความจำเป็นต่อการฟื้นฟูกิจการตามมาตรา 90/13(1) ศาลจึงมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องฟ้องลูกหนี้เป็นคดีแพ่งได้
การขออนุญาตฟ้องลูกหนี้ผู้ร้องหลังจากที่ศาลล้มละลายมีคำสั่งรับคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/12(4) เป็นเรื่องสำคัญ เพราะกรณีของผู้ร้องยังมีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยให้กระจ่างชัดว่า ผู้ร้องอาจขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการได้ตามมาตรา 90/27 หรือไม่ เนื่องจากผู้ร้องกล่าวอ้างว่ามูลแห่งหนี้ของผู้ร้องเกิดขึ้นหลังวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ ซึ่งหากกรณีเป็นดังที่อ้างผู้ร้องก็ไม่อาจขอรับชำระหนี้ได้คงมีเพียงหนทางเดียวที่ผู้ร้องจะขอคุ้มครองประโยชน์ของผู้ร้องได้ก็ด้วยการขอให้ศาลมีคำสั่งแก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกข้อจำกัดสิทธิตามมาตรา 90/12(4) ในกรณีที่ศาลเห็นว่าการจำกัดสิทธิของผู้ร้องนั้นไม่มีความจำเป็นต่อการฟื้นฟูกิจการตามมาตรา 90/13(1) การที่ศาลล้มละลายมีคำสั่งให้ยกคำร้องโดยอ้างว่ามูลแห่งหนี้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการทั้ง ๆ ที่คำร้องได้ระบุไว้ชัดแจ้งว่า มูลแห่งหนี้เกิดขึ้นภายหลังจากศาลล้มละลายมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและตั้งผู้ทำแผนแล้ว อีกทั้งเป็นคำสั่งซึ่งกระทำโดยผู้พิพากษาคนเดียว จึงเป็นการไม่ชอบ ดังนั้น เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นต้องแก้ไขข้อผิดพลาด อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 26 ศาลฎีกาเห็นสมควรรับพิจารณาพิพากษาคดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ดังกล่าวนั้นได้
ผู้ร้องมีหนังสือถึงลูกหนี้ในวันที่ 14 มิถุนายน 2544 อันเป็นวันก่อนที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ 1 วัน ระบุว่า ผู้ร้องขอเชิญลูกหนี้ยื่นข้อเสนอขายสินค้าที่แน่นอนให้ผู้ร้องพิจารณาสัญญาระหว่างผู้ร้องกับบริษัท อ. และลูกหนี้ซึ่งเป็นตัวแทนของบริษัท อ. ในการเสนอขายสินค้าจึงยังไม่เกิด จนกระทั่งวันที่ 18 มิถุนายน 2544 ภายหลังจากศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ลูกหนี้โดยผู้ทำแผนจึงแจ้งแก่บริษัท อ. ว่า ผู้ร้องระบุการประกวดราคาไม่เกิน 69.5 เหรียญดอลลาร์สหรัฐสินค้า20.000เมตริกัน จึงขอให้บริษัท อ. หาเรือที่มั่นคงมีตารางแน่นอน ครั้นวันรุ่งขึ้นลูกหนี้โดยผู้ทำแผนจึงแจ้งแก่บริษัทดังกล่าวว่า ผู้ร้องได้ยืนยันการซื้อสินค้าตามหนังสือสั่งซื้อของผู้ร้องลงวันที่ 18 มิถุนายน 2544 ที่มีถึงบริษัท อ. ที่อยู่ ณ กรุงปารีส แสดงว่า มูลหนี้ระหว่างผู้ร้องและบริษัท อ. พร้อมทั้งลูกหนี้ได้เกิดขึ้นภายหลังศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการมิใช่เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการอันจะเป็นเหตุให้ผู้ร้องอาจขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/27
ผู้ทำแผนกระทำการในนามของลูกหนี้ตามอำนาจหน้าที่ในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้เมื่อศาลมีคำสั่งตั้งผู้ทำแผนแล้วตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 90/25 ถือได้ว่าเป็นการกระทำที่จำเป็นเพื่อให้การดำเนินการค้าตามปกติของลูกหนี้สามารถดำเนินต่อไปได้ เพราะเป็นการดำเนินกิจการที่ต่อเนื่องมาจากการติดต่อทางการค้ากับผู้ร้องในนามของลูกหนี้ในฐานะของกรรมการลูกหนี้มาตั้งแต่ก่อนศาลมีคำสั่งฟื้นฟูกิจการ จึงไม่ต้องห้ามมิให้ลูกหนี้ก่อหนี้ตามมาตรา 90/12(9)
ผู้ร้องอ้างว่าลูกหนี้ผิดสัญญาจึงดำเนินการฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายจากลูกหนี้ เป็นกรณีที่ผู้ร้องฟ้องลูกหนี้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ ซึ่งมูลแห่งหนี้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน จึงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 90/12(4) แต่ผู้ร้องอาจมีคำร้องขอเพื่อให้ศาลมีคำสั่งแก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกข้อจำกัดสิทธิของตนได้ตามมาตรา 90/13 หากข้อจำกัดสิทธินั้นไม่มีความจำเป็นต่อการฟื้นฟูกิจการ เมื่อผู้ร้องไม่อาจขอคุ้มครองสิทธิด้วยการขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการตามมาตรา 90/27 ได้ จึงถือได้ว่าการจำกัดสิทธิมิให้ผู้ร้องฟ้องลูกหนี้ต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ เป็นกรณีที่ไม่มีความจำเป็นต่อการฟื้นฟูกิจการตามมาตรา 90/13(1) ศาลจึงมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องฟ้องลูกหนี้เป็นคดีแพ่งได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 204/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล: การโอนคดีจากศาลจังหวัดไปยังศาลแขวงเมื่อพบว่าคดีอยู่ในอำนาจศาลแขวง
การที่โจทก์จะนำคดีขึ้นสู่ศาลใดนั้น มิได้พิจารณาว่าคดีนั้นผู้พิพากษาคนเดียวหรือสองคนเป็นผู้มีอำนาจพิจารณาพิพากษา แต่ต้องพิจารณาว่าคดีนั้นอยู่ในเขตอำนาจของศาลใดเป็นสำคัญ เมื่อคดีอยู่ในเขตอำนาจของศาลใดแล้ว อีกศาลหนึ่งไม่มีอำนาจรับคดีเรื่องนั้นไว้พิจารณาพิพากษา เว้นแต่จะมีบทกฎหมายบัญญัติให้อำนาจที่จะรับไว้พิจารณาพิพากษาได้ คดีนี้แม้ศาลจังหวัดราชบุรีได้รับฟ้องโจทก์ไว้และมีการพิจารณาแล้วก็ตาม แต่เมื่อปรากฏในภายหลังว่าเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลแขวงราชบุรีตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25(4) ไม่ใช่คดีที่อยู่ในอำนาจของศาลจังหวัดราชบุรี ศาลจังหวัดราชบุรีย่อมไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 18 ทั้งไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดให้อำนาจศาลจังหวัดราชบุรีที่จะใช้ดุลพินิจรับคดีไว้พิจารณาพิพากษาต่อไปได้ ดังนั้น การที่ศาลจังหวัดราชบุรีมีคำสั่งให้โอนคดีนี้ไปยังศาลแขวงราชบุรีซึ่งเป็นศาลที่มีเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาจึงชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 16 วรรคท้าย แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 204/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล: การโอนคดีจากศาลจังหวัดไปยังศาลแขวงเมื่อพบว่าคดีอยู่ในเขตอำนาจของศาลแขวง
การที่โจทก์จะนำคดีขึ้นสู่ศาลใดนั้น มิได้พิจารณาว่าคดีนั้นผู้พิพากษาคนเดียวหรือสองคนเป็นผู้มีอำนาจพิจารณาพิพากษา แต่ต้องพิจารณาว่าคดีนั้นอยู่ในเขตอำนาจของศาลใดเป็นสำคัญ เมื่อคดีอยู่ในเขตอำนาจของศาลใดแล้ว อีกศาลหนึ่งไม่มีอำนาจรับคดีเรื่องนั้นไว้พิจารณาพิพากษา เว้นแต่จะมีบทกฎหมายบัญญัติให้มีอำนาจที่จะรับไว้พิจารณาพิพากษาได้
ศาลจังหวัดราชบุรีได้รับฟ้องโจทก์ไว้และมีการพิจารณาแล้วแต่เมื่อปรากฏภายหลังว่าเป็นคดีที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลแขวงราชบุรีตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25(4) ไม่ใช่คดีที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดราชบุรีเสียแล้วศาลจังหวัดราชบุรีก็ย่อมไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเรื่องนี้ได้ตามมาตรา 18 ทั้งไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดให้อำนาจศาลจังหวัดราชบุรีที่จะใช้ดุลพินิจรับไว้พิจารณาพิพากษาต่อไปได้ด้วย ดังนั้นการที่ศาลจังหวัดราชบุรีมีคำสั่งให้โอนคดีไปยังศาลแขวงราชบุรีซึ่งเป็นศาลที่มีเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีได้จึงเป็นการชอบด้วยมาตรา 16 วรรคท้ายแล้ว
ศาลจังหวัดราชบุรีได้รับฟ้องโจทก์ไว้และมีการพิจารณาแล้วแต่เมื่อปรากฏภายหลังว่าเป็นคดีที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลแขวงราชบุรีตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25(4) ไม่ใช่คดีที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดราชบุรีเสียแล้วศาลจังหวัดราชบุรีก็ย่อมไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเรื่องนี้ได้ตามมาตรา 18 ทั้งไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดให้อำนาจศาลจังหวัดราชบุรีที่จะใช้ดุลพินิจรับไว้พิจารณาพิพากษาต่อไปได้ด้วย ดังนั้นการที่ศาลจังหวัดราชบุรีมีคำสั่งให้โอนคดีไปยังศาลแขวงราชบุรีซึ่งเป็นศาลที่มีเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีได้จึงเป็นการชอบด้วยมาตรา 16 วรรคท้ายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 204/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล: การโอนคดีจากศาลจังหวัดไปยังศาลแขวงเมื่อพบว่าคดีอยู่ในอำนาจศาลแขวง
การที่โจทก์จะนำคดีขึ้นสู่ศาลใดนั้น มิได้พิจารณาว่าคดีนั้นผู้พิพากษาคนเดียวหรือสองคนเป็นผู้มีอำนาจพิจารณาพิพากษา แต่ต้องพิจารณาว่าคดีนั้นอยู่ในเขตอำนาจของศาลใดเป็นสำคัญ เมื่อคดีอยู่ในเขตอำนาจของศาลใดแล้ว อีกศาลหนึ่งไม่มีอำนาจรับคดีเรื่องนั้นไว้พิจารณาพิพากษา เว้นแต่จะมีบทกฎหมายบัญญัติให้อำนาจที่จะรับไว้พิจารณาพิพากษาได้ คดีนี้แม้ศาลจังหวัดราชบุรีได้รับฟ้องโจทก์ไว้และมีการพิจารณาแล้วก็ตาม แต่เมื่อปรากฏในภายหลังว่าเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลแขวงราชบุรีตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25(4) ไม่ใช่คดีที่อยู่ในอำนาจของศาลจังหวัดราชบุรี ศาลจังหวัดราชบุรีย่อมไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 18 ทั้งไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดให้อำนาจศาลจังหวัดราชบุรีที่จะใช้ดุลพินิจรับคดีไว้พิจารณาพิพากษาต่อไปได้ ดังนั้น การที่ศาลจังหวัดราชบุรีมีคำสั่งให้โอนคดีนี้ไปยังศาลแขวงราชบุรีซึ่งเป็นศาลที่มีเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาจึงชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 16 วรรคท้าย แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7297/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล: คดีแย่งสิทธิครอบครองที่ดิน ถือเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ศาลแขวงมีอำนาจพิจารณา
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของจำเลยที่ออกทับที่ดินของโจทก์และให้ขับไล่จำเลยอันเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ แต่เมื่อจำเลยให้การต่อสู้ว่าเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทโจทก์จำเลยจึงมีจุดประสงค์โต้เถียงแย่งสิทธิครอบครองหรือความเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทซึ่งเป็นประเด็นหลักดังนั้นคำขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์และขับไล่จำเลย จึงเป็นผลอันเนื่องมาจากว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่ จึงเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์ที่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 150 วรรคแรก จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์เมื่อที่ดินพิพาทราคา 210,000 บาท และตั้งอยู่ท้องที่อำเภอภูเวียงจังหวัดขอนแก่น ย่อมเป็นคดีที่อยู่ในเขตอำนาจศาลของศาลแขวงขอนแก่นจะพิจารณาพิพากษาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17,25(4) พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตอำนาจศาลแขวงขอนแก่น พ.ศ. 2542 มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5100/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล: คดีเปลี่ยนจากขับไล่เป็นพิพาทกรรมสิทธิ์ เมื่อจำเลยโต้แย้ง ทำให้เป็นคดีมีทุนทรัพย์
โจทก์ยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดราชบุรีขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกไปจากที่ดินพิพาท อันเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ แต่เมื่อจำเลยให้การโต้แย้งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทว่าเป็นของจำเลย คดีจึงเปลี่ยนเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือเป็นคดีมีทุนทรัพย์มิใช่คดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้อีกต่อไป เมื่อราคาทรัพย์สินที่พิพาทซึ่งเป็นทุนทรัพย์ของคดีไม่เกินสามแสนบาท คดีจึงอยู่ในอำนาจของศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษา ศาลจังหวัดราชบุรีชอบที่จะมีคำสั่งโอนคดีไปยังศาลแขวงราชบุรีตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 16 วรรคสี่