พบผลลัพธ์ทั้งหมด 151 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6273/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดีและการพิจารณาใหม่: ศาลอนุญาตให้พิจารณาใหม่ได้หากโจทก์ไม่ได้จงใจขาดนัดและมีเหตุผลสมควร
วันนัดสืบพยานโจทก์ โจทก์ไม่ไปศาลโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้องหรือขอเลื่อนคดี ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาและให้เลื่อนไปนัดสืบพยานจำเลย ในวันเดียวกันโจทก์ยื่นคำร้องว่าไม่ได้จงใจขาดนัดพิจารณา ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคำสั่งให้พิจารณาใหม่ จำเลยอุทธรณ์คำสั่งว่า จำเลยไม่เห็นด้วยกับข้อวินิจฉัยของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้พิจารณาคดีโจทก์ใหม่ เพราะโจทก์จงใจขาดนัดและต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 201 แม้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวจะไม่มีผลเป็นอุทธรณ์เพราะต้องห้ามตามกฎหมาย แต่ก็มีผลเป็นการโต้แย้งคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(1) แล้วจำเลยจึงอุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้ได้ ศาลนัดสืบพยานโจทก์เวลา 9.00 นาฬิกา แต่โจทก์และทนายโจทก์มาศาลในวันนัดเวลาประมาณ 12.30 นาฬิกา เนื่องจากเสมียนทนายโจทก์บอกเวลานัดของศาลแก่ทนายโจทก์ผิดไปเป็นเวลา 13.30 นาฬิกา ทั้งตามคำร้องขอพิจารณาใหม่ โจทก์และทนายโจทก์ได้ลงชื่อในคำร้องที่ยื่นต่อศาลในวันเดียวกันแสดงว่าโจทก์และทนายโจทก์ไปศาลในวันนัดจริง แต่ไปไม่ตรงตามเวลาเพราะเสมียนทนายบอกเวลานัดพิจารณาคลาดเคลื่อนโจทก์จึงมิได้จงใจขาดนัดพิจารณาและเมื่อศาลชั้นต้นไม่ได้มีคำสั่งจำหน่ายคดี จึงไม่ต้องห้ามที่โจทก์จะขอให้พิจารณาใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201 ประเด็นข้อพิพาทมีว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์กับเจ้าของรวมหรือเป็นของจำเลยเท่านั้น ศาลจึงไม่ต้องรับฟังเอกสารสำเนาภาพถ่ายโฉนดที่ดินของโจทก์กับเจ้าของรวม และหนังสือให้ความยินยอมของเจ้าของรวมให้โจทก์ฟ้องคดี ส่วนแผนที่พิพาทซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินเป็นผู้ทำขึ้นตามคำสั่งศาล มิใช่เอกสารที่โจทก์เป็นฝ่ายอ้าง โจทก์จึงไม่ต้องเสีย ค่าอ้างเอกสารตามตาราง 2 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6273/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดีและคำร้องขอพิจารณาใหม่ โดยมีเหตุผลจากความผิดพลาดเรื่องเวลา
วันนัดสืบพยานโจทก์ โจทก์ไม่ไปศาลโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้องหรือขอเลื่อนคดี ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาและให้เลื่อนไปนัดสืบ-พยานจำเลย ในวันเดียวกันโจทก์ยื่นคำร้องว่าไม่ได้จงใจขาดนัดพิจารณา ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคำสั่งให้พิจารณาใหม่
จำเลยอุทธรณ์คำสั่งว่า จำเลยไม่เห็นด้วยกับข้อวินิจฉัยของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้พิจารณาคดีโจทก์ใหม่ เพราะโจทก์จงใจขาดนัดและต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 201 แม้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวจะไม่มีผลเป็นอุทธรณ์เพราะต้องห้ามตามกฎหมาย แต่ก็มีผลเป็นการโต้แย้งคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (1) แล้ว จำเลยจึงอุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้ได้
ศาลนัดสืบพยานโจทก์เวลา 9.00 นาฬิกา แต่โจทก์และทนายโจทก์มาศาลในวันนัดเวลาประมาณ 12.30 นาฬิกา เนื่องจากเสมียนทนาย-โจทก์บอกเวลานัดของศาลแก่ทนายโจทก์ผิดไปเป็นเวลา 13.30 นาฬิกา ทั้งตามคำร้องขอพิจารณาใหม่ โจทก์และทนายโจทก์ได้ลงชื่อในคำร้องที่ยื่นต่อศาลในวันเดียวกัน แสดงว่าโจทก์และทนายโจทก์ไปศาลในวันนัดจริง แต่ไปไม่ตรงตามเวลาเพราะเสมียนทนายบอกเวลานัดพิจารณาคลาดเคลื่อน โจทก์จึงมิได้จงใจขาดนัดพิจารณาและเมื่อศาลชั้นต้นไม่ได้มีคำสั่งจำหน่ายคดี จึงไม่ต้องห้ามที่โจทก์จะขอให้พิจารณาใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 201
ประเด็นข้อพิพาทมีว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์กับเจ้าของรวมหรือเป็นของจำเลยเท่านั้น ศาลจึงไม่ต้องรับฟังเอกสารสำเนาภาพถ่ายโฉนดที่ดินของโจทก์กับเจ้าของรวม และหนังสือให้ความยินยอมของเจ้าของรวมให้โจทก์ฟ้องคดี ส่วนแผนที่พิพาทซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินเป็นผู้ทำขึ้นตามคำสั่งศาล มิใช่เอกสารที่โจทก์เป็นฝ่ายอ้าง โจทก์จึงไม่ต้องเสียค่าอ้างเอกสารตามตาราง 2 ท้าย ป.วิ.พ.
จำเลยอุทธรณ์คำสั่งว่า จำเลยไม่เห็นด้วยกับข้อวินิจฉัยของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้พิจารณาคดีโจทก์ใหม่ เพราะโจทก์จงใจขาดนัดและต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 201 แม้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวจะไม่มีผลเป็นอุทธรณ์เพราะต้องห้ามตามกฎหมาย แต่ก็มีผลเป็นการโต้แย้งคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (1) แล้ว จำเลยจึงอุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้ได้
ศาลนัดสืบพยานโจทก์เวลา 9.00 นาฬิกา แต่โจทก์และทนายโจทก์มาศาลในวันนัดเวลาประมาณ 12.30 นาฬิกา เนื่องจากเสมียนทนาย-โจทก์บอกเวลานัดของศาลแก่ทนายโจทก์ผิดไปเป็นเวลา 13.30 นาฬิกา ทั้งตามคำร้องขอพิจารณาใหม่ โจทก์และทนายโจทก์ได้ลงชื่อในคำร้องที่ยื่นต่อศาลในวันเดียวกัน แสดงว่าโจทก์และทนายโจทก์ไปศาลในวันนัดจริง แต่ไปไม่ตรงตามเวลาเพราะเสมียนทนายบอกเวลานัดพิจารณาคลาดเคลื่อน โจทก์จึงมิได้จงใจขาดนัดพิจารณาและเมื่อศาลชั้นต้นไม่ได้มีคำสั่งจำหน่ายคดี จึงไม่ต้องห้ามที่โจทก์จะขอให้พิจารณาใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 201
ประเด็นข้อพิพาทมีว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์กับเจ้าของรวมหรือเป็นของจำเลยเท่านั้น ศาลจึงไม่ต้องรับฟังเอกสารสำเนาภาพถ่ายโฉนดที่ดินของโจทก์กับเจ้าของรวม และหนังสือให้ความยินยอมของเจ้าของรวมให้โจทก์ฟ้องคดี ส่วนแผนที่พิพาทซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินเป็นผู้ทำขึ้นตามคำสั่งศาล มิใช่เอกสารที่โจทก์เป็นฝ่ายอ้าง โจทก์จึงไม่ต้องเสียค่าอ้างเอกสารตามตาราง 2 ท้าย ป.วิ.พ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4774/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลมิได้พิจารณาคำร้องขอเลื่อนคดีก่อนสั่งขาดนัด ถือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
ในวันนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 23 พฤศจิกายน 2533 ผู้รับมอบฉันทะทนายจำเลยที่ 1 มาศาลและยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอ้างว่าติดว่าความที่ศาลอื่นซึ่งได้นัดไว้ก่อนแล้ว ส่วนโจทก์และจำเลยที่ 2 ไม่มาการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำร้องขอเลื่อนคดีว่า "สั่งในรายงาน"แล้วมีคำสั่งในรายงานกระบวนพิจารณาว่า ทนายจำเลยที่ 1 มอบฉันทะให้เสมียนทนายยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีแสดงว่าตั้งใจที่จะให้ดำเนินการพิจารณาคดีต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201จึงมีคำสั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา ให้นัดสืบพยานจำเลยที่ 1 ต่อไปในวันที่ 20 ธันวาคม 2533 เวลา 13.30 นาฬิกา และให้จำหน่ายคดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ออกจากสารบบความจึงไม่ถูกต้อง เนื่องจากศาลชั้นต้นยังมิได้พิจารณาคำร้อง ขอเลื่อนคดีของทนายจำเลยที่ 1เลยว่าทนายจำเลยที่ 1 มาศาลไม่ได้เพราะติดว่าความที่ศาลอื่นจริงหรือไม่ หากข้อเท็จจริงฟังได้ตามคำร้องก็ถือได้ว่ามีเหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงได้ชอบที่จะสั่งอนุญาตให้เลื่อนคดีไว้ และวันที่23 พฤศจิกายน 2533 ก็มิใช่วันที่ศาลเริ่มต้นทำการสืบพยานอีกต่อไปแม้โจทก์และจำเลยที่ 2 ไม่มาศาลในวันดังกล่าว กรณีก็ไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยการพิจารณาโดยขาดนัด การที่ศาลชั้นต้นมิได้พิจารณาสั่งคำร้องขอเลื่อนคดีของทนายจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 40แต่กลับก้าวล่วงไปสั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาและให้จำหน่ายคดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ออกจากสารบบความ เป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยการพิจารณา ซึ่งปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยโดยให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นที่ไม่ชอบนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(2),247 ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานแล้วพิพากษาใหม่โดยไม่ถูกต้อง เนื่องจากศาลชั้นต้นยังมิได้มีคำพิพากษา ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5589/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีเนื่องจากทิ้งฟ้อง การเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดี และอำนาจศาลอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานโจทก์นัดแรกเมื่อวันที่ 11 เมษายน2531 ก่อนวันนัดโจทก์ยื่นคำร้องลงวันที่ 7 เมษายน 2531ขอแก้ไขคำฟ้อง ศาลมีคำสั่งอนุญาต และสั่งคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องต่อไปว่า "สำเนาให้จำเลย ส่งธรรมดาไม่ได้ ให้ปิด"ขณะเดียวกันจำเลยได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดี ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เลื่อนไป วันที่ 15 มิถุนายน 2531 ต่อมาเจ้าหน้าที่ศาลรายงานว่า โจทก์ไม่นำส่งหมายนัดและสำเนาคำร้องขอแก้ไขคำฟ้อง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2531 ว่า ถือว่า โจทก์ทิ้งฟ้อง ให้จำหน่ายคดี และเมื่อถึงวันนัดสืบพยานโจทก์ วันที่ 15 มิถุนายน 2531 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา ให้จำหน่ายคดีของโจทก์อีกครั้งหนึ่งคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้จำหน่ายคดี เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม2531 เป็นกรณีการอ้างเหตุตามมาตรา 132(1)แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และเมื่อมีคำสั่งจำหน่ายคดีแล้ว มีผลทำให้คดีเสร็จไปจากศาลชั้นต้นดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นกลับดำเนินกระบวนพิจารณาต่อมาจนมีคำสั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา และมีคำสั่งจำหน่ายคดีของโจทก์ซ้ำอีก จึงเป็นการไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยกฎหมายจึงไม่มีผลใช้บังคับคงเหลือเพียงคำสั่งจำหน่ายคดีเมื่อวันที่19 พฤษภาคม 2531 เมื่อโจทก์เห็นว่าคำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2531 ไม่ชอบโจทก์ย่อมอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้ เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่า คำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้นเป็นการพิจารณาผิดระเบียบศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจสั่งให้เพิกถอนได้ตามมาตรา 27 คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ที่เป็นผลทำให้จำเลยเสียประโยชน์ จำเลยย่อมมีสิทธิฎีกาได้ตามหลักทั่วไป และคำพิพากษา ของศาลอุทธรณ์ในกรณีที่ให้เพิกถอนการพิจารณาของศาลชั้นต้น ที่ผิดระเบียบให้ศาลชั้นต้นดำเนินการพิจารณาพิพากษาใหม่ ตามรูปคดีหาได้มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นที่สุดไม่ จำเลย จึงฎีกาในข้อนี้ได้ ตามคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องขอแก้จากเดิมที่ขอเรียกค่าเสียหาย นับแต่วันทำละเมิดเป็นนับแต่วันที่โจทก์ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทน ให้แก่ผู้เอาประกันภัย เป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์ ประสงค์จะแก้ไขให้ถูกต้องตามสิทธิของโจทก์ในฐานะที่โจทก์ เป็นผู้รับประกันภัยที่มีสิทธิเรียกเอาเงินที่ตนได้ใช้ ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันนับแต่วันที่ใช้เงินไปมิใช่นับแต่วันที่มีการละเมิด ทั้งการแก้ไขดังกล่าวไม่เป็นคุณแก่โจทก์คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องเช่นนี้จึงไม่อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 180,181 คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งให้ส่งสำเนาคำร้องให้จำเลยก็เป็นเพียงเพื่อให้รับทราบเท่านั้น และเมื่อมิใช่คำฟ้องตั้งต้นคดีซึ่งโจทก์มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามมาตรา 174(1) แล้ว บทบัญญัตินี้ก็จะนำมาใช้บังคับแก่กรณีของโจทก์อันจะถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3172/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขาดนัดพิจารณาคดีแรงงานและผลกระทบต่อฟ้องแย้ง: ศาลยังต้องพิจารณาฟ้องแย้งต่อไป
ในวันนัดสืบพยานโจทก์ในคดีแรงงานนัดแรก ทนายจำเลยมาศาลส่วนโจทก์ทราบนัดโดยชอบแล้วไม่มาศาลโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้อง ถือว่าโจทก์ขาดนัด-พิจารณา แม้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 201 วรรคแรก ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 ให้ศาลแรงงานมีคำสั่งจำหน่ายคดีโจทก์เสียจากสารบบความก็ตาม แต่คดีนี้จำเลยฟ้องแย้งโจทก์ จำเลยจึงมีฐานะเป็นโจทก์ตามฟ้องแย้งและโจทก์เดิมจึงตกเป็นจำเลยตามฟ้องแย้ง ต้องถือว่าโจทก์ตามฟ้องแย้งมาศาลแล้ว และตาม ป.วิ.พ.มาตรา 202 บัญญัติว่า ถ้าได้ส่งหมายกำหนดวันนัดสืบพยานให้จำเลยทราบโดยชอบแล้ว จำเลยขาดนัดพิจารณา ให้ศาลมีคำสั่งแสดงว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา แล้วให้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีนั้นไปฝ่ายเดียว ซึ่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522มาตรา 31 ให้นำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.มาใช้บังคับแก่การดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงานเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.โดยอนุโลม แม้การที่ศาลแรงงานมีคำสั่งจำหน่ายคดีโจทก์อันทำให้ไม่มีคำฟ้องเดิมที่จะดำเนินกระบวน-พิจารณาต่อไปก็ตาม แต่ก็ยังมีตัวโจทก์ที่ยังคงเป็นจำเลยของฟ้องแย้งอยู่ต่อไปจึงมีคู่ความครบถ้วนทั้งสองฝ่ายที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้ ดังนี้ การที่ศาลแรงงานมีคำสั่งจำหน่ายคดีทั้งหมด รวมทั้งคดีตามฟ้องแย้งของจำเลยออกเสียจากสารบบความเพราะเหตุโจทก์ขาดนัดพิจารณา จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3172/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีเมื่อโจทก์ขาดนัด และผลกระทบต่อคดีฟ้องแย้ง: ศาลต้องดำเนินกระบวนพิจารณาฟ้องแย้งต่อไป
ในวันนัดสืบพยานโจทก์ในคดีแรงงานนัดแรก ทนายจำเลยมาศาลส่วนโจทก์ทราบนัดโดยชอบแล้วไม่มาศาลโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้อง ถือว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา แม้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201 วรรคแรกประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ให้ศาลแรงงานมีคำสั่งจำหน่ายคดีโจทก์เสียจากสารบบความก็ตาม แต่คดีนี้จำเลยฟ้องแย้งโจทก์ จำเลยจึงมีฐานะเป็นโจทก์ตามฟ้องแย้งและโจทก์ เดิมจึงตกเป็นจำเลยตามฟ้องแย้ง ต้องถือว่าโจทก์ตามฟ้องแย้ง มาศาลแล้ว และตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 202 บัญญัติว่า ถ้าได้ส่งหมายกำหนดวัดนัดสืบพยานให้จำเลยทราบโดยชอบแล้ว จำเลยขาดนัดพิจารณา ให้ศาลมีคำสั่ง แสดงว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา แล้วให้พิจารณาและชี้ขาด ตัดสิน คดีนั้นไปฝ่ายเดียว ซึ่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและ วิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาใช้บังคับแก่การ ดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงานเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้ง กับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติโดยอนุโลม แม้การที่ ศาลแรงงานมีคำสั่งจำหน่ายคดีโจทก์อันทำให้ไม่มีคำฟ้องเดิม ที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปก็ตาม แต่ก็ยังมีตัวโจทก์ ที่ยังคงเป็นจำเลยของฟ้องแย้งอยู่ต่อไปจึงมีคู่ความครบถ้วน ทั้งสองฝ่ายที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้ ดังนี้ การที่ศาลแรงงานมีคำสั่งจำหน่ายคดีทั้งหมด รวมทั้งคดี ตามฟ้องแย้งของจำเลยออกเสียจากสารบบความเพราะเหตุโจทก์ ขาดนัดพิจารณา จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3172/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขาดนัดพิจารณาคดีแรงงาน จำหน่ายคดีฟ้องแย้งไม่ชอบ ศาลต้องดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป
ในวันนัดสืบพยานโจทก์นัดแรก ทนายจำเลยมาศาล ส่วนโจทก์ ไม่มา ถือว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา แม้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201 วรรคแรกประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ให้ศาลแรงงานมีคำสั่งจำหน่ายคดีโจทก์เสียจากสารบบความก็ตาม แต่คดีนี้จำเลยฟ้องแย้งโจทก์ด้วย จำเลยจึงมีฐานเป็นโจทก์ และโจทก์เดิมตกเป็นจำเลยตามฟ้องแย้ง ต้องถือว่าโจทก์ตามฟ้องแย้งมาศาลแล้วและตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 202 ถ้าจำเลยขาดนัดพิจารณา ให้ศาลมีคำสั่งแสดงว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา แล้วให้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีนั้นไปฝ่ายเดียว แม้การที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งจำหน่ายคดีโจทก์อันทำให้ไม่มีคำฟ้องเดิมที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปก็ตาม แต่ก็ยังมีตัวโจทก์ที่ยังคงเป็นจำเลยของฟ้องแย้งอยู่ต่อไป จึงมีคู่ความครบถ้วนทั้งสองฝ่ายที่ศาลแรงงานจะดำเนินกระบวนพิจารณาในส่วนของฟ้องแย้งต่อไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 860/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลกระทบจากการขาดนัดพิจารณาคดี และการใช้ดุลพินิจศาลในการรับฟังพยานหลักฐาน
การที่จำเลยขาดนัดพิจารณาไม่มาศาลย่อมทำให้เสียประโยชน์คือ ไม่มีสิทธิถามค้านพยานโจทก์ที่สืบไปแล้วหรือคัดค้านการระบุเอกสารหรือคัดค้านคำขอที่ให้ศาลไปทำการตรวจหรือตั้งผู้เชี่ยวชาญของศาลเฉพาะในวันที่ขาดนัดไม่มาศาลเท่านั้น และหากว่าโจทก์สืบพยานหมดในวันนั้น จำเลยก็ไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบได้ในวันหลังอีกเพราะหมดเวลาที่ตนจะนำพยานเข้าสืบแล้ว เมื่อปรากฏว่าในวันนัดแรกโจทก์มีหน้าที่นำพยานเข้าสืบก่อนได้นำตัวโจทก์เข้าเบิกความเพียงปากเดียว การสืบพยานยังไม่เสร็จบริบูรณ์ แล้วเลื่อนไปสืบพยานโจทก์ที่เหลือในนัดต่อไป จำเลยจึงไม่มีสิทธิถามค้านพยานปากตัวโจทก์เท่านั้น ส่วนในนัดต่อไปจำเลยมาศาล จำเลยชอบที่จะถามค้านพยานโจทก์ที่เบิกความในนัดต่อมาได้และนำพยานจำเลยเข้าเบิกความได้เพราะยังไม่พ้นเวลาที่จะนำพยานของตนเข้าสืบ การที่ศาลชั้นต้นให้จำเลยถามค้านพยานโจทก์ที่นำสืบในนัดต่อมา ทั้งนำพยานจำเลยเข้าเบิกความจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 คู่ความจะต้องยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันสืบพยาน 3 วัน แต่ในกรณีที่ศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นจะต้องสืบพยานหลักฐานอันสำคัญเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีโดยฝ่าฝืนต่อมาตรา 88 คือไม่ต้องยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันสืบพยาน 3 วัน ศาลก็มีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานดังกล่าวได้ตามมาตรา 87(2) การที่จำเลยร่วมไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันนัดสืบพยานโจทก์ 3 วัน ศาลชั้นต้นเห็นว่าจำเลยร่วมว่าความด้วยตนเอง จึงใช้ดุลพินิจให้จำเลยร่วมนำพยานเข้าสืบได้ถึงแม้ไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยานไว้นั้น เป็นการใช้ดุลพินิจที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3346/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: คดีอยู่ระหว่างพิจารณา แม้จำหน่ายจากสารบบความแล้ว หากจำเลยอุทธรณ์ คดีก่อนยังไม่ถึงที่สุด
คำว่าคดีอยู่ระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 173 วรรคสอง หมายความว่าคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาก็ได้ ดังนั้นแม้ศาลชั้นต้นจะสั่งจำหน่ายคดีจากสารบบความเนื่องจากโจทก์ขาดนัดพิจารณาตามมาตรา 201 วรรคแรกไปแล้ว แต่จำเลยยังอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งดังกล่าวอยู่ก็ถือว่าคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาเช่นเดียวกัน โจทก์จึงไม่อาจนำคดีเรื่องเดียวกันมาฟ้องอีกได้เป็นฟ้องซ้อนและเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตั้งแต่วันยื่นคำฟ้องแล้ว โดยไม่ต้องคำนึงถึงเหตุที่จะเกิดขึ้นภายหลังจากวันยื่นคำฟ้องนั้น แม้ต่อมาคดีก่อนจะถึงที่สุดก็ตามก็ไม่ทำให้คดีหลังไม่เป็นฟ้องซ้อน การจำหน่ายคดีจากสารบบความเนื่องจากโจทก์ขาดนัดพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201 วรรคแรกที่ไม่ตัดสิทธิของโจทก์ที่จะเสนอคำฟ้องใหม่นั้นเป็นเพียงไม่ตัดสิทธิของโจทก์ที่จะเสนอคำฟ้องใหม่ ส่วนโจทก์จะยื่นคำฟ้องใหม่ ได้หรือไม่ต้องบังคับตามมาตรา 173 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3981/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาของโจทก์และการแถลงไม่ติดใจสืบพยานของจำเลย ทำให้ศาลต้องพิพากษาคดี
ในวันนัดสืบพยานซึ่งโจทก์มีหน้าที่นำสืบก่อน เมื่อโจทก์ไม่นำพยานมาสืบในวันนัด โดยมิได้แจ้งเหตุขัดข้อง ถือว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาซึ่งศาลอาจสั่งจำหน่ายคดีเสียก็ได้ เมื่อจำเลยแถลงไม่ติดใจสืบพยาน แม้มิได้แถลงให้ชัดแจ้งว่าจำเลยตั้งใจจะให้ดำเนินการพิจารณาคดีต่อไป แต่กรณีโจทก์ขาดนัดพิจารณาและจำเลยแถลงไม่ติดใจสืบพยาน ศาลไม่ต้องดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างใดต่อไปอีก และกระบวนพิจารณาเป็นอันสิ้นสุด ดังนี้ คำแถลงของจำเลยดังกล่าวจึงถือได้ว่าจำเลยตั้งใจให้ศาลทำการพิจารณาพิพากษาคดีต่อไปแล้ว