พบผลลัพธ์ทั้งหมด 151 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 705/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีเนื่องจากโจทก์ทิ้งฟ้องและขาดนัดพิจารณาคดี ศาลไม่อนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่
โจทก์ทิ้งฟ้องจำเลยที่ 2 ศาลสั่งจำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่ 2 ส่วนจำเลยที่ 1 ขาดนัดให้การ ศาลนัดพิจารณาฝ่ายเดียวโจทก์ไม่มาศาลในวันนัดสืบพยาน ศาลจำหน่ายคดี โจทก์ขอให้พิจารณาใหม่ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2148/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความมูลละเมิดและการละทิ้งคดี: ผลกระทบต่อการสะดุดหยุดของอายุความ
โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีก่อนเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดภายในอายุความ 1 ปี แม้มีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 173 แต่เมื่อโจทก์ขาดนัดพิจารณาและศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201 วรรคแรกนั้น ย่อมถือได้ว่าโจทก์ละทิ้งคดีและไม่นับว่าการฟ้องคดีดังกล่าวเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 174 (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 74/2512) การที่โจทก์มาฟ้องจำเลยเป็นคดีหลัง เมื่อเกินกำหนด 1 ปี นับแต่โจทก์ทราบว่าจำเลยทำละเมิดต่อโจทก์ จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 448 วรรคแรก
กรณีศาลสั่งจำหน่ายคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201 วรรคแรกนั้น โจทก์มีสิทธิที่จะเสนอคำฟ้องใหม่ได้ แต่ต้องอยู่ภายในบังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยอายุความ
กรณีศาลสั่งจำหน่ายคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201 วรรคแรกนั้น โจทก์มีสิทธิที่จะเสนอคำฟ้องใหม่ได้ แต่ต้องอยู่ภายในบังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2148/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความมูลละเมิด: การฟ้องคดีแล้วขาดนัดทำให้สิทธิเรียกร้องขาดอายุความ
โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีก่อนเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดภายในอายุความ 1 ปี แม้มีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173 แต่เมื่อโจทก์ขาดนัดพิจารณาและศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201 วรรคแรกนั้นย่อมถือได้ว่าโจทก์ละทิ้งคดีและไม่นับว่าการฟ้องคดีดังกล่าวเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 174(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่74/2512) การที่โจทก์มาฟ้องจำเลยเป็นคดีหลังเมื่อเกินกำหนด 1 ปี นับแต่โจทก์ทราบว่าจำเลยทำละเมิดต่อโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448วรรคแรก
กรณีศาลสั่งจำหน่ายคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 201 วรรคแรกนั้น โจทก์มีสิทธิที่จะเสนอคำฟ้องใหม่ได้ แต่ต้องอยู่ภายในบังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยอายุความ
กรณีศาลสั่งจำหน่ายคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 201 วรรคแรกนั้น โจทก์มีสิทธิที่จะเสนอคำฟ้องใหม่ได้ แต่ต้องอยู่ภายในบังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1361/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไต่สวนคำร้องขออุทธรณ์อนาถา: การเพิกถอนคำสั่งเดิมและการอุทธรณ์คำสั่งศาล
ในวันที่ศาลชั้นต้นนัดไต่สวนคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 และทนายไม่มาศาล ศาลชั้นต้นสั่งงดไต่สวนและสั่งยกคำร้องของจำเลยที่ 2 ต่อมาจำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวและไต่สวนคำร้องขออนาถาใหม่ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องแล้วมีคำสั่งเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2517 ว่าจำเลยมิได้จงใจขาดนัดให้ไต่สวนคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยที่ 2 ใหม่ และมีคำสั่งลงวันที่ 9 เมษายน 2518 อนุญาตให้จำเลยที่ 2 อุทธรณ์อย่างคนอนาถา โจทก์อุทธรณ์คำสั่งศาลลงวันที่ 31 ตุลาคม 2517 ซึ่งโจทก์ได้โต้แย้งไว้แล้ว จึงหาใช่เป็นอุทธรณ์คำสั่งอนุญาตให้จำเลยอทุธรณ์อย่างคนอนาถาอันถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา156 วรรคสามไม่ จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์
เมื่อศาลชั้นต้นสั่งงดการสืบพยานหลักฐานของจำเลยในชั้นไต่สวนอนาถาและสั่งยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยแล้ว จำเลยก็ชอบที่จะอุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ประกอบด้วยมาตรา 229 จำเลยไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่วนั้นได้ เพราะศาลได้สั่งไปโดยชอบแล้ว ทั้งไม่ใช่กรณีการขาดนัดพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201 หรือ 202 ด้วย ดังนั้นคำสั่งของศาลชั้นต้นอนุญาตให้ไต่สวนคำร้องขออุทธรณ์อนาถาของจำเลยที่ 2 ใหม่ และคำสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 2 อุทธรณ์อย่างคนอนาถาได้ จึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
เมื่อศาลชั้นต้นสั่งงดการสืบพยานหลักฐานของจำเลยในชั้นไต่สวนอนาถาและสั่งยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยแล้ว จำเลยก็ชอบที่จะอุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ประกอบด้วยมาตรา 229 จำเลยไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่วนั้นได้ เพราะศาลได้สั่งไปโดยชอบแล้ว ทั้งไม่ใช่กรณีการขาดนัดพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201 หรือ 202 ด้วย ดังนั้นคำสั่งของศาลชั้นต้นอนุญาตให้ไต่สวนคำร้องขออุทธรณ์อนาถาของจำเลยที่ 2 ใหม่ และคำสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 2 อุทธรณ์อย่างคนอนาถาได้ จึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1361/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลอนุญาตไต่สวนอนาถาใหม่ และรับอุทธรณ์อนาถาไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
ในวันที่ศาลชั้นต้นนัดไต่สวนคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 และทนายไม่มาศาล ศาลชั้นต้นสั่งงดไต่สวนและสั่งยกคำร้องของจำเลยที่ 2 ต่อมาจำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวและไต่สวนคำร้องขออนาถาใหม่ ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องแล้วมีคำสั่งเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2517 ว่าจำเลยมิได้จงใจขาดนัดให้ไต่สวนคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยที่ 2 ใหม่ และมีคำสั่งลงวันที่ 9 เมษายน 2518 อนุญาตให้จำเลยที่ 2 อุทธรณ์อย่างคนอนาถา โจทก์อุทธรณ์คำสั่งศาลลงวันที่ 31 ตุลาคม 2517 ซึ่งโจทก์ได้โต้แย้งไว้แล้ว จึงหาใช่เป็นอุทธรณ์คำสั่งอนุญาตให้จำเลยอุทธรณ์อย่างคนอนาถาอันถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156วรรคสามไม่จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์
เมื่อศาลชั้นต้นสั่งงดการสืบพยานหลักฐานของจำเลยในชั้นไต่สวนอนาถาและสั่งยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยแล้ว จำเลยก็ชอบที่จะอุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ประกอบด้วยมาตรา 229 จำเลยไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวนั้นได้ เพราะศาลได้สั่งไปโดยชอบ แล้ว ทั้งไม่ใช่กรณีการขาดนัดพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201 หรือ 202 ด้วย ดังนั้นคำสั่งของศาลชั้นต้นอนุญาตให้ไต่สวนคำร้องขออุทธรณ์อนาถาของจำเลยที่ 2 ใหม่ และคำสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 2 อุทธรณ์อย่างคนอนาถาได้ จึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
เมื่อศาลชั้นต้นสั่งงดการสืบพยานหลักฐานของจำเลยในชั้นไต่สวนอนาถาและสั่งยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยแล้ว จำเลยก็ชอบที่จะอุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ประกอบด้วยมาตรา 229 จำเลยไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวนั้นได้ เพราะศาลได้สั่งไปโดยชอบ แล้ว ทั้งไม่ใช่กรณีการขาดนัดพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201 หรือ 202 ด้วย ดังนั้นคำสั่งของศาลชั้นต้นอนุญาตให้ไต่สวนคำร้องขออุทธรณ์อนาถาของจำเลยที่ 2 ใหม่ และคำสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 2 อุทธรณ์อย่างคนอนาถาได้ จึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2462/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดีและการพิจารณาใหม่: เหตุผลอันสมควร, การยื่นคำขอ, และการนับระยะเวลาตามกฎหมาย
โจทก์ขาดนัดพิจารณา ศาลชั้นต้นมิได้สั่งจำหน่ายคดีจากสารบบความ หากพิพากษายกฟ้องโดยถือว่าโจทก์ไม่มีพยานมาสืบสนับสนุนข้ออ้างของตน อันเป็นการพิพากษาให้โจทก์แพ้คดีในประเด็นที่พิพาท โจทก์มีคำขอให้พิจารณาใหม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา207 ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 กำหนดให้ยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายใน 15 วัน นับจากวันที่ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งให้แก่จำเลย มิใช่ภายใน 15 วัน นับจากวันที่ทราบคำพิพากษาหรือคำสั่ง โจทก์ยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ก่อนที่จะส่งคำบังคับตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์ จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208
แม้โจทก์ทนายโจทก์จะทราบวันเวลาที่ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานโจทก์แล้วไม่มาศาล และไม่นำพยานมาศาลตามนัด โดยไม่แจ้งเหตุขัดข้องให้ศาลทราบก็ดี แต่ก่อนวันนัดโจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นไปเผชิญสืบที่พิพาท และขอให้เลื่อนนัดสืบพยานโจทก์ไปก่อน ศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งว่าไม่มีเหตุที่จะไปเผชิญสืบที่พิพาทหรือไม่อนุญาตให้เลื่อนวันนัดสืบพยานโจทก์ไป หากมีคำสั่งแต่ว่า สำเนาให้จำเลยจะสั่งในวันนัด โจทก์และทนายโจทก์อาจเข้าใจว่าในวันนัดสืบพยานโจทก์ ศาลชั้นต้นคงจะเลื่อนวันนัดสืบพยานโจทก์ไปและให้มีการเผชิญสืบที่พิพาทตามที่โจทก์ขอ ในวันนัดสืบพยานโจทก์ โจทก์และทนายโจทก์จึงไม่มาศาล และไม่นำพยานโจทก์มาศาล การขาดนัดพิจารณาของโจทก์มิได้เป็นไปโดยจงใจหรือไม่มีเหตุอันควรสมควรให้พิจารณาคดีใหม่ตามที่โจทก์ขอ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 กำหนดให้ยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายใน 15 วัน นับจากวันที่ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งให้แก่จำเลย มิใช่ภายใน 15 วัน นับจากวันที่ทราบคำพิพากษาหรือคำสั่ง โจทก์ยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ก่อนที่จะส่งคำบังคับตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์ จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208
แม้โจทก์ทนายโจทก์จะทราบวันเวลาที่ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานโจทก์แล้วไม่มาศาล และไม่นำพยานมาศาลตามนัด โดยไม่แจ้งเหตุขัดข้องให้ศาลทราบก็ดี แต่ก่อนวันนัดโจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นไปเผชิญสืบที่พิพาท และขอให้เลื่อนนัดสืบพยานโจทก์ไปก่อน ศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งว่าไม่มีเหตุที่จะไปเผชิญสืบที่พิพาทหรือไม่อนุญาตให้เลื่อนวันนัดสืบพยานโจทก์ไป หากมีคำสั่งแต่ว่า สำเนาให้จำเลยจะสั่งในวันนัด โจทก์และทนายโจทก์อาจเข้าใจว่าในวันนัดสืบพยานโจทก์ ศาลชั้นต้นคงจะเลื่อนวันนัดสืบพยานโจทก์ไปและให้มีการเผชิญสืบที่พิพาทตามที่โจทก์ขอ ในวันนัดสืบพยานโจทก์ โจทก์และทนายโจทก์จึงไม่มาศาล และไม่นำพยานโจทก์มาศาล การขาดนัดพิจารณาของโจทก์มิได้เป็นไปโดยจงใจหรือไม่มีเหตุอันควรสมควรให้พิจารณาคดีใหม่ตามที่โจทก์ขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1778/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไต่สวนคำร้องขอสืบพยานเพิ่มเติมหลังศาลเห็นว่าโจทก์ละทิ้งคดี การไม่ไต่สวนถือเป็นการไม่ชอบ
ศาลชั้นต้นกำหนดให้โจทก์นำสืบก่อน ถึงวันนัดทนายโจทก์ ทนายจำเลยและตัวจำเลยมาศาล ทนายโจทก์แถลงว่าตัวโจทก์และพยานไม่มีศาลไม่ทราบเหตุขัดข้องสุดแต่ศาลจะพิจารณาสั่ง ดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าโจทก์ไม่เอาใจใส่ละทิ้งคดีเป็นการประวิงคดี ก็เป็นความเข้าใจของศาลชั้นต้นเอง แม้ศาลชั้นต้นได้สั่งว่าให้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อโดยไม่ให้เลื่อน โดยถือว่าโจทก์ไม่มีพยานมาสืบแล้วอนุญาตให้สืบพยานจำเลยไปจนเสร็จสิ้นและนัดอ่านคำพิพากษาไว้ในวันเดียวกันก็ตาม แต่เมื่อก่อนอ่านคำพิพากษาตัวโจทก์มาศาลและยื่นคำร้องว่า เหตุที่มาศาลล่าช้าเพราะฝนตกมีรถตักดินเสียขวางทางอยู่เป็นเหตุสุดวิสัย ขอสืบพยาน จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะทำการไต่สวนให้ได้ความเสียก่อนว่าข้ออ้างของโจทก์เป็นความจริงหรือไม่ เพราะถ้าเป็นความจริงก็ไม่พอถือได้ว่าตัวโจทก์ไม่เอาใจใส่ในคดี ประวิงคดี ดังที่ศาลชั้นต้นเข้าในในตอนแรก การที่ศาลชั้นต้นไม่ไต่สวนและพิจารณาคดีไป จึงไม่เป็นไปตามขั้นตอนแห่งการดำเนินกระบวนการพิจารณาเป็นการไม่ชอบ ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะพิพากษาให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นเสีย ให้ศาลชั้นต้นไต่สวนและสั่งคำร้องขอสืบพยานของโจทก์แล้วพิจารณาพิพากษาใหม่
แม้ตามอุทธรณ์ของโจทก์คงขอให้สืบพยาน มิได้ขอให้ศาลชั้นต้นไต่สวนและสั่งคำร้องของโจทก์ก็ตาม แต่การที่ศาลอุทธรณ์สั่งให้ศาลชั้นต้นไต่สวนและสั่งคำร้องขอสืบพยานของโจทก์ ก็เป็นไปตามขั้นตอนที่จะอนุญาตให้โจทก์ทำการสืบพยานใหม่ตามอุทธรณ์ของโจทก์นั่นเอง ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจสั่งได้
แม้ตามอุทธรณ์ของโจทก์คงขอให้สืบพยาน มิได้ขอให้ศาลชั้นต้นไต่สวนและสั่งคำร้องของโจทก์ก็ตาม แต่การที่ศาลอุทธรณ์สั่งให้ศาลชั้นต้นไต่สวนและสั่งคำร้องขอสืบพยานของโจทก์ ก็เป็นไปตามขั้นตอนที่จะอนุญาตให้โจทก์ทำการสืบพยานใหม่ตามอุทธรณ์ของโจทก์นั่นเอง ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจสั่งได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1778/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ไต่สวนเหตุจำเป็นที่โจทก์มาศาลล่าช้าก่อนพิพากษาคดี เป็นการไม่ชอบ ศาลอุทธรณ์ชอบพิพากษายกคำพิพากษาเดิม
ศาลชั้นต้นกำหนดให้โจทก์นำสืบก่อน ถึงวันนัดทนายโจทก์ทนายจำเลยและตัวจำเลยมาศาล ทนายโจทก์แถลงว่าตัวโจทก์และพยานไม่มาศาลไม่ทราบเหตุขัดข้องสุดแต่ศาลจะพิจารณาสั่ง ดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าโจทก์ไม่เอาใจใส่ละทิ้งคดีเป็นการประวิงคดี ก็เป็นความเข้าใจของศาลชั้นต้นเอง แม้ศาลชั้นต้นได้สั่งว่าให้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อโดยไม่ให้เลื่อน โดยถือว่าโจทก์ไม่มีพยานมาสืบแล้วอนุญาตให้สืบพยานจำเลยไปจนเสร็จสิ้นและนัดอ่านคำพิพากษาไว้ในวันเดียวกันก็ตาม แต่เมื่อก่อนอ่านคำพิพากษาตัวโจทก์มาศาลและยื่นคำร้องว่า เหตุที่มาศาลล่าช้าเพราะฝนตกมีรถตักดินเสียขวางทางอยู่เป็นเหตุสุดวิสัย ขอสืบพยาน จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะทำการไต่สวนให้ได้ความเสียก่อนว่าข้ออ้างของโจทก์เป็นความจริงหรือไม่ เพราะถ้าเป็นความจริงก็ไม่พอถือได้ว่าตัวโจทก์ไม่เอาใจใส่ในคดี ประวิงคดี ดังที่ศาลชั้นต้นเข้าใจในตอนแรก การที่ศาลชั้นต้นไม่ไต่สวนและพิจารณาคดีไป จึงไม่เป็นไปตามขั้นตอนแห่งการดำเนินกระบวนพิจารณา เป็นการไม่ชอบ ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะพิพากษาให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นเสีย ให้ศาลชั้นต้นไต่สวนและสั่งคำร้องขอสืบพยานของโจทก์แล้วพิจารณาพิพากษาใหม่
แม้ตามอุทธรณ์ของโจทก์คงขอให้สืบพยาน มิได้ขอให้ศาลชั้นต้นไต่สวนและสั่งคำร้องของโจทก์ก็ตาม แต่การที่ศาลอุทธรณ์สั่งให้ศาลชั้นต้นไต่สวนและสั่งคำร้องขอสืบพยานของโจทก์ ก็เป็นไปตามขั้นตอนที่จะอนุญาตให้โจทก์ทำการสืบพยานใหม่ตามอุทธรณ์ของโจทก์นั่นเอง ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจสั่งได้
แม้ตามอุทธรณ์ของโจทก์คงขอให้สืบพยาน มิได้ขอให้ศาลชั้นต้นไต่สวนและสั่งคำร้องของโจทก์ก็ตาม แต่การที่ศาลอุทธรณ์สั่งให้ศาลชั้นต้นไต่สวนและสั่งคำร้องขอสืบพยานของโจทก์ ก็เป็นไปตามขั้นตอนที่จะอนุญาตให้โจทก์ทำการสืบพยานใหม่ตามอุทธรณ์ของโจทก์นั่นเอง ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจสั่งได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1644/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดีและการขอเลื่อนคดีผ่านศาลอื่น ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการร้องขอเลื่อนคดีก่อนศาลสั่งขาดนัด ถือว่าไม่ขาดนัด
โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งที่สั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาและให้จำหน่ายคดีโดยอ้างว่าการที่โจทก์ไม่ไปศาลในวันสืบพยานโจทก์นั้น ทนายโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีแล้ว เพียงแต่มิได้ยื่นต่อศาลชั้นต้น(ศาลจังหวัดเลย) โดยตรง เพราะทนายโจทก์ป่วยอยู่ที่จังหวัดหนองคาย จึงได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีต่อศาลจังหวัดหนองคายเพื่อให้ส่งคำร้องไปยังศาลชั้นต้นอีกต่อหนึ่ง ดังนี้ เป็นกรณีที่โจทก์มิได้ขาดนัดพิจารณาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 197 วรรค 2 โจทก์จึงมีสิทธิที่จะต้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวและหากฟังได้ว่าโจทก์ได้ร้องขอเลื่อนคดีหรือแจ้งเหตุขัดข้องที่ไม่มาศาลเสียก่อนลงมือสืบพยานดังที่โจทก์อ้าง ก็จะถือว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาและจำหน่ายคดีของโจทก์ตามมาตรา 201 ไม่ได้ ฉะนั้น เมื่อศาลชั้นต้นสั่งว่าโจทก์ไม่มีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีโจทก์จึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้
วันนัดสืบพยานโจทก์(นัดแรก) ทนายโจทก์ป่วยอยู่ที่จังหวัดหนองคายเนื่องจากทอนซิลอักเสบและแพทย์ให้ความเห็นว่าสมควรหยุดพักรักษาตัว ซึ่งถ้าทนายโจทก์ป่วยอยู่ที่จังหวัดเลยอันอยู่ในเขตอำนาจของศาลชั้นต้นแล้ว ทนายโจทก์ก็ต้องร้องขอเลื่อนคดีหรือแจ้งเหตุขัดข้องที่ไม่ไปศาลให้ศาลชั้นต้นทราบเสียก่อนลงมือสืบพยาน คดีนี้นัดสืบพยานโจทก์ไว้เวลา 9 นาฬิกา ปรากฏว่าคำร้องขอเลื่อนคดีของทนายโจทก์ซึ่งยื่นต่อศาลจังหวัดหนองคายโดยอาศัยบทบัญญัติมาตรา 10 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งนั้น พนักงานรับฟ้องของศาลจังหวัดหนองคายลงรับไว้เวลา 10.00 นาฬิกา แต่ศาลชั้นต้นได้รออยู่จนเวลา 10.05 นาฬิกา จึงได้สั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาและให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ ดังนั้น จะถือว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาไม่ได้ เพราะกรณีดังกล่าวถึงว่าโจทก์ได้ร้อบขอเลื่อนคดีก่อนลงมือสืบพยานแล้ว
(วรรค 2 วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 13/2519)
วันนัดสืบพยานโจทก์(นัดแรก) ทนายโจทก์ป่วยอยู่ที่จังหวัดหนองคายเนื่องจากทอนซิลอักเสบและแพทย์ให้ความเห็นว่าสมควรหยุดพักรักษาตัว ซึ่งถ้าทนายโจทก์ป่วยอยู่ที่จังหวัดเลยอันอยู่ในเขตอำนาจของศาลชั้นต้นแล้ว ทนายโจทก์ก็ต้องร้องขอเลื่อนคดีหรือแจ้งเหตุขัดข้องที่ไม่ไปศาลให้ศาลชั้นต้นทราบเสียก่อนลงมือสืบพยาน คดีนี้นัดสืบพยานโจทก์ไว้เวลา 9 นาฬิกา ปรากฏว่าคำร้องขอเลื่อนคดีของทนายโจทก์ซึ่งยื่นต่อศาลจังหวัดหนองคายโดยอาศัยบทบัญญัติมาตรา 10 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งนั้น พนักงานรับฟ้องของศาลจังหวัดหนองคายลงรับไว้เวลา 10.00 นาฬิกา แต่ศาลชั้นต้นได้รออยู่จนเวลา 10.05 นาฬิกา จึงได้สั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาและให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ ดังนั้น จะถือว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาไม่ได้ เพราะกรณีดังกล่าวถึงว่าโจทก์ได้ร้อบขอเลื่อนคดีก่อนลงมือสืบพยานแล้ว
(วรรค 2 วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 13/2519)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1644/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร้องขอเลื่อนคดีข้ามเขตอำนาจศาลและการขาดนัดพิจารณา หากยื่นก่อนศาลสั่งขาดนัด ถือว่ามิได้ขาดนัด
โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งที่สั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาและให้จำหน่ายคดีโดยอ้างว่าการที่โจทก์ไม่ไปศาลในวันสืบพยานโจทก์นั้น ทนายโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีแล้ว เพียงแต่มิได้ยื่นต่อศาลชั้นต้น (ศาลจังหวัดเลย)โดยตรง เพราะทนายโจทก์ป่วยอยู่ที่จังหวัดหนองคาย จึงได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีต่อศาลจังหวัดหนองคายเพื่อให้ส่งคำร้องไปยังศาลชั้นต้นอีกต่อหนึ่ง ดังนี้ เป็นกรณีที่โจทก์อ้างว่าโจทก์มิได้ขาดนัดพิจารณาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 197 วรรคสองโจทก์จึงมีสิทธิที่จะร้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวและหากฟังได้ว่าโจทก์ได้ร้องขอเลื่อนคดีหรือแจ้งเหตุขัดข้องที่ไม่มารศาลเสียก่อนลงมือสืบพยานดังโจทก์อ้าง ก็จะถือว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาและจำหน่ายคดีของโจทก์ตามมาตรา 201 ไม่ได้ ฉะนั้น เมื่อศาลชั้นต้นสั่งว่าโจทก์ไม่มีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดี โจทก์จึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้
วันนัดสืบพยานโจทก์ (นัดแรก) ทนายโจทก์ป่วยอยู่ที่จังหวัดหนองคายเนื่องจากทอนซิลอักเสบและแพทย์ให้ความเห็นว่าสมควรหยุดพักรักษาตัว ซึ่งถ้าทนายโจทก์ป่วยอยู่ที่จังหวัดเลยอันอยู่ในเขตอำนาจของศาลชั้นต้นแล้วทนายโจทก์ก็ต้องร้องขอเลื่อนคดีหรือแจ้งเหตุขัดข้องที่ไม่ไปศาลให้ศาลชั้นต้นทราบเสียก่อนลงมือสืบพยาน คดีนี้นัดสืบพยานโจทก์ไว้เวลา 9 นาฬิกา ปรากฏว่าคำร้องขอเลื่อนคดีของทนายโจทก์ซึ่งยื่นต่อศาลจังหวัดหนอกคาย โดยอาศัยบทบัญญัติมาตรา 10 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งนั้น พนักงานรับฟ้องขอศาลจังหวัดหนองคายลงรับไว้เวลา 10.00 นาฬิกา แต่ศาลชั้นต้นได้รออยู่จนเวลา 10.05 นาฬิกา จึงได้สั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาและให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ ดังนั้น จะถือว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาไม่ได้ เพราะกรณีดังกล่าวถือว่าโจทก์ได้ร้องขอเลื่อนคดีก่อนลงมือสืบพยานแล้ว
(วรรค 2 วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 13/2519)
วันนัดสืบพยานโจทก์ (นัดแรก) ทนายโจทก์ป่วยอยู่ที่จังหวัดหนองคายเนื่องจากทอนซิลอักเสบและแพทย์ให้ความเห็นว่าสมควรหยุดพักรักษาตัว ซึ่งถ้าทนายโจทก์ป่วยอยู่ที่จังหวัดเลยอันอยู่ในเขตอำนาจของศาลชั้นต้นแล้วทนายโจทก์ก็ต้องร้องขอเลื่อนคดีหรือแจ้งเหตุขัดข้องที่ไม่ไปศาลให้ศาลชั้นต้นทราบเสียก่อนลงมือสืบพยาน คดีนี้นัดสืบพยานโจทก์ไว้เวลา 9 นาฬิกา ปรากฏว่าคำร้องขอเลื่อนคดีของทนายโจทก์ซึ่งยื่นต่อศาลจังหวัดหนอกคาย โดยอาศัยบทบัญญัติมาตรา 10 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งนั้น พนักงานรับฟ้องขอศาลจังหวัดหนองคายลงรับไว้เวลา 10.00 นาฬิกา แต่ศาลชั้นต้นได้รออยู่จนเวลา 10.05 นาฬิกา จึงได้สั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาและให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ ดังนั้น จะถือว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาไม่ได้ เพราะกรณีดังกล่าวถือว่าโจทก์ได้ร้องขอเลื่อนคดีก่อนลงมือสืบพยานแล้ว
(วรรค 2 วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 13/2519)