คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 39 (4)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 406 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1120/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดอำนาจศาลไม่ใช่การฟ้องซ้ำ คดีปลอมแปลงเอกสารเป็นคนละประเด็น
จำเลยกระทำการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลอันเป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล และศาลชั้นต้นมีคำสั่งลงโทษจำเลยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 31 (1), 33 ซึ่งกฎหมายดังกล่าวให้ศาลมีอำนาจพิเศษในการสั่งลงโทษจำเลยได้โดยไม่ต้องมีผู้ใดร้องขอหรือเป็นโจทก์ฟ้อง แม้จำเลยได้อุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นแล้วพนักงานอัยการได้ทำคำแก้อุทธรณ์ของจำเลยก็ตาม ก็ถือไม่ได้ว่าพนักงานอัยการเป็นโจทก์
ความผิดของจำเลยคดีนี้เป็นเรื่องปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม โดยพนักงานอัยการเป็นโจทก์จึงเป็นคนละเรื่องและคนละประเด็นกับคดีฐานละเมิดอำนาจศาล ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งลงโทษจำคุกจำเลยและคดีถึงที่สุดแล้ว สิทธินำคดีมาฟ้องของโจทก์คดีนี้ย่อมไม่ระงับไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (4) โจทก์จึงฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยเป็นคดีนี้ได้ ไม่เป็นการฟ้องซ้ำ หนังสือมอบอำนาจเป็นเอกสารธรรมดา ซึ่งบุคคลคนหนึ่งมอบหมายให้บุคคลอีกคนหนึ่งมีอำนาจจัดการทำนิติกรรมแทนตนเท่านั้น ไม่เป็นเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการก่อตั้งสิทธิอย่างใด ไม่ใช่เอกสารสิทธิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9334/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีซ้ำซ้อนและการดำเนินคดีโดยสมยอม: สิทธิฟ้องไม่ระงับหากเป็นการกระทำที่ไม่สุจริต
หลักการของ ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4) ที่บัญญัติให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปเมื่อมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องอันเป็นหลักการห้ามดำเนินคดีซ้ำสองแก่จำเลยนั้น จะต้องปรากฏว่าคดีก่อนเป็นกรณีที่จำเลยถูกฟ้องร้องดำเนินคดีอย่างแท้จริง หากปรากฏว่าคดีก่อนเป็นการฟ้องร้องดำเนินคดีอย่างสมยอมกัน แม้ว่าเป็นการกระทำกรรมเดียวกัน ก็ถือไม่ได้ว่าการกระทำกรรมนั้นจำเลยเคยถูกฟ้องและศาลได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดอันจะมีผลทำให้สิทธินำคดีมาฟ้องในความผิดกรรมนั้นระงับไปไม่
คดีนี้โจทก์ได้อุทธรณ์ว่า คดีก่อนคือคดีอาญาหมายเลขแดงที่548/2537 ของศาลชั้นต้น ซึ่งเด็กหญิง ส.เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในความผิดกรรมเดียวกันกับคดีนี้ มีพฤติการณ์ว่าโจทก์ในคดีนั้นจะดำเนินคดีโดยสมยอมโดยไม่สุจริต เพราะขณะเกิดเหตุที่จำเลยขับรถจักรยานยนต์ชนเด็กชาย ว.ผู้เสียหายคดีนี้ เด็กหญิง ส.โจทก์คดีก่อนนั้นเป็นคนนั่งซ้อนท้ายมากับรถจักรยานยนต์ของจำเลย เมื่อเกิดเหตุแล้วทนายโจทก์คดีนั้นก็ได้รีบยื่นฟ้องจำเลย อีกทั้งเด็กหญิง ส.โจทก์คดีนั้นและจำเลยต่างก็เป็นลูกจ้างของทนายจำเลยคดีนี้ด้วยกันนอกจากนี้ยังปรากฏด้วยว่าทนายโจทก์คดีก่อนนั้นก็เป็นบุตรของทนายจำเลยคดีนี้และอาศัยอยู่ด้วยกันด้วย และในการดำเนินคดีก่อนทนายโจทก์เพียงแต่นำนาง ส.มารดาเด็กหญิง ส.ซึ่งไม่รู้เห็นเหตุการณ์ในขณะเกิดเหตุมาเบิกความต่อศาลในชั้นไต่สวนมูลฟ้องเพียงปากเดียว เป็นเหตุให้ศาลพิพากษายกฟ้องคดีนั้นเพราะเห็นว่าคดีไม่มีมูล ข้ออ้างตามอุทธรณ์ของโจทก์เช่นนี้ หากฟังได้ว่าเป็นความจริง ย่อมส่อแสดงว่าคดีก่อนโจทก์ในคดีนั้นได้ฟ้องร้องดำเนินคดีแก่จำเลยในลักษณะสมยอมกันเป็นการดำเนินคดีโดยไม่สุจริตเพื่อหวังผลเพียงต้องการตัดสิทธิผู้เสียหายและพนักงานอัยการโจทก์คดีนี้มิให้มีสิทธิฟ้องร้องดำเนินคดีแก่จำเลยซ้ำสองได้อีกเท่านั้น ย่อมถือไม่ได้ว่าคดีก่อนได้มีการฟ้องร้องดำเนินคดีแก่จำเลยอย่างแท้จริงสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ในคดีนี้หาได้ระงับไปไม่ ดังนั้นการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 เพียงแต่ฟังข้อเท็จจริงว่าความผิดตาม ป.อ. มาตรา 300 กรรมเดียวกันนี้ จำเลยเคยถูกโจทก์คดีก่อนฟ้องร้องและดำเนินคดีมาแล้วก็ด่วนวินิจฉัยว่าสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์คดีนี้สำหรับการกระทำกรรมดังกล่าวนั้นระงับไปเพราะมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดแล้ว โดยไม่สั่งให้ศาลชั้นต้นไต่สวนให้ได้ความจริงเสียก่อนว่าคดีก่อนนั้นเป็นการดำเนินคดีในลักษณะสมยอมกันจริงดังที่โจทก์กล่าวอ้างในอุทธรณ์หรือไม่ ย่อมเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา สมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิจารณาพิพากษาในข้อหาความผิดตาม ป.อ. มาตรา 300 ใหม่
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่าสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ในความผิดฐานหลบหนีไม่หยุดช่วยเหลือตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522มาตรา 38, 160 วรรคสอง ยังไม่ระงับ แต่พิพากษาแก้เป็นว่าให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาความผิดฐานนี้ใหม่โดยมิได้พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนนี้ ย่อมเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9334/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินคดีซ้ำสอง: คดีก่อนเป็นการสมยอมหรือไม่ หากเป็นการสมยอม สิทธิฟ้องของโจทก์ไม่ระงับ
หลักการของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา39(4)ที่บัญญัติให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปเมื่อมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องอันเป็นหลักการห้ามดำเนินคดีซ้ำสองแก่จำเลยทั้งจะต้องปรากฎว่าคดีก่อนเป็นกรณีที่จำเลยถูกฟ้องร้องดำเนินคดีอย่างแท้จริงหากปรากฎว่าคดีก่อนเป็นการฟ้องร้องดำเนินคดีอย่างสมยอมกันแม้ว่าเป็นการกระทำกรรมเดียวกันก็ถือไม่ได้ว่าการกระทำกรรมนั้นจำเลยเคยถูกฟ้องและศาลได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดอันจะมีผลทำให้สิทธินำคดีมาฟ้องในความผิดกรรมนั้นระงับไปไม่ คดีนี้โจทก์ได้อุทธรณ์ว่าคดีก่อนคือคดีอาญาหมายเลขแดงที่548/2537ของศาลชั้นต้นซึ่งเด็กหญิง ส. เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในความผิดกรรมเดียวกันกับคดีนี้มีพฤติการณ์ว่าโจทก์ในคดีนั้นจะดำเนินคดีโดยสมยอมโดยไม่สุจริตเพราะขณะเกิดเหตุที่จำเลยขับรถจักรยานยนต์ชนเด็กชายว.ผู้เสียหายคดีนี้เด็กหญิงส.โจทก์คดีก่อนนั้นเป็นคนนั่งซ้อนท้ายมากับรถจักรยานยนต์ของจำเลยเมื่อเกิดเหตุแล้วทนายโจทก์คดีนั้นก็ได้รีบยื่นฟ้องจำเลยอีกทั้งเด็กหญิงส. โจทก์คดีนั้นและจำเลยต่างก็เป็นลูกจ้างของทนายจำเลยคดีนี้ด้วยกันนอกจากนี้ยังปรากฎด้วยว่าทนายโจทก์คดีก่อนนั้นก็เป็นบุตรของทนายจำเลยคดีนี้และอาศัยอยู่ด้วยกันด้วยและในการดำเนินคดีก่อนทนายโจทก์เพียงแต่นำนางส. มารดาเด็กหญิงส. ซึ่งไม่รู้เห็นเหตุการณ์ในขณะเกิดเหตุมาเบิกความต่อศาลในชั้นไต่สวนมูลฟ้องเพียงปากเดียวเป็นเหตุให้ศาลพิพากษายกฟ้องคดีนั้นเพราะเห็นว่าคดีไม่มีมูลข้ออ้างตามอุทธรณ์ของโจทก์เช่นนี้หากฟังได้ว่าเป็นความจริงย่อมส่อแสดงว่าคดีก่อนโจทก์ในคดีนั้นได้ฟ้องร้องดำเนินคดีแก่จำเลยในลักษณะสมยอมกันเป็นการดำเนินคดีโดยไม่สุจริตเพื่อหวังผลเพียงต้องการตัดสิทธิผู้เสียหายและพนักงานอัยการโจทก์คดีนี้มิให้มีสิทธิฟ้องร้องดำเนินคดีแก่จำเลยซ้ำสองได้อีกเท่านั้นย่อมถือไม่ได้ว่าคดีก่อนได้มีการฟ้องร้องดำเนินคดีแก่จำเลยอย่างแท้จริงสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ในคดีนี้หาได้ระงับไปไม่ดังนั้นการที่ศาลอุทธรณ์ภาค2เพียงแต่ฟังข้อเท็จจริงว่าความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา300กรรมเดียวกันนี้จำเลยเคยถูกโจทก์คดีก่อนฟ้องร้องและดำเนินคดีมาแล้วก็ด่วนวินิจฉัยว่าสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์คดีนี้สำหรับการกระทำกรรมดังกล่าวนั้นระงับไปเพราะมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดแล้วโดยไม่สั่งให้ศาลศาลชั้นต้นไต่สวนให้ได้ความจริงเสียก่อนว่าคดีก่อนนั้นเป็นการดำเนินคดีในลักษณะสมยอมกันจริงดังที่โจทก์กล่าวอ้างในอุทธรณ์หรือไม่ย่อมเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค2พิจารณาพิพากษาให้ข้อหาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา300ใหม่ ศาลอุทธรณ์ภาค2วินิจฉัยว่าสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ในความผิดฐานหลบหนีไม่หยุดช่วยเหลือตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ.2522มาตรา38,160วรรคสองยังไม่ระงับแต่พิพากษาแก้เป็นว่าให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาความผิดฐานนี้ใหม่โดยมิได้พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนนี้ย่อมเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7923/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: คำฟ้องไม่ชัดเจนถึงการกระทำผิดและเจตนาหลอกลวง
เหตุที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่ประทับฟ้องโจทก์ในคดีก่อน เนื่องมาจากคำฟ้องไม่ได้บรรยายว่าข้อความเท็จที่จำเลยทั้งสองในคดีนี้แสดงหรือข้อความจริงที่จำเลยทั้งสองในคดีนี้ปกปิดเป็นอย่างไร ทั้งไม่ได้บรรยายว่าจำเลยคนใดหลอกลวงโจทก์ให้สั่งจ่ายเช็คภายหลังที่จำเลยทั้งสองได้โอนที่ดินและอาคารให้แก่จำเลยที่ 3ซึ่งศาลอุทธรณ์พิพากษายืน เห็นได้ว่า คำสั่งและคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองในคดีก่อนยังมิได้วินิจฉัยชี้ขาดในเนื้อหาการกระทำของจำเลยทั้งสองว่าได้กระทำผิดตามฟ้องหรือไม่ ถือไม่ได้ว่ามีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ตามฟ้องตามป.วิ.อ.มาตรา 39(4) ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7923/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำในคดีฉ้อโกง: ศาลพิจารณาองค์ประกอบความผิดในคำฟ้องเดิม หากไม่ชัดเจนถือว่ายังไม่มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาด
เหตุที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่ประทับฟ้องโจทก์ในคดีก่อนเนื่องมาจากคำฟ้องไม่ได้บรรยายว่าข้อความเท็จที่จำเลยทั้งสองในคดีนี้แสดงหรือข้อความจริงที่จำเลยทั้งสองในคดีนี้ปกปิดเป็นอย่างไรทั้งไม่ได้บรรยายว่าจำเลยคนใดหลอกลวงโจทก์ให้สั่งจ่ายเช็คภายหลังที่จำเลยทั้งสองได้โอนที่ดินและอาคารให้แก่จำเลยที่3ซึ่งศาลอุทธรณ์พิพากษายืนเห็นได้ว่าคำสั่งและคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองในคดีก่อนยังมิได้วินิจฉัยชี้ขาดในเนื้อหาการกระทำของจำเลยทั้งสองว่าได้กระทำผิดตามฟ้องหรือไม่ถือไม่ได้ว่ามีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ตามฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา39(4)ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7878/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องซ้ำและความชอบด้วยกฎหมายในการบวกโทษจำคุกคดีเก่ากับคดีใหม่ ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจเพิ่มเติมโทษหากโจทก์มิได้อุทธรณ์
การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในคดีก่อนมีเจตนาเสนอจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้อื่น ส่วนการกระทำของจำเลยที่ 1และที่ 2 ในคดีนี้ มีเจตนาเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เมื่อเจตนาของการกระทำผิดทั้งสองข้อหาแตกต่างกันการกระทำผิดของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงเป็นการกระทำหลายกรรมต่างกัน โจทก์ย่อมฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1และที่ 2 ทุกกรรมเป็นกระทงความผิดได้ ฟ้องคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4) หลังจากที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยไม่นำโทษจำคุกของจำเลยที่ 2ที่รอไว้ในคดีก่อนบวกเข้ากับโทษจำคุกคดีนี้แล้ว โจทก์ไม่อุทธรณ์ ถือว่าโจทก์พอใจในคำพิพากษาศาลชั้นต้นส่วนการพิจารณาพิพากษาชั้นอุทธรณ์ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212 บัญญัติว่าคดีที่จำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาที่ให้ลงโทษ ห้ามมิให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย เว้นแต่โจทก์จะได้อุทธรณ์ในทำนองนั้น ฉะนั้นเมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์ปัญหาเรื่องการบวกโทษแล้ว บทบัญญัติมาตรานี้ห้ามศาลอุทธรณ์นำเรื่องการบวกโทษขึ้นมาวินิจฉัยอีก เพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษแก่จำเลยการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาว่ามีอำนาจบวกโทษจำเลยที่ 2 ได้เองจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7878/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องซ้ำและความเสียหายจากการบวกโทษ: ศาลอุทธรณ์มีอำนาจจำกัดในการแก้ไขโทษจำคุก
การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในคดีก่อน มีเจตนาเสนอจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้อื่น ส่วนการกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในคดีนี้ มีเจตนาเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เมื่อเจตนาของการกระทำผิดทั้งสองข้อหาแตกต่างกัน การกระทำผิดของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงเป็นการกระทำหลายกรรมต่างกัน โจทก์ย่อมฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 2 ทุกกรรมเป็นกระทงความผิดได้ ฟ้องคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4)
หลังจากที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยไม่นำโทษจำคุกของจำเลยที่ 2ที่รอไว้ในคดีก่อนบวกเข้ากับโทษจำคุกคดีนี้แล้ว โจทก์ไม่อุทธรณ์ ถือว่าโจทก์พอใจในคำพิพากษาศาลชั้นต้น ส่วนการพิจารณาพิพากษาชั้นอุทธรณ์ ป.วิ.อ.มาตรา 212 บัญญัติว่า คดีที่จำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาที่ให้ลงโทษ ห้ามมิให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย เว้นแต่โจทก์จะได้อุทธรณ์ในทำนองนั้น ฉะนั้นเมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์ปัญหาเรื่องการบวกโทษแล้ว บทบัญญัติมาตรานี้ห้ามศาล-อุทธรณ์นำเรื่องการบวกโทษขึ้นมาวินิจฉัยอีก เพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษแก่จำเลย การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาว่ามีอำนาจบวกโทษจำเลยที่ 2 ได้เองจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3388/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดกรรมเดียว การแยกฟ้องหลายคดี สิทธิฟ้องระงับตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
จำเลยรับของโจรรถจักรยานยนต์ 2 คัน ไว้ในคราวเดียวกัน การกระทำของจำเลยเป็นความผิดกรรมเดียว การที่โจทก์แยกฟ้องจำเลยเป็นแต่ละคดีตามจำนวนรถจักรยานยนต์เป็น 2 คดี เมื่อได้ความว่าได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดลงโทษจำเลยในความผิดฐานรับของโจรรถจักรยานยนต์คันหนึ่งแล้ว โจทก์ย่อมไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานรับของโจรรถจักรยานยนต์อีกคันหนึ่งเป็นคดีนี้อีกเพราะสิทธินำคดีอาญามาฟ้องเป็นอันระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3388/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียว ผิดต่อกฎหมายหลายบท สิทธิฟ้องระงับเมื่อมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว
จำเลยรับของโจรรถจักรยานยนต์ 2 คัน ไว้ในคราวเดียวกัน การกระทำของจำเลยเป็นความผิดกรรมเดียว การที่โจทก์แยกฟ้องจำเลยเป็นแต่ละคดีตามจำนวนรถจักรยานยนต์เป็น 2 คดี เมื่อได้ความว่าได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดลงโทษจำเลยในความผิดฐานรับของโจรรถจักรยานยนต์คันหนึ่งแล้ว โจทก์ย่อมไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานรับของโจรรถจักรยานยนต์อีกคันหนึ่งเป็นคดีนี้อีกเพราะสิทธินำคดีอาญามาฟ้องเป็นอันระงับไปตามประมวล-กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2830/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อเติมอาคารซ้ำ ฟ้องซ้ำสิทธิอาญา และการใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลย
คดีก่อนจำเลยดัดแปลงต่อเติมอาคารชั้นที่สี่ ระหว่างวันที่6 พฤศจิกายน 2531 ถึงวันที่ 6 ธันวาคม 2531 ส่วนคดีนี้จำเลยทั้งสองร่วมกันดัดแปลงอาคารโดยการต่อเติมขยายเพิ่มขึ้นจาก 3 ชั้น เป็น8 ชั้น และกระทำเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2534 เช่นนี้แม้อาคารคดีนี้จะเป็นอาคารเดียวกันกับคดีก่อน แต่การกระทำในคดีนี้ก็เป็นคนละกรรมต่างกันกับคดีก่อน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงไม่ระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4) ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 ให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณไม่ว่าในทางใด ดังนั้นจึงต้องนำบทบัญญัติ มาตรา 70 แห่งพระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ที่แก้ไขอันเป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองยิ่งกว่ามาตรา 70 เดิมมาใช้บังคับแก่จำเลยทั้งสอง และยังคงต้องใช้มาตรา 65 วรรคหนึ่งเดิม ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดอันเป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองยิ่งกว่ามาตรา 65 ที่แก้ไขมาใช้บังคับด้วย ฉะนั้น เมื่อนำกฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยคือ มาตรา 65 วรรคหนึ่งเดิม ซึ่งไม่มีระวางโทษจำคุกคงมีแต่โทษปรับและมาตรา 70 ที่แก้ไขซึ่งไม่ได้กำหนดโทษจำคุกไว้มาใช้บังคับแก่จำเลยทั้งสอง จึงไม่มีโทษจำคุกที่จะลงแก่จำเลยทั้งสอง คงลงโทษจำเลยทั้งสองได้เพียงปรับซึ่งเป็นโทษที่เบากว่าโทษจำคุก
of 41