พบผลลัพธ์ทั้งหมด 406 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5345/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฟ้องอาญาและการระงับตามกฎหมาย กรณีเคยฟ้องคดีซ้ำ และความรับผิดของข้าราชการ
โจทก์บรรยายฟ้องถึงตำแหน่งและหน้าที่ของจำเลยทั้งห้าตลอดจนการกระทำทั้งหลายว่าเป็นการมิชอบด้วยหน้าที่ไว้โดยละเอียดแสดงถึงการกระทำทั้งหลายซึ่งอ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิดข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ที่เกิดการกระทำนั้น ๆ เพียงพอที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาได้ดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) แล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องได้ความว่า การกระทำของจำเลยที่ 1และที่ 3 ซึ่งเป็นการกระทำเดียวกันกับในคดีนี้ โจทก์เคยฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 3 เป็นจำเลยในข้อหาแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี ศาลพิพากษายกฟ้อง คดีถึงที่สุด สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39(4) โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 3 ส่วนจำเลยที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 ได้ความเพียงว่า ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อ ทั้งโจทก์ไม่ได้ยืนยันว่าจำเลยที่ 2 ที่ 4 และที่ 5ได้กระทำการใดเพื่อแสวงหาประโยชน์อันมิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายอันจะเป็นความผิดตามบทกฎหมายที่โจทก์อ้าง คดีของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 จึงไม่มีมูล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4537/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำในความผิดเบิกความเท็จ: สิทธินำคดีอาญาไม่ระงับหากคำพิพากษาเดิมยกฟ้องเนื่องจากคำฟ้องไม่ชัดเจน
โจทก์เคยฟ้องจำเลยในข้อหาเบิกความเท็จมาครั้งหนึ่งแล้วคดีก่อนศาลพิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยว่า ฟ้องโจทก์บรรยายแต่เฉพาะข้อความที่อ้างว่าจำเลยเบิกความเท็จ ไม่ได้บรรยายว่าความจริงเป็นอย่างไรจะฟังว่าจำเลยเบิกความเท็จยังไม่ได้ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิด เป็นการยกฟ้องเนื่องจากคำฟ้องไม่ได้บรรยายว่าความจริงเป็นอย่างไร ศาลยังไม่ได้วินิจฉัยชี้ขาดถึงการกระทำผิดของจำเลย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ยังไม่ระงับ โจทก์ฟ้องใหม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4312/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้ำในคดีอาญา: คำพิพากษายกฟ้องเนื่องจากคำฟ้องไม่ถูกต้อง ไม่ถือเป็นการวินิจฉัยความผิด
คดีก่อนศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่า ฟ้องโจทก์มิได้บรรยายว่าคำเบิกความเท็จของจำเลยเป็นข้อสำคัญในคดีอย่างไร และประเด็นสำคัญแห่งคดีมีว่าอย่างไรจึงเป็นคำฟ้องที่ไม่ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) ไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยถึงพยานโจทก์ชั้นไต่สวนมูลฟ้อง พิพากษายกฟ้อง ดังนี้ศาลยังไม่ได้วินิจฉัยถึงการกระทำของจำเลยตามข้อกล่าวหาของโจทก์จึงถือไม่ได้ว่าเป็นคำพิพากษาที่ได้วินิจฉัยในความผิดซึ่งได้ฟ้องโจทก์ฟ้องใหม่ได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1499/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้ำในความผิดเดิม: สิทธิฟ้องระงับเมื่อมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว แม้ประเด็นต่างกัน
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองในข้อหาหมิ่นประมาทโดยจำเลย ทั้งสองกับพวกทำหนังสือใส่ความโจทก์ซึ่งเป็นกำนันร้องเรียนต่อ นายอำเภอ ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง คดีเสร็จเด็ดขาดแล้ว โจทก์จะนำการกระทำอันเดียวกันมาฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้อีกในข้อหาแจ้งความเท็จกล่าวหาโจทก์ต่อนายอำเภอซึ่งเป็นเจ้าพนักงานไม่ได้แม้ประเด็นในคดีทั้งสองนี้จะต่างกันก็ตาม สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4) แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1499/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้ำในความผิดเดิม แม้ประเด็นต่างกัน สิทธิฟ้องระงับตามกฎหมาย
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองในข้อหาหมิ่นประมาทโดยจำเลยทั้งสองกับพวกทำหนังสือใส่ความโจทก์ซึ่งเป็นกำนันร้องเรียนต่อนายอำเภอ ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง คดีเสร็จเด็ดขาดแล้ว โจทก์จะนำการกระทำอันเดียวกันมาฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้อีกในข้อหาแจ้งความเท็จกล่าวหาโจทก์ต่อนายอำเภอซึ่งเป็นเจ้าพนักงานไม่ได้แม้ประเด็นในคดีทั้งสองนี้จะต่างกันก็ตาม สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4) แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 203/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญาแผ่นดิน การถอนฟ้องเพื่อส่งคืนคดี และการรับฟังพยานผู้ต้องหา
ทรัพย์ตามฟ้องซึ่งถูกคนร้ายลักไปเป็นของกระทรวงกลาโหม อยู่ในความดูแลของกรมสรรพาวุธทหารบกซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดกองทัพบก กระทรวงกลาโหม โดยกองทัพบกและกระทรวงกลาโหม ต่างก็เป็นนิติบุคคลและเป็นผู้เสียหายในคดีนี้ การที่เจ้ากรมสรรพาวุธทหารบก ผู้ครอบครองดูแลทรัพย์ดังกล่าว มอบอำนาจให้เจ้าหน้าที่ไปร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลย ทั้งคดีนี้เป็นคดีอาญาแผ่นดิน พนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจสอบสวนและพนักงานอัยการ กรมอัยการ ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้
เดิมอัยการศาลทหารกรุงเทพเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในความผิดเดียวกับคดีนี้ไว้แล้ว ต่อมาขณะคดีอยู่ในระหว่างพิจารณา โจทก์คดีนั้นได้ยื่นคำร้องขอถอนฟ้อง โดยอ้างว่าจำเลยเป็นบุคคลพลเรือนที่สังกัดอยู่ในราชการทหารกระทำความผิดฐานรับของโจรและมีอาวุธปืนไว้โดยฝ่าฝืนกฎหมายนอกที่ตั้งหน่วยทหาร คดีไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498มาตรา 14 (2) โจทก์จึงขอถอนฟ้องเพื่อส่งคืนพนักงานสอบสวนให้ส่งพนักงานอัยการพลเรือนดำเนินการต่อไปมิใช่เป็นการถอนฟ้องเด็ดขาดตามความหมายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 36แต่เป็นการถอนฟ้องเพื่อดำเนินการให้ถูกต้องเกี่ยวกับอำนาจศาลเท่านั้นและแม้กรณีศาลทหารยกฟ้องเพราะเหตุคดีอยู่ในอำนาจศาลพลเรือน พนักงานอัยการก็ยังนำคดีมาฟ้องต่อศาลพลเรือนได้ ดังนั้นสิทธินำคดีมาฟ้องจึงหาระงับไปไม่พนักงานอัยการ กรมอัยการ มีอำนาจฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ได้
ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามมิให้รับฟังพยานโจทก์ที่เคยตกอยู่ในฐานะผู้ต้องหาด้วยกัน เป็นแต่มีน้ำหนักให้รับฟังมากน้อยเพียงใดเท่านั้น หากศาลเห็นว่าพยานเช่นว่านั้นเบิกความประกอบชอบด้วยเหตุผล เชื่อได้ว่าเบิกความตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ศาลก็มีอำนาจรับฟังพยานดังกล่าวประกอบคดีของโจทก์ได้
เดิมอัยการศาลทหารกรุงเทพเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในความผิดเดียวกับคดีนี้ไว้แล้ว ต่อมาขณะคดีอยู่ในระหว่างพิจารณา โจทก์คดีนั้นได้ยื่นคำร้องขอถอนฟ้อง โดยอ้างว่าจำเลยเป็นบุคคลพลเรือนที่สังกัดอยู่ในราชการทหารกระทำความผิดฐานรับของโจรและมีอาวุธปืนไว้โดยฝ่าฝืนกฎหมายนอกที่ตั้งหน่วยทหาร คดีไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498มาตรา 14 (2) โจทก์จึงขอถอนฟ้องเพื่อส่งคืนพนักงานสอบสวนให้ส่งพนักงานอัยการพลเรือนดำเนินการต่อไปมิใช่เป็นการถอนฟ้องเด็ดขาดตามความหมายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 36แต่เป็นการถอนฟ้องเพื่อดำเนินการให้ถูกต้องเกี่ยวกับอำนาจศาลเท่านั้นและแม้กรณีศาลทหารยกฟ้องเพราะเหตุคดีอยู่ในอำนาจศาลพลเรือน พนักงานอัยการก็ยังนำคดีมาฟ้องต่อศาลพลเรือนได้ ดังนั้นสิทธินำคดีมาฟ้องจึงหาระงับไปไม่พนักงานอัยการ กรมอัยการ มีอำนาจฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ได้
ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามมิให้รับฟังพยานโจทก์ที่เคยตกอยู่ในฐานะผู้ต้องหาด้วยกัน เป็นแต่มีน้ำหนักให้รับฟังมากน้อยเพียงใดเท่านั้น หากศาลเห็นว่าพยานเช่นว่านั้นเบิกความประกอบชอบด้วยเหตุผล เชื่อได้ว่าเบิกความตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ศาลก็มีอำนาจรับฟังพยานดังกล่าวประกอบคดีของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 203/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญาแผ่นดิน, ถอนฟ้องเพื่อส่งดำเนินคดีต่อ, การรับฟังพยานผู้ต้องหาร่วม
ทรัพย์ตามฟ้องซึ่งถูกคนร้ายลักไปเป็นของกระทรวงกลาโหม อยู่ในความดูแลของกรมสรรพาวุธทหารบกซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดกองทัพบก กระทรวงกลาโหม โดยกองทัพบกและกระทรวงกลาโหม ต่างก็เป็นนิติบุคคลและเป็นผู้เสียหายในคดีนี้ การที่เจ้ากรมสรรพาวุธทหารบก ผู้ครอบครองดูแลทรัพย์ดังกล่าว มอบอำนาจให้เจ้าหน้าที่ไปร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลย ทั้งคดีนี้เป็นคดีอาญาแผ่นดิน พนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจสอบสวนและพนักงานอัยการกรมอัยการ ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้
เดิมอัยการศาลทหารกรุงเทพเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในความผิดเดียวกับคดีนี้ไว้แล้ว ต่อมาขณะคดีอยู่ในระหว่างพิจารณา โจทก์คดีนั้นได้ยื่นคำร้องขอถอนฟ้อง โดยอ้างว่าจำเลยเป็นบุคคลพลเรือนที่สังกัดอยู่ในราชการทหารกระทำความผิดฐานรับของโจรและมีอาวุธปืนไว้โดยฝ่าฝืนกฎหมายนอกที่ตั้งหน่วยทหาร คดีไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498มาตรา 14(2) โจทก์จึงขอถอนฟ้องเพื่อส่งคืนพนักงานสอบสวนให้ส่งพนักงานอัยการพลเรือนดำเนินการต่อไปมิใช่เป็นการถอนฟ้องเด็ดขาดตามความหมายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 36แต่เป็นการถอนฟ้องเพื่อดำเนินการให้ถูกต้องเกี่ยวกับอำนาจศาลเท่านั้นและแม้กรณีศาลทหารยกฟ้องเพราะเหตุคดีอยู่ในอำนาจศาลพลเรือน พนักงานอัยการก็ยังนำคดีมาฟ้องต่อศาลพลเรือนได้ดังนั้นสิทธินำคดีมาฟ้องจึงหาระงับไปไม่พนักงานอัยการกรมอัยการ มีอำนาจฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ได้
ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามมิให้รับฟังพยานโจทก์ที่เคยตกอยู่ในฐานะผู้ต้องหาด้วยกัน เป็นแต่มีน้ำหนักให้รับฟังมากน้อยเพียงใดเท่านั้น หากศาลเห็นว่าพยานเช่นว่านั้นเบิกความประกอบชอบด้วยเหตุผล เชื่อได้ว่าเบิกความตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ศาลก็มีอำนาจรับฟังพยานดังกล่าวประกอบคดีของโจทก์ได้.
เดิมอัยการศาลทหารกรุงเทพเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในความผิดเดียวกับคดีนี้ไว้แล้ว ต่อมาขณะคดีอยู่ในระหว่างพิจารณา โจทก์คดีนั้นได้ยื่นคำร้องขอถอนฟ้อง โดยอ้างว่าจำเลยเป็นบุคคลพลเรือนที่สังกัดอยู่ในราชการทหารกระทำความผิดฐานรับของโจรและมีอาวุธปืนไว้โดยฝ่าฝืนกฎหมายนอกที่ตั้งหน่วยทหาร คดีไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498มาตรา 14(2) โจทก์จึงขอถอนฟ้องเพื่อส่งคืนพนักงานสอบสวนให้ส่งพนักงานอัยการพลเรือนดำเนินการต่อไปมิใช่เป็นการถอนฟ้องเด็ดขาดตามความหมายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 36แต่เป็นการถอนฟ้องเพื่อดำเนินการให้ถูกต้องเกี่ยวกับอำนาจศาลเท่านั้นและแม้กรณีศาลทหารยกฟ้องเพราะเหตุคดีอยู่ในอำนาจศาลพลเรือน พนักงานอัยการก็ยังนำคดีมาฟ้องต่อศาลพลเรือนได้ดังนั้นสิทธินำคดีมาฟ้องจึงหาระงับไปไม่พนักงานอัยการกรมอัยการ มีอำนาจฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ได้
ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามมิให้รับฟังพยานโจทก์ที่เคยตกอยู่ในฐานะผู้ต้องหาด้วยกัน เป็นแต่มีน้ำหนักให้รับฟังมากน้อยเพียงใดเท่านั้น หากศาลเห็นว่าพยานเช่นว่านั้นเบิกความประกอบชอบด้วยเหตุผล เชื่อได้ว่าเบิกความตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ศาลก็มีอำนาจรับฟังพยานดังกล่าวประกอบคดีของโจทก์ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 203/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญาแผ่นดิน: การถอนฟ้องเพื่อส่งดำเนินคดีต่อโดยอัยการพลเรือน และการรับฟังพยานผู้มีส่วนร่วม
ทรัพย์ตามฟ้องซึ่งถูกคนร้ายลักไปเป็นของกระทรวงกลาโหมอยู่ในความดูแลของกรมสรรพาวุธทหารบกซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดกองทัพบกกระทรวงกลาโหม โดยกองทัพบกและกระทรวงกลาโหม ต่างก็เป็นนิติบุคคลและเป็นผู้เสียหายในคดีนี้ การที่เจ้ากรมสรรพาวุธทหารบก ผู้ครอบครองดูแลทรัพย์ดังกล่าว มอบอำนาจให้เจ้าหน้าที่ไปร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลย ทั้งคดีนี้เป็นคดีอาญาแผ่นดิน พนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจสอบสวนและพนักงานอัยการ กรมอัยการ ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้ เดิมอัยการศาลทหารกรุงเทพเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในความผิดเดียวกับคดีนี้ไว้แล้ว ต่อมาขณะคดีอยู่ในระหว่างพิจารณา โจทก์คดีนั้นได้ยื่นคำร้องขอถอนฟ้อง โดยอ้างว่าจำเลยเป็นบุคคลพลเรือนที่สังกัดอยู่ในราชการทหารกระทำความผิดฐานรับของโจทก์และมีอาวุธปืนไว้โดยฝ่าฝืนกฎหมายนอกที่ตั้งหน่วยทหาร คดีไม่อยู่ในอำนาจศาลทหารตามพระธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 มาตรา 14(2) โจทก์จึงขอถอนฟ้องเพื่อส่งคืนพนักงานสอบสวนให้ส่งพนักงานอัยการพลเรือนดำเนินการต่อไป มิใช่เป็นการถอนฟ้องเด็ดขาดตามความหมายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 36 แต่เป็นการถอนฟ้องเพื่อดำเนินการให้ถูกต้องเกี่ยวกับอำนาจศาลเท่านั้น และแม้กรณีศาลทหารยกฟ้องเพราะเหตุคดีอยู่ในอำนาจศาลพลเรือน พนักงานอัยการก็ยังนำคดีมาฟ้องต่อศาลพลเรือนได้ ดังนั้นสิทธินำคดีมาฟ้องจึงหาระงับไปไม่ พนักงานอัยการ กรมอัยการ มีอำนาจฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ได้ ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามมิให้รับฟังพยานโจทก์ที่เคยตกอยู่ในฐานะผู้ต้องหาด้วยกัน เป็นแต่มีน้ำหนักให้รับฟังมากน้อยเพียงใดเท่านั้นหากศาลเห็นว่าพยานเช่นว่านั้นเบิกความประกอบชอบด้วยเหตุผลเชื่อได้ว่าเบิกความตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ศาลก็มีอำนาจรับฟังพยานดังกล่าวประกอบคดีของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5834/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: ศาลยกฟ้องเนื่องจากฟ้องไม่สมบูรณ์ ไม่ถือว่าเป็นการตัดสินคดี สิทธิฟ้องยังไม่ระงับ
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยในความผิดเดียวกันกับคดีนี้ ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลย ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องเพราะโจทก์มิได้ลงลายมือชื่อในคำฟ้อง ดังนี้ ศาลอุทธรณ์ยกฟ้องเพราะเหตุฟ้องโจทก์ไม่สมบูรณ์โดยยังไม่ได้พิจารณาเรื่องที่โจทก์ฟ้อง ถือไม่ได้ว่าศาลได้พิพากษาในความผิดซึ่งได้ฟ้อง สิทธิการนำคดีอาญามาฟ้องจึงไม่ระงับตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39(4).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5041-5042/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ-เครื่องหมายการค้า: การฟ้องคดีอาญาซ้ำเมื่อมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว และการใช้เครื่องหมายการค้าโดยชอบ
พนักงานอัยการโจทก์และผู้เสียหายโจทก์ร่วมเคยฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วม ศาลชั้นต้นพิพากษา ยกฟ้องคดีถึงที่สุดแล้ว ต่อมาโจทก์ร่วมพบสินค้าของจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าเดียวกันนั้นอีกจึงดำเนินการให้โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้โดยอาศัยพยานหลักฐานใหม่และเพิ่มข้อหาอื่นอีกแต่ไม่ได้ความแน่ชัดว่าจำเลยได้ร่วมกันกระทำการเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมขึ้นใหม่ดังนี้ เป็นการนำการกระทำของจำเลยที่มีคำพิพากษา เสร็จเด็ดขาดแล้วมาฟ้องใหม่นั่นเองสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์และโจทก์ร่วมจึงระงับไปตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4)
โจทก์ร่วมจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตราควายพระอาทิตย์ย่อมมีสิทธิใช้หรือให้ผู้อื่นใช้เครื่องหมายการค้าที่ตนจดทะเบียนได้โดยชอบ การที่จำเลยที่ 3 ที่ 4 นำเครื่องหมายการค้าที่โจทก์ร่วมมีสิทธิใช้ได้ตามกฎหมายมาใช้กับสินค้าของจำเลยที่4 โดยโจทก์ร่วมยินยอมจึงไม่เป็นความผิดฐานเลียนเครื่องหมายการค้า
โจทก์ร่วมจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตราควายพระอาทิตย์ย่อมมีสิทธิใช้หรือให้ผู้อื่นใช้เครื่องหมายการค้าที่ตนจดทะเบียนได้โดยชอบ การที่จำเลยที่ 3 ที่ 4 นำเครื่องหมายการค้าที่โจทก์ร่วมมีสิทธิใช้ได้ตามกฎหมายมาใช้กับสินค้าของจำเลยที่4 โดยโจทก์ร่วมยินยอมจึงไม่เป็นความผิดฐานเลียนเครื่องหมายการค้า