พบผลลัพธ์ทั้งหมด 406 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1040/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานยักยอกภาษีมูลค่าเพิ่มและการนับโทษจำคุกกรณีฟ้องหลายสำนวน
คดีก่อนทั้งสองคดีกับคดีนี้โจทก์คนเดียวกันฟ้องจำเลยทั้งสองในวันเดือนปีเดียวกันในการกระทำความผิดลักษณะเดียวกัน ใบกำกับภาษีที่ว่าปลอมหรือออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายก็เป็นของห้างเดียวกันกับในคดีนี้ และการใช้ใบกำกับภาษีนั้นมีการใช้ในช่วงเวลาเดียวกัน แต่ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงจากการนำสืบของโจทก์และจำเลยทั้งสองว่าใบกำกับภาษีของทั้งสามคดีเป็นฉบับเดียวกัน ทั้งจำเลยที่ 1 ของทุกคดี เป็นนิติบุคคลคนละคนกัน และ ป.รัษฎากร มาตรา 39 มิได้บัญญัติว่าจำเลยที่ 1 อีก 2 คดีที่จำเลยทั้งสองอ้างว่าเป็นเครือเดียวกันถือว่าเป็นนิติบุคคลเดียวกัน มีแต่จำเลยที่ 2 ที่เป็นผู้มีอำนาจทำการแทนจำเลยที่ 1 ในทุกคดี ดังนั้น แม้คดีทั้งสองที่จำเลยทั้งสองอ้างดังกล่าวจะมีคำพิพากษาแล้ว ฟ้องของโจทก์ในคดีนี้ก็ไม่เป็นฟ้องซ้ำหรือฟ้องซ้อนกับคดีดังกล่าว
จำเลยที่ 2 ในคดีนี้เป็นบุคคลเดียวกับจำเลยที่ 2 ในคดีทั้งสองดังกล่าว แม้จำเลยที่ 1 จะเป็นนิติบุคคลคนละคนกันก็ตาม แต่ลักษณะแห่งคดีเป็นการนำใบกำกับภาษีปลอมไปใช้เครดิตภาษีในเดือนภาษีเดียวกัน และความผิดเป็นอย่างเดียวกัน คดีทั้งสามมีความเกี่ยวพันกันโดยอาจฟ้องเป็นคดีเดียวกันได้เมื่อโจทก์แยกฟ้องโดยศาลมิได้สั่งให้รวมการพิจารณาคดีด้วยกัน และโทษที่จะกำหนดลงโทษจำเลยตาม ป.รัษฎากร มาตรา 90/4 (7) มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามเดือนถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองแสนบาท ดังนั้น หากศาลพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2 ทุกกรรมแล้ว ก็ต้องอยู่ในบังคับตาม ป.อ. มาตรา 91 (2) ดังนั้น การนับโทษจำเลยที่ 2 ในคดีนี้ต่อจากโทษจำคุกของสองคดีดังกล่าวรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 20 ปี
จำเลยที่ 2 ในคดีนี้เป็นบุคคลเดียวกับจำเลยที่ 2 ในคดีทั้งสองดังกล่าว แม้จำเลยที่ 1 จะเป็นนิติบุคคลคนละคนกันก็ตาม แต่ลักษณะแห่งคดีเป็นการนำใบกำกับภาษีปลอมไปใช้เครดิตภาษีในเดือนภาษีเดียวกัน และความผิดเป็นอย่างเดียวกัน คดีทั้งสามมีความเกี่ยวพันกันโดยอาจฟ้องเป็นคดีเดียวกันได้เมื่อโจทก์แยกฟ้องโดยศาลมิได้สั่งให้รวมการพิจารณาคดีด้วยกัน และโทษที่จะกำหนดลงโทษจำเลยตาม ป.รัษฎากร มาตรา 90/4 (7) มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามเดือนถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองแสนบาท ดังนั้น หากศาลพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2 ทุกกรรมแล้ว ก็ต้องอยู่ในบังคับตาม ป.อ. มาตรา 91 (2) ดังนั้น การนับโทษจำเลยที่ 2 ในคดีนี้ต่อจากโทษจำคุกของสองคดีดังกล่าวรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 20 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 63/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การระงับสิทธิฟ้องคดีอาญาเนื่องจากกรรมเดียวกัน และการพิจารณาโทษจำเลยที่กระทำผิดซ้ำ
ปัญหาเรื่องสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จะระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4) หรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ซึ่งศาลอุทธรณ์ยกขึ้นอ้างได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง แต่ปัญหาดังกล่าวจำเป็นต้องอาศัยข้อเท็จจริงที่ได้มาจากการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบในศาลชั้นต้น เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ฐานช่วยเหลือซ่อนเร้นเพื่อให้คนต่างด้าวพ้นจากการจับกุม โดยมิได้ยกปัญหาข้อเท็จจริงขึ้นกล่าวอ้างว่า ฟ้องโจทก์เป็นการกระทำกรรมเดียวกันกับคดีก่อน ศาลอุทธรณ์จะหยิบปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยว่า สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ระงับตามมาตรา 39 (4) จึงไม่อาจรับฟังได้ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ยกฟ้องโจทก์จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14334/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้ำในความผิดฐานรับของโจร: การพิจารณาช่วงเวลากระทำความผิดและทรัพย์สินที่เกี่ยวข้อง
ทรัพย์สินในความผิดฐานรับของโจรคดีนี้มิใช่ทรัพย์สินในความผิดฐานรับของโจรในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ ๔๗๑ - ๔๗๒/๒๕๕๗ และ ๒๓๑๐/๒๕๕๗ ของศาลชั้นต้นซึ่งจำเลยที่ ๒ ถูกฟ้องเป็นจำเลยที่ 1 ในทั้งสามคดีดังกล่าว และช่วงเวลากระทำความผิดที่โจทก์ฟ้องคดีนี้กับคดีทั้งสามก็เป็นคนละช่วงเวลากัน กรณีไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยที่ ๒ รับของโจรคดีนี้ในคราวเดียวกับการรับของโจรในคดีทั้งสาม ฟ้องโจทก์ในคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีทั้งสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9599/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวความผิดเดียวละเมิดลิขสิทธิ์: สิทธิฟ้องระงับหากมีคำพิพากษาเด็ดขาดแล้ว
ฟ้องโจทก์บรรยายให้เห็นการละเมิดลิขสิทธิ์โดยจำเลยนำเอาของเพลงของผู้เสียหายซึ่งมีผู้ทำซ้ำโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายไปทำซ้ำโดยบันทึกลงในหน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่บรรจุโปรแกรมคาราโอเกะที่เป็นตัวหนังสือของเนื้อเพลงและทำนองเพลงปรากฏบนหน้าจอคอมพิวเตอร์แล้วเปิดให้บริการในลักษณะของเพลงคาราโอเกะแก่ลูกค้าที่มาใช้บริการ เป็นการบรรยายฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในการกระทำของจำเลยที่นำงานอันละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายออกเผยแพร่ต่อสาธารณชนเพื่อหากำไรและเพื่อการค้า แต่การนำเครื่องคอมพิวเตอร์ที่บรรจุโปรแกรมคาราโอเกะที่เป็นตัวหนังสือของเนื้อเพลงและทำนองเพลงที่ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายและของผู้อื่นหลายรายให้ปรากฏบนหน้าจอคอมพิวเตอร์เพื่อเปิดให้บริการแก่ลูกค้า อันเป็นความประสงค์ที่จะเผยแพร่ต่อสาธารณชนเพียงอย่างเดียวเพื่อหากำไรและเพื่อการค้า การที่มีลูกค้ามาเปิดใช้บริการเพลงคาราโอเกะของผู้เสียหายหรือของผู้อื่นทีละเพลงในช่วงเวลาและสถานที่เดียวกัน การกระทำของจำเลยจึงถือว่าเป็นการกระทำกรรมเดียวกัน
เมื่อการกระทำคดีนี้กับคดีอาญาหมายเลขแดงที่ อ.1549/2557 ของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าประเทศกลางเป็นการกระทำกรรมเดียวกัน และคดีดังกล่าวศาลมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดให้ลงโทษจำเลยไปแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ในคดีนี้จึงระงับไป พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4)
เมื่อการกระทำคดีนี้กับคดีอาญาหมายเลขแดงที่ อ.1549/2557 ของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าประเทศกลางเป็นการกระทำกรรมเดียวกัน และคดีดังกล่าวศาลมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดให้ลงโทษจำเลยไปแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ในคดีนี้จึงระงับไป พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9598/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำละเมิดลิขสิทธิ์: การกระทำกรรมเดียวกัน แม้ผู้เสียหายต่างกัน สิทธิฟ้องระงับ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 70 วรรคสอง ประกอบมาตรา 31 (2) ซึ่งโจทก์อุทธรณ์รับว่าโจทก์ได้ฟ้องจำเลยในข้อหาเดียวกัน มีวันกระทำความผิดและสถานที่เกิดเหตุในคดีอาญาหมายเลขดำที่ อ.1547/2557 และ อ.1548/2557 ของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางเช่นเดียวกันกับคดีนี้ เพียงแต่ผู้เสียหายต่างรายกันเป็นเจ้าของงานดนตรีกรรม ดังนั้น การที่จำเลยนำงานอันละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายและผู้อื่นออกเผยแพร่ต่อสาธารณชนเพื่อหากำไรและเพื่อการค้า โดยนำเครื่องคอมพิวเตอร์ที่บรรจุโปรแกรมคาราโอเกะที่เป็นตัวหนังสือของเนื้อเพลงและทำนองเพลงที่ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายและของผู้อื่นหลายรายให้ปรากฏบนหน้าจอคอมพิวเตอร์เพื่อเปิดให้บริการแก่ลูกค้า อันเป็นความประสงค์ที่จะเผยแพร่ต่อสาธารณชนเพียงอย่างเดียวเพื่อหากำไรและเพื่อการค้า การที่มีลูกค้ามาเปิดเพลงที่ละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าวหลายเพลงต่อเนื่องในวันเดียวกันจึงถือได้ว่าเป็นการกระทำกรรมเดียวกัน
เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในคดีอาญาหมายเลขดำที่ อ.1547/2557 ซึ่งเป็นคดีก่อนแล้ว คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำกับคดีดังกล่าว สิทธิในการนำคดีมาฟ้องในคดีนี้ซึ่งเป็นความผิดกรรมเดียวกันกับคดีก่อนจึงระงับไปตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (4)
เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในคดีอาญาหมายเลขดำที่ อ.1547/2557 ซึ่งเป็นคดีก่อนแล้ว คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำกับคดีดังกล่าว สิทธิในการนำคดีมาฟ้องในคดีนี้ซึ่งเป็นความผิดกรรมเดียวกันกับคดีก่อนจึงระงับไปตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9076/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาต้องยกข้อต่อสู้ในชั้นต้น หากมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้ว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
แม้ปัญหาเรื่องสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4) หรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ซึ่งจำเลยมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ก็ตาม แต่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวจำเป็นต้องอาศัยข้อเท็จจริงที่ได้มาจากการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบในศาลชั้นต้น เมื่อจำเลยมิได้ยกปัญหาข้อนี้ขึ้นต่อสู้ในศาลชั้นต้น เป็นเหตุให้ศาลชั้นต้นมิได้ดำเนินกระบวนพิจารณาและวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าว ดังนั้น ฎีกาของจำเลยที่อ้างว่า การกระทำความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ของจำเลยคดีนี้เป็นกรรมเดียวกับความผิดในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 619/2556 ของศาลชั้นต้น และสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์คดีนี้ระงับไปเพราะคดีดังกล่าวศาลมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดลงโทษจำเลยในความผิดฐานโกงเจ้าหนี้แล้ว จึงเป็นข้อที่จำเลยไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 และ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3
ส่วนที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายเพราะมีส่วนร่วมในการกระทำความผิดนั้น ในการวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวศาลฎีกาต้องย้อนไปวินิจฉัยว่าโจทก์มีส่วนร่วมกระทำความผิดกับจำเลยหรือไม่ ฎีกาของจำเลยจึงมีลักษณะเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ข้อกฎหมายที่จำเลยอ้าง อันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นและยังคงให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 และ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3
ส่วนที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายเพราะมีส่วนร่วมในการกระทำความผิดนั้น ในการวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวศาลฎีกาต้องย้อนไปวินิจฉัยว่าโจทก์มีส่วนร่วมกระทำความผิดกับจำเลยหรือไม่ ฎีกาของจำเลยจึงมีลักษณะเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ข้อกฎหมายที่จำเลยอ้าง อันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นและยังคงให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 และ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9076/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นสิทธิฟ้อง และข้อเท็จจริงใหม่ในชั้นฎีกา คดีโกงเจ้าหนี้
แม้ปัญหาเรื่องสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4) หรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ซึ่งจำเลยมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ก็ตาม แต่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวจำเป็นต้องอาศัยข้อเท็จจริงที่ได้มาจากการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบในศาลชั้นต้น ว่าการกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวกันกับความผิดในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 619/2556 ของศาลชั้นต้นหรือไม่ เมื่อจำเลยมิได้ยกปัญหาข้อนี้ขึ้นต่อสู้ในศาลชั้นต้นเป็นเหตุให้ศาลชั้นต้นมิได้ดำเนินกระบวนพิจารณาและวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าว ฎีกาของจำเลยที่อ้างว่า การกระทำความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ของจำเลยคดีนี้เป็นกรรมเดียวกับคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 619/2556 ของศาลชั้นต้น เมื่อมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดลงโทษจำเลยในความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 619/2556 ของศาลชั้นต้นแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4) จึงเป็นข้อที่จำเลยไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 และ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3
ที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายเพราะมีส่วนร่วมในการกระทำความผิดนั้น ในการวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวศาลฎีกาต้องย้อนไปวินิจฉัยว่าโจทก์มีส่วนร่วมกระทำความผิดกับจำเลยหรือไม่ ฎีกาของจำเลยจึงมีลักษณะเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ข้อกฎหมายที่จำเลยอ้าง อันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นและยังคงให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 และ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3
คำฟ้องโจทก์ได้บรรยายว่า เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2553 โจทก์ฟ้องจำเลยให้ชำระเงินแก่โจทก์เป็นเงิน 3,080,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย ต่อมาศาลมีคำพิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ โจทก์ได้ส่งคำบังคับให้จำเลยทราบตามกฎหมายแล้ว ระหว่างดำเนินการสืบหาทรัพย์เพื่อจะบังคับคดี โจทก์ทราบว่าเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2553 จำเลยนำที่ดินโฉนดเลขที่ 27896 ไปขายให้แก่บุคคลภายนอก การกระทำของจำเลยเพื่อมิให้เจ้าหนี้ของตนเองหรือผู้อื่นได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน ซึ่งได้ใช้สิทธิหรือจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้ ย้ายไปเสีย ซ่อนเร้น หรือโอนไปให้แก่ผู้อื่น ซึ่งทรัพย์ใดก็ดี แกล้งให้ตนเป็นหนี้จำนวนใด อันไม่เป็นความจริงก็ดี โจทก์ไม่ได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษาทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เป็นคำฟ้องที่สมบูรณ์มีความหมายชัดเจนอยู่ในตัวว่า จำเลยได้กระทำไปโดยรู้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้ใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้จำเลยชำระหนี้แล้ว ซึ่งครบองค์ประกอบของความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตาม ป.อ. มาตรา 350 ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 และ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3
ที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายเพราะมีส่วนร่วมในการกระทำความผิดนั้น ในการวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวศาลฎีกาต้องย้อนไปวินิจฉัยว่าโจทก์มีส่วนร่วมกระทำความผิดกับจำเลยหรือไม่ ฎีกาของจำเลยจึงมีลักษณะเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ข้อกฎหมายที่จำเลยอ้าง อันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นและยังคงให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 และ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3
คำฟ้องโจทก์ได้บรรยายว่า เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2553 โจทก์ฟ้องจำเลยให้ชำระเงินแก่โจทก์เป็นเงิน 3,080,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย ต่อมาศาลมีคำพิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ โจทก์ได้ส่งคำบังคับให้จำเลยทราบตามกฎหมายแล้ว ระหว่างดำเนินการสืบหาทรัพย์เพื่อจะบังคับคดี โจทก์ทราบว่าเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2553 จำเลยนำที่ดินโฉนดเลขที่ 27896 ไปขายให้แก่บุคคลภายนอก การกระทำของจำเลยเพื่อมิให้เจ้าหนี้ของตนเองหรือผู้อื่นได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน ซึ่งได้ใช้สิทธิหรือจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้ ย้ายไปเสีย ซ่อนเร้น หรือโอนไปให้แก่ผู้อื่น ซึ่งทรัพย์ใดก็ดี แกล้งให้ตนเป็นหนี้จำนวนใด อันไม่เป็นความจริงก็ดี โจทก์ไม่ได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษาทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เป็นคำฟ้องที่สมบูรณ์มีความหมายชัดเจนอยู่ในตัวว่า จำเลยได้กระทำไปโดยรู้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้ใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้จำเลยชำระหนี้แล้ว ซึ่งครบองค์ประกอบของความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตาม ป.อ. มาตรา 350 ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 และ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6655/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลคำพิพากษาคดีอาญาผูกพันคดีแพ่ง: การพิจารณาข้อเท็จจริงจากคำพิพากษาอาญาในคดีแพ่ง
จำเลยที่ 1 และที่ 3 ถูกพนักงานอัยการฟ้องเป็นคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 4218/2549 ของศาลชั้นต้น ขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 385 และคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2208/2549 ของศาลชั้นต้น ขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 385 โดยโจทก์เข้าเป็นโจทก์ร่วมในคดีทั้งสองดังกล่าว นอกจากนี้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ยังถูกพนักงานอัยการฟ้องเป็นคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 3551/2550 ของศาลชั้นต้น ขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 229 โดยโจทก์เป็นผู้เสียหาย คดีนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรับผิดโดยกล่าวหาว่าจำเลยทั้งสามร่วมกับประชาชนอื่นปิดถนนอันเป็นการกระทำเดียวกับที่จำเลยทั้งสามกับพวกถูกพนักงานอัยการฟ้องเป็นคดีอาญาดังกล่าว โดยคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 4218/2549 ของศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีคำพิพากษายกฟ้อง โดยวินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 4218/2549 เป็นฟ้องซ้ำกับฟ้องโจทก์ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2208/2549 ของศาลชั้นต้น สิทธินำคดีอาญามาฟ้องจึงระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4) และปรากฏตามคำพิพากษาในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2208/2549 ของศาลชั้นต้นซึ่งมีคำพิพากษาให้ยกฟ้องโดยวินิจฉัยว่า พยานหลักฐานโจทก์มีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยทั้งสอง (จำเลยที่ 1 และที่ 3 คดีนี้) เป็นผู้กระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้แก่จำเลยทั้งสอง (จำเลยที่ 1 และที่ 3 คดีนี้) และสำหรับ จำเลยที่ 2 และที่ 3 เมื่อคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 3551/2550 ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยว่า การกระทำของจำเลยทั้งสี่ (รวมถึงจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในคดีนี้) อาจกระทำไปโดยเข้าใจโดยสุจริตว่ามีสิทธิทำได้เพราะได้รับความเดือดร้อนเนื่องจากขยะที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายในคดีดังกล่าวนำไปฝังกลบ และทางนำสืบของโจทก์ฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสี่ (รวมถึงจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในคดีนี้) เป็นผู้นำถังน้ำมันขนาด 200 ลิตร วางขวางถนน แม้ในคดีดังกล่าวโจทก์ไม่ได้เป็นคู่ความก็ตาม แต่โจทก์ก็เป็นผู้เสียหาย จึงถือว่าพนักงานอัยการฟ้องคดีแทนโจทก์ และส่วนที่วันกระทำผิดตามฟ้องคือวันที่ 29 ธันวาคม 2546 แตกต่างจากคดีนี้นั้น ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 3551/2550 ศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าวันที่ 30 กันยายน 2546 ถึงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2547 มีกลุ่มประชาชนนำเต็นท์และสิ่งกีดขวางปิดกั้นถนน โดยอ้างว่าได้รับความเดือดร้อนเนื่องจากกากอุตสาหกรรมทำให้น้ำเน่าเสีย การกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงเป็นการกระทำที่ต่อเนื่องจากวันที่ 30 กันยายน 2546 ในคดีนี้ต่อเนื่องกันไปจนถึงวันที่ 29 ธันวาคม 2546 อันเป็นวันกระทำความผิดในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 3551/2550 การกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในคดีนี้และจำเลยทั้งสี่ (รวมถึงจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในคดีนี้) ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 3551/2550 ของศาลชั้นต้นจึงเป็นการกระทำเดียวและต่อเนื่องกันซึ่งเป็นประเด็นข้อเท็จจริงที่ตรงกัน ทั้งถือว่าโจทก์และจำเลยเป็นคู่ความเดียวกันกับในคดีนี้ และเมื่อคดีดังกล่าวทั้งหมดถึงที่สุดแล้ว ข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาดังกล่าวจึงผูกพันโจทก์และจำเลยทั้งสาม ดังนั้น ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจึงจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5994/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้ำในความผิดละเมิดลิขสิทธิ์ แม้ผู้เสียหายต่างรายกัน หากมีเจตนาเดียวกัน คดีระงับตามกฎหมาย
จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายโดยการเผยแพร่ต่อสาธารณชนเพื่อหากำไรซึ่งงานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายมาก่อนแล้ว เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 (2) แต่โจทก์ไม่มีคำขอให้ลงโทษจำเลยตามมาตราดังกล่าว ทั้งคดีก่อน โจทก์ฟ้องจำเลยในข้อหาเดียวกัน มีวันเวลากระทำความผิดและสถานที่เกิดเหตุเช่นเดียวกับคดีนี้ เพียงแต่ผู้เสียหายต่างรายกันเท่านั้น การที่จำเลยเปิดเพลงคาราโอเกะที่ทำขึ้น โดยละเมิดลิขสิทธิ์จากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่บันทึกงานอันละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายต่างรายหลายเพลงต่อเนื่องในวันเดียวกัน จึงเป็นเจตนาเดียวกัน แต่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในคดีก่อนแล้ว คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำกับคดีดังกล่าว สิทธิในการนำคดีมาฟ้องในคดีนี้ซึ่งเป็นกรรมเดียวกับคดีดังกล่าวจึงระงับไปตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2309/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวความผิดเดียวกัน: สิทธิฟ้องระงับเมื่อมีคำพิพากษาถึงที่สุดในความผิดก่อนหน้า
สิทธินำคดีมาฟ้องระงับไปเมื่อมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4) มุ่งหมายถึงการกระทำที่ก่อให้เกิดความผิดอันหนึ่งอันเดียวกันในคราวเดียวกัน ความผิดที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองคดีเป็นการกระทำเดียวกันที่ทำให้เกิดความผิด กล่าวคือ เป็นเรื่องที่จำเลยตกลงให้โจทก์ชำระค่าซื้อที่ดินพิพาท แล้วจะให้โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินที่ซื้อขายโดยมีสิทธิครอบครองที่ดินทั้งสองแปลงคนละครึ่ง แต่จำเลยไม่ยอมโอนที่ดินให้โจทก์ กลับนำที่ดินบางส่วนไปขายและขออกโฉนดที่ดินเป็นของตนเอง แม้โจทก์แยกฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยเป็น 2 คดี โดยคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 945/2553 ของศาลชั้นต้น กล่าวหาว่าการกระทำดังกล่าวของจำเลยเป็นการหลอกลวงโจทก์ ขอให้ลงโทษฐานฉ้อโกง ส่วนคดีนี้กล่าวหาว่าเป็นการกระทำฐานยักยอกก็ตาม แต่ตามพฤติการณ์ การกระทำของจำเลยทั้งสองคดีตามที่โจทก์ฟ้องเป็นการกระทำความผิดในเรื่องเดียวกันและต่อเนื่องเกี่ยวพันกันโดยมีเจตนาเดียวกัน ย่อมเป็นความผิดกรรมเดียว เมื่อคดีอาญาในความผิดฐานฉ้อโกงดังกล่าวศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วเห็นว่า การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด พิพากษายกฟ้อง ถือได้ว่าศาลได้วินิจฉัยในเรื่องการกระทำความผิดของจำเลย และมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4)