พบผลลัพธ์ทั้งหมด 406 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1925/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหลอกลวงจัดหางานต่างประเทศและฉ้อโกง: ความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานฯ มาตรา 91 ตรี แม้ถอนฟ้องคดีฉ้อโกง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยโดยทุจริตร่วมกันหลอกลวงผู้เสียหายด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จว่า จำเลยสามารถหางานและส่งผู้เสียหายไปทำงานยังต่างประเทศได้ ความจริงแล้วจำเลยไม่มีเจตนาและไม่สามารถจัดส่งผู้เสียหายไปทำงานในต่างประเทศได้ ตามฟ้องโจทก์แสดงว่าจำเลยไม่มีเจตนาจะจัดหางานให้แก่ผู้เสียหาย จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528มาตรา 30 วรรคหนึ่ง,82 การที่จำเลยหลอกลวงผู้เสียหายว่าจำเลยสามารถจัดหางานในต่างประเทศให้แก่ผู้เสียหายได้ โดยจำเลยทั้งสองได้เรียกเงินจากผู้เสียหายเป็นค่าตอบแทน และที่ผู้เสียหายให้เงินแก่จำเลยไปแล้วบางส่วนก็เพราะเชื่อตามที่จำเลยหลอกลวงการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 91 ตรี ดังกล่าว ข้างต้น และแม้ผู้เสียหายขอถอนคำร้องทุกข์ในความผิดฐาน ฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ซึ่งเป็นความผิด อันยอมความได้แล้วก็ตาม โจทก์ก็ยังมีอำนาจดำเนินคดีแก่จำเลยในความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานพ.ศ. 2528 มาตรา 91 ตรี ซึ่งมิใช่ความผิดอันยอมความได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4276/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดกรรมเดียวกัน: การฟ้องซ้ำหลังมีคำพิพากษายกฟ้องคดีเดิม แม้รายละเอียดต่างกันเล็กน้อย
เมื่อเวลากระทำผิดตามฟ้องคดีนี้กับคดีเดิมเป็นเวลาเดียวกันเพราะแม้คำฟ้องคดีนี้จะระบุว่าเวลากระทำผิดเป็นระหว่างเดือนมกราคม 2531ถึงวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2531 แต่ก็ระบุว่าวันเวลาใดไม่ปรากฏชัดจึงอาจเป็นวันที่19 มกราคม 2531 เวลากลางวัน ดังที่ระบุไว้ในคำฟ้องคดีเดิมก็ได้ และการกระทำของจำเลยทั้งสองในความผิด 2 กรรม ทั้งสองคดีดังกล่าว ก็เป็นการร่วมกันปลอมเครื่องหมายการค้าของบริษัทผู้เสียหายรายเดียวกันซึ่งใช้กับสินค้าเหมือนกัน และร่วมกันจำหน่ายหรือเสนอจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมดังกล่าวเช่นเดียวกัน แม้คดีนี้โจทก์จะฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันจำหน่ายสินค้าดังกล่าว ส่วนในคดีเดิมโจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันเสนอจำหน่ายสินค้านั้นก็ตาม แต่การกระทำอันเป็นการจำหน่ายย่อมรวมถึงการเสนอจำหน่ายอยู่ด้วยในตัว ทั้งปรากฏในคำฟ้องคดีเดิมและในคดีนี้ว่าจำเลยทั้งสองได้ร่วมกันเสนอจำหน่ายหรือจำหน่ายสินค้าดังกล่าวต่อร้านค้าต่าง ๆ ทั่วไปในกรุงเทพ-มหานครเช่นเดียวกัน ดังนี้ ความผิด 2 กรรม ที่โจทก์ทั้งสองคดีฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำความผิดได้เกิดขึ้นในเวลาและสถานที่เดียวกัน ทั้งเป็นการกระทำความผิดในเรื่องเดียวกัน การกระทำของจำเลยทั้งสองในแต่ละกรรมทั้งสองคดีจึงเป็นการกระทำโดยมีเจตนาเดียวกัน ความผิดที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองคดีนี้ในแต่ละกรรมย่อมเป็นความผิดกรรมเดียวกันกับความผิด 2 กรรมที่โจทก์ได้ฟ้องจำเลยทั้งสองในคดีเดิม และเมื่อคดีอาญาเดิมดังกล่าวศาลชั้นต้นได้พิพากษายกฟ้องโจทก์ โดยวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันปลอมเครื่องหมายการค้าดอกทานตะวันของบริษัทเดียวกันกับที่จำเลยทั้งสองถูกฟ้องคดีนี้และร่วมกันเสนอจำหน่ายสินค้าใบชากลิ่นมะลิตราดอกทานตะวันโดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมจำเลยทั้งสองไม่มีความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง ถือได้ว่าได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องแล้ว โจทก์จะนำคดีนี้ซึ่งเป็นความผิดกรรมเดียวกันกับความผิดที่ได้ฟ้องจำเลยทั้งสองในคดีก่อนมาฟ้องจำเลยทั้งสองนี้อีกหาได้ไม่ เพราะสิทธินำคดีอาญาดังกล่าวมาฟ้องจำเลยทั้งสองย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2927/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ฟ้องซ้ำสิทธิระงับ คดีก่อนมีคำพิพากษาแล้ว
โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับเวลาเกิดเหตุในคดีอาญาคดีก่อนว่า ระหว่างวันที่ 18พฤศจิกายน 2536 ถึงวันที่ 2 ธันวาคม 2536 มีคนร้ายลักเอาเช็คของผู้เสียหายไป ต่อมาวันที่ 2 ธันวาคม 2536 จำเลยนำเช็คของผู้เสียหายที่ถูกลักไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารโดยตามวันเวลาดังกล่าวจำเลยเป็นคนร้ายลักเช็คของผู้เสียหายซึ่งเป็นนายจ้าง หรือมิฉะนั้นตามวันเวลาดังกล่าวถึงวันที่จำเลยนำเช็คไปเรียกเก็บเงินจากธนาคาร จำเลยรับของโจรซึ่งเช็คของผู้เสียหายที่ถูกลักไปไว้จากคนร้าย และจำเลยช่วยซ่อนเร้นช่วยจำหน่าย และเอาไปเสียซึ่งเช็คในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหายหรือประชาชน ส่วนคดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่า ระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2536 ถึงวันที่ 2 ธันวาคม 2536 จำเลยได้ปลอมเช็คและใช้เช็คฉบับดังกล่าวของผู้เสียหาย ยื่นเรียกเก็บเงินต่อธนาคารเพื่อถอนเงินจากบัญชีของผู้เสียหาย เห็นได้ว่าวันเวลาเกิดเหตุในคดีก่อนและคดีนี้อยู่ในช่วงเวลาเดียวกัน พฤติการณ์ของจำเลยในคดีก่อนและคดีนี้บ่งชี้ว่าจำเลยมีเจตนามุ่งประสงค์จะเบิกถอนเงินจากบัญชีของผู้เสียหายเป็นสำคัญการที่จำเลยผู้เป็นลูกจ้างรับของโจรและเอาไปเสียซึ่งเช็คของผู้เสียหายผู้เป็นนายจ้างอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 357 วรรคหนึ่ง,188 นั้น ก็เพื่อนำไปทำปลอม แล้วนำไปเบิกถอนเงินจากธนาคารในช่วงเวลาเดียวกันจึงเป็นเจตนาเดียวกันนั่นเอง ดังนั้น การกระทำของจำเลยในคดีก่อนและคดีนี้จึงเป็นความผิดกรรมเดียว การที่โจทก์แยกฟ้องจำเลยเป็น 2 คดี เมื่อจำเลยถูกฟ้องและศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดลงโทษจำเลยในคดีอาญาก่อนแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดกรรมเดียวกันเป็นคดีนี้อีก เพราะสิทธินำคดีอาญามาฟ้องเป็นอันระงับไปแล้ว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2258/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำกรรมเดียวกัน: คดีความผิดฐานปลอมแปลงเครื่องหมายการค้าและขายของหลอกลวง ศาลยกฟ้องเนื่องจากเคยมีคำพิพากษาเด็ดขาดแล้ว
คำฟ้องโจทก์คดีนี้ที่ขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ.มาตรา 273และ 275 ระบุว่า จำเลยกระทำผิดเมื่อระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2531 ถึงวันที่ 28กรกฎาคม 2531 วันเวลาใดไม่ปรากฏชัด ส่วนในคำฟ้องคดีเดิม โจทก์ฟ้องระบุว่าจำเลยกระทำผิดทั้งสองกรรมดังกล่าวเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2531 ดังนี้ เวลากระทำผิดตามฟ้องคดีนี้กับคดีเดิมจึงเป็นเวลาเดียวกัน เพราะวันที่จำเลยกระทำผิดคดีนี้อาจเป็นวันที่ 19 มกราคม 2531 เวลากลางวัน ดังที่ระบุไว้ในคำฟ้องคดีเดิมก็ได้เมื่อการกระทำของจำเลยในความผิด 2 กรรมทั้งสองคดีดังกล่าวเป็นการร่วมกันปลอมเครื่องหมายการค้าของบริษัทผู้เสียหายรายเดียวกัน ซึ่งใช้กับสินค้าเหมือนกันและจำหน่ายหรือเสนอจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมดังกล่าวเช่นเดียวกันทั้งคำฟ้องคดีเดิมและคดีนี้โจทก์ก็ระบุว่าจำเลยกระทำความผิดในเวลาและสถานที่เดียวกัน เป็นการกระทำความผิดในเรื่องเดียวกัน การกระทำของจำเลยทั้งสองในแต่ละกรรมทั้งสองคดีจึงเป็นการกระทำโดยมีเจตนาเดียวกัน ความผิดที่โจทก์ฟ้องจำเลยคดีนี้ในแต่ละกรรมย่อมเป็นความผิดกรรมเดียวกันกับความผิด 2 กรรม ที่โจทก์ได้ฟ้องจำเลยในคดีเดิม และเมื่อคดีอาญาเดิมดังกล่าวศาลได้พิพากษายกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่โจทก์และโจทก์ร่วมนำสืบฟังไม่ได้ว่าจำเลยปลอมเครื่องหมายการค้าดอกทานตะวันของบริษัทเดียวกันกับที่จำเลยถูกฟ้องคดีนี้และเสนอจำหน่ายสินค้าใบชากลิ่นมะลิ ตราดอกทานตะวัน โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอม จำเลยไม่มีความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง พิพากษายกฟ้องคดีถึงที่สุด ดังนั้น เมื่อมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องแล้วจึงนำคดีนี้ซึ่งเป็นความผิดกรรมเดียวกันกับความผิดที่ได้ฟ้องจำเลยในคดีก่อนมาฟ้องจำเลยทั้งสองนี้อีกหาได้ไม่ ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (4)
สำหรับความผิดฐานขายของโดยหลอกลวงตาม ป.อ.มาตรา271 ที่โจทก์กล่าวหาจำเลยนั้น เมื่อไม่ได้ความว่าจำเลยได้ขายสินค้าพิพาทให้แก่โจทก์ร่วมโดยหลอกลวงอย่างไรบ้าง หากแต่โจทก์ร่วมไปซื้อสินค้าพิพาทจากบุคคลอื่นที่วางขายในห้างสรรพสินค้าเอง จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำความผิดในข้อหาดังกล่าว กรณีไม่จำต้องวินิจฉัยว่าข้อหานี้เป็นฟ้องซ้ำกับข้อหาในคดีอาญาเรื่องเดิมหรือไม่ เพราะแม้จะวินิจฉัยให้ ผลแห่งคดีก็ไม่เปลี่ยนแปลง
สำหรับความผิดฐานขายของโดยหลอกลวงตาม ป.อ.มาตรา271 ที่โจทก์กล่าวหาจำเลยนั้น เมื่อไม่ได้ความว่าจำเลยได้ขายสินค้าพิพาทให้แก่โจทก์ร่วมโดยหลอกลวงอย่างไรบ้าง หากแต่โจทก์ร่วมไปซื้อสินค้าพิพาทจากบุคคลอื่นที่วางขายในห้างสรรพสินค้าเอง จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำความผิดในข้อหาดังกล่าว กรณีไม่จำต้องวินิจฉัยว่าข้อหานี้เป็นฟ้องซ้ำกับข้อหาในคดีอาญาเรื่องเดิมหรือไม่ เพราะแม้จะวินิจฉัยให้ ผลแห่งคดีก็ไม่เปลี่ยนแปลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2258/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำความผิดฐานปลอมเครื่องหมายการค้า แม้ต่างเวลา-สถานที่ หากเป็นการกระทำกรรมเดียวกัน สิทธิฟ้องระงับ
คำฟ้องโจทก์คดีนี้ที่ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 273 และ 275 ระบุว่า จำเลยกระทำผิดเมื่อระหว่างวันที่1 มกราคม 2531 ถึงวันที่ 28 กรกฎาคม 2531 วันเวลาใดไม่ปรากฎชัด ส่วนในคำฟ้องคดีเดิม โจทก์ฟ้องระบุว่าจำเลยกระทำผิดทั้งสองกรรมดังกล่าวเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2531 ดังนี้ เวลากระทำผิดตามฟ้องคดีนี้กับคดีเดิมจึงเป็นเวลาเดียวกัน เพราะวันที่จำเลยกระทำผิดคดีนี้อาจเป็นวันที่ 19 มกราคม 2531 เวลากลางวันดังที่ระบุไว้ในคำฟ้องคดีเดิมก็ได้เมื่อการกระทำของจำเลยในความผิด 2 กรรมทั้งสองคดีดังกล่าวเป็นการร่วมกันปลอมเครื่องหมายการค้าของบริษัทผู้เสียหายรายเดียวกัน ซึ่งใช้กับสินค้าเหมือนกันและจำหน่ายหรือเสนอจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมดังกล่าวเช่นเดียวกันทั้งคำฟ้องคดีเดิมและคดีนี้โจทก์ก็ระบุว่าจำเลยกระทำความผิดในเวลาและสถานที่เดียวกัน เป็นการกระทำความผิดในเรื่องเดียวกัน การกระทำของจำเลยทั้งสองในแต่ละกรรมทั้งสองคดีจึงเป็นการกระทำโดยมีเจตนาเดียวกัน ความผิดที่โจทก์ฟ้องจำเลยคดีนี้ในแต่ละกรรมย่อมเป็นความผิดกรรมเดียวกันกับความผิด 2 กรรมที่โจทก์ได้ฟ้องจำเลยในคดีเดิม และเมื่อคดีอาญาเดิมดังกล่าวศาลได้พิพากษายกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่โจทก์ร่วมนำสืบฟังไม่ได้ว่าจำเลยปลอมเครื่องหมายการค้าดอกทานตะวันของบริษัทเดียวกันกับที่จำเลยถูกฟ้องคดีนี้และเสนอจำหน่ายสินค้าใบชากลิ่นมะลิ ตราดอกทานตะวัน โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอม จำเลยไม่มีความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง พิพากษายกฟ้องคดีถึงที่สุด ดังนั้น เมื่อมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องแล้วจึงนำคดีนี้ซึ่งเป็นความผิดกรรมเดียวกันกับความผิดที่ได้ฟ้องจำเลยในคดีก่อนมาฟ้องจำเลยทั้งสองนี้อีกหาได้ไม่ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4) สำหรับความผิดฐานขายของโดยหลอกลวงตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 271 ที่โจทก์กล่าวหาจำเลยนั้น เมื่อไม่ได้ความว่าจำเลยได้ขายสินค้าพิพาทให้แก่โจทก์ร่วมโดยหลอกลวงอย่างไรบ้างหากแต่โจทก์ร่วมไปซื้อสินค้าพิพาทจากบุคคลอื่นที่วางขายในห้างสรรพสินค้าเอง จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำความผิดในข้อหาดังกล่าว กรณีไม่จำต้องวินิจฉัยว่าข้อหานี้เป็นฟ้องซ้ำกับข้อหาในคดีอาญาเรื่องเดิมหรือไม่ เพราะแม้จะวินิจฉัยให้ ผลแห่งคดีก็ไม่เปลี่ยนแปลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2258/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ – ความผิดฐานปลอมแปลงเครื่องหมายการค้าและจำหน่ายสินค้าปลอม – คดีถึงที่สุดแล้ว
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองกระทำผิดโดยร่วมกันปลอมเครื่องหมายการค้าใบชากลิ่นมะลิ ตราดอกทานตะวันของบริษัทผู้เสียหายและร่วมกันจำหน่ายหรือเสนอจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายปลอมดังกล่าวแก่ประชาชนเมื่อระหว่างวันที่1มกราคม2531ถึงวันที่28กรกฎาคม2531วันเวลาใดไม่ปรากฎชัดส่วนในคำฟ้องคดีเดิมระบุว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำผิดทั้งสองกรรมดังกล่าวเมื่อวันที่19มกราคม2531เวลากลางวันเห็นได้ว่าเวลากระทำผิดตามฟ้องคดีนี้กับคดีเดิมเป็นเวลาเดียวกันเพราะแม้คำฟ้องคดีนี้จะระบุว่าเวลากระทำผิดเป็นระหว่างวันที่1มกราคม2531ถึงวันที่28กรกฎาคม2531แต่ก็ระบุว่าวันเวลาใดไม่ปรากฎชัดจึงอาจเป็นวันที่19มกราคม2531เวลากลางวันดังที่ระบุไว้ในคำฟ้องคดีเดิมก็ได้และการกระทำของจำเลยทั้งสองในความผิด2กรรมทั้งสองคดีดังกล่าวก็เป็นการร่วมกันปลอมเครื่องหมายการค้าตราดอกทานตะวันของบริษัทผู้เสียหายรายเดียวกันซึ่งใช้กับสินค้าใบชากลิ่นมะลิเหมือนกันและร่วมกันจำหน่ายหรือเสนอจำหน่ายสินค้าใบชาที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมดังกล่าวเช่นเดียวกันทั้งปรากฎในคำฟ้องคดีเดิมว่าจำเลยทั้งสองได้ร่วมกันเสนอจำหน่ายสินค้าดังกล่าวต่อร้านต่างๆทั่วไปในกรุงเทพมหานครซึ่งคำฟ้องคดีนี้โจทก์ก็ระบุว่าเกิดที่กรุงเทพมหานครเช่นเดียวกันดังนี้ความผิด2กรรมที่โจทก์ทั้งสองคดีฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำความผิดได้เกิดขึ้นในเวลาและสถานที่เดียวกันทั้งเป็นการกระทำความผิดในเรื่องเดียวกันการกระทำของจำเลยทั้งสองในแต่ละกรรมทั้งสองคดีจึงเป็นการกระทำโดยมีเจตนาเดียวกันความผิดที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองคดีนี้ในแต่ละกรรมย่อมเป็นความผิดกรรมเดียวกันกันความผิด2กรรมที่โจทก์ได้ฟ้องจำเลยทั้งสองในคดีเดิมเมื่อฟังได้ความว่าคดีอาญาเดิมศาลแขวงดุสิตได้พิพากษายกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่าจำเลยทั้งสองไม่มีความผิดตามที่โจทก์ฟ้องและคดีถึงที่สุดแล้วดังนั้นเมื่อมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องแล้วโจทก์จึงนำคดีนี้ซึ่งเป็นความผิดกรรมเดียวกันกับความผิดที่ได้ฟ้องจำเลยทั้งสองในคดีก่อนมาฟ้องจำเลยทั้งสองนี้อีกหาได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา39(4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2258/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ - กรรมเดียว - ปลอมเครื่องหมายการค้า - ศาลยกฟ้อง - เหตุผลความผิดกรรมเดียวกับคดีก่อน
คำฟ้องโจทก์คดีนี้ที่ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา273และ275ระบุว่าจำเลยกระทำผิดเมื่อระหว่างวันที่1มกราคม2531ถึงวันที่28กรกฎาคม2531วันเวลาใดไม่ปรากฎชัดส่วนในคำฟ้องคดีเดิมโจทก์ฟ้องระบุว่าจำเลยกระทำผิดทั้งสองกรรมดังกล่าวเมื่อวันที่19มกราคม2531ดังนี้เวลากระทำผิดตามฟ้องคดีนี้กับคดีเดิมจึงเป็นเวลาเดียวกันเพราะวันที่จำเลยกระทำผิดคดีนี้อาจเป็นวันที่19มกราคม2531เวลากลางวันดังที่ระบุไว้ในคำฟ้องคดีเดิมก็ได้เมื่อการกระทำของจำเลยในความผิด2กรรมทั้งสองคดีดังกล่าวเป็นการร่วมกันปลอมเครื่องหมายการค้าของบริษัทผู้เสียหายรายเดียวกันซึ่งใช้กับสินค้าเหมือนกันและจำหน่ายหรือเสนอจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมดังกล่าวเช่นเดียวกันทั้งคำฟ้องคดีเดิมและคดีนี้โจทก์ก็ระบุว่าจำเลยกระทำความผิดในเวลาและสถานที่เดียวกันเป็นการกระทำความผิดในเรื่องเดียวกันการกระทำของจำเลยทั้งสองในแต่ละกรรมทั้งสองคดีจึงเป็นการกระทำโดยมีเจตนาเดียวกันความผิดที่โจทก์ฟ้องจำเลยคดีนี้ในแต่ละกรรมย่อมเป็นความผิดกรรมเดียวกันกับความผิด2กรรมที่โจทก์ได้ฟ้องจำเลยในคดีเดิมและเมื่อคดีอาญาเดิมดังกล่าวศาลได้พิพากษายกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่โจทก์ร่วมนำสืบฟังไม่ได้ว่าจำเลยปลอมเครื่องหมายการค้าดอกทานตะวันของบริษัทเดียวกันกับที่จำเลยถูกฟ้องคดีนี้และเสนอจำหน่ายสินค้าใบชากลิ่นมะลิตราดอกทานตะวันโดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมจำเลยไม่มีความผิดตามที่โจทก์ฟ้องพิพากษายกฟ้องคดีถึงที่สุดดังนั้นเมื่อมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องแล้วจึงนำคดีนี้ซึ่งเป็นความผิดกรรมเดียวกันกับความผิดที่ได้ฟ้องจำเลยในคดีก่อนมาฟ้องจำเลยทั้งสองนี้อีกหาได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา39(4) สำหรับความผิดฐานขายของโดยหลอกลวงตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา271ที่โจทก์กล่าวหาจำเลยนั้นเมื่อไม่ได้ความว่าจำเลยได้ขายสินค้าพิพาทให้แก่โจทก์ร่วมโดยหลอกลวงอย่างไรบ้างหากแต่โจทก์ร่วมไปซื้อสินค้าพิพาทจากบุคคลอื่นที่วางขายในห้างสรรพสินค้าเองจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำความผิดในข้อหาดังกล่าวกรณีไม่จำต้องวินิจฉัยว่าข้อหานี้เป็นฟ้องซ้ำกับข้อหาในคดีอาญาเรื่องเดิมหรือไม่เพราะแม้จะวินิจฉัยให้ผลแห่งคดีก็ไม่เปลี่ยนแปลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2083/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำความผิดอาวุธปืน: กรรมเดียวจบเมื่อมีคำพิพากษาแล้ว, แต่ความผิดพาอาวุธปืนติดตัวเป็นต่างกรรมกัน
การกระทำผิดของจำเลยฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตทั้งในครั้งก่อนและครั้งหลังเป็นการกระทำที่ต่อเนื่องกันตลอดมาตราบใดที่ยังคงครอบครองอาวุธปืนกระบอกเดียวกันและเครื่องกระสุนปืนรายเดียวกันก็เป็นการกระทำกรรมเดียวกันเมื่อศาลพิพากษาลงโทษการกระทำในครั้งหลังแล้วโจทก์ไม่มีสิทธิจะนำคดีการกระทำผิดครั้งแรกมาฟ้องอีกเป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา39(4) ส่วนข้อหาพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมืองหมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัวเป็นการกระทำต่างกรรมกันเพราะเจตนาในการกระทำผิดฐานพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมืองหมู่บ้านหรือทางสาธารณะในแต่ละครั้งย่อมเป็น ความผิดในตัวของมันเองศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยได้แม้ในคดีก่อนศาลได้พิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้มาแล้วก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1275/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานออกเช็คและฉ้อโกงเป็นกรรมเดียวกัน หากมีคำพิพากษาเด็ดขาดในความผิดฐานออกเช็คแล้ว สิทธิฟ้องร้องในความผิดฐานฉ้อโกงย่อมระงับ
พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ในคดีนี้เป็นจำเลยต่อศาลชั้นต้นในข้อหาความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2534 และโจทก์ในคดีนี้ได้ฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นจำเลยในข้อหาความผิดดังกล่าวสำหรับเช็คฉบับเดียวกัน ความผิดที่ได้ฟ้องในคดีอาญาดังกล่าวกับคดีนี้จึงเป็นความผิดอันเกิดจากการกระทำกรรมเดียวกัน เมื่อศาลชั้นต้นได้พิจารณาสืบพยานฟังข้อเท็จจริง และพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ไปแล้วว่า จำเลยที่ 2 ไม่มีความผิด และคดีดังกล่าวถึงที่สุดโดยคู่ความมิได้อุทธรณ์ดังนี้ โจทก์จะขอให้ศาลพิจารณาข้อเท็จจริงใหม่ในข้อหาความผิดกรรมเดียวกันนั้นอีก จึงเป็นการไม่ชอบที่จะกระทำได้ เพราะสิทธิฟ้องร้องจำเลยที่ 2 ของโจทก์สำหรับข้อหาความผิดดังกล่าวในคดีนี้ได้ระงับสิ้นไปแล้ว ตาม ป.วิ.อ. มาตรา39 (4) ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิจารณาพิพากษาในข้อหาความผิดดังกล่าวอีกและศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาส่วนนี้มานั้นจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 39 (4) และ 193 แม้ปัญหานี้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246 และ 247 ประกอบป.วิ.อ. มาตรา 15 เมื่อปรากฏตามคำฟ้องของโจทก์ว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ออกเช็คพิพาท และศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดฐานออกเช็คโดยเจตนาเพื่อไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คว่าการกระทำของจำเลยที่ 2 ไม่เป็นความผิดจำเลยที่ 1 จึงไม่อาจร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 2 ดังที่โจทก์ฟ้องได้ จำเลยที่ 1ย่อมไม่มีความผิดฐานร่วมกันออกเช็คโดยเจตนาเพื่อไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันฉ้อโกงโจทก์และร่วมกันออกเช็คโยเจตนาเพื่อไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค อันเป็นความผิดกรรมเดียวกัน เมื่อสิทธินำคดีอาญาของโจทก์มาฟ้องจำเลยที่ 2 ในความผิดฐานออกเช็คโดยเจตนาเพื่อไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คระงับไปเพราะศาลได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดฐานดังกล่าวแล้ว สิทธินำคดีอาญาของโจทก์มาฟ้องจำเลยที่ 2 ในความผิดฐานฉ้อโกงอันเป็นความผิดกรรมเดียวกันกับความผิดฐานดังกล่าวจึงต้องระงับไปด้วยที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิจารณาพิพากษาในข้อหาความผิดฐานฉ้อโกงสำหรับจำเลยที่ 2 อีกและศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาส่วนนี้มานั้นจึงไม่ชอบด้วยป.วิ.อ. มาตรา 39 (4) และ 193 เช่นกัน แม้ปัญหานี้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาแต่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของปาะชาชนศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246 และ 247ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
การที่จำเลยที่ 1 ตกลงกับโจทก์ว่าจะนำเงินไปไถ่ถอนจำนองบ้านและที่ดินเพื่อนำบ้านและที่ดินมาขาย แล้วนำเงินที่ขายได้มาชำระหนี้ตามเช็คที่จำเลยออกให้แก่โจทก์ โดยโจทก์ได้ให้ภรรยาโจทก์จ่ายเช็คจำนวน 1,230,000บาท มอบให้จำเลยที่ 1 ไปไถ่ถอนจำนองและโจทก์ถอนแจ้งความร้องทุกข์ที่ขอให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 ในข้อหาความผิดเกี่ยวกับเช็คดังกล่าว โดยมีจำเลยที่ 2ออกเช็คให้โจทก์เป็นประกันไว้จำนวน 4,570,000 บาท แต่จำเลยที่ 1 มิได้ปฏิบัติตามข้อตกลง ดังนี้ ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นดังกล่าวเป็นเพียงจำเลยที่ 1 มิได้ปฏิบัติตามข้อที่ได้ตกลงไว้เท่านั้น ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการหลอกลวงฉ้อโกงโจทก์
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันฉ้อโกงโจทก์และร่วมกันออกเช็คโยเจตนาเพื่อไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค อันเป็นความผิดกรรมเดียวกัน เมื่อสิทธินำคดีอาญาของโจทก์มาฟ้องจำเลยที่ 2 ในความผิดฐานออกเช็คโดยเจตนาเพื่อไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คระงับไปเพราะศาลได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดฐานดังกล่าวแล้ว สิทธินำคดีอาญาของโจทก์มาฟ้องจำเลยที่ 2 ในความผิดฐานฉ้อโกงอันเป็นความผิดกรรมเดียวกันกับความผิดฐานดังกล่าวจึงต้องระงับไปด้วยที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิจารณาพิพากษาในข้อหาความผิดฐานฉ้อโกงสำหรับจำเลยที่ 2 อีกและศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาส่วนนี้มานั้นจึงไม่ชอบด้วยป.วิ.อ. มาตรา 39 (4) และ 193 เช่นกัน แม้ปัญหานี้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาแต่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของปาะชาชนศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246 และ 247ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
การที่จำเลยที่ 1 ตกลงกับโจทก์ว่าจะนำเงินไปไถ่ถอนจำนองบ้านและที่ดินเพื่อนำบ้านและที่ดินมาขาย แล้วนำเงินที่ขายได้มาชำระหนี้ตามเช็คที่จำเลยออกให้แก่โจทก์ โดยโจทก์ได้ให้ภรรยาโจทก์จ่ายเช็คจำนวน 1,230,000บาท มอบให้จำเลยที่ 1 ไปไถ่ถอนจำนองและโจทก์ถอนแจ้งความร้องทุกข์ที่ขอให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 ในข้อหาความผิดเกี่ยวกับเช็คดังกล่าว โดยมีจำเลยที่ 2ออกเช็คให้โจทก์เป็นประกันไว้จำนวน 4,570,000 บาท แต่จำเลยที่ 1 มิได้ปฏิบัติตามข้อตกลง ดังนี้ ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นดังกล่าวเป็นเพียงจำเลยที่ 1 มิได้ปฏิบัติตามข้อที่ได้ตกลงไว้เท่านั้น ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการหลอกลวงฉ้อโกงโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1120/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดอำนาจศาลไม่ใช่การฟ้องซ้ำ คดีปลอมแปลงเอกสารเป็นคนละประเด็น
จำเลยกระทำการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลอันเป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล และศาลชั้นต้นมีคำสั่งลงโทษจำเลยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 31 (1), 33 ซึ่งกฎหมายดังกล่าวให้ศาลมีอำนาจพิเศษในการสั่งลงโทษจำเลยได้โดยไม่ต้องมีผู้ใดร้องขอหรือเป็นโจทก์ฟ้อง แม้จำเลยได้อุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นแล้วพนักงานอัยการได้ทำคำแก้อุทธรณ์ของจำเลยก็ตาม ก็ถือไม่ได้ว่าพนักงานอัยการเป็นโจทก์
ความผิดของจำเลยคดีนี้เป็นเรื่องปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม โดยพนักงานอัยการเป็นโจทก์จึงเป็นคนละเรื่องและคนละประเด็นกับคดีฐานละเมิดอำนาจศาล ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งลงโทษจำคุกจำเลยและคดีถึงที่สุดแล้ว สิทธินำคดีมาฟ้องของโจทก์คดีนี้ย่อมไม่ระงับไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (4) โจทก์จึงฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยเป็นคดีนี้ได้ ไม่เป็นการฟ้องซ้ำ หนังสือมอบอำนาจเป็นเอกสารธรรมดา ซึ่งบุคคลคนหนึ่งมอบหมายให้บุคคลอีกคนหนึ่งมีอำนาจจัดการทำนิติกรรมแทนตนเท่านั้น ไม่เป็นเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการก่อตั้งสิทธิอย่างใด ไม่ใช่เอกสารสิทธิ
ความผิดของจำเลยคดีนี้เป็นเรื่องปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม โดยพนักงานอัยการเป็นโจทก์จึงเป็นคนละเรื่องและคนละประเด็นกับคดีฐานละเมิดอำนาจศาล ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งลงโทษจำคุกจำเลยและคดีถึงที่สุดแล้ว สิทธินำคดีมาฟ้องของโจทก์คดีนี้ย่อมไม่ระงับไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (4) โจทก์จึงฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยเป็นคดีนี้ได้ ไม่เป็นการฟ้องซ้ำ หนังสือมอบอำนาจเป็นเอกสารธรรมดา ซึ่งบุคคลคนหนึ่งมอบหมายให้บุคคลอีกคนหนึ่งมีอำนาจจัดการทำนิติกรรมแทนตนเท่านั้น ไม่เป็นเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการก่อตั้งสิทธิอย่างใด ไม่ใช่เอกสารสิทธิ