คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 ม. 4

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1596/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงกฎหมายจาก พ.ร.บ.เทป/วีดิทัศน์ เป็น พ.ร.บ.ภาพยนตร์ฯ และผลกระทบต่อการลงโทษจำเลย
แม้จะมี พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ฯ มาตรา 3 (4) บัญญัติยกเลิก พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ฯ ทั้งฉบับ แต่ตามกฎหมายใหม่มาตรา 4 ก็ได้ให้คำนิยามศัพท์ "ภาพยนตร์" ไว้ว่า หมายถึง วัสดุที่มีการบันทึกภาพหรือภาพและเสียงซึ่งสามารถนำมาฉายให้เห็นเป็นภาพเคลื่อนไหวได้อย่างต่อเนื่องและมาตรา 38 วรรคหนึ่ง บัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการจำหน่ายภาพยนตร์โดยไม่ได้รับใบอนุญาต ดังนั้น เมื่อแผ่นดีวีดีภาพยนตร์ซึ่งตามปกติแล้วย่อมเป็นวัสดุที่มีการบันทึกภาพ หรือภาพและเสียงซึ่งสามารถนำมาฉายให้เห็นเป็นภาพที่เคลื่อนไหวได้อย่างต่อเนื่อง แผ่นดีวีดีภาพยนตร์จึงเป็นวัสดุที่มีลักษณะเข้านิยามคำว่าภาพยนตร์ตามกฎหมายใหม่ การที่จำเลยจำหน่ายดีวีดีภาพยนตร์โดยไม่ได้รับใบอนุญาต จึงยังคงเข้าลักษณะเป็นการจำหน่ายภาพยนตร์โดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามกฎหมายใหม่ กรณีไม่อาจถือได้ว่ากฎหมายใหม่ยกเลิกการกระทำความผิดดังกล่าวของจำเลย
ความผิดฐานประกอบกิจการให้เช่าหรือจำหน่ายภาพยนตร์ตามกฎหมายใหม่นั้นมีระวางโทษตามมาตรา 79 ปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งหมื่นบาทตลอดระยะเวลาที่ฝ่าฝืนอยู่โดยไม่มีโทษจำคุก ซึ่งต่างจากความผิดฐานประกอบกิจการให้เช่าหรือจำหน่ายเทปและวัสดุโทรทัศน์ตามกฎหมายเก่าซึ่งมีระวางโทษตามมาตรา 34 จำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ดังนั้น โทษตามกฎหมายใหม่ที่มีเพียงโทษปรับโดยไม่มีโทษจำคุกจึงเป็นคุณมากกว่ากฎหมายเก่าที่มีโทษจำคุกด้วย จึงต้องใช้กฎหมายใหม่ในส่วนที่ไม่ให้ศาลใช้ดุลพินิจเลือกลงโทษจำคุกแก่จำเลยได้ ซึ่งเป็นคุณแก่จำเลยมากกว่าบังคับแก่คดี เมื่อโทษตามกฎหมายใหม่ที่เป็นคุณมากกว่ามีเพียงเฉพาะโทษปรับกรณีจึงไม่อาจรอการกำหนดโทษแก่จำเลยในความผิดฐานประกอบกิจการให้เช่าหรือจำหน่ายวีดิทัศน์ได้
เมื่อโทษปรับตามกฎหมายเก่าลงโทษปรับได้เพียงไม่เกินสองหมื่นบาท แต่โทษตามกฎหมายใหม่กำหนดให้ปรับอย่างน้อยที่สุดขั้นต่ำตั้งแต่สองแสนบาท ทั้งยังให้ปรับต่อไปรายวันอีก โทษปรับตามกฎหมายเก่าจึงเป็นคุณมากว่า จึงต้องใช้โทษปรับตามกฎหมายเก่า เพราะต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดไม่ว่าในทางใดตาม ป.อ. มาตรา 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 578/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายวีซีดีโดยไม่ได้รับอนุญาตและการเปลี่ยนแปลงฐานความผิดตามกฎหมายใหม่
ตาม พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ ฯ มาตรา 4 ได้บัญญัติ ว่าการจำหน่ายและขายเทปหรือวัสดุโทรทัศน์หาใช่การให้การบริการไม่ ดังนั้น แม้ได้ความตามฟ้องโจทก์และจำเลยให้การรับสารภาพว่า จำเลยนำวัสดุโทรทัศน์ที่ไม่ได้ผ่านการตรวจพิจารณาและได้รับความเห็นชอบจากเจ้าพนักงานผู้ตรวจมาจำหน่ายและขายแก่ประชาชนทั่วไป ในสถานที่ที่จำเลยประกอบกิจการโดยไม่ได้รับใบอนุญาต แต่เมื่อการกระทำของจำเลยไม่ใช่การให้บริการในสถานที่ให้บริการเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ เพราะการจำหน่ายไม่ใช่การจัดฉายหรือให้บริการโดยแสดงภาพและเสียง ทั้งมิใช่การจัดส่งไปทางสายหรือทางวิธีการอื่นที่ให้ผลในลักษณะเดียวกัน การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานนำเทปและวัสดุโทรทัศน์ที่ไม่ได้ผ่านการตรวจพิจารณามาให้บริการในสถานที่ให้บริการเทปและวัสดุโทรทัศน์ตาม พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 มาตรา 20 วรรคหนึ่ง, 34
ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา มี พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 ออกใช้บังคับ โดยมาตรา 3 (4) บัญญัติให้ยกเลิกพ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 ทั้งฉบับ ซึ่งตามมาตรา 4 บัญญัติให้นิยามคำว่า ภาพยนตร์ ไว้ หมายความว่า วัสดุที่มีการบันทึกภาพ หรือภาพและเสียงซึ่งสามารถนำมาฉายให้เห็นเป็นภาพที่เคลื่อนไหวได้อย่างต่อเนื่อง แต่ไม่รวมถึงวีดิทัศน์ แต่ในการประกอบกิจการของจำเลยนั้น จำเลยจำหน่ายแผ่นวีซีดีภาพยนตร์ด้วย การกระทำของจำเลยในการประกอบกิจการจำหน่ายแผ่นวีซีดีภาพยนตร์โดยไม่ได้รับใบอนุญาต ตาม พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 จึงเข้าลักษณะเป็นความผิดฐานประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายภาพยนตร์โดยไม่ได้รับใบอนุญาต ตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 มาตรา 38 วรรคหนึ่ง ด้วย กรณีไม่อาจถือว่ากฎหมายใหม่ยกเลิกการกระทำความผิดดังกล่าวของจำเลย ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศจึงมีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง
เมื่อการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานนำเทปและวัสดุโทรทัศน์ที่ไม่ได้ผ่านการตรวจพิจารณามาให้บริการในสถานที่ให้บริการเทป และวัสดุโทรทัศน์ตาม พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 มาตรา 20 วรรคหนึ่ง และความผิดฐานประกอบกิจการให้เช่าแลกเปลี่ยนหรือจำหน่ายภาพยนตร์ โดยไม่ได้รับใบอนุญาต สาระสำคัญอยู่ที่การไม่ได้รับอนุญาตวีซีดีเพลงของกลาง ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้ริบ จึงไม่ใช่ทรัพย์สินที่จำเลยมีไว้เป็นความผิด ได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดอันจะพึงริบได้ ตาม ป.อ.มาตรา 32, 33

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 577/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานจำหน่ายเทป/ภาพยนตร์โดยไม่ได้รับอนุญาต และการเปลี่ยนแปลงกฎหมายที่ใช้บังคับหลังการกระทำผิด
การที่จำเลยนำวัสดุโทรทัศน์ที่ไม่ได้ผ่านการตรวจพิจารณาและไม่ได้รับความเห็นชอบจากเจ้าพนักงานผู้ตรวจกับไม่มีผู้รับรองสำเนาตามกฎหมายมาให้บริการโดยการจำหน่ายและขายให้แก่ประชาชนทั่วไปนั้นมิใช่การให้บริการในสถานที่ให้บริการเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ตาม พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 มาตรา 20 วรรคหนึ่ง เพราะการจำหน่ายและขายไม่ใช่การจัดฉายหรือให้บริการโดยแสดงภาพและเสียง และสถานที่จำหน่ายและขายเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ดังกล่าวไม่ใช่สถานที่จัดฉายหรือให้บริการโดยแสดงภาพและเสียงหรือจัดส่งไปทางสายหรือทางวิธีการอื่นที่ให้ผลในลักษณะเดียวกันตามนิยามคำว่า "สถานที่ให้บริการเทปหรือวัสดุโทรทัศน์" ใน พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 มาตรา 4
แม้ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา มี พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 ออกใช้บังคับ โดยมาตรา 3 (4) ให้ยกเลิก พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 แต่มาตรา 38 วรรคหนึ่ง บัญญัติห้ามผู้ใดประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายภาพยนตร์ โดยทำเป็นธุรกิจหรือได้รับประโยชน์ตอบแทน เว้นแต่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน และมาตรา 54 วรรคหนึ่ง บัญญัติห้ามผู้ใดประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายวีดิทัศน์โดยทำเป็นธุรกิจหรือได้รับประโยชน์ตอบแทน เว้นแต่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน ดังนั้น การที่จำเลยประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายวีซีดีภาพยนตร์ ซึ่งตรงกับบทนิยามศัพท์คำว่า ภาพยนตร์ ตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 อันเป็นกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังแล้ว จึงไม่อาจถือว่ากฎหมายที่บัญญัติในภายหลังยกเลิกการกระทำความผิดดังกล่าวของจำเลย แต่ในส่วนวีซีดีเพลงนั้นไม่ปรากฏว่าเป็นวีซีดีเพลงที่บันทึกภาพและเสียงซึ่งสามารถนำมาฉายให้เห็นเป็นภาพที่เคลื่อนไหวได้อย่างต่อเนื่องในลักษณะที่เป็นคาราโอเกะที่มีภาพประกอบตามนิยามศัพท์ในมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าวหรือไม่ จึงต้องรับฟังเป็นคุณแก่จำเลยว่า วีซีดีเพลงตามฟ้องมิใช่วีดิทัศน์ตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 การกระทำของจำเลยในส่วนของการจำหน่ายวีซีดีเพลงจึงหาเป็นความผิดฐานประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายวีดิทัศน์โดยไม่ได้รับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ไม่
สาระสำคัญในการกระทำความผิดฐานประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายเทปหรือวัสดุโทรทัศน์หรือภาพยนตร์โดยไม่ได้รับใบอนุญาตอยู่ที่จำเลยไม่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนและเมื่อการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานนำวัสดุโทรทัศน์ที่ไม่ได้ผ่านการตรวจพิจารณามาให้บริการในสถานที่ให้บริการเทปและวัสดุโทรทัศน์ตาม พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 มาตรา 20 วรรคหนึ่ง วีซีดีเพลงและภาพยนตร์เรื่องอื่น ๆ จำนวน 457 แผ่น ของกลางที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้ริบจึงไม่ใช่ทรัพย์สินที่จำเลยมีไว้เป็นความผิด ได้ใช้ หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดอันจะพึงริบได้ตาม ป.อ. มาตรา 32 และ 33
ในส่วนโทษปรับที่จะลงแก่จำเลยในความผิดฐานประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายภาพยนตร์นั้น ต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยไม่ว่าในทางใดมาบังคับแก่คดี ตาม ป.อ. มาตรา 3 เมื่อมาตรา 79 แห่ง พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 ให้ระวางโทษปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งหมื่นบาท ตลอดระยะเวลาที่ฝ่าฝืนอยู่ ในขณะที่มาตรา 34 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 ให้ระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โทษปรับตาม พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 มาตรา 34 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดบังคับแก่จำเลยจึงเป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดมากกว่า ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาลงโทษปรับจำเลยตาม พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 มาตรา 34 จึงชอบด้วย ป.อ. มาตรา 3 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2540/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาของกฎหมายควบคุมเทปวิดีโอ: การลงโทษเฉพาะผู้ประกอบการ ไม่รวมลูกจ้าง
โจทก์ฟ้องจำเลยว่าร่วมกันกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ฯ มาตรา 4, 6, 34 และตาม ป.อ. มาตรา 287 และจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง แต่เมื่อศาลชั้นต้นสอบข้อเท็จจริงจากจำเลยได้ความว่า จำเลยเป็นเพียงลูกจ้างรับจ้างจำหน่ายจึงไม่ต้องตามเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ฯ มาตรา 6 ที่ประสงค์จะลงโทษเฉพาะผู้ประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายเทปหรือวัสดุโทรทัศน์โดยทำเป็นธุรกิจหรือได้ประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการในรูปของค่าธรรมเนียมสมาชิกหรือด้วยวิธีการอื่นใด แต่ผู้ประกอบกิจการนั้นประกอบกิจการไปโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนก่อน ดังนี้ แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพตามฟ้องและศาลชั้นต้นสอบโจทก์แล้ว โจทก์ไม่ติดใจสืบพยาน ก็ไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ฯ ได้ ทั้งนี้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1552/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ซีดีรอมเป็นวัสดุโทรทัศน์ตาม พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ หากมีเนื้อหาที่สามารถถ่ายทอดภาพหรือเสียงได้
แผ่นซีดีรอมใดจะเป็นวัสดุโทรทัศน์ตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ. ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 หรือไม่ ต้องขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงว่า สิ่งที่บันทึกหรืออัดลงในวัสดุดังกล่าวว่ามีผลทำให้แผ่นซีดีรอมนั้นสามารถจัดถ่ายทอดออกเป็นภาพหรือเสียง หรือทั้งภาพและเสียงได้ในลักษณะต่อเนื่องกันไปโดยอุปกรณ์อื่นซึ่งเป็นลักษณะของวัสดุโทรทัศน์ตามความหมายในวรรคสองของคำว่า เทปหรือวัสดุโทรทัศน์ แห่งบทกฎหมายดังกล่าว คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องยืนยันข้อเท็จจริงว่า แผ่นซีดีรอมที่บันทึกโปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ เป็นวัสดุโทรทัศน์ เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ จึงย่อมฟังข้อเท็จจริงได้ว่า แผ่นซีดีรอมที่บันทึกโปรแกรมคอมพิวเตอร์ตามคำฟ้องมีสภาพเป็นวัสดุโทรทัศน์ จำเลยจึงมีความผิดตามฟ้อง
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 13/2543)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1552/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ซีดีรอมเป็นวัสดุโทรทัศน์ได้หากบันทึกข้อมูลที่สามารถถ่ายทอดภาพ/เสียงได้ การกระทำละเมิดลิขสิทธิ์และจำหน่ายสื่อลามกผิดกฎหมาย
แผ่นซีดีรอมเป็นวัตถุที่สามารถนำมาใช้ทำเป็นวัสดุโทรทัศน์ได้ตามความหมายใน(2) ของคำว่า เทปหรือวัสดุโทรทัศน์ในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ. 2530 แต่ซีดีรอมแผ่นใดจะมีลักษณะครบถ้วนที่จะถือว่าเป็นวัสดุโทรทัศน์หรือไม่ ขึ้นอยู่กับสิ่งที่บันทึกหรืออัดลงในวัสดุดังกล่าวว่าจะมีผลทำให้แผ่นซีดีรอมนั้นสามารถจัดถ่ายทอดออกเป็นภาพหรือเสียง หรือทั้งภาพและเสียงได้ในลักษณะต่อเนื่องกันไปโดยอุปกรณ์อื่นซึ่งเป็นลักษณะของวัสดุโทรทัศน์ตามความหมายในวรรคสองของคำว่าเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ได้หรือไม่ ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่ต้องพิจารณาจากสิ่งที่บันทึกหรืออัดลงไปในแผ่นซีดีรอมแต่ละแผ่นดังนั้นเมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่าแผ่นซีดีรอมที่บันทึกโปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ เป็นวัสดุโทรทัศน์จำเลยให้การรับสารภาพจึงฟังได้ว่าแผ่นซีดีรอมดังกล่าวเป็นวัสดุโทรทัศน์
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำพิพากษาเกี่ยวกับของกลางว่าของกลางให้ตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์ ส่วนสิ่งได้ใช้ในการกระทำความผิดให้ริบ ไม่ชัดเจนว่าของกลางใดที่ให้ตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์ ส่วนแผ่นซีดีรอมภาพยนตร์ลามกเป็นทรัพย์สินที่จำเลยมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดอันควรริบ ไม่ใช่สิ่งที่ใช้ในการกระทำความผิด ศาลฎีกาจึงแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9546/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรู้เห็นเป็นใจในการกระทำผิดฐานฉายวิดีโอคาราโอเกะโดยไม่ได้รับอนุญาต และการริบของกลาง
ผู้ร้องเป็นเจ้าของตู้คาราโอเกะ อันประกอบด้วยเครื่องรับโทรทัศน์สี เครื่องเล่นวิดีโอซีดี แผ่นวิดีโอซีดี และเครื่องเสียงพร้อมลำโพง ซึ่งศาลได้มีคำพิพากษาให้ริบตาม ป.อ. มาตรา 33 เพราะจำเลยได้นำไปฉายหรือให้บริการ วิดีโอซีดีคาราโอเกะที่มีการแสดงภาพและเสียงเพลงบริการลูกค้าโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ. ควมคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ. 2530 มาตรา 4, 20 วรรคสอง, 38 แต่ผู้ร้องทราบความต้องการของจำเลยว่าจำเลยต้องการติดตั้งตู้คาราโอเกะอย่างเร่งด่วนในทันทีแม้จำเลยยังไม่ได้รับใบอนุญาต ทั้งนี้เพื่อเป็นการเอาใจลูกค้ารวมถึงกิจการค้าขายเจริญขึ้นตามไปด้วย ดังนี้รับฟังได้ว่า ผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลย
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาคดีถึงที่สุด ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยได้จัดให้มีการฉายวิดีโอซีดีที่มีการแสดงภาพและเสียงเพลงขึ้นในสถานที่ให้บริการเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ แม้คำพิพากษาดังกล่าวไม่ผูกพันผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอก แต่เมื่อผู้ร้องไม่ได้โต้แย้งว่าจำเลยไม่ได้ใช้ตู้คาราโอเกะของกลางอันประกอบด้วยเครื่องรับโทรทัศน์สีวิดีโอซีดี เครื่องเล่นวิดีโอซีดี เครื่องเสียงและลำโพงในการกระทำความผิดฐานฉายวิดีโอซีดีของกลางที่มีการแสดงภาพและ เสียงเพลงในสถานที่ให้บริการเทปหรือวัสดุโทรทัศน์โดยไม่ได้รับอนุญาต จึงต้องฟังว่าทรัพย์ทั้งหมดถูกใช้ในการกระทำผิดของจำเลย ทรัพย์ชิ้นใดโดยตัวของมันเองจะเป็นวัสดุโทรทัศน์หรือไม่ก็ตาม ทรัพย์นั้นก็ยังคงเป็นทรัพย์ที่ ถูกใช้ร่วมกับทรัพย์อื่นในการกระทำความผิดฐานฉายวิดีโอซีดีที่มีการแสดงภาพและเสียงเพลงขึ้นในสถานที่ให้บริการเทปหรือวัสดุโทรทัศน์โดยไม่ได้รับอนุญาตอันควรต้องริบตาม ป.อ. มาตรา 33 อยู่ดี จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยจากศาลฎีกาว่าทรัพย์ชิ้นใดเป็นวัสดุโทรทัศน์อันจะริบตาม พ.ร.บ. ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ. 2530 มาตรา 4 หรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6556/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบของกลางคดีคุ้มครองผู้บริโภคและเทปฯ พิจารณาจากความผิดตามกฎหมายและเหตุผลการริบ
ของกลางอันได้แก่วีดีโอเทปที่ไม่มีฉลาก จำนวน 323 ม้วน และเทปเพลงที่ไม่มีฉลากจำนวน 629 ม้วน ที่โจทก์ขอให้ริบนั้น ล้วนแต่เป็นจำพวกที่ไม่มีฉลาก อันต้องด้วยความผิดตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งในขณะเดียวกัน เฉพาะวีดีโอเทปที่ไม่มีฉลากนั้นยังเป็นทรัพย์สินที่มิได้ มีการแสดงตรา หมายเลขรหัส อันต้องด้วยความผิดตาม พระราชบัญญัติควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ. 2530 อีกด้วย ฉะนั้น การที่โจทก์ขอให้สั่งริบของกลางทั้งสองจำพวกที่ไม่มีฉลาก โดยมิได้ขอให้สั่งริบวีดีโอเทปที่มิได้แสดงตรา หมายเลขรหัสด้วย ย่อมแสดงว่าโจทก์มีเจตนาขอให้สั่งริบของกลาง ในส่วนความผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 เท่านั้น คดีนี้เหตุเกิดเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2539 จึงต้องนำบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ฉบับเดิมมาใช้บังคับ ซึ่งมิได้บัญญัติเกี่ยวกับ การริบของกลางไว้ กรณีจึงต้องบังคับตามบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 ดังที่โจทก์ขอมา แต่โดยที่ ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 58 (พ.ศ. 2536) ลงวันที่ 14 พฤษภาคม 2536 กำหนดให้ของกลางทั้งสองจำพวก เป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก ประกอบกับบทกำหนดโทษตามมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 บัญญัติ ให้ลงโทษผู้ขายสินค้าที่ควบคุมฉลากโดยไม่มีฉลาก ย่อมแสดง ให้เห็นว่า กรณีจะเกิดเป็นความผิดตามมาตรา 52 ได้นั้น ก็เพราะเหตุที่สินค้าที่ควบคุมฉลากนั้นไม่มีฉลากนั่นเอง หาใช่เกิดจากตัวสินค้าโดยตรงไม่ ดังนั้น ของกลางทั้งสองจำพวก จึงมิใช่ทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการ กระทำความผิดอันจะพึงริบได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(1) ส่วน ที่ โจทก์ ฎีกา ขอ ให้ ริบ ของ กลาง โดย อ้าง ว่า วีดีโอเทป ของกลาง มิได้ มี การ แสดง เจตนา หมาย เลข รหัส จึง เป็น ทรัพย์ ที่ มี ไว้ เป็น ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32 นั้น เป็น กรณี ที่ โจทก์ ขอให้ ริบ ของกลาง อัน เนื่อง มา จาก ความผิด ตามพระราชบัญญัติควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ. 2530ซึ่งเป็นเรื่องที่นอกเหนือคำขอท้ายฟ้อง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคแรกศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย โดยที่พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522มาตรา 52 วรรคหนึ่ง ระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท ฉะนั้น การที่ศาลชั้นต้นวางโทษปรับจำเลยก่อนที่จะลดโทษ โดยให้ ปรับจำเลยฐานนำออกขาย เสนอขาย มีไว้เพื่อขาย ซึ่งเทปเพลง และวีดีโอเทปที่ไม่ปิดฉลากเป็นเงินสองหมื่นบาทนั้น เป็นเรื่องข้อผิดพลาดในการพิมพ์หรือเขียน ทั้งนี้เพราะ เมื่อศาลชั้นต้นรวมค่าปรับทุกกระทงความผิดแล้วเป็นจำนวนเงิน ทั้งสิ้น 801,000 บาท ย่อมแสดงให้เห็นว่าศาลชั้นต้น วางโทษปรับถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดไว้แล้ว การที่ศาลอุทธรณ์ อ้างว่าศาลชั้นต้น รวมโทษปรับผิดและรวมโทษปรับใหม่ เพิ่มขึ้นอีก 10,000 บาท นั้นจึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควร แก้ไขให้ถูกต้องได้เพราะเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6556/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบของกลางวีดีโอ/เทปที่ไม่มีฉลาก: พิจารณาความผิด พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค และการขอริบตาม พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทป
ของกลางอันได้แก่วีดีโอเทปที่ไม่มีฉลาก จำนวน 323 ม้วน และเทปเพลงที่ไม่มีฉลากจำนวน 629 ม้วน ที่โจทก์ขอให้ริบนั้น ล้วนแต่เป็นจำพวกที่ไม่มีฉลาก อันต้องด้วยความผิดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 ซึ่งในขณะเดียวกันเฉพาะวีดีโอเทปที่ไม่มีฉลากนั้นยังเป็นทรัพย์สินที่มิได้มีการแสดงตรา หมายเลขรหัส อันต้องด้วยความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530อีกด้วย ฉะนั้น การที่โจทก์ขอให้สั่งริบของกลางทั้งสองจำพวกที่ไม่มีฉลาก โดยมิได้ขอให้สั่งริบวีดีโอเทปที่มิได้แสดงตรา หมายเลขรหัสด้วย ย่อมแสดงว่าโจทก์มีเจตนาขอให้สั่งริบของกลางในส่วนความผิดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522เท่านั้น คดีนี้เหตุเกิดเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2539 จึงต้องนำบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 ฉบับเดิมมาใช้บังคับ ซึ่งมิได้บัญญัติเกี่ยวกับการริบของกลางไว้ กรณีจึงต้องบังคับตามบทบัญญัติแห่ง ป.อ.มาตรา 33 ดังที่โจทก์ขอมา แต่โดยที่ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 58 (พ.ศ.2536) ลงวันที่ 14พฤษภาคม 2536 กำหนดให้ของกลางทั้งสองจำพวกเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก ประกอบกับบทกำหนดโทษตามมาตรา 52 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 บัญญัติให้ลงโทษผู้ขายสินค้าที่ควบคุมฉลากโดยไม่มีฉลาก ย่อมแสดงให้เห็นว่า กรณีจะเกิดเป็นความผิดตามมาตรา 52 ได้นั้น ก็เพราะเหตุที่สินค้าที่ควบคุมฉลากนั้นไม่มีฉลากนั่นเอง หาใช่เกิดจากตัวสินค้าโดยตรงไม่ ดังนั้น ของกลางทั้งสองจำพวกจึงมิใช่ทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดอันจะพึงริบได้ตาม ป.อ.มาตรา 33 (1)
ส่วนที่โจทก์ฎีกาขอให้ริบของกลางโดยอ้างว่าวีดีโอเทปของกลางมิได้มีการแสดงตรา หมายเลขรหัส จึงเป็นทรัพย์ที่มีไว้เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา32 นั้น เป็นกรณีที่โจทก์ขอให้ริบของกลางอันเนื่องมาจากความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 ซึ่งเป็นเรื่องที่นอกเหนือคำขอท้ายฟ้อง ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โดยที่ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 มาตรา 52วรรคหนึ่ง ระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท ฉะนั้น การที่ศาลชั้นต้นวางโทษปรับจำเลยก่อนที่จะลดโทษ โดยให้ปรับจำเลยฐานนำออกขาย เสนอขาย มีไว้เพื่อขายซึ่งเทปเพลงและวีดีโอเทปที่ไม่ปิดฉลากเป็นเงินสองหมื่นบาทนั้น เป็นเรื่องข้อผิดพลาดในการพิมพ์หรือเขียน ทั้งนี้เพราะเมื่อศาลชั้นต้นรวมค่าปรับทุกกระทงความผิดแล้วเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 801,000 บาท ย่อมแสดงให้เห็นว่าศาลชั้นต้นวางโทษปรับถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดไว้แล้ว การที่ศาลอุทธรณ์อ้างว่าศาลชั้นต้นรวมโทษปรับผิดและรวมโทษปรับใหม่เพิ่มขึ้นอีก 10,000 บาท นั้น จึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องได้เพราะเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3040/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดลิขสิทธิ์, เสนอขายสินค้าไม่ติดฉลาก, การริบของกลาง, การรอการลงโทษ, ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษา
จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์ในงานสร้างสรรค์ประเภทภาพยนตร์โดยนำภาพยนตร์วีดีโอเทปภาพและเสียงที่มีผู้ทำซ้ำโดยละเมิดลิขสิทธิ์รวม 32 ม้วนออกขายและเสนอขายโดย จำเลยรู้อยู่แล้วว่าภาพยนตร์วีดีโอเทปดังกล่าวเป็นงานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายซึ่งได้รับความคุ้มครองตาม พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537และไม่ได้รับอนุญาตจากผู้เสียหาย และจำเลยได้ประกอบกิจการให้เช่าแลกเปลี่ยนหรือจำหน่ายวีดีโอเทปโดยไม่ได้รับอนุญาตและไม่ใช่กรณีที่ได้รับยกเว้นตามกฎหมายกับจำเลยยังได้เสนอขายวีดีโอเทปอันเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลากโดยไม่ปิดฉลากจำนวน 62 ม้วน โดยจำเลยรู้หรือควรรู้ว่าการไม่ปิดฉลากดังกล่าวนั้นไม่ถูกต้องตามกฎหมายและจำเลยไม่ได้รับการยกเว้นใด ๆตามกฎหมาย เจ้าพนักงานจับจำเลยได้พร้อมยึดม้วนวีดีโอเทปภาพยนตร์ซึ่งมีผู้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์และไม่ปิด ฉลากดังกล่าวรวม 62 ม้วน เป็นของกลาง อันเป็นความผิด ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 31,70 วรรคสองพระราชบัญญัติควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์พ.ศ. 2530 มาตรา 6 วรรคหนึ่ง,34 และพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522มาตรา 30(2),52 วรรคหนึ่ง เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ศาลจึงต้องมีคำสั่งให้วีดีโอเทปของกลางที่ละเมิดลิขสิทธิ์ 32 ม้วน ตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์ส่วนวีดีโอเทปที่ไม่ปิดฉลากอีกจำนวน 30 ม้วน ความผิดของจำเลยที่เกี่ยวกับของกลางดังกล่าวนี้อยู่ที่ การเสนอขายโดยได้งดเว้นไม่ปิดฉลากที่วีดีโอเทปดังกล่าววีดีโอเทปของกลาง 30 ม้วนนี้ไม่ใช่ทรัพย์ที่มีไว้เป็นความผิดและไม่ใช่ทรัพย์ที่จำเลยใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำผิดที่จะริบได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32 หรือ มาตรา 33
of 2