คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ม. 51

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 42 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7291/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแรงงาน: การพิสูจน์ความสัมพันธ์ทางนิติสัมพันธ์ระหว่างลูกจ้าง ผู้รับเหมาช่วง และผู้รับเหมาชั้นต้น
ศาลแรงงานได้พิจารณาพยานหลักฐานที่ทุกฝ่ายนำสืบตามกฎหมายลักษณะพยานตลอดจนวิธีพิจารณาความแล้วข้อเท็จจริงปรากฎตามพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบรับฟังไม่ได้ความว่าโจทก์มีนิติสัมพันธ์ใด ๆ กับจำเลยหรือจำเลยร่วมเป็นเหตุชัดแจ้งแล้วว่าโจทก์ไม่มีสิทธิใด ๆ ที่จะเรียกร้องข้อบังคับให้จำเลยหรือจำเลยร่วมให้ต้องรับผิดตามที่โจทก์ฟ้องสามารถสรุปผลในประเด็นแห่งคดีได้คือโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ต้องพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยไม่ต้องอาศัยเหตุผลจากพยานหลักฐานของจำเลยและจำเลยร่วมมาหักล้างพยานหลักฐานโจทก์อีก คำวินิจฉัยในส่วนพยานหลักฐานจำเลยและจำเลยร่วมจึงไม่จำเป็นในประเด็นแห่งคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5609/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลต้องวินิจฉัยดอกเบี้ยค่าล่วงเวลาตามคำขอท้ายฟ้อง แม้ศาลชั้นต้นจะพิพากษาถึงเรื่องค่าล่วงเวลาแล้ว
เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างได้ฟ้องและมีคำขอท้ายฟ้องให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างชำระดอกเบี้ยของค่าล่วงเวลาในอัตราร้อยละสิบห้าต่อปี และศาลแรงงานกลางได้กำหนดประเด็นพิพาทไว้แล้ว การที่ศาลแรงงานกลางมิได้วินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยของค่าล่วงเวลาตามที่โจทก์ฟ้องหรือไม่เพียงใด จึงไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522 มาตรา 51 นายจ้างที่ไม่ชำระค่าล่วงเวลาให้แก่ลูกจ้างลูกจ้างย่อมมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากนายจ้างในอัตราร้อยละสิบห้าต่อปีนับแต่วันที่ผิดนัด ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 31 วรรคแรกซึ่งตามข้อ 29(1) ลูกจ้างจะได้รับค่าล่วงเวลาไม่น้อยกว่าเดือนละหนึ่งครั้ง เมื่อนายจ้างมิได้ชำระแต่ละเดือนจึงถือว่าผิดนัดตั้งแต่วันที่จะต้องชำระในแต่ละเดือน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5609/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยค่าล่วงเวลา: ศาลต้องวินิจฉัยสิทธิลูกจ้างตามที่ฟ้อง
เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างได้ฟ้องและมีคำขอท้ายฟ้องให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างชำระดอกเบี้ยของค่าล่วงเวลาในอัตราร้อยละสิบห้าต่อปี และศาลแรงงานกลางได้กำหนดประเด็นพิพาทไว้แล้ว การที่ศาลแรงงานกลางมิได้วินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยของค่าล่วงเวลาตามที่โจทก์ฟ้องหรือไม่เพียงใด จึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522 มาตรา 51
นายจ้างที่ไม่ชำระค่าล่วงเวลาให้แก่ลูกจ้าง ลูกจ้างย่อมมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากนายจ้างในอัตราร้อยละสิบห้าต่อปีนับแต่วันที่ผิดนัด ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 31 วรรคแรก ซึ่งตามข้อ29 (1) ลูกจ้างจะได้รับค่าล่วงเวลาไม่น้อยกว่าเดือนละหนึ่งครั้ง เมื่อนายจ้างมิได้ชำระแต่ละเดือน จึงถือว่าผิดนัดตั้งแต่วันที่จะต้องชำระในแต่ละเดือน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2238/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ต้องพิจารณาจากสาเหตุของนายจ้างและลูกจ้าง คำฟ้องต้องชัดเจน
โจทก์ทั้งสี่บรรยายฟ้องถึงสาเหตุที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสี่ประการแรกว่า โดย โจทก์ทั้งสี่ไม่มีความผิด และสาเหตุประการที่สองว่าเป็นนโยบายของจำเลย และไม่แจ้งเหตุผลให้โจทก์ทั้งสี่ทราบและโจทก์ทั้งสี่ยังได้บรรยายฟ้องต่อไปอีกว่า การเลิกจ้างดังกล่าวจึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ทำให้โจทก์ทั้งสี่ได้รับความเสียหาย เป็นฟ้องที่บรรยายโดย แจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว ไม่เคลือบคลุม การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมจักต้องพิเคราะห์ว่า มีสาเหตุเพียงพอที่จะเลิกจ้างได้หรือไม่เป็นประการสำคัญ ซึ่งพิจารณาได้จาก2 ฝ่าย คือ สาเหตุจากลูกจ้างฝ่ายหนึ่ง และสาเหตุจากนายจ้างอีกฝ่ายหนึ่ง การที่ศาลแรงงานกลางได้วินิจฉัยไว้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสี่โดย มิใช่สาเหตุเพราะโจทก์ทั้งสี่ซึ่งเป็นลูกจ้างมีความผิด และมิใช่สาเหตุเนื่องจากเกิดวิกฤติ ในทางการค้าของจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างนั้น เป็นคำวินิจฉัยที่ได้แสดงเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยไว้ชัดแจ้งชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4032/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยต้องแสดงเหตุผลที่ชัดเจนและสมเหตุสมผลในการเลิกจ้าง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม โดยอ้างเหตุหลายประการรวมทั้งอ้างว่าจำเลยไม่อ้างเหตุแห่งการเลิกจ้างและไม่ได้บอกกล่าวให้โจทก์ทราบล่วงหน้าด้วย จำเลยให้การว่า ก่อนเลิกจ้างโจทก์ จำเลยได้บอกกล่าวให้โจทก์ทราบล่วงหน้าแล้ว ในคำบอกกล่าวได้ระบุชัดแจ้งว่าเหตุที่เลิกจ้างนั้นเนื่องจากโจทก์หย่อนสมรรถภาพในการทำงาน ดังนั้น ที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า ยังไม่มีเหตุเพียงพอที่จะถือว่าโจทก์หย่อนสมรรถภาพตามที่จำเลย ให้การต่อสู้ การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จึงเป็นการวินิจฉัยตรงตามประเด็นพิพาท.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2217-2218/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างฐานกระทำผิดวินัยร้ายแรงและเป็นเหตุตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ไม่เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
เมื่อโจทก์กระทำผิดข้อบังคับของจำเลยในกรณีที่ร้ายแรงตามที่ศาลแรงงานกลางยกขึ้นวินิจฉัย ก็เป็นเหตุหนึ่งที่จำเลยจะถือเป็นเหตุให้โจทก์ออกจากงานได้ไม่ใช่จะมีเฉพาะแต่เหตุตามข้อที่โจทก์กล่าวอ้าง ทั้งกรณีของโจทก์ต้องด้วยประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3) ดังนี้ ไม่ถือว่าเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4866/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งไล่ออกที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายจากการกลั่นแกล้งนายจ้าง ศาลเพิกถอนคำสั่งและให้จ่ายเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ได้ลาออกจากการเป็นลูกจ้างของจำเลยถูกต้องตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยแล้วมีสิทธิได้รับเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ การที่จำเลยกลับมีคำสั่งไล่โจทก์ออกจากงานเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะจำเลยมีเจตนากลั่นแกล้งที่จะไม่จ่ายเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้แก่โจทก์ขอให้บังคับจำเลยจ่ายเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและเพิกถอนคำสั่งเรื่องไล่ออกจากงานของจำเลย จำเลยให้การต่อสู้ว่า โจทก์ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ศาลแรงงานกลางกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่ามีเหตุจะเพิกถอนคำสั่งของจำเลยเรื่องไล่ออกจากงานหรือไม่ และจำเลยต้องจ่ายเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแก่โจทก์หรือไม่ เช่นนี้ การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยพยานหลักฐานและพฤติการณ์ต่าง ๆ ของจำเลยที่กระทำต่อโจทก์ว่า ก่อนที่โจทก์จะยื่นใบลาออก จำเลยมีคำสั่งย้ายโจทก์ ถือว่าเป็นการลดตำแหน่งและจำเลยไม่พิจารณาขึ้นเงินเดือนกับจ่ายเงินโบนัสให้แก่โจทก์โดยไม่เคยกล่าวหาว่าโจทก์กระทำผิดหรือตั้งกรรมการสอบสวนความผิดเมื่อถึงกำหนดใบลาออก โจทก์มิได้ไปทำงานจำเลยมิได้ไล่โจทก์ออกจากงานในเวลาที่สมควรนั้น เพื่อให้เห็นว่าจำเลยกลั่นแกล้งโจทก์ เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต อันจะเชื่อมโยงให้เห็นว่าคำสั่งของจำเลยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งเป็นเหตุให้ศาลแรงงานกลางเพิกถอนคำสั่งของจำเลยได้ จึงเป็นการวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทโดยตรง มิใช่นอกฟ้องนอกประเด็น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4866/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิโดยไม่สุจริตของนายจ้างในการไม่อนุมัติลาออกและการไล่ออกลูกจ้าง ศาลเพิกถอนคำสั่งได้
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ได้ลาออกจากการเป็นลูกจ้างของจำเลยถูกต้องตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยแล้วมีสิทธิ ได้รับเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ การที่จำเลยกลับมีคำสั่งไล่โจทก์ออกจากงานเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะจำเลยมีเจตนากลั่นแกล้งที่จะไม่จ่ายเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้แก่โจทก์ขอให้บังคับจำเลยจ่ายเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและเพิกถอนคำสั่งเรื่องไล่ออกจากงานของจำเลย จำเลยให้การต่อสู้ว่า โจทก์ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยโจทก์ไม่มี สิทธิได้รับเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ศาลแรงงานกลางกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่ามีเหตุจะเพิกถอนคำสั่งของจำเลยเรื่องไล่ออกจากงานหรือไม่ และจำเลยต้องจ่ายเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแก่โจทก์หรือไม่ เช่นนี้ การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยพยานหลักฐานและพฤติการณ์ต่าง ๆ ของจำเลยที่กระทำต่อโจทก์ว่า ก่อนที่โจทก์จะยื่นใบลาออก จำเลยมีคำสั่งย้ายโจทก์ ถือว่าเป็นการลดตำแหน่งและจำเลยไม่พิจารณาขึ้นเงินเดือนกับจ่ายเงินโบนัสให้แก่โจทก์โดยไม่เคยกล่าวหา ว่าโจทก์กระทำผิดหรือตั้งกรรมการสอบสวนความผิดเมื่อถึงกำหนดใบลาออก โจทก์มิได้ไปทำงานจำเลยมิได้ไล่โจทก์ออกจากงานในเวลาที่สมควรนั้น เพื่อให้เห็นว่าจำเลยกลั่นแกล้งโจทก์ เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต อันจะเชื่อมโยงให้เห็นว่าคำสั่งของจำเลยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งเป็นเหตุให้ศาลแรงงานกลางเพิกถอนคำสั่งของจำเลยได้ จึงเป็นการวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทโดยตรง มิใช่นอกฟ้องนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1424/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยสถานะลูกจ้างที่ไม่ชัดเจน ศาลต้องแสดงเหตุผลการรับฟังพยานหลักฐานและข้อเท็จจริงอย่างชัดเจน
คำพิพากษาของศาลแรงงานกลางที่วินิจฉัยในประเด็นว่า โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยหรือไม่ เพียงแต่สรุปเป็นข้อเท็จจริงที่ฟังได้ในเบื้องต้นว่าโจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลย เพราะโจทก์ได้เปอร์เซ็นต์จากค่าขายโฆษณาและมีนามบัตรที่จำเลยให้โจทก์กับคณะไปแสดงต่อ บุคคลภายนอกในการติดต่อหาโฆษณาว่าโจทก์และคณะอยู่ที่สำนักงานของจำเลย ไม่ได้วินิจฉัยหรือแสดงเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยให้ชัดแจ้งว่าที่รับฟังเช่นนั้นโจทก์มีพยานหลักฐานใดมาแสดง หรือศาลมีเหตุผลในการรับฟังอย่างไร จึงมีผลเท่ากับศาลแรงงานกลางยังไม่ได้วินิจฉัยชี้ขาดข้อเท็จจริงในประเด็นข้อพิพาท เป็นการไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 51ปัญหาข้อนี้แม้จำเลยไมได้อุทธรณ์แต่เป็นกรณีที่ศาลแรงงานกลางไม่ได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยคำพิพากษาหรือคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(1) ซึ่งนำมาใช้บังคับในศาลแรงงานกลางตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ศาลฎีกาหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง และย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยข้อเท็จจริงในประเด็นข้อพิพาทให้ถูกต้องแล้วพิพากษาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1424/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยสถานะลูกจ้างที่ไม่ชัดเจน: ศาลฎีกาย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางแสดงเหตุผลการรับฟังพยานหลักฐานให้ชัดเจน
คำพิพากษาของศาลแรงงานกลางที่วินิจฉัยในประเด็นว่าโจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยหรือไม่ เพียงแต่สรุปเป็นข้อเท็จจริงที่ฟังได้ในเบื้องต้นว่าโจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลย เพราะโจทก์ได้เปอร์เซ็นต์จากค่าขายโฆษณาและมีนามบัตรที่จำเลยให้โจทก์กับคณะไปแสดงต่อบุคคลภายนอกในการติดต่อหาโฆษณาว่าโจทก์และคณะอยู่ที่สำนักงานของจำเลย ไม่ได้วินิจฉัยหรือแสดงเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยให้ชัดแจ้งว่าที่รับฟังเช่นนั้นโจทก์มีพยานหลักฐานใดมาแสดง หรือศาลมีเหตุผลในการรับฟังอย่างไร จึงมีผลเท่ากับศาลแรงงานกลางยังไม่ได้วินิจฉัยชี้ขาดข้อเท็จจริงในประเด็นข้อพิพาท เป็นการไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 51 ปัญหาข้อนี้แม้จำเลยไม่ได้อุทธรณ์แต่เป็นกรณีที่ศาลแรงงานกลางไม่ได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยคำพิพากษาหรือคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 (1) ซึ่งนำมาใช้บังคับในศาลแรงงานกลางตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ศาลฎีกาหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง และย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยข้อเท็จจริงในประเด็นข้อพิพาทให้ถูกต้องแล้วพิพากษาใหม่
of 5