คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ม. 51

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 42 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 613/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลาป่วย กรณีเหตุจำเป็นที่ไม่สามารถแจ้งล่วงหน้าได้ และการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนที่ไม่เป็นธรรม
เหตุจำเป็นที่ไม่อาจเสนอใบลาหรือไม่อาจรอรับอนุญาตให้ลากิจส่วนตัวได้ตามข้อบังคับของจำเลยหมายถึงเหตุที่ลูกจ้างไม่สามารถยื่นใบลาก่อนหยุดงานหรือยื่นใบลาไว้แล้วแต่ไม่สามารถรอฟังคำสั่งอนุญาตของจำเลยได้มิได้หมายถึงความสำคัญหรือความจำเป็นของธุรกิจการงานซึ่งลูกจ้างจะต้องไปกระทำมิฉะนั้นข้อบังคับจะไร้ผลเพราะในกรณีที่ลูกจ้างได้รับหนังสือหรือโทรเลขเรียกตัวกลับบ้านโดยมิได้ระบุรายละเอียดของธุรกิจการงานหรือระบุรายละเอียดอันเป็นเท็จลูกจ้างก็ไม่อาจหยุดงานไปก่อนได้ดังนั้นการที่โจทก์ยื่นใบลากิจส่วนตัวต่อจำเลยโดยแนบโทรเลขซึ่งได้รับจากญาติซึ่งแจ้งให้โจทก์กลับบ้านด่วนนั้นเป็นการยื่นใบลาพร้อมทั้งชี้แจงเหตุจำเป็นซึ่งไม่อาจรอฟังคำสั่งอนุญาตจากจำเลยถูกต้องตามข้อบังคับของจำเลยแล้วแม้ธุรกิจการงานที่โจทก์ลาไปทำนั้นเป็นเพียงไปกู้เงินให้พี่ชายไปทำงานต่างประเทศก็เป็นเรื่องที่โจทก์เพิ่งทราบภายหลังจำเลยจะถือเป็นข้ออ้างไม่อนุมัติใบลาของโจทก์ไม่ได้. จำเลยไม่อนุมัติใบลาของโจทก์โดยถือว่าโจทก์ขาดงานและมีคำสั่งลงโทษภาคทัณฑ์และตัดค่าจ้างเป็นเงิน348บาทโดยไม่ชอบด้วยระเบียบข้อบังคับศาลพิพากษาเพิกถอนคำสั่งและให้จำเลยจ่ายเงินค่าจ้างที่ตัดได้ส่วนดอกเบี้ยโจทก์มีสิทธิได้เพียงอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา224เพราะเป็นเงินค่าจ้างซึ่งจำเลยตัดโดยมีกรณีกล่าวหาว่าโจทก์กระทำผิดต่อระเบียบข้อบังคับของจำเลยไม่ใช่เงินค่าจ้างซึ่งจำเลยผิดนัดในการจ่ายตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานฯข้อ31เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยผิดนัดวันใดหรือโจทก์ทวงถามจำเลยแล้วหรือไม่ศาลให้รับผิดตั้งแต่วันฟ้อง จำเลยถือเอาเหตุที่โจทก์ขาดงานครั้งนี้เป็นเหตุผลหนึ่งประกอบการพิจารณาไม่เลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีให้โจทก์เมื่อเหตุดังกล่าวไม่อาจถือเป็นความผิดของโจทก์การที่จำเลยนำเหตุนี้ไปประกอบการพิจารณาเป็นโทษแก่โจทก์ย่อมเป็นการไม่ชอบแต่เมื่อตัดเหตุดังกล่าวออกแล้วยังมีเหตุอื่นอีกหลายประการที่จำเลยใช้พิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีจำเลยจึงต้องพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีของโจทก์ใหม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 613/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลากิจจำเป็นเร่งด่วน ลูกจ้างมีสิทธิลาได้แม้ไม่ได้แจ้งล่วงหน้า หากมีเหตุผลอันสมควร และการลงโทษที่ไม่ชอบด้วยระเบียบ
เหตุจำเป็นที่ไม่อาจเสนอใบลาหรือไม่อาจรอรับอนุญาตให้ลากิจส่วนตัวได้ตามข้อบังคับของจำเลยหมายถึงเหตุที่ลูกจ้างไม่สามารถยื่นใบลาก่อนหยุดงานหรือยื่นใบลาไว้แล้วแต่ไม่สามารถรอฟังคำสั่งอนุญาตของจำเลยได้มิได้หมายถึงความสำคัญหรือความจำเป็นของธุรกิจการงานซึ่งลูกจ้างจะต้องไปกระทำมิฉะนั้นข้อบังคับจะไร้ผลเพราะในกรณีที่ลูกจ้างได้รับหนังสือหรือโทรเลขเรียกตัวกลับบ้านโดยมิได้ระบุรายละเอียดของธุรกิจการงานหรือระบุรายละเอียดอันเป็นเท็จลูกจ้างก็ไม่อาจหยุดงานไปก่อนได้ดังนั้นการที่โจทก์ยื่นใบลากิจส่วนตัวต่อจำเลยโดยแนบโทรเลขซึ่งได้รับจากญาติซึ่งแจ้งให้โจทก์กลับบ้านด่วนนั้นเป็นการยื่นใบลาพร้อมทั้งชี้แจงเหตุจำเป็นซึ่งไม่อาจรอฟังคำสั่งอนุญาตจากจำเลยถูกต้องตามข้อบังคับของจำเลยแล้วแม้ธุรกิจการงานที่โจทก์ลาไปทำนั้นเป็นเพียงไปกู้เงินให้พี่ชายไปทำงานต่างประเทศก็เป็นเรื่องที่โจทก์เพิ่งทราบภายหลังจำเลยจะถือเป็นข้ออ้างไม่อนุมัติใบลาของโจทก์ไม่ได้ จำเลยไม่อนุมัติใบลาของโจทก์โดยถือว่าโจทก์ขาดงานและมีคำสั่งลงโทษภาคทัณฑ์และตัดค่าจ้างเป็นเงิน348บาทโดยไม่ชอบด้วยระเบียบข้อบังคับศาลพิพากษาเพิกถอนคำสั่งและให้จำเลยจ่ายเงินค่าจ้างที่ตัดได้ส่วนดอกเบี้ยโจทก์มีสิทธิได้เพียงอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามป.พ.พ.มาตรา224เพราะเป็นเงินค่าจ้างซึ่งจำเลยตัดโดยมีกรณีกล่าวหาว่าโจทก์กระทำผิดต่อระเบียบข้อบังคับของจำเลยไม่ใช่เงินค่าจ้างซึ่งจำเลยผิดนัดในการจ่ายตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานฯข้อ31เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยผิดนัดวันใดหรือโจทก์ทวงถามจำเลยแล้วหรือไม่ศาลให้รับผิดตั้งแต่วันฟ้อง จำเลยถือเอาเหตุที่โจทก์ขาดงานครั้งนี้เป็นเหตุผลหนึ่งประกอบการพิจารณาไม่เลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีให้โจทก์เมื่อเหตุดังกล่าวไม่อาจถือเป็นความผิดของโจทก์การที่จำเลยนำเหตุนี้ไปประกอบการพิจารณาเป็นโทษแก่โจทก์ย่อมเป็นการไม่ชอบแต่เมื่อตัดเหตุดังกล่าวออกแล้วยังมีเหตุอื่นอีกหลายประการที่จำเลยใช้พิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีจำเลยจึงต้องพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีของโจทก์ใหม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2600/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: นายจ้างต้องมีเหตุผลปัจจุบันในการเลิกจ้าง และศาลมีอำนาจแก้ไขค่าเสียหาย
ข้อบังคับของนายจ้างระบุว่า พนักงานอาจถูกไล่ออกเมื่อ'มาทำงานสายกลับก่อนเวลาทำงาน ฯลฯ แม้จะได้มีการตักเตือนด้วยวาจาหลายครั้ง รวมทั้งทำทัณฑ์บนเป็นลายลักษณ์อักษรด้วยหนึ่งครั้ง' นั้นมีความหมายว่าต้องมีการกระทำประการหนึ่งประการใดในครั้งสุดท้ายที่นายจ้างจะถือเป็นเหตุไล่ออกเกิดขึ้นด้วยจะถือเอาการตักเตือนหลาย ๆ ครั้งหรือการทำทัณฑ์บนมาเป็นเหตุเลิกจ้างโดยไม่ต้องมีการกระทำในปัจจุบันหาได้ไม่ แม้ข้อบังคับข้ออื่นระบุว่า'พนักงานที่ถูกทำทัณฑ์บนเป็นลายลักษณ์อักษร หากทำผิดซ้ำอีกจะถูกลงโทษขั้นไล่ออก' แต่เมื่อปรากฏว่าพนักงานบางคนกระทำผิดซ้ำนายจ้างก็ไม่ได้ลงโทษถึงขั้นไล่ออกแต่กลับตักเตือนต่อมาอีกหลายครั้ง แสดงว่านายจ้างไม่ติดใจลงโทษโดยเหตุนั้นแล้ว ดังนั้น นายจ้างจะเลิกจ้างโดยอาศัยข้อบังคับข้อนี้หาได้ไม่ การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องในขณะที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลบังคับโดยไม่ปรากฏว่าลูกจ้างกระทำการตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 123 แห่ง พระราชบัญญัติ แรงงานสัมพันธ์ฯ จึงเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม
ถ้าศาลเห็นว่าคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ที่สั่งเรื่องค่าเสียหายนั้นไม่ถูกต้อง ศาลมีอำนาจพิพากษาเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2600/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามกฎหมายแรงงาน การพิจารณาเหตุเลิกจ้างและอำนาจศาลในการแก้ไขคำสั่ง
ข้อบังคับของนายจ้างระบุว่า พนักงานอาจถูกไล่ออกเมื่อ"มาทำงานสายกลับก่อนเวลาทำงาน ฯลฯ แม้จะได้มีการตักเตือนด้วย วาจาหลายครั้ง รวมทั้งทำทัณฑ์บนเป็นลายลักษณ์อักษรด้วยหนึ่ง ครั้ง" นั้นมีความหมายว่าต้องมีการกระทำประการหนึ่งประการใดในครั้งสุดท้ายที่นายจ้างจะถือเป็นเหตุไล่ออกเกิดขึ้นด้วยจะถือเอาการตักเตือนหลาย ๆ ครั้ง หรือการทำทัณฑ์บนมาเป็นเหตุเลิกจ้างโดยไม่ต้องมีการกระทำในปัจจุบันหาได้ไม่ แม้ข้อบังคับข้ออื่นระบุว่า"พนักงานที่ถูกทำทัณฑ์บนเป็นลายลักษณ์อักษร หากทำผิดซ้ำอีกจะถูกลงโทษขั้นไล่ออก" แต่เมื่อปรากฏว่าพนักงานบางคนกระทำผิดซ้ำนายจ้างก็ไม่ได้ลงโทษถึงขั้นไล่ออกแต่กลับตักเตือนต่อมาอีกหลายครั้งแสดงว่านายจ้างไม่ติดใจลงโทษโดยเหตุนั้นแล้ว ดังนั้น นายจ้างจะเลิกจ้างโดยอาศัยข้อบังคับข้อนี้หาได้ไม่ การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องในขณะที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลบังคับโดยไม่ปรากฏว่าลูกจ้างกระทำการตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 123 แห่ง พระราชบัญญัติ แรงงานสัมพันธ์ฯ จึงเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม
ถ้าศาลเห็นว่าคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ที่สั่งเรื่องค่าเสียหายนั้นไม่ถูกต้อง ศาลมีอำนาจพิพากษาเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2316/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลาออกของลูกจ้าง นายจ้างอนุมัติก่อนกำหนดเป็นเหตุให้ลูกจ้างขาดค่าจ้างและเสียหายได้
ภายใต้ระเบียบของนายจ้างซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างลูกจ้างมีสิทธิจะลาออกจากงานเมื่อใดก็ได้ เมื่อลูกจ้างยื่นใบลาออกถูกต้องตามระเบียบแล้ว ทั้งเป็นสิทธิของลูกจ้างที่กำหนดวันลาออกได้ นายจ้างไม่ชอบที่จะอนุมัติเป็นประการอื่น การที่นายจ้างอนุมัติให้ลูกจ้างลาออกตั้งแต่วันที่ลูกจ้างยื่นใบลาอันเป็นการให้ลาออกก่อนวันที่ลูกจ้างกำหนดไว้ ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่าลูกจ้างขาดค่าจ้างที่จะได้รับนับแต่วันยื่นใบลาจนถึงวันที่ลูกจ้างประสงค์จะลาออกอย่างแท้จริงและยัง ความเสียหายให้แก่ลูกจ้าง
ศาลแรงงานกลางได้วินิจฉัยแล้วว่าโจทก์มีสิทธิได้รับรางวัลชนะเลิศ การขายเป็นเงิน 12,000 บาท เป็นเรื่องสิทธิที่จะได้รับ เมื่อจำเลยมีสิทธิ และหน้าที่จะต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามประมวลรัษฎากรอย่างไร คงเหลือจ่ายจริงให้โจทก์เท่าใด จำเลยย่อมกระทำได้ตามกฎหมายดังกล่าว หาจำต้องกล่าวไว้ในคำพิพากษาไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2316/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลูกจ้างลาออกตามระเบียบ นายจ้างอนุมัติก่อนกำหนดทำให้เกิดความเสียหาย และสิทธิในการรับเงินรางวัลขายหลังหักภาษี
ภายใต้ระเบียบของนายจ้างซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ลูกจ้างมีสิทธิจะลาออกจากงานเมื่อใดก็ได้ เมื่อลูกจ้างยื่นใบลาออกถูกต้องตามระเบียบแล้ว ทั้งเป็นสิทธิของลูกจ้างที่กำหนดวันลาออกได้นายจ้างไม่ชอบที่จะอนุมัติเป็นประการอื่น การที่นายจ้างอนุมัติให้ลูกจ้างลาออกตั้งแต่วันที่ลูกจ้างยื่นใบลาอันเป็นการให้ลาออกก่อนวันที่ลูกจ้างกำหนดไว้ ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่าลูกจ้างขาดค่าจ้างที่จะได้รับนับแต่วันยื่นใบลาจนถึงวันที่ลูกจ้างประสงค์จะลาออกอย่างแท้จริง และยังความเสียหายให้แก่ลูกจ้าง
ศาลแรงงานกลางได้วินิจฉัยแล้วว่าโจทก์มีสิทธิได้รับ รางวัลชนะเลิศ การขายเป็นเงิน 12,000 บาท เป็นเรื่องสิทธิที่จะได้รับ เมื่อจำเลยมีสิทธิ และหน้าที่จะต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามประมวลรัษฎากรอย่างไร คงเหลือจ่ายจริงให้โจทก์เท่าใด จำเลยย่อมกระทำได้ตามกฎหมายดังกล่าว หาจำต้องกล่าวไว้ในคำพิพากษาไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2453/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม, ค่าจ้างค้างจ่าย, ดอกเบี้ยผิดนัด, หลักฐานสำเนา, การคิดดอกเบี้ย
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม ขอให้บังคับจำเลยชำระค่าจ้างที่ค้างค่าจ้างในการที่ไม่บอกเลิกจ้างล่วงหน้า ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อน ค่าชดเชยค่าเสียหายและเงินที่โจทก์ออกทดรองไปก่อน จำเลยให้การว่าจำเลยไม่ได้ไล่โจทก์ออกจากงานแต่โจทก์ลาออกเองเนื่องจากทราบว่าจำเลยกำลังจะดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์ในข้อหายักยอก โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าชดเชย ค่าเสียหายและค่าจ้างที่ไม่บอกเลิกจ้างล่วงหน้า ศาลแรงงานกลางจึงตั้งประเด็นวินิจฉัยว่า ที่โจทก์ออกจากบริษัทจำเลยนั้นเป็นเพราะจำเลยเลิกจ้างโจทก์หรือว่าเพราะโจทก์ลาออกเอง แล้ววินิจฉัยว่า จำเลยไล่โจทก์ออกมิใช่โจทก์ลาออกเอง ดังนี้ จะถือว่าศาลมิได้วินิจฉัยในประเด็นที่จำเลยได้ให้การต่อสู้ไว้เลยหาได้ไม่
เอกสารเรื่องเงินที่โจทก์ทดรองจ่ายเป็นเพียงภาพถ่ายอันเป็นสำเนาเอกสาร จำเลยแถลงไม่รับรองความถูกต้อง โจทก์มิได้แถลงว่าต้นฉบับมีอยู่หรือไม่ อยู่ที่ใด เหตุใดโจทก์จึงไม่อ้างมาแสดงต่อศาล ดังนี้ ไม่อาจรับฟังเอกสารดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา93
ค่าจ้างที่จำเลยต้องจ่ายให้โจทก์เนื่องจากเลิกจ้างโดยไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา582 มิใช่ค่าจ้างตามบทนิยามในข้อ 2 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯ จำเลยจึงไม่ต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละสิบห้าต่อปี ตามข้อ31 แต่ต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224
ค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 46 และค่าเสียหายตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 49 เกิดขึ้นในทันทีที่นายจ้างเลิกจ้างเมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยมิได้จ่ายเงิน 2 จำนวนนี้แก่โจทก์ ก็ย่อมได้ชื่อว่าผิดนัดแต่นั้นจึงต้องเสียดอกเบี้ยแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 ในอัตราร้อยละเจ็ดกึ่งต่อปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2453/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม, ค่าชดเชย, ค่าจ้างที่ไม่บอกกล่าวล่วงหน้า, ดอกเบี้ย, หลักฐานเอกสาร
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม ขอให้บังคับจำเลยชำระค่าจ้างที่ค้างค่าจ้างในการที่ไม่บอกเลิกจ้างล่วงหน้า ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อน ค่าชดเชย ค่าเสียหายและเงินที่โจทก์ออกทดรองไปก่อน จำเลยให้การว่าจำเลยไม่ได้ไล่โจทก์ออกจากงานแต่โจทก์ลาออกเอง เนื่องจากทราบว่าจำเลยกำลังจะดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์ในข้อหายักยอก โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าชดเชย ค่าเสียหายและค่าจ้างที่ไม่บอกเลิกจ้างล่วงหน้า ศาลแรงงานกลางจึงตั้งประเด็นวินิจฉัยว่า ที่โจทก์ออกจากบริษัทจำเลยนั้นเป็นเพราะจำเลยเลิกจ้างโจทก์หรือว่าโจทก์ลาออกเอง แล้ววินิจฉัยว่า จำเลยไล่โจทก์ออก มิใช่โจทก์ลาออกเอง ดังนี้ จะถือว่าศาลมิได้วินิจฉัยในประเด็นที่จำเลยได้ให้การต่อสู้ไว้เลยหาได้ไม่
เอกสารเรื่องเงินที่โจทก์ทดรองจ่ายเป็นเพียงภาพถ่ายอันเป็นสำเนาเอกสาร จำเลยแถลงไม่รับรองความถูกต้อง โจทก์มิได้แถลงว่าต้นฉบับมีอยู่หรือไม่ อยู่ที่ใด เหตุใดโจทก์จึงไม่อ้างมาแสดงต่อศาล ดังนี้ ไม่อาจรับฟังเอกสารดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93
ค่าจ้างที่จำเลยต้องจ่ายให้โจทก์เนื่องจากเลิกจ้างโดยไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 มิใช่ค่าจ้างตามบทนิยามในข้อ 2 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ จำเลยจึงไม่ต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละสิบห้าต่อปีตามข้อ 31 แต่ต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดกึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224
ค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 46 และค่าเสียหายตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 49 เกิดขึ้นในทันทีที่นายจ้างเลิกจ้างเมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยมิได้จ่ายเงิน 2 จำนวนนี้แก่โจทก์ ก็ย่อมได้ชื่อว่าผิดนัดแต่นั้นจึงต้องเสียดอกเบี้ยแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 ในอัตราร้อยละเจ็ดกึ่งต่อปี
of 5