พบผลลัพธ์ทั้งหมด 672 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1064/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกร้องเงินทดรองจ่าย และการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์
กรณีตัวแทนเรียกร้องเอาเงินที่ได้ ทดรองจ่ายไปในกิจการอันตัวการมอบหมายแก่ตน จากตัวการ ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่นจึงต้อง ใช้ อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 การซื้อ ขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์มีวัตถุประสงค์เก็ง กำไรจากการขึ้นลงของราคาหุ้นมากกว่าประสงค์ให้มีการโอนใบหุ้นใส่ชื่อ ผู้ซื้อดังนั้น การโอนหุ้นในกรณีนี้จึงไม่ต้องปฏิบัติตาม ป.พ.พ.มาตรา 1129.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 967/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินบำเหน็จไม่ใช่ค่าจ้าง สิทธิเรียกร้องมีอายุความ 10 ปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 164
เงินบำเหน็จตาม ข้อบังคับองค์การทอผ้าว่าด้วยกองทุนบำเหน็จพ.ศ. 2521 เป็นเงินที่จำเลยจ่ายให้แก่พนักงานที่ออกจากงาน มิใช่เงินที่จำเลยจ่ายให้พนักงานประจำเพื่อตอบแทนการทำงานของพนักงานประจำเป็นรายวัน ถือ ไม่ได้ว่าเป็นค่าจ้างตาม ข้อบังคับว่าด้วยกองทุนบำเหน็จของจำเลย เงินบำเหน็จจึงไม่มีลักษณะเช่นเดียว กับค่าจ้าง สิทธิเรียกร้องเงินบำเหน็จไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นจึงมีสิทธิเรียกร้องได้ ภายใน 10 ปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 164.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 967/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าครองชีพเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง เงินบำเหน็จไม่ใช่ค่าจ้าง สิทธิเรียกร้องอายุความ 10 ปี
เงินบำเหน็จตามข้อบังคับองค์การทอผ้าว่าด้วยกองทุนบำเหน็จพ.ศ. 2521 เป็นเงินที่จำเลยจ่ายให้แก่พนักงานที่ออกจากงาน มิใช่เงินที่จำเลยจ่ายให้พนักงานประจำเพื่อตอบแทนการทำงานของพนักงานประจำเป็นรายวัน ถือไม่ได้ว่าเป็นค่าจ้างตามข้อบังคับว่าด้วยกองทุนบำเหน็จของจำเลย เงินบำเหน็จจึงไม่มีลักษณะเช่นเดียวกับค่าจ้าง สิทธิเรียกร้องเงินบำเหน็จไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีสิทธิเรียกร้องได้ภายใน 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 746/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไฟฟ้านครหลวงฟ้องเรียกค่ากระแสไฟฟ้าที่คำนวณผิดพลาด อายุความ 10 ปี ไม่ถือเป็นฟ้องซ้ำ
การไฟฟ้านครหลวงโจทก์มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจ มีวัตถุประสงค์ในการจ่ายกระแสไฟฟ้าแก่ประชาชนเป็นสาธารณูปโภคและได้รับทุนในการดำเนินการจากงบประมาณแผ่นดิน จึงมิใช่พ่อค้าตามมาตรา 165(1)แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ การฟ้องเรียกค่ากระแสไฟฟ้าที่พนักงานของโจทก์จดหน่วยไฟฟ้าจากเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าโดยไม่ได้คูณด้วย 10 ตามลักษณะของเครื่องวัดไฟฟ้าที่โจทก์ติดตั้ง ทำให้จำเลยชำระค่าไฟฟ้าให้โจทก์ขาดไปนั้น เมื่อมิได้มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เป็นอย่างอื่น ต้องถือว่ามีอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 โจทก์คำนวณหน่วยกระแสไฟฟ้าที่จำเลยใช้ผิดไปเพราะไม่ได้นำตัวเลขในเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้ามาคูณด้วย 10 ตามลักษณะของเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าที่โจทก์ติดตั้งให้จำเลย จำเลยได้รับประโยชน์ในการใช้กระแสไฟฟ้าที่โจทก์คำนวณผิด ไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ออกใบเสร็จรับเงินให้จำเลยโดยไม่อิดเอื้อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 327 จำเลยจึงต้องรับผิดใช้เงินค่ากระแสไฟฟ้าที่โจทก์คำนวณขาดไปและจะถือว่าโจทก์ฟ้องจำเลยโดยใช้สิทธิไม่สุจริตหาได้ไม่ คดีสำนวนแรกโจทก์ฟ้องเรียกค่ากระแสไฟฟ้าที่โจทก์คิดขาดไประหว่างเดือนธันวาคม 2505 จนถึงเดือนมกราคม 2525 สำนวนหลังโจทก์ฟ้องเรียกค่ากระแสไฟฟ้าที่โจทก์คิดขาดไปในระหว่างวันที่13 กุมภาพันธ์ 2525 ถึงวันที่ 29 ตุลาคม 2525 ซึ่งเป็นคนละช่วงเวลากัน ฟ้องโจทก์ทั้งสองคดีจึงไม่ใช่ฟ้องเรื่องเดียวกันและโดยอาศัยเหตุเดียวกัน จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนหรือฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4544/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสัญญาค้ำประกัน เริ่มนับจากวันที่เกิดละเมิด ไม่ใช่วันทำสัญญา
กฎหมายมิได้บัญญัติเรื่องอายุความของสัญญาค้ำประกันไว้จึงต้องถือว่ามีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164 โดยเริ่มนับตั้งแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปตามมาตรา 169 ซึ่งได้แก่วันเวลาแรกที่จำเลยที่ 1กระทำละเมิดต่อโจทก์ให้ได้รับความเสียหาย หาใช่นับแต่วันที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3400/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อนุญาตให้ทนายความถอนตัวจากคดีแรงงาน และอายุความของคดีเรียกเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน
การจะอนุญาตให้ทนายความถอนตนจากการตั้งแต่ง เป็นทนายความของตัวความในคดีหรือไม่ เป็นดุลพินิจของศาล ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ทนายจำเลยถอนตัวจากการเป็นทนายความของจำเลย แล้วทนายจำเลยอุทธรณ์ว่าศาลแรงงานกลางควรให้ทนายจำเลยนำส่งสำเนาคำร้องขอถอนตัวไปให้จำเลยทราบเสียก่อน และควรมีคำสั่งเลื่อนการพิจารณาคดีไปก่อนนั้น เท่ากับเป็นการอุทธรณ์โต้แย้งว่าศาลแรงงานกลางใช้ดุลพินิจไม่อนุญาตให้ทนายจำเลยถอนตนจากการตั้งแต่งเป็นทนายความของจำเลยโดยไม่ชอบ จึงเป็นการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง การฟ้องเรียกเงินที่ นายจ้าง ต้องจ่ายเข้าสมทบกองทุนเงินทดแทนไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้ จึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 คือใช้อายุความทั่วไปซึ่งมีกำหนด 10 ปี.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3400/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนตัวทนาย & อายุความฟ้องเรียกเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน
การจะอนุญาตให้ทนายความถอนตนจากการแต่งตั้งเป็นทนายความหรือไม่ เป็นดุลพินิจของศาล ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ทนายจำเลยถอนตัวจากการเป็นทนายความของจำเลย ทนายจำเลยอุทธรณ์ว่าศาลแรงงานควรให้ทนายจำเลยนำส่งสำเนาคำร้องขอถอนตัวไปให้จำเลยทราบเสียก่อน และควรมีคำสั่งเลื่อนการพิจารณาคดีไปก่อนนั้นเป็นการอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจของศาลแรงงานกลาง จึงเป็นการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงที่ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 การฟ้องเรียกเงินที่นายจ้างต้องจ่ายเข้าสมทบกองทุนเงินทดแทนไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้ จึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 ซึ่งมีกำหนด 10 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3227/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนทรัพย์ก่อนล้มละลาย แม้ผู้รับโอนไม่ใช่เจ้าหนี้ แต่เป็นการซื้อขายตามปกติ
จำเลยโอนขายทรัพย์พิพาทให้แก่ผู้คัดค้านภายในระยะเวลา3 เดือนก่อนมีการฟ้องขอให้จำเลยล้มละลาย แม้ผู้คัดค้านไม่ได้เป็นหรือไม่เคยเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยมาก่อน แต่การโอนทรัพย์พิพาทเกิดจากการซื้อขายซึ่งเป็นสัญญาต่างตอบแทนทันทีที่คู่กรณีตกลงทำสัญญาซื้อขายและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ทั้งสองฝ่ายต่างมีหนี้ที่จะต้องปฏิบัติต่อกัน ผู้คัดค้านในฐานะผู้ซื้อมีหนี้ที่จะต้องชำระราคาแก่จำเลยผู้ขาย และจำเลยมีหนี้ที่จะต้องชำระคือโอนทรัพย์สินที่ตกลงซื้อขายกันนั้นแก่ผู้คัดค้าน ผู้คัดค้านจึงอยู่ในฐานะเจ้าหนี้ที่ได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 115 ศาลมีอำนาจสั่งเพิกถอนการโอนทรัพย์พิพาทระหว่างจำเลยกับผู้คัดค้านได้ และถ้าหากผู้คัดค้านไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์พิพาทมาเป็นของจำเลยได้ ผู้คัดค้านก็ต้องชดใช้ราคาแทน ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะเรียกบุคคลภายนอกผู้รับโอนทรัพย์พิพาทต่อจากผู้คัดค้านเข้ามาในคดีหรือไม่ก็ตาม ก็ไม่ทำให้ผลในทางกฎหมายที่มีต่อผู้คัดค้านเปลี่ยนแปลงไป การเพิกถอนการโอนทรัพย์พิพาทเป็นไปโดยผลของกฎหมายตราบใดที่ยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้เพิกถอนการโอนก็ยังถือว่าเป็นการโอนโดยชอบอยู่ จึงถือไม่ได้ว่ามีการผิดนัดนับแต่วันยื่นคำร้อง เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยนับแต่วันยื่นคำร้อง กรณีเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอให้เพิกถอนการโอนตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 115 มิใช่เป็นการขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์อายุความจึงมีกำหนด 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3212/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้เงินกู้และดอกเบี้ย: การคำนวณอายุความตามสัญญาและข้อตกลง
การเรียกเอาดอกเบี้ยค้างส่งมีกำหนดอายุความ 5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์และรับเงินครบถ้วนเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2518 โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม จำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้เงินกู้และดอกเบี้ย ครั้นวันที่ 1 ธันวาคม 2526 จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ทำสัญญารับใช้หนี้เงินกู้โดยยอมชำระดอกเบี้ยค้างส่งทั้งหมดของจำเลยที่ 1 การที่โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2527 คดีโจทก์สำหรับหนี้ดอกเบี้ยค้างส่งจึงไม่ขาดอายุความแต่จำเลยที่ 1 มิได้ทำสัญญารับใช้หนี้เงินกู้ดังกล่าวด้วย จึงย่อมไม่ต้องถูกผูกพันโดยสัญญาดังกล่าว โจทก์มีสิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยค้างส่งได้เพียงภายใน 5 ปี นับแต่วันฟ้องย้อนหลังลงไป
อายุความฟ้องร้องเรียกคืนเงินกู้ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีกำหนดสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
อายุความฟ้องร้องเรียกคืนเงินกู้ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีกำหนดสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3212/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้ดอกเบี้ยและเงินกู้: ลูกหนี้ร่วมและผู้รับผิดชอบหนี้
การเรียกเอาดอกเบี้ยค้างส่งมีกำหนดอายุความ 5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5ทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์และรับเงินครบถ้วนเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม2518 โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม จำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้เงินกู้และดอกเบี้ย ครั้นวันที่ 1 ธันวาคม 2526 จำเลยที่ 2ถึงที่ 5 ทำสัญญารับใช้หนี้เงินกู้โดยยอมชำระดอกเบี้ยค้างส่งทั้งหมดของจำเลยที่ 1 การที่โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 21 กันยายน2527 คดีโจทก์สำหรับหนี้ดอกเบี้ยค้างส่งจึงไม่ขาดอายุความแต่จำเลยที่ 1 มิได้ทำสัญญารับใช้หนี้เงินกู้ดังกล่าวด้วย จึงย่อมไม่ต้องถูกผูกพันโดยสัญญาดังกล่าว โจทก์มีสิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยค้างส่งได้เพียงภายใน 5 ปี นับแต่วันฟ้องย้อนหลังลงไป อายุความฟ้องร้องเรียกคืนเงินกู้ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีกำหนดสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164.