คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 164

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 672 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3212/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องหนี้เงินกู้และดอกเบี้ย: ลูกหนี้ร่วม, สัญญาเพิ่มเติม, และผลของการทำสัญญารับใช้หนี้
การเรียกเอาดอกเบี้ยค้างส่งมีกำหนดอายุความ 5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5ทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์และรับเงินครบถ้วนเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม2518 โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ครั้นวันที่ 1 ธันวาคม 2526จำเลยที่ 4 ที่ 5 ทำสัญญารับใช้หนี้เงินกู้โดยยอมชำระดอกเบี้ยค้างส่งทั้งหมด การที่โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2527 คดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 4 ที่ 5 เกี่ยวกับหนี้ดอกเบี้ยค้างส่งจึงไม่ขาดอายุความ ส่วนจำเลยที่ 1 มิได้ทำสัญญารับใช้หนี้เงินกู้ดังกล่าวด้วย จึงไม่ต้องผูกพันโดยสัญญาดังกล่าว โจทก์มีสิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยค้างส่งจากจำเลยที่ 1 ได้เพียงภายใน 5 ปีนับแต่วันฟ้องย้อนหลังลงไป อายุความฟ้องร้องเรียกคืนเงินกู้ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น จึงกำหนด 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3150/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้, สภาพหนี้, การค้ำประกัน, และข้อยกเว้นอากรแสตมป์ในหนี้เพื่อการเกษตร
โจทก์เป็นกรมในรัฐบาล มิได้ทำการขายปุ๋ยแก่บุคคลทั่วไปแต่รัฐบาลได้จัดทำโครงการช่วยเหลือเกษตรกรโดยให้โจทก์จัดหาปุ๋ยมาขายแก่เกษตรกรในราคาถูก การขายสินค้าของโจทก์มิใช่เป็นการหากำไร โจทก์จึงมิใช่พ่อค้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 (1)ทั้งมิใช่เป็นบุคคลผู้ประกอบกสิกรรมตามมาตรา 165 (2) ไม่อยู่ในบังคับของอายุความตามมาตราดังกล่าว และเป็นกรณีไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องถืออายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164 ก. ทำหนังสือรับสภาพหนี้ต่อโจทก์ไว้ภายในอายุความ จึงทำให้อายุความสะดุดหยุดลง ต้องเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่เวลาเมื่อเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงสิ้นสุดไป คือวันสิ้นกำหนดเวลาที่ ก. สัญญาว่าจะนำเงินมาชำระหนี้ จำเลยที่ 6 ถึงที่ 10 ทำหนังสือค้ำประกันต่อโจทก์ ในหนี้ที่ ก. กู้ยืมเงินจากโจทก์ หนี้ดังกล่าวโจทก์ให้กู้ยืมเพื่อเป็นทุนหมุนเวียนช่วยเหลือชาวนา ถือได้ว่าเป็นการที่รัฐบาลให้ราษฎรกู้ยืมเพื่อการเกษตรกรรม การค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 6 ถึงที่ 10 เนื่องจากการดังกล่าว จึงได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียอากรตามบัญชีอากรแสตมป์ข้อ 17 ข้อยกเว้น (ก) แห่งประมวลรัษฎากร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3150/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีหนี้สินและการรับสภาพหนี้, การฟ้องคดีและผลกระทบต่อผู้ค้ำประกัน, เอกสารที่ไม่ติดอากรแสตมป์
โจทก์เป็นกรมในรัฐบาล มิได้ทำการขายปุ๋ยแก่บุคคลทั่วไปแต่รัฐบาลได้จัดทำโครงการช่วยเหลือเกษตรกรโดยให้โจทก์จัดหาปุ๋ยมาขายแก่เกษตรกรในราคาถูก การขายสินค้าของโจทก์มิใช่เป็นการหากำไร โจทก์จึงมิใช่พ่อค้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1) ทั้งมิใช่เป็นบุคคลผู้ประกอบกสิกรรมตามมาตรา 165(2) ไม่อยู่ในบังคับของอายุความตามมาตราดังกล่าว และเป็นกรณีไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องถืออายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164 ก.ทำหนังสือรับสภาพหนี้ต่อโจทก์ไว้ภายในอายุความ จึงทำให้อายุความสะดุดหยุดลง ต้องเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่เวลาเมื่อเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงสิ้นสุดไป คือวันสิ้นกำหนดที่ ก.สัญญาว่าจะนำเงินมาชำระหนี้ จำเลยที่ 6 ถึงที่ 10 ทำหนังสือค้ำประกันต่อโจทก์ในหนี้ที่ก.กู้ยืมเงินจากโจทก์ หนี้ดังกล่าวโจทก์ให้กู้ยืมเพื่อเป็นทุนหมุนเวียนช่วยเหลือชาวนา ถือได้ว่าเป็นการที่รัฐบาลให้ราษฎรกู้ยืมเพื่อการเกษตรกรรมการค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 6 ถึงที่ 10เนื่องจากการดังกล่าว จึงได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียอากรตามบัญชีอากรแสตมป์ข้อ 17 ข้อยกเว้น (ก.) แห่งประมวลรัษฎากร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3142/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาความเหมือน/คล้ายคลึงกันของเครื่องหมาย, อายุความ, และสิทธิในเครื่องหมายการค้า
หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ระบุถึงการเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายของประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันและได้มอบอำนาจให้ ร.หรือ ธ. ฟ้องคดีโดยมีเลขานุการสถานทูตไทยรับรองว่า ได้เห็นเอกสารการมอบอำนาจนั้น แม้เลขานุการสถานทูตไทยจะมิได้รับรองว่าเป็นเอกสารที่แท้จริงและผู้มอบอำนาจเป็นบุคคลมีอำนาจแท้จริงเมื่อจำเลยไม่นำสืบโต้แย้งคัดค้านก็รับฟังว่าหนังสือมอบอำนาจนั้นเป็นเอกสารที่แท้จริงและถูกต้องได้ การฟ้องคดีขอให้เพิกถอนเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วโดยอ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลยเป็นการฟ้องร้องตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474มาตรา 41(1) จึงมีอายุความ 10 ปี นับแต่วันที่มีการละเมิดคือวันที่จำเลยจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้น เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีอักษร "G" ประดิษฐ์เป็นรูปคล้ายหยดน้ำ อักษรโรมันได้แก่ "hansgrohe" ไม่มีกรอบ ในการโฆษณาตัว "G" อยู่ในวงกลมบ้าง ไม่มีวงกลมบ้าง ตัวอักษรโรมันบางครั้งเป็น "HansGrohe" ด้วย ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยมีอักษร "G" ประดิษฐ์เป็นรูปหยดน้ำเช่นเดียวกับโจทก์กับตัวอักษรโรมันว่า "HanGroh" อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมจัตุรัส ความแตกต่างระหว่างเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับของจำเลยจึงมีเพียงเล็กน้อยเมื่อนำมาใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกันถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับเครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันอาจทำให้สาธารณชนเกิดความสับสนและหลงผิดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3142/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพาทเครื่องหมายการค้า: สิทธิในเครื่องหมายการค้า, ความเหมือน/คล้ายคลึง, อายุความ, และการใช้ก่อน
หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ระบุถึงการเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายของประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันและได้มอบอำนาจให้ ร.หรือ ธ. ฟ้องคดี โดยมีเลขานุการสถานทูตไทยรับรองว่าได้เห็นเอกสารการมอบอำนาจนั้น แม้เลขานุการสถานทูตไทยจะมิได้รับรองว่าเป็นเอกสารที่แท้จริงและผู้มอบอำนาจเป็นบุคคลมีอำนาจแท้จริง เมื่อจำเลยไม่นำสืบโต้แย้งคัดค้าน ก็รับฟังว่าหนังสือมอบอำนาจนั้นเป็นเอกสารที่แท้จริงและถูกต้องได้
การฟ้องคดีขอให้เพิกถอนเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วโดยอ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลยย่อมเป็นการฟ้องร้องตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 41 (1) ซึ่งมีอายุความ 10 ปีนับแต่วันที่มีการละเมิดคือวันที่จำเลยจดทะเบียนการค้านั้น
เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีอักษร "G" ประดิษฐ์เป็นรูปคล้ายหยดน้ำ อักษรโรมันได้แก่ "hansgrohe" ไม่มีกรอบ เวลาใช้ในการโฆษณา ตัว "G" อยู่ในวงกลมบ้าง ไม่มีวงกลมบ้าง ตัวอักษรโรมันบางครั้งเป็น "Hans Grohe" ด้วย ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยมีอักษร "G" ประดิษฐ์ เป็นรูปหยดน้ำเช่นเดียวกับโจทก์ตัวอักษรโรมันว่า "Han Groh" อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมจัตุรัส ความแตกต่างระหว่างเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับของจำเลยจึงมีเพียงเล็กน้อยเมื่อนำมาใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกัน ถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับเครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันอาจทำให้สาธารณชนเกิดความสับสนและหลงผิดได้
โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทมาก่อนจำเลย ทั้งได้จดทะเบียนไว้ในต่างประเทศหลายประเทศ และได้ส่งสินค้ามาจำหน่ายในประเทศ ไทยก่อนที่จำเลยจะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3142/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดเครื่องหมายการค้า: สิทธิในเครื่องหมายการค้าเดิมย่อมเหนือกว่าการจดทะเบียนภายหลัง แม้มีความแตกต่างเพียงเล็กน้อย
หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ระบุถึงการเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายของประเทศ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน และได้มอบอำนาจให้ ร.หรือ ธ. ฟ้องคดี โดยมีเลขานุการสถานทูตไทยรับรองว่าได้เห็นเอกสารการมอบอำนาจนั้น แม้เลขานุการสถานทูตไทยจะมิได้รับรองว่าเป็นเอกสารที่แท้จริงและผู้มอบอำนาจเป็นบุคคลมีอำนาจแท้จริง เมื่อจำเลยไม่นำสืบโต้แย้งคัดค้าน ก็รับฟังว่าหนังสือมอบอำนาจนั้นเป็นเอกสารที่แท้จริงและถูกต้องได้ การฟ้องคดีขอให้เพิกถอนเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วโดยอ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลยย่อมเป็นการฟ้องร้องตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474มาตรา 41(1) ซึ่งมีอายุความ 10 ปีนับแต่วันที่มีการละเมิดคือวันที่จำเลยจดทะเบียนการค้านั้น เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีอักษร "G" ประดิษฐ์เป็นรูปคล้ายหยดน้ำ อักษรโรมันได้แก่ "hansgrohe" ไม่มีกรอบ เวลาใช้ในการโฆษณา ตัว "G" อยู่ในวงกลมบ้าง ไม่มีวงกลมบ้าง ตัวอักษรโรมันบางครั้งเป็น "HansGrohe" ด้วย ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยมีอักษร "G" ประดิษฐ์ เป็นรูปหยดน้ำเช่นเดียวกับโจทก์ตัวอักษรโรมันว่า "HanGroh" อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมจตุรัส ความแตกต่างระหว่างเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับของจำเลยจึงมีเพียงเล็กน้อยเมื่อนำมาใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกัน ถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับเครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันอาจทำให้สาธารณชนเกิดความสับสนและหลงผิดได้ โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทมาก่อนจำเลย ทั้งได้จดทะเบียนไว้ในต่างประเทศหลายประเทศ และได้ส่งสินค้ามาจำหน่ายในประเทศ ไทยก่อนที่จำเลยจะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3130/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกที่ดินส่วนที่ขาดจากบันทึกข้อตกลง ไม่ใช่เรื่องชำรุดบกพร่องตามสัญญาซื้อขาย จึงใช้ อายุความ 10 ปี
โจทก์ฟ้องเรียกที่ดินส่วนที่ขาดจากจำเลยตามบันทึกข้อตกลงเรื่องกรรมสิทธิ์รวมในที่ดิน หาได้ฟ้องขอให้จำเลยรับผิดเพื่อชำรุดบกพร่องในทรัพย์ที่ส่งมอบตามสัญญาซื้อขายซึ่งมีอายุความ 1 ปี นับแต่เวลาที่ได้พบเห็นความชำรุดบกพร่องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 474 ไม่ และกรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3130/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกที่ดินส่วนขาดจากบันทึกข้อตกลง ไม่ใช่ความชำรุดบกพร่องของทรัพย์สิน
โจทก์ฟ้องเรียกที่ดินส่วนที่ขาดจากจำเลยตามบันทึกข้อตกลงเรื่องกรรมสิทธิ์รวมในที่ดิน หาได้ฟ้องขอให้จำเลยรับผิดเพื่อชำรุดบกพร่องในทรัพย์ที่ส่งมอบตามสัญญาซื้อขายซึ่งมีอายุความ 1 ปีนับแต่เวลาที่ได้พบเห็นความชำรุดบกพร่องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 474 ไม่ และกรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงต้องใช้อายุความ10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2932/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิสัญชาติ: การโต้แย้งสิทธิในสัญชาติจากทะเบียนบ้านญวนอพยพไม่ขาดอายุความ
โจทก์ทั้งห้ามีสัญชาติไทย แต่ปรากฏว่ามีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านญวนอพยพที่แสดงว่าเป็นคนสัญชาติญวน และการจัดทำทะเบียนบ้านญวนอพยพอยู่ในอำนาจหน้าที่ของสำนักงานกิจการญวนอพยพ เมื่อจำเลยที่ 1 มีตำแหน่งเป็นหัวหน้าสำนักงานและเป็นนายทะเบียนบ้านญวนอพยพการที่โจทก์ทั้งห้าได้แจ้งให้จำเลยที่ 1 ถอนชื่อโจทก์ทั้งห้าออกจากทะเบียนบ้านญวนอพยพดังกล่าว แต่จำเลยที่ 1 เพิกเฉยอ้างว่ากระทำการตามหน้าที่และคำสั่งของกระทรวงมหาดไทย ซึ่งจำเลยที่ 2เป็นผู้รักษาการ เช่นนี้ย่อมถือได้ว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิในเรื่องสัญชาติของโจทก์ทั้งห้าแล้ว โจทก์ทั้งห้าจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองได้ ตราบใดที่ยังมิได้มีการถอนชื่อโจทก์ทั้งห้าออกจากทะเบียนบ้านญวนอพยพให้ถูกต้องก็ต้องถือว่าโจทก์ทั้งห้าถูกโต้แย้งสิทธิในเรื่องสัญชาติอยู่ตลอดเวลา ฟ้องโจทก์ทั้งห้า จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2465/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีซื้อขาย, การบอกเลิกสัญญา, ค่าเสียหายจากการผิดสัญญา, และขอบเขตความรับผิด
จำเลยซึ่งเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายไทยทำสัญญาซื้อสินค้าจากโจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลในต่างประเทศ ตามหนังสือสัญญาข้อ 11 มีข้อตกลงว่า เมื่อมีข้อพิพาทหรือข้อขัดแย้งเกิดขึ้นให้อนุญาโตตุลาการที่คู่สัญญาได้ร่วมกันแต่งตั้งเป็นผู้วินิจฉัยข้อพิพาทและข้อสัญญาข้อ 12 ความว่า โจทก์จำเลยตกลงกันให้ศาลยุติธรรมของประเทศอังกฤษมีอำนาจพิจารณา พิพากษา ดังนี้เมื่อเกิดข้อพิพาทและโจทก์จำเลยไม่เลือกใช้อนุญาโตตุลาการ และสัญญาข้อ 12 ไม่ได้ระบุโดยชัดแจ้งว่า ให้ศาลยุติธรรมของประเทศอังกฤษแต่เพียงศาลเดียวพิจารณา พิพากษาคดีนี้ได้ โจทก์ย่อมฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ศาลแพ่ง ซึ่งเป็นศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาในเขตศาลได้.
โจทก์เป็นพ่อค้าขายรถปั้นจั่นฟ้องเรียกค่าเสียหายกรณีจำเลยผิดสัญญาซื้อขายไม่ได้ฟ้องเรียกค่าที่ได้ส่งมอบรถ คดีโจทก์มีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 ไม่ใช่ 2ปี ตาม มาตรา 165(1).
of 68