คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 164

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 672 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3735/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีซื้อขายผิดสัญญา: ค่าเสียหายจากการเลิกสัญญาใช้ อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยผู้ซื้อผิดสัญญาซื้อขายไม่ชำระราคารถยนต์ตามกำหนดและโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว ขอให้จำเลยใช้เงินที่ขาดจำนวนตามสัญญาซื้อขายหลังจากที่ขายรถยนต์ให้แก่ผู้อื่นแล้วจำนวนหนึ่ง กับค่าขาดประโยชน์ที่จะให้บุคคลอื่นเช่าซื้อรถยนต์อีกจำนวนหนึ่ง เงินทั้งสองจำนวนดังกล่าวเป็นค่าเสียหายที่เป็นผลจากการเลิกสัญญา ไม่ใช่ค่าส่งมอบของตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 (1) และกรณีเช่นนี้กฎหมายไม่ได้บัญญัติในเรื่องอายุความไว้เป็นพิเศษจึงต้องถืออายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
คำให้การขอจำเลยที่ 2 ที่ต่อสู้เรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลหรือไม่ โจทก์มอบอำนาจให้ ส. ฟ้องคดีหรือไม่ ไม่ทราบ ไม่รับรองหนังสือรับรองนิติบุคคลและใบมอบอำนาจให้ฟ้องคดี จำเลยปฏิเสธ นั้น เป็นคำให้การที่ไม่ได้แสดงโดยชัดแจ้งว่า จำเลยปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้น หรือแต่บางส่วนไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรสอง ถือไม่ได้ว่าจำเลยให้การปฏิเสธ จึงไม่เป็นประเด็นที่จะต้องวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3735/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสัญญาซื้อขายและการปฏิเสธอำนาจฟ้องที่มิชอบ ศาลฎีกาตัดสินยืนตามศาลล่าง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยผู้ซื้อผิดสัญญาซื้อขายไม่ชำระราคารถยนต์ตามกำหนดและโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว ขอให้จำเลยใช้เงินที่ขาดจำนวนตามสัญญาซื้อขายหลังจากที่ขายรถยนต์ให้แก่ผู้อื่นแล้วจำนวนหนึ่งกับค่าขาดประโยชน์ที่จะให้บุคคลอื่นเช่าซื้อรถยนต์อีกจำนวนหนึ่งเงินทั้งสองจำนวนดังกล่าวเป็นค่าเสียหายที่เป็นผลจากการเลิกสัญญาไม่ใช่ค่าส่งมอบของตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1)และกรณีเช่นนี้กฎหมายไม่ได้บัญญัติในเรื่องอายุความไว้เป็นพิเศษจึงต้องถืออายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164 คำให้การของจำเลยที่ 2 ที่ต่อสู้เรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลหรือไม่ โจทก์มอบอำนาจให้ ส. ฟ้องคดีหรือไม่ไม่ทราบ ไม่รับรอง หนังสือรับรองนิติบุคคลและใบมอบอำนาจให้ฟ้องคดีจำเลยปฏิเสธ นั้น เป็นคำให้การที่ไม่ได้แสดงโดยชัดแจ้งว่าจำเลยปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้น หรือแต่บางส่วนไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง ถือไม่ได้ว่าจำเลยให้การปฏิเสธ จึงไม่เป็นประเด็นที่จะต้องวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3529/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีแรงงาน: การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากลูกจ้างที่ปฏิบัติงานบกพร่องตามสัญญาจ้างแรงงาน มิใช่มูลละเมิด
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างโจทก์ ได้รับคำสั่งจากโจทก์ให้ร่วมกับจำเลยที่ 2 ที่ 3 เป็นคณะกรรมการตรวจรับมอบการก่อสร้างแล้วไม่ตรวจรับมอบการก่อสร้างให้เป็นไปตามที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้กำหนด และได้รับความเห็นชอบจากโจทก์ ดังนี้เป็นคำฟ้องที่กล่าวหาว่าจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติงานให้เป็นไปตามคำสั่งของโจทก์ และไม่ปฏิบัติงานให้เป็นไปตามหน้าที่อันเกิดแต่สัญญาจ้างแรงงาน ขอให้บังคับจำเลยตามสิทธิตามสัญญาจ้างแรงงานมิใช่คดีฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิด จึงนำอายุความหนึ่งปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 มาปรับแก่คดีหาได้ไม่ คดีมีอายุความสิบปีตามมาตรา 164

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3248/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเล กรณีสินค้าเสียหายจากกลิ่นปลา และอายุความในการเรียกร้องค่าเสียหาย
ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายว่าด้วยรับขนทางทะเลใช้บังคับและไม่ปรากฎว่ามีประเพณีการรับขนของทางทะเลที่ถือปฎิบัติกันอยู่ จึงต้องนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะรับขนในหมวดรับขนของอันเป็นกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาปรับแก่คดี ซึ่งในเรื่องความรับผิดของผู้ขนส่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 616 จำเลย ผู้ขนส่งมีหน้าที่ต้องพิสูจน์ให้เห็นว่าสินค้ากระดาษทิชชูเช็ดหน้าที่รับขนได้รับความเสียหายมีกลิ่นปลาบดเกิดแต่เหตุสุดวิสัย หรือเกิดแต่สภาพแห่งของนั้นเอง หรือเกิดเพราะความผิดของผู้ส่งหรือผู้รับตราส่ง เมื่อจำเลยไม่สืบพยานจึงต้องฟังว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นจากความประมาทเลินเล่อของจำเลย จำเลยจึงต้องรับผิดในความเสียหายนั้น การเรียกค่าเสียหายกรณีรับขนทางทะเลต้องใช้อายุความทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 ซึ่งมีกำหนด10 ปี จะนำอายุความ 1 ปีตามมาตรา 624 มาใช้บังคับโดยถือว่าเป็นกฎหมายใกล้เคียงไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3215-3218/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกคืนภาษีการค้า: การชำระภาษีโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมาย ไม่ถือเป็นการรับชำระหนี้โดยไม่มีมูล อายุความ 10 ปี
กรมสรรพากรจำเลยที่ 5 ฎีกาและยื่นคำร้องว่า กำลังดำเนินการโอนเงินมาเพื่อวางศาลเป็นค่าฤชาธรรมเนียม ขอผัดการวางเงินประมาณ 1 เดือนดังนี้ เป็นการขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าฤชาธรรมเนียมมีกำหนดแน่นอนเท่าที่จะทำได้ ต่อมาจำเลยที่ 5 นำเงินค่าฤชาธรรมเนียมมาวางศาลภายใน 1 เดือนตามที่ขอผัดไว้ ที่ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตตามคำร้องและสั่งรับฎีกาจำเลยที่ 5 จึงชอบแล้ว
โจทก์ชำระเงินค่าภาษีอากรตามที่ฝ่ายจำเลยเรียกเก็บโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมาย จำเลยจะอ้างว่าโจทก์กระทำตามอำเภอใจเพื่อชำระหนี้โดยตนรู้ว่าไม่มีความผูกพันที่ต้องชำระอันเป็นลาภมิควรได้ซึ่งมีอายุความ 1 ปีหาได้ไม่ เมื่อโจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกคืนได้ภายในอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3185/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องชำรุดบกพร่อง: จำเลยรับรองคุณภาพหม้อแปลงไฟฟ้า การฟ้องเรียกค่าซ่อมเป็นเรื่องชำรุดบกพร่อง ไม่ใช่ผิดสัญญา
การที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระค่าใช้จ่ายที่โจทก์เสียไปในการซ่อมแซมหม้อแปลงไฟฟ้าที่จำเลยขายให้โจทก์ ซึ่งเกิดชำรุดขึ้นภายในระยะเวลาที่จำเลยจะต้องรับผิดชอบ เป็นการฟ้องจำเลยให้รับผิดเพื่อชำรุดบกพร่อง มิใช่เป็นการฟ้องให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาซื้อขาย หรือเลิกสัญญากับจำเลยโจทก์จึงต้องฟ้องจำเลยภายใน 1 ปี นับแต่เวลาที่ได้พบเห็นความชำรุดบกพร่อง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 474.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2494/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่ากระแสไฟฟ้า: การไฟฟ้านครหลวงไม่ใช่พ่อค้า ใช้ อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
การไฟฟ้านครหลวงมีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจ มีวัตถุประสงค์ในการจ่ายกระแสไฟฟ้าแก่ประชาชนอันมีลักษณะเป็นการสาธารณูปโภคและได้รับทุนในการดำเนินการจากงบประมาณแผ่นดิน จึงมิได้เป็นพ่อค้าตามความในมาตรา 165(1) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ การฟ้องเรียกค่ากระแสไฟฟ้าดังกล่าว เมื่อมิได้มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เป็นอย่างอื่น ต้องถือว่ามีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2494/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่ากระแสไฟฟ้า: การไฟฟ้านครหลวงไม่ใช่พ่อค้า อายุความ 10 ปี
การไฟฟ้านครหลวงมีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจ มีวัตถุประสงค์ในการจ่ายกระแสไฟฟ้าแก่ประชาชนอันมีลักษณะเป็นการสาธารณูปโภคและได้รับทุนในการดำเนินการจากงบประมาณแผ่นดิน จึงมิได้เป็นพ่อค้าตามความในมาตรา 165(1) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์การฟ้องเรียกค่ากระแสไฟฟ้าดังกล่าว เมื่อมิได้มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เป็นอย่างอื่น ต้องถือว่ามีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2228-2229/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญชาติไทยโดยการเกิดและการโต้แย้งสิทธิในทะเบียนบ้าน รวมถึงอายุความฟ้องคดีเกี่ยวกับสัญชาติ
โจทก์เกิดในราชอาณาจักรไทย เป็นบุตรของนาย ม. คนสัญชาติญวนกับนาง บ. คนสัญชาติไทย นาย ม. กับนาง บ. ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน โจทก์ย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 7 (3) กรณีจะถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 จะต้องปรากฏว่าบิดาของผู้ถูกถอนสัญชาติไทยเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อนาย ม.มิใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ จึงนำประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวมาปรับกับกรณีของโจทก์ไม่ได้
การที่บุคคลใดจะมีสัญชาติไทยหรือไม่ย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย แต่การจดแจ้งว่าบุคคลใดมีสัญชาติไทยนั้น เป็นวิธีการทางทะเบียนที่ทางฝ่ายปกครองจัดทำขึ้น เมื่อโจทก์มีสัญชาติไทยอยู่แล้ว แต่กลับถูกจดแจ้งทางทะเบียนว่ามีสัญชาติอื่น ถือได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิว่าไม่ได้เป็นบุคคลผู้มีสัญชาติไทยตลอดมา ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2228-2229/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญชาติไทยโดยการเกิดและการเพิกถอนสัญชาติกรณีบิดาไม่ได้จดทะเบียนสมรสและเป็นชาวต่างชาติ ฟ้องไม่ขาดอายุความ
โจทก์เกิดในราชอาณาจักรไทย เป็นบุตรของนาย ม. คนสัญชาติญวนกับนาง บ. คนสัญชาติไทย นาย ม. กับนาง บ. ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน โจทก์ย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 7(3) กรณีจะถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 จะต้องปรากฏว่าบิดาของผู้ถูกถอนสัญชาติไทยเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อนาย ม.มิใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ จึงนำประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวมาปรับกับกรณีของโจทก์ไม่ได้
การที่บุคคลใดจะมีสัญชาติไทยหรือไม่ย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย แต่การจดแจ้งว่าบุคคลใดมีสัญชาติไทยนั้น เป็นวิธีการทางทะเบียนที่ทางฝ่ายปกครองจัดทำขึ้นเมื่อโจทก์มีสัญชาติไทยอยู่แล้ว แต่กลับถูกจดแจ้งทางทะเบียนว่ามีสัญชาติอื่น ถือได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิว่าไม่ได้เป็นบุคคลผู้มีสัญชาติไทยตลอดมาฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ.
of 68