คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 164

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 672 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2115/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าครองชีพเป็นส่วนหนึ่งของเงินเดือนในการคำนวณเงินบำเหน็จ และสิทธิเรียกร้องเงินบำเหน็จมีอายุความ 10 ปี
นายจ้างจ่ายค่าครองชีพแก่ลูกจ้างเป็นจำนวนแน่นอน เป็นรายเดือนเช่นเดียวกับเงินเดือน ค่าครองชีพจึงเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายเพื่อตอบแทนเช่นเดียวกับเงินเดือน เป็นค่าจ้าง นายจ้างต้องนำค่าครองชีพมารวมเพื่อคำนวณในการจ่ายเงินบำเหน็จแก่โจทก์ตามข้อบังคับของนายจ้างด้วย
การที่ลูกจ้างได้รับเงินบำเหน็จจากนายจ้างยังไม่ครบถ้วนแม้จะไม่ปรากฏว่าลูกจ้างได้โต้แย้งคัดค้านการจ่ายเงินบำเหน็จของจำเลยไว้ ก็ถือไม่ได้ว่าลูกจ้างได้สละสิทธิที่จะเรียกร้องเอาเงินบำเหน็จในส่วนที่ยังขาดจากนายจ้าง ลูกจ้างย่อมมีสิทธิฟ้องให้นายจ้างชำระเงินบำเหน็จที่นายจ้างจ่ายขาดไปนั้นได้
สิทธิเรียกร้องเงินบำเหน็จไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ลูกจ้างจึงมีสิทธิเรียกร้องได้ภายใน 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 นายจ้างจะกำหนดระยะเวลาใช้สิทธิเรียกร้องดังกล่าวให้น้อยกว่า 10 ปีหาได้ไม่ เพราะต้องห้ามตามมาตรา 191 ลูกจ้างฟ้องคดีภายในกำหนดอายุความ 10 ปี นายจ้างจะยกข้อบังคับของนายจ้างขึ้นอ้างเพื่อปฏิเสธไม่จ่ายเงินบำเหน็จหาได้ไม่
เงินบำเหน็จกฎหมายมิได้บังคับให้นายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างทันทีที่เลิกจ้างดังเช่นค่าชดเชย นายจ้างจะผิดนัดก็ต่อเมื่อลูกจ้างได้ทวงถามก่อน เมื่อไม่ปรากฏว่าลูกจ้างได้ทวงถามให้นายจ้างรับผิดชำระเงินบำเหน็จเมื่อใด ลูกจ้างจึงชอบที่จะได้รับดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้อง.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1944/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความเพิกถอนการโอนทรัพย์ในคดีล้มละลาย: ใช้ อายุความ 10 ปี หากมิใช่การฉ้อฉล
กรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการโอนทรัพย์สินของลูกหนี้ตาม พระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483มาตรา 114 มิใช่กรณีเพิกถอนการฉ้อฉลตามมาตรา 113 ไม่มีบทบัญญัติกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1885/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความความรับผิดของผู้ขาย กรณีผู้ซื้อยอมตามคำเรียกร้องของเจ้าพนักงาน
การยอมตามที่บุคคลภายนอกเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 481 นั้น มีความหมายว่าต้องเป็นการยอมโดยสมัครใจ การที่เจ้าพนักงานศุลกากรยึดรถยนต์ที่โจทก์ซื้อจากจำเลยไปจากโจทก์โดยอ้างอำนาจของกฎหมาย ซึ่งหากโจทก์ไม่ยอมให้ยึดก็อาจต้องมีความผิดในทางอาญา จึงไม่เป็นการยอมตามที่บุคคลภายนอกเรียกร้องตามมาตรา 481 ความรับผิดของจำเลยผู้ขายรถยนต์ดังกล่าวไม่อยู่ในบังคับอายุความตามมาตรา 481แต่อยู่ในบังคับอายุความทั่วไปตามมาตรา 164

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1885/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการฟ้องคดีรับผิดจากการซื้อขาย: การยอมตามบุคคลภายนอกต้องเป็นความสมัครใจ
การยอมตามที่บุคคลภายนอกเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 481 นั้น มีความหมายว่า ต้องเป็นการยอมโดยสมัครใจ การที่เจ้าพนักงานศุลกากรยึดรถยนต์ที่โจทก์ซื้อจากจำเลยไปจากโจทก์โดยอ้างอำนาจของกฎหมาย ซึ่งหากโจทก์ไม่ยอมให้ยึดก็อาจต้องมีความผิดในทางอาญา จึงไม่เป็นการยอมตามที่บุคคลภายนอกเรียกร้องตามมาตรา 481 ความรับผิดของจำเลยผู้ขายรถยนต์ดังกล่าวไม่อยู่ในบังคับอายุความตามมาตรา481 แต่อยู่ในบังคับอายุความทั่วไปตามมาตรา 164.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1885/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีรับผิดจากการซื้อขาย: การยอมตามบุคคลภายนอกต้องสมัครใจ มิใช่การจำยอมต่อกฎหมาย
การยอมตามที่บุคคลภายนอกเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 481 นั้น มีความหมายว่า ต้องเป็นการยอมโดยสมัครใจ การที่เจ้าพนักงานศุลกากรยึดรถยนต์ที่โจทก์ซื้อจากจำเลยไปจากโจทก์โดยอ้างอำนาจของกฎหมาย ซึ่งหากโจทก์ไม่ยอมให้ยึดก็อาจต้องมีความผิดในทางอาญา จึงไม่เป็นการยอมตามที่บุคคลภายนอกเรียกร้องตามมาตรา 481 ความรับผิดของจำเลยผู้ขายรถยนต์ดังกล่าวไม่อยู่ในบังคับอายุความตามมาตรา481 แต่อยู่ในบังคับอายุความทั่วไปตามมาตรา 164

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1883/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องหนี้จากการซื้อขายหลักทรัพย์: ความสัมพันธ์ตัวแทน-ตัวการ และการใช้อายุความทั่วไป
การที่โจทก์ซื้อและขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเรียกร้องเงินทดรองที่โจทก์ออกแทนจำเลยไปในการซื้อขายหลักทรัพย์นั้น นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยหาใช่เป็นเรื่องโจทก์ประกอบการค้าในการดูแลกิจการของผู้อื่น และเรียกเอาสินจ้างอันพึงจะได้รับในการนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(7)เพราะโจทก์จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลย โจทก์หามีอำนาจที่จะใช้ดุลพินิจของตนเองดำเนินการอย่างใดไม่ ดังนี้เป็นการกระทำในฐานะตัวแทนในกิจการของจำเลยซึ่งเป็นตัวการและเมื่อกฎหมายมิได้บัญญัติเรื่องอายุความในกรณีเช่นนี้ไว้เป็นพิเศษ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี อันเป็นบทบัญญัติทั่วไปตาม มาตรา 164

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1769/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับผิดในหนี้จากการทำสัญญาโดยตัวแทนเชิด และการชำระหนี้ผ่านตัวแทน
วัดจำเลยที่ 1 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาแล้วจึงเป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 72 เจ้าอาวาสเป็นผู้แทนผู้มีอำนาจกระทำการแทนวัด ขณะที่วัดจำเลยที่ 1ยังไม่มีเจ้าอาวาส จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นพระลูกวัดเป็นผู้ติดต่อ ให้โจทก์มาช่วยสร้างโบสถ์ บอกบุญให้ประชาชนมาร่วมบริจาคเงินสร้างโบสถ์และคิดบัญชีกับโจทก์ เมื่อคิดบัญชีแล้วปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้ค่าวัสดุก่อสร้างที่โจทก์ออกเงินทดรองจ่ายไปก่อนจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้โดยระบุฐานะว่าเป็นตัวแทน คณะกรรมการจัดงานฝังลูกนิมิต วัดจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 3 ระบุว่า เป็นกรรมการของวัดจำเลยที่ 1 พฤติการณ์เหล่านี้ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 เชิดตัวเองเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 เจ้าคณะตำบลอาศัยอำนาจตามกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 6(พ.ศ. 2506) ข้อ 4 วรรคหนึ่ง แต่งตั้งให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้รักษาการแทน เจ้าอาวาสวัดจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ย่อมมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับ เจ้าอาวาสตามมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 หลังจากจำเลยที่ 2 ดำรงตำแหน่งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสอันเป็นผู้แทนของจำเลยที่ 1 ได้รู้ถึงพฤติการณ์ตามวรรคแรกของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ก็มิได้ทักท้วงหรือเพิกถอนการกระทำดังกล่าว ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้ให้สัตยาบัน แก่การกระทำของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ผู้สุจริตเสมือนว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 หาต้องร่วมรับผิดเป็นส่วนตัวไม่ โจทก์เข้าช่วยเหลือในการสร้างโบสถ์โดยมิได้หวังผลตอบแทนในทางการค้าจากจำเลยที่ 1 การกระทำของโจทก์จึงไม่เข้าลักษณะเป็นผู้ค้าในการดูแลกิจการของผู้อื่นหรือรับทำการงานต่าง ๆ การที่โจทก์เรียกเอาค่าที่ได้ออกเงินทดรองไปในการก่อสร้างโบสถ์จึงไม่อยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(7)ซึ่งมีอายุความ 2 ปี สิทธิเรียกร้องของโจทก์มีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1769/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับผิดของวัดต่อหนี้ที่เกิดจากการก่อสร้างโบสถ์ และการให้สัตยาบันโดยผู้แทนวัด
วัดจำเลยที่ 1 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาแล้วจึงเป็นนิติบุคคลตาม ป.พ.พ. มาตรา 72 เจ้าอาวาสเป็นผู้แทนผู้มีอำนาจกระทำการแทนวัด ขณะที่วัดจำเลยที่ 1 ยังไม่มีเจ้าอาวาส จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นพระลูกวัดเป็นผู้ติดต่อให้โจทก์มาช่วยสร้างโบสถ์ บอกบุญให้ประชาชนมาร่วมบริจาคเงินสร้างโบสถ์และคิดบัญชีกับโจทก์ เมื่อคิดบัญชีปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้ค่าวัสดุก่อสร้างที่โจทก์ออกเงินทดรองจ่ายไปก่อน จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้โดยจำเลยที่ 1 ระบุฐานะว่าเป็นตัวแทนคณะกรรมการจัดงานฝังลูกนิมิตวัดจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 3 ระบุว่าเป็นกรรมการของวัดจำเลยที่ 1 พฤติการณ์เหล่านี้ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 เชิดตัวเองเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1
เจ้าคณะตำบลอาศัยอำนาจตามกฎหมายมหาเถระสมาคม ฉบับที่ 6 (พ.ศ.2506) ข้อ 4 วรรคหนึ่ง แต่งตั้งให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ย่อมมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับเจ้าอาวาสตามมาตรา 39 แห่ง พ.ร.บ. คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505
หลังจากจำเลยที่ 2 ดำรงตำแหน่งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสอันเป็นผู้แทนของจำเลยที่ 1 ได้รู้ถึงพฤติการณ์ตามวรรคแรกของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ก็มิได้ทักท้วงหรือเพิกถอนการกระทำดังกล่าว ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้ให้สัตยาบันแก่การกระทำของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ผู้สุจริตเสมือนว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 หาต้องร่วมรับผิดเป็นส่วนตัวไม่
โจทก์เข้าช่วยเหลือในการสร้างโบสถ์โดยมิได้หวังผลตอบแทนในทางการค้าจากจำเลยที่ 1 การกระทำของโจทก์จึงไม่เข้าลักษณะเป็นผู้ค้าในการดูแลกิจการของผู้อื่นหรือรับทำการงานต่าง ๆ การที่โจทก์เรียกเอาค่าที่ได้ดอกเงินทดรองไปในการก่อสร้างโบสถ์จึงไม่อยู่ในบังคับแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 165 (7) ซึ่งมีอายุความ 2 ปี สิทธิเรียกร้องของโจทก์มีอายุความ 210 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 164

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1273/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีแรงงาน: สัญญาจ้างแรงงาน vs. ละเมิด - การฟ้องผิดหน้าที่ลูกจ้าง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองเป็นลูกจ้างโจทก์ จำเลยที่ 1เป็นหัวหน้าแผนกการเงินมีหน้าที่ควบคุมดูแลให้พนักงานการเงินนำค่าโดยสารเก็บเข้าตู้เซฟ จำเลยที่ 2 เป็นพนักงานการเงินมีหน้าที่ ควบคุมดูแลพนักงานการเงินแทนจำเลยที่ 1 ในกรณีที่จำเลยที่ 1 มิได้มาปฏิบัติหน้าที่ จำเลยทั้งสองไม่ได้ปฏิบัติการตามหน้าที่เป็นเหตุให้พนักงานการเงินยักยอกเงินค่าโดยสารของโจทก์ไปทำให้ โจทก์เสียหาย ดังนี้ คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวเป็นเรื่องที่โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยทั้งสองบกพร่องต่อหน้าที่อันเป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงานในการควบคุมดูแลพนักงานการเงิน มีอายุความ10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 จะนำอายุความ1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 มาปรับแก่คดีไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1162/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแรงงานและอายุความฟ้องคดีจากความเสียหายจากการขับรถของลูกจ้าง
โจทก์ได้ยื่นฟ้องจำเลยเรียกค่าเสียหายในมูลละเมิดในคดีนี้รวมกับข้อหาอื่นที่ศาลแพ่ง และอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางได้วินิจฉัยว่า ข้อหาที่โจทก์ฟ้องคดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงานกลาง ซึ่งเป็นที่สุดตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 9 วรรคสองโจทก์จึงแยกข้อหาคดีนี้มาฟ้องต่อศาลแรงงานกลาง กรณีจึงมิใช่เป็นเรื่องฟ้องซ้อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเป็นลูกจ้างโจทก์ ขับรถของโจทก์ด้วยความประมาทชนท้ายรถโดยสารประจำทางเป็นเหตุให้รถของโจทก์เสียหาย ขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหาย เช่นนี้เป็นการบรรยายฟ้องให้จำเลยรับผิดทั้งตามสัญญาจ้างแรงงานและในมูลละเมิดซึ่งโจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องได้ทั้งสองทาง สำหรับสิทธิเรียกร้องอันเกิดจากการผิดสัญญาจ้างแรงงานกฎหมายไม่ได้กำหนดอายุความไว้เป็นพิเศษ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามป.พ.พ. มาตรา 164 โจทก์นำคดีมาฟ้องก่อนครบกำหนด 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
of 68