คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 164

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 672 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5911/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันสัญญารับมอบสินค้าเชื่อ (ทรัสต์รีซีท) ไม่ขัดต่อ พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ และไม่ขาดอายุความ
ตามคำฟ้องเดิมโจทก์ขอให้บังคับจำเลยที่1รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัดจ.ตามสัญญารับมอบสินค้าเชื่อแม้โจทก์กล่าวถึงสัญญาเล็ตเตอร์ออฟเครดิตที่ห้างหุ้นส่วนจำกัดจ.ทำกับโจทก์ก็เป็นเพียงการเท้าความให้เห็นถึงความเป็นมาของสัญญารับมอบสินค้าเชื่อเท่านั้นการที่โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องโดยตัดข้อความที่เกี่ยวกับสัญญาเล็ตเตอร์ออฟเครดิตออกจึงไม่ทำให้ประเด็นแห่งคดีและความรับผิดของจำเลยที่1เปลี่ยนแปลงไปที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องจึงชอบแล้ว โจทก์บรรยายฟ้องว่าในการทำสัญญารับมอบสินค้าเชื่อของห้างหุ้นส่วนจำกัดจ.ที่ทำกับโจทก์มีจำเลยที่1ทำสัญญาค้ำประกันไว้และกล่าวถึงรายละเอียดของสัญญารับมอบสินค้าเชื่อตลอดจนภาระหนี้สินที่ห้างหุ้นส่วนจำกัดจ.และจำเลยที่1จะต้องร่วมกันรับผิดไว้ครบถ้วนคำฟ้องของโจทก์จึงแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้วส่วนรายละเอียดว่าเล็ตเตอร์ออฟเครดิตแต่ละฉบับเลขที่เท่าใดจำนวนเงินเท่าใดและสัญญารับมอบสินค้าเชื่อแต่ละฉบับเกี่ยวกับเล็ตเตอร์ออฟเครดิตฉบับใดนั้นเป็นเรื่องที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ห้างหุ้นส่วนจำกัดจ. สั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศผู้ขายส่งสินค้ามาประเทศไทยพร้อมกับส่งตั๋วแลกเงินและเอกสารกำกับสินค้าให้แก่ธนาคารตัวแทนของโจทก์ในต่างประเทศเพื่อส่งมาให้โจทก์เรียกเก็บเงินค่าสินค้าจากห้างหุ้นส่วนจำกัดจ.แต่ห้างหุ้นส่วนจำกัดจ.ไม่มีเงินชำระค่าสินค้าจึงทำสัญญารับมอบสินค้าเชื่อหรือทรัสต์รีซีทไว้แก่โจทก์เพื่อขอให้โจทก์มอบเอกสารต่างๆให้จะได้นำไปออกสินค้าจากการท่าเรือแห่งประเทศไทยเพื่อนำไปจำหน่ายและนำเงินค่าสินค้ามาชำระให้โจทก์โดยสัญญาดังกล่าวมีข้อความระบุไว้อย่างชัดแจ้งว่าโจทก์คงเป็นเจ้าของสินค้าและห้างหุ้นส่วนจำกัดจ.จะทำการขายสินค้าในฐานะตัวแทนโจทก์สัญญารับมอบสินค้าเชื่อดังกล่าวจึงเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าไปเป็นของโจทก์เมื่อโจทก์เป็นเจ้าของสินค้าการครอบครองสินค้าของโจทก์จึงไม่ใช่การครอบครองในลักษณะจำนำการที่โจทก์มอบเอกสารกำกับสินค้าให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดจ. เพื่อนำไปออกสินค้าจึงไม่ทำให้หนี้ตามสัญญารับมอบสินค้าเชื่อระงับไป สัญญารับมอบสินค้าเชื่อหรือทรัสต์รีซีทเป็นธุรกิจอันเป็นประเพณีที่ธนาคารพาณิชย์พึงกระทำได้ไม่ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์มาตรา9ทวิ โจทก์ชำระค่าสินค้าแทนห้างหุ้นส่วนจำกัดจ.เมื่อปี2523โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยที่1ชำระค่าสินค้าแทนห้างหุ้นส่วนจำกัดจ. ตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่1ทำไว้แก่โจทก์ได้ภายใน10ปีนับแต่วันที่โจทก์ชำระค่าสินค้าซึ่งเป็นเวลาที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้โจทก์นำคดีมาฟ้องวันที่26พฤษภาคม2532ยังไม่เกิน10ปีคดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5911/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีผู้ค้ำประกันชำระหนี้ตามสัญญารับมอบสินค้าเชื่อ ไม่ขาดอายุความ 10 ปี ศาลอนุญาตแก้ไขคำฟ้องได้
ตามคำฟ้องเดิมโจทก์ขอให้บังคับจำเลยที่ 1 รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด จ. ตามสัญญารับมอบสินค้าเชื่อ แม้โจทก์กล่าวถึงสัญญาเล็ตเตอร์ออฟเครดิตที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด จ.ทำกับโจทก์ก็เป็นเพียงการเท้าความให้เห็นถึงความเป็นมาของสัญญารับมอบสินค้าเชื่อเท่านั้น การที่โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องโดยตัดข้อความที่เกี่ยวกับสัญญาเล็ตเตอร์ออฟเครดิตออกจึงไม่ทำให้ประเด็นแห่งคดีและความรับผิดของจำเลยที่ 1 เปลี่ยนแปลงไป ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องจึงชอบแล้ว
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ในการทำสัญญารับมอบสินค้าเชื่อของห้างหุ้นส่วนจำกัด จ.ที่ทำกับโจทก์มีจำเลยที่ 1 ทำสัญญาค้ำประกันไว้ และกล่าวถึงรายละเอียดของสัญญารับมอบสินค้าเชื่อตลอดจนภาระหนี้สินที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด จ.และจำเลยที่ 1 จะต้องร่วมกันรับผิดไว้ครบถ้วน คำฟ้องของโจทก์จึงแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว ส่วนรายละเอียดว่าเล็ตเตอร์ออฟเครดิตแต่ละฉบับเลขที่เท่าใด จำนวนเงินเท่าใด และสัญญารับมอบสินค้าเชื่อแต่ละฉบับเกี่ยวกับเล็ตเตอร์ออฟเครดิตฉบับใดนั้น เป็นเรื่องที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา
ห้างหุ้นส่วนจำกัด จ. สั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศ ผู้ขายส่งสินค้ามาประเทศไทยพร้อมกับส่งตั๋วแลกเงินและเอกสารกำกับสินค้าให้แก่ธนาคารตัวแทนของโจทก์ในต่างประเทศเพื่อส่งมาให้โจทก์เรียกเก็บเงินค่าสินค้าจากห้างหุ้นส่วนจำกัด จ. แต่ห้างหุ้นส่วนจำกัด จ.ไม่มีเงินชำระค่าสินค้า จึงทำสัญญารับมอบสินค้าเชื่อหรือทรัสต์รีซีทไว้แก่โจทก์เพื่อขอให้โจทก์มอบเอกสารต่าง ๆ ให้จะได้นำไปออกสินค้าจากการท่าเรือแห่งประเทศไทย เพื่อนำไปจำหน่ายและนำเงินค่าสินค้ามาชำระให้โจทก์ โดยสัญญาดังกล่าวมีข้อความระบุไว้อย่างชัดแจ้งว่าโจทก์คงเป็นเจ้าของสินค้า และห้างหุ้นส่วนจำกัด จ.จะทำการขายสินค้าในฐานะตัวแทนโจทก์สัญญารับมอบสินค้าเชื่อดังกล่าวจึงเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าไปเป็นของโจทก์เมื่อโจทก์เป็นเจ้าของสินค้า การครอบครองสินค้าของโจทก์จึงไม่ใช่การครอบครองในลักษณะจำนำ การที่โจทก์มอบเอกสารกำกับสินค้าให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด จ.เพื่อนำไปออกสินค้าจึงไม่ทำให้หนี้ตามสัญญารับมอบสินค้าเชื่อระงับไป
สัญญารับมอบสินค้าเชื่อหรือทรัสต์รีซีทเป็นธุรกิจอันเป็นประเพณีที่ธนาคารพาณิชย์พึงกระทำได้ ไม่ต้องห้ามตาม พ.ร.บ. การธนาคารพาณิชย์มาตรา 9 ทวิ
โจทก์ชำระค่าสินค้าแทนห้างหุ้นส่วนจำกัด จ. เมื่อปี 2523โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าสินค้าแทนห้างหุ้นส่วนจำกัด จ. ตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 1 ทำไว้แก่โจทก์ได้ภายใน 10 ปี นับแต่วันที่โจทก์ชำระค่าสินค้าซึ่งเป็นเวลาที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ โจทก์นำคดีมาฟ้องวันที่26 พฤษภาคม 2532 ยังไม่เกิน 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2515/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาขายลดเช็คมีผลผูกพัน แม้เช็คไม่สามารถเรียกเก็บเงินได้ ผู้จัดการมรดกต้องรับผิดตามสัญญา
จำเลยทั้งสองให้การว่า จ. ได้ลงลายมือชื่อในสัญญาขายลดเช็คในฐานะผู้ให้สัญญาแต่ฝ่ายเดียวจึงเป็นคำเสนอของ จ. ยังไม่เกิดเป็นสัญญาที่บังคับได้ดังนี้คำให้การจำเลยทั้งสองดังกล่าวเท่ากับจำเลยทั้งสองให้การยอมรับว่า จ. ได้ลงลายมือชื่อทำสัญญาขายลดเช็คกับโจทก์แล้วฎีกาจำเลยทั้งสองที่ว่าตามปกติ จ. จะลงลายมือชื่อในเอกสารเป็นลายเซ็นไม่ใช่ลายมือเขียนลายมือชื่อในช่องผู้ให้สัญญาในสัญญาขายลดเช็คจะเป็นลายเซ็นของ จ. หรือไม่ไม่ทราบจึงฟังไม่ขึ้น สัญญาขายลดเช็คไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องทำเป็นหนังสือหรือต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือเมื่อผู้ทำสัญญาได้ลงลายมือชื่อในสัญญาแล้วแม้จะมีพยานหรือไม่มีพยานลงลายมือชื่อในสัญญาสัญญาก็มีผลบังคับได้หากจะมีการเพิ่มเติมชื่อพยานลงในสัญญาภายหลังโดยไม่ได้แก้ไขข้อความก็ไม่ทำให้สัญญาเสียไป แม้ตามสัญญาขายลดเช็คจะมีข้อความว่า จ. นำเช็คมาขายเพื่อแลกเงินสดจากโจทก์แต่ จ. ก็ได้ทำสัญญากับโจทก์ไว้ว่าหากธนาคารไม่สามารถเรียกเก็บเงินตามเช็คได้ จ. ก็ยินยอมชำระเงินให้ทันทีที่ได้รับแจ้งจากธนาคารอันเป็นข้อสัญญาต่างหากว่าแม้เช็คจะเรียกเก็บเงินไม่ได้ผู้ขายเช็คก็ยินยอมใช้เงินตามเช็คให้โจทก์ทันทีดังนั้นแม้เช็คจะเรียกเก็บเงินไม่ได้เพราะธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินและกำหนดอายุความฟ้องเรียกเงินตามเช็คได้สิ้นไปแล้วโจทก์ก็ยังมีสิทธิฟ้องเรียกให้ จ. ใช้เงินตามเช็คให้โจทก์ได้ตามสัญญากฎหมายไม่ได้กำหนดอายุความในการฟ้องเรียกเงินตามสัญญาขายลดเช็คไว้จึงต้องถือว่ามีอายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา164เดิมจำเลยผู้จัดการมรดกของ จ. จึงไม่อาจอ้างอายุความ1ปีตามมาตรา1002ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ จ. ได้ทำสัญญาขายลดเช็คแก่โจทก์2ฉบับเมื่อธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน จ. จึงต้องรับผิดใช้เงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์เมื่อ จ. ถึงแก่กรรมจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ จ. จึงต้องรับผิดใช้เงินแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2515/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาขายลดเช็คมีผลผูกพัน แม้เช็คไม่สามารถเรียกเก็บเงินได้ ผู้ขายเช็คต้องรับผิดตามสัญญา
จำเลยทั้งสองให้การว่า จ. ได้ลงลายมือชื่อในสัญญาขายลดเช็คในฐานะผู้ให้สัญญาแต่ฝ่ายเดียวจึงเป็นคำเสนอของ จ. ยังไม่เกิดเป็นสัญญาที่บังคับได้ดังนี้คำให้การจำเลยทั้งสองดังกล่าวเท่ากับจำเลยทั้งสองให้การยอมรับว่า จ. ได้ลงลายมือชื่อทำสัญญาขายลดเช็คกับโจทก์แล้วฎีกาจำเลยทั้งสองที่ว่าตามปกติ จ. จะลงลายมือชื่อในเอกสารเป็นลายเซ็นไม่ใช่ลายมือเขียนลายมือชื่อในช่องผู้ให้สัญญาในสัญญาขายลดเช็คจะเป็นลายเซ็นของ จ. หรือไม่ไม่ทราบจึงฟังไม่ขึ้น สัญญาขายลดเช็คไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องทำเป็นหนังสือหรือต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือเมื่อผู้ทำสัญญาได้ลงลายมือชื่อในสัญญาแล้วแม้จะมีพยานหรือไม่มีพยานลงลายมือชื่อในสัญญาสัญญาก็มีผลบังคับได้หากจะมีการเพิ่มเติมชื่อพยานลงในสัญญาภายหลังโดยไม่ได้แก้ไขข้อความก็ไม่ทำให้สัญญาเสียไป แม้ตามสัญญาขายลดเช็คจะมีข้อความว่า จ. นำเช็คมาขายเพื่อแลกเงินสดจากโจทก์แต่ จ. ก็ได้ทำสัญญากับโจทก์ไว้ว่าหากธนาคารไม่สามารถเรียกเก็บเงินตามเช็คได้ จ. ก็ยินยอมชำระเงินให้ทันทีที่ได้รับแจ้งจากธนาคารอันเป็นข้อสัญญาต่างหากว่าแม้เช็คจะเรียกเก็บเงินไม่ได้ผู้ขายเช็คก็ยินยอมใช้เงินตามเช็คให้โจทก์ทันทีดังนั้นแม้เช็คจะเรียกเก็บเงินไม่ได้เพราะธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินและกำหนดอายุความฟ้องเรียกเงินตามเช็คได้สิ้นไปแล้วโจทก์ก็ยังมีสิทธิฟ้องเรียกให้ จ. ใช้เงินตามเช็คให้โจทก์ได้ตามสัญญากฎหมายไม่ได้กำหนดอายุความในการฟ้องเรียกเงินตามสัญญาขายลดเช็คไว้จึงต้องถือว่ามีอายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา164เดิมจำเลยผู้จัดการมรดกของ จ. จึงไม่อาจอ้างอายุความ1ปีตามมาตรา1002ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ จ. ได้ทำสัญญาขายลดเช็คแก่โจทก์2ฉบับเมื่อธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน จ. จึงต้องรับผิดใช้เงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์เมื่อ จ. ถึงแก่กรรมจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ จ. จึงต้องรับผิดใช้เงินแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2515/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาขายลดเช็คบังคับได้แม้ไม่มีพยานเพิ่มเติม อายุความ 10 ปีใช้บังคับ
จำเลยทั้งสองให้การว่า จ. ได้ลงลายมือชื่อในสัญญาขายลดเช็คในฐานะผู้ให้สัญญาแต่ฝ่ายเดียว จึงเป็นคำเสนอของ จ. ยังไม่เกิดเป็นสัญญาที่บังคับได้ ดังนี้ คำให้การจำเลยทั้งสองดังกล่าวเท่ากับจำเลยทั้งสองให้การยอมรับว่า จ. ได้ลงลายมือชื่อทำสัญญาขายลดเช็คกับโจทก์แล้ว ฎีกาจำเลยทั้งสองที่ว่า ตามปกติ จ. จะลงลายมือชื่อในเอกสารเป็นลายเซ็น ไม่ใช่ลายมือเขียน ลายมือชื่อในช่องผู้ให้สัญญาในสัญญาขายลดเช็คจะเป็นลายเซ็นของ จ. หรือไม่ ไม่ทราบ จึงฟังไม่ขึ้น สัญญาขายลดเช็คไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องทำเป็นหนังสือหรือต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ เมื่อผู้ทำสัญญาได้ลงลายมือชื่อในสัญญาแล้วแม้จะมีพยานหรือไม่มีพยานลงลายมือชื่อในสัญญา สัญญาก็มีผลบังคับได้หากจะมีการเพิ่มเติมชื่อพยานลงในสัญญาภายหลังโดยไม่ได้แก้ไขข้อความก็ไม่ทำให้สัญญาเสียไป แม้ตามสัญญาขายลดเช็คจะมีข้อความว่า จ. นำเช็คมาขายเพื่อแลกเงินสดจากโจทก์ แต่ จ. ก็ได้ทำสัญญากับโจทก์ไว้ว่า หากธนาคารไม่สามารถเรียกเก็บเงินตามเช็คได้ จ. ก็ยินยอมชำระเงินให้ทันทีที่ได้รับแจ้งจากธนาคาร อันเป็นข้อสัญญาต่างหากว่า แม้เช็คจะเรียกเก็บเงินไม่ได้ ผู้ขายเช็คก็ยินยอมใช้เงินตามเช็คให้โจทก์ทันที ดังนั้น แม้เช็คจะเรียกเก็บเงินไม่ได้เพราะธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน และกำหนดอายุความฟ้องเรียกเงินตามเช็คได้สิ้นไปแล้วโจทก์ก็ยังมีสิทธิฟ้องเรียกให้ จ. ใช้เงินตามเช็คให้โจทก์ได้ตามสัญญา กฎหมายไม่ได้กำหนดอายุความในการฟ้องเรียกเงินตามสัญญาขายลดเช็คไว้ จึงต้องถือว่ามีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิม จำเลยผู้จัดการมรดกของ จ. จึงไม่อาจอ้างอายุความ 1 ปี ตามมาตรา 1002 ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ จ. ได้ทำสัญญาขายลดเช็คแก่โจทก์ 2 ฉบับ เมื่อธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน จ. จึงต้องรับผิดใช้เงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ เมื่อ จ. ถึงแก่กรรม จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ จ. จึงต้องรับผิดใช้เงินแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 339/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลงหนี้ใหม่และการเรียกร้องหนี้ตามสัญญาขายลดเช็ค: อายุความและข้อโต้แย้ง
หนังสือยินยอมให้ผ่อนชำระหนี้เอกสารหมายล.2เป็นเพียงหนังสือของโจทก์ที่มีถึง ป. แจ้งว่าโจทก์ยอมรับการขอผ่อนชำระหนี้ต่างๆของ ถ. ที่มีต่อโจทก์เป็นรายเดือนตามที่ ป. เสนอขอผ่อนชำระหนี้แทนมาหาใช่เป็นการทำสัญญาระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้กับ ป. ลูกหนี้คนใหม่แต่ประการใดไม่ทั้งหนังสือดังกล่าวก็ไม่ได้พูดถึงหนี้ของจำเลยที่มีต่อโจทก์เลยกรณีจึงไม่ใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้หนี้ที่จำเลยมีต่อโจทก์จึงยังคงมีอยู่เช่นเดิมไม่ระงับสิ้นไป หนังสือรับสภาพหนี้และรับใช้หนี้ของ ท. ที่ทำไว้แก่โจทก์ตามเอกสารหมายล.1เป็นเพียงหนังสือที่ ท.ทำขึ้นฝ่ายเดียวโดย ท. ยอมตนเข้าเป็นลูกหนี้ของโจทก์เพื่อชำระหนี้ตามเช็คที่ ท.เป็นผู้สั่งจ่ายซึ่ง ถ. และจำเลยนำมาทำสัญญาขายลดไว้แก่โจทก์โดยโจทก์กับ ท. มิได้มีการทำสัญญากันเพื่อให้หนี้ของจำเลยที่มีต่อโจทก์ตามสัญญาขายลดเช็คระงับสิ้นไปและมาบังคับตามหนี้ดังที่ระบุไว้ในเอกสารหมายล.1แต่อย่างใดกรณีจึงไม่ใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้จากจำเลยมาเป็น ท. หนี้ตามสัญญาขายลดเช็คของจำเลยจึงไม่ระงับสิ้นไป สิทธิเรียกร้องตามสัญญาขายลดเช็คไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา164เดิมคือมีอายุความ10ปีนับแต่วันที่เช็คพิพาทถึงกำหนดเวลาใช้เงิน ฎีกาของจำเลยที่ว่าโจทก์ฟ้องเรียกดอกเบี้ยค้างส่งเกิน4ปีนับแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คฟ้องโจทก์ส่วนที่เกี่ยวกับดอกเบี้ยค้างส่งจึงขาดอายุความโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยเอาแก่จำเลยนั้นจำเลยมิได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นโต้แย้งคัดค้านคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ในปัญหานี้ว่าไม่ถูกต้องอย่างไรจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 339/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลงหนี้ใหม่ และอายุความของดอกเบี้ยจากเช็ค: กรณีไม่ถือเป็นการแปลงหนี้และดอกเบี้ยเกินอายุความ
หนังสือยินยอมให้ผ่อนชำระหนี้เอกสารหมาย ล.2 เป็นเพียงหนังสือของโจทก์ที่มีถึง ป. แจ้งว่าโจทก์ยอมรับการขอผ่อนชำระหนี้ต่าง ๆ ของ ถ.ที่มีต่อโจทก์เป็นรายเดือนตามที่ ป.เสนอขอผ่อนชำระหนี้แทนมา หาใช่เป็นการทำสัญญาระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้กับ ป.ลูกหนี้คนใหม่แต่ประการใดไม่ ทั้งหนังสือดังกล่าวก็ไม่ได้พูดถึงหนี้ของจำเลยที่มีต่อโจทก์เลย กรณีจึงไม่ใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ หนี้ที่จำเลยมีต่อโจทก์จึงยังคงมีอยู่เช่นเดิมไม่ระงับสิ้นไป
หนังสือรับสภาพหนี้และรับใช้หนี้ของ ท.ที่ทำไว้แก่โจทก์ตามเอกสารหมาย ล.1 เป็นเพียงหนังสือที่ ท.ทำขึ้นฝ่ายเดียว โดย ท.ยอมตนเข้าเป็นลูกหนี้ของโจทก์เพื่อชำระหนี้ตามเช็คที่ ท.เป็นผู้สั่งจ่ายซึ่ง ถ.และจำเลยนำมาทำสัญญาขายลดไว้แก่โจทก์ โดยโจทก์กับ ท.มิได้มีการทำสัญญากันเพื่อให้หนี้ของจำเลยที่มีต่อโจทก์ตามสัญญาขายลดเช็คระงับสิ้นไป และมาบังคับตามหนี้ดังที่ระบุไว้ในเอกสารหมาย ล.1 แต่อย่างใด กรณีจึงไม่ใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้จากจำเลยมาเป็น ท. หนี้ตามสัญญาขายลดเช็คของจำเลยจึงไม่ระงับสิ้นไป
สิทธิเรียกร้องตามสัญญาขายลดเช็คไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 เดิม คือมีอายุความ 10 ปี นับแต่วันที่เช็คพิพาทถึงกำหนดเวลาใช้เงิน
ฎีกาของจำเลยที่ว่า โจทก์ฟ้องเรียกดอกเบี้ยค้างส่งเกิน 5 ปีนับแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค ฟ้องโจทก์ส่วนที่เกี่ยวกับดอกเบี้ยค้างส่งจึงขาดอายุความ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยเอาแก่จำเลยนั้น จำเลยมิได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นโต้แย้งคัดค้านคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ในปัญหานี้ว่าไม่ถูกต้องอย่างไร จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 249วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6468/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าฉางที่มีลักษณะสัญญาฝากทรัพย์ การคิดอายุความตามมาตรา 164 เมื่อไม่มีกฎหมายเฉพาะ
สัญญาเช่าฉาง เอกชน นอกจากเป็นสัญญาเช่าทรัพย์แล้วยังมีข้อกำหนดให้จำเลยมีหน้าที่เก็บรักษาข้าวเปลือกและดูแลมิให้เกิดความเสียหายหากเกิดความเสียหายหรือสูญหาย จำเลยต้องรับผิดชดใช้ราคา จึงมีลักษณะเป็นสัญญาฝากทรัพย์รวมอยู่ด้วย จำเลยในฐานะผู้รับฝากทรัพย์ซึ่งจะต้องคืนทรัพย์ที่รับฝากไว้แก่โจทก์เมื่อทรัพย์ที่ฝากสูญหายจึงต้องใช้ราคาแทนตัวทรัพย์ การฟ้องเรียกให้ใช้ราคาทรัพย์ในกรณีนี้ไม่ใช่เรียกค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวแก่การฝากทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 671 และไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีกำหนด 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 (กฎหมายใหม่ 193/30)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5861/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสัญญาฝากทรัพย์: การผิดสัญญาจากปฏิเสธการจ่ายเงินตามสมุดเงินฝาก ไม่เข้าอายุความ 10 ปี
โจทก์ฝากเงินกับธนาคารจำเลยโดยมีข้อตกลงว่าโจทก์จะถอนเงินฝากเมื่อใดก็ได้โดยนำสมุดเงินฝากมาแสดง ปรากฏตามสมุดเงินฝากว่าครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2514 โจทก์มีเงินฝากคงเหลืออยู่ในบัญชี 60,124.84 บาท โจทก์มิได้ปิดบัญชีกับจำเลย การที่โจทก์ขอถอนเงินจากบัญชีของโจทก์ในปี 2529 แล้วจำเลยไม่ยอมจ่ายเงินให้อ้างว่าบัญชีของโจทก์ปิดแล้วนั้น ย่อมเป็นการผิดสัญญาฝากทรัพย์ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความไว้ จึงต้องใช้อายุความทั่วไป 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิม เมื่อนับถึงวันฟ้องวันที่ 4 กันยายน 2532 ยังไม่ถึง 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3297/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรื้อถอนอาคารผิดแบบและการบังคับตามกฎหมายวิธีสบัญญัติ มิใช่การใช้สิทธิเรียกร้องจึงไม่อ้างอายุความได้
จำเลยปลูกสร้างอาคารเกินไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตและไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่สั่งให้แก้ไขเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจขอต่อศาลให้บังคับจำเลยได้ การใช้อำนาจดังกล่าวมิใช่การใช้สิทธิเรียกร้อง จึงมิอาจอ้างอายุความ10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30(มาตรา 164 เดิม)มาใช้กับกรณีนี้ได้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจขอให้บังคับให้รื้อถอนอาคารที่สร้างผิดแบบแปลนได้เสมอตราบเท่าที่อาคารยังฝ่าฝืนกฎหมายอยู่ ปัญหาที่ว่าจำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมอาคารพิพาทตามฟ้องให้แก่บุคคลภายนอกแล้วจึงไม่อาจบังคับจำเลยตามฟ้องได้นั้นจำเลยมิได้ตั้งประเด็นไว้ในคำให้การ ทั้งศาลชั้นต้นมิได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทนี้ไว้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
of 68