คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 164

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 672 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2881/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องค่าธรรมเนียมประทานบัตร, การเปลี่ยนแปลงอัตราค่าธรรมเนียม, และอายุความหนี้เงิน
โจทก์เป็นกรมในสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม มีหน้าที่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมเพื่อใช้เนื้อที่ตามประทานบัตร การฟ้องเรียกค่าธรรมเนียมเพื่อใช้เนื้อที่ตามประทานบัตรที่ค้างชำระจึงเป็นการกระทำตามอำนาจหน้าที่ของโจทก์ โจทก์มีอำนาจฟ้องได้โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมไม่จำต้องมอบอำนาจให้ ตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 มาตรา 55 จำเลยซึ่งเป็นผู้ถือประทานบัตรมีหน้าที่ชำระค่าธรรมเนียมเพื่อใช้เนื้อที่ตามประทานบัตรเป็นรายปีค่าธรรมเนียมนั้นกฎหมายให้เรียกเก็บตามกฎกระทรวงอันหมายถึงกฎกระทรวงที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเรียกเก็บปีใดกฎกระทรวงฉบับใดใช้บังคับอยู่จำเลยต้องชำระค่าธรรมเนียมตามอัตราที่กฎกระทรวงฉบับนั้นกำหนดไว้ จำเลยยกอายุความเรื่องเช่าทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 563 ขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การ แต่ฎีกาโดยยกอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 ซึ่งแก้ไขใหม่เป็นมาตรา 193/30 ขึ้นฎีกา จึงเป็นฎีกาในข้อที่ไม่ได้ว่ากันมาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 เงินค่าธรรมเนียมเพื่อใช้เนื้อที่ตามประทานบัตรที่ค้างชำระเป็นหนี้เงิน โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 ดอกเบี้ยค้างชำระส่วนที่เกิน 5 ปี นับจากวันฟ้องย้อนหลังไปขาดอายุความประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 ซึ่งแก้ไขใหม่เป็นมาตรา 193/33

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1553/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการเรียกร้องเงินทดรองจ่ายในวงแชร์: สิทธิเรียกร้องมีอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
โจทก์เล่นแชร์กับจำเลยโดยโจทก์เป็นนายวง จำเลยประมูลแชร์ได้และออกเช็คให้แก่ลูกวงคนอื่น ๆ ไว้ เมื่อเช็คเรียกเก็บเงินไม่ได้ โจทก์ในฐานะนายวงได้ชำระเงินตามเช็คไปแล้ว โจทก์ฟ้องเรียกเงินจากจำเลยอันเป็นการเรียกเงินที่ออกทดรองไปก่อนคืน สิทธิเรียกร้องเช่นนี้ไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนด10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1225/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีผู้รับอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงิน กรณีไม่ได้เป็นผู้ค้ำประกัน
ตามหนังสือรับรองการขายตั๋วสัญญาใช้เงินไม่ปรากฏความข้อใดเลยว่า หากจำเลยที่ 1 ไม่ใช้เงินแก่โจทก์ตามสัญญาขายลดแล้ว จำเลยที่ 2จะยอมใช้เงินแก่โจทก์ หรือแม้แต่คำว่า "ค้ำประกัน" ก็ไม่ปรากฏฐานะของจำเลยที่ 2 คงระบุเพียงว่าเป็นผู้รับอาวัลเท่านั้น แม้จะระบุถึงเรื่องการผ่อนเวลาไว้ก็คงเป็นการกล่าวถึงความรับผิดของจำเลยที่ 2ในฐานะผู้รับอาวัลซึ่งต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกันกับบุคคลที่ตนประกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 940 โดยไม่อาจอ้างเรื่องการผ่อนเวลาตามหลักค้ำประกันทั่วไปใน มาตรา 700ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้อยู่แล้ว ดังนี้ เมื่อเป็นกรณีที่มีข้อสงสัยจึงต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่จำเลยที่ 2 ซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้นั้น จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ในการขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินต่อโจทก์นอกเหนือไปจากการเป็นผู้รับอาวัลจำเลยที่ 1 ผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน อันจะทำให้คดีโจทก์ในส่วนของจำเลยที่ 2 มีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164 เดิมหากแต่เป็นการฟ้องให้จำเลยที่ 2 ให้รับผิดในฐานะผู้รับอาวัลเท่านั้นซึ่งมีอายุความ 3 ปี นับแต่วันที่ตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนดใช้เงินตาม มาตรา 1001 ประกอบมาตรา 940 แม้ปรากฏว่าหลังจากที่ตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนดใช้เงินแล้วจำเลยที่ 1 ผู้ออกตั๋วจะผ่อนชำระเงินให้โจทก์ไปบางส่วน เป็นเหตุให้อายุความในส่วนของจำเลยที่ 1 สะดุดหยุดลงก็ตาม แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ผู้รับอาวัลได้ร่วมกระทำกับจำเลยที่ 1 ด้วย จึงเป็นเรื่องแต่เฉพาะจำเลยที่ 1 เท่านั้น อายุความในส่วนของจำเลยที่ 2จึงไม่สะดุดหยุดลงด้วยตามมาตรา 295 ประกอบมาตรา 967,985

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 475/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนสิทธิบัตร: การพิสูจน์ความสมบูรณ์, อายุความ, และการเผยแพร่ก่อนขอรับสิทธิบัตร
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสี่ละเมิดสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องตัดกระแสไฟฟ้าของโจทก์ จำเลยให้การปฏิเสธว่าสิทธิบัตรโจทก์ไม่สมบูรณ์และฟ้องแย้งขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรดังกล่าว ภาระการพิสูจน์และหน้าที่นำสืบในประเด็นว่า สิทธิบัตรโจทก์สมบูรณ์หรือไม่ย่อมตกแก่จำเลยทั้งสี่ แต่เมื่อโจทก์มีหน้าที่นำสืบก่อนหลายประเด็นประกอบกับโจทก์และจำเลยทั้งสี่ต่างนำพยานหลักฐานเข้าสืบด้วยกันทั้งสองฝ่ายแล้ว แม้โจทก์จะเป็นฝ่ายนำสืบก่อนก็ไม่ทำให้โจทก์เสียเปรียบศาลฎีกาไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นทำการพิจารณาใหม่
การที่จำเลยทั้งสี่ฟ้องแย้งขอให้ศาลเพิกถอนสิทธิบัตรโจทก์เพราะเป็นสิทธิบัตรที่ไม่สมบูรณ์นั้น เป็นการฟ้องตามมาตรา 64 วรรคสอง แห่งพ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 ไม่ใช่การฟ้องเนื่องจากมูลละเมิด เมื่ออายุความเกี่ยวกับอำนาจฟ้องดังกล่าวไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงต้องถืออายุความ10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ลงโฆษณาเผยแพร่และผลิตภัณฑ์เครื่องตัดกระแสไฟฟ้ามาก่อนเป็นเวลาหลายปี แล้วต่อมาจึงนำผลิตภัณฑ์ของโจทก์ดังกล่าวไปขอรับสิทธิบัตรรูปแบบผลิตภัณฑ์ ถือไม่ได้ว่าแบบผลิตภัณฑ์เครื่องตัดกระแสไฟฟ้าดังกล่าวเป็นแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ที่จะนำไปยื่นรับคำขอสิทธิบัตรได้ตามพ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 56 และ 57 สิทธิบัตรโจทก์จึงไม่สมบูรณ์จำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องตัดกระแสไฟฟ้าเช่นเดียวกับโจทก์ จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสีย และมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 475/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบัตรไม่สมบูรณ์จากการเผยแพร่ก่อนขอรับสิทธิบัตร และอายุความฟ้องแย้งตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสี่ละเมิดสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องตัดกระแสไฟฟ้าของโจทก์ จำเลยให้การปฏิเสธว่าสิทธิบัตรโจทก์ไม่สมบูรณ์และฟ้องแย้งขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรดังกล่าว ภาระการพิสูจน์และหน้าที่นำสืบในประเด็นว่า สิทธิบัตรโจทก์สมบูรณ์หรือไม่ย่อมตกแก่จำเลยทั้งสี่ แต่เมื่อโจทก์มีหน้าที่นำสืบก่อนหลายประเด็นประกอบกับโจทก์และจำเลยทั้งสี่ต่างนำพยานหลักฐานเข้าสืบด้วยกันทั้งสองฝ่ายแล้ว แม้โจทก์จะเป็นฝ่ายนำสืบก่อนก็ไม่ทำให้โจทก์เสียเปรียบศาลฎีกาไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นทำการพิจารณาใหม่ การที่จำเลยทั้งสี่ฟ้องแย้งขอให้ศาลเพิกถอนสิทธิบัตรโจทก์เพราะเป็นสิทธิบัตรที่ไม่สมบูรณ์นั้น เป็นการฟ้องตามมาตรา 64 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522ไม่ใช่การฟ้องเนื่องจากมูลละเมิด เมื่ออายุความเกี่ยวกับอำนาจฟ้องดังกล่าวไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะจึงต้องถืออายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ลงโฆษณาเผยแพร่และผลิตภัณฑ์เครื่องตัดกระแสไฟฟ้ามาก่อนเป็นเวลาหลายปีแล้วต่อมาจึงนำผลิตภัณฑ์ของโจทก์ดังกล่าวไปขอรับสิทธิบัตรรูปแบบผลิตภัณฑ์ ถือไม่ได้ว่าแบบผลิตภัณฑ์เครื่องตัดกระแสไฟฟ้าดังกล่าวเป็นแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ที่จะนำไปยื่นรับคำขอสิทธิบัตรได้ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 56และ 57 สิทธิบัตรโจทก์จึงไม่สมบูรณ์จำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องตัดกระแสไฟฟ้าเช่นเดียวกับโจทก์ จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสีย และมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 475/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบัตรไม่สมบูรณ์: แบบผลิตภัณฑ์ไม่ใช่ของใหม่ เปิดเผยต่อสาธารณะแล้ว จำเลยมีสิทธิขอเพิกถอนได้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสี่กระทำละเมิดต่อสิทธิบัตรของโจทก์จำเลยทั้งสี่ให้การปฏิเสธต่อสู้ว่าสิทธิบัตรของโจทก์ไม่สมบูรณ์พร้อมกับฟ้องแย้งขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรของโจทก์ จึงเป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสี่ยกความไม่สมบูรณ์ในสิทธิบัตรของโจทก์ขึ้นอ้าง ตามมาตรา 64 วรรคสอง แห่ง พระราชบัญญัติสิทธิบัตรฯ ภาระการพิสูจน์ว่าสิทธิบัตรของโจทก์สมบูรณ์หรือไม่ย่อมตกอยู่แก่จำเลยทั้งสี่ จำเลยทั้งสี่บรรยายฟ้องแย้งว่าผลิตภัณฑ์ที่จะได้รับสิทธิบัตรจะต้องเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ แต่ผลิตภัณฑ์ที่โจทก์ได้รับสิทธิบัตรมีการใช้กันแพร่หลายในหรือนอกราชอาณาจักรก่อนวันขอรับสิทธิบัตรผลิตภัณฑ์ของโจทก์ ผลิตภัณฑ์ของโจทก์จึงไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ใหม่ไม่สามารถขอรับสิทธิบัตรได้ สิทธิบัตรของโจทก์จึงไม่สมบูรณ์ฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสี่บรรยายแจ้งชัดแล้วว่าสิทธิบัตรของโจทก์ไม่สมบูรณ์เพราะเหตุใด ไม่เคลือบคลุม การฟ้องขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรเพราะเป็นสิทธิบัตรไม่สมบูรณ์เป็นการฟ้องโดยอาศัยอำนาจตาม พระราชบัญญัติสิทธิบัตรฯมาตรา 64 วรรคสอง ไม่ใช่การฟ้องเนื่องจากมูลละเมิด ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 ซึ่งมีกำหนดไว้ 10 ปี แบบผลิตภัณฑ์เครื่องตัดกระแสไฟฟ้าของโจทก์ไม่ใช่เป็นแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ที่จะนำไปยื่นรับคำขอสิทธิบัตรจากพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ตามมาตรา 56,57 แห่ง พระราชบัญญัติสิทธิบัตรฯ สิทธิบัตรของโจทก์ที่กรมทะเบียนการค้ากระทรวงพาณิชย์รับจดทะเบียนไว้จึงไม่สมบูรณ์จำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เช่นเดียวกับโจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียมีอำนาจฟ้องและขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5594/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: การข่มขู่ต้องร้ายแรงถึงขนาดจูงใจให้ทำสัญญา หากเป็นการใช้สิทธิโดยชอบธรรม สัญญาไม่ตกเป็นโมฆียะ
จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการร้านค้าของโจทก์ เมื่อโจทก์ตรวจพบว่าสินค้าและเงินในความรับผิดชอบของจำเลยที่ 1 สูญหายไป และจำเลยที่ 1 ไม่ยอมรับผิดชอบ โจทก์ข่มขู่ว่าจะจับกุมดำเนินคดีอาญากับจำเลยที่ 1 ในข้อหายักยอก จำเลยที่ 1 จึงยอมทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ ดังนี้เป็นสิทธิอันชอบธรรมของโจทก์ที่พึงใช้สิทธิของตนตามปกตินิยม กรณีหาใช่เป็นการข่มขู่อันจะทำให้นิติกรรมตกเป็นโมฆียะไม่ สัญญาประนีประนอมยอมความจึงมีผลใช้บังคับได้ คู่ฉบับเอกสาร ถือว่าเป็นต้นฉบับเอกสารด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2661/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเลและผู้ร่วมขนส่ง กรณีสินค้าสูญหาย
แม้จำเลยที่ 2 จะให้การว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 882 แล้ว แต่จำเลยที่ 2ก็มิได้อ้างเหตุที่ฟ้องโจทก์ขาดอายุความว่าเป็นกรณีที่โจทก์รับช่วงสิทธิเรียกร้องมาจากผู้รับตราส่ง ซึ่งต้องเสียหายเพราะของสูญหาย เนื่องจากความผิดของจำเลยทั้งสองผู้ขนส่งทางทะเลซึ่งโจทก์ต้องฟ้องภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่ส่งมอบของตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 624 ประกอบด้วยมาตรา 4แต่อย่างใด คดีจึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความตามมาตรา 624 ดังกล่าวหรือไม่ ที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นมาวินิจฉัย จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นในคำให้การของจำเลยทั้งสอง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 183 จึงถือไม่ได้ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความ ก่อนเรือซึ่งบรรทุกสินค้าพิพาทมาถึงการท่าเรือแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 1 จะเป็นผู้ประกาศแจ้งความการมาถึงของเรือและสินค้าพิพาทให้ผู้รับตราส่งทราบ เมื่อเรือมาถึงจำเลยที่ 1 จะติดต่อทำพิธีการต่าง ๆ กับเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่นกรมศุลกากร กรมเจ้าท่า กองตรวจคนเข้าเมือง และการท่าเรือแห่งประเทศไทย เพื่อนำเรือเข้าเทียบท่า แจ้งให้ผู้รับตราส่งทราบเพื่อให้ไปรับสินค้า หากมีค่าระวางเรือต้องเก็บปลายทางก็จะเป็นผู้เรียกเก็บไว้ โดยจำเลยที่ 1 ได้รับค่าบำเหน็จจากการดำเนินการดังกล่าว และเป็นผู้ออกใบปล่อยสินค้า ดังนี้พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 เห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินการขนส่งทอดสุดท้ายเพื่อให้สินค้าพิพาทได้ขนส่งถึงมือผู้ซื้อ ซึ่งถือได้ว่าเป็นการขนส่งหลายทอดตามวิธีการขนส่งทางทะเล โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้ายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 608 และ 618 ซึ่งเป็นบทกฎหมายใกล้เคียงกับกฎหมายว่าด้วยการรับขนทางทะเล เมื่อสินค้าที่ขนส่งสูญหายระหว่างการขนส่งจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในการสูญหายของสินค้าพิพาทให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับช่วงสิทธิมาจากผู้รับตราส่ง ส่วนจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการขนถ่ายสินค้าจากเรือใหญ่ลงสู่เรือเล็กแล้วนำเข้าเก็บในโกดังนั้น ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ร่วมขนส่งสินค้าพิพาทกับจำเลยที่ 1 เพื่อให้สินค้านั้นถึงมือผู้ซื้อในการขนส่งช่วงสุดท้าย จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์เช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 566/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนองประกันหนี้ซื้อขายขวดแก้ว ไม่ครอบคลุมหนี้ค่าลังไม้ ผู้จำนองไม่ต้องรับผิด
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ซื้อผลิตภัณฑ์ขวดแก้วและยืมลังไม้ใส่ขวดแก้วจากโจทก์หลายคราวติดต่อกันตั้งแต่ พ.ศ. 2515 ถึงพ.ศ. 2522 เมื่อได้มีการคิดบัญชีกันปรากฏว่า จำเลยที่ 1 ยังไม่ได้ส่งลังไม้คืนโจทก์จำนวน 54,788 ลัง เป็นเงิน 687,551 บาท จำเลยที่ 1 เคยชำระค่าลังไม้ให้โจทก์เกินไป 4 บาท จึงเหลือเงินที่จำเลยที่ 1 จะต้องจ่ายเป็นค่าลังไม้แก่โจทก์ 687,547 บาท ดังนี้เป็นคำฟ้องที่เข้าใจชัดแจ้งแล้วไม่เคลือบคลุม ส่วนเรื่องจำนวนลังไม้ที่ว่าต่างราคากันและชนิดของลังไม้ที่จำเลยที่ 1 รับไปเมื่อใดต้องคืนเมื่อใด เหลือเท่าใดนั้นเป็นรายละเอียดที่จะต้องนำสืบในชั้นพิจารณา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 649 เป็นเรื่องความรับผิดเพื่อเสียค่าทดแทนเกี่ยวกับการยืมใช้คงรูป แต่ตามคำฟ้องโจทก์เป็นการฟ้องเรียกคืนลังไม้หรือราคาลังไม้ซึ่งจำเลยที่ 1 ยืมไปพร้อมผลิตภัณฑ์ขวดแก้ว ซึ่งโจทก์ขายให้จำเลยที่ 1 ตามสัญญาซื้อขาย และจำเลยที่ 1 ปฏิบัติกับโจทก์ตลอดมาตั้งแต่มีการซื้อขายกันจึงนำมาตรา 649 มาบังคับหาได้ไม่ ต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 สัญญาจำนองระบุเพียงว่า จำเลยที่ 2 ผู้จำนองตกลงจำนองที่ดินทั้งแปลงแก่ผู้รับจำนองเพื่อเป็นประกันในการซื้อขายผลิตภัณฑ์ขวดแก้วของบริษัท อ. จำเลยที่ 1 แม้ขณะทำสัญญาจำนองจำเลยที่ 1เป็นหนี้โจทก์ทั้งค่าผลิตภัณฑ์ขวดแก้วและค่าลังไม้ แต่เมื่อไม่ได้ระบุในสัญญาจำนองว่าเป็นการประกัน การชำระหนี้ค่าลังไม้ด้วยและเป็นที่เห็นได้ชัดว่าลังไม้ไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ขวดแก้ว จำเลยที่ 2เป็นแต่เพียงผู้ทำสัญญาจำนองประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1เท่านั้นทั้งไม่ได้ความว่าจำเลยที่ 2 มีตำแหน่งหรือเกี่ยวข้องอะไรกับจำเลยที่ 1 กรณีเช่นนี้จึงต้องถือว่าเจตนาของคู่สัญญาจำนองยังเป็นที่สงสัยอยู่ จำต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่จำเลยที่ 2ซึ่งเป็นคู่กรณีฝ่ายจะต้องเสียเปรียบในมูลหนี้นั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 11 ตามสัญญาจำนองที่จำเลยที่ 3 จำนองที่ดินเป็นการประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ในการซื้อผลิตภัณฑ์ขวดแก้วจากโจทก์ในวันเดียวกับวันที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญาจำนองระบุเพียงว่าผู้จำนองตกลงจำนองที่ดินเพื่อเป็นประกันในการสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ขวดแก้วของจำเลยที่ 1 เช่นเดียวกับที่ระบุในสัญญาจำนองที่จำเลยที่ 2 ทำไว้การจำนองที่ดินของจำเลยที่ 3 จึงเป็นการจำนองเพื่อประกันหนี้รายเดียวกันนี้ ซึ่งเป็นหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ เมื่อจำเลยที่ 2 ผู้จำนองหนี้รายนี้ไม่ต้องรับผิด จำเลยที่ 3 ผู้จำนองหนี้ดังกล่าวก็ไม่ต้องรับผิดด้วย แม้จำเลยที่ 3 จะมิได้อุทธรณ์และฎีกา แต่ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยให้มีผลถึงจำเลยที่ 3 ด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1) ประกอบด้วย มาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 374/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจ, สัญญาเช่าซื้อ, อายุความฟ้องเรียกทรัพย์คืน, เบี้ยปรับ, ความเสียหายจากอุบัติเหตุ
สำเนาภาพถ่ายหนังสือมอบอำนาจของโจทก์ให้ผู้อื่นลงชื่อเป็นผู้ให้เช่าซื้อแทน โดยมีเจ้าหน้าที่รับรองถึงความถูกต้องเพราะต้นฉบับได้มีการอ้างส่งไว้ในสำนวนคดีของศาล และจำเลยก็มิได้คัดค้านว่าสำเนาไม่ถูกต้อง กรณีนี้จึงไม่จำต้องใช้ต้นฉบับก็รับฟังได้ และหนังสือดังกล่าวเป็นหนังสือมอบอำนาจทั่วไป ไม่จำต้องระบุว่าจะให้ผู้รับมอบอำนาจทำสัญญากับผู้ใด สัญญาเช่าซื้อรถยนต์ที่ทำขึ้นก็ไม่เป็นโมฆะ สัญญาเช่าซื้อมีข้อตกลงว่าในกรณีที่รถเสียหายทั้งสิ้น หรือถูกทำลายสิ้นเชิงหรือไม่สามารถซ่อมแซมดังเดิมได้ ผู้เช่าซื้อจะต้องชำระค่าเช่าซื้อส่วนที่ค้างทั้งหมดตามสัญญาเช่าซื้อนั้น ข้อกำหนดดังกล่าวใช้บังคับได้ โดยมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ หากพฤติการณ์ปรากฏว่าสูงเกินส่วน ศาลอาจลดลงได้ การฟ้องขอให้คืนทรัพย์ที่เช่าซื้อ หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทนนั้น เป็นการที่เจ้าของกรรมสิทธิ์ใช้สิทธิติดตามเรียกเอาทรัพย์คืนจึงมีอายุความ 10 ปีตาม ป.พ.พ.มาตรา 164 มิใช่มีอายุความ6 เดือนหรือ 2 ปี ตามมาตรา 562,563 หรือ มาตรา 165(6).
of 68