พบผลลัพธ์ทั้งหมด 672 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6145/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ-อายุความ: คดีแรงงาน การกระทำเกินอำนาจ-หนังสือรับสภาพหนี้ ไม่ขาดอายุความ
คดีก่อนจำเลยฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลย มีประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ออกจากงานเพราะโจทก์อายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ จำเลยต้องจ่ายเงินทุนเลี้ยงชีพและค่าชดเชยหรือไม่ ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยกล่าวหาว่าจำเลยผิดสัญญาจ้างแรงงาน มีประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยปฏิบัติหน้าที่ในทางการที่จ้างฝ่าฝืนระเบียบและคำสั่งของโจทก์ และกระทำเกินขอบอำนาจที่ได้รับมอบหมายจากโจทก์ เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายหรือไม่ ดังนี้ประเด็นข้อพิพาทคดีนี้กับคดีก่อนต่างกัน ฟ้องคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน โจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาจ้างแรงงานซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา164 วันที่ 6 กันยายน 2526 จำเลยได้ทำหนังสือรับรองความเสียหายให้แก่โจทก์ เป็นหนังสือรับสภาพหนี้ ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงและเริ่มนับใหม่ตั้งแต่วันที่ 6 กันยายน 2526 ดังนั้น โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2534 ยังไม่เกิน 10 ปี ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5735/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินมัดจำ, สัญญาจะซื้อจะขาย, อายุความ, การผิดนัดชำระหนี้, ดอกเบี้ย
เมื่อข้อเท็จจริงอันเป็นประเด็นอยู่ในเอกสารที่โจทก์และจำเลยอ้างเป็นพยาน และศาลพิจารณาแล้วเห็นว่าพยานเอกสารดังกล่าวเพียงพอแก่การวินิจฉัยคดีได้แล้ว ศาลย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจที่จะมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยได้ เมื่อข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยยังไม่ยุติ เพราะยังจะต้องมีการดำเนินการรังวัดแบ่งแยกโฉนดที่ดินให้เสร็จก่อนแล้วจึงจะทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ฉะนั้นเมื่อโจทก์และจำเลยยังมิได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โจทก์หรือจำเลยย่อมมีสิทธิยกเลิกข้อตกลงเบื้องต้นที่ได้กระทำกันมาแล้วได้ และจะถือเอาข้อตกลงนั้นมีผลเป็นสัญญาจะซื้อจะขายหาได้ไม่ แม้จะมีการชำระเงินมัดจำกันแล้วโจทก์ก็มีสิทธิให้จำเลยคืนเงินมัดจำได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 378(1) การฟ้องเรียกเงินมัดจำคืนไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่นจึงฟ้องได้ภายในกำหนด 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 การฟ้องเรียกเงินมัดจำคืน ซึ่งไม่ใช่เป็นกรณีเลิกสัญญา ตามป.พ.พ. มาตรา 391 การชำระดอกเบี้ยจึงไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับของป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5735/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงซื้อขายที่ดิน, เงินมัดจำ, การยกเลิกสัญญา, อายุความ, ดอกเบี้ยผิดนัด
ข้อเท็จจริงอันเป็นประเด็นอยู่ในเอกสารที่โจทก์และจำเลยอ้างเป็นพยานคือเอกสารในคดีอื่นซึ่งโจทก์จำเลยส่งสำเนาเอกสารดังกล่าวต่อศาลชั้นต้นแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องนำสำนวนคดีดังกล่าวมาผูกติดกับสำนวนคดีนี้ และเมื่อเห็นว่าพยานเอกสารดังกล่าวเพียงพอแก่การวินิจฉัยคดีแล้ว ศาลชั้นต้นมีอำนาจใช้ดุลพินิจสั่งให้งดสืบพยานโจทก์จำเลยได้
เงินมัดจำ 500,000 บาท ที่โจทก์ชำระให้จำเลยซึ่งเป็นราคาที่ดินส่วนหนึ่งอันจะนำไปสู่การทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในศาล โดยมีข้อตกลงกันว่าก่อนทำสัญญาประนีประนอมยอมความต้องดำเนินการรังวัดแบ่งแยกโฉนดที่ดินนั้น เมื่อโจทก์จำเลยยังไม่ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โจทก์หรือจำเลยย่อมมีสิทธิยกเลิกข้อตกลงเบื้องต้นที่กระทำกันมาแล้วเสียได้ และจะถือว่าข้อตกลงนั้นเป็นสัญญาจะซื้อจะขายหาได้ไม่ แม้จะมีการชำระเงินมัดจำกันแล้วก็ตาม โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกเงินมัดจำดังกล่าวคืนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 378 (1) และถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกสัญญา ซึ่งต้องให้คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายกลับคืนสู่ฐานะเดิมตามมาตรา 391 หรือเป็นเรื่องลาภมิควรได้ตามมาตรา 406 การเรียกเงินมัดจำคืนดังกล่าวไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 ส่วนดอกเบี้ยในเงินค่ามัดจำดังกล่าวนั้นเมื่อกรณีไม่ใช่การเลิกสัญญาตามมาตรา 391 จึงไม่ตกอยู่ในบังคับของมาตรา 391 วรรคสอง เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์ทวงถามเมื่อใด จึงถือว่าจำเลยเป็นผู้ผิดนัดตั้งแต่วันฟ้อง ต้องชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224
เงินมัดจำ 500,000 บาท ที่โจทก์ชำระให้จำเลยซึ่งเป็นราคาที่ดินส่วนหนึ่งอันจะนำไปสู่การทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในศาล โดยมีข้อตกลงกันว่าก่อนทำสัญญาประนีประนอมยอมความต้องดำเนินการรังวัดแบ่งแยกโฉนดที่ดินนั้น เมื่อโจทก์จำเลยยังไม่ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โจทก์หรือจำเลยย่อมมีสิทธิยกเลิกข้อตกลงเบื้องต้นที่กระทำกันมาแล้วเสียได้ และจะถือว่าข้อตกลงนั้นเป็นสัญญาจะซื้อจะขายหาได้ไม่ แม้จะมีการชำระเงินมัดจำกันแล้วก็ตาม โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกเงินมัดจำดังกล่าวคืนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 378 (1) และถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกสัญญา ซึ่งต้องให้คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายกลับคืนสู่ฐานะเดิมตามมาตรา 391 หรือเป็นเรื่องลาภมิควรได้ตามมาตรา 406 การเรียกเงินมัดจำคืนดังกล่าวไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 ส่วนดอกเบี้ยในเงินค่ามัดจำดังกล่าวนั้นเมื่อกรณีไม่ใช่การเลิกสัญญาตามมาตรา 391 จึงไม่ตกอยู่ในบังคับของมาตรา 391 วรรคสอง เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์ทวงถามเมื่อใด จึงถือว่าจำเลยเป็นผู้ผิดนัดตั้งแต่วันฟ้อง ต้องชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5735/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกคืนเงินมัดจำจากข้อตกลงซื้อขายที่ยังไม่สมบูรณ์ และอายุความการฟ้องเรียกคืน
ข้อเท็จจริงอันเป็นประเด็นอยู่ในเอกสารที่โจทก์และจำเลยอ้างเป็นพยานคือเอกสารในคดีอื่นซึ่งโจทก์จำเลยส่งสำเนาเอกสารดังกล่าวต่อศาลชั้นต้นแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องนำสำนวนคดีดังกล่าว มา ผูกติดกับสำนวนคดีนี้ และเมื่อเห็นว่าพยานเอกสารดังกล่าวเพียงพอ แก่ การวินิจฉัยคดีแล้ว ศาลชั้นต้นมีอำนาจใช้ดุลพินิจสั่งให้งดสืบ พยานโจทก์จำเลยได้ เงินมัดจำ 500,000 บาท ที่โจทก์ชำระให้จำเลยซึ่งเป็นราคาที่ดินส่วนหนึ่งอันจะนำไปสู่การทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในศาลโดยมีข้อตกลงกันว่าก่อนทำสัญญาประนีประนอมยอมความต้องดำเนินการรังวัดแบ่งแยกโฉนดที่ดินนั้น เมื่อโจทก์จำเลยยังไม่ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โจทก์หรือจำเลยย่อมมีสิทธิยกเลิกข้อตกลงเบื้องต้นที่กระทำกันมาแล้วเสียได้ และจะถือว่าข้อตกลงนั้นเป็นสัญญาจะซื้อจะขายหาได้ไม่ แม้จะมีการชำระเงินมัดจำกันแล้วก็ตาม โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกเงินมัดจำดังกล่าวคืนได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 378(1) และถือไม่ได้ว่า เป็น การ เลิกสัญญา ซึ่ง ต้อง ให้ คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายกลับคืนสู่ฐานะเดิม ตามมาตรา 391 หรือเป็นเรื่องลาภมิควรได้ตามมาตรา 406 การเรียกเงิน มัดจำคืนดังกล่าวไม่มี กฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 ส่วนดอกเบี้ยในเงินค่ามัดจำดังกล่าวนั้นเมื่อกรณีไม่ใช่การเลิกสัญญา ตามมาตรา 391 จึงไม่ตกอยู่ในบังคับของมาตรา 391 วรรคสอง เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์ทวงถามเมื่อใด จึงถือว่าจำเลย เป็นผู้ผิดนัดตั้งแต่วันฟ้อง ต้องชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่ง ต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5576/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าจ้างปิดงานขาดอายุความ ย่อมทำให้สิทธิรับเงินเพิ่มร้อยละสิบห้าหายไปด้วย
โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยฟ้องเรียกเอาค่าจ้างจากจำเลยในระหว่างที่จำเลยปิดงานและโจทก์ไม่ได้ทำงานตามปกติค่าจ้างที่โจทก์ฟ้องเรียกนี้ไม่ใช่เงินเดือนค้างจ่ายที่มีกำหนดจ่ายเป็นระยะเวลาตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 แต่เป็นสินจ้างคนงานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(9) มีอายุความ2 ปี ลูกจ้างที่มีสิทธิได้รับเงินเพิ่มตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 31 วรรคสองนั้น ต้องมีสิทธิได้รับค่าจ้างที่ค้างชำระด้วยจึงจะมีสิทธิได้รับเงินเพิ่มเมื่อค่าจ้างที่โจทก์ฟ้องเรียกจากจำเลยขาดอายุความ สิทธิในการรับเงินเพิ่มย่อมหมดไปด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4622/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องแย้ง, สัญญาจ้างซ่อม, การปฏิบัติผิดสัญญา, การหักลดค่าจ้าง, ดอกเบี้ยผิดนัดชำระ
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 คู่ความ มีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอแก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถ ของตนให้บริบูรณ์ได้ไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อน มีคำพิพากษา ทั้งตามมาตรา 66 ก็ได้ให้อำนาจศาลทำการสอบสวนและ มีอำนาจยกฟ้อง หรือมีคำพิพากษาหรือคำสั่งอย่างอื่นได้ ตามที่เห็นสมควร เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม การที่จำเลย ยื่นคำร้องฉบับลงวันที่ 18 ธันวาคม 2528 ว่าใบแต่งทนายความ ของจำเลยฉบับลงวันที่ 26 พฤศจิกายน 2527 มี ส. มีกรรมการ ของจำเลย ซึ่งมิได้เป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อร่วมกับ ธ.แต่งตั้งให้อ. เป็นทนายความโดย ส. เข้าใจผิดว่าตนมีอำนาจ จำเลยจึงยื่นใบแต่งทนายความใหม่ให้ถูกต้องนั้น คำร้องของจำเลยดังกล่าวเป็นการขอแก้ไขข้อบกพร่องเรื่อง ความสามารถ ดังนั้น คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตตามคำร้อง ดังกล่าวก่อนมีคำพิพากษาจึงเป็นคำสั่งที่ชอบและมีผลย้อนหลัง ไปถึงวันที่สั่งรับคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลย และปัญหาข้อนี้ เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้โจทก์จะมิได้ให้การต่อสู้ไว้ในคำให้การแก้ฟ้องแย้งแต่เมื่อโจทก์ได้หยิบยกขึ้นอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้เมื่อโจทก์ฎีกา ศาลฎีกาก็เห็นสมควรวินิจฉัยให้ จำเลยฟ้องแย้งว่า จำเลยจ้างโจทก์ซ่อมแซมคอมเพรสเซอร์ของเครื่องทำความเย็น โจทก์ไม่สามารถซ่อมให้ใช้การได้และแล้วเสร็จตามสัญญาจำเลยได้บอกกล่าวให้โจทก์ซ่อมให้ใช้การได้ แต่โจทก์เพิกเฉย ถือว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยจึงฟ้องแย้ง เรียกค่าเสียหายจากโจทก์ ย่อมเห็นได้ว่าจำเลยฟ้องแย้ง เรียกค่าเสียหายจากโจทก์เพราะโจทก์ปฏิบัติผิดสัญญา หาใช่ฟ้องแย้งให้โจทก์รับผิดเพื่อการชำรุดบกพร่อง ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 600 ซึ่งมีอายุความ1 ปี ไม่ ดังนั้นฟ้องแย้งของจำเลยจึงมีอายุความ 10 ปีตามมาตรา 164 ฟ้องแย้งของจำเลยย่อมไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4622/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขความสามารถของจำเลย และอายุความฟ้องแย้งจากการผิดสัญญา
ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 56 คู่ความมีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอแก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถของตนให้บริบูรณ์ได้ไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อนมีคำพิพากษา ทั้งตามมาตรา 66 ก็ได้ให้อำนาจศาลทำการสอบสวนและมีอำนาจยกฟ้อง หรือมีคำพิพากษาหรือคำสั่งอย่างอื่นได้ตามที่เห็นสมควร เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม การที่จำเลยยื่นคำร้องฉบับลงวันที่ 18 ธันวาคม 2528 ว่าใบแต่งทนายความของจำเลยฉบับลงวันที่ 26 พฤศจิกายน 2527 มี ส.กรรมการของจำเลย ซึ่งมิได้เป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อร่วมกับ ธ.แต่งตั้งให้ อ.เป็นทนายความโดย ส.เข้าใจผิดว่าตนมีอำนาจ จำเลยจึงยื่นใบแต่งทนายความใหม่ให้ถูกต้องนั้น คำร้องของจำเลยดังกล่าวเป็นการขอแก้ไขข้อบกพร่องเรื่องความสามารถดังนั้น คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตตามคำร้องดังกล่าวก่อนมีคำพิพากษาจึงเป็นคำสั่งที่ชอบและมีผลย้อนหลังไปถึงวันที่สั่งรับคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลย และปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์จะมิได้ให้การต่อสู้ไว้ในคำให้การแก้ฟ้องแย้ง แต่เมื่อโจทก์ได้หยิบยกขึ้นอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ก็วินิจฉัยให้ เมื่อโจทก์ฎีกา ศาลฎีกาก็เห็นสมควรวินิจฉัยให้
จำเลยฟ้องแย้งว่า จำเลยจ้างโจทก์ซ่อมแซมคอมเพรสเซอร์ของเครื่องทำความเย็น โจทก์ไม่สามารถซ่อมให้ใช้การได้และแล้วเสร็จตามสัญญาจำเลยได้บอกกล่าวให้โจทก์ซ่อมให้ใช้การได้ แต่โจทก์เพิกเฉย ถือว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยจึงฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ ย่อมเห็นได้ว่าจำเลยฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากโจทก์เพราะโจทก์ปฏิบัติผิดสัญญา หาใช่ฟ้องแย้งให้โจทก์รับผิดเพื่อการชำรุดบกร่อง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 600 ซึ่งมีอายุความ 1 ปีไม่ ดังนั้นฟ้องแย้งของจำเลยจึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164 ฟ้องแย้งของจำเลยย่อมไม่ขาดอายุความ
จำเลยฟ้องแย้งว่า จำเลยจ้างโจทก์ซ่อมแซมคอมเพรสเซอร์ของเครื่องทำความเย็น โจทก์ไม่สามารถซ่อมให้ใช้การได้และแล้วเสร็จตามสัญญาจำเลยได้บอกกล่าวให้โจทก์ซ่อมให้ใช้การได้ แต่โจทก์เพิกเฉย ถือว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยจึงฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ ย่อมเห็นได้ว่าจำเลยฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากโจทก์เพราะโจทก์ปฏิบัติผิดสัญญา หาใช่ฟ้องแย้งให้โจทก์รับผิดเพื่อการชำรุดบกร่อง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 600 ซึ่งมีอายุความ 1 ปีไม่ ดังนั้นฟ้องแย้งของจำเลยจึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164 ฟ้องแย้งของจำเลยย่อมไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4045/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กลฉ้อฉลในการซื้อขายรถยนต์, ค่าสินไหมทดแทน, และขอบเขตความรับผิดของตัวแทน
จำเลยโฆษณาโอ้อวดคุณสมบัติของรถยนต์ที่ขายให้โจทก์ ว่าเป็นรถยนต์รุ่นใหม่ เพิ่งพ่นสีใหม่เป็นสีเดิม ความจริงเป็น รถยนต์รุ่นเก่า และเคยเปลี่ยนสีมาหลายครั้งกับกล่าวอ้างคุณสมบัติ ของรถยนต์ซึ่งไม่เป็นความจริงอีกหลายประการ โจทก์ตกลงซื้อรถยนต์โดยเชื่อคำโฆษณาโอ้อวดของจำเลย การซื้อขายรถยนต์จึงเกิดจากกลฉ้อฉลให้สำคัญผิดในคุณสมบัติของทรัพย์ที่ซื้อขายกัน แต่รถยนต์ ยัง คงเป็นยี่ห้อเดียวกับที่โจทก์ต้องการซื้อ กลฉ้อฉลของจำเลยจึง มิได้ ถึงขนาดซึ่งถ้ามิได้มีกลฉ้อฉลเช่นนั้นโจทก์จะไม่ซื้อรถยนต์ จาก จำเลยโจทก์ยอมรับข้อกำหนดอันหนักขึ้นเท่านั้น โจทก์ย่อมมี สิทธิ เรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยได้ แม้กรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยที่ 1 จะเป็นบิดาจำเลยที่ 2และการซื้อขายรถยนต์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 จะทำกันที่บริษัทจำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 1 ยังมิได้ประกอบกิจการ บริษัทที่จำเลย ที่ 2ทำงานอยู่ก็ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 1 ในใบสั่งซื้อ รถยนต์ ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ทำขึ้น คงมีแต่ลายมือชื่อ ของ จำเลย ที่ 2ลงชื่อในฐานะผู้จัดการหรือผู้ขายเท่านั้น พฤติการณ์ ดังกล่าว ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 หรือ จำเลยที่ 1 เข้าร่วมเป็นคู่สัญญาในการซื้อขายรถยนต์กับโจทก์ กฎหมายมิได้บัญญัติเรื่องอายุความเรียกค่าสินไหมทดแทน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 123 ไว้ จึงต้องถือหลัก ทั่วไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 ซึ่งมีกำหนด 10 ปี.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4004/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างผิดนัด: ค่าเสียหายคือส่วนต่างราคาจ้างใหม่, ไม่หักมูลค่างานค้าง
สัญญาจ้างมีข้อความว่า ถ้าโจทก์ผู้รับจ้างไม่มีทางจะทำงานให้แล้วเสร็จตามสัญญาจำเลยที่ 1 ผู้ว่าจ้างมีสิทธิเลิกสัญญาได้ และหากเกิดความเสียหายใด ๆ จำเลยที่ 1 มีสิทธิเรียกร้องให้โจทก์ชดใช้ได้ตามกฎหมาย เมื่อโจทก์ผิดสัญญาไม่ทำงานงวดที่ 1 และงวดที่ 2 ให้แล้วเสร็จ เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ต้องประมูลว่าจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัด จ.ทำงานต่อจากที่โจทก์ทำค้างไว้ในราคา1,800,000 บาท แพงกว่าราคาเดิมที่จำเลยที่ 1 ตกลงกับโจทก์ เงินจำนวน 375,000 บาทที่จำเลยที่ 1 ต้องจ่ายเพิ่มขึ้น จึงเป็นค่าเสียหายจำนวนน้อยที่สุดที่จำเลยที่ 1 ได้รับโดยตรงจากการปฏิบัติผิดสัญญาของโจทก์ โจทก์ต้องรับผิดชดใช้ให้แก่จำเลยที่ 1 ตามข้อสัญญาดังกล่าว และเงินจำนวน1,800,000 บาท ซึ่งเป็นค่าจ้างที่จำเลยที่ 1 จ่ายไปเพื่อทำงานต่อจากที่โจทก์ทำค้างไว้ให้เสร็จตามสัญญาเช่นนี้ ย่อมไม่อาจนำค่าของงานที่โจทก์ทำค้างไว้มาหักจากค่าเสียหายหรือค่าจ้างที่จำเลยที่ 1ต้องจ่ายเพิ่มขึ้นได้
จำเลยที่ 1 ใช้สิทธิเรียกร้องให้โจทก์ชำระค่าเสียหายอันเกิดจากการที่โจทก์ผิดสัญญาไม่ทำงานให้แล้วเสร็จ อายุความใช้สิทธิเรียกร้องเช่นนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นจึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 จะนำอายุความเรียกร้องค่าเสียหายเกี่ยวกับการชำรุดบกพร่องของการที่ทำ ตามมาตรา 601 มาปรับไม่ได้
จำเลยที่ 1 ใช้สิทธิเรียกร้องให้โจทก์ชำระค่าเสียหายอันเกิดจากการที่โจทก์ผิดสัญญาไม่ทำงานให้แล้วเสร็จ อายุความใช้สิทธิเรียกร้องเช่นนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นจึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 จะนำอายุความเรียกร้องค่าเสียหายเกี่ยวกับการชำรุดบกพร่องของการที่ทำ ตามมาตรา 601 มาปรับไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4004/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างเหมาทำงานไม่แล้วเสร็จ ผู้รับจ้างต้องชดใช้ค่าเสียหายส่วนต่างราคาประมูลใหม่
สัญญาจ้างมีข้อความว่า ถ้าโจทก์ผู้รับจ้างไม่มีทางจะทำงานให้แล้วเสร็จตามสัญญา จำเลยที่ 1 ผู้ว่าจ้างมีสิทธิเลิกสัญญาได้และหากเกิดความเสียหายใด ๆ จำเลยที่ 1 มีสิทธิเรียกร้องให้โจทก์ชดใช้ได้ตามกฎหมาย เมื่อโจทก์ผิดสัญญาไม่ทำงานงวดที่ 1 และงวดที่ 2 ให้แล้วเสร็จ เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ต้องประมูลว่าจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัด จ. ทำงานต่อจากที่โจทก์ทำค้างไว้ในราคา1,800,000 บาท แพงกว่าราคาเดิมที่จำเลยที่ 1 ตกลงกับโจทก์ เงินจำนวน 375,000 บาท ที่จำเลยที่ 1 ต้องจ่ายเพิ่มขึ้น จึงเป็นค่าเสียหายจำนวนน้อยที่สุดที่จำเลยที่ 1 ได้รับโดยตรงจากการปฏิบัติผิดสัญญาของโจทก์ โจทก์ต้องรับผิดชดใช้ให้แก่จำเลยที่ 1ตามข้อสัญญาดังกล่าว และเงินจำนวน 1,800,000 บาท ซึ่งเป็นค่าจ้างที่จำเลยที่ 1 จ่ายไปเพื่อทำงานต่อจากที่โจทก์ทำค้างไว้ให้เสร็จตามสัญญาเช่นนี้ ย่อมไม่อาจนำค่าของงานที่โจทก์ทำค้างไว้มาหักจากค่าเสียหายหรือค่าจ้างที่จำเลยที่ 1 ต้องจ่ายเพิ่มขึ้นได้ จำเลยที่ 1 ใช้สิทธิเรียกร้องให้โจทก์ชำระค่าเสียหายอันเกิดจากการที่โจทก์ผิดสัญญาไม่ทำงานให้แล้วเสร็จ อายุความใช้สิทธิเรียกร้องเช่นนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นจึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164จะนำอายุความเรียกร้องค่าเสียหายเกี่ยวกับการชำรุดบกพร่องของการที่ทำ ตามมาตรา 601 มาปรับไม่ได้