คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 164

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 672 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4004/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผิดสัญญาจ้างเหมา: ค่าเสียหายคือส่วนต่างราคาประมูลใหม่, อายุความ 10 ปี
สัญญาจ้างข้อ 2 ระบุว่า ถ้าโจทก์ผู้รับจ้างไม่มีทางทำงาน ให้แล้วเสร็จตามสัญญา จำเลยที่ 1 ผู้ว่าจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ และหากเกิดความเสียหายใด ๆ จำเลยที่ 1 มีสิทธิเรียกร้องให้โจทก์ ชดใช้ได้ตามกฎหมาย เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา เป็นเหตุให้จำเลย ที่ 1ต้องประมูลว่าจ้างห้าง ห. ทำงานต่อจากที่โจทก์ทำค้างไว้ในราคาแพงกว่าราคาที่จำเลยที่ 1 ตกลงกับโจทก์ เงินที่จำเลยที่ 1ต้องจ่ายเพิ่มขึ้นจึงเป็นค่าเสียหายจำนวนน้อยที่สุดที่จำเลยที่ 1ได้รับโดยตรงจากการผิดสัญญาของโจทก์ โจทก์จึงต้องรับผิดชดใช้เงินจำนวนดังกล่าวแก่จำเลยที่ 1 ตามข้อกำหนดสัญญาจ้าง โดย จะนำค่าของงานที่โจทก์ทำค้างไว้มาหักจากค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1ต้องจ่ายเพิ่มขึ้นหาได้ไม่ จำเลยที่ 1 ใช้สิทธิเรียกร้องให้โจทก์ชำระค่าเสียหายอันเกิดจากการที่โจทก์ผิดสัญญาไม่ทำงานให้แล้วเสร็จ อายุความใช้สิทธิเรียกร้องเช่นนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 จะนำเอาอายุความเรียกร้องค่าเสียหายเกี่ยวกับความชำรุดบกพร่องของการงานที่ทำตาม ป.พ.พ. มาตรา 601มาปรับกับกรณีตามฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 ไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3895/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องไล่เบี้ยผู้ค้ำประกัน - สิทธิไล่เบี้ยตาม ป.พ.พ. มาตรา 693 ใช้ อายุความ 10 ปี
โจทก์ทำสัญญาค้ำประกันการชำระเงินกู้ของจำเลยกับธนาคารไว้ต่อมาจำเลยผิดนัดชำระหนี้ ธนาคารจึงหักบัญชีเงินฝากของโจทก์โจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกันได้ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้แทนจำเลยผู้เป็นลูกหนี้ไปแล้ว ย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากจำเลยเพื่อต้นเงินและดอกเบี้ยได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 693 กรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3658/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเดินสะพัดเริ่มนับแต่วันสิ้นสุดสัญญา หากเลย 10 ปี ฟ้องไม่ได้
หลังจากวันที่ 25 มิถุนายน 2526 ซึ่งเป็นวันครบกำหนดอายุ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีที่ต่อออกไปแล้ว ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้นำเงิน เข้าบัญชีและโจทก์ได้ยอมให้จำเลยเบิกเงินเกินบัญชีได้อีก ตาม บัญชีกระแสรายวันคงมีแต่การคำนวณดอกเบี้ยรายเดือนต่อมา แสดงว่ามิได้มีการเดินสะพัดและหักทอนบัญชีกันอีกเลย ถือได้ว่าโจทก์และจำเลยไม่ประสงค์จะต่ออายุสัญญาอีกต่อไป สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงสิ้นสุดลง นับแต่วันที่ตกลงกำหนดไว้ในสัญญาตามที่โจทก์กับจำเลยได้แสดงเจตนากันไว้เช่นนั้นในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและคำขอต่ออายุสัญญา หาจำต้องบอกเลิกสัญญาหรือบอกกล่าวทวงถามให้ชำระหนี้เสียก่อนไม่เพราะได้กำหนดไว้แน่นอนแล้ว อายุความคดีนี้จึงเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 26 มิถุนายน 2516 อันเป็นวันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิ เรียกร้องเป็นต้นไป เมื่อโจทก์ฟ้องคดีในวันที่ 21 เมษายน 2529 ซึ่ง เกินกว่า 10 ปีนับแต่วันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ดังกล่าว คดีโจทก์จึงขาดอายุความ เมื่อหนี้ต้นเงินตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีอันเป็น หนี้ ประธาน ขาดอายุความเสียแล้ว ดอกเบี้ยอันเป็นหนี้อุปกรณ์ย่อม ขาดอายุความ ไป ด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3658/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความบัญชีเดินสะพัด: เริ่มนับเมื่อสัญญาสิ้นสุด ไม่ใช่เมื่อทวงถาม
จำเลยที่ 1 เป็นลูกค้าธนาคารโจทก์ โดยเปิดบัญชีกระแสรายวันและทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ 2 ฉบับ ครบกำหนดชำระเงินคืนในวันที่ 25 มิถุนายน 2511 และวันที่ 25 มิถุนายน 2513 หลังจากนั้นจำเลยได้ขอต่ออายุสัญญาทั้งสองฉบับไปอีกโดยมีกำหนดชำระหนี้พร้อมกันในวันที่ 25 มิถุนายน 2516 จำเลยที่ 1 เบิกเงินเกินบัญชีและนำเงินเข้าหักทอนบัญชีภายในเวลาอายุสัญญาเท่านั้น ครั้งสุดท้ายจำเลยที่ 1 เบิกเงินเกินบัญชีไปจากโจทก์เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2516ก่อนวันที่สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจะสิ้นสุดลง หลังจากนั้นไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้นำเงินเข้าบัญชีและโจทก์ได้ยอมให้จำเลยที่ 1เบิกเงินเกินบัญชีได้อีก คงมีแต่การคำนวณดอกเบี้ยเข้าบัญชีเป็นรายเดือน แสดงว่ามิได้มีการเดินสะพัดและหักทอนบัญชีกันอีกเลยดังนี้ ถือได้ว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ไม่ประสงค์จะต่ออายุสัญญาอีกต่อไป สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงสิ้นสุดลงนับแต่วันที่ตกลงกำหนดไว้ในสัญญาตามที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้แสดงเจตนากันไว้ หาจำต้องบอกเลิกสัญญาหรือบอกกล่าวทวงถามให้ชำระหนี้เสียก่อนไม่ อายุความในการฟ้องเรียกเงินตามบัญชีเดินสะพัดจึงเริ่มนับแต่วันที่ 26มิถุนายน 2516 อันเป็นวันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป โจทก์ฟ้องคดีนี้ในวันที่ 21 เมษายน 2529 ซึ่งเกินกว่า10 ปี คดีโจทก์จึงขาดอายุความ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3600/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสัญญากู้ยืมเงิน/ขายลดเช็ค และการใช้สิทธิเรียกร้องหนี้ที่ไม่สุจริต
โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดโดยอาศัยมูลของสัญญากู้เงินและสัญญาขายลดเช็ค มิใช่ฟ้องเรียกเงินตามเช็คโดยตรง เมื่อกฎหมายมิได้กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามป.พ.พ. มาตรา 164 แม้หลังจากธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินเมื่อวันที่19 ตุลาคม 2525 แล้ว โจทก์ไม่ได้ติดตามทวงถามเงินตามเช็คเอาจากผู้สั่งจ่าย และเพิ่งแจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม2527 ก็หาเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่เพราะจำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้มีหนี้ต้องชำระหนี้ให้ถูกต้องตามประสงค์แห่งมูลหนี้แต่กลับละเลยไม่สนใจชำระหนี้แก่โจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิได้ดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 เรื่อยไปตามกฎหมาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3600/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสัญญากู้เงิน/ขายลดเช็ค: ฟ้องภายใน 10 ปีได้ แม้เช็คขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองโดยอาศัยมูลของสัญญากู้เงินและสัญญาขายลดเช็ค มิใช่ฟ้องเรียกเงินตามเช็คโดยตรง สัญญากู้เงิน และขายลดเช็ค กฎหมายมิได้กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 แม้ เช็คตามฟ้องซึ่งจำเลยที่ 1 นำมาขายลดนั้นขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1002 ไปแล้ว โจทก์ก็ยังฟ้องให้บังคับจำเลยทั้งสองได้ภายในอายุความ 10 ปี จำเลยเป็นลูกหนี้โจทก์ มีหน้าที่ต้องชำระหนี้แก่โจทก์ให้ถูกต้องตามความประสงค์แห่งมูลหนี้ แต่กลับละเลยไม่สนใจชำระหนี้แก่โจทก์ โจทก์จึงย่อมมีสิทธิได้ดอกเบี้ยจากจำเลยเรื่อยไปตามกฎหมาย จะถือว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3302/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องละเมิด/สัญญาจ้างแรงงาน: นับแต่วันเกิดเหตุ/จ่ายค่าเสียหาย/รับสภาพหนี้ และผลกระทบต่อการฟ้องเรียกค่าเสียหาย
ฟ้องโจทก์บรรยายว่า จำเลยได้ขับรถยนต์โดยสารของโจทก์ไปในทางการที่จ้าง โดยขับรถด้วยความประมาททำให้ทรัพย์สินของโจทก์เสียหาย ขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหาย การบรรยายฟ้องดังกล่าวโจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงาน อายุความฟ้องร้องจึงมีกำหนด 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164 ค่าซ่อมรถยนต์โดยสารคันที่จำเลยขับ และค่าซ่อมกำแพงอู่รถของโจทก์ซึ่งเกิดจากการขับรถโดยประมาทของจำเลย ถือได้ว่าเป็นค่าเสียหายเนื่องจากการที่จำเลยก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์โดยตรง โจทก์อาจเรียกร้องให้จำเลยชดใช้ได้นับแต่วันเกิดเหตุซึ่งเป็นวันที่ก่อให้เกิดความเสียหายอันเป็นขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ อายุความจึงนับเริ่มตั้งแต่นั้น มิใช่นับเริ่มแต่วันที่โจทก์ใช้ค่าซ่อมรถยนต์โดยสารและกำแพงอู่รถของโจทก์ที่เสียหายให้บริษัทผู้รับจ้างซ่อม ค่าซ่อมเสาไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวงและค่าซ่อมรถของบุคคลภายนอก ซึ่งจำเลยกระทำละเมิดต่อบุคคลภายนอกสองรายและโจทก์ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่บุคคลภายนอกสองรายไม่พร้อมกัน อายุความฟ้องร้องซึ่งมีกำหนด 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 ย่อมเริ่มต้นนับไม่พร้อมกัน โดยนับแต่วันที่โจทก์ได้ใช้เงินแก่บุคคลภายนอกไปอันเป็นขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ ภายในกำหนดอายุความ จำเลยได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ไว้แก่โจทก์อายุความย่อมสะดุดหยุดลงในวันทำหนังสือรับสภาพหนี้แล้วเริ่มต้นนับใหม่ตั้งแต่วันนั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2744/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทการซื้อขายหุ้นและการทดรองเงิน กรณีตัวแทนเรียกเงินคืน อายุความ 10 ปี
การที่ผู้ร้องสั่งซื้อหุ้นกับจำเลยโดยผู้ร้องออกตั๋วสัญญาใช้เงินนำไปวางเป็นหลักประกัน ผู้ร้องมีสิทธิสั่งซื้อหุ้นได้เป็นเงินไม่เกิน 3 เท่า ของจำนวนเงินที่วางประกัน เมื่อซื้อหุ้นได้แล้วจำเลยจะออกเงินทดรองค่าซื้อหุ้นให้ผู้ร้องก่อน โดยทำเป็นหนังสือว่าผู้ร้องได้กู้เงินของจำเลยไป ต่อมาถ้ามีการขายหุ้นดังกล่าวก็จะหักทอนบัญชีกัน ถ้าได้กำไรก็จะนำเข้าบัญชีให้ผู้ร้องแต่ถ้าขาดทุนจะเรียกให้ผู้ร้องชำระการเรียกเงินดังกล่าวเป็นเรื่องตัวแทนเรียกร้องเอาเงินที่ได้ทดรองจ่ายไปในกิจการอันตัวการมอบหมายแก่ตนจากตัวการซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่น ต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164 ไม่ใช่กรณีที่จำเลยเป็นผู้ค้าในการรับทำการงานต่าง ๆเรียกเอาค่าที่ได้ออกเงินทดรองไปจากผู้ร้องตามมาตรา 165(7).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2744/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสิทธิเรียกร้องค่าหุ้นขาดทุน: สัญญาซื้อขายหุ้นและการทดรองเงิน
ผู้ร้องได้ตกลงสั่งซื้อหุ้นกับบริษัทลูกหนี้โดยวิธีผู้ร้องออกตั๋วสัญญาใช้เงินนำไปวางเป็นประกัน ผู้ร้องมีสิทธิสั่งซื้อหุ้นได้เป็นเงินไม่เกิน 3 เท่าของจำนวนเงินที่วางประกัน เมื่อซื้อหุ้นได้แล้วบริษัทลูกหนี้จะออกเงินทดรองค่าซื้อหุ้นให้ผู้ร้องก่อนโดยทำเป็นหนังสือว่าผู้ร้องได้กู้เงินของบริษัทลูกหนี้ไป ต่อมาถ้ามีการขายหุ้นดังกล่าว ก็จะมีการหักทอนบัญชีกัน ถ้า ได้กำไรก็จะนำเข้าบัญชีให้ผู้ร้องแต่ถ้า ขาดทุนจะเรียกให้ผู้ร้องชำระ กรณีจึงเป็นเรื่องตัวแทนเรียกร้องเอาเงินที่ได้ทดรองจ่ายไปในกิจการอันตัวการมอบหมายแก่ตนจากตัวการ ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่น ต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164ไม่ใช่กรณีที่บริษัทลูกหนี้เป็นผู้ค้าในการรับทำการงานต่าง ๆเรียกเอาค่าที่ได้ออกเงินทดรองไปจากผู้ร้อง ตามมาตรา 165(7).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2341/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาซื้อขาย, การบอกเลิกสัญญา, ค่าปรับ, ความรับผิดของหุ้นส่วน, อายุความฟ้องคดี
จำเลยส่งของให้โจทก์ไม่ถูกต้องตามสัญญา โจทก์จึงใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและริบหลักประกันอันเป็นการใช้สิทธิตามข้อสัญญา โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะเรียกค่าปรับรายวันจากจำเลยได้อีก สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยข้อหนึ่งกำหนดว่า ถ้าผู้ซื้อจัดซื้อสิ่งของภายในกำหนด 3 เดือน นับแต่วันบอกเลิกสัญญา ผู้ขายต้องยอมรับผิดชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นจากราคาที่กำหนดไว้ในสัญญา เมื่อจำเลยผิดสัญญาโจทก์ผู้ซื้อได้บอกเลิกสัญญา ประกาศประกวดราคาใหม่ และประกาศผลการประกวดราคาภายในกำหนด 3 เดือนแล้ว แม้สัญญาซื้อขายจะกระทำกันเมื่อเกินกำหนด 3 เดือน ก็เป็นผลสืบเนื่องมาจากการจัดซื้อภายในกำหนด 3 เดือน โจทก์จึงมีสิทธิเรียกราคาเพิ่มขึ้นจากจำเลยได้ โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายเนื่องจากจำเลยผิดสัญญาไม่ส่งมอบของให้โจทก์ถูกต้องและเรียกเบี้ยปรับตามสัญญา เป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 มีอายุความ 10 ปี การที่จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดของห้างจำเลยที่ 1 สอดเข้าไปจัดการงานของห้างจำเลยที่ 1 โดยกระทำตนเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ทำให้บุคคลภายนอกเข้าใจว่าจำเลยที่ 4 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการและเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดของห้างจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 4 จึงต้องร่วมรับผิดในบรรดาหนี้สินของห้างจำเลยที่ 1 โดยไม่จำกัดจำนวน จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดของห้างจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ของห้างจำเลยที่ 1 โดยไม่จำกัดจำนวน.
of 68