คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 164

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 672 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 483/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสัญญาเช่าซื้อ, เจ้าของสัญญา, และดุลพินิจค่าฤชาธรรมเนียม
โจทก์เช่าซื้อรถยนต์พิพาทมาจาก ท. แล้วจำเลยที่ 1 เช่าซื้อรถยนต์พิพาทจากโจทก์โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน แม้ขณะทำสัญญาเช่าซื้อโจทก์ยังไม่ได้เป็นเจ้าของรถยนต์พิพาทที่ให้เช่าซื้อแต่ ท. ยอมให้โจทก์นำรถยนต์พิพาทออกให้ผู้อื่นเช่าซื้อได้และโจทก์สามารถโอนกรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 ได้หากจำเลยที่ 1 ชำระเงินค่าเช่าซื้อครบตามสัญญา จำเลยที่ 1ต้องผูกพันตามสัญญาเช่าซื้อ จะอ้างว่าขณะทำสัญญาโจทก์ไม่ใช่เจ้าของทรัพย์ที่ให้เช่าซื้อ จึงไม่มีอำนาจฟ้องหาได้ไม่ จำเลยทั้งสองมิได้กล่าวไว้ในอุทธรณ์ว่าคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ถูกต้องอย่างไรบ้าง จึงเป็นการอุทธรณ์ที่มิได้กล่าวไว้ชัดแจ้งในอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคแรก ศาลอุทธรณ์มีอำนาจไม่รับวินิจฉัยได้ จึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามฎีกา ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถยนต์พิพาทกับค่าใช้จ่ายในการติดตามรถยนต์พิพาทไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้เป็นอย่างอื่นจึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 การที่จะพิจารณาให้คู่ความใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งนั้น เป็นเรื่องการใช้ดุลพินิจ ของศาลโดยคำนึงถึงเหตุผลและความสุจริตในการดำเนินคดีของคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 161.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 326/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องบังคับจำนองไม่เคลือบคลุม, อำนาจผู้ชำระบัญชี, ดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้
คำฟ้องที่บรรยายว่าจำเลยจำนองที่ดินไว้กับโจทก์เพื่อประกันส.และว. ซึ่งเป็นลูกหนี้โจทก์ กำหนดไถ่ถอนภายใน 18 เดือนพ้นกำหนดแล้วจำเลยไม่ชำระหนี้ ขอให้บังคับจำเลยชำระเงินต้นและดอกเบี้ย เป็นคำฟ้องที่ชัดแจ้งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสองแล้ว ส่วนหนี้ของส.และว.เป็นหนี้อะไร เป็นรายละเอียดที่นำสืบได้ในชั้นพิจารณา ไม่ต้องบรรยายมาในฟ้องโจทก์ฟ้องบังคับตามสัญญาจำนอง มิได้ฟ้องบังคับตามสัญญาเช่าซื้อ จำเลยก็รับว่าเป็นหนี้เกิดจากสัญญาเช่าซื้อ โจทก์จึงไม่ต้องแนบสัญญาเช่าซื้อมาท้ายฟ้องฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม ป.พ.พ. ไม่มีบทบัญญัติว่า ผู้ชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนจะต้องชำระบัญชีให้เสร็จภายในกำหนดเวลาใด ดังนั้น ตราบใดที่การชำระบัญชียังไม่เสร็จ ผู้ชำระบัญชีย่อมมีอำนาจตาม ป.พ.พ. มาตรา 1259ซึ่งรวมทั้งอำนาจว่าต่างในนามห้าง ๆ นั้นในอรรถคดีด้วย ระยะเวลาการชำระบัญชีไม่ใช่อายุความ จะนำบทบัญญัติเรื่องอายุความมาใช้บังคับไม่ได้ สัญญาจำนองระบุไม่คิดดอกเบี้ย แก่กัน แต่เมื่อหนี้ถึงกำหนดและโจทก์มีหนังสือทวงถามและให้ไถ่ถอนจำนองแล้ว จำเลยไม่ชำระจำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันผิดนัดตาม ป.พ.พ. มาตรา224 วรรคหนึ่ง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 326/2534 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนอง, เช่าซื้อ, ผู้ชำระบัญชี, อายุความ, ดอกเบี้ยผิดนัด: หลักเกณฑ์และขอบเขต
คำฟ้องที่บรรยายว่าจำเลยจำนองที่ดินไว้กับโจทก์เพื่อประกัน ส. และ ว. ซึ่งเป็นลูกหนี้โจทก์ กำหนดไถ่ถอนภายใน 18 เดือน พ้นกำหนดแล้วจำเลยไม่ชำระหนี้ ขอให้บังคับจำเลยชำระเงินต้นและดอกเบี้ย เป็นคำฟ้องที่ชัดแจ้งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว ส่วนหนี้ของ ส. และ ว.เป็นหนี้อะไร เป็นรายละเอียดที่นำสืบได้ในชั้นพิจารณา ไม่ต้องบรรยายมาในฟ้องโจทก์ฟ้องบังคับตามสัญญาจำนอง มิได้ฟ้องบังคับตามสัญญาเช่าซื้อ จำเลยก็รับว่าเป็นหนี้เกิดจากสัญญาเช่าซื้อ โจทก์จึงไม่ต้องแนบสัญญาเช่าซื้อมาท้ายฟ้อง ฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม
ป.พ.พ. ไม่มีบทบัญญัติว่า ผู้ชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนจะต้องชำระบัญชีให้เสร็จภายในกำหนดเวลาใด ดังนั้น ตราบใดที่การชำระบัญชียังไม่เสร็จ ผู้ชำระบัญชีย่อมมีอำนาจตามป.พ.พ. มาตรา 1259 ซึ่งรวมทั้งอำนาจว่าต่างในนามห้าง ฯ นั้นในอรรถคดีด้วย
ระยะเวลาการชำระบัญชีไม่ใช่อายุความ จะนำบทบัญญัติเรื่องอายุความมาใช้บังคับไม่ได้
สัญญาจำนองระบุไม่คิดดอกเบี้ยแก่กัน แต่เมื่อหนี้ถึงกำหนดและโจทก์มีหนังสือทวงถามและให้ไถ่ถอนจำนองแล้ว จำเลยไม่ชำระ จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันผิดนัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 322/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือรับสภาพหนี้, อายุความ, และการฟ้องเรียกหนี้ที่มีประกันจำนอง: ประเด็นห้ามมิให้ฎีกา และผลต่อการคิดดอกเบี้ย
จำเลยมิได้ยกข้อต่อสู้ว่าหนังสือรับสภาพหนี้ท้ายฟ้องเป็นโมฆะ จำเลยให้การเพียงว่าโจทก์จะคิดดอกเบี้ยเกินกว่า 5 ปีไม่ได้ดอกเบี้ยส่วนที่เกินเป็นโมฆะ คดีจึงไม่มีประเด็นว่าหนังสือรับสภาพหนี้เป็นโมฆะหรือไม่ จำเลยจะฎีกาว่าหนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าวเป็นโมฆะไม่ได้ เพราะเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้น ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้องเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาก่อนศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี เมื่อจำเลยมิได้โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวไว้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 226(2) อายุความฟ้องเรียกเงินกู้คืนไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะจึงต้องถืออายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164 จำเลยได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ไว้ต่อโจทก์ภายในอายุความ จึงมีผลทำให้อายุความเรียกเงินกู้สะดุดหยุดลงต้องเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่เวลาเมื่อเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงสิ้นสุดไป คือวันสิ้นกำหนดเวลาที่จำเลยสัญญาว่าจะนำเงินมาชำระหนี้เงินกู้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ เมื่อโจทก์ฟ้องเรียกเงินกู้ภายในกำหนดอายุความ กรณีจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 189ที่ห้ามโจทก์เรียกดอกเบี้ยค้างชำระเกินกว่า 5 ปี เพราะกรณีตามบทบัญญัติแห่งมาตรา 189 ต้องเป็นเรื่องสิทธิเรียกร้องของโจทก์ตามมูลหนี้เดิมคือหนี้เงินกู้ขาดอายุความแล้ว เป็นเหตุให้โจทก์ไม่อาจใช้สิทธิฟ้องเรียกให้จำเลยชำระหนี้เงินกู้ตามสัญญากู้แต่โจทก์ยังมีสิทธิฟ้องบังคับเอาจากทรัพย์สินที่รับจำนองไว้ได้และในกรณีเช่นนี้บทกฎหมายห้ามมิให้โจทก์เรียกดอกเบี้ยค้างชำระเกินกว่า 5 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 136/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความภาษีอากร, อำนาจฟ้องภาษีการค้าและบำรุงเทศบาล, การประเมินภาษีอากรเกิน
เมื่อโจทก์สำแดงราคาสินค้านำเข้าเพื่อเสียภาษีอากรและกรมศุลกากรเรียกให้โจทก์เสียภาษีอากรเพิ่มซึ่งมีทั้งอากรขาเข้าภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาล ถือได้ว่ามีการประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลตามประมวลรัษฎากรแล้ว แม้การเรียกเก็บภาษีอากรทั้งสามประเภทจะต่อเนื่องเชื่อมโยงกัน หากโจทก์เห็นว่าการประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลไม่ถูกต้องอย่างไร ชอบที่จะอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายใน 30 วัน ตามประมวลรัษฎากร มาตรา30 เสียก่อน ไม่มีกฎหมายใดสนับสนุนให้อุทธรณ์ในกรณีนี้ต่อกรมศุลกากรได้ การที่โจทก์อุทธรณ์การประเมินต่อกองวิเคราะห์ราคาของกรมศุลกากรถือไม่ได้ว่าเป็นการอุทธรณ์ภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลตามประมวลรัษฎากร โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกคืนภาษีทั้งสองประเภท การเรียกร้องขอคืนอากรเพราะเหตุที่เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียจริงมีอายุความ 2 ปี นับแต่วันที่นำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 10 ซึ่งเป็นกฎหมายที่กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะแล้ว มิใช่มีอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 136/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีอากร, อายุความทางภาษีอากร, และอำนาจฟ้องคดีภาษีการค้า/ภาษีบำรุงเทศบาล
เจ้าพนักงานกรมศุลกากรเรียกให้โจทก์เสียภาษีอากรเพิ่มซึ่งมีทั้งอากรขาเข้า ภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาล ถือได้ว่ามีการประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลตามประมวลรัษฎากรแล้วหากโจทก์เห็นว่าการประเมินไม่ถูกต้องก็ชอบที่จะอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายใน 30 วัน ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30แม้การเรียกเก็บภาษีการค้ากับภาษีบำรุงเทศบาลจะเกี่ยวเนื่องกับการเรียกเก็บภาษีอากรขาเข้า ก็ไม่มีกฎหมายใดให้อำนาจอุทธรณ์การประเมินต่อกรมศุลกากรแทนได้ การที่โจทก์อุทธรณ์การประเมินต่อกรมศุลกากรจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการอุทธรณ์การประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลตามประมวลรัษฎากร โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง การที่พนักงานของจำเลยสั่งให้โจทก์เสียภาษีอากรขาเข้าเพิ่มเติม หากโจทก์เห็นว่าไม่ควรเสียก็ต้องร้องขอคืนเงินอากรที่เสียเพิ่มภายใน 2 ปี นับแต่นำสินค้าเข้า ตาม พ.ร.บ. ศุลกากรฯพ.ศ. 2469 มาตรา 10 วรรคห้า ปรากฏว่าเจ้าพนักงานของจำเลยสั่งให้โจทก์เสียอากรเพิ่มตามใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้ารวม5 ใบ ซึ่งโจทก์นำสินค้าเข้าครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 30 กันยายน2529 แต่โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2531 เกินกว่า 2 ปี คดีจึงขาดอายุความ และเมื่อมีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะแล้วจะนำอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 92/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าเช่าโทรศัพท์: โจทก์เป็นผู้ค้าเช่าสังหาริมทรัพย์ สิทธิเรียกร้องมีอายุความ 2 ปี
การที่โจทก์จัดให้มีบริการโทรศัพท์และเรียกเก็บเงินค่าเช่าเครื่องโทรศัพท์กับค่าใช้บริการโทรศัพท์นั้น ถือได้ว่าโจทก์เป็นบุคคลจำพวกที่ค้าในการให้เช่าสังหาริมทรัพย์เรียกเอาค่าเช่าและเป็นผู้ค้ำในการรับทำการงานต่าง ๆ เรียกเอาสินจ้างอันจะพึงได้รับในการนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(6),(7) สิทธิเรียกร้องค่าเช่าเครื่องโทรศัพท์และค่าใช้บริการโทรศัพท์ของโจทก์จึงมีอายุความ 2 ปี มิใช่ 10 ปี ตามมาตรา 164

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5907/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีจากการผิดสัญญาจ้างและละเมิด: ใช้ 10 ปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 164
เมื่อการกระทำของลูกจ้างเป็นทั้งละเมิดและผิดสัญญาจ้างแรงงาน นายจ้างย่อมมีสิทธิเลือกฟ้องได้ สิทธิเรียกร้องอันเกิดจากการผิดสัญญาจ้างแรงงาน ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เป็นพิเศษ ดังนั้น ต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างฟ้องให้จำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันลูกจ้างรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้ ต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5907/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีจากสัญญาค้ำประกันและผิดสัญญาจ้างแรงงาน โดยเลือกฟ้องได้ทั้งสองฐาน
เมื่อการกระทำของลูกจ้างเป็นทั้งละเมิดและผิดสัญญาจ้างแรงงาน นายจ้างย่อมมีสิทธิเลือกฟ้องได้ สิทธิเรียกร้องอันเกิดจากการผิดสัญญาจ้างแรงงาน ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เป็นพิเศษ ดังนั้น ต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามป.พ.พ. มาตรา 164 โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างฟ้องให้จำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันลูกจ้างทำผิดตามสัญญาค้ำประกัน ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้ ต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5817/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันจำกัดตามจำนวนที่ระบุในสัญญาค้ำประกัน และอายุความฟ้องร้องหนี้
พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2511 มาตรา 9 บัญญัติว่า"ถ้าสหกรณ์เกี่ยวข้องในกิจการใดที่กฎหมายกำหนดให้จดทะเบียนสำหรับการได้มา การจำหน่าย การยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ หรือการยึดหน่วงซึ่งกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพย์สิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ การจดทะเบียนเช่นว่านั้นให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม" สัญญาค้ำประกันมิได้มีกฎหมายกำหนดให้จดทะเบียนจึงเป็นนิติกรรมธรรมดา แม้สหกรณ์โจทก์จะเป็นคู่สัญญาก็ไม่ได้รับการยกเว้นที่จะไม่ต้องเสียค่าอากรแสตมป์หรือค่าธรรมเนียมแต่อย่างใด แม้สัญญาค้ำประกันจะมิได้ปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ แต่ผู้ค้ำประกันยอมรับว่าได้ทำสัญญาค้ำประกันดังกล่าวจริง จึงต้องร่วมรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันตามจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญาค้ำประกันโดยไม่จำเป็นต้องใช้สัญญาค้ำประกันเป็นพยานหลักฐาน ส่วนการที่จะให้ผู้ค้ำประกันต้องร่วมรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันเกินกว่าจำนวนเงินที่ระบุในสัญญาค้ำประกันนั้น ย่อมต้องอาศัยหนังสือสัญญาค้ำประกันมาเป็นพยานหลักฐานอันเป็นการต้องห้ามตามประมวลรัษฎากรมาตรา 118 ผู้ค้ำประกันจึงไม่ต้องร่วมรับผิดเต็มตามจำนวนที่ฟ้อง โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ทุจริตต่อหน้าที่ ปลอมแปลงลายมือชื่อสมาชิกโจทก์ แล้วทำเรื่องราวขอกู้เงินฉุกเฉินจากโจทก์ในนามของสมาชิกดังกล่าวรวมหลายคราวเป็นเงิน 728,070 บาทซึ่งโจทก์หลงเชื่อว่าเป็นลายมือชื่อของสมาชิกจริงจึงอนุมัติจ่ายให้ไป คำฟ้องของโจทก์ชัดแจ้งพอเพียงแล้ว จำเลยที่ 1 จะปลอมแปลงลายมือชื่อสมาชิกโจทก์ด้วยวิธีใด หลักฐานการปลอมแปลงมีหรือไม่และมีการตรวจสอบไปแล้วเพียงใดเป็นเรื่องรายละเอียด ไม่จำต้องบรรยายมา ฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม โจทก์ฟ้องเรียกเงินของโจทก์ที่จำเลยที่ 1 ยักยอกคืน และฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ซึ่งกฎหมายมิได้บัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164.
of 68