พบผลลัพธ์ทั้งหมด 143 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5492/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการวินิจฉัยของศาลแรงงาน & ความรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน
ข้อความที่จำเลยที่ 1 เบิกความตอบทนายโจทก์ไว้ในสำนวนอย่างชัดแจ้งตามคำให้การพยานจำเลย ศาลแรงงานย่อมมีอำนาจหยิบยกข้อความดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยได้ เพราะเป็นการวินิจฉัยไปตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในสำนวนแล้ว
อุทธรณ์ของจำเลยเมื่อล้วนเป็นกรณีที่ขอให้ศาลฎีการับฟังข้อเท็จจริงใหม่ให้ผิดแผกแตกต่างไปจากข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานรับฟังมา ย่อมเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 1ไว้ต่อโจทก์ซึ่งระบุไว้อย่างชัดแจ้งว่า จำเลยที่ 2 ขอค้ำประกันจำเลยที่ 1 ในการเข้าทำงานกับโจทก์ ถ้าจำเลยที่ 1 กระทำด้วยประการใด ๆ เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายและจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์แล้วจำเลยที่ 2 ยินยอมรับผิดชดใช้แทนแก่โจทก์จนครบ แม้สัญญาค้ำประกันดังกล่าวจะได้กระทำกันก่อนที่จำเลยที่ 1เข้าทำงานกับโจทก์ก็ตาม แต่ก็เป็นการประกันความรับผิดในหนี้ในลักษณะที่เป็นเหตุการณ์ในอนาคตซึ่งหนี้นั้นอาจเกิดขึ้นจริงหรือไม่เกิดขึ้นก็ได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา681 วรรคสอง เมื่อต่อมาหนี้นั้นได้เกิดขึ้นตามที่ได้ตกลงค้ำประกันไว้ จำเลยที่ 2ก็ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าว
อุทธรณ์ของจำเลยเมื่อล้วนเป็นกรณีที่ขอให้ศาลฎีการับฟังข้อเท็จจริงใหม่ให้ผิดแผกแตกต่างไปจากข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานรับฟังมา ย่อมเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 1ไว้ต่อโจทก์ซึ่งระบุไว้อย่างชัดแจ้งว่า จำเลยที่ 2 ขอค้ำประกันจำเลยที่ 1 ในการเข้าทำงานกับโจทก์ ถ้าจำเลยที่ 1 กระทำด้วยประการใด ๆ เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายและจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์แล้วจำเลยที่ 2 ยินยอมรับผิดชดใช้แทนแก่โจทก์จนครบ แม้สัญญาค้ำประกันดังกล่าวจะได้กระทำกันก่อนที่จำเลยที่ 1เข้าทำงานกับโจทก์ก็ตาม แต่ก็เป็นการประกันความรับผิดในหนี้ในลักษณะที่เป็นเหตุการณ์ในอนาคตซึ่งหนี้นั้นอาจเกิดขึ้นจริงหรือไม่เกิดขึ้นก็ได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา681 วรรคสอง เมื่อต่อมาหนี้นั้นได้เกิดขึ้นตามที่ได้ตกลงค้ำประกันไว้ จำเลยที่ 2ก็ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5492/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องห้าม และสัญญาค้ำประกันหนี้ในอนาคต
ข้อความที่จำเลยที่ 1 เบิกความตอบทนายโจทก์ไว้ในสำนวน อย่างชัดแจ้งตามคำให้การพยานจำเลย ศาลแรงงานย่อมมีอำนาจ หยิบยกข้อความดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยได้ เพราะเป็นการวินิจฉัย ไปตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในสำนวนแล้ว อุทธรณ์ของจำเลยเมื่อล้วนเป็นกรณีที่ขอให้ศาลฎีการับฟังข้อเท็จจริงใหม่ให้ผิดแผกแตกต่างไปจากข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานรับฟังมา ย่อมเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 1ไว้ต่อโจทก์ซึ่งระบุไว้อย่างชัดแจ้งว่า จำเลยที่ 2ขอค้ำประกันจำเลยที่ 1 ในการเข้าทำงานกับโจทก์ ถ้าจำเลยที่ 1 กระทำด้วยประการใด ๆ เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย และจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์แล้วจำเลยที่ 2 ยินยอมรับผิด ชดใช้แทนแก่โจทก์จนครบ แม้สัญญาค้ำประกันดังกล่าวจะได้กระทำกันก่อน ที่จำเลยที่ 1 เข้าทำงานกับโจทก์ก็ตาม แต่ก็เป็นการประกันความรับผิดในหนี้ในลักษณะที่เป็นเหตุการณ์ในอนาคตซึ่งหนี้นั้นอาจเกิดขึ้นจริง หรือไม่เกิดขึ้นก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 681 วรรคสอง เมื่อต่อมาหนี้นั้นได้เกิดขึ้นตามที่ได้ตกลง ค้ำประกันไว้ จำเลยที่ 2 ก็ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3005/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแรงงานพิจารณาคดีขาดนัด & ความรับผิดร่วมของผูรับเหมาในค่าจ้าง & ดอกเบี้ยค่าจ้างค้างจ่าย
ในการพิจารณาพิพากษาคดีแรงงาน แม้ในกรณีจำเลยขาดนัดที่ให้ศาลชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียวนั้น หากศาลแรงงานเห็นว่าตามคำฟ้อง คำให้การคำแถลงของคู่ความ และพยานหลักฐานอื่นที่ปรากฏอยู่ในสำนวน คดีพอวินิจฉัยได้แล้วศาลแรงงานย่อมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีไปได้โดยไม่จำต้องสืบพยานหลักฐานของโจทก์หรือจำเลย
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ข้อ 7 วรรคหนึ่ง กำหนดให้ผู้รับเหมาชั้นต้นต้องร่วมรับผิดกับผู้รับเหมาช่วงซึ่งเป็นนายจ้างในค่าจ้างที่ต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้าง จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับเหมาช่วงและเป็นนายจ้างโจทก์ยังไม่ชำระค่าจ้างให้โจทก์ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รับเหมาชั้นต้น และจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในค่าจ้างตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ31 วรรคหนึ่ง กำหนดไว้เป็นการเฉพาะให้นายจ้างที่ผิดนัดในการจ่ายค่าจ้างต้องจ่ายดอกเบี้ยแก่ลูกจ้างในระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ดังนั้น เมื่อจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างผิดนัดไม่จ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้าง จำเลยจึงต้องจ่ายดอกเบี้ยให้โจทก์ในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ข้อ 7 วรรคหนึ่ง กำหนดให้ผู้รับเหมาชั้นต้นต้องร่วมรับผิดกับผู้รับเหมาช่วงซึ่งเป็นนายจ้างในค่าจ้างที่ต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้าง จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับเหมาช่วงและเป็นนายจ้างโจทก์ยังไม่ชำระค่าจ้างให้โจทก์ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รับเหมาชั้นต้น และจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในค่าจ้างตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ31 วรรคหนึ่ง กำหนดไว้เป็นการเฉพาะให้นายจ้างที่ผิดนัดในการจ่ายค่าจ้างต้องจ่ายดอกเบี้ยแก่ลูกจ้างในระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ดังนั้น เมื่อจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างผิดนัดไม่จ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้าง จำเลยจึงต้องจ่ายดอกเบี้ยให้โจทก์ในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3005/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้รับเหมาชั้นต้นต้องร่วมรับผิดในค่าจ้างลูกจ้างของผู้รับเหมาช่วง แม้จำเลยขาดนัดศาลก็วินิจฉัยได้จากเอกสาร
ในการพิจารณาพิพากษาคดีแรงงาน แม้ในกรณีจำเลยขาดนัดที่ให้ศาลชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียวนั้นหากศาลแรงงานเห็นว่าตามคำฟ้อง คำให้การคำแถลงของคู่ความ และพยานหลักฐานอื่นที่ปรากฏอยู่ในสำนวนคดีพอวินิจฉัยได้แล้วศาลแรงงานย่อมมีอำนาจพิจารณา พิพากษาคดีไปได้โดยไม่จำต้องสืบพยานหลักฐานของ โจทก์หรือจำเลย ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ข้อ 7 วรรคหนึ่งกำหนดให้ผู้รับเหมาชั้นต้นต้องร่วมรับผิดกับผู้รับเหมาช่วงซึ่งเป็นนายจ้างในค่าจ้างที่ต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างจำเลยที่ 1 เป็นผู้รับเหมาช่วงและเป็นนายจ้างโจทก์ยังไม่ชำระค่าจ้างให้โจทก์ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รับเหมาชั้นต้น และจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในค่าจ้างตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 31 วรรคหนึ่ง กำหนดไว้เป็นการเฉพาะให้นายจ้างที่ผิดนัดในการจ่ายค่าจ้างต้องจ่ายดอกเบี้ยแก่ลูกจ้างในระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ดังนั้น เมื่อจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างผิดนัดไม่จ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างจำเลยจึงต้องจ่ายดอกเบี้ยให้โจทก์ในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2572/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้าง, ลักษณะการเลิกจ้าง, การสืบพยานในคดีแรงงาน, และการโต้แย้งดุลพินิจศาล
โจทก์ฟ้องอ้างว่าโจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลย จำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญาจ้างและเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ปฏิบัติตามกฎหมายแรงงานและ ป.พ.พ. จำเลยให้การว่า โจทก์ไม่ได้เป็นลูกจ้างแต่เป็นหุ้นส่วนทำกิจการร่วมกัน และโจทก์มีพฤติการณ์เสียหายด้านการเงินไม่นำเงินที่เรียกเก็บจากลูกค้าไปชำระค่าบริการต่าง ๆ ให้สถานบริการเหล่านั้น จำเลยต้องรับภาระชำระหนี้สินที่โจทก์ก่อขึ้นดังกล่าว จำเลยให้โอกาสโจทก์ปรับปรุงตัวใหม่ แต่โจทก์ก็ไม่ได้ปรับปรุงตัวให้ดีขึ้น ยังคงหลอกลวงลูกค้าที่มาใช้บริการเกี่ยวกับการท่องเที่ยวนำเงินที่รับจากลูกค้าไปเป็นประโยชน์ส่วนตนเป็นเหตุให้ลูกค้าได้รับความเสียหายอยู่อีก เมื่อศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติว่าโจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลย ดังนี้ ข้อต่อสู้ของจำเลยในส่วนที่ว่าโจทก์มีพฤติการณ์เป็นการทุจริตต่อหน้าที่จึงยังคงมีอยู่ คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์มีสิทธิเรียกค่าจ้างค้างค่าครองชีพ เงินส่วนแบ่ง เงินค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าชดเชยสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าเสียหายต่าง ๆ ตามฟ้องหรือไม่
การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง หาได้มีบทกฎหมายใดกำหนดหรือบังคับให้ต้องมีการบอกเลิกจ้างกันอย่างชัดแจ้งทุกกรณีเสมอไปไม่ การเลิกจ้างอาจเกิดขึ้นได้โดยพฤติการณ์ต่าง ๆ ที่พอแสดงได้ว่าเป็นการเลิกจ้างก็ได้ ดังที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคสอง
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 45 วรรคสอง ได้บัญญัติถึงวิธีการซักถามพยานไว้โดยเฉพาะแล้วว่าในการสืบพยาน คู่ความจะซักถามพยานได้ก็เฉพาะเมื่อได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานแล้วเท่านั้น กรณีจึงไม่อาจนำบทบัญญัติว่าด้วยการสืบพยานตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.มาตรา 89, 116 (2) และมาตรา 117 มาใช้บังคับแก่การสืบพยานในคดีแรงงานในศาลแรงงานโดยอนุโลมได้
โจทก์ยกเอาพยานเอกสารที่จำเลยนำสืบมาอุทธรณ์โต้แย้งเพื่อให้ศาลฎีการับฟังข้อเท็จจริงไปอีกทางหนึ่งอันจะเป็นประโยชน์แก่โจทก์ เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงาน เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง หาได้มีบทกฎหมายใดกำหนดหรือบังคับให้ต้องมีการบอกเลิกจ้างกันอย่างชัดแจ้งทุกกรณีเสมอไปไม่ การเลิกจ้างอาจเกิดขึ้นได้โดยพฤติการณ์ต่าง ๆ ที่พอแสดงได้ว่าเป็นการเลิกจ้างก็ได้ ดังที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคสอง
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 45 วรรคสอง ได้บัญญัติถึงวิธีการซักถามพยานไว้โดยเฉพาะแล้วว่าในการสืบพยาน คู่ความจะซักถามพยานได้ก็เฉพาะเมื่อได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานแล้วเท่านั้น กรณีจึงไม่อาจนำบทบัญญัติว่าด้วยการสืบพยานตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.มาตรา 89, 116 (2) และมาตรา 117 มาใช้บังคับแก่การสืบพยานในคดีแรงงานในศาลแรงงานโดยอนุโลมได้
โจทก์ยกเอาพยานเอกสารที่จำเลยนำสืบมาอุทธรณ์โต้แย้งเพื่อให้ศาลฎีการับฟังข้อเท็จจริงไปอีกทางหนึ่งอันจะเป็นประโยชน์แก่โจทก์ เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงาน เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2572/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาแรงงาน: การเลิกจ้าง การพิสูจน์พยานหลักฐาน และขอบเขตการอุทธรณ์ข้อเท็จจริง
โจทก์ฟ้องอ้างว่าโจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลย จำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญาจ้างและเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ปฏิบัติตามกฎหมายแรงงานและประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จำเลยให้การว่า โจทก์ไม่ได้เป็นลูกจ้างแต่เป็นหุ้นส่วนทำกิจการร่วมกันและโจทก์มีพฤติการณ์เสียหายด้านการเงินไม่นำเงินที่เรียกเก็บจากลูกค้าไปชำระค่าบริการต่าง ๆ ให้สถานบริการเหล่านั้นจำเลยต้องรับภาระชำระหนี้สินที่โจทก์ก่อขึ้นดังกล่าวจำเลยให้โอกาสโจทก์ปรับปรุงตัวใหม่ แต่โจทก์ก็ไม่ได้ปรับปรุงตัวให้ดีขึ้น ยังคงหลอกลวงลูกค้าที่มาใช้บริการเกี่ยวกับการท่องเที่ยวนำเงินที่รับจากลูกค้าไปเป็นประโยชน์ส่วนตนเป็นเหตุให้ลูกค้าได้รับความเสียหายอยู่อีก เมื่อศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติว่าโจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลย ดังนี้ข้อต่อสู้ของจำเลยในส่วนที่ว่าโจทก์มีพฤติการณ์เป็นการทุจริตต่อหน้าที่จึงยังคงมีอยู่ คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์มีสิทธิเรียกค่าจ้าง ค้างค่าครองชีพ เงินส่วนแบ่งเงินค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าเสียหายต่าง ๆ ตามฟ้องหรือไม่ การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง หาได้มีบทกฎหมายใดกำหนดหรือบังคับให้ต้องมีการบอกเลิกจ้างกันอย่างชัดแจ้งทุกกรณีเสมอไป การเลิกจ้างอาจเกิดขึ้นได้โดยพฤติการณ์ต่าง ๆที่พอแสดงได้ว่าเป็นการเลิกจ้างก็ได้ ดังที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 46 วรรคสอง พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 45 วรรคสอง ได้บัญญัติถึงวิธีการซักถาม พยานไว้โดยเฉพาะแล้วว่าในการสืบพยาน คู่ความจะซักถามพยานได้ก็เฉพาะเมื่อได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานแล้วเท่านั้น กรณีจึงไม่อาจนำบทบัญญัติว่าด้วยการสืบพยานตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 89,116(2) และมาตรา 117 มาใช้บังคับแก่การสืบพยานในคดีแรงงานในศาลแรงงานโดยอนุโลมได้ โจทก์ยกเอาพยานเอกสารที่จำเลยนำสืบมาอุทธรณ์โต้แย้งเพื่อให้ศาลฎีการับฟังข้อเท็จจริงไปอีกทางหนึ่งอันจะเป็นประโยชน์แก่โจทก์ เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงาน เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4624/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแรงงานในการแต่งตั้งแพทย์เพื่อตรวจสอบข้อพิพาท และความยินยอมของคู่ความ
รายงานกระบวนพิจารณาของศาลแรงงานในส่วนการแต่งตั้งคณะกรรมการแพทย์ซึ่งเกิดขึ้นจากการท้ากันระหว่างโจทก์จำเลย โดยตกลงกันกำหนดประเด็นเสนอศาลเพื่อให้กระบวนพิจารณาเป็นไปโดยรวดเร็ว ศาลแรงงานกลางย่อมมีอำนาจดำเนินการตามที่คู่ความร้องขอได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 138 ประกอบด้วยพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
คู่ความยอมรับข้อเท็จจริงกันในศาล โดยมีเงื่อนไขว่าให้ถือเอาความเห็นของคณะกรรมการแพทย์ซึ่งแต่งตั้งโดยแพทยสภาไม่น้อยกว่า 3 คน ตรวจสอบเวชระเบียนแล้วทำความเห็นว่าโจทก์เจ็บป่วยด้วยโรคพิษตะกั่วเรื้อรังจากการทำงานหรือไม่ หากโจทก์ไม่ได้เจ็บป่วยด้วยโรคพิษตะกั่วเรื้อรังจากการทำงาน โจทก์ยอมแพ้ให้ศาลพิพากษายกฟ้อง หากคณะกรรมการแพทย์เห็นว่าโจทก์เจ็บป่วยด้วยโรคพิษตะกั่วเรื้อรังจากการทำงาน จำเลยยอมแพ้ และยอมให้โจทก์ชนะคดี การที่ศาลแรงงานมีหนังสือถึงแพทยสภาขอให้แต่งตั้งคณะกรรมการแพทย์ และแพทยสภามีประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการแพทย์ในเวลาต่อมา จึงเป็นกรณีที่ศาลแรงงานกลางดำเนินกระบวน-พิจารณาให้อย่างครบถ้วนตรงตามคำขอของโจทก์จำเลยโดยแท้ หาใช่กรณีที่ศาลแรงงานกลางใช้อำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการแพทย์โดยพลการไม่ ทั้งนับแต่ศาลแรงงานบันทึกรายงานกระบวนพิจารณาในเรื่องดังกล่าวฉบับลงวันที่ 29 พฤษภาคม 2539จนกระทั่งคณะกรรมการแพทย์ทำรายงานเสนอความเห็นต่อศาลแรงงานกลางเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2539 ก็เป็นระยะเวลายาวนานพอที่โจทก์มีโอกาสติดตามตรวจสอบเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับคณะกรรมการแพทย์ที่ได้รับการแต่งตั้งโดยแพทยสภาได้ แต่โจทก์หาได้ดำเนินการและแถลงคัดค้านต่อศาลแต่อย่างใดไม่ ส่วนข้อที่โจทก์อ้างว่าโจทก์และทนายโจทก์ลงลายมือชื่อในรายงานกระบวนพิจารณาเพราะไม่อาจขัดขืนอำนาจศาลที่จะให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการแพทย์ขึ้นนั้น เป็นข้ออ้างที่ไม่ชัดแจ้งว่าศาลแรงงานกลางใช้อำนาจโดยมิชอบอย่างใด ทั้งการดำเนินการให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการแพทย์ขึ้นก็เป็นไปตามความประสงค์ของโจทก์ที่ร้องขอต่อศาลทั้งสิ้น ดังนี้กระบวนพิจารณาของศาลแรงงานกลางจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
แม้หนังสือที่ศาลแรงงานกลางที่มีไปถึงแพทยสภาเพื่อขอให้แต่งตั้งคณะกรรมการแพทย์ลงลายมือชื่อโดยผู้พิพากษาคนเดียวก็ตาม แต่หนังสือดังกล่าวเป็นหนังสือที่ศาลแรงงานกลางได้มีไปถึงแพทยสภาเพื่อขอความร่วมมือให้แต่งตั้งคณะกรรมการแพทย์ทำการตรวจสอบเวชระเบียนของโจทก์แล้วทำความเห็นส่งศาลเท่านั้นซึ่งเป็นการดำเนินการเพื่อให้ได้ความเห็นของคณะกรรมการแพทย์ตามประเด็นที่โจทก์จำเลยกำหนดไว้ การแพ้ชนะคดีของโจทก์ขึ้นอยู่กับความเห็นของคณะกรรมการแพทย์ตามที่โจทก์ตกลงท้ากับจำเลย ศาลหาได้มีส่วนร่วมออกความเห็นด้วยไม่ หนังสือนี้จึงไม่ใช่เป็นคำสั่งไปในทางวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดี ซึ่งเป็นหนังสือที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว ไม่ทำให้การแต่งตั้งคณะกรรมการแพทย์ รวมทั้งคำพิพากษาศาลแรงงานกลางต้องกลายเป็นไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใด
คู่ความยอมรับข้อเท็จจริงกันในศาล โดยมีเงื่อนไขว่าให้ถือเอาความเห็นของคณะกรรมการแพทย์ซึ่งแต่งตั้งโดยแพทยสภาไม่น้อยกว่า 3 คน ตรวจสอบเวชระเบียนแล้วทำความเห็นว่าโจทก์เจ็บป่วยด้วยโรคพิษตะกั่วเรื้อรังจากการทำงานหรือไม่ หากโจทก์ไม่ได้เจ็บป่วยด้วยโรคพิษตะกั่วเรื้อรังจากการทำงาน โจทก์ยอมแพ้ให้ศาลพิพากษายกฟ้อง หากคณะกรรมการแพทย์เห็นว่าโจทก์เจ็บป่วยด้วยโรคพิษตะกั่วเรื้อรังจากการทำงาน จำเลยยอมแพ้ และยอมให้โจทก์ชนะคดี การที่ศาลแรงงานมีหนังสือถึงแพทยสภาขอให้แต่งตั้งคณะกรรมการแพทย์ และแพทยสภามีประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการแพทย์ในเวลาต่อมา จึงเป็นกรณีที่ศาลแรงงานกลางดำเนินกระบวน-พิจารณาให้อย่างครบถ้วนตรงตามคำขอของโจทก์จำเลยโดยแท้ หาใช่กรณีที่ศาลแรงงานกลางใช้อำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการแพทย์โดยพลการไม่ ทั้งนับแต่ศาลแรงงานบันทึกรายงานกระบวนพิจารณาในเรื่องดังกล่าวฉบับลงวันที่ 29 พฤษภาคม 2539จนกระทั่งคณะกรรมการแพทย์ทำรายงานเสนอความเห็นต่อศาลแรงงานกลางเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2539 ก็เป็นระยะเวลายาวนานพอที่โจทก์มีโอกาสติดตามตรวจสอบเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับคณะกรรมการแพทย์ที่ได้รับการแต่งตั้งโดยแพทยสภาได้ แต่โจทก์หาได้ดำเนินการและแถลงคัดค้านต่อศาลแต่อย่างใดไม่ ส่วนข้อที่โจทก์อ้างว่าโจทก์และทนายโจทก์ลงลายมือชื่อในรายงานกระบวนพิจารณาเพราะไม่อาจขัดขืนอำนาจศาลที่จะให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการแพทย์ขึ้นนั้น เป็นข้ออ้างที่ไม่ชัดแจ้งว่าศาลแรงงานกลางใช้อำนาจโดยมิชอบอย่างใด ทั้งการดำเนินการให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการแพทย์ขึ้นก็เป็นไปตามความประสงค์ของโจทก์ที่ร้องขอต่อศาลทั้งสิ้น ดังนี้กระบวนพิจารณาของศาลแรงงานกลางจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
แม้หนังสือที่ศาลแรงงานกลางที่มีไปถึงแพทยสภาเพื่อขอให้แต่งตั้งคณะกรรมการแพทย์ลงลายมือชื่อโดยผู้พิพากษาคนเดียวก็ตาม แต่หนังสือดังกล่าวเป็นหนังสือที่ศาลแรงงานกลางได้มีไปถึงแพทยสภาเพื่อขอความร่วมมือให้แต่งตั้งคณะกรรมการแพทย์ทำการตรวจสอบเวชระเบียนของโจทก์แล้วทำความเห็นส่งศาลเท่านั้นซึ่งเป็นการดำเนินการเพื่อให้ได้ความเห็นของคณะกรรมการแพทย์ตามประเด็นที่โจทก์จำเลยกำหนดไว้ การแพ้ชนะคดีของโจทก์ขึ้นอยู่กับความเห็นของคณะกรรมการแพทย์ตามที่โจทก์ตกลงท้ากับจำเลย ศาลหาได้มีส่วนร่วมออกความเห็นด้วยไม่ หนังสือนี้จึงไม่ใช่เป็นคำสั่งไปในทางวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดี ซึ่งเป็นหนังสือที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว ไม่ทำให้การแต่งตั้งคณะกรรมการแพทย์ รวมทั้งคำพิพากษาศาลแรงงานกลางต้องกลายเป็นไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1178/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมรับความเสียหายและการถอนฟ้องคดีแรงงานจากการแถลงมติคณะกรรมการ
ในระหว่างพิจารณา คู่ความแถลงยอมรับมติที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการของโจทก์ว่าการกระทำของจำเลยทั้งสามไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์กับมีมติให้ ส.ไปชี้แจงข้อเท็จจริงต่อศาลและฝ่ายโจทก์ยอมถอนฟ้องคดีนี้หากศาลมีคำสั่งเรียก ส.มาแถลงเพื่อยืนยันมติคณะกรรมการดำเนินการของโจทก์ดังกล่าว และเนื่องจากมติคณะกรรมการดำเนินการของโจทก์ดังกล่าวเป็นประเด็นสำคัญในคดี จึงมีเหตุสมควรที่ศาลแรงงานจะมีคำสั่งเรียก ส.กับพวกมาศาลเพื่อแถลงถึงมติที่ประชุมดังกล่าวให้ได้ความชัดเจนในประเด็นว่าโจทก์ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยทั้งสามหรือไม่ โดยอาศัยบทบัญญัติมาตรา 45 วรรคหนึ่งแห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 เมื่อ ส.กับพวกมาศาลแถลงว่าโจทก์ไม่ได้รับความเสียหายอันเนื่องจากการกระทำของจำเลยทั้งสาม กรณีก็ไม่จำต้องสืบพยานในประเด็นข้อนี้ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1178/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
มติคณะกรรมการดำเนินการเพิกถอนการดำเนินคดี – ศาลมีอำนาจสืบข้อเท็จจริงเพิ่มเติมเพื่อความยุติธรรม
ในระหว่างพิจารณาคู่ความแถลงยอมรับมติที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการของโจทก์ว่าการกระทำของจำเลยทั้งสามไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์กับมีมติให้ส. ไปชี้แจงข้อเท็จจริงต่อศาลและฝ่ายโจทก์ยอมถอนฟ้องคดีนี้หากศาลมีคำสั่งเรียกส. มาแถลงเพื่อยืนยันมติคณะกรรมการดำเนินการของโจทก์ดังกล่าวและเนื่องจากมติคณะกรรมการดำเนินการของโจทก์ดังกล่าวเป็นประเด็นสำคัญในคดีจึงมีเหตุสมควรที่ศาลแรงงานจะมีคำสั่งเรียกส.กับพวกมาศาลเพื่อแถลงถึงมติที่ประชุมดังกล่าวให้ได้ความชัดเจนในประเด็นว่าโจทก์ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยทั้งสามหรือไม่โดยอาศัยบทบัญญัติมาตรา45วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522เมื่อส. กับพวกมาศาลแถลงว่าโจทก์ไม่ได้รบความเสียหายอันเนื่องจากการกระทำของจำเลยทั้งสามกรณีก็ไม่จำต้องสืบพยานในประเด็นข้อต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1178/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
มติคณะกรรมการดำเนินการเพิกถอนการดำเนินคดีโจทก์ ศาลรับฟังได้และพิพากษายกฟ้อง ชอบด้วยกฎหมาย
ในระหว่างพิจารณา คู่ความแถลงยอมรับมติที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการของโจทก์ว่าการกระทำของจำเลยทั้งสามไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์กับมีมติให้ ส. ไปชี้แจงข้อเท็จจริงต่อศาลและฝ่ายโจทก์ยอมถอนฟ้องคดีนี้ หากศาลมีคำสั่งเรียก ส. มาแถลงเพื่อยืนยันมติคณะกรรมการดำเนินการของโจทก์ดังกล่าว และเนื่องจากมติคณะกรรมการดำเนินการของโจทก์ดังกล่าวเป็นประเด็นสำคัญในคดีจึงมีเหตุสมควรที่ศาลแรงงานจะมีคำสั่งเรียก ส.กับพวกมาศาลเพื่อแถลงถึงมติที่ประชุมดังกล่าวให้ได้ความชัดเจนในประเด็นว่าโจทก์ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยทั้งสามหรือไม่โดยอาศัยบทบัญญัติมาตรา 45 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 เมื่อ ส. กับพวกมาศาลแถลงว่าโจทก์ไม่ได้รบความเสียหายอันเนื่องจากการกระทำของจำเลยทั้งสาม กรณีก็ไม่จำต้องสืบพยานในประเด็นข้อต่อไป