คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1516

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 66 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4815/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องหย่าเนื่องจากแยกกันอยู่โดยสมัครใจเกิน 3 ปี และสิทธิในการเรียกร้องค่าเลี้ยงชีพ
โจทก์ออกจากบ้านที่อยู่กินกับจำเลยเพราะต้องการพาบิดาโจทก์ซึ่งเป็นโรคหัวใจไปให้พ้นจากบิดาจำเลยซึ่งชอบดื่มสุราแล้วส่งเสียงดัง และโจทก์และจำเลยตกลงจะไปจดทะเบียนหย่าขาดจากกัน แต่หย่าไม่ได้เพราะโจทก์ไม่มีเงินชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรแก่จำเลย แสดงว่าโจทก์และจำเลยสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมา และเป็นเวลานับถึงวันฟ้องเกินสามปีแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องหย่าได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516(4/2) จำเลยซึ่งเป็นภริยาจะเรียกค่าเลี้ยงชีพตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1526 จากโจทก์ได้จะต้องปรากฏว่าเหตุแห่งการหย่าเป็นความผิดของโจทก์แต่ฝ่ายเดียวเมื่อเหตุแห่งการหย่าเป็นเพราะโจทก์และจำเลยสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกินสามปีจำเลยจึงเรียกค่าเลี้ยงชีพจากโจทก์ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1691/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหย่าร้าง: การแยกอยู่ของคู่สมรสและการขาดเจตนาทิ้งร้าง
โจทก์จดทะเบียนสมรสกับจำเลยที่ประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อปี 2518 ต่อมาปี 2532 ภาวะเศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกา ตกต่ำอาชีพของโจทก์ไม่ค่อยดี โจทก์ติดต่อขอทำงานในประเทศไทยจึงปรึกษากับจำเลยว่าจะกลับประเทศไทย แต่จำเลยเห็นว่าอาชีพพยาบาลที่ประเทศสหรัฐอเมริกาดีไม่ยอมกลับ ในปี 2534โจทก์จึงกลับประเทศไทย โจทก์จึงเป็นฝ่ายแยกจากจำเลยแต่ฝ่ายเดียว ไม่ใช่จำเลยจงใจละทิ้งร้างโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516(4)โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องหย่าจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3308/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล: คดีประนีประนอมหลังหย่า ต้องวินิจฉัยโดยประธานศาลฎีกาตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนฯ
การที่ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องในคดที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยตามสัญญาประนีประนอมหลังการจดทะเบียนหย่าว่า คดีนี้เป็นการโต้แย้งสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ครอบครัว คดีไม่อยู่ในอำนาจของศาลชั้นต้น จึงไม่รับฟ้อง เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในปัญหาว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจศาลเยาวชนและครอบครัวหรือศาลยุติธรรมอื่น ซึ่งตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัว และวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 12กำหนดให้ประธานศาลฎีกาแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้นเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด ศาลชั้นต้นและศาลฎีกาหามีอำนาจวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวไม่ คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อปัญหาว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัวหรือศาลชั้นต้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกา ศาลฎีกาส่งสำนวนคดีนี้ไปให้ประธาน-ศาลฎีกาวินิจฉัยชี้ขาดตามมาตรา 12 ดังกล่าวข้างต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3702/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งทรัพย์สินหลังหย่า: ที่ดินที่ซื้อก่อนสมรสและจดทะเบียนเป็นเจ้าของร่วมกันหลังสมรส
จำเลยฟ้องแย้งให้แบ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินเท่านั้น การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้โจทก์แบ่งสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินด้วยเป็นการนอกเหนือคำฟ้องแย้งจึงไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัย โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทด้วยเงินของโจทก์ก่อนจดทะเบียนสมรสกับจำเลย หลังจากจดทะเบียนสมรสกันแล้วได้มีการจดทะเบียนลงชื่อจำเลยถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทร่วมกับโจทก์ เป็นพฤติการณ์ที่โจทก์มีเจตนาให้จำเลยมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทครึ่งหนึ่ง ที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของจำเลยเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์และจำเลยเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่ากัน ที่ดินพิพาทส่วนที่เป็นสินสมรสต้องแบ่งกันระหว่างโจทก์และจำเลยคนละส่วน ดังนั้นจำเลยมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทหนึ่งในสี่ส่วน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1820/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องบังคับตามข้อตกลงหย่าขาดจากกัน โดยอาศัยความยินยอมและบันทึกข้อตกลงร่วมกัน
การฟ้องหย่า นอกจากมีเหตุฟ้องหย่าได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516แล้ว ยังมีกรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1515 ดังนั้นถ้ามีการหย่าโดยความยินยอมแล้ว แต่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ยินยอมไปจดทะเบียนหย่า การหย่าโดยความยินยอมยังไม่สมบูรณ์ อีกฝ่ายหนึ่งจึงฟ้องเพื่อให้ศาลพิพากษาให้มีผลเป็นการหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากันตามหนังสือยินยอมได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 55 โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์จำเลยทำบันทึกด้วยความยินยอมของทั้งสองฝ่ายตกลงหย่าและแบ่งทรัพย์สินกัน ต่อหน้าพยาน 2 คน โจทก์แจ้งให้จำเลยไปจดทะเบียนหย่าตามบันทึกที่ตกลงกัน จำเลยบ่ายเบี่ยงและคำขอท้ายฟ้องระบุว่าขอให้จำเลยจดทะเบียนหย่ากับโจทก์ หากจำเลยไม่ไปจดทะเบียนหย่าก็ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ยกเอาบันทึกข้อตกลงของโจทก์จำเลยมาวินิจฉัยว่าเป็นหลักฐานการหย่าโดยความยินยอม โจทก์จึงฟ้องเพื่อบังคับให้จำเลยไปจดทะเบียนได้ และพิพากษาให้จำเลยหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากับโจทก์นั้น จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นและไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 ข้อความในบันทึกข้อตกลงการหย่า นอกจากมีข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยเกี่ยวกับการแบ่งทรัพย์สินและการดูแลบุตร ยังมีข้อความระบุว่า "ผู้เป็นภรรยาพอใจไม่เรียกร้องสิทธิใด ๆ ทั้งสิ้น นอกจากสิ่งที่ได้ตกลงกันมาแล้ว เพื่อเป็นหลักฐานการหย่าร้างครั้งนี้จึงให้มีพยานหลักฐานไว้เป็นสำคัญ" ซึ่งมีข้อความระบุถึงการหย่าไว้แล้ว เมื่อมีผู้ลงนามเป็นพยาน 2 คน จึงครบถ้วนเป็นข้อตกลงหย่าด้วยความยินยอมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1514วรรคสอง แล้ว สิทธิฟ้องร้องที่ระบุไว้ในมาตรา 1529 คือสิทธิฟ้องร้องโดยอาศัยเหตุตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516(1)(2)(3)หรือ (6) หรือมาตรา 1523 เป็นคนละกรณีกับการฟ้องขอให้จดทะเบียนหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1514 วรรคสอง มาตรา 1515ซึ่งมีอายุความฟ้องร้องภายในสิบปี นับแต่วันที่ทั้งสองฝ่ายทำบันทึกข้อตกลงการหย่า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2232/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องหย่าจากพฤติการณ์อุปการะเลี้ยงดูหญิงอื่นฉันภริยา และการแยกกันอยู่ มิใช่เป็นการละทิ้ง
การกระทำของโจทก์มีเหตุที่ทำให้จำเลยระแวงสงสัยว่าโจทก์อุปการะเลี้ยงดูหญิงอื่น เป็นเหตุให้จำเลยไม่พอใจและมีการทะเลาะกับโจทก์เสมอ ถ้อยคำที่จำเลยกล่าวต่อพลทหารรับใช้ขณะที่โจทก์ซึ่งเป็นนายทหารไปราชการชายแดนสาปแช่งโจทก์ว่า ถ้าพิการก็เลี้ยงดูเอาเอง หากตายจะกลับมาเอาเงิน ทั้งบุพการีของโจทก์เป็นผู้ใหญ่เสียเปล่าทำตัวไม่น่านับถือ ไม่เป็นการหมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามโจทก์หรือบุพการีของโจทก์เป็นการร้ายแรง เป็นเพียงถ้อยคำที่จำเลยกล่าวด้วยความน้อยใจที่ทราบว่าโจทก์อุปการะเลี้ยงดูหญิงอื่นเท่านั้น ไม่เป็นเหตุให้โจทก์ฟ้องหย่าได้ โจทก์อุปการะเลี้ยงดูยกย่องหญิงอื่นฉันภริยาและทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยา จำเลยไม่สามารถทนอยู่กินกับโจทก์อันจะเป็นเหตุให้โจทก์ฟ้องหย่า แต่กรณีดังกล่าวจำเลยมีสิทธิฟ้องหย่าได้ การที่โจทก์อุปการะเลี้ยงดูยกย่องหญิงอื่นฉันภริยาและทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยาตลอดมา ย่อมมีเหตุที่จะทำให้จำเลยฟ้องหย่าได้ตลอดเวลาที่การกระทำยังไม่สิ้นสุด ฟ้องแย้งของจำเลยจึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 980/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องหย่าจากเหตุหมิ่นประมาท/เหยียดหยาม ต้องพิจารณาเหตุผลในการแจ้งความ/ฟ้องร้อง หากมีเหตุผลสมควร ศาลไม่ถือเป็นเหตุหย่า
โจทก์ขายรถยนต์สินสมรสให้แก่บุคคลอื่นโดยที่จำเลยซึ่งเป็นภริยาไม่ทราบ และได้ระบุในบันทึกคำแจ้งความเรื่องขอโอนและขอรับโอนทะเบียนรถยนต์ว่า โจทก์เป็นโสด มีเหตุให้จำเลยเชื่อว่าโจทก์ขายรถยนต์เพื่อประโยชน์ของโจทก์เพียงฝ่ายเดียวการที่โจทก์แจ้งว่าเป็นโสดเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง จำเลยย่อมมีสิทธิรักษาประโยชน์ของตนเองได้ การที่จำเลยแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนกล่าวหาว่าโจทก์แจ้งความต่อนายทะเบียนยานพาหนะอันเป็นเท็จดังกล่าว เป็นการใช้สิทธิตามที่มีกฎหมายให้อำนาจเพื่อปกปักและรักษาประโยชน์ในทรัพย์สินของตนตามปกติ จึงไม่เป็นการหมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามโจทก์อย่างร้ายแรงที่จะถือว่าเป็นเหตุหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516(3) จำเลยเข้าใจว่าเหตุที่ทรัพย์สินที่เป็นสินสมรสระหว่างโจทก์จำเลยถูกยึดในคดีที่ พ.ฟ้องโจทก์ให้ชำระเงินตามเช็คเป็นผลมาจากการกลั่นแกล้งของโจทก์โดยความร่วมมือของ พ.ซึ่งไม่มีหนี้สินต่อกัน ที่จำเลยฟ้องคดีอาญากล่าวหาโจทก์และ พ.ว่าร่วมกันแสดงพยานหลักฐานในคดีดังกล่าวอันเป็นเท็จ จึงเป็นการกระทำที่จำเลยเข้าใจโดยสุจริตว่า จำเลยมีสิทธิกระทำได้เพื่อป้องกันส่วนได้เสียและปกป้องทรัพย์สินที่จำเลยมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของไม่เป็นการหมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามโจทก์อย่างร้ายแรงอันเป็นเหตุหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516(3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 735/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องหย่าและแบ่งสินสมรส: ศาลไม่พิจารณาแบ่งทรัพย์สินหากไม่มีเหตุหย่า
โจทก์ฟ้องขอหย่ากับขอให้จ่ายค่าเลี้ยงชีพและแบ่งที่ดินโดย อ้างว่าเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์จำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1516,1526 และ 1533 หาใช่เป็นการร้องขอให้ลงชื่อ โจทก์เป็นเจ้าของรวมกันในโฉนดที่ดินทั้ง 4 ฉบับซึ่งเป็นสินสมรส โดยอาศัยอำนาจดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1475 ดังนั้น เมื่อ ศาลชั้นต้นฟังว่าไม่มีเหตุที่จะพิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากการ เป็นสามีภริยากันแล้วจึงไม่จำต้องพิจารณาเรื่องค่าเลี้ยงชีพและ ทรัพย์สินตามฟ้องว่าเป็นสินสมรสที่จะต้องแบ่งกันหรือไม่ ทั้งไม่มี เหตุที่จะลงชื่อโจทก์ในโฉนดที่ดินทั้ง 4 ฉบับที่โจทก์อ้างว่าเป็น สินสมรสด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 735/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องหย่าและการแบ่งสินสมรส: ศาลไม่ต้องพิจารณาเรื่องสินสมรสหากไม่มีเหตุหย่า
โจทก์ฟ้องขอหย่ากับขอให้จ่ายค่าเลี้ยงชีพและแบ่งที่ดินโดยอ้างว่าเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์จำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516, 1526และ 1533 หาใช่เป็นการร้องขอให้ลงชื่อโจทก์เป็นเจ้าของรวมกันในโฉนดที่ดินทั้ง 4 ฉบับซึ่งเป็นสินสมรสโดยอาศัยอำนาจดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1475 ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นฟังว่าไม่มีเหตุที่จะพิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากันแล้ว จึงไม่จำต้องพิจารณาเรื่องค่าเลี้ยงชีพและทรัพย์สินตามฟ้องว่าเป็นสินสมรสที่จะต้องแบ่งกันหรือไม่ ทั้งไม่มีเหตุที่จะลงชื่อโจทก์ในโฉนดที่ดินทั้ง 4 ฉบับที่โจทก์อ้างว่าเป็นสินสมรสด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6002/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องหย่าจากเหตุละทิ้งร้างและการกระทำผิดในอดีต ศาลพิจารณาการแยกกันอยู่โดยสมัครใจและอายุความ
โจทก์จำเลยต่างสมัครใจแยกกันอยู่ โจทก์จะกล่าวอ้างว่าจำเลยจงใจละทิ้งร้างโจทก์ไม่ได้ จำเลยใช้อาวุธปืนยิงโจทก์ 2 ครั้ง แม้จะเป็นความจริงดังที่โจทก์ฎีกา แต่เหตุเกิดก่อนฟ้องประมาณ 14 ปี และ 4 ปี ตามลำดับไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ร้องทุกข์กล่าวโทษจำเลย คงอยู่กินด้วยกันตลอดมาแสดงว่าโจทก์ได้ให้อภัยจำเลยแล้ว สิทธิฟ้องหย่าในข้อนี้ย่อมหมดไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1518
of 7