พบผลลัพธ์ทั้งหมด 66 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 467/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องหย่าเนื่องจากมีชู้และดูหมิ่นเหยียดหยาม ทำให้เกิดสิทธิได้รับค่าทดแทน
จำเลยที่ 1 มีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับจำเลยที่ 2มาก่อนที่จะสมรสกับโจทก์ เมื่อจำเลยสมรสกับโจทก์แล้วจำเลยที่ 1 ยังมีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับจำเลยที่ 2และยกย่องเป็นภรรยาอย่างออกหน้า ดังนี้ โจทก์ฟ้องหย่าได้ และเหตุหย่าในกรณีนี้โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะได้รับค่าทดแทนตามป.พ.พ. ม.1523 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3822/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฟ้องหย่าหมดอายุเมื่อให้อภัย, การแยกกันอยู่โดยสมัครใจ, และหน้าที่ช่วยเหลืออุปการะภริยา
จำเลยใช้มีดจะแทงโจทก์ตั้งแต่ก่อนโจทก์จำเลยจะมีบุตรด้วยกัน ต่อมาโจทก์เห็นว่าจำเลยเป็นภริยาและมีบุตรด้วยกัน จึงไม่ร้องทุกข์กล่าวโทษจำเลย แสดงว่าโจทก์ได้ให้อภัยจำเลยแต่แรกแล้ว ถือได้ว่าสิทธิฟ้องหย่าในข้อนี้ย่อมหมดไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1518
โจทก์จำเลยต่างสมัครใจแยกกันอยู่ โจทก์จะกล่าวหาว่าจำเลยจงใจละทิ้งร้างโจทก์ไม่ได้
ความสามารถและฐานะของโจทก์ดีกว่าจำเลย โจทก์ผู้เป็นสามีจึงต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูจำเลยซึ่งเป็นภริยาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1461 ประกอบด้วยมาตรา 1598/38
โจทก์จำเลยต่างสมัครใจแยกกันอยู่ โจทก์จะกล่าวหาว่าจำเลยจงใจละทิ้งร้างโจทก์ไม่ได้
ความสามารถและฐานะของโจทก์ดีกว่าจำเลย โจทก์ผู้เป็นสามีจึงต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูจำเลยซึ่งเป็นภริยาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1461 ประกอบด้วยมาตรา 1598/38
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3822/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องหย่า ความสมัครใจแยกกันอยู่ การให้อภัย และหน้าที่ช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดู
จำเลยใช้มีดจะแทงโจทก์ตั้งแต่ก่อนโจทก์จำเลยจะมีบุตรด้วยกัน ต่อมาโจทก์เห็นว่าจำเลยเป็นภริยาและมีบุตรด้วยกัน จึงไม่ร้องทุกข์กล่าวโทษจำเลย แสดงว่าโจทก์ได้ให้อภัยจำเลยแต่แรกแล้ว ถือได้ว่าสิทธิฟ้องหย่าในข้อนี้ย่อมหมดไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1518
โจทก์จำเลยต่างสมัครใจแยกกันอยู่ โจทก์จะกล่าวหาว่าจำเลยจงใจละทิ้งร้างโจทก์ไม่ได้
ความสามารถและฐานะของโจทก์ดีกว่าจำเลย โจทก์ผู้เป็นสามีจึงต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูจำเลยซึ่งเป็นภริยาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1461 ประกอบด้วยมาตรา1598/38
โจทก์จำเลยต่างสมัครใจแยกกันอยู่ โจทก์จะกล่าวหาว่าจำเลยจงใจละทิ้งร้างโจทก์ไม่ได้
ความสามารถและฐานะของโจทก์ดีกว่าจำเลย โจทก์ผู้เป็นสามีจึงต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูจำเลยซึ่งเป็นภริยาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1461 ประกอบด้วยมาตรา1598/38
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2224/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุหย่า: การไม่นำพาอยู่ร่วมกัน และการปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยา ศาลไม่อาณัติหย่า
ฟ้องบรรยายว่าจำเลยซึ่งเป็นภริยาไม่นำพาที่จะอยู่ร่วมกับโจทก์ ไม่อ้างว่าจำเลยละทิ้งโจทก์ ไม่เป็นเหตุหย่าตาม มาตรา 1516(4) จำเลยไม่ไปอยู่กับโจทก์ต่างอำเภอโจทก์ก็มาหาจำเลยเดือนละ 2 ครั้ง ซึ่งจำเลยยอมให้โจทก์อยู่กินหลับนอนด้วย ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยาอย่างร้ายแรง ไม่เป็นเหตุหย่า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1329/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าของที่ดิน vs. เรือนหอ: เจ้าของที่ดินมีอำนาจขับไล่ได้แม้เคยยินยอมให้ปลูกสร้าง
ที่ดินพิพาทเดิมเป็นกรรมสิทธิ์ของ ส.บุตรชายโจทก์ต่อมาส. ขายที่ดินพิพาทให้แก่น้องชาย ส.แล้วน้องชายส. ขายให้โจทก์ จำเลยและบุตรสาวโจทก์เป็นสามีภรรยากัน ก่อนที่จำเลยและบุตรสาวโจทก์จะแต่งงานกัน จำเลยได้ออกเงินปลูกเรือนหอในที่ดินพิพาทซึ่ง ขณะนั้นเป็นกรรมสิทธิ์ของ ส.โดยบุตรสาวโจทก์เป็นผู้ขออนุญาตส. และโจทก์ยินยอมอนุญาตให้ จำเลยปลูกเรือนหอได้ ต่อมาจำเลยกับน้องภรรยาจำเลยเกิดทะเลากัน ภรรยาจำเลย โจทก์และญาติโจทก์ที่อยู่อาศัยในเรือนหอพากันออกไปจากเรือนหอ แล้วโจทก์ได้บอกกล่าวให้จำเลยรื้อถอนเรือนหอออกไปจากที่ดินโจทก์ ดังนี้ เมื่อโจทก์เป็นเจ้าของที่พิพาทไม่มีความประสงค์จะให้เรือนหอของจำเลยปลูกอยู่ในที่ดินของโจทก์ต่อไป ก็ย่อมมีอำนาจขับไล่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336
แม้โจทก์จะเคยให้ความยินยอมร่วมกับ ส. อนุญาตให้จำเลยปลูกเรือนหอลงในที่ดิน ก็ไม่มีผลผูกพันโจทก์และไม่ทำให้โจทก์เสียสิทธิในฐานะเจ้าของที่ดินในภายหลัง
ส่วนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516 ที่เกี่ยวกับเรือนหอนั้น เป็นบทบัญยัติพิเศษยกเว้นกฎหมายลักษณะทรัพย์ ไม่ให้ถือว่าเรือนหกที่ชายปลูกลงในที่ดินของฝ่ายหญิงตกเป็นส่วนควบของที่ดินและตกเป็นกรรมสิทธิ์ของฝ่ายหญิงผู้เป็นเจ้าของที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 107 โดยให้ถือว่าเรือนหอนั้นเป็นกรรมสิทธิ์และสินเดิมของชายและเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับการแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยา มิใช่เป็นบทบัญญัติตัดทอนอำนาจกรรมสิทธิ์ของโจทก์ผู้เป็นเจ้าของที่ดินให้ลดน้อยลงแต่อย่างใด
แม้โจทก์จะเคยให้ความยินยอมร่วมกับ ส. อนุญาตให้จำเลยปลูกเรือนหอลงในที่ดิน ก็ไม่มีผลผูกพันโจทก์และไม่ทำให้โจทก์เสียสิทธิในฐานะเจ้าของที่ดินในภายหลัง
ส่วนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516 ที่เกี่ยวกับเรือนหอนั้น เป็นบทบัญยัติพิเศษยกเว้นกฎหมายลักษณะทรัพย์ ไม่ให้ถือว่าเรือนหกที่ชายปลูกลงในที่ดินของฝ่ายหญิงตกเป็นส่วนควบของที่ดินและตกเป็นกรรมสิทธิ์ของฝ่ายหญิงผู้เป็นเจ้าของที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 107 โดยให้ถือว่าเรือนหอนั้นเป็นกรรมสิทธิ์และสินเดิมของชายและเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับการแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยา มิใช่เป็นบทบัญญัติตัดทอนอำนาจกรรมสิทธิ์ของโจทก์ผู้เป็นเจ้าของที่ดินให้ลดน้อยลงแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 303/2488
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยาโดยไม่ได้จดทะเบียน และสิทธิในการเลี้ยงดูบุตร
แต่งงานกันตามประเพณีโดยมิได้จดทะเบียน แต่อยู่กินด้วยกันและระคนทรัพย์กันนั้น ทรัพย์ใดที่หามาได้ด้วยทรัพย์หรือแรงงานของฝ่ายใดก็ต้องถือว่าเจตนาเป็นเจ้าของร่วมกัน เมื่อไม่ปรากฏอย่างอื่นก็ต้องถือว่าเป็นเจ้าของร่วมกันคนละครึ่งแม้จะแยกกันอยู่ภายหลังโดยมีการเยี่ยมเยียนกันอยู่ก็ไม่พอถือว่าจะไม่ร่วมทุกข์ร่วมสุขและไม่ระคนทรัพย์ต่อกัน
บิดามารดาแยกกันอยู่ มีบุตรเป็นทารกยังไม่เดียงสาและบิดามีภรรยาใหม่ ควรให้มารดาเป็นผู้ปกครอง
มารดาซึ่งขอเป็นผู้ปกครองบุตรนั้น แม้จะไม่มีทรัพย์พอเลี้ยงดูหรือมีพอก็ตามเมื่อบิดามีฐานะจะออกค่าเลี้ยงดูได้ บิดาก็ต้องออกค่าเลี้ยงดู
จำเลยฎีกาเฉพาะทุนทรัพย์ที่แพ้ชั้นศาลอุทธรณ์ก็ต้องเสียค่าขึ้นศาลในทุนทรัพย์ที่แพ้นั้น
โจทก์ฟ้องแบ่งที่ดินกึ่งหนึ่งเป็นเงิน 1,000 บาท ศาลจะพิพากษาว่าโจทก์จำเลยมีส่วนคนละครึ่งไม่ได้ จะต้องพิพากษาให้แบ่งกันด้วย แต่ต้องไม่เกิน 1,000 บาทเท่าที่โจทก์ขอ
บิดามารดาแยกกันอยู่ มีบุตรเป็นทารกยังไม่เดียงสาและบิดามีภรรยาใหม่ ควรให้มารดาเป็นผู้ปกครอง
มารดาซึ่งขอเป็นผู้ปกครองบุตรนั้น แม้จะไม่มีทรัพย์พอเลี้ยงดูหรือมีพอก็ตามเมื่อบิดามีฐานะจะออกค่าเลี้ยงดูได้ บิดาก็ต้องออกค่าเลี้ยงดู
จำเลยฎีกาเฉพาะทุนทรัพย์ที่แพ้ชั้นศาลอุทธรณ์ก็ต้องเสียค่าขึ้นศาลในทุนทรัพย์ที่แพ้นั้น
โจทก์ฟ้องแบ่งที่ดินกึ่งหนึ่งเป็นเงิน 1,000 บาท ศาลจะพิพากษาว่าโจทก์จำเลยมีส่วนคนละครึ่งไม่ได้ จะต้องพิพากษาให้แบ่งกันด้วย แต่ต้องไม่เกิน 1,000 บาทเท่าที่โจทก์ขอ