คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ม. 19 วรรคหนึ่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 19 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 287-295/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงสภาพการจ้างมีผลผูกพันลูกจ้างที่เข้าทำงานภายหลัง แม้ไม่ได้ลงนามในข้อเรียกร้อง นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยตามอัตราที่ตกลง
แม้ว่า พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 19 วรรคหนึ่ง จะบัญญัติว่า "ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลผูกพันนายจ้างและลูกจ้าง ซึ่งลงลายมือชื่อในข้อเรียกร้องนั้น ตลอดจนลูกจ้างซึ่งมีส่วนในการเลือกตั้งผู้แทนเป็นผู้เข้าร่วมในการเจรจาทุกคน" แต่การที่นายจ้างให้สิทธิและประโยชน์แก่ลูกจ้างตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างย่อมแสดงอยู่ในตัวว่าสิทธิและประโยชน์นั้น ๆ เป็นสิทธิและประโยชน์อันสมควรและเป็นธรรมที่ลูกจ้างในกิจการนั้นพึงได้รับโดยเสมอกัน ดังนั้น ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างจึงต้องมีผลบังคับใช้ไปถึงลูกจ้างที่เข้าทำงานภายหลังซึ่งไม่มีโอกาสลงลายมือชื่อในข้อเรียกร้อง หรือมีส่วนในการเลือกผู้แทนเข้าร่วมในการเจรจาข้อเรียกร้องด้วย
จำเลยประกาศหาผู้สมัครใจลาออกจากงานเพื่อลดจำนวนลูกจ้าง โดยตกลงจะจ่ายค่าชดเชยให้มากกว่าอัตราตามที่กฎหมายกำหนดตามความในข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง เมื่อโจทก์ทั้งเก้าลาออกตามความประสงค์ของจำเลย โจทก์ทั้งเก้าจึงมีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามอัตราที่ระบุไว้ในข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าวตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 19 วรรคหนึ่ง เมื่อปรากฏว่าจำเลยได้จ่ายค่าชดเชยให้กับโจทก์ทั้งเก้าไปบางส่วนเป็นจำนวนน้อยกว่าที่ระบุไว้ในข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ทั้งเก้าในส่วนที่ยังขาดเป็นจำนวนตามอัตราที่ระบุในข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างนั้นด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 287-295/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าชดเชยกรณีสมัครใจลาออกตามข้อตกลงสภาพการจ้าง แม้ไม่ได้ลงชื่อก็มีสิทธิได้รับ
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 19 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลผูกพันนายจ้างและลูกจ้าง ซึ่งลงลายมือชื่อในข้อเรียกร้องนั้นตลอดจนลูกจ้างซึ่งมีส่วนในการเลือกตั้งผู้แทนเป็นผู้เข้าร่วมในการเจรจาทุกคน" บทบัญญัติดังกล่าวแม้จะให้ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลผูกพันนายจ้างและลูกจ้างซึ่งลงลายมือชื่อในข้อเรียกร้อง หรือลูกจ้างซึ่งมีส่วนในการเลือกผู้แทนเข้าร่วมในการเจรจาข้อเรียกร้อง แต่การที่นายจ้างให้สิทธิและประโยชน์แก่ลูกจ้างตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างย่อมแสดงอยู่ในตัวว่าสิทธิและประโยชน์นั้นๆ เป็นสิทธิและประโยชน์อันสมควรและเป็นธรรมที่ลูกจ้างในกิจกรรมนั้นพึงได้รับโดยเสนอกันจึงต้องรวมกันไปถึงลูกจ้างที่เข้าทำงานภายหลังข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับซึ่งไม่มีโอกาสลงลายมือชื่อในข้อเรียกร้อง หรือมีส่วนในการเลือกผู้แทนเข้าร่วมในการเจรจาข้อเรียกร้องด้วย เมื่อจำเลยกับสหภาพแรงงาน ค. ได้เจรจาตกลงจัดทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ระบุให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างในอัตราที่มากกว่าลูกจ้างจะได้รับถ้าหากถูกเลิกจ้างตามที่บัญญัติไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะนั้น และให้ใช้ในกรณีที่จำเลยประกาศหาผู้สมัครใจลาออกจากงานซึ่งหมายความว่ามิได้ใช้สำหรับกรณีจำเลยเลิกจ้างในกรณีปกติ และมิได้ให้สิทธิแก่ลูกจ้างที่ประสงค์จะลาออกจากงานเอง แต่เป็นการลาออกจากงานตามความประสงค์ของจำเลยที่จะลดจำนวนลูกจ้างจึงได้ประกาศหาผู้สมัครใจลาออกจากงาน ดังนั้น เมื่อจำเลยประสงค์จะยุบเลิกแผนกผลิตผ้าอนามัยแถบกาว ซึ่งโจทก์ทั้งเก้าทำงานอยู่จึงได้ทำหนังสือยื่นข้อเสนอขอความร่วมมือให้โจทก์ทั้งเก้าลาออกอันเป็นการแสดงความประสงค์ของจำเลยเพื่อจะลดจำนวนลูกจ้างเพราะต้องยุบเลิกแผนกผลิตผ้าอนามัยแถบกาว ซึ่งการจะลาออกหรือไม่ย่อมแล้วแต่ความสมัครใจของโจทก์ทั้งเก้า จึงเป็นกรณีที่จำเลยประกาศหาผู้สมัครใจลาออกจากงานตามความในข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างแล้ว เมื่อโจทก์ทั้งเก้าลาออกตามความประสงค์ของจำเลย โจทก์ทั้งเก้าจึงมีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามอัตราที่ระบุไว้ในข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าว ตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 19 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1615/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง แม้มิลงลายมือชื่อในข้อเรียกร้อง แต่ลงลายมือชื่อสนับสนุนภายหลัง
แม้โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างจะมิได้ลงลายมือชื่อในข้อเรียกร้อง และเพิ่งมาลงลายมือชื่อสนับสนุนข้อเรียกร้องดังกล่าวในภายหลัง ก่อนที่จำเลยผู้เป็นนายจ้างจะยื่นข้อเรียกร้องต่อลูกจ้างซึ่งต่อมาก็ได้มีการเจรจาและตกลงกันได้ พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มิได้ห้ามลูกจ้างลงลายมือชื่อในข้อเรียกร้องเพิ่มเติม จึงถือว่าโจทก์เป็นผู้ลงลายมือชื่อในข้อเรียกร้อง ดังนี้ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างซึ่งเกิดจากการยื่นข้อเรียกร้องย่อมมีผลผูกพันโจทก์ตามมาตรา 19 วรรคหนึ่ง
นายจ้างและลูกจ้างต่างฝ่ายต่างก็ยื่นข้อเรียกร้องให้เปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง แต่ละฝ่ายอาจจะได้สิทธิเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ตามที่เจรจาต่อรองกัน ผู้แทนลูกจ้างในคดีนี้ได้รับเลือกตั้งให้เข้าร่วมในการเจรจาต่อรองเกี่ยวกับการยื่นข้อเรียกร้องและได้ร่วมเจรจากับฝ่ายนายจ้างจนตกลงกันได้ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างซึ่งทั้งสองฝ่ายลงลายมือชื่อไว้ ข้อตกลงดังกล่าวจึงมีผลผูกพันโจทก์ตาม พ.ร.บ. ดังกล่าว มาตรา 19 วรรคหนึ่ง
of 2