พบผลลัพธ์ทั้งหมด 890 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1106/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง และการลาออกโดยสมัครใจที่ไม่เข้าข่ายการเลิกจ้าง
สัญญาจ้างเดิมไม่มีข้อตกลงที่นายจ้างจะปรับลูกจ้างผู้ลาออกระหว่างปีการศึกษาและไม่มีข้อกำหนดให้ลูกจ้างต้องมีผู้ค้ำประกัน การที่นายจ้างเพิ่มเงื่อนไขดังกล่าวขึ้นใหม่และเป็นประโยชน์แก่นายจ้าง ฝ่ายเดียว อันเกี่ยวกับการจ้างหรือการทำงานโดยแท้ จึงเป็น การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง นายจ้างทำบันทึกถึงลูกจ้างสอบถามว่าจะทำงานต่อไปหรือ จะลาออก พร้อมทั้งกำหนดเวลาให้ลูกจ้างตอบ หากไม่ตอบให้ถือว่า ลูกจ้างลาออกเช่นนี้ หากลูกจ้างไม่ตอบบันทึกนายจ้างจะถือเอาเองว่า ลูกจ้างลาออกหาได้ไม่ การที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไป ย่อมเป็นการเลิกจ้าง ลูกจ้างทำเครื่องหมายลงในหัวข้อขอลาออกและมีหนังสือชี้แจงเหตุผล ว่าไม่สามารถจัดหาผู้ค้ำประกันได้ ถือได้ว่าลูกจ้างลาออกโดยสมัครใจ ไม่มีสิทธิเรียกค่าชดเชยจากนายจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2281/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาไม่แน่นอน ค่าชดเชยยังคงต้องจ่าย
สัญญาจ้างที่มีความว่า 'เริ่ม 1 เมษายน 2525 เป็นเวลา 1 ปี หรือมากกว่า ตามที่ทั้งสองฝ่ายจะได้ตกลงกันเมื่อสิ้นสุดการจ้างงานปีแรก' นั้น มิใช่การจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาไว้แน่นอนเพราะจะจ้างอย่างน้อย 1 ปีแล้วไม่จ้างต่อไปอีกก็ได้ หรือเมื่อครบ 1 ปีแล้วอาจตกลงจ้างกันต่อไปเกินกว่า 1 ปีก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1451/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีแรงงาน: การพิจารณาช่วงเวลาบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิเรียกร้องค่าชดเชย
ฟ้องโจทก์ในชั้นแรกขอให้ศาลบังคับจำเลยจ่ายค่าชดเชยค่าเสียหาย และเงินโบนัส พร้อมทั้งดอกเบี้ย ต่อมาโจทก์แถลงไม่ติดใจเรียกค่าเสียหาย และเงินโบนัสกับดอกเบี้ย คำขอท้ายฟ้องของโจทก์จึงเหลือเพียงข้อเดียว คือเรียกให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยเพราะเลิกจ้างโจทก์อันเป็นการอาศัยสิทธิ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน หาใช่เป็นการ ฟ้อง ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานฯ ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1106-1107/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นสิทธิส่วนบุคคลของลูกจ้าง ไม่ใช่สินสมรส สามีไม่จำเป็นต้องยินยอม
สิทธิเรียกร้องสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและสิทธิเรียกร้องค่าชดเชยเกิดขึ้นโดยผลของกฎหมาย การเรียกร้องหรือการได้มาซึ่งสิทธิทั้งสองประเภทจึงเป็นสิทธิของลูกจ้างสิทธิดังกล่าวมิใช่สินสมรสฟ้องของโจทก์จึงมิใช่ฟ้องเพื่อจัดการสินสมรสหรือฟ้องเกี่ยวแก่สินสมรสโจทก์มีอำนาจฟ้องตามลำพังตน ไม่จำเป็นต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากสามี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1004/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างพนักงานต้องมีเหตุร้ายแรงและตักเตือนก่อน หากไม่มีเหตุร้ายแรง นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์เป็นพนักงานธนาคารจำเลย ทำงานธุรการ ไม่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการเงิน การที่โจทก์ฉวยโอกาสละทิ้งหน้าที่เป็นครั้งคราว และการที่มีเจ้าหนี้หลายรายมาทวงหนี้จำเลยที่สำนักงาน ยังถือไม่ได้ว่าพฤติการณ์ของโจทก์เป็นการทำให้จำเลยเสียหายอย่างร้ายแรง เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยมิได้ตักเตือนเป็นหนังสือก่อน จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 573/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างต่อเนื่อง-ต่ออายุ ไม่ใช่สัญญาใหม่: ลูกจ้างมีสิทธิค่าชดเชย แม้สหกรณ์อ้างไม่แสวงหากำไร
เมื่อโจทก์ทำงานถึงอายุ 60 ปีแล้วมีการต่ออายุการทำงานออกไปคราวละ 1 ปี จนกระทั่งโจทก์มีอายุครบ65 ปีนั้น การต่ออายุการทำงานแต่ละคราวเป็นเพียงการขยายกำหนดเวลาจ้างเดิมออกไปไม่ใช่ตกลงทำสัญญาจ้างกันใหม่ จึงเป็นสัญญาจ้างที่มิได้กำหนด ระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนอยู่เช่นเดิม แม้จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์เมื่อครบกำหนดระยะเวลาที่ต่ออายุการทำงาน จำเลยก็ต้องจ่ายค่าชดเชย
วัตถุประสงค์ตามข้อบังคับสหกรณ์จำเลยกำหนดการจัดสรรกำไรสุทธิ ของสหกรณ์ การจัดสรรกำไรเป็นโบนัสแก่เจ้าหน้าที่สหกรณ์จึงแสดงว่าสหกรณ์จำเลยดำเนินการเพื่อกำไรในทางเศรษฐกิจ
การจ่ายค่าชดเชยเป็นหน้าที่ของนายจ้างตาม กฎหมายคุ้มครองแรงงานการไม่ปฏิบัติตามเป็นความผิดอาญา ถือว่าเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงไม่อาจระงับไปด้วยเหตุที่ลูกจ้างถอนคำร้องเรียนต่อพนักงานตรวจแรงงานเพื่อเตือนจำเลยให้จ่ายค่าชดเชย
จำเลยเสียค่าแต่งทนายความ ซึ่งจำเลยไม่ต้องเสียตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา27 ศาลฎีกาคืนค่าธรรมเนียมนี้ให้จำเลย
วัตถุประสงค์ตามข้อบังคับสหกรณ์จำเลยกำหนดการจัดสรรกำไรสุทธิ ของสหกรณ์ การจัดสรรกำไรเป็นโบนัสแก่เจ้าหน้าที่สหกรณ์จึงแสดงว่าสหกรณ์จำเลยดำเนินการเพื่อกำไรในทางเศรษฐกิจ
การจ่ายค่าชดเชยเป็นหน้าที่ของนายจ้างตาม กฎหมายคุ้มครองแรงงานการไม่ปฏิบัติตามเป็นความผิดอาญา ถือว่าเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงไม่อาจระงับไปด้วยเหตุที่ลูกจ้างถอนคำร้องเรียนต่อพนักงานตรวจแรงงานเพื่อเตือนจำเลยให้จ่ายค่าชดเชย
จำเลยเสียค่าแต่งทนายความ ซึ่งจำเลยไม่ต้องเสียตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา27 ศาลฎีกาคืนค่าธรรมเนียมนี้ให้จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 186-190/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าชดเชยกรณีเกษียณอายุ: เงินบำเหน็จรวมค่าชดเชยแล้ว ไม่ต้องจ่ายซ้ำ
ระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายเงินเนื่องจากปลดเกษียณว่า เงินอันพึงจะได้รับจะต้องถูกหักด้วยเงินประเภทต่างๆที่จำเลยได้จ่ายไปตามกฎหมาย พระราชกฤษฎีกา หรือกฎข้อบังคับของรัฐบาล ว่าด้วยประโยชน์เนื่องจากทุพพลภาพหรือการออกจากงานเพราะเกษียณอายุหรือมรณกรรม เมื่อค่าชดเชยตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานเป็นเงินที่นายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง และการเกษียณอายุก็เป็นการเลิกจ้าง ดังนั้น การที่ลูกจ้างเกษียณอายุและนายจ้างได้จ่ายเงินตามระเบียบดังกล่าวให้แก่ลูกจ้างมีจำนวนสูงกว่าค่าชดเชยแล้ว เงินที่ลูกจ้างได้รับไปนั้นจึงมีค่าชดเชยรวมอยู่ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3884/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างที่ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับการทำงานโดยมีขั้นตอนการตักเตือนครบถ้วน ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
เดิมจำเลยได้มีประกาศเรื่องพนักงานหลับในเวลาปฏิบัติ หน้าที่ว่าต้องพิจารณาโทษใช้เป็นระเบียบปฏิบัติอยู่แล้วต่อมาจำเลยออกระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานห้ามพนักงานหลับนอนในขณะปฏิบัติหน้าที่โดยกำหนดโทษว่าตักเตือนก่อน 3 ครั้ง ครั้งที่ 4 ปลดออกจากงานโดยไม่จ่ายค่าชดเชย ดังนี้ แม้พนักงานจำเลยจะนอนหลับระหว่างปฏิบัติหน้าที่ก่อนออกระเบียบ 2 ครั้ง และภายหลังออกระเบียบ 2 ครั้ง ซึ่งเป็นการกระทำความผิดต่อเนื่องกันและจำเลยได้ตักเตือนตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในข้อบังคับแล้ว จำเลยจึงชอบที่จะเลิกจ้างพนักงานผู้นั้นได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3831-3832/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แม้มีระเบียบหักเงินบำเหน็จเป็นค่าชดเชย แต่หากนายจ้างไม่ได้ใช้สิทธิหักจริง ก็ต้องจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้าง
แม้ระเบียบข้อบังคับของนายจ้างจะกำหนดให้นายจ้างมีสิทธิที่จะหักเงินบำเหน็จลงตามจำนวนค่าชดเชยที่ต้องจ่ายแก่ลูกจ้าง แต่ไม่ปรากฏว่านายจ้างใช้สิทธิดังกล่าว คงปรากฏแต่เพียงว่านายจ้างจ่ายเงินให้ลูกจ้างในลักษณะเป็นเงินบำเหน็จ ถือไม่ได้ว่านายจ้างได้จ่ายเงินค่าชดเชยรวมไปด้วยแล้ว นายจ้างจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3617-3618/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้าง: อำนาจเลิกจ้างแม้การสอบสวนไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ หากพิสูจน์ได้ว่าลูกจ้างกระทำผิดวินัย
เมื่อโจทก์อ้างว่าการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์นั้นจำเลยมิได้ทำการสอบสวนโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่ไม่ได้ความว่ามีกฎหมายและข้อบังคับตามที่โจทก์อ้างโจทก์จะถือเอาความควรหรือไม่ควรโดยให้อนุโลมเอากฎหมายหรือข้อบังคับอื่นซึ่งมิได้ใช้บังคับแก่กรณีของโจทก์มาใช้หาได้ไม่ส่วนการสอบสวนทางวินัยและการลงโทษทางวินัยก็มีหลักเกณฑ์และวิธีการแตกต่างไปจากการสอบสวนและลงโทษในคดีอาญา ดังนั้นเมื่อสอบสวนได้ความว่าโจทก์กระทำผิดวินัย แม้จะมิใช่ด้วยมูลโดยตรงที่ตั้งกรรมการสอบสวนก็ตาม จำเลยก็มีอำนาจลงโทษเลิกจ้างโจทก์ได้โดยมิต้องจ่ายค่าชดเชย