คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 890 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4625-4701/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกกล่าวเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและสิทธิในสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า รวมถึงการจ่ายเงินบำเหน็จตามข้อบังคับ
เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2541 จำเลยมีหนังสือบอกกล่าวเลิกจ้าง โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างและมีกำหนดจ่ายค่าจ้างกันก่อนวันสิ้นเดือนของทุกเดือนโดยให้มีผลเป็นการเลิกสัญญาจ้างกันวันที่ 1 สิงหาคม2541 แต่โจทก์ทราบการบอกกล่าวเลิกจ้างในวันที่ 1 กรกฎาคม 2541ต้องถือว่าจำเลยบอกกล่าวเลิกจ้างโจทก์ในวันที่โจทก์ได้ทราบการบอกกล่าวเลิกจ้าง คือวันที่ 1 กรกฎาคม 2541 และเป็นผลให้เลิกสัญญาจ้างกันเมื่อถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวถัดไปข้างหน้า คือในวันที่ 30 สิงหาคม 2541 การบอกกล่าวเลิกจ้างของจำเลยที่ประสงค์ให้เป็นผลเลิกสัญญาจ้างกันในวันที่ 1 สิงหาคม 2541จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582โจทก์จึงมีสิทธิได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้าง 61 วัน
โจทก์บรรยายฟ้องและรับตามคำแก้อุทธรณ์ว่า โจทก์ได้รับค่าจ้างเดือนสุดท้ายคือเดือนกรกฎาคม 2541 และโจทก์ได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าในเดือนดังกล่าวไปแล้ว โจทก์จึงยังคงมีสิทธิได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเฉพาะเดือนสิงหาคม 2541 จำนวน30 วัน การที่ศาลแรงงานพิพากษาให้โจทก์ยังมีสิทธิได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้างคนละ 61 วัน โดยนำสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าในเดือนกรกฎาคม 2541 มารวมด้วยเป็นการพิพากษาให้เกินสิทธิที่โจทก์แต่ละคนมีสิทธิได้รับและเกินคำขอท้ายฟ้องจึงไม่เป็นธรรมแก่จำเลยไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 52
โจทก์เป็นลูกจ้างโรงงานน้ำตาล ส. ซึ่งเป็นกิจการในการดำเนินการควบคุมดูแลของจำเลยซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ โดยไม่มีกำหนดระยะเวลาในการจ้าง หลังวันที่ 30 พฤษภาคม 2526 จะมีสิทธิได้รับค่าชดเชยหรือค่าชดเชยกับเงินบำเหน็จที่ต้องจ่ายเพิ่มในกรณีค่าชดเชยต่ำกว่าเงินบำเหน็จจะมีจำนวนเท่าใด ย่อมเป็นไปตามข้อบังคับโรงงานน้ำตาล กรมโรงงานอุตสาหกรรม ว่าด้วยกองทุนบำเหน็จ พ.ศ. 2527ข้อ 12 ส่วนมติคณะรัฐมนตรีที่อนุมัติให้กระทรวงการคลังพิจารณาสนับสนุนค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่น เงินเดือน ค่าชดเชย และเงินบำเหน็จต่อไป กับอนุมัติให้นำเงินที่ได้จากการขายโรงงานน้ำตาลไปชำระหนี้ธนาคารกรุงไทย จำกัด และให้นำเงินส่วนที่เหลือจากการชำระหนี้ส่งคณะกรรมการชำระบัญชีฯ เพื่อดำเนินการจ่ายเงินบำเหน็จและค่าชดเชยแก่พนักงานพร้อมกับดำเนินการในส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการชำระบัญชีต่อไปนั้น เป็นเพียงการอนุมัติให้กระทรวงการคลังสนับสนุนค่าใช้จ่ายต่าง ๆ กับให้นำเงินที่ได้จากการขายโรงงานน้ำตาลซึ่งเหลือจากการชำระหนี้ไปจ่ายเป็นค่าชดเชยและเงินบำเหน็จแก่พนักงานที่มีสิทธิได้รับตามข้อบังคับโรงงานน้ำตาล กรมโรงงานอุตสาหกรรมว่าด้วยกองทุนบำเหน็จ พ.ศ. 2527 ข้อ 12 เท่านั้น หาได้อนุมัติให้พนักงานมีสิทธิได้รับค่าชดเชยและเงินบำเหน็จเพิ่มขึ้นหรือผิดแผกไปจากที่กำหนดไว้ตามข้อบังคับดังกล่าว ข้อ 12 ไม่ ทั้งจำเลยได้จ่ายค่าชดเชยและเงินบำเหน็จให้โจทก์โดยคำนวณบำเหน็จและค่าชดเชยถูกต้องครบถ้วนตามข้อบังคับโรงงานน้ำตาล กรมโรงงานอุตสาหกรรม ว่าด้วยกองทุนบำเหน็จ พ.ศ. 2527ข้อ 12 แล้ว โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จตามมติคณะรัฐมนตรีเป็นอีกส่วนหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4625-4701/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกกล่าวล่วงหน้า, ค่าชดเชย, เงินบำเหน็จ, การจ่ายเงินบำเหน็จตามข้อบังคับและมติคณะรัฐมนตรี
เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2541 จำเลยมีหนังสือบอกกล่าวเลิกจ้างโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างและมีกำหนดจ่ายค่าจ้างกันก่อนวันสิ้นเดือนของทุกเดือน โดยให้มีผลเป็นการเลิกสัญญาจ้างกันวันที่ 1 สิงหาคม 2541 แต่โจทก์ทราบการบอกกล่าวเลิกจ้างในวันที่ 1 กรกฎาคม2541 ต้องถือว่าจำเลยบอกกล่าวเลิกจ้างโจทก์ในวันที่โจทก์ได้ทราบการบอกกล่าวเลิกจ้างคือวันที่ 1 กรกฎาคม 2541 และเป็นผลให้เลิกสัญญาจ้างกันเมื่อถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวถัดไปข้างหน้าคือในวันที่ 30 สิงหาคม 2541 ดังนี้การบอกกล่าวเลิกจ้างของจำเลยที่ประสงค์ให้เป็นผลเลิกสัญญาจ้างกันในวันที่ 1 สิงหาคม 2541 จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 โจทก์จึงมีสิทธิได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้าง 61 วัน
โจทก์บรรยายฟ้องและรับตามคำแก้อุทธรณ์ว่า โจทก์ได้รับค่าจ้างเดือนสุดท้ายคือเดือนกรกฎาคม 2541 และโจทก์ได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าในเดือนดังกล่าวไปแล้ว โจทก์จึงยังคงมีสิทธิได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเฉพาะเดือนสิงหาคม 2541 จำนวน 30 วัน เท่านั้น การที่ศาลแรงงานพิพากษาให้โจทก์ยังมีสิทธิได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้างคนละ 61 วัน โดยนำสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าในเดือนกรกฎาคม 2541 มารวมด้วย เป็นการพิพากษาให้เกินสิทธิที่โจทก์แต่ละคนมีสิทธิได้รับและเกินคำขอท้ายฟ้อง จึงไม่เป็นธรรมแก่จำเลยไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 52
โจทก์เป็นลูกจ้างโรงงานน้ำตาล ส. ซึ่งเป็นกิจการในการดำเนินการควบคุมดูแลของจำเลยซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ โดยไม่มีกำหนดระยะเวลาในการจ้างหลังวันที่ 30พฤษภาคม 2526 จะมีสิทธิได้รับค่าชดเชย หรือค่าชดเชยกับเงินบำเหน็จที่ต้องจ่ายเพิ่มในกรณีค่าชดเชยต่ำกว่าเงินบำเหน็จจะมีจำนวนเท่าใด ย่อมเป็นไปตามข้อบังคับโรงงานน้ำตาล กรมโรงงานอุตสาหกรรม ว่าด้วยกองทุนบำเหน็จ พ.ศ. 2527 ข้อ 12 ส่วนมติคณะรัฐมนตรีที่อนุมัติให้กระทรวงการคลังพิจารณาสนับสนุนค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่นเงินเดือน ค่าชดเชย และเงินบำเหน็จต่อไป กับอนุมัติให้นำเงินที่ได้จากการขายโรงงานน้ำตาลไปชำระหนี้ธนาคารกรุงไทย จำกัด และให้นำเงินส่วนที่เหลือจากการชำระหนี้ส่งคณะกรรมการชำระบัญชีฯ เพื่อดำเนินการจ่ายเงินบำเหน็จและค่าชดเชยแก่พนักงานพร้อมกับดำเนินการในส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการชำระบัญชีต่อไปนั้น เป็นเพียงการอนุมัติให้กระทรวงการคลังสนับสนุนค่าใช้จ่ายต่าง ๆ กับให้นำเงินที่ได้จากการขายโรงงานน้ำตาลซึ่งเหลือจากการชำระหนี้ไปจ่ายเป็นค่าชดเชยและเงินบำเหน็จแก่พนักงานที่มีสิทธิได้รับตามข้อบังคับโรงงานน้ำตาล กรมโรงงานอุตสาหกรรม ว่าด้วยกองทุนบำเหน็จ พ.ศ. 2527 ข้อ 12 เท่านั้น หาได้อนุมัติให้พนักงานมีสิทธิได้รับค่าชดเชยและเงินบำเหน็จเพิ่มขึ้นหรือผิดแผกไปจากที่กำหนดไว้ตามข้อบังคับดังกล่าว ข้อ 12 ไม่ ทั้งจำเลยได้จ่ายค่าชดเชยและเงินบำเหน็จให้โจทก์โดยคำนวณบำเหน็จและค่าชดเชยถูกต้องครบถ้วนตามข้อบังคับโรงงานน้ำตาล กรมโรงงานอุตสาหกรรม ว่าด้วยกองทุนบำเหน็จพ.ศ. 2527 ข้อ 12 แล้ว โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จตามมติคณะรัฐมนตรีเป็นอีกส่วนหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3780/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลดตำแหน่งงานและการเลิกจ้าง การลดตำแหน่งโดยยังจ่ายเงินเดือนและให้ทำงานต่อ ไม่ถือเป็นการเลิกจ้าง
จำเลยมีคำสั่งลดตำแหน่งของโจทก์จากหัวหน้าพนักงานขายระดับ 6 เป็นพนักงานขาย ระดับ 5 แต่จำเลยยังให้โจทก์ทำงานกับจำเลยต่อไปและโจทก์ก็ได้รับเงินเดือนเท่าเดิม การกระทำของจำเลยมิใช่เป็นการกระทำใดที่จำเลยผู้เป็นนายจ้างไม่ให้โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างทำงานต่อไปโดยจำเลยไม่จ่ายค่าจ้างให้อันถือเป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคสอง
จำเลยเสนอให้โจทก์ลาออกจากงานโดยจำเลยจะจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์เท่ากับเงินเดือนของโจทก์จำนวน 3 เดือน ให้โจทก์พิจารณาว่าจะลาออกหรือไม่เท่านั้น ข้อเสนอดังกล่าวมิใช่เป็นการบอกเลิกจ้างโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4531/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ้างงานหลังเกษียณและการคุ้มครองค่าชดเชย: งานปกติ vs. งานครั้งคราว และโมฆะของข้อตกลงสละสิทธิ
ข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานรับฟังมานอกสำนวน ย่อมไม่มีผลให้ศาลฎีกาจำต้องถือตาม
เดิมโจทก์เคยทำงานเป็นลูกจ้างของจำเลย หลังจากโจทก์เกษียณอายุการทำงานจำเลยได้ทำสัญญาจ้างให้โจทก์ทำงานอีก 1 ปี ในหน้าที่เดิม ดังนั้น งานที่โจทก์ทำก่อนเกษียณก็ดี หลังเกษียณก็ดีเป็นงานในลักษณะเดียวกันในธุรกิจเดิมของจำเลย เป็นงานปกติของธุรกิจของจำเลย จึงมิใช่งานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราวที่มีกำหนดการสิ้นสุดหรือความสำเร็จของงาน อันจะเข้าข้อยกเว้นตามบทบัญญัติของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคสี่ โจทก์จึงไม่ใช่ลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคสาม และที่โจทก์กับจำเลยตกลงทำหนังสือสัญญาการว่าจ้าง โดยกำหนดว่า ผู้รับจ้างขอให้สัญญาว่า เมื่อครบกำหนดระยะเวลาตามที่ตกลงกันไว้และ/หรือ ผู้รับจ้างถูกเลิกสัญญาผู้รับจ้างไม่ติดใจเรียกร้องเงินค่าชดเชยจากบริษัททั้งสิ้นนั้น เป็นข้อตกลงที่มีวัตถุประสงค์ขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 อันเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ย่อมตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 ดังนั้น เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ โดยโจทก์ไม่ได้กระทำความผิด จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2011/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: การประมาทเลินเล่อทางหน้าที่ vs. ความเสียหายร้ายแรง และสิทธิค่าชดเชย
โจทก์อนุมัติให้จ่ายเงินสดแก่ลูกค้าผู้ถือบัตรเครดิตที่มาขอเบิกเงินโดยโจทก์มิได้รับประโยชน์หรือเรียกร้องเอาผลประโยชน์จากการอนุมัติจึงเป็นการอนุมัติไปตามอำนาจหน้าที่ตามที่เห็นสมควรการที่โจทก์ไม่ควบคุมดูแลผู้ใต้บังคับบัญชาของโจทก์ให้ส่งใบเบิกไปให้ส่วนบัตรเครดิตสำนักงานใหญ่ในวันรุ่งขึ้นตามระเบียบของจำเลยถือได้แต่เพียงว่าเป็นการปฎิบัติหน้าที่บกพร่องและประมาทเลินเล่อเท่านั้นหาใช่เป็นการทุจริตต่อหน้าที่อย่างใดไม่ จำนวนเงินที่โจทก์อนุมัติให้จ่ายแก่ลูกค้าผู้นำบัตรเครดิตมาขอเบิกนั้นแม้จำเลยจะเรียกเก็บจากธนาคารที่ลูกค้าผู้ถือบัตรเครดิตมาขอเบิกไม่ได้เนื่องจากล่วงเลยเวลากว่า120วันแล้วก็ตามแต่จำเลยก็ยังมีสิทธิที่จะทวงถามหรือฟ้องบังคับเอาแก่ลูกค้าผู้มาขอเบิกได้การปฎิบัติหน้าที่บกพร่องและประมาทเลินเล่อของโจทก์ดังกล่าวจึงยังไม่พอที่จะถือว่าทำให้จำเลยได้รับความเสียหายร้ายแรงและฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีที่ร้ายแรง ขณะเกิดเหตุโจทก์ทำงานตำแหน่งสมุห์บัญชีมีหน้าที่ดูแลการเงินในสาขาของจำเลยการที่โจทก์ปฎิบัติหน้าที่บกพร่องประมาทเลินเล่อย่อมทำให้จำเลยเสียหายแม้ความเสียหายดังกล่าวจะยังไม่พอที่จะถือว่าทำให้จำเลยได้รับความเสียหายร้ายแรงแต่ก็ถือได้ว่าการกระทำของโจทก์มีเหตุสมควรและเพียงพอที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ได้การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงมิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมเมื่อการเลิกจ้างโจทก์ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมแล้วจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ส่วนค่าชดเชยนั้นเมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ได้เตือนเป็นหนังสือก่อนทั้งไม่ปรากฎว่าโจทก์ได้กระทำผิดในประการอื่นอีกจำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 451/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ งานก่อสร้างปกติธุรกิจ ไม่เป็นงานโครงการเฉพาะ ต้องจ่ายค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้าง
จำเลยประกอบธุรกิจในการรับเหมาก่อสร้างเคยรับเหมาก่อสร้างท่าเรือและโรงงานต่างๆมาแล้วหลายแห่งรวมทั้งรับเหมาติดตั้งเครื่องจักรผลิตเม็ดพลาสติกให้แก่บริษัทม. อันเป็นงานพิพาทในคดีนี้ด้วยงานติดตั้งเครื่องจักรพลาสติกถือได้ว่าเป็นงานก่อสร้างอย่างหนึ่งเมื่อจำเลยเป็นผู้ประกอบกิจการรับเหมาก่อสร้างเป็นปกติธุระการที่จำเลยรับจ้างทำงานดังกล่าวให้แก่บริษัทม.จึงเป็นการรับจ้างทำงานในกิจการอันเป็นปกติธุระของจำเลยนั่นเองดังนั้นแม้จำเลยจะรับจ้างทำงานนั้นมากน้อยเพียงใดเป็นระยะเวลาเท่าใดงานนั้นก็ย่อมไม่เป็นงานโครงการเฉพาะซึ่งต้องมีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของงานที่แน่นอนตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ46วรรคสี่จำเลยจ้างโจทก์ให้ทำงานดังกล่าวไม่ว่าจะทำสัญญาจ้างมีกำหนดระยะเวลาเท่าใดเมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์ไม่มีความผิดจำเลยก็ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ46วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 114/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายค่าชดเชยกรณีเลิกจ้างในงานก่อสร้างปกติ แม้มีสัญญาจ้างระยะเวลาแน่นอน
จำเลยรับเหมางานก่อสร้างทั่วไปตามที่จะประมูลได้ต้องหมายความว่าการรับเหมางานก่อสร้างทุกชนิดเป็นงานปกติของธุรกิจหรือการค้าของจำเลยโครงการก่อสร้างท่าเรือนำลึกเกาะสีชังที่จำเลยประมูลได้เป็นงานก่อสร้างจึงเป็นงานปกติของธุรกิจหรือการค้าของจำเลย ตามสัญญาจ้างเอกสารหมายจล.1ถึงจล.9จำเลยว่าจ้างโจทก์ให้ทำงานในโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกเกาะสีชังระยะที่1ซึ่งแม้ตามสัญญาจ้างจะกำหนดวันสิ้นสุดสัญญาจ้างไว้แต่ตามสัญญาจ้างข้อ15การต่อสัญญาจ้างมีข้อความว่าในกรณีที่สัญญาสิ้นสุดตามกำหนดแต่โครงการยังไม่แล้วเสร็จจำเลยอาจพิจารณาต่อสัญญากับลูกจ้างตามความจำเป็นของงานทั้งนี้จะได้ทำการตกลงกับลูกจ้างที่ได้รับการต่อสัญญาเป็นรายๆไปสัญญาจ้างที่จำเลยว่าจ้างโจทก์ซึ่งเป็นการว่าจ้างให้ทำงานในโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกเกาะสีชังระยะที่1ทั้งโครงการและเมื่อครบกำหนดเวลาตามสัญญาจ้างหากโครงการยังไม่เสร็จก็มีการต่อสัญญากันได้อีกเช่นนี้จึงไม่ใช่เป็นการจ้างให้ทำงานในลักษณะที่เป็นครั้งคราวตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ46

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 114/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าชดเชยลูกจ้าง: งานก่อสร้างปกติ ไม่ใช่ครั้งคราว แม้มีกำหนดสัญญา และต่อสัญญาได้
จำเลยมีอาชีพรับเหมางานก่อสร้างทั่วไปเป็นปกติโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกที่จำเลยประมูลได้จึงเป็นงานปกติของธุรกิจหรือการค้าของจำเลยจำเลยจ้างโจทก์ทำงานในโครงการดังกล่าวแม้จะกำหนดวันสิ้นสุดสัญญาจ้างไว้แต่ตามสัญญาจ้างระบุว่าในกรณีที่สัญญาสิ้นสุดตามกำหนดแต่โครง>การยังไม่แล้วเสร็จจำเลยอาจพิจารณาต่อสัญญากับลูกจ้างตามความจำเป็นของงานทั้งนี้จะได้ทำการตกลงกับลูกจ้างที่ได้รับการต่อสัญญาเป็นรายๆไปจึงไม่ใช่เป็นการจ้างให้ทำงานในลักษณะที่เป็นครั้งคราวตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ46

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10260-10273/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าชดเชยกรณีเลิกจ้าง: พิจารณาจากระยะเวลาโครงการ ไม่ใช่ระยะเวลาสัญญาจ้าง และการรวมพิจารณาคดีหลายสำนวน
จำเลยที่6เป็นเพียงกิจการร่วมค้าระหว่างจำเลยที่1และที่2และจำเลยที่6ได้จดทะเบียนในฐานะเป็นผู้ประกอบการต่อกรมสรรพากรเท่านั้นจำเลยที่6จึงไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคลอันจะถูกฟ้องเป็นคดีนี้ได้ ศาลแรงงานวินิจฉัยจากพยานโจทก์ทั้งสิบสี่และจำเลยที่1และที่2แล้วฟังว่าจำเลยที่1และที่2เป็นนายจ้างของโจทก์ทั้งสิบสี่จำเลยที่1และที่2อุทธรณ์อ้างว่าการวินิจฉัยของศาลแรงงานกลางขัดแย้งกับข้อความในสัญญาจ้างที่โจทก์ทั้งสิบสี่อ้างส่งศาลเป็นการไม่ชอบเป็นอุทธรณ์ที่โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานซึ่งเป็นข้อเท็จจริงต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา54วรรคหนึ่ง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานลงวันที่16เมษายน2515ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงเรื่องการคุ้มครองแรงงาน(ฉบับที่14)ลงวันที่16สิงหาคม2536ข้อ46กำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างและในวรรคสามกำหนดเรื่องระยะเวลาการจ้างซึ่งต้องกำหนดไว้แน่นอนส่วนวรรคสี่เป็นเรื่องกำหนดประเภทของงานที่สามารถจะทำสัญญาจ้างโดยมีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนแล้วนายจ้างได้รับยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้างที่เลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลาที่ทำสัญญาจ้างไว้นั้นซึ่งมีงานอยู่3ประเภทแต่ในตอนท้ายของวรรคสี่ที่กำหนดประเภทของงานนั้นได้กำหนดไว้ด้วยว่าซึ่งงานนั้นจะต้องแล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกิน2ปีคำว่างานนั้นย่อมหมายถึงงานทั้งสามประเภทที่กำหนดไว้นั่นเองจะต้องแล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกิน2ปีกำหนดระยะเวลาไม่เกิน2ปีดังกล่าวจึงหาได้หมายถึงระยะเวลาการจ้างที่นายจ้างทำสัญญาจ้างลูกจ้างไม่หากหมายถึงระยะเวลาการจ้างก็ต้องระบุไว้ในวรรคสามซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับระยะเวลาการจ้างการที่นำระยะเวลางานมากำหนดในวรรคสี่จึงทำให้เห็นได้ว่าหมายถึงระยะเวลาของงานทั้งสามประเภทนั่นเองเมื่องานที่จำเลยที่1และที่2ต้องกระทำการก่อสร้างโรงกลั่นน้ำมันมีกำหนดระยะเวลาสามปีเกินกว่า2ปีแม้จะเป็นงานในโครงการเฉพาะหรืองานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราวจำเลยที่1และที่2ก็ไม่ได้รับยกเว้นการจ่ายค่าชดเชย คดีนี้ศาลแรงงานมีคำสั่งให้คดีทั้งสิบสี่สำนวนซึ่งมีโจทก์แต่ละคนเป็นโจทก์แต่ละสำนวนรวมการพิจารณาและพิพากษาเข้าด้วยกันเมื่อรวมการพิจารณาและพิพากษาเข้าเป็นคดีเดียวกันแล้วข้อเท็จจริงที่ได้จากการพิจารณาจึงเป็นข้อเท็จจริงในสำนวนทั้งสิบสี่สำนวนศาลย่อมนำข้อเท็จจริงนั้นมาวินิจฉัยข้อกฎหมายเป็นคุณหรือโทษแก่คู่ความทั้งหมดในสำนวนได้โจทก์ทั้งสิบสี่เป็นคู่ความในสำนวนย่อมได้รับผลจากคำวินิจฉัยด้วยแม้โจทก์บางคนจะไม่ได้เข้าเบิกความก็ตามจึงชอบที่ศาลแรงงานพิพากษาให้มีผลถึงโจทก์อื่นที่ไม่ได้เข้าเบิกความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9784/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดและเริ่มต้นนิติสัมพันธ์นายจ้าง-ลูกจ้างหลังการเลิกจ้างและกลับเข้าทำงาน สิทธิค่าจ้างและค่าเล่าเรียนบุตร
จำเลยได้มีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ซึ่งมีผลเมื่อวันที่27กรกฎาคม2538นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์และจำเลยในฐานะลูกจ้างและนายจ้างย่อมระงับสิ้นสุดลงในวันดังกล่าวต่อมาเมื่อมีการสั่งให้โจทก์กลับเข้าปฎิบัติหน้าที่ตามเดิมนิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์และจำเลยในฐานะลูกจ้างนายจ้างย่อมเริ่มต้นเมื่อโจทก์ได้รายงานตัวเข้าปฎิบัติหน้าที่ส่วนช่วงระยะเวลาระหว่างที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จนถึงก่อนวันที่โจทก์รายงานตัวเข้าทำงานใหม่นั้นโจทก์และจำเลยหาได้มีนิติสัมพันธ์ในฐานะลูกจ้างนายจ้างไม่ สิทธิในค่าจ้างก็ดีค่าเล่าเรียนบุตรก็ดีจึงไม่อาจมีได้ทั้งคำสั่งของจำเลยที่ให้โจทก์กลับเข้าปฎิบัติหน้าที่ตามเดิมก็มิได้ระบุให้โจทก์ใดๆในระหว่างเลิกจ้างนั้นโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินดังกล่าว
of 89