พบผลลัพธ์ทั้งหมด 890 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3846-3847/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งข้อตกลงทดลองงานต้องเป็นหนังสือชัดเจน การส่งมอบระเบียบข้อบังคับไม่ถือเป็นการแจ้งทดลองงาน
กรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยแจ้งด้วยวาจาพร้อมกับมอบระเบียบข้อบังคับในการทำงานและกฏข้อบังคับของพนักงานบริษัทจำเลยให้แก่โจทก์ในวันสัมภาษณ์ว่าโจทก์ต้องทดลองงาน180วันยังถือไม่ได้ว่าเป็นการ'แจ้งให้ทราบเป็นหนังสือ'ตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ46แต่เป็นเพียงการส่งมอบเอกสารให้โจทก์ไปศึกษาว่าจำเลยมีข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานเป็นประการใดเท่านั้นทั้งในวันสัมภาษณ์นั้นก็ยังมิได้มีการตกลงจ้างกันต่อมาจำเลยตัดสินใจจ้างโจทก์ตามหนังสือแจ้งให้โจทก์มาทำงานก็หามีข้อความใดแสดงให้ปรากฏว่าโจทก์จะต้องทดลองปฏิบัติงานหรือไม่จึงไม่เป็นการแจ้งให้ลูกจ้างทดลองปฏิบัติงาน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3846-3847/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งการทดลองงานต้องเป็นหนังสือชัดเจน การส่งมอบระเบียบข้อบังคับไม่ถือเป็นการแจ้งทดลองงาน
กรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยแจ้งด้วยวาจาพร้อมกับมอบระเบียบข้อบังคับในการทำงานและกฎข้อบังคับของพนักงานบริษัทจำเลย ให้แก่โจทก์ในวันสัมภาษณ์ว่าโจทก์ต้องทดลองงาน 180วัน ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการ 'แจ้งให้ทราบเป็นหนังสือ'ตามความหมายของ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 แต่เป็นเพียงการส่งมอบเอกสารให้โจทก์ไปศึกษาว่า จำเลยมีข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานเป็นประการใดเท่านั้นทั้งในวันสัมภาษณ์นั้นก็ยังมิได้มีการตกลงจ้างกัน ต่อมา จำเลย ตัดสินใจจ้างโจทก์ตามหนังสือแจ้งให้โจทก์มาทำงาน ก็หามีข้อความใด แสดงให้ปรากฏว่าโจทก์จะต้องทดลองปฏิบัติงานหรือไม่ จึงไม่เป็น การแจ้งให้ลูกจ้างทดลองปฏิบัติงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3588/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวไม่ทำให้ความสัมพันธ์นายจ้าง-ลูกจ้างสิ้นสุด สิทธิเรียกร้องค่าจ้างค้างจ่ายยังคงมี
การที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยชั่วคราวมีผลเพียงทำให้จำเลยไม่สามารถดำเนินกิจการได้ด้วยตนเองต้องให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้ดำเนินการแทนหามีผลทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยผู้เป็นนายจ้างกับโจทก์ผู้เป็นลูกจ้างต้องสิ้นสุดหรือระงับไปด้วยไม่โจทก์ยังมีฐานะเป็นลูกจ้างจำเลยอยู่การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิดำเนินกิจการแทนจำเลยปฏิเสธไม่ยอมจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์โดยเกี่ยงให้ไปขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483ก็เป็นเพียงแจ้งให้โจทก์ไปขอรับชำระหนี้ตามกฎหมายเท่านั้นหาใช่เป็นการปฏิเสธว่าจะเลิกจ้างหรือไม่ประสงค์จะให้โจทก์ทำงานต่อไปไม่ถือไม่ได้ว่าจำเลยโดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เลิกจ้างโจทก์แล้วโจทก์จึงยังไม่มีสิทธิฟ้องเรียกร้องค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจากจำเลยได้ส่วนค่าจ้างค้างจ่ายซึ่งเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นหลังจากที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวนั้นไม่ใช่หนี้ที่จะต้องยื่นขอรับชำระหนี้ตามมาตรา94แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483จึงไม่ต้องยื่นคำร้องต่อศาลก่อนตามมาตรา146แห่งพระราชบัญญัติฉบับเดียวกันเมื่อจำเลยปฏิเสธไม่จ่ายค่าจ้างค้างจ่ายโจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกร้องเอาจากจำเลยได้ทันที.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3423/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนการจ้างงานระหว่างหน่วยงาน ไม่ถือเป็นการเลิกจ้าง และไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าชดเชย
การที่จำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ออกจากงานเพื่อโอนไปปฏิบัติหน้าที่กับการประปานครหลวงตามความประสงค์ของโจทก์อันเนื่องมาจากจำเลยโอนกิจการการประปาบางบัวทองของจำเลยให้การประปานครหลวงนั้นเป็นเรื่องโอนการจ้างโดยเปลี่ยนตัวนายจ้างเท่านั้นถือไม่ได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ46โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าชดเชยจากจำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3362/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าจ้างจากบริษัทอื่น มิใช่นายจ้าง โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าชดเชย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเป็นหัวหน้าวงดนตรี มีโจทก์เป็นลูกวงเดิมบริษัท น.ร่วมกับจำเลยว่าจ้างโจทก์เป็นลูกจ้างเล่นดนตรี โดยจำเลยรับเงินมาจากบริษัท น. แล้วนำมาจ่ายให้โจทก์ต่อมาบริษัท น. ่และจำเลยได้สั่งให้โจทก์ไปเล่นดนตรีที่บริษัทซ. จำกัด โดยโอนให้โจทก์ไปรับเงินเดือนจากบริษัท ซ. จำกัดมีจำเลยเป็นผู้รับแทนแล้วนำมาจ่ายให้โจทก์ดังนี้ ฟ้องของโจทก์ดังกล่าวเท่ากับยืนยันว่าค่าจ้างที่โจทก์ได้รับนั้นเป็นเงินของบริษัท ซ. จำกัด ไม่ใช่ของจำเลยจำเลยเพียงเป็นตัวแทนของโจทก์ไปรับค่าจ้างจากบริษัท ซ. จำกัด มาจ่ายแก่โจทก์เท่านั้น จำเลยจึงไม่ใช่นายจ้างของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3362/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสัมพันธ์นายจ้าง-ลูกจ้าง: ค่าจ้างจากบริษัทอื่นมิใช่จากจำเลย ทำให้จำเลยไม่มีฐานะนายจ้าง
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยเป็นหัวหน้าวงดนตรีมีโจทก์เป็นลูกวงเดิมบริษัทน.ร่วมกับจำเลยว่าจ้างโจทก์เป็นลูกจ้างเล่นดนตรีโดยจำเลยรับเงินมาจากบริษัทน.แล้วนำมาจ่ายให้โจทก์ต่อมาบริษัทน.่และจำเลยได้สั่งให้โจทก์ไปเล่นดนตรีที่บริษัทซ.จำกัดโดยโอนให้โจทก์ไปรับเงินเดือนจากบริษัทซ.จำกัดมีจำเลยเป็นผู้รับแทนแล้วนำมาจ่ายให้โจทก์ดังนี้ฟ้องของโจทก์ดังกล่าวเท่ากับยืนยันว่าค่าจ้างที่โจทก์ได้รับนั้นเป็นเงินของบริษัทซ.จำกัดไม่ใช่ของจำเลยจำเลยเพียงเป็นตัวแทนของโจทก์ไปรับค่าจ้างจากบริษัทซ.จำกัดมาจ่ายแก่โจทก์เท่านั้นจำเลยจึงไม่ใช่นายจ้างของโจทก์โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าชดเชยสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมจากจำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3191-3293/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจที่ถูกยุบเลิก ต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน แม้จะบรรจุรายเดือน
จำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจซึ่งเป็นนิติบุคคลจัดตั้งขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การเหมืองแร่พ.ศ.2520การที่ได้มีพระราชกฤษฎีกายกเลิกพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การเหมืองแร่พ.ศ.2520พ.ศ.2528ใช้บังคับมีผลเพียงทำให้จำเลยต้องเลิกกิจการเพื่อสะสางกิจการของจำเลยให้สิ้นสภาพจากการเป็นนิติบุคคลต่อไปเท่านั้นหามีผลทำให้ลูกจ้างของจำเลยสิ้นสภาพจากการเป็นลูกจ้างของจำเลยไปในตัวไม่การที่จำเลยจะเลิกจ้างลูกจ้างจึงต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา582โดยต้องบอกกล่าวล่วงหน้า. โจทก์เป็นลูกจ้างชั่วคราวของจำเลยโดยจำเลยออกคำสั่งบรรจุโจทก์เป็นรายเดือนแต่โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยติดต่อกันเป็นเวลาหลายปีจึงไม่ถือว่าเป็นการจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนเมื่อโจทก์ทำงานติดต่อกันมาเกิน120วันย่อมมีสิทธิเช่นเดียวกับลูกจ้างประจำจำเลยถูกยุบเลิกอันเป็นเหตุให้จำเลยต้องเลิกจ้างโจทก์โดยที่โจทก์ไม่ได้กระทำความผิดจำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3117/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย กรณีสั่งให้ทำงานเกินเวลาพักโดยไม่ได้รับความยินยอม และไม่มีเหตุผลทางกฎหมายรองรับ
บริษัทจำเลยประกอบธุรกิจฟาร์มจระเข้และสวนสัตว์โดยเก็บค่าดูจากผู้ชมโดยปกติในวันทำงานจะมีเวลาทำงานระหว่าง8.00น.ถึง17.00น.พักกินอาหารกลางวันระหว่าง12.00น.ถึง13.00น.การที่มีผู้เข้าชมกิจการของจำเลยในวันเทศกาลตรุษจีนเป็นจำนวนมากขึ้นกว่าวันปกติธรรมดาถือไม่ได้ว่าเป็นงานฉุกเฉินโดยจะหยุดเสียมิได้จำเลยจึงจะสั่งให้พนักงานทุกคนรวมทั้งโจทก์อยู่ปฏิบัติหน้าที่ตามจุดที่กำหนดให้ในเวลาหยุดพักกลางวันไม่ได้และเมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยออกคำสั่งเช่นนั้นโดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้างแล้วการที่โจทก์ยอมรับข้าวห่อกินในเวลาหยุดพักกลางวันจะถือว่าโจทก์ยินยอมไม่ได้จึงไม่ต้องวินิจฉัยว่าเป็นงานที่มีลักษณะต้องทำติดต่อกันไปหรือไม่คำสั่งของจำเลยไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ6วรรคท้ายไม่มีผลบังคับแก่โจทก์จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยอาศัยคำสั่งดังกล่าวจึงต้องจ่ายค่าชดเชย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3117/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งให้ทำงานในวันหยุดพักกลางวันช่วงเทศกาล และการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเป็นต้องจ่ายค่าชดเชย
บริษัทจำเลยประกอบธุรกิจฟาร์มจระเข้และสวนสัตว์โดยเก็บค่าดูจากผู้ชม โดยปกติในวันทำงานจะมีเวลาทำงานระหว่าง8.00 น.ถึง 17.00 น.พักกินอาหารกลางวันระหว่าง 12.00 น. ถึง13.00 น.การที่มีผู้เข้าชมกิจการของจำเลยในวันเทศกาลตรุษจีนเป็นจำนวนมากขึ้นกว่าวันปกติธรรมดา ถือไม่ได้ว่าเป็นงานฉุกเฉินโดยจะหยุดเสียมิได้ จำเลยจึงจะสั่งให้พนักงานทุกคนรวมทั้งโจทก์อยู่ปฏิบัติหน้าที่ตามจุดที่กำหนดให้ในเวลาหยุดพักกลางวันไม่ได้และเมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยออกคำสั่งเช่นนั้นโดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้างแล้วการที่โจทก์ยอมรับข้าวห่อกินในเวลาหยุดพักกลางวันจะถือว่าโจทก์ยินยอมไม่ได้ จึงไม่ต้องวินิจฉัยว่าเป็นงานที่มีลักษณะต้องทำติดต่อกันไปหรือไม่คำสั่งของจำเลยไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 6 วรรคท้ายไม่มีผลบังคับแก่โจทก์จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยอาศัยคำสั่งดังกล่าว จึงต้องจ่ายค่าชดเชย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3116/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลาออกด้วยความสมัครใจหรือถูกบังคับ: ผลต่อสิทธิเรียกร้องค่าชดเชยและการเลิกจ้าง
โจทก์ฟ้องว่า เดิมจำเลยบรรจุโจทก์ทำงานในต่างจังหวัด ต่อมาได้ย้ายโจทก์มาประจำในกรุงเทพมหานคร และลดเงินเดือนโจทก์อ้างว่าโจทก์ทำงานบกพร่อง โจทก์โต้แย้งว่าจำเลยกระทำไม่ถูกต้องจำเลยไม่พอใจบังคับให้โจทก์เขียนใบลาออก โดยเสนอเงื่อนไขจ่ายค่าชดเชยให้ 2 เดือนโจทก์เขียนใบลาออกล่วงหน้าแต่ถึงกำหนดจ่ายเงินจำเลยกลับไม่ยอมจ่ายและไม่รับกลับเข้าทำงานอีกการกระทำของจำเลยถือว่าจำเลยมีเจตนาเลิกจ้างโจทก์โดยไม่มีความผิดจำเลยให้การว่าโจทก์ลาออกด้วยความสมัครใจมิได้ถูกบังคับ คดีนี้จึงมีประเด็นว่า โจทก์ลาออกด้วยถูกบังคับ หรือด้วยความสมัครใจ การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าจำเลยหลอกให้โจทก์ลาออก จึงเป็นการเลิกจ้างโจทก์นั้น ย่อมเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น อย่างไรก็ตาม ศาลแรงงานกลางฟังว่าโจทก์ได้เขียนใบลาออก เมื่อเอกสารดังกล่าวมีข้อความว่าโจทก์ลาออกจากงานโดยจำเลยจะจ่ายเงินให้จำนวนหนึ่ง ก็ต้องถือว่าโจทก์ลาออกด้วยความสมัครใจ คู่กรณีจึงต้องผูกพันตามข้อตกลงนั้นและเมื่อเป็นการลาออกด้วยความสมัครใจแล้ว ปัญหาเรื่องเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมก็ไม่มี คดีนี้โจทก์มิได้ฟ้องเรียกร้องเงินตามข้อตกลงแต่อาศัยสิทธิตามกฎหมายอื่น ศาลจึงไม่อาจพิพากษาให้ตามฟ้องโจทก์ได้