คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 890 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3116/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลาออกด้วยความสมัครใจหรือถูกบังคับ: ผลต่อการเรียกร้องค่าชดเชยและการเลิกจ้าง
โจทก์ฟ้องว่าเดิมจำเลยบรรจุโจทก์ทำงานในต่างจังหวัดต่อมาได้ย้ายโจทก์มาประจำในกรุงเทพมหานครและลดเงินเดือนโจทก์อ้างว่าโจทก์ทำงานบกพร่องโจทก์โต้แย้งว่าจำเลยกระทำไม่ถูกต้องจำเลยไม่พอใจบังคับให้โจทก์เขียนใบลาออกโดยเสนอเงื่อนไขจ่ายค่าชดเชยให้2เดือนโจทก์เขียนใบลาออกล่วงหน้าแต่ถึงกำหนดจ่ายเงินจำเลยกลับไม่ยอมจ่ายและไม่รับกลับเข้าทำงานอีกการกระทำของจำเลยถือว่าจำเลยมีเจตนาเลิกจ้างโจทก์โดยไม่มีความผิดจำเลยให้การว่าโจทก์ลาออกด้วยความสมัครใจมิได้ถูกบังคับคดีนี้จึงมีประเด็นว่าโจทก์ลาออกด้วยถูกบังคับหรือด้วยความสมัครใจการที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าจำเลยหลอกให้โจทก์ลาออกจึงเป็นการเลิกจ้างโจทก์นั้นย่อมเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นอย่างไรก็ตามศาลแรงงานกลางฟังว่าโจทก์ได้เขียนใบลาออกเมื่อเอกสารดังกล่าวมีข้อความว่าโจทก์ลาออกจากงานโดยจำเลยจะจ่ายเงินให้จำนวนหนึ่งก็ต้องถือว่าโจทก์ลาออกด้วยความสมัครใจคู่กรณีจึงต้องผูกพันตามข้อตกลงนั้นและเมื่อเป็นการลาออกด้วยความสมัครใจแล้วปัญหาเรื่องเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมก็ไม่มีคดีนี้โจทก์มิได้ฟ้องเรียกร้องเงินตามข้อตกลงแต่อาศัยสิทธิตามกฎหมายอื่นศาลจึงไม่อาจพิพากษาให้ตามฟ้องโจทก์ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2841/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเกษียณอายุและการเลิกจ้าง: กรณีลูกจ้างขอเกษียณก่อนกำหนดตามระเบียบของบริษัท
คู่มือพนักงาน ฯ หมวดที่ 5 ข้อ 5.3 การครบเกษียณอายุ ตามข้อ 5.3.1 นั้น ปกติพนักงานชายจะเกษียณอายุเมื่อมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ แต่มีข้อยกเว้นตามข้อ 5.3.3 ว่า จำเลยผู้เป็นนายจ้างหรือพนักงานของจำเลยซึ่งเป็นพนักงานชายที่มีอายุ 55 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป แต่ละฝ่ายอาจขอให้รับการปลดเกษียณก่อนมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ก็ได้ ซึ่งหากจำเลยผู้เป็นนายจ้างหรือพนักงานผู้เป็นลูกจ้างขอให้รับการปลดเกษียณก่อนดังกล่าวแล้วย่อมมีผลเป็นการปลดเกษียณโดยได้รับเงินบำเหน็จด้วยเช่นเดียวกัน ส่วนการลาออกตามข้อ 5.2 นั้น เป็นเรื่องที่ลูกจ้างขอเลิกสัญญาจ้างแรงงานกรณีที่ลูกจ้างไม่มีสิทธิขอให้ได้รับการปลดเกษียณตามข้อ 5.3.3 หรือมีสิทธิตามข้อ 5.3.3 แต่ลูกจ้างไม่ประสงค์จะให้ได้รับสิทธิเช่นนั้นเท่านั้นโจทก์มีหนังสือแจ้งแก่จำเลยว่า โจทก์ขอลาเกษียณอายุก่อนกำหนด ขอได้พิจารณาอนุมัติตามระเบียบต่อไป จึงเป็นเรื่องโจทก์ใช้สิทธิขอลาเกษียณอายุก่อนกำหนดตามข้อ 5.3.3 แม้โจทก์จะอ้างว่า โจทก์มีสุขภาพไม่สมบูรณ์ไว้ด้วย ก็เป็นเพียงเหตุที่โจทก์ไม่ประสงค์จะปฏิบัติงานจนมีอายุครบ 60 บริบูรณ์ จึงขอใช้สิทธิตามข้อ 5.3.3 เท่านั้น รูปเรื่องจึงมิใช่ขอลาออกตามข้อ5.2 แต่เป็นเรื่องจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุเกษียณอายุแล้ว จึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2841/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลดเกษียณก่อนกำหนดตามระเบียบบริษัท มิใช่การลาออก จึงมีสิทธิได้รับค่าชดเชย
คู่มือพนักงานฯหมวดที่5ข้อ5.3การครบเกษียณอายุตามข้อ5.3.1นั้นปกติพนักงานชายจะเกษียณอายุเมื่อมีอายุครบ60ปีบริบูรณ์แต่มีข้อยกเว้นตามข้อ5.3.3ว่าจำเลยผู้เป็นนายจ้างหรือพนักงานของจำเลยซึ่งเป็นพนักงานชายที่มีอายุ55ปีบริบูรณ์ขึ้นไปแต่ละฝ่ายอาจขอให้รับการปลดเกษียณก่อนมีอายุครบ60ปีบริบูรณ์ก็ได้ซึ่งหากจำเลยผู้เป็นนายจ้างหรือพนักงานผู้เป็นลูกจ้างขอให้รับการปลดเกษียณก่อนดังกล่าวแล้วย่อมมีผลเป็นการปลดเกษียณโดยได้รับเงินบำเหน็จด้วยเช่นเดียวกันส่วนการลาออกตามข้อ5.2นั้นเป็นเรื่องที่ลูกจ้างขอเลิกสัญญาจ้างแรงงานกรณีที่ลูกจ้างไม่มีสิทธิขอให้ได้รับการปลดเกษียณตามข้อ5.3.3หรือมีสิทธิตามข้อ5.3.3แต่ลูกจ้างไม่ประสงค์จะให้ได้รับสิทธิเช่นนั้นเท่านั้นโจทก์มีหนังสือแจ้งแก่จำเลยว่าโจทก์ขอลาเกษียณอายุก่อนกำหนดขอได้พิจารณาอนุมัติตามระเบียบต่อไปจึงเป็นเรื่องโจทก์ใช้สิทธิขอลาเกษียณอายุก่อนกำหนดตามข้อ5.3.3แม้โจทก์จะอ้างว่าโจทก์มีสุขภาพไม่สมบูรณ์ไว้ด้วยก็เป็นเพียงเหตุที่โจทก์ไม่ประสงค์จะปฏิบัติงานจนมีอายุครบ60บริบูรณ์จึงขอใช้สิทธิตามข้อ5.3.3เท่านั้นรูปเรื่องจึงมิใช่ขอลาออกตามข้อ5.2แต่เป็นเรื่องจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุเกษียณอายุแล้วจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2748/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างและการพิจารณาเหตุผลเลิกจ้างเพื่อไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและค่าสินจ้างทดแทน
โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่2 มกราคม 2529 ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2528 ตามข้อต่อสู้ของจำเลย ดังนี้ ไม่ถือว่าข้อเท็จจริงต่างกับฟ้องอันจะเป็นเหตุให้ยกฟ้อง ศาลจะต้องพิจารณาต่อไปว่าการเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2528เป็นเพราะโจทก์ได้กระทำความผิดดังข้อต่อสู้ของจำเลยอันจะทำให้จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าหรือไม่ ตามประเด็นที่ศาลได้ตั้งไว้แล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2748/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้าง: ศาลต้องพิจารณาเหตุผลการเลิกจ้างเพื่อตัดสินว่าต้องจ่ายค่าชดเชยหรือไม่ แม้ข้อเท็จจริงต่างจากฟ้องเล็กน้อย
โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่2มกราคม2529ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่6ธันวาคม2528ตามข้อต่อสู้ของจำเลยดังนี้ ไม่ถือว่าข้อเท็จจริงต่างกับฟ้องอันจะเป็นเหตุให้ยกฟ้องศาลจะต้องพิจารณาต่อไปว่าการเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่6ธันวาคม2528เป็นเพราะโจทก์ได้กระทำความผิดดังข้อต่อสู้ของจำเลยอันจะทำให้จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าหรือไม่ตามประเด็นที่ศาลได้ตั้งไว้แล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2731/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องร้องค่าชดเชยแม้ฟ้องผิดชื่อบริษัท ศาลไม่ถือเป็นการฟ้องผิดตัวหากมีเจตนาฟ้องนายจ้างที่แท้จริง
บริษัทจำเลยจดทะเบียนเลิกบริษัท แล้วจดทะเบียนตั้งบริษัทส.พรเจริญโภคภัณฑ์คอนติเนตัล จำกัด ขึ้นมาใหม่ โดยใช้สถานที่ตั้งบริษัทเดิม โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างของบริษัทจำเลยไม่อาจรู้ได้และบริษัทที่ตั้งขึ้นใหม่นี้ก็ได้รับโอนโจทก์กับคนงานอื่นมาเป็นลูกจ้างโดยรับโอนอายุการทำงานมาด้วย มิได้มีการตกลงจ้างกันใหม่แต่อย่างใด ข้อเท็จจริงดังกล่าวแสดงว่าโจทก์เป็นลูกจ้างของบริษัทที่ได้จดทะเบียนตั้งขึ้นใหม่ และโจทก์ก็มุ่งประสงค์ที่จะฟ้องบริษัทที่เป็นนายจ้างของโจทก์ให้รับผิดในค่าชดเชยนั่นเอง แม้จะฟ้องในชื่อเดิมก็มิใช่เป็นเรื่องฟ้องผิดตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2731/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องค่าชดเชยแม้ฟ้องผิดชื่อบริษัทก็ไม่ถือเป็นฟ้องผิดตัว หากมีเจตนาฟ้องนายจ้างที่แท้จริง
บริษัทจำเลยจดทะเบียนเลิกบริษัทแล้วจดทะเบียนตั้งบริษัทส.พรเจริญโภคภัณฑ์คอนติเนตัลจำกัดขึ้นมาใหม่โดยใช้สถานที่ตั้งบริษัทเดิมโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างของบริษัทจำเลยไม่อาจรู้ได้และบริษัทที่ตั้งขึ้นใหม่นี้ก็ได้รับโอนโจทก์กับคนงานอื่นมาเป็นลูกจ้างโดยรับโอนอายุการทำงานมาด้วยมิได้มีการตกลงจ้างกันใหม่แต่อย่างใดข้อเท็จจริงดังกล่าวแสดงว่าโจทก์เป็นลูกจ้างของบริษัทที่ได้จดทะเบียนตั้งขึ้นใหม่และโจทก์ก็มุ่งประสงค์ที่จะฟ้องบริษัทที่เป็นนายจ้างของโจทก์ให้รับผิดในค่าชดเชยนั่นเองแม้จะฟ้องในชื่อเดิมก็มิใช่เป็นเรื่องฟ้องผิดตัว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2453/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจยังสมบูรณ์แม้กรรมการลาออก การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากผลประกอบการและเกณฑ์สมเหตุผล
การที่อ.กับจ.กรรมการบริษัทจำเลยลงชื่อมอบอำนาจให้ถ.ดำเนินคดีแทนบริษัทจำเลยเป็นการกระทำในฐานะผู้แทนบริษัทจำเลยจึงเป็นการกระทำของบริษัทจำเลยแม้ต่อมาอ.จะพ้นจากการเป็นกรรมการของบริษัทจำเลยไปหนังสือมอบอำนาจฉบับนั้นก็หาระงับไปไม่ถ.จึงยังมีอำนาจที่จะมอบอำนาจให้ส.ต่อสู้คดีแทนจำเลยโดยทำคำให้การยื่นต่อศาลได้. จำเลยประสบภาวะการขาดทุนมากมีความจำเป็นเพียงพอต้องเลิกจ้างลูกจ้างและจำเลยได้ใช้หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกว่าจะเลิกจ้างผู้ใดก่อนอย่างสมเหตุผลการที่โจทก์เป็นผู้ต้องถูกเลิกจ้างเพราะลากิจลาป่วยและมาทำงานสายมากจะถือว่าเป็นการเลือกปฏิบัติต่อลูกจ้างบางคนมิได้เป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรมแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2397/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตเงินบำเหน็จ, ค่าจ้าง, ค่าชดเชย, และสิทธิการหักเงินบำเหน็จในกรณีเกษียณอายุ
ข้อบังคับเกี่ยวกับโครงการเงินบำเหน็จเมื่อออกจากงานของจำเลยกำหนดจำนวนเงินบำเหน็จในกรณีลูกจ้างออกจากงานเพราะเกษียณอายุว่า'..........จำนวนเงินบำเหน็จจะเท่ากับเงินเดือนมูลฐานครั้งสุดท้ายทั้งเดือนคูณด้วยจำนวนปีของการเป็นลูกจ้างในบริษัท'คำว่าเงินเดือนมูลฐานมีความหมายจำกัดลงมาเฉพาะเงินเดือนที่แท้จริงค่านำร่องพิเศษหาใช่เงินเดือนมูลฐานอันจะนำมาคำนวณจำนวนเงินบำเหน็จไม่ต่างกับเรื่องค่าจ้างที่จะนำค่านำร่องพิเศษมาเป็นฐานคำนวณค่าชดเชย. ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยหมวดวินัยและโทษทางวินัยระบุว่าการเตือนด้วยวาจาและการเตือนเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นโทษทางวินัยโดยหัวหน้าฝ่ายเป็นผู้มีอำนาจลงโทษสองสถานนี้ได้และหมวดการยื่นคำร้องทุกข์และข้อเสนอแนะกำหนดให้นายเรือมีตำแหน่งเป็นหัวหน้าฝ่ายด้วยโจทก์ซึ่งเป็นกัปตันหรือนายเรือจึงเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ทำการแทนนายจ้างสำหรับกรณีการลงโทษโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าทำงานในวันหยุดตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานฯข้อ43และ36(1). ตามข้อบังคับเกี่ยวกับโครงการเงินบำเหน็จเมื่อออกจากงานของจำเลยข้อ9(ค)ให้สิทธิแก่จำเลยที่จะหักเงินจำนวนเท่าค่าชดเชยออกจากเงินบำเหน็จได้จำเลยได้ใช้สิทธินำค่าชดเชยส่วนอื่นไปหักจากเงินบำเหน็จตามที่แจ้งให้โจทก์ไปรับแล้วการที่มิได้นำค่าชดเชยในเงินค่าเบี้ยเลี้ยงไปหักออกด้วยก็เพราะจำเลยเข้าใจว่าเบี้ยเลี้ยงมิใช่ค่าจ้างเมื่อเบี้ยเลี้ยงเป็นค่าจ้างทั้งจำเลยก็ได้แสดงเจตนาขอหักมาในคำให้การแล้วจึงชอบที่จะหักเงินค่าชดเชยที่เพิ่มขึ้นออกจากเงินบำเหน็จที่จำเลยจะต้องจ่ายได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2397/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการคำนวณเงินบำเหน็จ, ค่าชดเชย, และสิทธิในการรับค่าทำงานในวันหยุดของลูกจ้าง
ข้อบังคับเกี่ยวกับโครงการเงินบำเหน็จเมื่อออกจากงานของจำเลยกำหนดจำนวนเงินบำเหน็จในกรณีลูกจ้างออกจากงานเพราะเกษียณอายุว่า'..........จำนวนเงินบำเหน็จจะเท่ากับเงินเดือนมูลฐานครั้งสุดท้ายทั้งเดือนคูณด้วยจำนวนปีของการเป็นลูกจ้างในบริษัท'คำว่าเงินเดือนมูลฐานมีความหมายจำกัดลงมาเฉพาะเงินเดือนที่แท้จริงค่านำร่องพิเศษหาใช่เงินเดือนมูลฐานอันจะนำมาคำนวณจำนวนเงินบำเหน็จไม่ต่างกับเรื่องค่าจ้างที่จะนำค่านำร่องพิเศษมาเป็นฐานคำนวณค่าชดเชย. ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยหมวดวินัยและโทษทางวินัยระบุว่าการเตือนด้วยวาจาและการเตือนเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นโทษทางวินัยโดยหัวหน้าฝ่ายเป็นผู้มีอำนาจลงโทษสองสถานนี้ได้และหมวดการยื่นคำร้องทุกข์และข้อเสนอแนะกำหนดให้นายเรือมีตำแหน่งเป็นหัวหน้าฝ่ายด้วยโจทก์ซึ่งเป็นกัปตันหรือนายเรือจึงเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ทำการแทนนายจ้างสำหรับกรณีการลงโทษโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าทำงานในวันหยุดตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานฯข้อ43และ36(1). ตามข้อบังคับเกี่ยวกับโครงการเงินบำเหน็จเมื่อออกจากงานของจำเลยข้อ9(ค)ให้สิทธิแก่จำเลยที่จะหักเงินจำนวนเท่าค่าชดเชยออกจากเงินบำเหน็จได้จำเลยได้ใช้สิทธินำค่าชดเชยส่วนอื่นไปหักจากเงินบำเหน็จตามที่แจ้งให้โจทก์ไปรับแล้วการที่มิได้นำค่าชดเชยในเงินค่าเบี้ยเลี้ยงไปหักออกด้วยก็เพราะจำเลยเข้าใจว่าเบี้ยเลี้ยงมิใช่ค่าจ้างเมื่อเบี้ยเลี้ยงเป็นค่าจ้างทั้งจำเลยก็ได้แสดงเจตนาขอหักมาในคำให้การแล้วจึงชอบที่จะหักเงินค่าชดเชยที่เพิ่มขึ้นออกจากเงินบำเหน็จที่จำเลยจะต้องจ่ายได้.
of 89