พบผลลัพธ์ทั้งหมด 890 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2291/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อบังคับบำเหน็จกับค่าชดเชย: ผลบังคับใช้กับลูกจ้างเก่า และการแก้ไขข้อบังคับโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
ข้อบังคับโรงงานน้ำตาลกรมโรงงานอุตสาหกรรมว่าด้วยกองทุนบำเหน็จพ.ศ.2527มีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการจ่ายเงินบำเหน็จแตกต่างจากค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ46เพราะตามข้อบังคับดังกล่าวข้อ10นั้นแม้กรณีที่พนักงานตายหรือลาออกก็มีสิทธิได้รับบำเหน็จถือได้ว่าเงินบำเหน็จตามข้อบังคับของจำเลยเป็นเงินประเภทอื่นซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้างแม้ข้อบังคับข้อ12วรรคแรกจะระบุว่า'พนักงานที่ออกจากงานโดยมีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามกฎหมายเกี่ยวกับแรงงานแล้วไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จตามข้อบังคับนี้แต่ถ้าค่าชดเชยที่มีสิทธิได้รับนั้นต่ำกว่าเงินบำเหน็จที่จะได้รับตามข้อบังคับนี้ก็ให้จ่ายเพิ่มให้เท่าจำนวนที่ต่ำกว่านั้น'ก็ตามแต่ความในวรรคสองของข้อบังคับดังกล่าวก็ระบุว่า'ความในวรรคแรกมิให้ใช้บังคับกับพนักงานที่เข้าทำงานอยู่ก่อนวันที่30พฤษภาคม2526'เมื่อปรากฏว่าโจทก์เข้าทำงานตั้งแต่วันที่1ตุลาคม2509ข้อบังคับนี้จึงไม่มีผลใช้บังคับแก่โจทก์. การที่จำเลยแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับว่าด้วยกองทุนบำเหน็จพ.ศ.2527ลงวันที่26มิถุนายน2527ระบุยกเว้นมิให้ถือว่าค่าครองชีพเป็นค่าจ้างด้วยนั้นถือได้ว่าเป็นการแก้ไขข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมายและข้อบังคับใหม่ก็ไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้างข้อบังคับในส่วนนี้จึงไม่มีผลผูกพันโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2155/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งพักงานชั่วคราวเพื่อรอสอบสวนทางวินัย ไม่ถือเป็นการเลิกจ้าง แม้ผู้ถูกสั่งพักงานจะใกล้เกษียณอายุ
สิ่งของในโรงงานของจำเลยขาดบัญชีและไม่ถูกต้องจำเลยจึงมีคำสั่งตั่งคณะกรรมการขึ้นทำการสอบสวนและพิจารณาเมื่อขณะออกคำสั่งจำเลยยังไม่ทราบชื่อและตำแหน่งของผู้ถูกกล่าวหาจึงไม่จำต้องระบุไว้ในคำสั่งนั้น. การสอบสวนของคณะกรรมการที่จำเลยแต่งตั้งปรากฏว่าโจทก์มีส่วนเกี่ยวข้องกับสิ่งของที่ขาดบัญชีโดยเป็นประธานกรรมการตรวจรับสิงของบางส่วนแต่การสอบสวนยังไม่เสร็จสิ้นและโจทก์มีอายุใกล้กำหนดจะออกจากงานฐานเกษียณอายุดังนี้จำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ออกจากงานไว้ก่อนเพื่อรอฟังผลการสอบสวนพิจารณาได้เพราะข้อบังคับของจำเลยกำหนดไว้ในกรณีเช่นนี้เป็นการสั่งให้ออกไว้ชั่วคราวโดยมีเงื่อนไขว่าจำเลยจะต้องมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงอีกครั้งหนึ่งตามผลการสอบสวนพิจารณาจึงหาทำให้นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์จำเลยระงับสิ้นไปทันทีไม่แม้เมื่อสอบสวนเสร็จและโจทก์เกษียณอายุไปแล้วแต่หากการสอบสวนพิจารณาปรากฏว่าโจทก์ไม่มีความผิดจำเลยก็สามารถเปลี่ยนแปลงคำสั่งเป็นให้ออกจากงานฐานเกษียณอายุได้มิใช่เป็นการพ้นวิสัยที่จะเปลี่ยนแปลงคำสั่งทั้งมิใช่ให้โจทก์ทำงานต่อไปหลังจากที่ขาดคุณสมบัติแล้วจึงไม่เป็นการขัดต่อกฎหมายว่าด้วยคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจการที่จำเลยให้โจทก์ออกจากงานไว้ก่อนเช่นนี้ไม่เป็นการเลิกจ้าง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2121/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าจ้างทางแรงงาน: การพิจารณาองค์ประกอบของค่าจ้างและสวัสดิการที่ไม่ถือเป็นค่าจ้าง
โจทก์ฟ้องเรียกค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจากจำเลยโดยบรรยายฟ้องว่าเงินรางวัลและค่าครองชีพพิเศษเงินสะสมค่าเครื่องแบบค่าต่อทะเบียนรถยนต์ค่าน้ำมันรถยนต์ค่าภาษีเงินได้ค่ารถประจำตำแหน่งและโบนัสพิเศษเป็นค่าจ้างต้องนำมาเป็นฐานคำนวณค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าด้วยจำเลยให้การว่าไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเพราะเป็นการเลิกจ้างโดยโจทก์มีความผิดโดยมิได้ต่อสู้ว่าเงินทั้ง8รายการดังกล่าวเป็นค่าจ้างหรือไม่เช่นนี้เมื่อโจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแล้วศาลย่อมต้องพิจารณาต่อไปว่าโจทก์มีสิทธิเรียกร้องเป็นจำนวนเงินเท่าใดโดยคำนวณจากอายุงานและค่าจ้างเป็นหลักเมื่อรายการใดถือไม่ได้ว่าเป็นค่าจ้างตามกฎหมายอันจะพึงนำมารวมคำนวณเป็นค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแล้วโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องในเงินจำนวนนั้นการที่ศาลวินิจฉัยว่าเงินและสิ่งของที่โจทก์ได้รับรวม8รายการมิใช่ค่าจ้างจึงเป็นเรื่องเกี่ยวเนื่องกับประเด็นไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นหรือเป็นเรื่องที่ถือว่าจำเลยยอมรับแล้ว. เงินรางวัลเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้จากผลกำไรซึ่งแล้วแต่ผู้บริหารจะกำหนดเองและไม่แน่นอนมิใช่เป็นเงินที่ให้เพื่อตอบแทนการทำงานโดยตรงส่วนค่าครองชีพพิเศษก็มิได้แยกจำนวนไว้ต่างหากโดยกำหนดรวมไว้เป็นเงินรางวัลและค่าครองชีพพิเศษผลจึงเป็นว่าการจ่ายเงินรางวัลและค่าครองชีพพิเศษต้องขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้บริหารของจำเลยที่จะกำหนดและเป็นจำนวนไม่แน่นอนเงินประเภทนี้จึงมิใช่ค่าจ้าง. จำเลยได้จ่ายเงินสะสมสมทบโดยมิได้หักเงินเดือนของลูกจ้างและได้จ่ายสมทบนับแต่พนักงานของจำเลยได้รับการบรรจุเป็นลูกจ้างประจำส่วนสิทธิที่ลูกจ้างจะได้รับเงินสะสมก็ต่อเมื่อออกจากงานหากออกจากงานก่อนครบ5ปีหรือออกเพราะทุจริตต่อหน้าที่หรือประมาทเลินเล่อหรือต้องจำคุกโดยคำพิพากษาก็ไม่มีสิทธิได้รับนอกจากจำเลยจะพิจารณาเห็นสมควรเงินประเภทนี้จึงมิใช่เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานอันพึงถือว่าเป็นค่าจ้าง. ค่าต่อทะเบียนรถยนต์ปีละ1,000บาทจำเลยจ่ายให้แก่พนักงานบางระดับที่ไม่มีรถยนต์ประจำตำแหน่งแต่สำหรับโจทก์ซึ่งมีรถยนต์ประจำตำแหน่งได้รับอนุมัติช่วยเหลือด้วยซึ่งเป็นเพียงการช่วยเหลือในด้านสวัสดิการมิใช่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานถือไม่ได้ว่าเป็นค่าจ้าง. จำเลยเติมน้ำมันให้แก่โจทก์เพื่อให้โจทก์ได้ใช้รถยนต์ประจำตำแหน่งมีจำนวนมากน้อยแล้วแต่การใช้งานแต่ไม่เกินเดือนละ300ลิตรหากใช้น้อยก็ไม่มีสิทธิเรียกร้องในส่วนที่ใช้ยังไม่ครบจึงเป็นจำนวนไม่แน่นอนและมิใช่การเหมาจ่ายกรณีเป็นเรื่องที่จำเลยอนุเคราะห์โจทก์เกี่ยวกับการใช้พาหนะมิใช่เงินหรือสิ่งของที่จ่ายเป็นการตอบแทนการทำงานอันจะถือเป็นค่าจ้าง. ภาษีเงินได้ที่จำเลยออกให้โจทก์โดยมิได้หักจากเงินเดือนของโจทก์เป็นการที่จำเลยจัดให้มีขึ้นเพื่อช่วยเหลือลูกจ้างให้ได้รับค่าจ้างเต็มตามสัญญาจ้างเพื่อความมั่นคงในการดำรงชีพและดำรงฐานะให้เหมาะสมกับตำแหน่งที่ดียิ่งขึ้นเป็นสวัสดิการที่จำเลยจัดหาให้แก่ลูกจ้างมิใช่เป็นเงินที่ให้เพื่อตอบแทนการทำงานของลูกจ้างจึงมิใช่ค่าจ้าง. จำเลยจัดรถยนต์ประจำตำแหน่งให้โจทก์ได้ใช้ก็เพื่อประโยชน์ในการที่โจทก์ใช้เป็นพาหนะเพื่อปฏิบัติงานในหน้าที่ของตนแม้บางเวลาโจทก์อาจนำไปใช้เป็นส่วนตัวได้บ้างก็เป็นเรื่องการอนุเคราะห์ในด้านความสะดวกสบายบางประการเท่านั้นกรณีไม่อาจเปลี่ยนแปลงสภาพของการอำนวยประโยชน์ของความสะดวกสบายเช่นนี้มาเป็นจำนวนเงินที่แน่นอนได้จึงมิใช่ค่าจ้าง. เงินโบนัสไม่ใช่เงินซึ่งประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานกำหนดให้นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างนายจ้างจะกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายอย่างใดก็ได้ตามแต่นายจ้างจะเป็นผู้กำหนดและการจ่ายเงินโบนัสพิเศษก็เป็นไปตามดุลพินิจของกรรมการผู้จัดการใหญ่ของจำเลยเป็นผู้กำหนดและเป็นจำนวนไม่แน่นอนจึงมิใช่ค่าจ้าง. โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลแรงงานกลางเรียกพยานเอกสารจากจำเลยหลายฉบับหลายครั้งคำร้องทุกฉบับโจทก์ได้ชี้แจงแสดงเหตุที่จะต้องขอให้เรียกเอกสารจากจำเลยและศาลแรงงานกลางได้สอบถามรายละเอียดของข้อเท็จจริงในเอกสารต่างๆจากโจทก์บ้างแล้วมีความเห็นว่าไม่เกี่ยวข้องกับคดีและไม่มีความจำเป็นต้องนำสืบดังนี้เป็นการที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งให้งดสืบพยานหลักฐานดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา86ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา31เมื่อโจทก์ได้เบิกความถึงข้อเท็จจริงต่างๆในเอกสารเหล่านั้นโดยไม่จำต้องอาศัยพยานเอกสารการเรียกเอกสารดังกล่าวจึงไม่จำเป็นแก่คดีศาลแรงงานกลางชอบที่จะสั่งยกคำร้องของโจทก์ได้. พยานเอกสารที่จำเลยนำมาสืบแม้เป็นเพียงภาพถ่ายมิใช่ต้นฉบับเอกสารแต่เมื่อจำเลยส่งอ้างเป็นพยานต่อศาลโจทก์มิได้คัดค้านความถูกต้องแท้จริงของเอกสารนั้นพยานโจทก์และพยานจำเลยหลายปากก็ได้เบิกความรับรองและอ้างถึงเอกสารดังกล่าวซึ่งเท่ากับยอมรับว่าเอกสารนั้นมีอยู่จริงและมีข้อความตรงกับต้นฉบับถือได้ว่าโจทก์ยอมรับว่าภาพถ่ายเอกสารนั้นถูกต้องแล้วศาลย่อมรับฟังเอกสารดังกล่าวได้หาเป็นการขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา93ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2121/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าจ้างสวัสดิการ โบนัส และการพิสูจน์กลั่นแกล้งในคดีแรงงาน
โจทก์ฟ้องเรียกค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจากจำเลยโดยบรรยายฟ้องว่าเงินรางวัลและค่าครองชีพพิเศษเงินสะสมค่าเครื่องแบบค่าต่อทะเบียนรถยนต์ค่าภาษีเงินได้ค่ารถประจำตำแหน่งและโบนัสพิเศษเป็นค่าจ้างที่ต้องนำมาเป็นฐานคำนวณค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าด้วยจำเลยให้การว่าไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเพราะเป็นการเลิกจ้างโดยโจทก์มีความผิดแม้จะมิได้ต่อสู้ว่าเงินรายการใดเป็นค่าจ้างหรือไม่แต่เมื่อโจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแล้วศาลย่อมต้องพิจารณาต่อไปว่าโจทก์มีสิทธิเรียกร้องเป็นจำนวนเงินเท่าใดโดยคำนวณจากอายุงานและค่าจ้างเป็นหลักเมื่อรายการใดถือไม่ได้ว่าเป็นค่าจ้างตามกฎหมายอันจะพึงนำมารวมคำนวณเป็นค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแล้วโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องในเงินจำนวนนั้นการที่ศาลวินิจฉัยว่าเงินและสิ่งของที่โจทก์ได้รับรวม8รายการมิใช่ค่าจ้างจึงเป็นเรื่องเกี่ยวเนื่องกับประเด็นไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นหรือเป็นเรื่องที่ถือว่าจำเลยยอมรับแล้ว เงินรางวัลเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้จากผลกำไรซึ่งแล้วแต่ผู้บริหารจะกำหนดเองและไม่แน่นอนมิใช่เป็นเงินที่ให้เพื่อตอบแทนการทำงานโดยตรงส่วนค่าครองชีพพิเศษก็มิได้แยกจำนวนไว้ต่างหากโดยกำหนดรวมไว้เป็นเงินรางวัลและค่าครองชีพพิเศษผลจึงเป็นว่าการจ่ายเงินรางวัลและค่าครองชีพพิเศษต้องขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้บริหารของจำเลยที่จะกำหนดและเป็นจำนวนไม่แน่นอนเงินประเภทนี้จึงมิใช่ค่าจ้าง จำเลยได้จ่ายเงินสะสมสมทบโดยมิได้หักเงินเดือนของลูกจ้างและได้จ่ายสมทบนับแต่พนักงานของจำเลยได้รับการบรรจุเป็นลูกจ้างประจำส่วนสิทธิที่ลูกจ้างจะได้รับเงินสะสมก็ต่อเมื่อออกจากงานหากออกจากงานก่อนครบ5ปีหรือออกเพราะทุจริตต่อหน้าที่หรือประมาทเลินเล่อหรือต้องจำคุกโดยคำพิพากษาก็ไม่มีสิทธิได้รับนอกจากจำเลยจะพิจารณาเห็นสมควรเงินประเภทนี้จึงมิใช่เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานอันพึงถือว่าเป็นค่าจ้าง ค่าต่อทะเบียนรถยนต์ปีละ1,000บาทจำเลยจ่ายให้แก่พนักงานบางระดับที่ไม่มีรถยนต์ประจำตำแหน่งแต่สำหรับโจทก์ซึ่งมีรถยนต์ประจำตำแหน่งได้รับอนุมัติช่วยเหลือด้วยซึ่งเป็นเพียงการช่วยเหลือในด้านสวัสดิการมิใช่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานถือไม่ได้ว่าเป็นค่าจ้าง จำเลยเติมน้ำมันให้แก่โจทก์เพื่อให้โจทก์ได้ใช้รถยนต์ประจำตำแหน่งมีจำนวนมากน้อยแล้วแต่การใช้งานแต่ไม่เกินเดือนละ300ลิตรหากใช้น้อยก็ไม่มีสิทธิเรียกร้องในส่วนที่ใช้ยังไม่ครบจึงเป็นจำนวนไม่แน่นอนและมิใช่การเหมาจ่ายกรณีเป็นเรื่องที่จำเลยอนุเคราะห์โจทก์เกี่ยวกับการใช้พาหนะมิใช่เงินหรือสิ่งของที่จ่ายเป็นการตอบแทนการทำงานอันจะถือเป็นค่าจ้าง ภาษีเงินได้ที่จำเลยออกให้โจทก์โดยมิได้หักจากเงินเดือนของโจทก์เป็นการที่จำเลยจัดให้มีขึ้นเพื่อช่วยเหลือลูกจ้างให้ได้รับค่าจ้างเต็มอัตราตามสัญญาจ้างเพื่อความมั่นคงในการดำรงชีพและดำรงฐานะให้เหมาะสมกับตำแหน่งยิ่งขึ้นเป็นสวัสดิการที่จำเลยจัดหาให้แก่ลูกจ้างมิใช่เป็นเงินที่ให้เพื่อตอบแทนการทำงานของลูกจ้างจึงมิใช่ค่าจ้าง จำเลยจัดรถยนต์ประจำตำแหน่งให้โจทก์ได้ใช้ก็เพื่อประโยชน์ในการที่โจทก์ใช้เป็นพาหนะเพื่อปฏิบัติงานในหน้าที่ของตนแม้บางเวลาโจทก์อาจนำไปใช้เป็นส่วนตัวได้บ้างก็เป็นเรื่องการอนุเคราะห์ในด้านความสะดวกสบายบางประการเท่านั้นกรณีไม่อาจเปลี่ยนแปลงสภาพของการอำนวยประโยชน์ของความสะดวกสบายเช่นนี้มาเป็นจำนวนเงินที่แน่นอนได้จึงมิใช่ค่าจ้าง เงินโบนัสไม่ใช่เงินซึ่งประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานกำหนดให้นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างนายจ้างจะกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายอย่างใดก็ได้ตามแต่นายจ้างจะเป็นผู้กำหนดและการจ่ายเงินโบนัสพิเศษก็เป็นไปตามดุลพินิจของกรรมการผู้จัดการใหญ่ของจำเลยเป็นผู้กำหนดและเป็นจำนวนไม่แน่นอนจึงมิใช่ค่าจ้าง โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลแรงงานกลางเรียกพยานเอกสารจากจำเลยหลายฉบับหลายครั้งคำร้องทุกฉบับโจทก์ได้ชี้แจงแสดงเหตุที่จะต้องขอให้เรียกเอกสารจากจำเลยและศาลแรงงานกลางได้สอบถามรายละเอียดของข้อเท็จจริงในเอกสารต่างๆจากโจทก์บ้างแล้วมีความเห็นว่าไม่เกี่ยวข้องกับคดีและไม่มีความจำเป็นต้องนำสืบดังนี้เป็นการที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งให้งดสืบพยานหลักฐานดังกล่าวตามป.วิ.พ.มาตรา86ประกอบพรบ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานมาตรา31เมื่อโจทก์ได้เบิกความถึงข้อเท็จจริงต่างๆในเอกสารเหล่านั้นโดยไม่จำต้องอาศัยพยานเอกสารการเรียกเอกสารดังกล่าวจึงไม่จำเป็นแก่คดีศาลแรงงานกลางชอบที่จะสั่งยกคำร้องของโจทก์ได้ พยานเอกสารที่จำเลยนำมาสืบแม้เป็นเพียงภาพถ่ายมิใช่ต้นฉบับเอกสารแต่เมื่อจำเลยส่งอ้างเป็นพยานต่อศาลโจทก์มิได้คัดค้านความถูกต้องแท้จริงของเอกสารนั้นพยานโจทก์และพยานจำเลยหลายปากก็ได้เบิกความรับรองและอ้างถึงเอกสารดังกล่าวซึ่งเท่ากับยอมรับว่าเอกสารนั้นมีอยู่จริงและมีข้อความตรงกับต้นฉบับถือได้ว่าโจทก์ยอมรับว่าภาพถ่ายเอกสารนั้นถูกต้องแล้วศาลย่อมรับฟังเอกสารดังกล่าวได้หาเป็นการขัดต่อป.วิ.พ.มาตรา93ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1919/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้าง การจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และดอกเบี้ย กรณีลูกจ้างลากิจ/ลาป่วยเกินกำหนด
โจทก์ลากิจและลาป่วยเกินกำหนด45วันต่อปีได้ทำหนังสือทัณฑ์บนไว้แก่จำเลยนายจ้างว่าถ้าไม่ได้ขึ้นค่าจ้างในปีต่อไปยอมให้เลิกจ้างได้ดังนี้แม้ว่าข้อบังคับของจำเลยจะกำหนดให้ลูกจ้างต้องอุทิศเวลาให้แก่กิจการของจำเลยก็ตามแต่การที่โจทก์ลากิจและลาป่วยเกิน45วันต่อปีอีกก็มิใช่เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นแต่เพียงเหตุที่ทำให้โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับการพิจารณาความดีความชอบประจำปีเท่านั้นส่วนหนังสือทัณฑ์บนเป็นเพียงการบอกกล่าวให้โจทก์ทราบล่วงหน้าว่าหากถูกงดขั้นเงินเดือนหรือค่าจ้าง2ปีติดต่อกันอาจถูกเลิกจ้างได้จึงไม่ใช่หนังสือตักเตือนตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานเมื่อโจทก์ลากิจและลาป่วยเกิน45วันต่อปีโดยได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาโดยชอบแล้วโจทก์จึงไม่ได้กระทำผิดเพราะลากิจและลาป่วยมากและไม่ถือว่าเป็นการจงใจขัดคำสั่งโดยชอบของนายจ้างทั้งไม่เป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตจำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยและต้องบอกกล่าวล่วงหน้า. จำเลยจ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ลูกจ้างประจำรายวันทุกวันที่14และวันที่28ของเดือนเมื่อจำเลยบอกเลิกการจ้างวันที่19กันยายน2528การเลิกจ้างย่อมมีผลตามกฎหมายในวันที่14ตุลาคม2528ซึ่งเป็นวันถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวถัดไปการที่จำเลยบอกเลิกจ้างต่อโจทก์ในวันที่19กันยายน2528โดยให้มีผลเลิกจ้างในวันที่1ตุลาคม2528และต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์ตั้งแต่วันที่13ตุลาคมรวม9วันเพราะช่วงระยะเวลาดังกล่าวตรงกับวันหยุดประจำสัปดาห์เสาร์อาทิตย์รวม4วันและต้องจ่ายค่าครองชีพเป็นเวลา13วัน. เงินบำเหน็จเงินประกันและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามกฎหมายไม่ได้กำหนดให้จ่ายตั้งแต่วันเลิกจ้างโจทก์จึงต้องทวงถามก่อนเมื่อไม่ปรากฏว่ามีการทวงถามจำเลยจึงต้องเสียดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1663-1664/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าชดเชยในข้อบังคับบริษัทต่างชาติ: ศาลวินิจฉัยตามคำแปลภาษาไทยที่ยื่นต่อศาล
การที่ข้อบังคับของจำเลยกำหนดว่าเงินบำเหน็จที่จำเลยจ่ายให้โจทก์ได้รวมไว้แล้วซึ่งค่าชดเชยเฉพาะส่วนที่เกินกว่าจำนวนที่กฎหมายแรงงานกำหนดนั้นต้องถือว่าเงินบำเหน็จดังกล่าวไม่มีค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานรวมอยู่ด้วย เอกสารภาษาต่างประเทศเมื่อจำเลยทำคำแปลเป็นภาษาไทยมาแล้วถือว่าถูกต้องตามเอกสารนั้นจำเลยจะโต้แย้งภายหลังว่าคำแปลไม่ถูกต้องหาได้ไม่ ป.พ.พ.มาตรา14จะใช้บังคับในกรณีมีเอกสารฉบับใดฉบับหนึ่งทำขึ้นเป็นสองภาษาแต่ข้อบังคับการทำงานของจำเลยทำขึ้นเป็นภาษาอังกฤษส่วนภาคภาษาไทยเป็นคำแปลเท่านั้นศาลจึงย่อมวินิจฉัยตามภาษาไทยที่แปลมานั้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1141-1142/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างใหม่หลังหมดอายุสัญญาเดิม การเลิกจ้างระหว่างอายุสัญญาใหม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
กรณีที่สัญญาจ้างมีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนการเลิกจ้างซึ่งจะถือว่าเป็นการเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลาตามความในประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ46วรรคสามซึ่งจะทำให้นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยนั้นได้แก่การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างในวันที่ครบกำหนดตามสัญญาจ้างหรือเลิกจ้างในวันที่ระยะเวลาที่ได้ตกลงว่าจ้างสิ้นสุดลงมิได้หมายความว่าเมื่อครบกำหนดตามสัญญาจ้างแล้วนายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างเมื่อใดก็ได้เมื่อสัญญาจ้างฉบับสุดท้ายครบกำหนดในวันที่20เมษายน2528จำเลยมิได้เลิกจ้างโจทก์โดยให้โจทก์ทำงานกับจำเลยทั้งยินยอมจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ต้องถือว่าโจทก์และจำเลยได้ทำสัญญาจ้างกันใหม่โดยความอย่างเดียวกันกับสัญญาเดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา581การที่สัญญาจ้างครบกำหนดในระหว่างที่โจทก์ทำงานอยู่บนเรือนั้นไม่ใช่เหตุซึ่งจะทำให้จำเลยไม่สามารถเลิกจ้างโจทก์ไม่ได้ดังนั้นเมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่24เมษายน2528ซึ่งอยู่ในระหว่างอายุของสัญญาจ้างใหม่จึงต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 996-998/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าครองชีพและเงินค่ากะเป็นส่วนหนึ่งของเงินเดือน/ค่าจ้างหรือไม่ และมีผลต่อการคำนวณเงินบำเหน็จอย่างไร
ค่าครองชีพเป็นเงินที่จำเลยจ่ายให้ลูกจ้างเป็นจำนวนแน่นอนเป็นรายเดือนเช่นเดียวกับเงินเดือนหรือค่าจ้างจึงเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานเช่นเดียวกับเงินเดือนถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของเงินเดือนหรือค่าจ้างแต่การที่จะนำค่าครองชีพมารวมเป็นฐานคำนวณเงินบำเหน็จหรือไม่ย่อมแล้วแต่หลักเกณฑ์ที่นายจ้างกำหนดเพราะเงินบำเหน็จกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานมิได้บังคับให้นายจ้างต้องจ่ายแก่ลูกจ้างเมื่อออกจากงานเป็นเพียงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างด้วยความสมัครใจ ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกำหนดว่า'เงินเพิ่มสำหรับผู้ปฏิบัติงานกะเป็นเงินช่วยเหลือพิเศษไม่นำไปรวมเป็นเงินเดือนหรือค่าจ้าง'เงินดังกล่าวจึงเป็นเงินเพิ่มพิเศษจะนำไปรวมเป็นฐานคำนวณเงินบำเหน็จด้วยมิได้.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 996-998/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการคำนวณเงินบำเหน็จ: ค่าครองชีพเป็นส่วนหนึ่งของเงินเดือน/ค่าจ้าง, เงินเพิ่มกะเป็นเงินช่วยเหลือพิเศษ
ค่าครองชีพเป็นเงินที่จำเลยจ่ายให้ลูกจ้างเป็นจำนวนแน่นอนเป็นรายเดือนเช่นเดียวกับเงินเดือนหรือค่าจ้างจึงเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานเช่นเดียวกับเงินเดือนถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของเงินเดือนหรือค่าจ้างแต่การที่จะนำค่าครองชีพมารวมเป็นฐานคำนวณเงินบำเหน็จหรือไม่ย่อมแล้วแต่หลักเกณฑ์ที่นายจ้างกำหนดเพราะเงินบำเหน็จกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานมิได้บังคับให้นายจ้างต้องจ่ายแก่ลูกจ้างเมื่อออกจากงานเป็นเพียงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างด้วยความสมัครใจ ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกำหนดว่า"เงินเพิ่มสำหรับผู้ปฏิบัติงานกะเป็นเงินช่วยเหลือพิเศษไม่นำไปรวมเป็นเงินเดือนหรือค่าจ้าง"เงินดังกล่าวจึงเป็นเงินเพิ่มพิเศษจะนำไปรวมเป็นฐานคำนวณเงินบำเหน็จด้วยมิได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 993/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โครงสร้างค่าจ้างรัฐวิสาหกิจ, ดุลยพินิจเลื่อนขั้น, และสิทธิเงินบำเหน็จเมื่อเลิกจ้าง
มติคณะรัฐมนตรีเรื่องโครงสร้างค่าจ้างเงินเดือนของพนักงานและลูกจ้างรัฐวิสาหกิจกำหนดไว้ด้วยว่าในการปรับอัตราเงินเดือนนั้นรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งต้องคำนึงถึงฐานะและความสามารถทางการเงินประกอบด้วยโดยให้ได้รับเพิ่มขึ้นไม่เกินไปกว่าตารางปรับค่าจ้างเงินเดือนโครงสร้างค่าจ้างเงินเดือนดังกล่าวเป็นอัตราขั้นสูงที่รัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งจะพิจารณาปรับให้ลูกจ้างของตนได้มิใช่อัตราตายตัวที่รัฐวิสาหกิจทุกแห่งจะต้องปรับแก่ลูกจ้างของตนเมื่อปรากฏว่ากิจการโรงงานกระสอบของจำเลยขาดทุนจำเลยย่อมมีอำนาจปรับค่าจ้างเงินเดือนให้แก่ลูกจ้างต่ำกว่าขั้นสูงของโครงสร้างค่าจ้างเงินเดือนได้. ตามระเบียบข้อบังคับของจำเลยการเลื่อนขั้นเงินเดือนมิใช่เป็นสิทธิอันเด็ดขาดที่โจทก์จะได้รับเสมอไปกรณีย่อมต้องอยู่ในดุลยพินิจของผู้บังคับบัญชาที่จะพิจารณาว่าควรจะเลื่อนขั้นเงินเดือนให้หรือไม่ด้วยเมื่อจำเลยต้องปิดกิจการโรงงานกระสอบโดยที่ยังไม่ทันได้มีการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนโจทก์จะขอให้บังคับจำเลยรับผิดในเงินเดือนที่ยังไม่ได้พิจารณาเพิ่มให้หาได้ไม่และศาลไม่มีอำนาจบังคับให้จำเลยใช้ดุลยพินิจเลื่อนเงินเดือนให้โจทก์ได้. โจทก์ถูกเลิกจ้างเพราะโรงงานกระสอบขาดทุนจนต้องปิดกิจการกรณีจึงต้องด้วยข้อบังคับโรงงานกระสอบกระทรวงการคลังว่าด้วยกองทุนบำเหน็จพ.ศ.2521ข้อ11ซึ่งโจทก์จะได้รับเงินบำเหน็จอย่างมากไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย180วันตามข้อ11.3แต่โจทก์ได้รับเงินบำเหน็จไปแล้วสูงกว่าสิทธิอันพึงได้แม้นำเอาค่าครองชีพมารวมกับเงินเดือนเพื่อคำนวณเงินบำเหน็จก็ยังได้ไม่เท่ากับเงินที่โจทก์ได้รับไปแล้วโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิจะเรียกร้องเพิ่มอีกได้.