พบผลลัพธ์ทั้งหมด 890 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 863/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างที่มีหนี้สิน การพิจารณาหนังสือตักเตือน และสิทธิค่าชดเชย
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกำหนดว่าพนักงานหรือลูกจ้างที่มีหนี้สินรุงรังเป็นผู้กระทำผิดวินัยโจทก์เป็นหนี้บุคคลอื่นจำเลยจึงมีหนังสือถึงโจทก์มีข้อความว่าโจทก์เป็นหนี้บุคคลอื่นให้รีบจัดการในเรื่องหนี้สินเสียมิฉะนั้นจะพิจารณาโทษหนังสือดังกล่าวไม่ใช่หนังสือตักเตือนตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 706/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการทำงาน: สัญญาประนีประนอมยอมความทำให้สภาพการจ้างเดิมสิ้นสุดลง การนับอายุการทำงานใหม่เริ่มต้นจากสัญญาใหม่
โจทก์เคยทำงานกับจำเลยต่อมาโจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกล่าวหาว่าจำเลยผิดสัญญาเรียกค่าเสียหายและเงินต่างๆหลายประเภทคดีดังกล่าวตกลงกันได้โดยการประนีประนอมยอมความและศาลพิพากษาตามยอมแล้วว่าบริษัทจำเลยยอมจ่ายเงินจำนวนหนึ่งแก่โจทก์ยอมรับโจทก์กลับเข้าทำงานตั้งแต่วันที่1มีนาคม2527เป็นต้นไปดังนี้สภาพการจ้างระหว่างโจทก์จำเลยที่มีอยู่เดิมยุติลงแล้วด้วยการที่โจทก์ฟ้องคดีต่อศาลแรงงานกลางเมื่อโจทก์จำเลยยอมความกันก็มิได้กล่าวถึงว่าจะนับอายุการทำงานเดิมต่อกับอายุการทำงานใหม่หรือไม่ทั้งคดีดังกล่าวโจทก์ก็มิได้ขอให้บังคับจำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานใหม่โจทก์จึงจะนับอายุการทำงานที่ตกลงกันใหม่ต่อจากอายุการทำงานเดิมมิได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 391-394/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างเนื่องจากขาดทุนและการหักเงินบำเหน็จด้วยค่าชดเชย ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะประสพการขาดทุนจำนวนมากติดต่อกันแม้ไม่ได้ประกาศให้ทราบล่วงหน้าก็ถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรมแล้ว. ตามระเบียบของจำเลยว่าด้วยเงินบำเหน็จฯยอดเงินที่พนักงานจะได้รับคือยอดเงินที่คำนวณตามหลักเกณฑ์ลบด้วยเงินทุกชนิดที่จำเลยต้องจ่ายให้พนักงานตามกฎหมายก่อนเงินบำเหน็จของโจทก์จึงต้องถูกลบด้วยค่าชดเชยซึ่งเป็นเงินที่จำเลยต้องจ่ายตามกฎหมายเมื่อค่าชดเชยมีจำนวนสูงกว่าเงินบำเหน็จโจทก์ก็ไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จอีก.(ที่มา-ส่งเสิรมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 391-394/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่เป็นธรรมและการหักเงินบำเหน็จด้วยค่าชดเชยตามระเบียบบริษัท
จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะประสพการขาดทุนจำนวนมากติดต่อกันแม้ไม่ได้ประกาศให้ทราบล่วงหน้าก็ถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรมแล้ว ตามระเบียบของจำเลยว่าด้วยเงินบำเหน็จฯยอดเงินที่พนักงานจะได้รับคือยอดเงินที่คำนวณตามหลักเกณฑ์ลบด้วยเงินทุกชนิดที่จำเลยต้องจ่ายให้พนักงานตามกฎหมายก่อนเงินบำเหน็จของโจทก์จึงต้องถูกลบด้วยค่าชดเชยซึ่งเป็นเงินที่จำเลยต้องจ่ายตามกฎหมายเมื่อค่าชดเชยมีจำนวนสูงกว่าเงินบำเหน็จโจทก์ก็ไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จอีก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 189/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างเพราะเกษียณอายุ ไม่ถือเป็นการกำหนดระยะเวลาจ้าง ต้องจ่ายค่าชดเชย และค่าจ้างวันหยุดพักผ่อน
โจทก์เป็นลูกจ้างประจำของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรจำเลยตามข้อบังคับของธนาคารฯจำเลยฉบับที่4ข้อ15(4)และข้อ18ที่กำหนดว่าพนักงานต้องออกจากงานเมื่อเกษียณอายุคือการที่พนักงานมีอายุครบ60ปีบริบูรณ์นั้นมิใช่เป็นการกำหนดระยะเวลาการจ้างเพราะมิได้กำหนดข้อผูกพันให้จ้างกันจนกว่าพนักงานจะมีอายุครบ60ปีบริบูรณ์แต่เป็นการกำหนดคุณสมบัติพนักงานของจำเลยเป็นการทั่วไปดังนั้นพนักงานผู้มีอายุครบ60ปีบริบูรณ์จึงมิใช่ลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานเมื่อธนาคารฯจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์มีอายุครบ60ปีบริบูรณ์ธนาคารฯจำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์ เงินบำเหน็จที่ธนาคารฯจำเลยจ่ายให้แก่โจทก์เป็นเงินที่มีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการจ่ายแตกต่างกับค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานฯจึงถือไม่ได้ว่าเป็นค่าชดเชย ข้อบังคับของธนาคารฯจำเลยฉบับที่17ว่าด้วยการลาและการจ่ายเงินเดือนระหว่างลาข้อ11วรรคแรกกำหนดว่า'ผู้ปฏิบัติงานมีสิทธิลาพักผ่อนประจำปีในปีหนึ่งได้10วันโดยไม่ถือเป็นวันลา'และความในวรรคท้ายกำหนดว่า'การลาการอนุญาตให้ลาพักผ่อนประจำปีให้เป็นไปตามที่ผู้จัดการกำหนด'เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าผู้จัดการได้กำหนดวันให้โจทก์หยุดพักผ่อนประจำปีไว้การที่โจทก์มิได้ใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีจึงหาตัดสิทธิโจทก์ที่จะได้รับค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานฯไม่.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 189/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุเกษียณกับการจ่ายค่าชดเชยและค่าวันหยุดพักผ่อน: ข้อบังคับบริษัทมิใช่สัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลา
โจทก์เป็นลูกจ้างประจำของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จำเลย ตาม ข้อบังคับของธนาคารฯ จำเลย ฉบับ ที่ 4 ข้อ 15(4) และ ข้อ 18 ที่กำหนดว่าพนักงานต้อง ออกจากงานเมื่อเกษียณอายุคือการที่พนักงานมีอายุครบ60 ปีบริบูรณ์นั้น มิใช่เป็นการกำหนดระยะเวลาการจ้าง เพราะมิได้กำหนดข้อผูกพันให้จ้างกันจนกว่าพนักงานจะมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์แต่ เป็นการกำหนดคุณสมบัติพนักงานของจำเลยเป็นการทั่วไป ดัง นั้นพนักงานผู้มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ จึงมิใช่ลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนตาม ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน เมื่อธนาคารฯ จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ธนาคารฯ จำเลยจึงต้อง จ่ายค่าชดเชยให้โจทก์ เงินบำเหน็จที่ธนาคารฯ จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์ เป็นเงินที่มีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการจ่ายแตกต่าง กับค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ จึงถือ ไม่ได้ว่าเป็นค่าชดเชย ข้อบังคับของธนาคารฯ จำเลย ฉบับ ที่ 17 ว่าด้วยการลา และการจ่ายเงินเดือน ระหว่างลา ข้อ 11 วรรคแรก กำหนดว่า "ผู้ปฏิบัติงานมีสิทธิลาพักผ่อนประจำปีในปีหนึ่งได้ 10 วัน โดย ไม่ถือ เป็นวันลา"และความในวรรคท้ายกำหนดว่า "การลา การอนุญาตให้ลาพักผ่อนประจำปีให้เป็นไปตาม ที่ผู้จัดการกำหนด" เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าผู้จัดการได้ กำหนดวันให้โจทก์หยุดพักผ่อนประจำปีไว้ การที่โจทก์มิได้ใช้ สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี จึงหาตัด สิทธิโจทก์ที่จะได้ รับค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี ตาม ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 173/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างหลังเริ่มงาน: สัญญาผูกพันเมื่อมีเจตนา หากกำหนดระยะเวลาแล้ว เลิกจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
แม้นายจ้างจะทำสัญญาจ้างแรงงานกับลูกจ้างหลังจากรับลูกจ้างเข้าทำงานแล้ว1เดือน นายจ้างและลูกจ้างก็ต้องผูกมัดกันตามสัญญานั้นการที่นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทำงานก่อนทำสัญญาจ้างไม่อาจถือได้ว่าเป็นการรับเข้าทำงานโดยปราศจากเงื่อนไขเมื่อปรากฏว่าในสัญญาจ้างได้กำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนนายจ้างย่อมเลิกจ้างลูกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21-23/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างแรงงานที่ขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน ไม่มีผลบังคับใช้ และลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชย
การที่โจทก์กับจำเลยทำสัญญาจ้างแรงงานโดยกำหนดว่าจำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์เมื่อใดก็ได้และโจทก์จะไม่เรียกร้องอย่างใดๆเอากับจำเลยนั้นเป็นเพียงข้อสัญญาซึ่งให้สิทธิจำเลยที่จะเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ถือว่าเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมซึ่งทำให้โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยเท่านั้นมิได้หมายความว่าโจทก์สละสิทธิไม่เรียกร้องเงินซึ่งพึงจะได้รับตามกฎหมาย ค่าชดเชยเป็นเงินซึ่งประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ46บังคับให้นายจ้างจ่ายแก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างซึ่งประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับอย่างกฎหมายโจทก์กับจำเลยจะตกลงทำสัญญาจ้างแรงงานโดยมีข้อตกลงใดๆอันเป็นการฝ่าฝืนประกาศฉบับดังกล่าวหาได้ไม่การที่โจทก์กับจำเลยตกลงกันโดยกำหนดให้โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าชดเชยย่อมเป็นการตัดสิทธิโจทก์ที่จะได้รับค่าชดเชยตามกฎหมายเป็นการขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ46ไม่มีผลใช้บังคับ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5042/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าชดเชยต้องจ่ายทันที แม้มีเหตุสอบสวนความเสียหาย การระงับจ่ายขัดประกาศกระทรวง
เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้าง จำเลยมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าชดเชย แก่โจทก์ทันทีตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ 46 การที่จำเลยตั้งกรรมการสอบสวนความรับผิดทางแพ่งของโจทก์กรณีทรัพย์สิน ของจำเลยเสียหาย และการสอบสวนของคณะกรรมการยังไม่เสร็จสิ้นในขณะที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ ซึ่งหากการสอบสวนเสร็จสิ้น และปรากฏว่า โจทก์ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยแล้ว จำเลยมีสิทธิขอหักกลบลบหนี้ กับโจทก์ได้นั้น เป็นเพียงเหตุซึ่งจำเลยจะใช้สิทธิหักกลบลบหนี้เท่านั้น ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่จำเลยที่จะระงับการจ่ายค่าชดเชยไว้จำเลย จะอ้างระเบียบข้อบังคับของจำเลยมาเป็นเหตุระงับการจ่ายค่าชดเชย หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5041/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากป่วย และสิทธิในการได้รับค่าชดเชย ค่าจ้างวันหยุดพักผ่อน และดอกเบี้ย
การที่ลูกจ้างเจ็บป่วยจนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่การงานได้ตามปกตินั้น เป็นเหตุที่เกิดขึ้นตามสภาพของร่างกายโดยธรรมชาติแม้ตามระเบียบข้อบังคับ ของนายจ้างและสัญญาผู้เข้าทำงานของนายจ้างซึ่งลูกจ้างทำกับนายจ้าง จะให้อำนาจนายจ้างเลิกจ้างได้ ก็เป็นเพียงให้สิทธิไว้เท่านั้นถือไม่ได้ว่า ลูกจ้างกระทำการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับหรือสัญญาเมื่อนายจ้างเลิกจ้าง จึงต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 45กำหนดเพียงว่า ถ้านายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างประจำโดยลูกจ้างไม่มีความผิด ตามข้อ 47 ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างแก่ลูกจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี มิได้มีเงื่อนไขหรือข้อกำหนดว่าถ้าลูกจ้างไม่ใช้สิทธิขอลาหยุดแล้วลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างดังกล่าว สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า เป็นเงินที่นายจ้างต้องจ่ายกรณีเลิกจ้างโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 ไม่ใช่เงินซึ่งกฎหมายบังคับให้นายจ้างจ่ายทันที ที่ไม่บอกกล่าวล่วงหน้าฉะนั้นนายจ้างจะผิดนัดต่อเมื่อลูกจ้างได้บอกกล่าว หรือทวงถาม เมื่อไม่ปรากฏว่าได้บอกกล่าวหรือทวงถามลูกจ้างชอบที่จะได้ ดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้อง แม้ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ31 จะกำหนดให้นายจ้างจ่ายดอกเบี้ยแก่ลูกจ้างระหว่างผิดนัดร้อยละสิบห้าต่อปี ก็ตาม แต่ตามคำขอท้ายฟ้องโจทก์ระบุขอให้จำเลยจ่ายดอกเบี้ยตามกฎหมาย โดยมิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยให้ชัดแจ้งทั้งโจทก์เรียกร้องเงินมาหลายประเภท ซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยต่างกันการที่ศาลให้จำเลยจ่ายดอกเบี้ยอัตราร้อยละ เจ็ดครึ่งต่อปีจึงชอบแล้ว