คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 890 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3886/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้าง การใช้เหตุในการเลิกจ้างต้องสอดคล้องกับข้อเท็จจริงและเหตุผลที่จำเลยอ้างในการต่อสู้คดี
จำเลยให้การว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์กับพวกร่วมกันทุจริต ลักรถยนต์ของจำเลย โดยมอบกุญแจรถยนต์และชุดโอนทะเบียนให้ บุคคลอื่นไปโดยมิได้ทำหนังสือรับรถยนต์ไว้จงใจทำให้จำเลยได้รับ ความเสียหายแล้วยังให้การต่อไปด้วยว่า โจทก์กระทำการฝ่าฝืนต่อ ข้อบังคับคำสั่งและระเบียบการทำงานของจำเลยอย่างร้ายแรงด้วย ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวเนื่องกับข้อเท็จจริงในตอนต้นว่าโจทก์มิได้ปฏิบัติตาม ระเบียบข้อบังคับหรือคำสั่งในการจำหน่ายและส่งมอบรถยนต์ให้แก่บุคคลอื่นนั่นเอง ซึ่งตามข้อเท็จจริงนั้นจำเลยเลิกจ้างโจทก์ก็เพราะ โจทก์กระทำการดังกล่าวแต่ประการเดียว หามีเหตุการณ์อื่นที่จำเลย อาศัยเป็นเหตุแห่งการเลิกจ้างไม่การที่จำเลยใช้ถ้อยคำในคำสั่งเลิกจ้าง ว่าโจทก์บกพร่องต่อหน้าที่และทำให้จำเลยได้รับความเสียหายนั้น ก็เกิดจากการกระทำของโจทก์ดังกล่าวการกระทำที่เป็นการบกพร่องนั้น อาจเกิดจากการกระทำโดยเจตนาที่จะฝ่าฝืนระเบียบ ข้อบังคับหรือคำสั่ง ของจำเลยหรือไม่ก็ได้ และย่อมหมายถึงไม่ปฏิบัติหน้าที่ให้เต็มตามหน้าที่ ที่ตนพึงต้องปฏิบัติโดยมีเจตนาทุจริตหรือไม่ก็ได้เช่นเดียวกัน สาเหตุแห่งการเลิกจ้างโจทก์จึงเป็นสาเหตุอันเดียวกันกับที่จำเลยได้ ให้การต่อสู้คดีแล้วนั่นเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1612/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การท่าอากาศยานฯ และสิทธิแรงงาน: การยกเว้นบังคับกฎหมายแรงงาน แต่ต้องคุ้มครองไม่น้อยกว่ากฎหมายกำหนด
พระราชบัญญัติการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2522มาตรา 6 บัญญัติให้กิจการของการท่าอากาศยานไม่ตกอยู่ใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์โจทก์ฟ้องโดยอาศัยสิทธิของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานอันเป็นกฎหมายคุ้มครองแรงงานและอาศัยสิทธิตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานฯ พ.ศ.2522 มาตรา 49 ซึ่งเป็นกฎหมายที่มุ่งหมาย จะให้ความคุ้มครองแก่ลูกจ้างนอกเหนือจากที่มีอยู่แล้วตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานและกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายคุ้มครองแรงงานเมื่อคดีนี้ไม่มีข้อโต้แย้งว่าข้อบังคับการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยกำหนดสิทธิของโจทก์ให้ได้รับความคุ้มครองแรงงานน้อยกว่าที่กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานบัญญัติไว้โจทก์ จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1610/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความกับค่าชดเชย: การสละสิทธิเรียกร้องค่าชดเชยโดยการรับเงินช่วยเหลือ
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ซึ่งมีผลเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนเมื่อโจทก์ทำ สัญญาประนีประนอมยอมความในศาลยอมรับเงินช่วยเหลือจากจำเลย ไปจำนวนหนึ่งแล้วโดยไม่ติดใจเรียกร้องอะไรจากจำเลยอีกจึงมีผลเป็นว่า โจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องค่าชดเชยหรือโจทก์ยอมสละข้อหานี้ โดยโจทก์ ไม่ประสงค์จะขอให้ศาลบังคับเอากับจำเลยอีกต่อไป สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจึงหาขัดต่อ ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานอันตกเป็นโมฆะแต่อย่างใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1604/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างมีกำหนดระยะเวลา, การบอกเลิกสัญญา, ค่าชดเชย, ค่าเสียหาย, และสิทธิหยุดพักผ่อนของลูกจ้าง
สัญญาจ้างที่กำหนดระยะเวลาจ้างไว้อย่างต่ำ 1 ปีและไม่เกิน 2 ปีนั้นนายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างลูกจ้างภายในกำหนดดังกล่าวเมื่อใดก็ได้กำหนดนั้นจึงไม่ใช่กำหนดระยะเวลาการจ้างที่แน่นอน(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่2155/2524) เมื่อค่าจ้างกำหนดจ่ายกันทุกวันที่ 25 ของเดือนและจำเลยเลิกจ้างโจทก์วันที่ 1 มีนาคมโดยบอกกล่าวล่วงหน้าวันที่ 31 มกราคมดังนี้ ระยะเวลาบอกกล่าวล่วงหน้าจะชอบด้วยกฎหมายต่อเมื่อจำเลยเลิกจ้างในวันที่ 25 มีนาคม แม้จำเลยมีหน้าที่ต้องให้รถยนต์โจทก์ใช้ในการทำงานตามสัญญาจ้างก็ตามแต่เมื่อโจทก์เข้าทำงานจำเลยมิได้จัดรถยนต์ให้โจทก์ก็มิได้ทักท้วงกลับใช้รถยนต์ส่วนตัวโดยให้จำเลยออกค่าน้ำมัน ค่าซ่อมแซม และค่าใช้จ่ายอื่นๆเมื่อโจทก์ไปทำงานต่างจังหวัดจำเลยก็จัดหารถยนต์ให้เห็นได้ว่าโจทก์จำเลยตกลงแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญากันใหม่โดยปริยายแล้วโจทก์จะอ้างว่าจำเลยผิดสัญญาหาได้ไม่ การที่จำเลยเลิกจ้างเมื่อโจทก์ทำงานครบหนึ่งปีนั้นทำให้โจทก์สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างและไม่มีโอกาสจะใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 513/2524) เมื่อศาลแรงงานกลางมิได้วินิจฉัยว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะไม่เป็นธรรมหรือไม่ศาลฎีกาย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยเหตุใดจึงไม่มีข้อเท็จจริงที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยว่าการกระทำนั้นเป็นการเลิกจ้างข้อเท็จจริงดังกล่าวแล้วพิพากษาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2540/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกจ้างทดลองงานลาออกไม่จำเป็นต้องแจ้งล่วงหน้า นายจ้างคืนเงินประกัน
ระเบียบข้อบังคับการทำงานระบุว่า ลูกจ้างผู้ประสงค์ลาออกต้องแจ้งแก่นายจ้างล่วงหน้า 30 วันนั้น ต้องเป็นลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างและได้ลาออกก่อนสิ้นอายุสัญญาว่าจ้างโจทก์ เป็นเพียงลูกจ้างทดลองงาน แม้เมื่อครบระยะทดลองงานแล้วนายจ้าง จะไม่จ้างก็ได้ทั้งนายจ้างและลูกจ้างยังไม่ได้กำหนดระยะเวลาการจ้างต่อกัน และยังไม่เริ่มนับอายุการทำงาน ลูกจ้างในลักษณะเช่นโจทก์นี้ไม่มีข้อกำหนดในสัญญาว่าจะต้องแจ้งการลาออกเป็นการล่วงหน้า การลาออกของโจทก์จึงมีผลตั้งแต่วันที่โจทก์แจ้งลาออกต่อจำเลยผู้เป็นนายจ้างการที่โจทก์ทำงานต่อมาเป็นเพียงช่วยเหลือจำเลยเป็นการชั่วคราว โดยไม่ถือเป็นหน้าที่ที่จะต้องทำโจทก์หยุดเสียก็ไม่ถือเป็นการละทิ้งหน้าที่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2436-2438/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินบำเหน็จกับการจ่ายค่าชดเชย: สิทธิลูกจ้างยังคงมีแม้รับเงินบำเหน็จตัดตอน
สิทธิของลูกจ้างที่จะได้รับเงินบำเหน็จเป็นสิทธิที่เกิดขึ้นโดยระเบียบเดิม ไม่ใช่เป็นสิทธิที่เกิดจากข้อเรียกร้องหรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างซึ่งทำขึ้นใหม่ แม้ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างจะได้เปลี่ยนแปลงแก้ไขหลักการในการจ่ายเงินบำเหน็จจากเดิมโดยให้จำเลยจ่ายเงินบำเหน็จตัดตอนเป็นรายปีให้แก่ลูกจ้างแทนที่จะรอจ่ายเมื่อลูกจ้างออกจากงานหรือตาย แต่ก็เป็นการเปลี่ยนแปลง แก้ไขเฉพาะกำหนดระยะเวลาการจ่ายเงิน ส่วนสาระสำคัญอื่นๆ เช่น ประเภทของลูกจ้าง หรือคุณสมบัติของลูกจ้างผู้มี สิทธิได้รับเงินบำเหน็จ คงใช้หลักเกณฑ์ตามระเบียบเดิมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างฉบับหลังเป็นเพียงกำหนดให้สิทธิ แก่ลูกจ้างที่จะขอเลือกรับเงินบำเหน็จตัดตอนเป็นรายปี หรือขอรับเงินบำเหน็จเมื่อออกจากงานก็ได้เท่านั้นมิได้หมายความเลยไปว่าถ้าลูกจ้างขอรับเงินบำเหน็จตัดตอนเป็นรายปีไปแล้ว ก็สิ้นความผูกพันที่มีอยู่ตามระเบียบเดิม นายจ้างมีสิทธิจะนำระเบียบเดิมมาใช้ บังคับแก่ลูกจ้างได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2239/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาชัดเจน การเลิกจ้างตามกำหนดไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
จำเลยจ้างโจทก์โดยมีกำหนดระยะเวลาเป็นช่วงๆ ช่วงละ 6 เดือน ครั้งสุดท้ายมีกำหนดระยะเวลา 4 เดือน สัญญาจ้างระบุวันเริ่มต้นและวันสิ้นสุดแห่งสัญญาไว้ทุกช่วงจึงถือว่า เป็นสัญญาที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ตามกำหนดระยะเวลานั้น จึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ทั้งถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1549/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างต่างชาติเนื่องจากสัญชาติ ถือเป็นการเลิกจ้างที่ต้องจ่ายค่าชดเชย
ข้ออุทธรณ์ที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลแรงงานกลางแม้จะเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ถ้า ศาลฎีกายังไม่เห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัย ก็ไม่รับ วินิจฉัยให้ ลูกจ้างพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุไม่มีสัญชาติไทยอันเป็นการพ้นจากตำแหน่งโดยผลของกฎหมาย แต่นายจ้างก็จะต้องดำเนินการให้ลูกจ้างพ้นจากตำแหน่งไปอีกชั้นหนึ่ง ซึ่ง เป็นการให้ลูกจ้าง ออกจากงานโดยไม่ได้กระทำผิดใดๆ จึงถือว่าเป็นการเลิกจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1533/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นบริษัทกับสถานะนายจ้าง-ลูกจ้างต่อเนื่อง อายุงานนับต่อเนื่อง
การที่จำเลยที่ 2 ซื้อหุ้นบริษัทจำเลยที่ 1 นั้น มีผลเพียงเปลี่ยนตัวผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 2 เข้าดำเนินกิจการโรงแรมซึ่งบริษัทจำเลยที่ 1 เช่ามาจากผู้อื่น จึงเป็นการดำเนินกิจการโรงแรมในฐานะผู้ซื้อหุ้นของบริษัทจำเลยที่ 1 เท่ากับบริษัทจำเลยที่1 ยังเป็นผู้ดำเนินกิจการโรงแรมอยู่นั่นเอง บริษัทจำเลยที่ 1 ยังคงมีฐานะเป็นนายจ้างของโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานโรงแรมนี้อยู่ จำเลยที่ 2 ได้รับมอบหมายจากผู้ถือหุ้นให้ดำเนินกิจการโรงแรมแทนบริษัทจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นนายจ้างของโจทก์ตามบทนิยามคำว่า 'นายจ้าง' ในข้อ 2 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน แม้จำเลยที่ 2 จะเข้ามาดำเนินกิจการโรงแรมเมื่อจำเลยที่ 2 ซื้อหุ้น จากบริษัทจำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่โจทก์ก็ได้ทำงานต่อเนื่องกันมา จึงต้อง นับอายุงานของโจทก์ที่ทำงานอยู่กับบริษัทจำเลยที่ 1 ต่อเนื่องกันมาด้วย จะนับอายุงานของโจทก์เพียงเท่าที่จำเลยที่ 2 เข้าดำเนินกิจการโรงแรมหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1401/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างด้วยเหตุประมาทเลินเล่อต้องพิจารณาความร้ายแรงของความเสียหาย และข้อบังคับนายจ้างต้องไม่ขัดกฎหมาย
ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนดังนั้นการที่ระเบียบของนายจ้างกำหนดว่าการประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างเสียหายแม้ไม่ร้ายแรงก็เลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยอันเป็นการแตกต่างไปจากที่ประกาศดังกล่าวบัญญัติจึงเป็นโมฆะใช้บังคับมิได้ การฝ่าฝืนข้อบังคับของนายจ้างซึ่งนายจ้างได้ออกใบเตือนแล้ว อันจะทำให้นายจ้างเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยนั้นหมายถึงข้อบังคับอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างที่ลูกจ้างสามารถปฏิบัติได้แล้วลูกจ้างไม่กระทำโดยเจตนาฝ่าฝืนหาใช่การกระทำโดยประมาทไม่ดังนี้ เมื่อลูกจ้างประมาทเลินเล่อทำให้นายจ้างเสียหายโดยที่นายจ้างออกใบเตือนแล้ว แม้จะไม่ร้ายแรงนายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างได้ไม่เป็นการเลิกจ้างอันไม่เป็นธรรมแต่นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย
of 89