คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 33

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 96 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 102/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทนายยุยงให้ตัวความหลีกเลี่ยงหมายศาล: ความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลและการเป็นตัวการ
ทนายจำเลยถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้แนะนำไม่ให้จำเลยมาศาลเพื่อฟังคำสั่งศาล และเป็นผู้ยุยงส่งเสริมให้จำเลยหลีกเลี่ยงที่จะไม่รับหมายต่าง ๆ ของศาล ศาลชั้นต้นจึงได้ทำการไต่สวนในข้อหาว่ากระทำผิดฐานละเมิดอำนาจศาล และได้มีคำสั่งให้ทนายจำเลยมาศาลด้วยตนเองทุกนัดที่มีการนัดไต่สวน กรณีเช่นนี้ทนายจำเลยไม่มีฐานะเป็นคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 19 ฉะนั้น การที่ทนายจำเลยไม่มาศาลตามคำสั่งของศาล จึงไม่มีความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 31(5) และมาตรา 19
เมื่อปรากฎต่อศาลว่าผู้ใดกระทำละเมิดอำนาจศาลจะปรากฎโดยผู้นั้นกระทำต่อหน้าศาลหรือปรากฎจากหลักฐานอื่นใด ศาลก็ย่อมสั่งลงโทษได้ ในระหว่างที่ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีที่คู่ความพิพาทกัน มีหลักฐานแสดงต่อศาลว่าทนายจำเลยกระผิดฐานละเมิดอำนาจศาลแต่ศาลยังมิได้ลงโทษทนายจำเลย ศาลยังได้สั่งให้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปเกี่ยวกับเรื่องละเมิดอำนาจศาลโดยเฉพาะอีก และให้โอกาสทนายจำเลยที่จะอ้างอิงพยานหลักฐานมาสืบแสดงต่อศาล ครั้นถึงวันนัดทนายจำเลยก็ไม่มาศาล และไม่แจ้งเหตุขัดข้องอย่างไร แม้ภายหลังที่ศาลสั่งลงโทษทนายจำเลยแล้ว ทนายจำเลยก็มิได้แจ้งเหตุขัดข้องอย่างไรต่อศาลซึ่งแสดงว่าทนายจำเลยจงใจไม่อ้างอิงพยานหลักฐานมาสืบ และหลบเลี่ยงการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลในเรื่องละเมิดอำนาจศาล ดังนี้ ศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาในเรื่องทนายจำเลยละเมิดอำนาจศาลมาชอบแล้ว
เมื่อศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณารับฟังได้ว่าทนายจำเลยเป็นผู้ยุยงเสี้ยมสอนให้ตัวความหลบเลี่ยงไม่รับหมายของศาลตลอดมา การกระทำของทนายจำเลยย่อมมีความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 31(3)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1,2/2507)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 861/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดอำนาจศาล: ศาลรับฟังพยานหลักฐานจากทุกฝ่ายได้ ผู้เสียหายเท่านั้นร้องขอโทษได้
ความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลเมื่อศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาไต่สวน ศาลก็ย่อมฟังข้อเท็จจริงได้จากหลักฐานและคำพยานที่ปรากฏมีอยู่ในสำนวนประกอบการวินิจฉัยได้ทั้งหมดไม่ว่าผู้ใดจะเป็นผู้อ้างหรือนำมาสืบ และผู้ถูกหาว่าละเมิดอำนาจศาลก็มีโอกาสซักค้านพยานนั้นได้อยู่แล้ว ศาลย่อมฟังลงโทษฐานละเมิดอำนาจศาลได้ ไม่ขัดต่อกฎหมาย
โจทก์ยื่นคำร้องว่า ผู้ร้องทำร้ายพยานโจทก์ข้างฝานอกห้องพิจารณาบนศาล ผู้ร้องยื่นคำร้องว่าพยานโจทก์ทำร้ายผู้ร้องฝ่ายเดียว ต่างฝ่ายต่างขอให้ลงโทษอีกฝ่ายในฐานละเมิดอำนาจศาล ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วฟังว่า ผู้ร้องทำร้ายพยานโจทก์ ลงโทษผู้ร้องข้างเดียวฐานละเมิดอำนาจศาล จำคุก 4 เดือน เช่นนี้ ผู้ร้องไม่มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาว่าพยานโจทก์ดังกล่าวมีความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลด้วยเพราะผู้ร้อง ไม่ใช่ผู้เสียหายในส่วนการละเมิดอำนาจศาลของพยานโจทก์ดังกล่าวนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 195/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดอำนาจศาล: ศาลลงโทษทันทีได้ไม่ต้องสอบสวน หากใช้บทบัญญัติ ป.ม.วิ.แพ่งมาตรา 31, 33
การหมิ่นประมาทศาลในเวลาพิจารณาคดีนั้น เมื่อศาลมีคำสั่งลงโทษฐานละเมิดอำนาจศาลตาม ป.ม.วิ.แพ่งมาตรา 31,33 เท่านั้นก็ไม่จำต้องสอบสวนก่อน ศาลลงโทษไปได้ทันที ทีเดียวได้
กรณีละเมิดอำนาจศาลนั้นป.ม.วิ.อาญามิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะฉะนั้นโดยอาศัย ป.ม.วิ.อาญามาตรา 15 จึงนำบทบัญญัติ ป.ม.วิ.แพ่งมาตรา 31,33,ว่าด้วยละเมิดอำนาจศาลมาใช้บังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 195/2497

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดอำนาจศาล: ศาลลงโทษทันทีได้หากเป็นการหมิ่นประมาทในระหว่างพิจารณาคดี และไม่จำเป็นต้องสอบสวน
การหมิ่นประมาทศาลในเวลาพิจารณาคดีนั้น เมื่อศาลมีคำสั่งลงโทษฐานละเมิดอำนาจศาลตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 31,33 เท่านั้นก็ไม่จำต้องสอบสวนก่อน ศาลลงโทษไปได้ทันที ทีเดียวได้
กรณีละเมิดอำนาจศาล นั้นประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะฉะนั้นโดยอาศัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 15 จึงนำบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 31,33ว่าด้วยละเมิดอำนาจศาลมาใช้บังคับได้
(เทียบฎีกา 256/2483 ในเรื่องฟ้องฎีกาข้อเท็จจริง)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22/2497

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแถลงเท็จต่อศาลและการละเมิดอำนาจศาล กรณีเติมข้อหาในคำฟ้องภายหลัง
ฟ้องเดิมระบุมาตราที่ขอให้ลงโทษจำเลยเพียงมาตรา 314 ครั้นศาลตรวจฟ้องมีคำสั่งให้ยกฟ้องเสียโจทก์อุทธรณ์และได้มีการบังอาจเติมมาตรา 304 ลงในคำขอท้ายฟ้องในสำนวนที่อยู่ในความดูแลรักษาของศาลศาลเรียกทนายโจทก์และผู้เขียนฟ้องเดิมมาสอบถาม คนทั้ง 2 ยังยืนยันแถลงเท็จต่อศาลว่ามีมาตรา 304 ในฟ้องเดิมก่อนแล้วโดยไม่มีความเคารพยำเกรง ศาลทำให้เกิดความเสียหายแก่ราชการศาลดังนี้ ต้องถือว่าได้ประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลได้แล้ว แม้ไม่ได้กระทำลงต่อหน้าศาลก็เป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 71-72/2491

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแสดงความก้าวร้าวเสียดสีศาลในฟ้องอุทธรณ์ การละเมิดอำนาจศาล และการไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล
ฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์กล่าวข้อความก้าวร้าวเสียดสีคำพิพากษาซึ่งศาลได้กระทำในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ศาลสั่งให้แก้ไขข้อความให้เรียบร้อยเสียก่อนก็ยังกล่าวความเช่นนั้นอีก ศาลสั่งให้แก้เป็นครั้งที่ 2 ก็ไม่แก้และยืนยันให้ถือฟ้องอุทธรณ์นั้น ดังนี้ ศาลมีอำนาจสั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ได้
ถ้อยคำที่กล่าวในฟ้อง จะมีความหมายธรรมดาถึงขนาดที่จะต้องตามบทบัญญัติของกฎหมายหรือไม่เป็นปัญหาข้อกฎหมาย
เรียงฟ้องอุทธรณ์กล่าวข้อความก้าวร้าวเสียดสี ศาลผู้ทำการพิจารณาพิพากษาคดีนั้นอย่างแรง ศาลสั่งให้แก้ไขเสียให้เรียบร้อยก็คงเรียงฟ้องอุทธรณ์กล่าวข้อความอย่างเดิมมายื่นอีก จนศาลสั่งให้แก้ไขเป็นครั้งที่ 2 ก็ยังเรียงคำร้องยื่นต่อศาลขอยืนยันให้รับอุทธรณ์นั้น ดังนี้ถือว่าเป็นคำกล่าวที่ไม่เรียบร้อย อันควรจะนำมายื่นต่อศาลผู้กระทำการในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอันเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลและ เมื่อศาลสั่งให้แก้ไขความไม่เรียบร้อยนั้นเสียก็ไม่แก้กลับจงใจยืนยันเป็นการไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดที่ศาลสั่งห้ามคู่ความมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาในทางก่อความรำคาญหรือในทางประวิงให้ชักช้าหรือในทางฟุ่มเฟือยตามอำนาจศาลที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 30 นั้นอีก จึงเป็นการกระทำผิดฐานละเมิดอำนาจศาลตามมาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 881/2490 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมรับผิดต่อศาลแล้ว ไม่อาจฎีกาโต้แย้งข้อเท็จจริงเดิมได้
คดีละเมิดอำนาจศาลตามวิ.แพ่ง มาตรา 32 - 33 เป็นคดีมีอัตราโทษไม่ถึงจำคุก 10 ปี เมื่อจำเลยรับสารภาพ ศาลย่อมฟังข้อเท็จจริงตามนั้นและพิพากษาได้ทีเดียวตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 176 ในกรณีเช่นนี้ ผู้ถูกลงโทษจะอุทธรณ์ฎีกาขอให้ศาลรื้อฟื้นข้อเท็จจริงของตนขึ้นพิจารณาใหม่ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 881/2490

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมรับผิดต่อศาลแล้ว ไม่อาจอุทธรณ์คัดค้านภายหลังได้
คดีละเมิดอำนาจศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 32-33 เป็นคดีมีอัตราโทษไม่ถึงจำคุก 10 ปี เมื่อจำเลยรับสารภาพ ศาลย่อมฟังข้อเท็จจริงตามนั้นและพิพากษาได้ทีเดียวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 176 ในกรณีเช่นนี้ ผู้ถูกลงโทษจะอุทธรณ์ฎีกาขอให้ศาลรื้อฟื้นข้อเท็จจริงของตนขึ้นพิจารณาใหม่ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 87/2484

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาซ้ำซ้อนหลังศาลลงโทษละเมิดอำนาจศาล: สิทธิของโจทก์ในการฟ้องคดีทำร้ายร่างกายยังคงมีอยู่
จำเลยทำร้ายร่างกายเจ้าทุกข์ในบริเวณศาลและศาลได้ลงโทษจำเลยฐานละเมิดอำนาจศาลไปแล้วโจทก์ก็ยังมีสิทธิที่จะฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานทำร้ายร่างกายได้
of 10