พบผลลัพธ์ทั้งหมด 100 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7366/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: สิทธิอุทธรณ์ค่าทดแทนและการฟ้องคดีหลังรับเงินแล้ว
พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2530 มาตรา 7 ให้ยกเลิกความในส่วนที่ 3 การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างหรือขยายทางหลวง ข้อ 63 ถึงข้อ 80 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 และมาตรา 9 วรรคสอง บัญญัติว่า การเวนคืนและการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยทางหลวงที่ได้ปฏิบัติไปแล้วก่อนวันใช้บังคับพ.ร.บ.นี้เป็นอันใช้ได้ แต่การดำเนินการต่อไป ให้ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ คือดำเนินการตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 กรณีของโจทก์ขณะที่ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 พ.ศ.2515 (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2530 มีผลใช้บังคับการดำเนินการตาม พ.ร.ฎ. กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ฯ ยังไม่เสร็จสิ้น เพราะจำเลยยังไม่ได้กำหนดค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ ดังนั้นการดำเนินการต่อไปจึงต้องบังคับตามบทบัญญัติของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ซึ่งตามมาตรา 25 วรรคหนึ่งกำหนดว่า ถ้าผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนการเวนคืนไม่พอใจในราคาของอสังหาริมทรัพย์หรือจำนวนเงินค่าทดแทน มีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีผู้รักษาการตาม พ.ร.ฎ. ภายใน 60 วันนับแต่วันได้รับหนังสือให้มารับเงินค่าทดแทน และตามมาตรา 26 วรรคหนึ่งกำหนดว่า ในกรณีที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนยังไม่พอใจคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีตามมาตรา 25 ให้มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ แต่เมื่อจำเลยกำหนดค่าทดแทนที่ดินที่จะถูกเวนคืนให้แก่โจทก์แล้ว โจทก์ได้รับเงินดังกล่าวไปเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม2531 โดยไม่ได้อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยซึ่งเป็นผู้รักษาการตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ฯ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา25 วรรคหนึ่ง ซึ่งเมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว ก็ย่อมไม่มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7366/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: การไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนการอุทธรณ์ค่าทดแทนทำให้ขาดสิทธิฟ้องร้อง
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2530 มาตรา 7 ให้ยกเลิกความในส่วนที่ 3 การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างหรือขยายทางหลวง ข้อ 63 ถึงข้อ 80 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 และมาตรา 9 วรรคสอง บัญญัติว่า การเวนคืนและการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยทางหลวงที่ได้ปฏิบัติไปแล้วก่อนวันใช้บังคับพระราชบัญญัตินี้เป็นอันใช้ได้ แต่การดำเนินการต่อไป ให้ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์คือดำเนินการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 กรณีของโจทก์ขณะที่พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 พ.ศ. 2515(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2530 มีผลใช้บังคับการดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนฯ ยังไม่เสร็จสิ้น เพราะจำเลยยังไม่ได้กำหนดค่าตอบแทนที่ดินให้แก่โจทก์ ดังนั้นการดำเนินการต่อไปจึงต้องบังคับตามบทบัญญัติของพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530ซึ่งตามมาตรา 25 วรรคหนึ่งกำหนดว่า ถ้าผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนการเวนคืนไม่พอใจในราคาของอสังหาริมทรัพย์หรือจำนวนเงินค่าทดแทน มีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกาภายใน 60 วัน นับแต่วันได้รับหนังสือให้มารับเงินค่าทดแทน และตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง กำหนดว่า ในกรณีที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนยังไม่พอใจคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีตามมาตรา 25 ให้มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ แต่เมื่อจำเลยกำหนดค่าทดแทนที่ดินที่จะถูกเวนคืนให้แก่โจทก์แล้วโจทก์ได้รับเงินดังกล่าวไปเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2531 โดยไม่ได้อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยซึ่งเป็นผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนฯ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 25 วรรคหนึ่ง ซึ่งเมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว ก็ย่อมไม่มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6185/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในที่ดินเวนคืนตกเป็นของรัฐทันทีเมื่อกฎหมายมีผลบังคับใช้ ผู้รับโอนไม่สามารถเรียกร้องคืนได้ และต้องอุทธรณ์เรื่องค่าทดแทนตามขั้นตอน
ในขณะที่มี พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินสายลำปาง - เชียงใหม่ ในท้องที่อำเภอเมืองลำปาง อำเภอห้างฉัตรจังหวัดลำปาง อำเภอแม่ทา อำภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน และอำเภอสารภีอำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ.2509 ซึ่งได้ออกตามมาตรา 8แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2497 ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่ต้องเวนคืนนั้นตกมาเป็นของจำเลยที่ 1ตามมาตรา 10 วรรคแรก แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2497 นับแต่วันที่ พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ฯ ฉบับดังกล่าวใช้บังคับแล้วหาได้ต้องตกอยู่ในเงื่อนไขว่าจำเลยที่ 1 จะต้องใช้เงินค่าทดแทนและเข้าครอบครองทรัพย์สินที่ถูกเวนคืนก่อนกรรมสิทธิ์จึงจะตกได้แก่จำเลยที่ 1 ไม่ เมื่อขณะที่โจทก์รับโอนที่ดินตามโฉนดเลขที่ 8652 โดยการซื้อขาย กรรมสิทธิ์ในที่ดินได้ตกเป็นของจำเลยที่ 1 ในฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์แล้ว โจทก์จึงมิใช่เป็นเจ้าของที่ดินที่ต้องเวนคืน ซึ่งจะเรียกที่ดินคืนโดยอ้างว่าที่ดินดังกล่าวมิได้ใช้ตามวัตถุประสงค์ของการเวนคืนได้ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขอคืนที่ดินพิพาทจากจำเลยทั้งสอง
โจทก์ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนไม่พอใจในจำนวนเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการกำหนด ต้องอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีผู้รักษาการตาม พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 25 วรรคแรก แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 โจทก์จึงจะมีสิทธินำคดีมาฟ้องศาลตามมาตรา 26 วรรคแรก แต่ปรากฏว่าเมื่อโจทก์ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทน โจทก์มิได้อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีตามมาตรา 25วรรคแรก เสียก่อน โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างจากจำเลยทั้งสอง
โจทก์ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนไม่พอใจในจำนวนเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการกำหนด ต้องอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีผู้รักษาการตาม พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 25 วรรคแรก แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 โจทก์จึงจะมีสิทธินำคดีมาฟ้องศาลตามมาตรา 26 วรรคแรก แต่ปรากฏว่าเมื่อโจทก์ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทน โจทก์มิได้อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีตามมาตรา 25วรรคแรก เสียก่อน โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างจากจำเลยทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6185/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในที่ดินเวนคืนตกเป็นของเจ้าหน้าที่เมื่อออกกฎหมายเวนคืน ผู้รับโอนที่ดินจึงไม่มีสิทธิเรียกคืน แต่มีสิทธิเรียกร้องค่าทดแทนหากไม่พอใจต้องอุทธรณ์ตามกฎหมาย
ในขณะที่มีพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินสายลำปาง-เชียงใหม่ ในท้องที่อำเภอเมืองลำปาง อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง อำเภอแม่ทาอำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน และอำเภอสารภีอำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. 2509 ซึ่งได้ออกตามมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2497 ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่ต้องเวนคืนนั้นตกมาเป็นของจำเลยที่ 1ตามมาตรา 10 วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 นับแต่วันที่พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ ฉบับดังกล่าวใช้บังคับแล้วหาได้ต้องตกอยู่ในเงื่อนไขว่าจำเลยที่ 1 จะต้องใช้เงินค่าทดแทนและเข้าครอบครองทรัพย์สินที่ถูกเวนคืนก่อนกรรมสิทธิ์จึงจะตกได้แก่จำเลยที่ 1 ไม่ เมื่อขณะที่โจทก์รับโอนที่ดินตามโฉนดเลขที่ 8652 โดยการซื้อขาย กรรมสิทธิ์ในที่ดินได้ตกเป็นของจำเลยที่ 1 ในฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์แล้วโจทก์จึงมิใช่เป็นเจ้าของที่ดินที่ต้องเวนคืน ซึ่งจะเรียกที่ดินคืนโดยอ้างว่าที่ดินดังกล่าวมิได้ใช้ตามวัตถุประสงค์ของการเวนคืนได้ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขอคืนที่ดินพิพาทจากจำเลยทั้งสอง โจทก์ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนไม่พอใจในจำนวนเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการกำหนด ต้องอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 25 วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 โจทก์จึงจะมีสิทธินำคดีมาฟ้องศาลตามมาตรา 26 วรรคแรก แต่ปรากฏว่าเมื่อโจทก์ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทน โจทก์มิได้อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีตามมาตรา 25 วรรคแรก เสียก่อน โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างจากจำเลยทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2110/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องค่าเวนคืนตาม พ.ร.บ.เวนคืนฯ ต้องระบุจำนวนค่าทดแทนที่ต้องการ และขอให้บังคับชำระเพิ่ม
การฟ้องคดีตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 มาตรา 26 วรรคแรก โจทก์ต้องบรรยายมาในคำฟ้องด้วยว่าค่าทดแทนที่ตนควรได้รับชำระมีจำนวนเท่าใด และคำขอท้ายฟ้องต้องเป็นเรื่องให้บังคับผู้มีอำนาจในการเวนคืนหรือควบคุมการเวนคืนชำระค่าทดแทนเพิ่มขึ้นจากที่รัฐมนตรีมีคำวินิจฉัย เมื่อคำฟ้องของโจทก์หาได้บรรยายถึงจำนวนค่าทดแทนที่โจทก์เห็นว่าตนเองพึงได้รับแต่ประการใดไม่ ทั้งคำขอท้ายฟ้องก็เพียงแต่ขอให้จำเลยดำเนินการให้เป็นไปตามบทกฎหมายที่โจทก์ยกขึ้นอ้างเท่านั้น คำฟ้องของโจทก์จึงขาดสาระสำคัญของการฟ้องคดีตามบทบัญญัติดังกล่าว ไม่มีทางที่ศาลจะพิพากษาให้จำเลยต้องรับผิดได้ และแม้โจทก์บรรยายฟ้องมาด้วยว่าการที่จำเลยในฐานะผู้วินิจฉัยอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยไม่ถูกต้องเป็นการละเมิดต่อโจทก์ แต่โจทก์ก็มิได้มีคำขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพราะเหตุดังกล่าว ศาลจึงชอบที่จะมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3535/2536 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฟ้องคดีเวนคืน: ต้องอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีก่อน จึงมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาล
พ.ร.บ. เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ซึ่งใช้บังคับในขณะเกิดกรณีพิพาทกำหนดสิทธิฟ้องคดีต่อศาลของผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 18 ไว้เป็นการเฉพาะในมาตรา 26 ว่า ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่จะฟ้องคดีต่อศาลได้นั้นจะต้องเป็นผู้ที่ไม่พอใจคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีตามมาตรา 25หรือในเมื่อรัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 25วรรคสอง ดังนั้นโจทก์ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 18 จึงต้องดำเนินการอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีภายในเวลาที่กำหนดตามมาตรา 25 วรรคแรกแต่โจทก์มิได้อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีตามมาตรา 25 วรรคแรก เสียก่อน จึงไม่มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาล
คำว่ามีสิทธิอุทธรณ์ตามมาตรา 25 หมายความเพียงว่าเป็นสิทธิของผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่จะอุทธรณ์หรือไม่อุทธรณ์ก็ได้ มิได้หมายความว่าผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนมีสิทธิเลือกอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีหรือฟ้องคดีต่อศาล เพราะสิทธิการฟ้องคดีต่อศาลได้มีบัญญัติไว้แล้วในมาตรา 26
คำว่ามีสิทธิอุทธรณ์ตามมาตรา 25 หมายความเพียงว่าเป็นสิทธิของผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่จะอุทธรณ์หรือไม่อุทธรณ์ก็ได้ มิได้หมายความว่าผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนมีสิทธิเลือกอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีหรือฟ้องคดีต่อศาล เพราะสิทธิการฟ้องคดีต่อศาลได้มีบัญญัติไว้แล้วในมาตรา 26
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3535/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: ต้องอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรี ก่อนฟ้องคดีต่อศาล
พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 กำหนดสิทธิฟ้องคดีต่อศาลของผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 18 ไว้เป็นการเฉพาะในมาตรา 26 วรรคแรก ซึ่งแสดงว่า ผู้ที่จะฟ้องคดีต่อศาลได้นั้นจะต้องเป็นผู้ที่ไม่พอใจ คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีตามมาตรา 25 หรือในเมื่อรัฐมนตรี มิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดเวลาตาม มาตรา 25 วรรคสอง ดังนั้น โจทก์ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินทดแทนตามมาตรา 18 จึงต้องดำเนินการตามมาตรา 25 วรรคแรก แต่เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีตามมาตรา 25 วรรคแรก เสียก่อน โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาล คำว่ามีสิทธิอุทธรณ์ตามมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 นั้น หมายความเพียงว่าเป็นสิทธิของผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่จะอุทธรณ์หรือไม่อุทธรณ์ก็ได้แต่มิได้หมายความว่าโจทก์มีสิทธิ เลือกอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีหรือฟ้องคดีต่อศาลก็ได้ เพราะสิทธิการฟ้องคดีต่อศาลได้มีบัญญัติไว้แล้วในมาตรา 26
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3535/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฟ้องคดีเวนคืนต้องอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีก่อน หากไม่ทำ ไม่มีสิทธิฟ้องต่อศาล
พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530ซึ่งใช้บังคับในขณะเกิดกรณีพิพาทกำหนดสิทธิฟ้องคดีต่อศาลของผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 18ไว้เป็นการเฉพาะในมาตรา 26 ว่า ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่จะฟ้องคดีต่อศาลได้นั้นจะต้องเป็นผู้ที่ไม่พอใจคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีตามมาตรา 25 หรือในเมื่อรัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 25 วรรคสอง ดังนั้นโจทก์ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 18 จึงต้องดำเนินการอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีภายในเวลาที่กำหนดตามมาตรา 25 วรรคแรก แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์ ต่อรัฐมนตรีตามมาตรา 25 วรรคแรก เสียก่อน จึงไม่มีสิทธิ ฟ้องคดีต่อศาล คำว่ามีสิทธิอุทธรณ์ ตามมาตรา 25 หมายความเพียงว่าเป็นสิทธิของผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่จะอุทธรณ์หรือไม่อุทธรณ์ก็ได้ มิได้หมายความว่าผู้มีสิทธิได้รับเงิน ค่าทดแทนมีสิทธิเลือกอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีหรือฟ้องคดีต่อศาล เพราะสิทธิการฟ้องคดีต่อศาลได้มีบัญญัติไว้แล้วในมาตรา 26
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6037/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนการเวนคืนที่ดิน-ดอกเบี้ย-อำนาจฟ้อง-การครอบครองปรปักษ์
ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 188 นายกเทศมนตรีเทศบาลนครหลวงขณะนั้นเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ตามคำสั่งของหัวหน้าคณะปฏิวัติ หัวหน้าแผนกพิจารณาอุทธรณ์และคำร้อง กองกฎหมายและคดี หัวหน้าแผนกสำรวจ กองรังวัดและที่ดิน ฝ่ายการโยธาเทศบาลนครหลวงหรือของกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 1 ในปัจจุบันเป็นกรรมการเวนคืนที่ดินพิพาทเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 1 และมีประกาศของจำเลยที่ 1 ให้เจ้าของที่ดินยื่นคำขอรับเงินค่าทดแทนจากคณะกรรมการเวนคืน นอกจากนี้ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 188 ข้อ 3 พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2497 มาตรา 8, 10 ให้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ต้องเวนคืนนั้นตกมาเป็นของเจ้าหน้าที่ แต่เจ้าหน้าที่จะมีสิทธิเข้าครอบครองทรัพย์สินได้ต่อเมื่อใช้เงินหรือวางเงินค่าทดแทนแล้ว แสดงความมุ่งหมายของประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 188 ว่า การเวนคืนที่ดินพิพาทก็เพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 1 ปรากฏว่าเมื่อ พ.ศ.2526 จำเลยที่ 1 ได้เข้าครอบครองทำถนนโดยไม่ได้จ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่ ส.เจ้าของที่ดินพิพาทขณะนั้น ตามประกาศของคณะปฏิวัติแต่อย่างใดเมื่อ ส.ทวงถาม จำเลยที่ 1 กลับมีหนังสือตอบผัดผ่อนเรื่อยมาโดยไม่ได้โต้แย้งให้ทวงถามค่าทดแทนจากบุคคลอื่น โจทก์ซึ่งเป็นทายาทรับมรดกจาก ส.จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าทดแทนจากจำเลยที่ 1 ได้จำเลยที่ 1 ไม่อาจยกเหตุที่ไม่ได้งบประมาณจากรัฐบาลเป็นข้อแก้ตัวได้
เมื่อโจทก์มีสิทธิเรียกค่าทดแทนจากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการเวนคืนที่ดินพิพาท แม้จะฟังว่าคณะรัฐมนตรีมีมติให้โอนสิทธิในที่ดินพิพาทไปให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยภายหลังก็หาทำให้โจทก์สิ้นสิทธิเรียกค่าทดแทนซึ่งมีอยู่เดิมแล้วแต่อย่างใดไม่ ทั้งมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวก็ไม่ใช่กฎหมายที่จะลบล้างประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 188 ซึ่งมีผลเป็นกฎหมายอีกด้วย
ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 36วรรคสอง การเวนคืนและการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่ได้ปฏิบัติไปแล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้เป็นอันใช้ได้ แต่การดำเนินการต่อไปให้ดำเนินการตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ เมื่อกรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ยังมิได้กำหนดค่าทดแทนภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันได้รับแต่งตั้งตามมาตรา 23 วรรคสอง เป็นการมิชอบและกรณีไม่ใช่เรื่องการชำระค่าทดแทนเพิ่มขึ้นตามมาตรา 26 วรรคสาม หรือการจ่ายค่าทดแทนล่าช้าตามมาตรา 28 และมาตรา 33 การคำนวณดอกเบี้ยในค่าทดแทนตามมาตราดังกล่าวจึงไม่อาจนำมาปรับในค่าทดแทนในกรณีนี้ได้ และเมื่อไม่มีบทบัญญัติกฎหมายโดยเฉพาะ โจทก์ก็ชอบที่จะได้ดอกเบี้ยในค่าทดแทนที่ยังมิได้รับชำระในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 และเมื่อศาลชั้นต้นกำหนดให้เรียกดอกเบี้ยได้มีกำหนด 10 ปีนับแต่วันฟ้องย้อนขึ้นไป จำเลยที่ 1 มิได้อุทธรณ์เฉพาะในส่วนนี้ ศาลฎีกาจึงไม่มีเหตุจะแก้ไข
เมื่อโจทก์มีสิทธิเรียกค่าทดแทนจากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการเวนคืนที่ดินพิพาท แม้จะฟังว่าคณะรัฐมนตรีมีมติให้โอนสิทธิในที่ดินพิพาทไปให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยภายหลังก็หาทำให้โจทก์สิ้นสิทธิเรียกค่าทดแทนซึ่งมีอยู่เดิมแล้วแต่อย่างใดไม่ ทั้งมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวก็ไม่ใช่กฎหมายที่จะลบล้างประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 188 ซึ่งมีผลเป็นกฎหมายอีกด้วย
ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 36วรรคสอง การเวนคืนและการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่ได้ปฏิบัติไปแล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้เป็นอันใช้ได้ แต่การดำเนินการต่อไปให้ดำเนินการตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ เมื่อกรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ยังมิได้กำหนดค่าทดแทนภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันได้รับแต่งตั้งตามมาตรา 23 วรรคสอง เป็นการมิชอบและกรณีไม่ใช่เรื่องการชำระค่าทดแทนเพิ่มขึ้นตามมาตรา 26 วรรคสาม หรือการจ่ายค่าทดแทนล่าช้าตามมาตรา 28 และมาตรา 33 การคำนวณดอกเบี้ยในค่าทดแทนตามมาตราดังกล่าวจึงไม่อาจนำมาปรับในค่าทดแทนในกรณีนี้ได้ และเมื่อไม่มีบทบัญญัติกฎหมายโดยเฉพาะ โจทก์ก็ชอบที่จะได้ดอกเบี้ยในค่าทดแทนที่ยังมิได้รับชำระในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 และเมื่อศาลชั้นต้นกำหนดให้เรียกดอกเบี้ยได้มีกำหนด 10 ปีนับแต่วันฟ้องย้อนขึ้นไป จำเลยที่ 1 มิได้อุทธรณ์เฉพาะในส่วนนี้ ศาลฎีกาจึงไม่มีเหตุจะแก้ไข
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6037/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเรียกค่าทดแทนเวนคืนที่ดิน: การครอบครองที่ดินโดยไม่ชำระค่าทดแทน และดอกเบี้ยตามกฎหมาย
ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 188 นายกเทศมนตรีเทศบาลนครหลวงขณะนั้นเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ตามคำสั่งของหัวหน้าคณะปฏิวัติ หัวหน้าแผนกพิจารณาอุทธรณ์และคำร้องกองกฎหมายและคดี หัวหน้าแผนกสำรวจ กองรังวัดและที่ดิน ฝ่ายการโยธาเทศบาลนครหลวงหรือของกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 1 ในปัจจุบันเป็นกรรมการเวนคืนที่ดินพิพาทเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 1 และมีประกาศของจำเลยที่ 1 ให้เจ้าของที่ดินยื่นคำขอรับเงินค่าทดแทนจากคณะกรรมการเวนคืน นอกจากนี้ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 188ข้อ 3 พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497มาตรา 8,10 ให้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ต้องเวนคืนนั้นตกมาเป็นของเจ้าหน้าที่ แต่เจ้าหน้าที่จะมีสิทธิเข้าครอบครองทรัพย์สินได้ต่อเมื่อใช้เงินหรือวางเงินค่าทดแทนแล้ว แสดงความมุ่งหมายของประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 188 ว่า การเวนคืนที่ดินพิพาทก็เพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 1 ปรากฏว่าเมื่อ พ.ศ. 2526 จำเลยที่ 1ได้เข้าครอบครองทำถนนโดยไม่ได้จ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่ ส.เจ้าของที่ดินพิพาทขณะนั้น ตามประกาศของคณะปฏิวัติแต่อย่างใดเมื่อ ส. ทวงถาม จำเลยที่ 1 กลับมีหนังสือตอบผัดผ่อนเรื่อยมาโดยไม่ได้โต้แย้งให้ทวงถามค่าทดแทนจากบุคคลอื่น โจทก์ซึ่งเป็นทายาทรับมรดกจาก ส. จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าทดแทนจากจำเลยที่ 1ได้จำเลยที่ 1 ไม่อาจยกเหตุที่ไม่ได้งบประมาณจากรัฐบาลเป็นข้อแก้ตัวได้ เมื่อโจทก์มีสิทธิเรียกค่าทดแทนจากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการเวนคืนที่ดินพิพาท แม้จะฟังว่าคณะรัฐมนตรีมีมติให้โอนสิทธิในที่ดินพิพาทไปให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย ภายหลังก็หาทำให้โจทก์สิ้นสิทธิเรียกค่าทดแทนซึ่งมีอยู่เดิมแล้วแต่อย่างใดไม่ทั้งมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวก็ไม่ใช่กฎหมายที่จะลบบ้างประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 188 ซึ่งมีผลเป็นกฎหมายอีกด้วย ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 36 วรรคสอง การเวนคืนและการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่ได้ปฏิบัติไปแล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้เป็นอันใช้ได้ แต่การดำเนินการต่อไปให้ดำเนินการตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ เมื่อกรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ยังมิได้กำหนดค่าทดแทนภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้งตามมาตรา 23 วรรคสอง เป็นการมิชอบและกรณีไม่ใช่เรื่องการชำระค่าทดแทนเพิ่มขึ้นตามมาตรา 26 วรรคสามหรือการจ่ายค่าทดแทนล่าช้าตามมาตรา 28 และมาตรา 33 การคำนวณดอกเบี้ยในค่าทดแทนตามมาตราดังกล่าวจึงไม่อาจนำมาปรับในค่าทดแทนในกรณีนี้ได้ และเมื่อไม่มีบทบัญญัติกฎหมายโดยเฉพาะ โจทก์ก็ชอบที่จะได้ดอกเบี้ยในค่าทดแทนที่ยังมิได้รับชำระในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 และเมื่อศาลชั้นต้นกำหนดให้เรียกดอกเบี้ยได้มีกำหนด 10 ปี นับแต่วันฟ้องย้อนขึ้นไป จำเลยที่ 1 มิได้อุทธรณ์เฉพาะในส่วนนี้ ศาลฎีกาจึงไม่มีเหตุจะแก้ไข