พบผลลัพธ์ทั้งหมด 100 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6600/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนเวนคืนสิ้นสุดเมื่อเจ้ามรดกได้รับค่าทดแทนตามที่อุทธรณ์ แม้ผู้จัดการมรดกจะเห็นว่ายังต่ำกว่าที่ควร
ที่ดินของ ต.อยู่ในเขตบริเวณที่ที่จะเวนคืนตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนในท้องที่อำเภอปากเกร็ด.... พ.ศ.2531 เพื่อสร้างทางสายพิเศษฯ ต.กับจำเลยได้ทำสัญญาซื้อขายและค่าทดแทนทรัพย์สินที่จะถูกเวนคืนในกรณีที่ไม่อาจตกลงกันได้ในเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทน โดยจำเลยตกลงจ่ายเงินค่าทดแทนตามราคาเบื้องต้นที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นกำหนดให้แก่ ต.ไปก่อน ต.ไม่พอใจราคาค่าทดแทนที่จำเลยจ่ายให้ จึงยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ขอเพิ่มค่าทดแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของ ต.ให้เพิ่มเงินค่าทดแทนแก่ ต.อีกต่อมาภายหลังมีประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 แล้วจำเลยได้แจ้งให้ ต.ไปรับเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่ม แต่โจทก์ในฐานะทายาทต.เห็นว่าเงินค่าทดแทนดังกล่าวยังต่ำไปจึงยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยขอให้จ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มขึ้นอีก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้พิจารณาแล้วมีคำวินิจฉัยเพิ่มค่าทดแทนที่ดินให้อีกตามขอซึ่งคำนวณแล้วจำเลยได้จ่ายค่าทดแทนให้แก่ ต.มากกว่าราคาที่ ต.เคยอุทธรณ์ขอเพิ่มไว้และเต็มตามจำนวนที่โจทก์ขอเพิ่มค่าทดแทนในการอุทธรณ์ครั้งหลังนี้ด้วย ค่าทดแทนที่จำเลยกำหนดให้โจทก์ในครั้งที่สุด จึงเป็นค่าทดแทนที่ถือได้ว่าต.เจ้ามรดกที่พิพาทพอใจแล้ว โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ต.ไม่มีสิทธิจะโต้แย้งคำวินิจฉัยค่าทดแทนของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยต่อไปอีก ทั้งนี้ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 26 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6495/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับเงินค่าทดแทนเวนคืนและการคิดดอกเบี้ยกรณีเจ้าหน้าที่แจ้งล่าช้า
หลังจากที่ พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ แขวงสวนหลวง แขวงประเวศ เขตพระโขนง และแขวงคลองสองต้นนุ่น แขวงคลองประเวศ แขวงลำปลาทิว เขตลาดกระบังกรุงเทพมหานคร เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 343 สายคลองตัน-ลาดกระบัง พ.ศ.2532 ประกาศใช้บังคับแล้ว เจ้าหน้าที่ของจำเลยมิได้มีหนังสือแจ้งให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนมารับเงินค่าทดแทน ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 28 วรรคแรก แต่กลับมีหนังสือแจ้งให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนมาตกลงทำสัญญารับเงินค่าทดแทนการที่เจ้าหน้าที่ของจำเลยไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว จำเลยจะยกขึ้นมาเป็นเหตุอ้างให้โจทก์เสื่อมเสียสิทธิที่ควรจะได้ย่อมไม่ถูกต้อง ทั้งการเวนคืนที่ดินของโจทก์เป็นไปตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530 มาตรา 15 ซึ่งมาตรา 28 วรรคแรก บัญญัติให้เจ้าหน้าที่มีหนังสือแจ้งให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนมารับเงินค่าทดแทนภายในระยะเวลาที่กำหนดซึ่งต้องไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับนั้นใช้บังคับ จึงต้องถือว่าวันสุดท้ายของกำหนดเวลาดังกล่าวคือวันที่ต้องจ่ายเงินค่าทดแทนตามมาตรา 26 นั่นเอง ปรากฏว่า พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงหัวหมากฯ พ.ศ.2532 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 7 กันยายน 2532เมื่อนับถึงวันที่ 25 ธันวาคม 2535 ที่โจทก์ขอมา จึงเกินกำหนดหนึ่งร้อยยี่สิบวันดังกล่าวแล้ว โจทก์ชอบที่จะได้รับดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม 2535
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6222/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องค่าทดแทนเวนคืน: กำหนดเวลา 1 ปี หลังรัฐมนตรีวินิจฉัย หรือพ้น 60 วันจากวันรับอุทธรณ์
ในกรณีที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนไม่พอใจในค่าทดแทนที่คณะกรรมการกำหนดและใช้สิทธิอุทธรณ์ไปยังรัฐมนตรีตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา25แล้วหากรัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายใน60วันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์หรือวินิจฉัยเสร็จสิ้นภายใน60วันนับแต่ได้รับคำอุทธรณ์ผู้มีสิทธิได้รับค่าทดแทนจะต้องใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลภายใน1ปีนับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลา60วันนับแต่วันที่รัฐมนตรีได้รับคำอุทธรณ์มิฉะนั้นจะสิ้นสิทธิฟ้องร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5779/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องละเมิดต้องระบุรายละเอียดการกระทำผิดและสภาพแห่งข้อหาชัดเจน หากไม่ชัดเจนถือเป็นฟ้องเคลือบคลุม
โจทก์บรรยายเพียงว่า จำเลยจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์น้อยกว่าค่าทดแทนที่โจทก์ควรได้รับตามหลักเกณฑ์แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 การกระทำของจำเลยดังกล่าวจึงถือได้ว่าจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายให้โจทก์เสียหายแก่ทรัพย์สินโดยละเมิดเท่านั้นไม่ปรากฏว่าจำเลยกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างไรและกระทำผิดต่อกฎหมายประการใด จึงเป็นคำฟ้องที่ไม่ได้แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5754/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินค่าทดแทนที่ดินเวนคืน & อัตราดอกเบี้ยตามกฎหมายเฉพาะ
คำฟ้องโจทก์ระบุโดยแจ้งชัดว่าโจทก์ฟ้องจำเลยที่2ในฐานะผู้ว่าราชการจำเลยที่1ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเวนคืนที่ดินของโจทก์และเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนที่ดินตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่จะเวนคืนฯพ.ศ.2531โดยระบุเน้นให้รู้ว่าในขณะนั้นจำเลยที่2ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจำเลยที่1คำฟ้องโจทก์มิได้บ่งบอกว่าโจทก์ประสงค์จะฟ้องจำเลยที่2ให้รับผิดเป็นการส่วนตัวแต่ประการใดโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่2ในฐานะผู้ว่าราชการจำเลยที่1 ข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบฟังได้ว่าที่ดินของโจทก์อยู่ในทำเลที่เจริญการคมนาคมสะดวกสามารถเข้าออกสู่ทางสาธารณะได้การกำหนดค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนให้แก่โจทก์เพียงตารางวาละ10,000บาทย่อมไม่เป็นธรรมต่อโจทก์ผู้ต้องถูกเวนคืนที่ดินไปทั้งแปลงที่ศาลล่างกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนเพิ่มให้แก่โจทก์อีกตารางวาละ10,000บาทนับว่าเหมาะสมและเป็นธรรมต่อโจทก์แล้ว เมื่อจำเลยที่1และที่2ต้องชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นให้แก่โจทก์โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นตามมาตรา26วรรคสุดท้ายแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530ส่วนจะได้รับอัตราเท่าใดต้องเป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยขึ้นลงแต่ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ7.5ต่อปีตามคำขอของโจทก์โดยโจทก์ไม่ต้องนำสืบในเรื่องดอกเบี้ยดังกล่าวมีอัตราเท่าใดเพราะเป็นกรณีที่มีกฎหมายพิเศษให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นจะนำมาตรา224แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4848/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดค่าทดแทนที่ดินเวนคืนตามราคาประเมินและดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง
พระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงแผ่นดินสายคลองตันหนองงูเห่าและทางแยกเข้าหนองงูเห่าพ.ศ.2522ได้ตราออกใช้บังคับโดยอาศัยอำนาจตามข้อ78แห่งป.ว.295อายุการบังคับใช้ของพระราชกฤษฎีกาจึงต้องเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในป.ว.295ซึ่งได้บัญญัติไว้ในข้อ79ว่าพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมีผลบังคับใช้ได้10ปีและหลังจากพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมป.ว.295(ฉบับที่2)พ.ศ.2530และพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มีผลใช้บังคับแล้วการดำเนินการในเรื่องค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ยังไม่เสร็จสิ้นการดำเนินการต่อไปในเรื่องนี้จึงต้องดำเนินการตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯและในขณะดำเนินคดีนี้ได้มีประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่44เรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ออกใช้บังคับดังนั้นการกำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์จึงต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯมาตรา21ซึ่งมาตรา21ให้กำหนดเงินค่าทดแทนที่จะให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนโดยคำนึงถึง(1)ถึง(5)เงินค่าทดแทนที่ดินที่เป็นธรรมแก่โจทก์ผู้ถูกเวนคืนที่ดินและสังคมควรเป็นราคาตามราคาประเมินที่ดินเพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมระหว่างพ.ศ.2531-2534ของกรมที่ดินซึ่งใช้ก่อนและในช่วงเวลาที่จำเลยที่1วางเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ สำหรับดอกเบี้ยนั้นตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯมาตรา26วรรคสามโจทก์มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากเงินค่าทดแทนที่รัฐมนตรีฯและศาลฎีกาวินิจฉัยให้ชำระเพิ่มขึ้นนับแต่จำเลยที่1วางเงินค่าทดแทนในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประจำของธนาคารออมสิน ส่วนจะได้รับอัตราเท่าใดต้องเป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยขึ้นลงแต่ต้องไม่เกินตามคำขอของโจทก์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3551/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: การคำนวณค่าทดแทนและดอกเบี้ยที่เหมาะสมตามกฎหมาย
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา9วรรคสองและวรรคสี่กำหนดให้คณะกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งจากรัฐมนตรีผู้รักษาการตามพ.ร.ฎ.ทำหน้าที่กำหนดราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนและจำนวนเงินค่าทดแทนที่จะให้แก่บุคคลตามมาตรา18โดยอาศัยหลักเกณฑ์ตามมาตรา18มาตรา21มาตรา22และมาตรา24เมื่อคณะกรรมการดังกล่าวกำหนดราคาของอสังหาริมทรัพย์หรือจำนวนเงินค่าทดแทนแล้วตามมาตรา25ให้สิทธิแก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ไม่พอใจมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีผู้รักษาการตามพ.ร.ฎ.ได้และมาตรา26ในกรณีที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนยังไม่พอใจในคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีตามมาตรา25ให้มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ดังนั้น"คณะกรรมการปรองดอง"ที่ได้รับแต่งตั้งจากรัฐมนตรีจึงมีหน้าที่เพียงกำหนดราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนและจำนวนเงินค่าทดแทนเท่านั้นมิใช่ดุลพินิจโดยเด็ดขาดของคณะกรรมการฯรัฐมนตรีหรือศาลซึ่งกฎหมายกำหนดให้เป็นผู้พิจารณาอุทธรณ์หรือฟ้องของผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนแล้วแต่กรณีย่อมมีอำนาจที่จะพิจารณาว่าการกำหนดราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนและจำนวนค่าทดแทนของคณะกรรมการฯชอบและเป็นธรรมตามมาตรา18มาตรา21มาตรา22และมาตรา24หรือไม่หากไม่ชอบหรือไม่เป็นธรรมแล้วก็ย่อมมีอำนาจเปลี่ยนแปลงราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนและจำนวนค่าทดแทนที่คณะกรรมการฯกำหนดให้ชอบและเป็นธรรมตามมาตรา18มาตรา21และมาตรา22และมาตรา24โดยกำหนดให้ผู้ที่ถูกเวนคืนได้รับค่าทดแทนเพิ่มขึ้นจากค่าทดแทนที่น้อยกว่าราคาที่เป็นธรรมได้ ในเรื่องดอกเบี้ยนั้นตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯมาตรา26วรรคสามบัญญัติว่าในกรณีที่รัฐมนตรีหรือศาลวินิจฉัยให้ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นทั้งนี้นับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนนั้นและมาตรา11วรรคหนึ่งบัญญัติว่าในกรณีที่มีการตกลงซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันได้ตามมาตรา10ให้เจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่จ่ายเงินค่าอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวทั้งหมดให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 748/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดเวลาฟ้องคดีเวนคืนที่ดิน: สิทธิฟ้องภายใน 1 ปีหลังรัฐมนตรีวินิจฉัยช้า หรือไม่วินิจฉัย
ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530มาตรา 25 วรรคสอง ที่บัญญัติว่า ในการพิจารณาอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่ง ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิทางกฎหมาย และผู้มีความรู้ความสามารถในการตีราคาอสังหาริมทรัพย์ มีจำนวนทั้งหมดไม่น้อยกว่าห้าคน เป็นผู้พิจารณาเสนอความเห็นต่อรัฐมนตรี ทั้งนี้ ให้รัฐมนตรีวินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ และตามมาตรา 26 วรรคหนึ่งที่บัญญัติว่า ในกรณีที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนยังไม่พอใจในคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีตามมาตรา 25 หรือในกรณีที่รัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 25 วรรคสอง ให้มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีหรือนับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้วแต่กรณีดังนี้เมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์ขอเพิ่มค่าทดแทนต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยวันที่ 4 มิถุนายน 2533 และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้รับคำอุทธรณ์ในวันเดียวกัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายใน 60 วัน คือวันที่ 3 สิงหาคม 2533 แต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 3 สิงหาคม 2533 โจทก์ก็ต้องฟ้องคดีต่อศาลภายใน 1 ปี นับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลา 60 วัน คือต้องฟ้องคดีภายในวันที่ 3 สิงหาคม 2534 การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องต่อศาลเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2535ซึ่งพ้นกำหนดระยะเวลาแล้ว โจทก์จึงสิ้นสิทธิฟ้องร้อง
สิทธิของผู้ได้รับเงินค่าทดแทนที่จะฟ้องคดีต่อศาลตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง มีได้เพียงกรณีใดกรณีหนึ่ง คือ กรณีที่รัฐมนตรีวินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ หรือในกรณีที่รัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายใน60 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ ดังนี้ เมื่อรัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ให้เสร็จสิ้นภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลภายใน 1 ปี นับแต่วันพ้นกำหนดเวลาดังกล่าว โจทก์หามีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีที่วินิจฉัยเกินกำหนด 60 วันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ไม่
กำหนดระยะเวลาในการใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง เป็นกำหนดระยะเวลาในการใช้สิทธิ มิใช่อายุความ การที่มีประกาศคณะรักษาความสงบ-เรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 ให้แก้ไขการกำหนดราคาเบื้องต้นและโจทก์ได้รับค่าทดแทนเพิ่มขึ้น ไม่ทำให้กำหนดระยะเวลาในการใช้สิทธิสะดุดหยุดลงและเริ่มต้นใหม่
สิทธิของผู้ได้รับเงินค่าทดแทนที่จะฟ้องคดีต่อศาลตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง มีได้เพียงกรณีใดกรณีหนึ่ง คือ กรณีที่รัฐมนตรีวินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ หรือในกรณีที่รัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายใน60 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ ดังนี้ เมื่อรัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ให้เสร็จสิ้นภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลภายใน 1 ปี นับแต่วันพ้นกำหนดเวลาดังกล่าว โจทก์หามีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีที่วินิจฉัยเกินกำหนด 60 วันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ไม่
กำหนดระยะเวลาในการใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง เป็นกำหนดระยะเวลาในการใช้สิทธิ มิใช่อายุความ การที่มีประกาศคณะรักษาความสงบ-เรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 ให้แก้ไขการกำหนดราคาเบื้องต้นและโจทก์ได้รับค่าทดแทนเพิ่มขึ้น ไม่ทำให้กำหนดระยะเวลาในการใช้สิทธิสะดุดหยุดลงและเริ่มต้นใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 748/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดระยะเวลาฟ้องคดีเวนคืน: การนับอายุความเมื่อรัฐมนตรีวินิจฉัยช้ากว่ากำหนด และผลของประกาศ คสช.
สิทธิของผู้ได้รับเงินค่าทดแทนที่จะฟ้องคดีต่อศาลตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 26 วรรคหนึ่ง มีได้เพียงกรณีใดกรณีหนึ่ง คือ กรณีที่รัฐมนตรีวินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ หรือในกรณีที่รัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายใน 60 ปี นับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลภายใน 1 ปี นับแต่วันพ้นกำหนดเวลาดังกล่าว โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีที่วินิจฉัยเกินกำหนด 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ กำหนดระยะเวลาในการใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง เป็นกำหนดระยะเวลาในการใช้สิทธิ มิใช่อายุความการที่มี ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44ให้แก้ไขการกำหนดราคาเบื้องต้นและโจทก์ได้รับค่าทดแทนเพิ่มขึ้นไม่ทำให้กำหนดระยะเวลาในการใช้สิทธิฟ้องคดีสะดุดหยุดลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 748/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีเวนคืน: กำหนด 1 ปีนับจากวันพ้นกำหนด 60 วัน หรือวันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัย
ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 25 วรรคสอง ที่บัญญัติว่า ในการพิจารณาอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่ง ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิทางกฎหมาย และผู้มีความรู้ความสามารถในการตีราคาอสังหาริมทรัพย์ มีจำนวนทั้งหมดไม่น้อยกว่าห้าคนเป็นผู้พิจารณาเสนอความเห็นต่อรัฐมนตรี ทั้งนี้ ให้รัฐมนตรีวินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ และตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติว่าในกรณีที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนยังไม่พอใจในคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีตามมาตรา 25หรือในกรณีที่รัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 25 วรรคสอง ให้มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีหรือนับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้วแต่กรณีดังนี้เมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์ขอเพิ่มค่าทดแทนต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยวันที่ 4 มิถุนายน 2533และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้รับคำอุทธรณ์ในวันเดียวกัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายใน 60 วัน คือวันที่ 3สิงหาคม 2533 แต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 3 สิงหาคม 2533 โจทก์ก็ต้องฟ้องคดีต่อศาลภายใน 1 ปี นับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลา 60 วัน คือต้องฟ้องคดีภายในวันที่ 3 สิงหาคม 2534 การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องต่อศาลเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2535 ซึ่งพ้นกำหนดระยะเวลาแล้ว โจทก์จึงสิ้นสิทธิฟ้องร้อง
สิทธิของผู้ได้รับเงินค่าทดแทนที่จะฟ้องคดีต่อศาลตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง มีได้เพียงกรณีใดกรณีหนึ่งคือ กรณีที่รัฐมนตรีวินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์หรือในกรณีที่รัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ ดังนี้ เมื่อรัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ให้เสร็จสิ้นภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลภายใน 1 ปี นับแต่วันพ้นกำหนดเวลาดังกล่าว โจทก์หามีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีที่วินิจฉัยเกินกำหนด 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ไม่
กำหนดระยะเวลาในการใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง เป็นกำหนดระยะเวลาในการใช้สิทธิ มิใช่อายุความ การที่มีประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44ให้แก้ไขการกำหนดราคาเบื้องต้นและโจทก์ได้รับค่าทดแทนเพิ่มขึ้น ไม่ทำให้กำหนดระยะเวลาในการใช้สิทธิสะดุดหยุดลงและเริ่มต้นใหม่
สิทธิของผู้ได้รับเงินค่าทดแทนที่จะฟ้องคดีต่อศาลตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง มีได้เพียงกรณีใดกรณีหนึ่งคือ กรณีที่รัฐมนตรีวินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์หรือในกรณีที่รัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ ดังนี้ เมื่อรัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ให้เสร็จสิ้นภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลภายใน 1 ปี นับแต่วันพ้นกำหนดเวลาดังกล่าว โจทก์หามีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีที่วินิจฉัยเกินกำหนด 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ไม่
กำหนดระยะเวลาในการใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง เป็นกำหนดระยะเวลาในการใช้สิทธิ มิใช่อายุความ การที่มีประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44ให้แก้ไขการกำหนดราคาเบื้องต้นและโจทก์ได้รับค่าทดแทนเพิ่มขึ้น ไม่ทำให้กำหนดระยะเวลาในการใช้สิทธิสะดุดหยุดลงและเริ่มต้นใหม่