พบผลลัพธ์ทั้งหมด 100 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 605/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณดอกเบี้ยค่าทดแทนที่ดินเวนคืน เริ่มต้นเมื่อพ้น 120 วันจากวันที่ทำสัญญาซื้อขาย
หลังจากคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้โจทก์ทั้งสองแล้ว จึงมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทั้งสองไปรับเงินค่าทดแทนซึ่งปรากฏว่าโจทก์ทั้งสองตกลงยอมรับเงินดังกล่าวตามบันทึกข้อตกลงยินยอมระหว่างผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนกับเจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการตาม พ.ร.ฎ. กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 สายสระบุรี - หนองคาย (เขตแดน) ตอนเลี่ยงเมืองนครราชสีมาฯ ฉบับลงวันที่ 1 เมษายน 2540 อันถือว่าวันที่ทำสัญญาซื้อขายคือวันที่ 1 เมษายน 2540 ซึ่งจำเลยทั้งสองต้องจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสองภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 600/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยค่าทดแทนเวนคืน เริ่มนับจากวันที่ต้องวางเงิน ไม่ใช่เมื่อมีการจ่ายจริง
เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์กับเจ้าหน้าที่เวนคืนได้ทำสัญญาซื้อขายที่ดินที่ถูกเวนคืนตามมาตรา 10 จึงไม่มีวันที่ต้องจ่ายเงินค่าทดแทนตามมาตรา 11 อันจะถือว่าเป็นวันที่ต้องมีการจ่ายเงินค่าทดแทนตามมาตรา 26 วรรคสาม เมื่อได้ความว่าฝ่ายจำเลยมีหนังสือฉบับลงวันที่ 30 พฤษภาคม 2540 แจ้งให้โจทก์ไปรับเงินค่าทดแทนในวันที่ 10 มิถุนายน 2540 แต่โจทก์ไม่ไปรับเงินตามกำหนดเวลาดังกล่าว ฝ่ายจำเลยย่อมมีหน้าที่นำเงินค่าทดแทนที่ดินนั้นไปวางต่อศาลหรือสำนักงานวางทรัพย์หรือฝากไว้กับธนาคารออมสินในนามของโจทก์โดยพลันตามมาตรา 28 วรรคสอง ประกอบมาตรา 31 วรรคหนึ่ง ในวันถัดจากวันที่ 10 มิถุนายน 2540 คือวันที่ 11 มิถุนายน 2540 อันเป็นวันที่ต้องมีการวาเงินค่าทดแทนตามมาตรา 26 วรรคสาม ดังนั้น โจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินนั้นตั้งแต่วันที่ 11 มิถุนายน 2540 เป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2925/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: การประเมินราคาที่ดินที่เหมาะสมและเป็นธรรมต่อทั้งเจ้าของที่ดินและสังคม
จำเลยเป็นนิติบุคคลซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐ มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกาฯ เป็นผู้แทนดำเนินกิจการต่าง ๆ แทนจำเลย แม้พระราชกฤษฎีกาฯ กำหนดให้อธิบดีกรมทางหลวงเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืน แต่อธิบดีกรมทางหลวงก็ต้องปฏิบัติราชการภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมซึ่งเป็นผู้แทนของจำเลย จำเลยจึงมีหน้าที่ร่วมรับผิดชอบในการที่จะต้องจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินให้ถูกต้องตามกฎหมายด้วย เมื่อโจทก์ยังไม่พอใจในจำนวนเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯกำหนดให้ และได้อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีฯ แต่รัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยภายในกำหนด โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์ได้รับหนังสือจากเจ้าหน้าที่ของจำเลยให้มารับเงินค่าทดแทนที่ดินตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน 2539 ซึ่งตอนท้ายของหนังสือดังกล่าวได้แจ้งให้ทราบถึงสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ภายในกำหนด 60 วัน อันเป็นการปฏิบัติถูกต้องตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 40 ซึ่งเจ้าหน้าที่ของจำเลยไม่มีเหตุจำต้องแจ้งเป็นหนังสือซ้ำให้โจทก์ต้องไปรับเงินค่าทดแทนที่ดินใหม่อีก แต่จำเลยกลับมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ไปรับเงินค่าทดแทนที่ดินในวันที่ 2 ธันวาคม 2539 อีก 1 ฉบับ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมรับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ จึงต้องตีความให้เป็นคุณแก่ฝ่ายโจทก์ว่า เจ้าหน้าที่ของจำเลยแสดงเจตนายกเลิกหนังสือแจ้งฉบับแรก และใช้หนังสือแจ้งฉบับหลังที่ชอบด้วยกฎหมายแทนฉบับแรก เมื่อนับระยะเวลานับแต่วันที่ 2 ธันวาคม 2539 วันสุดท้ายแห่งระยะเวลา 60 วัน คือวันที่ 31 มกราคม 2540 เมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในวันที่ 30 มกราคม 2540 จึงฟังได้ว่า โจทก์ใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ภายใน 60 วัน นับแต่ได้รับหนังสือจากเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทน อันทำให้โจทก์มีสิทธิฟ้องคดีตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง
โจทก์ได้รับหนังสือจากเจ้าหน้าที่ของจำเลยให้มารับเงินค่าทดแทนที่ดินตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน 2539 ซึ่งตอนท้ายของหนังสือดังกล่าวได้แจ้งให้ทราบถึงสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ภายในกำหนด 60 วัน อันเป็นการปฏิบัติถูกต้องตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 40 ซึ่งเจ้าหน้าที่ของจำเลยไม่มีเหตุจำต้องแจ้งเป็นหนังสือซ้ำให้โจทก์ต้องไปรับเงินค่าทดแทนที่ดินใหม่อีก แต่จำเลยกลับมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ไปรับเงินค่าทดแทนที่ดินในวันที่ 2 ธันวาคม 2539 อีก 1 ฉบับ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมรับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ จึงต้องตีความให้เป็นคุณแก่ฝ่ายโจทก์ว่า เจ้าหน้าที่ของจำเลยแสดงเจตนายกเลิกหนังสือแจ้งฉบับแรก และใช้หนังสือแจ้งฉบับหลังที่ชอบด้วยกฎหมายแทนฉบับแรก เมื่อนับระยะเวลานับแต่วันที่ 2 ธันวาคม 2539 วันสุดท้ายแห่งระยะเวลา 60 วัน คือวันที่ 31 มกราคม 2540 เมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในวันที่ 30 มกราคม 2540 จึงฟังได้ว่า โจทก์ใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ภายใน 60 วัน นับแต่ได้รับหนังสือจากเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทน อันทำให้โจทก์มีสิทธิฟ้องคดีตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5791/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยค่าทดแทนเวนคืน: ผู้รับเงินมีสิทธิได้รับอัตราสูงสุดในฐานะผู้ฝากทั่วไป แม้ผู้จ่ายเป็นส่วนราชการ
ศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนเพิ่มขึ้นพร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินแก่โจทก์ โจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในฐานะที่โจทก์เป็นผู้ฝากทั่วไปมิใช่อัตราที่คิดสำหรับส่วนราชการเป็นผู้ฝากและไม่ต้องคำนึงเลยว่าผู้จ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนนั้นจะเป็นส่วนราชการหรือไม่ และกรณีดังกล่าวมิใช่เป็นเรื่องคำพิพากษาศาลฎีกามีข้อผิดพลาดเล็กน้อยอันอาจแก้ไขตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143 แต่เป็นกรณีมีปัญหาการบังคับคดีเกี่ยวกับการคิดคำนวณดอกเบี้ยซึ่งโจทก์เห็นว่าไม่ถูกต้องก็ชอบที่ร้องขอต่อศาลให้วินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1408/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นและดอกเบี้ย, อำนาจฟ้องกรณีที่ดินเหลือ
เมื่อโจทก์ทั้งสองได้รับชำระเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนเพิ่มขึ้น และปรากฏว่าโจทก์ทั้งสองกับเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันไว้ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนที่ดินฯ มาตรา 10 เนื่องจากไม่อาจตกลงกันได้ในเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทน ตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม 2539 แล้ว ซึ่งตามมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวกำหนดให้เจ้าหน้าที่ต้องจ่ายเงินค่าอสังหาริมทรัพย์ทั้งหมดให้แก่โจทก์ทั้งสองภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ทำสัญญาซื้อขาย โจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่วันที่ 10 กรกฎาคม 2539 อันเป็นวันสุดท้ายที่จำเลยทั้งสองจะต้องจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสองตามสัญญา โดยได้รับในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสิน ตามความในมาตรา 26 วรรคสาม อันเป็นกฎหมายพิเศษโดยไม่ต้องนำสืบถึงอัตราดอกเบี้ยสูงสุดในวันที่ 10 กรกฎาคม 2539 แต่อย่างใด
ส่วนเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินที่เหลือจากการเวนคืน เป็นเงินค่าทดแทนตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 21 วรรคสาม ดังนั้นเมื่อคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ไม่ได้กำหนดเงินค่าทดแทนส่วนนี้ให้แก่โจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองต้องใช้สิทธิอุทธรณ์ของเงินค่าทดแทนส่วนนี้ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมตามมาตรา 25 วรรคหนึ่งก่อน เมื่อโจทก์ทั้งสองไม่ได้อุทธรณ์ขอเงินค่าทดแทนส่วนนี้ต่อรัฐมนตรีฯ การที่โจทก์ทั้งสองฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนส่วนนี้จากจำเลยทั้งสองต่อศาลจึงเป็นการข้ามขั้นตอนโดยไม่ได้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามที่กฎหมายกำหนดไว้ โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ส่วนเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินที่เหลือจากการเวนคืน เป็นเงินค่าทดแทนตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 21 วรรคสาม ดังนั้นเมื่อคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ไม่ได้กำหนดเงินค่าทดแทนส่วนนี้ให้แก่โจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองต้องใช้สิทธิอุทธรณ์ของเงินค่าทดแทนส่วนนี้ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมตามมาตรา 25 วรรคหนึ่งก่อน เมื่อโจทก์ทั้งสองไม่ได้อุทธรณ์ขอเงินค่าทดแทนส่วนนี้ต่อรัฐมนตรีฯ การที่โจทก์ทั้งสองฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนส่วนนี้จากจำเลยทั้งสองต่อศาลจึงเป็นการข้ามขั้นตอนโดยไม่ได้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามที่กฎหมายกำหนดไว้ โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7890/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการได้รับเงินค่าทดแทนเวนคืน กรณีจำเลยจ่ายเงินให้บุคคลอื่นที่ไม่ใช่เจ้าของ
โจทก์มิได้โต้แย้งจำนวนเงินค่าทดแทนโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินที่ถูกเวนคืน หากแต่โต้แย้งว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้าง มิใช่บุคคลที่จำเลยทั้งสองได้จ่ายเงินค่าทดแทนให้ไป จึงไม่ใช่กรณีตามมาตรา 25 และ 26 ของ พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 และกรณีนี้ไม่มี บทบัญญัติกฎหมายใดที่ให้โจทก์ต้องอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีฯ ก่อนจึงจะมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ เมื่อการกระทำของ จำเลยทั้งสองเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสอง
ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 18 (2) ให้กำหนดเงินค่าทดแทนแก่เจ้าของโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นที่รื้อถอนไม่ได้ ดังนั้น จำเลยทั้งสองจึงต้องจ่ายเงินค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างส่วนที่เป็นของโจทก์ให้แก่โจทก์ผู้เป็นเจ้าของ ที่จำเลยทั้งสองจ่ายเงินค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวให้แก่ ม. ซึ่งไม่ใช่ เจ้าของจึงไม่ชอบ
โจทก์ฎีกาว่า จำเลยทั้งสองประวิงคดี การต่อสู้คดีของจำเลยทั้งสองไม่มีความสุจริต ขอให้จำเลยทั้งสอง ชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (6) นั้น เห็นว่าปัญหานี้โจทก์เพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา จึงมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 4 ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 18 (2) ให้กำหนดเงินค่าทดแทนแก่เจ้าของโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นที่รื้อถอนไม่ได้ ดังนั้น จำเลยทั้งสองจึงต้องจ่ายเงินค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างส่วนที่เป็นของโจทก์ให้แก่โจทก์ผู้เป็นเจ้าของ ที่จำเลยทั้งสองจ่ายเงินค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวให้แก่ ม. ซึ่งไม่ใช่ เจ้าของจึงไม่ชอบ
โจทก์ฎีกาว่า จำเลยทั้งสองประวิงคดี การต่อสู้คดีของจำเลยทั้งสองไม่มีความสุจริต ขอให้จำเลยทั้งสอง ชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (6) นั้น เห็นว่าปัญหานี้โจทก์เพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา จึงมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 4 ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 274/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน ค่าทดแทน การสร้างทางออก และสิทธิเรียกร้องของเจ้าของที่ดิน
จำเลยไม่ได้ร้องขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดในปัญหาข้อกฎหมายว่าการที่เจ้าหน้าที่วินิจฉัยอุทธรณ์ไม่ทำการวินิจฉัยอุทธรณ์ภายในกำหนด 60 วัน เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่และโจทก์มีอำนาจฟ้องขอให้จำเลยจัดทางเข้าออกที่ดินให้แก่โจทก์หรือไม่แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นเรื่องอำนาจฟ้อง ซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในสำนวนเพียงพอแก่การวินิจฉัยศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 และมาตรา 142(5)
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 26 วรรคหนึ่งบัญญัติให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนนำคดีมาฟ้องต่อศาลภายในเวลาที่กำหนดไว้เป็น 2 กรณี กรณีแรกเป็นกรณีที่รัฐมนตรีวินิจฉัยอุทธรณ์เสร็จสิ้นภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรี กรณีที่สองเมื่อรัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในหกสิบวัน มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ภายในหนึ่งปีเมื่อล่วงพ้นหกสิบวันนับแต่วันที่รัฐมนตรีได้รับคำอุทธรณ์โจทก์ยื่นอุทธรณ์ขอเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนเพิ่มขึ้นต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2540 แต่รัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ซึ่งครบกำหนดวันสุดท้ายในวันที่ 6พฤษภาคม 2540 โจทก์จึงต้องฟ้องขอเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มต่อศาลภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่พ้นกำหนดหกสิบวันดังกล่าวคือภายในวันที่ 6 พฤษภาคม 2541
โจทก์ยื่นอุทธรณ์ฉบับเดียวกล่าวถึงที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนว่า ที่ดินแปลงดังกล่าวของข้าพเจ้าผู้อุทธรณ์ทั้งเจ็ดมีเนื้อที่ทั้งสิ้น 35 ไร่ 3 งาน 64 ตารางวา แต่ถูกเวนคืนไป 6 ไร่ 1 งาน 13 ตารางวา ทำให้ที่ดินที่ไม่ถูกเวนคืนเหลืออยู่อีก 29 ไร่ 2 งาน 51ตารางวา จะต้องเสียหายเป็นอย่างมาก ที่ดินแปลงดังกล่าวเปรียบเสมือนเป็นที่ดินแปลงเดียวกันกับที่ดินทั้งหกแปลงที่อยู่ด้านหน้าติดถนนหมายเลข 346 ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของข้าพเจ้า ซึ่งได้ถูกเวนคืนไปแล้วพร้อม ๆ กัน จึงเป็นเหตุให้ที่ดินแปลงที่เหลือไม่สามารถออกสู่ถนนสาธารณะได้ จึงใคร่ขอความกรุณาต่อฯพณฯ เพื่อเปิดทางให้แก่ที่ดินแปลงที่เหลือดังกล่าว อุทธรณ์ของโจทก์ไม่มีข้อความส่วนใดที่ขอให้กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนอันราคาลดลงและราคาลดลงเป็นจำนวนเงินเท่าใด จึงถือไม่ได้ว่ามีการอุทธรณ์ขอให้กำหนดเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนอันราคาลดลงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้จำเลยจ่ายเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนอันราคาลดลง
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนนำคดีมาฟ้องต่อศาลภายในเวลาที่กำหนดไว้ 2 กรณี เมื่อรัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ให้เสร็จสิ้นภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ โจทก์มีสิทธิที่จะฟ้องคดีต่อศาลขอเงินค่าทดแทนเพิ่มภายในหนึ่งปีนับแต่วันพ้นหกสิบวันที่รัฐมนตรีได้รับคำอุทธรณ์ของโจทก์ หาจำเป็นต้องรอให้รัฐมนตรีวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ก่อนไม่ โจทก์ปล่อยให้ล่วงเลยกำหนดระยะเวลาดังกล่าวแล้วค่อยมาฟ้องอันเป็นเหตุให้โจทก์สิ้นสิทธิที่จะฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มซึ่งเป็นการกระทำของโจทก์เอง มิใช่เกิดจากการที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่พิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์ให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันรับคำอุทธรณ์ของโจทก์ จึงไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์
โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินที่ถูกเวนคืน โจทก์จะมีสิทธิได้รับค่าทดแทนเพียงใดต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามที่พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 กำหนดไว้ ซึ่งพระราชบัญญัตินี้บัญญัติเรื่องค่าทดแทนไว้ในหมวด 2 เงินค่าทดแทน ไม่มีบทบัญญัติที่บังคับให้จำเลยต้องสร้างทางออกให้โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะขอให้จำเลยสร้างทางซึ่งจะต้องสร้างขึ้นในเขตทางพิเศษเพื่อให้ที่ดินของโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนมีทางออกสู่ถนนสาธารณะ
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 26 วรรคหนึ่งบัญญัติให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนนำคดีมาฟ้องต่อศาลภายในเวลาที่กำหนดไว้เป็น 2 กรณี กรณีแรกเป็นกรณีที่รัฐมนตรีวินิจฉัยอุทธรณ์เสร็จสิ้นภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรี กรณีที่สองเมื่อรัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในหกสิบวัน มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ภายในหนึ่งปีเมื่อล่วงพ้นหกสิบวันนับแต่วันที่รัฐมนตรีได้รับคำอุทธรณ์โจทก์ยื่นอุทธรณ์ขอเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนเพิ่มขึ้นต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2540 แต่รัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ซึ่งครบกำหนดวันสุดท้ายในวันที่ 6พฤษภาคม 2540 โจทก์จึงต้องฟ้องขอเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มต่อศาลภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่พ้นกำหนดหกสิบวันดังกล่าวคือภายในวันที่ 6 พฤษภาคม 2541
โจทก์ยื่นอุทธรณ์ฉบับเดียวกล่าวถึงที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนว่า ที่ดินแปลงดังกล่าวของข้าพเจ้าผู้อุทธรณ์ทั้งเจ็ดมีเนื้อที่ทั้งสิ้น 35 ไร่ 3 งาน 64 ตารางวา แต่ถูกเวนคืนไป 6 ไร่ 1 งาน 13 ตารางวา ทำให้ที่ดินที่ไม่ถูกเวนคืนเหลืออยู่อีก 29 ไร่ 2 งาน 51ตารางวา จะต้องเสียหายเป็นอย่างมาก ที่ดินแปลงดังกล่าวเปรียบเสมือนเป็นที่ดินแปลงเดียวกันกับที่ดินทั้งหกแปลงที่อยู่ด้านหน้าติดถนนหมายเลข 346 ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของข้าพเจ้า ซึ่งได้ถูกเวนคืนไปแล้วพร้อม ๆ กัน จึงเป็นเหตุให้ที่ดินแปลงที่เหลือไม่สามารถออกสู่ถนนสาธารณะได้ จึงใคร่ขอความกรุณาต่อฯพณฯ เพื่อเปิดทางให้แก่ที่ดินแปลงที่เหลือดังกล่าว อุทธรณ์ของโจทก์ไม่มีข้อความส่วนใดที่ขอให้กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนอันราคาลดลงและราคาลดลงเป็นจำนวนเงินเท่าใด จึงถือไม่ได้ว่ามีการอุทธรณ์ขอให้กำหนดเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนอันราคาลดลงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้จำเลยจ่ายเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนอันราคาลดลง
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนนำคดีมาฟ้องต่อศาลภายในเวลาที่กำหนดไว้ 2 กรณี เมื่อรัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ให้เสร็จสิ้นภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ โจทก์มีสิทธิที่จะฟ้องคดีต่อศาลขอเงินค่าทดแทนเพิ่มภายในหนึ่งปีนับแต่วันพ้นหกสิบวันที่รัฐมนตรีได้รับคำอุทธรณ์ของโจทก์ หาจำเป็นต้องรอให้รัฐมนตรีวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ก่อนไม่ โจทก์ปล่อยให้ล่วงเลยกำหนดระยะเวลาดังกล่าวแล้วค่อยมาฟ้องอันเป็นเหตุให้โจทก์สิ้นสิทธิที่จะฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มซึ่งเป็นการกระทำของโจทก์เอง มิใช่เกิดจากการที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่พิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์ให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันรับคำอุทธรณ์ของโจทก์ จึงไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์
โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินที่ถูกเวนคืน โจทก์จะมีสิทธิได้รับค่าทดแทนเพียงใดต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามที่พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 กำหนดไว้ ซึ่งพระราชบัญญัตินี้บัญญัติเรื่องค่าทดแทนไว้ในหมวด 2 เงินค่าทดแทน ไม่มีบทบัญญัติที่บังคับให้จำเลยต้องสร้างทางออกให้โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะขอให้จำเลยสร้างทางซึ่งจะต้องสร้างขึ้นในเขตทางพิเศษเพื่อให้ที่ดินของโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนมีทางออกสู่ถนนสาธารณะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1229/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเวนคืน, การคำนวณดอกเบี้ยค่าทดแทน, และหน้าที่วางเงินค่าทดแทน
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเพิ่มเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์อีก 146,400 บาท เมื่อรวมกับดอกเบี้ยจนถึงวันฟ้องแล้วไม่เกิน 200,000 บาท จำเลยฎีกาว่า โจทก์ไม่ควรได้รับเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้น ดังนั้น ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาตามฎีกาของจำเลยจึงไม่เกิน 200,000 บาท ที่จำเลยฎีกาว่า ศาลล่างทั้งสองเพิ่มเงินค่าทดแทนโดยปราศจากพยานหลักฐานในเรื่องราคาที่ดินของโจทก์ จึงไม่ถูกต้องเงินค่าทดแทนที่ดินที่รัฐมนตรีฯวินิจฉัยเพิ่มให้เป็นธรรมแก่โจทก์และสังคมชอบด้วยกฎหมายตามความหมายของมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 แล้วนั้น เป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ในการรับฟังพยานหลักฐานเพื่อกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
กรมทางหลวงจำเลยที่ 2 เป็นกรมในสังกัดกระทรวงคมนาคม จำเลยที่ 1 มีอำนาจหน้าที่ก่อสร้างและดูแลทางหลวงแผ่นดิน การสร้างทางหลวงแผ่นดินเป็นงานราชการภายใต้การบริหารของจำเลยที่ 2 ซึ่งมีอธิบดีกรมทางหลวงเป็นผู้สั่งการและรับผิดชอบ โดยพระราชกฤษฎีกากำหนดให้อธิบดีกรมทางหลวงเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืน ดังนั้น การใดที่อธิบดีกรมทางหลวงกระทำไปในฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนย่อมเป็นการกระทำของจำเลยที่ 2 ส่วนจำเลยที่ 1 มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกาเป็นผู้กระทำการแทนจำเลยที่ 1 โดยมีอำนาจหน้าที่วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 และการดำเนินการเพื่อการเวนคืนที่ดินของโจทก์อยู่ในวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ด้วย เมื่อโจทก์ยังไม่พอใจเงินค่าทดแทนที่ดินที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมวินิจฉัยเพิ่มขึ้นให้แก่โจทก์เพียงบางส่วนไม่เต็มตามที่โจทก์อุทธรณ์ขอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลขอให้บังคับจำเลยทั้งสองจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มขึ้นอีกได้
คำว่า วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนในพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 26 วรรคสาม หมายถึงวันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนให้แก่กันในครั้งแรกซึ่งผ่านไปก่อนการฟ้องคดีแล้ว มิใช่วันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด เมื่อโจทก์กับฝ่ายจำเลยไม่ได้ตกลงซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ไปรับเงินค่าทดแทนที่ดินภายในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2538 แต่โจทก์ไม่ไปรับ ฝ่ายจำเลยมีหน้าที่ต้องนำเงินไปวางต่อศาลหรือสำนักงานวางทรัพย์หรือฝากไว้กับธนาคารออมสินในชื่อของโจทก์โดยพลันตามมาตรา 28 วรรคสองประกอบมาตรา 31 วรรคหนึ่ง ซึ่งเท่ากับว่าฝ่ายจำเลยต้องนำเงินไปวางในวันถัดจากวันที่24 กุมภาพันธ์ 2538 คือ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2538
กรมทางหลวงจำเลยที่ 2 เป็นกรมในสังกัดกระทรวงคมนาคม จำเลยที่ 1 มีอำนาจหน้าที่ก่อสร้างและดูแลทางหลวงแผ่นดิน การสร้างทางหลวงแผ่นดินเป็นงานราชการภายใต้การบริหารของจำเลยที่ 2 ซึ่งมีอธิบดีกรมทางหลวงเป็นผู้สั่งการและรับผิดชอบ โดยพระราชกฤษฎีกากำหนดให้อธิบดีกรมทางหลวงเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืน ดังนั้น การใดที่อธิบดีกรมทางหลวงกระทำไปในฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนย่อมเป็นการกระทำของจำเลยที่ 2 ส่วนจำเลยที่ 1 มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกาเป็นผู้กระทำการแทนจำเลยที่ 1 โดยมีอำนาจหน้าที่วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 และการดำเนินการเพื่อการเวนคืนที่ดินของโจทก์อยู่ในวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ด้วย เมื่อโจทก์ยังไม่พอใจเงินค่าทดแทนที่ดินที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมวินิจฉัยเพิ่มขึ้นให้แก่โจทก์เพียงบางส่วนไม่เต็มตามที่โจทก์อุทธรณ์ขอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลขอให้บังคับจำเลยทั้งสองจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มขึ้นอีกได้
คำว่า วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนในพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 26 วรรคสาม หมายถึงวันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนให้แก่กันในครั้งแรกซึ่งผ่านไปก่อนการฟ้องคดีแล้ว มิใช่วันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด เมื่อโจทก์กับฝ่ายจำเลยไม่ได้ตกลงซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ไปรับเงินค่าทดแทนที่ดินภายในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2538 แต่โจทก์ไม่ไปรับ ฝ่ายจำเลยมีหน้าที่ต้องนำเงินไปวางต่อศาลหรือสำนักงานวางทรัพย์หรือฝากไว้กับธนาคารออมสินในชื่อของโจทก์โดยพลันตามมาตรา 28 วรรคสองประกอบมาตรา 31 วรรคหนึ่ง ซึ่งเท่ากับว่าฝ่ายจำเลยต้องนำเงินไปวางในวันถัดจากวันที่24 กุมภาพันธ์ 2538 คือ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2538
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6775/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาเงินค่าทดแทนที่ดินต้องครบถ้วนตามหลักเกณฑ์กฎหมาย และมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยตามอัตราที่กำหนด
การพิจารณากำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่ผู้มีสิทธิจะได้รับเงินค่าทดแทนที่ดิน ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21วรรคหนึ่ง บัญญัติให้คำนึงถึงราคาของอสังหาริมทรัพย์นั้น 3 อย่าง ได้แก่ ราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯ สำหรับคดีนี้คือวันที่ 2 พฤศจิกายน 2536 ราคาที่มีการตีราคาไว้เพื่อประโยชน์แก่การเสียภาษีบำรุงท้องที่ ราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ประกอบกับสภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์นั้น พร้อมทั้งเหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืน รวม 5 ข้อ ที่ต้องพิจารณาประกอบกัน เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทั้งผู้ถูกเวนคืนและสังคม แต่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ฯ มุ่งเน้นการพิจารณาไปในเรื่องสภาพและที่ตั้ง และประโยชน์ที่ได้รับหลังจากถูกเวนคืน แล้ววางหลักเกณฑ์กำหนดราคาเพิ่มสำหรับที่ดินที่อยู่ติดถนนรามอินทราเท่า ๆ กันหมด ถ้าแปลงใดมีส่วนที่ถูกเวนคืนอยู่ไม่ลึกจากถนนรามอินทรามากนัก ไม่เกิน 80 เมตร ก็กำหนดเพิ่มให้ ถ้าอยู่ลึกเข้าไปมากกว่านั้น ก็กำหนดราคาให้ต่ำลงไปอีก ที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ฯ กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์เพิ่มขึ้น จึงยังไม่ครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21 วรรคหนึ่ง
เมื่อศาลเห็นว่าเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ฯ เพิ่มให้ยังต่ำไป และกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่เป็นธรรมแก่โจทก์และสังคมเพิ่มขึ้นจากที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนด เมื่อไม่ปรากฏว่าฝ่ายจำเลยได้จ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ฯ กำหนดเพิ่มขึ้นให้แก่โจทก์ไปแล้วหรือไม่ ศาลจึงยังไม่เอาเงินค่าทดแทนที่ดินที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ฯ กำหนดเพิ่มขึ้นดังกล่าวมาหักออกจากเงินค่าทดแทนที่ดินที่ศาลกำหนดให้ข้างต้นแต่หากมีการจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ฯ กำหนดเพิ่มขึ้นกับดอกเบี้ยของเงินที่กำหนดเพิ่มให้แก่โจทก์ไปแล้วก็ต้องนำเอามาหักกันในชั้นบังคับคดี
ในเรื่องดอกเบี้ยของเงินค่าทดแทนที่ดินที่เพิ่มขึ้น พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 26 วรรคสาม บัญญัติไว้ว่า "ในกรณีที่รัฐมนตรีหรือศาลวินิจฉัยให้ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้น ให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้นับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนนั้น" โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าว แต่ต้องไม่เกินคำขอของโจทก์ เมื่อไม่ปรากฏว่าฝ่ายจำเลยกำหนดให้โจทก์มารับเงินค่าทดแทนที่ดินในวันใด ถือได้ว่าวันที่โจทก์รับเงินไปเป็นวันที่จำเลยกำหนดให้โจทก์ไปรับเงินอันเป็นวันที่ต้องมีการจ่ายเงินตามมาตรา 26วรรคสาม วันเริ่มคิดดอกเบี้ยของเงินค่าทดแทนที่ดินที่เพิ่มขึ้นคือวันที่โจทก์รับเงินไปดังกล่าว
เมื่อศาลเห็นว่าเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ฯ เพิ่มให้ยังต่ำไป และกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่เป็นธรรมแก่โจทก์และสังคมเพิ่มขึ้นจากที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนด เมื่อไม่ปรากฏว่าฝ่ายจำเลยได้จ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ฯ กำหนดเพิ่มขึ้นให้แก่โจทก์ไปแล้วหรือไม่ ศาลจึงยังไม่เอาเงินค่าทดแทนที่ดินที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ฯ กำหนดเพิ่มขึ้นดังกล่าวมาหักออกจากเงินค่าทดแทนที่ดินที่ศาลกำหนดให้ข้างต้นแต่หากมีการจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ฯ กำหนดเพิ่มขึ้นกับดอกเบี้ยของเงินที่กำหนดเพิ่มให้แก่โจทก์ไปแล้วก็ต้องนำเอามาหักกันในชั้นบังคับคดี
ในเรื่องดอกเบี้ยของเงินค่าทดแทนที่ดินที่เพิ่มขึ้น พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 26 วรรคสาม บัญญัติไว้ว่า "ในกรณีที่รัฐมนตรีหรือศาลวินิจฉัยให้ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้น ให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้นับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนนั้น" โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าว แต่ต้องไม่เกินคำขอของโจทก์ เมื่อไม่ปรากฏว่าฝ่ายจำเลยกำหนดให้โจทก์มารับเงินค่าทดแทนที่ดินในวันใด ถือได้ว่าวันที่โจทก์รับเงินไปเป็นวันที่จำเลยกำหนดให้โจทก์ไปรับเงินอันเป็นวันที่ต้องมีการจ่ายเงินตามมาตรา 26วรรคสาม วันเริ่มคิดดอกเบี้ยของเงินค่าทดแทนที่ดินที่เพิ่มขึ้นคือวันที่โจทก์รับเงินไปดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6353/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: การคำนวณดอกเบี้ยค่าทดแทนเมื่อเนื้อที่ดินจริงเพิ่มจากที่ประมาณการ
การทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยได้ที่ดินของโจทก์มาเพื่อสร้างทางพิเศษ อาศัยพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนเพียงฉบับเดียว โดยใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 10 ตกลงซื้อขายที่ดินส่วนที่จะต้องเวนคืนกับโจทก์กรณีที่ไม่อาจตกลงกันได้ในเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทน ซึ่งไม่ใช่การตกลงซื้อขายกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ดินที่จะต้องให้ได้มาเพื่อสร้างทางพิเศษตามสัญญาซื้อขายจึงเป็นที่ดินทั้งสามแปลงของโจทก์ทั้งสองในส่วนที่จะต้องเวนคืนทั้งหมดที่อยู่ในบริเวณที่ที่จะต้องเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกาส่วนเนื้อที่ดินที่ระบุไว้ในสัญญาซื้อขายเป็นการประมาณการของจำเลย แต่เมื่อมีการรังวัดแบ่งแยกที่ดินแล้วปรากฏว่าจำนวนเนื้อที่ดินที่แน่นอนรวมกันแล้วเพิ่มขึ้นอีก 198 ตารางวา จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินทดแทนเพิ่มขึ้นอีก 198 ตารางวา ให้แก่โจทก์ตามมาตรา 11 วรรคหนึ่ง และที่โจทก์อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีขอเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มขึ้น ย่อมถือได้ว่าเป็นการอุทธรณ์ขอเงินค่าทดแทนที่ดินในส่วน 198 ตารางวา นี้รวมอยู่แล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันที่ครบ 120 วัน จากวันที่ทำสัญญาซื้อขายด้วย