พบผลลัพธ์ทั้งหมด 38 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3097/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ครบถ้วนและยกหนี้ส่วนที่เหลือ การฟ้องเรียกหนี้จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์จำเลยตกลงกันให้จำเลยทั้งสองผ่อนชำระหนี้ให้โจทก์โดยแบ่งชำระเป็น 2 งวด งวดแรกชำระภายในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2542 งวดที่สองชำระส่วนที่เหลือภายใน 30 วัน นับแต่ชำระงวดแรก จำเลยชำระเงินงวดแรกให้โจทก์แล้วตั้งแต่วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2542 จำเลยต้องชำระส่วนที่ค้างชำระภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2542 จะครบกำหนดชำระหนี้ในงวดที่สองวันที่ 10 มีนาคม 2542 ดังนั้น โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้จึงทวงถามให้จำเลยในฐานะลูกหนี้ให้ชำระหนี้ก่อนวันที่ 10 มีนาคม 2542 ซึ่งเป็นวันที่กำหนดชำระหนี้ไม่ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 191 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องจำเลยในวันสุดท้ายที่จำเลยยังมีสิทธิที่จะชำระหนี้ให้โจทก์อยู่ ยังไม่ถือว่าจำเลยผิดนัดชำระหนี้โจทก์ แต่จำเลยที่ 1 กลับยื่นคำให้การต่อสู้คดีว่าได้ชำระหนี้ให้โจทก์ครบถ้วนตามข้อตกลงแล้วโดยไม่ได้ยกเงื่อนเวลาชำระหนี้ขึ้นต่อสู้โจทก์ จึงเป็นการสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาโดยปริยายตาม ป.พ.พ. มาตรา 192 วรรคสอง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย
โจทก์ฟ้องจำเลยในวันสุดท้ายที่จำเลยยังมีสิทธิที่จะชำระหนี้ให้โจทก์อยู่ ยังไม่ถือว่าจำเลยผิดนัดชำระหนี้โจทก์ แต่จำเลยที่ 1 กลับยื่นคำให้การต่อสู้คดีว่าได้ชำระหนี้ให้โจทก์ครบถ้วนตามข้อตกลงแล้วโดยไม่ได้ยกเงื่อนเวลาชำระหนี้ขึ้นต่อสู้โจทก์ จึงเป็นการสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาโดยปริยายตาม ป.พ.พ. มาตรา 192 วรรคสอง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3819/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในสิ่งปลูกสร้างหลังสัญญาเช่าหมดอายุ ผู้เช่าช่วงไม่มีสิทธิดีกว่าผู้เช่าเดิม เจ้าของกรรมสิทธิ์มีอำนาจฟ้องขับไล่
ในขณะที่มีการจดทะเบียนโอนที่ดินระหว่างโจทก์กับผู้ขายที่ดิน ที่ดินยังอยู่ระหว่างการเช่า โดยผู้ขายที่ดินได้จดทะเบียนการเช่าที่ดินให้ ธ. กับพวก มีกำหนดเวลา 20 ปี และมีข้อตกลงให้สิ่งปลูกสร้างตกเป็นของเจ้าของที่ดินเมื่อครบกำหนดสัญญาเช่า ดังนั้น เมื่อครบกำหนดสัญญาเช่าตามที่ได้จดทะเบียนไว้ สิ่งปลูกสร้างในที่ดินจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ผู้รับโอน ธ. กับพวกย่อมหมดสิทธิตามสัญญาเช่าตึกแถวและไม่มีสิทธินำห้องในอาคารตึกแถวให้บุคคลใดเช่าช่วงได้ จำเลยจึงเป็นผู้เช่าช่วงย่อมไม่มีสิทธิดีกว่าผู้เช่าเดิม ไม่อาจยกการเช่าระหว่างจำเลยกับ ธ. และพวกขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในห้องพิพาท การที่จำเลยยังคงอยู่ในห้องพิพาทต่อมา จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยโดยไม่จำต้องบอกกล่าวให้จำเลยและบริวารออกจากห้องพิพาท
การที่โจทก์ไม่แก้อุทธรณ์มีผลเพียงโจทก์ไม่มีประเด็นที่จะฎีกาในชั้นฎีกาเท่านั้น
การที่โจทก์ไม่แก้อุทธรณ์มีผลเพียงโจทก์ไม่มีประเด็นที่จะฎีกาในชั้นฎีกาเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7091/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการหักหนี้จากเงินได้หลังพ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง และอำนาจฟ้องของเจ้าหนี้
สัญญากู้ฉบับพิพาทระบุว่า ในกรณีผู้กู้สิ้นสภาพจากการเป็นพนักงานของผู้ให้กู้ไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ และผู้กู้ยังมีเงินกู้ค้างชำระอยู่ผู้ให้กู้อาจเลือกพิจารณาได้ดังนี้ คือ ให้จ่ายเงินกู้ค้างชำระทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยเต็มจำนวนที่ค้างชำระโดยหักจากเงินเดือน เงินโบนัส หรือเงินได้อื่น ๆ ที่ผู้กู้มีสิทธิพึงได้รับจากบริษัท (ผู้ให้กู้) ถ้าหากจำนวนดังกล่าวไม่เพียงพอ ผู้กู้จะต้องหาเงินจากที่อื่นมาเพื่อปิดยอดเงินกู้ที่ค้างชำระทั้งสิ้นต่อไป ตามข้อสัญญาดังกล่าวเป็นกรณีที่เมื่อจำเลยมีเงินที่จะได้รับจากโจทก์ ก็ให้โจทก์หักเงินที่จำเลยมีสิทธิจะได้จากโจทก์ออกจากเงินกู้เพื่อหักกลบลบหนี้กันก่อน เหลือเท่าใด จำเลยก็จะต้องชำระให้โจทก์จนหมดสิ้น เป็นเพียงเงื่อนไขเกี่ยวกับสิทธิของโจทก์ที่จะหักเงินจำนวนใด ๆ ที่จำเลยมีสิทธิได้รับจากโจทก์ชำระหนี้ที่ค้างชำระแก่โจทก์ได้เมื่อจำเลยพ้นสภาพจากการเป็นพนักงานของโจทก์ กรณีมิใช่เป็นเรื่องเกี่ยวกับอำนาจฟ้องของโจทก์
ดังนี้ เมื่อจำเลยพ้นสภาพจากการเป็นพนักงานของโจทก์โดยจำเลยได้กู้เงินไปจากโจทก์ตามสัญญา และจำเลยไม่ชำระหนี้เงินกู้ให้แก่โจทก์ จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ ส่วนการที่จำเลยได้ให้การต่อสู้คดีว่า จำเลยมีสิทธิได้รับเงินสะสมสวัสดิการ โดยโจทก์จะต้องจ่ายให้แก่จำเลยเมื่อจำเลยพ้นจากการเป็นพนักงานของโจทก์ไปหักชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมตามฟ้องก่อน เป็นการยกข้อต่อสู้ซึ่งสิทธิที่จำเลยจะพึงได้รับเงินสะสมสวัสดิการจากโจทก์ ซึ่งโจทก์ยังมีข้อโต้แย้งอยู่ และจำเลยมิได้ใช้สิทธิเรียกร้องเอาแก่โจทก์โดยการฟ้องแย้ง จึงเป็นกรณีที่ศาลไม่อาจบังคับให้ได้
ดังนี้ เมื่อจำเลยพ้นสภาพจากการเป็นพนักงานของโจทก์โดยจำเลยได้กู้เงินไปจากโจทก์ตามสัญญา และจำเลยไม่ชำระหนี้เงินกู้ให้แก่โจทก์ จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ ส่วนการที่จำเลยได้ให้การต่อสู้คดีว่า จำเลยมีสิทธิได้รับเงินสะสมสวัสดิการ โดยโจทก์จะต้องจ่ายให้แก่จำเลยเมื่อจำเลยพ้นจากการเป็นพนักงานของโจทก์ไปหักชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมตามฟ้องก่อน เป็นการยกข้อต่อสู้ซึ่งสิทธิที่จำเลยจะพึงได้รับเงินสะสมสวัสดิการจากโจทก์ ซึ่งโจทก์ยังมีข้อโต้แย้งอยู่ และจำเลยมิได้ใช้สิทธิเรียกร้องเอาแก่โจทก์โดยการฟ้องแย้ง จึงเป็นกรณีที่ศาลไม่อาจบังคับให้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7091/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิโจทก์หักเงินสะสมสวัสดิการชำระหนี้กู้ยืม การมีอำนาจฟ้อง และการต่อสู้คดีด้วยสิทธิอื่น
สัญญากู้ฉบับพิพาทระบุว่า ในกรณีผู้กู้สิ้นสภาพจากการเป็นพนักงานของผู้ให้กู้ไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ และผู้กู้ ยังมีเงินกู้ค้างชำระอยู่ผู้ให้กู้อาจเลือกพิจารณาได้ดังนี้ คือ ให้จ่ายเงินกู้ค้างชำระทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยเต็มจำนวนที่ค้างชำระโดยหักจาก เงินเดือน เงินโบนัสหรือเงินได้อื่น ๆ ที่ผู้กู้มีสิทธิพึงได้รับจากบริษัท (ผู้ให้กู้)ถ้าหากจำนวนดังกล่าวไม่เพียงพอ ผู้กู้จะต้องหาเงินจากที่อื่นมาเพื่อปิดยอดเงินกู้ที่ค้างชำระทั้งสิ้นต่อไป ตามข้อสัญญาดังกล่าว เป็นกรณีที่เมื่อจำเลยมีเงินที่จะได้รับจากโจทก์ ก็ให้ โจทก์หักเงินที่จำเลยมีสิทธิจะได้จากโจทก์ออกจากเงินกู้เพื่อหักกลบลบหนี้กันก่อน เหลือเท่าใด จำเลยก็จะต้องชำระให้โจทก์จนหมดสิ้น เป็นเพียงเงื่อนไขเกี่ยวกับสิทธิของโจทก์ที่จะหักเงินจำนวนใด ๆ ที่จำเลยมีสิทธิได้รับจากโจทก์ชำระหนี้ที่ค้างชำระแก่โจทก์ได้เมื่อจำเลยพ้นสภาพจากการเป็นพนักงานของโจทก์ กรณีมิใช่เป็นเรื่องเกี่ยวกับอำนาจฟ้องของโจทก์ ดังนี้ เมื่อจำเลยพ้นสภาพจากการเป็นพนักงานของโจทก์โดยจำเลยได้กู้เงินไปจากโจทก์ตามสัญญา และจำเลยไม่ชำระหนี้ เงินกู้ให้แก่โจทก์ จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อม มี อำนาจฟ้องจำเลยได้ ส่วนการที่จำเลยได้ให้การต่อสู้คดีว่า จำเลยมีสิทธิได้รับเงินสะสมสวัสดิการ โดยโจทก์จะต้องจ่ายให้แก่จำเลยเมื่อจำเลยพ้นจากการเป็นพนักงานของโจทก์ไปหักชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมตามฟ้องก่อนเป็นการยกข้อต่อสู้ซึ่งสิทธิที่จำเลยจะพึงได้รับเงินสะสมสวัสดิการจากโจทก์ ซึ่งโจทก์ยังมีข้อโต้แย้งอยู่ และจำเลยมิได้ใช้สิทธิเรียกร้องเอาแก่โจทก์โดยการฟ้องแย้งจึงเป็นกรณีที่ศาลไม่อาจบังคับให้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4716/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ค่าเช่าซื้อค้างชำระหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์: เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ไม่ได้
หนี้ค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระเป็นหนี้ค่าเช่าและหนี้อย่างอื่นที่มีกำหนดระยะเวลาให้ชำระโดยกำหนดระยะเวลาให้ชำระตั้งแต่ งวดที่ 14 ประจำวันที่ 20 มกราคม 2538 เป็นต้นไปมิใช่กำหนดระยะเวลาให้ชำระก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2537 แต่เป็นการกำหนดระยะเวลาให้ชำระภายหลังจากวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เจ้าหนี้จึงไม่อาจขอรับชำระหนี้ดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4733/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าท่าเรือ: การบังคับใช้สัญญา, สิทธิเรียกค่าชดเชย, และระยะเวลาของสัญญา
ก่อนที่จะทำบันทึกการขอทดลองใช้ท่าเพื่อลดความคับคั่งจำเลยเคยมีหนังสือร้องขอโจทก์หลังจากนั้นมีการประชุมร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่บริหารของโจทก์และจำเลยเพื่อตกลงในรายละเอียดที่ประชุมเห็นพ้องร่วมกันกับข้อความในร่างบันทึกดังกล่าวและกำหนดแนวทางปฏิบัติโดยให้เริ่มตั้งแต่วันที่14ตุลาคม2531บันทึกดังกล่าวก็ลงวันที่14ตุลาคม2531เช่นเดียวกันกับมีข้อความเหมือนกับร่างบันทึกดังกล่าวทุกประการแสดงว่าคู่กรณีต่างมีเจตนาตรงกันจึงได้ทำความตกลงตามข้อความในบันทึกดังกล่าวบันทึกดังกล่าวจึงใช้บังคับได้ส่วนการที่มีเพียงจำเลยฝ่ายเดียวลงชื่อในบันทึกหาทำให้ข้อตกลงตามบันทึกใช้บังคับไม่ได้ไม่เพราะเงื่อนไขและข้อตกลงในบันทึกเป็นการต่างตอบแทนซึ่งกันและกันเมื่อฝ่ายโจทก์ได้จัดให้จำเลยใช้ท่าเรือดังที่ระบุไว้ในบันทึกแล้วจำเลยย่อมต้องผูกพันที่จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขในบันทึกนั้นแม้โจทก์จะมิได้ลงชื่อในบันทึกก็ตามสัญญาต่างตอบแทนระหว่างโจทก์จำเลยในกรณีนี้เกิดขึ้นแล้วเพราะเป็นที่แน่ชัดว่าทั้งโจทก์จำเลยได้ตกลงกันในสาระสำคัญหมดทุกข้อถือว่ามีสัญญาต่อกันแล้วหาได้มีกรณีเป็นที่สงสัยดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา366ไม่ การชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัยหมายถึงลูกหนี้ไม่อาจปฏิบัติการชำระหนี้ได้เลยแต่ในกรณีของจำเลยปรากฏว่ามีบริษัทอื่นสามารถขนถ่ายสินค้าได้ตามจำนวนที่ตกลงกันไว้จึงหาใช่กรณีที่ไม่อาจปฏิบัติได้อันเป็นการพ้นวิสัยไม่ความสามารถในการขนถ่ายตู้สินค้าขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของกลุ่มเรือแต่ละกลุ่มเมื่อจำเลยไม่สามารถขนถ่ายตู้สินค้าได้ตามจำนวนที่กำหนดไว้โจทก์จึงมีสิทธิเรียกเงินชดเชยการใช้ท่าจากจำเลยได้ตามข้อตกลงในบันทึกการขอทดลองใช้ท่าเพื่อลดความคับคั่ง ตามบันทึกการขอทดลองใช้ท่าเพื่อลดความคับคั่วข้อ4.1ระบุว่าหากจำเลยขนถ่ายตู้สินค้าเข้า-ออกได้ไม่เท่าจำนวนปีละ144,000ทีอียูจำเลยจะต้องจ่ายเงินชดเชยการใช้ท่าให้แก่โจทก์โดยคิดเมื่อครบรอบ1ปีหรือเมื่อโจทก์มีคำสั่งยกเลิกการใช้ท่าเพราะเห็นว่าจำเลยไม่อาจปฏิบัติตามข้อตกลงต่อไปได้และข้อ4.3ระบุว่าหากจำเลยประสงค์จะเลิกการใช้ท่าให้แจ้งแก่โจทก์ทราบเป็นลายลักษณ์อักษรล่วงหน้า3วันและหากขนถ่ายตู้สินค้าไม่ได้ตามเกณฑ์ในข้อ4.1ให้คิดเงินชดเชยโดยถือวันสุดท้ายที่เรือของจำเลยออกจากท่าเป็นวันรวมเวลาคำนวณจำนวนตู้ตามบันทึกดังกล่าวเป็นข้อตกลงที่มิได้กำหนดเงื่อนเวลาสิ้นสุดไว้ข้อตกลงจะสิ้นสุดลงต่อเมื่อได้มีการบอกเลิกของคู่กรณีดังที่กำหนดไว้ส่วนระยะเวลา1ปีที่ระบุไว้ในข้อ4.1เป็นเพียงการกำหนดให้มีการคิดเงินชดเชยกันเมื่อครบรอบ1ปีแล้วเท่านั้นหาใช่เงื่อนเวลาสิ้นสุดของข้อตกลงตามบันทึกไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5126-5127/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลา การคืนเงินประกัน การปฏิเสธโดยไม่ยกเงื่อนเวลา
ป.พ.พ. มาตรา 192 วรรคท้าย (ที่ตรวจชำระใหม่) ไม่ได้บัญญัติว่า การสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาจะต้องทำโดยชัดแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร ดังนั้น เมื่อมีพฤติการณ์ที่ถือได้ว่าจำเลยสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาแล้วก็บังคับได้ตามนั้น
ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยที่กำหนดว่าจำเลยจะคืนเงินประกันให้แก่ลูกจ้างหลังจากลูกจ้างพ้นสภาพจากการเป็นลูกจ้างของจำเลยภายในสามสิบวัน เป็นเงื่อนเวลาในการที่ลูกจ้างของจำเลยจะเรียกเงินประกันคืนซึ่งเป็นประโยชน์แก่จำเลย จำเลยมีสิทธิยกประโยชน์แห่งเงื่อนเวลานั้นขึ้นปฏิเสธที่จะคืนเงินประกันให้แก่โจทก์ลูกจ้างของจำเลยได้เมื่อโจทก์เรียกเงินประกันคืนก่อนกำหนดดังกล่าว แต่เมื่อโจทก์เรียกเงินประกันคืนก่อนกำหนด จำเลยก็หาได้ยกประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาขึ้นปฏิเสธไม่ จำเลยกลับปฏิเสธว่าโจทก์ก่อความเสียหายให้แก่จำเลย พฤติการณ์เช่นนี้ถือได้ว่า จำเลยได้สละเสียซึ่งประโยชน์แห่งเงื่อนเวลานั้นแล้ว จำเลยจึงไม่อาจยกประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาดังกล่าวขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ได้
ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยที่กำหนดว่าจำเลยจะคืนเงินประกันให้แก่ลูกจ้างหลังจากลูกจ้างพ้นสภาพจากการเป็นลูกจ้างของจำเลยภายในสามสิบวัน เป็นเงื่อนเวลาในการที่ลูกจ้างของจำเลยจะเรียกเงินประกันคืนซึ่งเป็นประโยชน์แก่จำเลย จำเลยมีสิทธิยกประโยชน์แห่งเงื่อนเวลานั้นขึ้นปฏิเสธที่จะคืนเงินประกันให้แก่โจทก์ลูกจ้างของจำเลยได้เมื่อโจทก์เรียกเงินประกันคืนก่อนกำหนดดังกล่าว แต่เมื่อโจทก์เรียกเงินประกันคืนก่อนกำหนด จำเลยก็หาได้ยกประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาขึ้นปฏิเสธไม่ จำเลยกลับปฏิเสธว่าโจทก์ก่อความเสียหายให้แก่จำเลย พฤติการณ์เช่นนี้ถือได้ว่า จำเลยได้สละเสียซึ่งประโยชน์แห่งเงื่อนเวลานั้นแล้ว จำเลยจึงไม่อาจยกประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาดังกล่าวขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5419/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดเวลาจดทะเบียนเป็นสาระสำคัญของสัญญานายหน้า หากไม่ทำตามสัญญาภายในกำหนด สัญญาเป็นโมฆะ
สัญญานายหน้าระบุว่า มอบให้นายหน้าไปจัดการจดทะเบียนให้เสร็จภายใน 30 วัน นับแต่วันทำสัญญา แสดงว่าคู่สัญญามีเจตนากำหนดเวลาไว้แน่นอนว่าต้องจดทะเบียนให้เสร็จภายใน 30 วัน นับแต่วันทำสัญญาถือเป็นสาระสำคัญของสัญญานายหน้า เมื่อนายหน้าไม่สามารถจัดการให้มีการจดทะเบียนซื้อขายภายในกำหนด โดยไม่ปรากฏว่ามีการผ่อนเวลาตามสัญญาออกไปอีก สัญญาจึงสิ้นสุดลงไม่มีผลผูกพันคู่สัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3155/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างว่าความมีเงื่อนไขบังคับก่อน: อำนาจฟ้องขึ้นอยู่กับการได้รับชำระหนี้ตามฟ้อง
ซ.ว่าจ้างโจทก์เป็นทนายฟ้องคดีโดยซ.จะชำระค่าจ้างให้โจทก์เมื่อได้รับเงินตามฟ้องเรียบร้อยแล้ว เป็นสัญญาที่มีเงื่อนไขบังคับก่อน เพราะ ซ. จะได้รับเงินหรือไม่เป็นเหตุการณ์ในอนาคต และไม่แน่นอน ซ.หรือกองมรดกของซ.จะชำระค่าจ้างให้โจทก์ต่อเมื่อเงื่อนไขสำเร็จ เมื่อเงื่อนไขตามสัญญายังไม่สำเร็จ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3155/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาที่มีเงื่อนไขบังคับก่อนและอำนาจฟ้องคดี
ซ.ว่าจ้างโจทก์เป็นทนายฟ้องคดี โดย ซ.จะชำระค่าจ้างให้โจทก์เมื่อได้รับเงินตามฟ้องเรียบร้อยแล้ว เป็นสัญญาที่มีเงื่อนไขบังคับก่อน เพราะซ.จะได้รับเงินหรือไม่เป็นเหตุการณ์ในอนาคต และไม่แน่นอน ซ.หรือกองมรดกของซ.จะชำระค่าจ้างให้โจทก์ต่อเมื่อเงื่อนไขสำเร็จ เมื่อเงื่อนไขตามสัญญายังไม่สำเร็จโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง