พบผลลัพธ์ทั้งหมด 38 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2656/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างเหมา: การชำระเงินค่าจ้างเมื่อผลงานเสร็จและผ่านการตรวจรับ แม้จำเลยยังไม่ได้รับเงินจากผู้ว่าจ้าง
ข้อความในสัญญาจ้างเหมาก่อสร้าง ข้อ 5 ที่ว่า "ผู้ว่าจ้าง(จำเลย) ตกลงจ่ายเงินค่าจ้างให้แก่ผู้รับจ้าง (โจทก์) เป็นจำนวนเงิน 36,977 บาท เมื่อผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้างตกลงทำสัญญาจ้างเหมา เงินส่วนที่เหลือจะจ่ายเป็นงวด งวดละ 1 เดือน ตามผลงานที่ผู้รับจ้างทำเสร็จจริงและได้ผ่านการตรวจรับงานจากบริษัท ว. และและวิศวกรผู้ควบคุมงานแล้ว โดยผู้ว่าจ้างจะจ่ายเงินให้แก่ผู้รับจ้างภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ผู้ว่าจ้างได้รับเงินงวดนั้นจากบริษัท ว." นั้น สามารถแยกพิจารณาได้เป็น 2 ส่วน ส่วนแรกที่ว่า "เงินส่วนที่เหลือจะจ่ายเป็นงวด งวดละ 1 เดือน ตามผลงานที่ผู้รับจ้างทำเสร็จจริง และได้ผ่านการตรวจรับงานตามที่ระบุไว้ โจทก์ก็ไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้าง แต่ข้อความส่วนที่สองที่ว่า" โดยผู้ว่าจ้างจะจ่ายเงินให้แก่ผู้รับจ้างภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ผู้ว่าจ้างได้รับเงินงวดนั้นจากบริษัทว." หาใช่เงื่อนไขบังคับก่อนที่จะกำหนดการชำระเงินค่าจ้างไม่ เป็นแต่เพียงข้อตกลงที่มุ่งหมายให้จำเลยเร่งรัดให้บริษัท ว. ชำระค่าก่อสร้างแก่จำเลยตามสัญญาที่จำเลยทำกับบริษัท ว. เพื่อนำเงินมาชำระแก่โจทก์เมื่อโจทก์ทำงานเสร็จและผ่านการตรวจรับงานตามเงื่อนไขในสัญญาส่วนแรกแล้ว เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์ทำงานเสร็จส่งมอบงานและมีการตรวจรับงานตามเงื่อนไขแล้ว จำเลยต้องชำระค่าจ้างให้โจทก์ จำเลยจะอ้างว่าจำเลยยังไม่ได้รับเงินงวดจากบริษัท ว. จึงไม่ต้องชำระค่าจ้างให้โจทก์หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2639/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้ภาษี: การแจ้งประเมินสะดุดหยุดอายุความ แต่การแจ้งซ้ำอาจทำให้ขาดอายุความตามกฎหมาย
การแจ้งการประเมินภาษีอากรมีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดีย่อมเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 173 เริ่มนับใหม่เมื่อพ้นระยะเวลาสามสิบวันที่กำหนดให้นำค่าภาษีไปชำระตามหนังสือแจ้งการประเมินและพ้นกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์การประเมินตามประมวลรัษฎากรอันโจทก์อาจบังคับยึดทรัพย์หรือใช้สิทธิฟ้องร้องได้แต่เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้เกิน 10 ปีแล้วจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 167 แม้โจทก์จะมีหนังสือแจ้งการประเมินไปยังจำเลยครั้งที่สองก็ไม่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงแล้วสะดุดหยุดลงอีก เพราะจะมีผลเป็นการขยายอายุความที่กฎหมายกำหนดไว้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 191.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2639/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความภาษีอากร: การแจ้งประเมินสะดุดอายุความ แต่การแจ้งซ้ำขยายอายุความไม่ได้
การแจ้งการประเมินภาษีอากรมีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดีย่อมเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 173 เริ่มนับใหม่เมื่อพ้นระยะเวลาสามสิบวันที่กำหนดให้นำค่าภาษีไปชำระตามหนังสือแจ้งการประเมินและพ้นกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์การประเมินตามประมวลรัษฎากรอันโจทก์อาจบังคับยึดทรัพย์หรือใช้สิทธิฟ้องร้องได้ แต่เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้เกิน 10 ปีแล้ว จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 167 แม้โจทก์จะมีหนังสือแจ้งการประเมินไปยังจำเลยครั้งที่สองก็ไม่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงแล้วสะดุดหยุดลงอีก เพราะจะมีผลเป็นการขยายอายุความที่กฎหมายกำหนดไว้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 191.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1043/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คพิพาท: การแก้ไขวันเช็คไม่ถือเป็นการขยายอายุความ ผู้สั่งจ่ายผูกพันตามวันที่แก้ไข
เช็คพิพาทเป็นเช็คผู้ถือ แม้ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินแล้วก็ยังคงมีสภาพเป็นเช็คที่สามารถโอนเปลี่ยนมือต่อไปได้ ทั้งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1007 วรรคแรก และวรรคสามบัญญัติให้ผู้สั่งจ่ายสามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงกำหนดเวลาใช้เงินในเช็คได้ เมื่อจำเลยเป็นผู้ขีดฆ่าแก้ไขวันที่ลงในเช็คพิพาทจึงต้องผูกพันรับผิดตามเช็คโดยถือว่าเช็คพิพาทมีกำหนดเวลาใช้เงินในวันที่แก้ไขนั้น และกรณีมิใช่การตกลงขยายอายุความฟ้องร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2115/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าครองชีพเป็นส่วนหนึ่งของเงินเดือนในการคำนวณเงินบำเหน็จ และสิทธิเรียกร้องเงินบำเหน็จมีอายุความ 10 ปี
นายจ้างจ่ายค่าครองชีพแก่ลูกจ้างเป็นจำนวนแน่นอน เป็นรายเดือนเช่นเดียวกับเงินเดือน ค่าครองชีพจึงเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายเพื่อตอบแทนเช่นเดียวกับเงินเดือน เป็นค่าจ้าง นายจ้างต้องนำค่าครองชีพมารวมเพื่อคำนวณในการจ่ายเงินบำเหน็จแก่โจทก์ตามข้อบังคับของนายจ้างด้วย
การที่ลูกจ้างได้รับเงินบำเหน็จจากนายจ้างยังไม่ครบถ้วนแม้จะไม่ปรากฏว่าลูกจ้างได้โต้แย้งคัดค้านการจ่ายเงินบำเหน็จของจำเลยไว้ ก็ถือไม่ได้ว่าลูกจ้างได้สละสิทธิที่จะเรียกร้องเอาเงินบำเหน็จในส่วนที่ยังขาดจากนายจ้าง ลูกจ้างย่อมมีสิทธิฟ้องให้นายจ้างชำระเงินบำเหน็จที่นายจ้างจ่ายขาดไปนั้นได้
สิทธิเรียกร้องเงินบำเหน็จไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ลูกจ้างจึงมีสิทธิเรียกร้องได้ภายใน 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 นายจ้างจะกำหนดระยะเวลาใช้สิทธิเรียกร้องดังกล่าวให้น้อยกว่า 10 ปีหาได้ไม่ เพราะต้องห้ามตามมาตรา 191 ลูกจ้างฟ้องคดีภายในกำหนดอายุความ 10 ปี นายจ้างจะยกข้อบังคับของนายจ้างขึ้นอ้างเพื่อปฏิเสธไม่จ่ายเงินบำเหน็จหาได้ไม่
เงินบำเหน็จกฎหมายมิได้บังคับให้นายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างทันทีที่เลิกจ้างดังเช่นค่าชดเชย นายจ้างจะผิดนัดก็ต่อเมื่อลูกจ้างได้ทวงถามก่อน เมื่อไม่ปรากฏว่าลูกจ้างได้ทวงถามให้นายจ้างรับผิดชำระเงินบำเหน็จเมื่อใด ลูกจ้างจึงชอบที่จะได้รับดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้อง.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
การที่ลูกจ้างได้รับเงินบำเหน็จจากนายจ้างยังไม่ครบถ้วนแม้จะไม่ปรากฏว่าลูกจ้างได้โต้แย้งคัดค้านการจ่ายเงินบำเหน็จของจำเลยไว้ ก็ถือไม่ได้ว่าลูกจ้างได้สละสิทธิที่จะเรียกร้องเอาเงินบำเหน็จในส่วนที่ยังขาดจากนายจ้าง ลูกจ้างย่อมมีสิทธิฟ้องให้นายจ้างชำระเงินบำเหน็จที่นายจ้างจ่ายขาดไปนั้นได้
สิทธิเรียกร้องเงินบำเหน็จไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ลูกจ้างจึงมีสิทธิเรียกร้องได้ภายใน 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 นายจ้างจะกำหนดระยะเวลาใช้สิทธิเรียกร้องดังกล่าวให้น้อยกว่า 10 ปีหาได้ไม่ เพราะต้องห้ามตามมาตรา 191 ลูกจ้างฟ้องคดีภายในกำหนดอายุความ 10 ปี นายจ้างจะยกข้อบังคับของนายจ้างขึ้นอ้างเพื่อปฏิเสธไม่จ่ายเงินบำเหน็จหาได้ไม่
เงินบำเหน็จกฎหมายมิได้บังคับให้นายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างทันทีที่เลิกจ้างดังเช่นค่าชดเชย นายจ้างจะผิดนัดก็ต่อเมื่อลูกจ้างได้ทวงถามก่อน เมื่อไม่ปรากฏว่าลูกจ้างได้ทวงถามให้นายจ้างรับผิดชำระเงินบำเหน็จเมื่อใด ลูกจ้างจึงชอบที่จะได้รับดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้อง.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1410/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีจัดการมรดก: นับจากวันที่จัดการมรดกเสร็จสิ้น
น. และจำเลยที่1ผู้จัดการมรดกของส. ต่างก็เป็นทายาทของเจ้ามรดกโดยน. เป็นภรรยาจำเลยที่1เป็นบุตรการที่บุคคลทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกโอนทรัพย์มรดกให้แก่ตนเองและทายาทอื่นซึ่งมีสิทธิได้รับมรดกอยู่แล้วมิใช่เป็นการกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดก. ผู้จัดการมรดกมิได้ทำบัญชีทรัพย์มรดกยื่นต่อศาลเป็นกรณีที่ศาลอาจถอนผู้จัดการมรดกเสียได้เท่านั้นหาเป็นเหตุให้อำนาจในการจัดการมรดกสิ้นสุดไปไม่เมื่อไม่ปรากฏว่าศาลถอนผู้จัดการมรดกอำนาจในการจัดการมรดกของผู้จัดการมรดกยังคงมีอยู่ต่อไป เมื่อผู้จัดการมรดกได้ทำการโอนทรัพย์มรดกทั้งหมดให้แก่ทายาทของเจ้ามรดกไปหมดแล้วในวันที่29ตุลาคม2518ถือว่าการจัดการมรดกสิ้นสุดลงแล้วตั้งแต่วันดังกล่าวโจทก์ฟ้องคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกเมื่อวันที่4มิถุนายน2524เกินกว่า5ปีนับแต่การจัดการมรดกเสร็จสิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงขาดอายุความตามป.พ.พ.มาตรา1733 คำฟ้องโจทก์มิได้แสดงโดยแจ้งชัดให้เห็นว่าผู้จัดการมรดกก็ดีจำเลยก็ดีได้กระทำการใดๆอันจะถือได้ว่าเป็นการรับสภาพความผิดต่อโจทก์ตามป.พ.พ.มาตรา172หรือกระทำการอื่นใดอันจะถือว่าเป็นการละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความตามป.พ.พ.มาตรา192จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากันมาในศาลชั้นต้นปัญหาเรื่องนี้เป็นเรื่องอายุความฟ้องร้องมิใช่ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาย่อมไม่รับวินิจฉัย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1503/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสิทธิเรียกร้องเงินบำเหน็จ และผลของการปฏิเสธการจ่ายเงินหลังยื่นคำร้อง
สิทธิเรียกร้องเงินบำเหน็จไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่าง อื่น จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา164นายจ้างจะกำหนดระยะเวลาใช้สิทธิเรียกร้อง เงินบำเหน็จให้น้อยกว่า 10 ปีหาได้ไม่ ต้องห้ามตามมาตรา 191
ตามข้อบังคับนายจ้างจะจ่ายเงินบำเหน็จ เมื่อลูกจ้างยื่นคำร้องขอรับดังนี้ เมื่อลูกจ้างขอรับแล้วนายจ้างปฏิเสธ ถือว่านายจ้างผิดนัดนับแต่วันที่ลูกจ้างขอรับ
ตามข้อบังคับนายจ้างจะจ่ายเงินบำเหน็จ เมื่อลูกจ้างยื่นคำร้องขอรับดังนี้ เมื่อลูกจ้างขอรับแล้วนายจ้างปฏิเสธ ถือว่านายจ้างผิดนัดนับแต่วันที่ลูกจ้างขอรับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1503/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสิทธิเรียกร้องเงินบำเหน็จ และผลของการปฏิเสธการจ่ายเงินบำเหน็จหลังยื่นคำร้อง
สิทธิเรียกร้องเงินบำเหน็จไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 นายจ้างจะกำหนดระยะเวลาใช้สิทธิเรียกร้องเงินบำเหน็จให้น้อยกว่า 10 ปีหาได้ไม่ ต้องห้ามตามมาตรา 191
ตามข้อบังคับนายจ้างจะจ่ายเงินบำเหน็จ เมื่อลูกจ้างยื่นคำร้องขอรับดังนี้ เมื่อลูกจ้างขอรับแล้วนายจ้างปฏิเสธ ถือว่านายจ้างผิดนัดนับแต่วันที่ลูกจ้างขอรับ
ตามข้อบังคับนายจ้างจะจ่ายเงินบำเหน็จ เมื่อลูกจ้างยื่นคำร้องขอรับดังนี้ เมื่อลูกจ้างขอรับแล้วนายจ้างปฏิเสธ ถือว่านายจ้างผิดนัดนับแต่วันที่ลูกจ้างขอรับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1451/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงื่อนไขหนังสือค้ำประกัน: การแจ้งข้อเรียกร้องก่อนใช้สิทธิเรียกร้อง มิใช่การย่นอายุความ
ข้อตกลงในสัญญาค้ำประกันที่ว่า ในกรณีที่ผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดชำระหนี้แทนลูกหนี้ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้จะต้องแจ้งข้อเรียกร้องที่ผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดให้ผู้ค้ำประกันทราบภายในกำหนดอายุสัญญาค้ำประกันเสียก่อนจึงจะใช้สิทธิเรียกร้องตามสัญญาค้ำประกันได้นั้น เป็นคนละเรื่องกับการใช้สิทธิเรียกร้องตามสัญญาค้ำประกันและไม่ใช่ข้อตกลงที่ให้ย่นอายุความฟ้องร้องให้สั้นลง ข้อตกลงดังกล่าวจึงมีผลใช้บังคับได้ เมื่อโจทก์ฟ้องคดีโดยมิได้ยื่นคำเรียกร้องให้ผู้ค้ำประกันทราบภายในกำหนดตามข้อตกลงดังกล่าวก่อน ผู้ค้ำประกันจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 914-917/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องละเมิด, การแยกฟ้อง, อำนาจฟ้องผู้รับขนส่ง: การวินิจฉัยประเด็นที่เกี่ยวข้องกับคดีละเมิดจากการชนและสินค้าเสียหาย
ผู้รับขนเป็นผู้เสียหายฟ้องฐานละเมิด โดยเหตุสินค้าที่รับขนถูกรถชนเสียหายได้
ฟ้องว่าขับรถโดยประมาท ขับกินทางเข้าไปในเส้นทางของรถที่สวนมาเป็นเหตุให้รถชนกัน สินค้าที่บรรทุกมาเสียหายตามประเภทและราคาที่ระบุไม่เคลือบคลุม รายละเอียดเป็นข้อนำสืบชั้นพิจารณา ไม่ต้องบรรยายให้ครบถ้วนตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59
โจทก์ฟ้องรวมกันมาภายใน 1 ปี นับแต่วันทำละเมิด ศาลสั่งให้โจทก์แต่ละคนแยกฟ้องภายใน 15 วัน ซึ่งครบกำหนดวันเสาร์ โจทก์ฟ้องในวันจันทร์ ถือว่าฟ้องภายใน 15 วัน แม้เกิน 1 ปี ตั้งแต่วันทำละเมิดก็ไม่ใช่ขยายอายุความ
ฟ้องว่าขับรถโดยประมาท ขับกินทางเข้าไปในเส้นทางของรถที่สวนมาเป็นเหตุให้รถชนกัน สินค้าที่บรรทุกมาเสียหายตามประเภทและราคาที่ระบุไม่เคลือบคลุม รายละเอียดเป็นข้อนำสืบชั้นพิจารณา ไม่ต้องบรรยายให้ครบถ้วนตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59
โจทก์ฟ้องรวมกันมาภายใน 1 ปี นับแต่วันทำละเมิด ศาลสั่งให้โจทก์แต่ละคนแยกฟ้องภายใน 15 วัน ซึ่งครบกำหนดวันเสาร์ โจทก์ฟ้องในวันจันทร์ ถือว่าฟ้องภายใน 15 วัน แม้เกิน 1 ปี ตั้งแต่วันทำละเมิดก็ไม่ใช่ขยายอายุความ