พบผลลัพธ์ทั้งหมด 38 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1383/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความเงินบำเหน็จ: ข้อบังคับบริษัทขัดกับกฎหมาย อายุความตามกฎหมายมีผลบังคับใช้
อายุความที่กฎหมายกำหนดไว้ผู้ใดหาอาจขยายออกหรือย่นเข้าได้ไม่ ข้อบังคับของบริษัทนายจ้างที่ให้ลูกจ้างยื่นคำร้องขอรับบำเหน็จต่อบริษัทเมื่อพ้นจากการเป็นพนักงานภายใน 3 เดือนจึงไม่มีผลบังคับตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 330/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความคุ้มครองประกันภัย กรณีเกิดจากความประมาทเลินเล่อและการตีความเงื่อนไขกรมธรรม์
คนงานของโจทก์จุดไฟหม้อน้ำตามปกติ แต่ไม่ได้ตรวจดูสายน้ำมันซึ่งเก่าหลวม น้ำมันไหลออกมากจนระเบิดขึ้นเพราะไฟลุกไหม้ เป็นประมาทเลินเล่อแต่ไม่ถึงกับร้ายแรงลิ้นหม้อน้ำเปิดไม่ทันเพราะความร้อนมากก็ไม่ใช่ความไม่สมประกอบของวัตถุที่เอาประกันภัย ผู้รับประกันภัยต้องรับผิดในความเสียหายแม้เกิดจากการระเบิด ซึ่งเป็นผลจากไฟนั้นเอง แต่เฉพาะความเสียหายต่อวัตถุที่ประกันภัยซึ่งไม่รวมถึงอาคารและสต๊อกสินค้า ไม่รวมถึงวัตถุดิบข้อกำหนดในกรมธรรม์ให้ฟ้องใน 3 เดือน ขัดต่อ มาตรา191,882 บังคับไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 473/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องเงินรางวัลสลากกินแบ่ง แม้สลากหาย หรือเกินกำหนด 3 เดือน ไม่ตัดสิทธิผู้ถูกรางวัล
ระเบียบและข้อกำหนดของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลที่ว่าเงินรางวัลจะจ่ายแก่ผู้ถือสลากฉบับที่ถูกต้องนำมาขอรับเงินนั้นเป็นเพียงเพื่อให้ทางสำนักงานสลากฯมีหลักฐานในการที่จะจ่ายเงินรางวัลแก่ผู้ถูกรางวัล ไม่ใช่ระเบียบหรือข้อกำหนดที่จะไม่จ่ายเงินรางวัลแก่ผู้ถูกรางวัลที่สลากหาย เมื่อโจทก์มีหลักฐานว่าถูกรางวัลแต่สลากหายทางสำนักงานสลากก็ต้องจ่ายเงินให้
ผู้ที่ถูกสลากกินแบ่งรัฐบาลมีสิทธิเรียกร้องเงินรางวัลได้ภายใน 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 ทางสำนักงานสลากกินแบ่งจะกำหนดสิทธิเรียกร้องให้มารับภายใน 3 เดือนมิได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 191
ผู้ที่ถูกสลากกินแบ่งรัฐบาลมีสิทธิเรียกร้องเงินรางวัลได้ภายใน 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 ทางสำนักงานสลากกินแบ่งจะกำหนดสิทธิเรียกร้องให้มารับภายใน 3 เดือนมิได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 191
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 473/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องเงินรางวัลสลากหาย: สำนักงานสลากฯจ่ายได้แม้ไม่มีสลาก, กรอบเวลา 10 ปีตามกฎหมาย
ระเบียบและข้อกำหนดของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลที่ว่า เงินรางวัลจะจ่ายแก่ผู้ถือสลากฉบับที่ถูกต้องนำมาขอรับเงินนั้น เป็นเพียงเพื่อให้ทางสำนักงานสลากฯมีหลักฐานในการที่จะจ่ายเงินรางวัลแก่ผู้ถูกรางวัล ไม่ใช่ระเบียบหรือข้อกำหนดที่จะไม่จ่ายเงินรางวัลแก่ผู้ถูกรางวัลที่สลากหาย เมื่อโจทก์มีหลักฐานว่าถูกรางวัลแต่สลากหายทางสำนักงานสลากก็ต้องจ่ายเงินให้
ผู้ที่ถูกสลากกินแบ่งรัฐบาลมีสิทธิเรียกร้องเงินรางวัลได้ภายใน 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164 ทางสำนักงานสลากกินแบ่งจะกำหนดสิทธิเรียกร้องให้มารับภายใน 3 เดือนมิได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 191.
ผู้ที่ถูกสลากกินแบ่งรัฐบาลมีสิทธิเรียกร้องเงินรางวัลได้ภายใน 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164 ทางสำนักงานสลากกินแบ่งจะกำหนดสิทธิเรียกร้องให้มารับภายใน 3 เดือนมิได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 191.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 575/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ตกลงกันระหว่างผู้ออกและผู้รับว่าจะลงวันถึงกำหนดใช้เงินเมื่อใด ไม่ถือเป็นตั๋วที่ใช้เงินเมื่อเห็น และไม่ขาดอายุความ
ข้อเท็จจริงได้ความว่า บริษัทอุดม จำกัด ได้กู้เงินจากโจทก์ไป 500,000 บาท โดยมอบกระดาษฝากเข้าคลังสินค้าของโจทก์และจำนำกระดาษนั้นไว้เป็นประกัน โดยโจทก์ออกใบรับคลังสินค้าและใบประทวนสินค้าให้ไว้เป็นสำคัญ มีกำหนดชำระหนี้ภายใน 3 เดือน แต่โจทก์ยอมผ่อนผันให้ต่ออายุใบประทวนสินค้าไปได้เป็นระยะๆ เพื่อให้โจทก์อำนวยประโยชน์ต่ออายุใบประทวนสินค้าให้บริษัทอุดม จำกัด จำเลยจึงได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้โจทก์ไว้หนึ่งฉบับ ลงวันที่27 ธันวาคม 2494 มีข้อความว่า จำเลยในฐานะส่วนตัวสัญญาจะใช้เงิน 500,000 บาทให้แก่โจทก์ในวันถึงกำหนดและได้มอบตั๋วนี้ไว้แก่กรรมการบริษัทโจทก์โดยมีคำสั่งมอบหมายแก่กรรมการบริษัทโจทก์ว่า วันถึงกำหนดแห่งตั๋วสัญญาใช้เงินนั้น เมื่อใดมีความจำเป็นที่โจทก์จะใช้ตั๋วนี้ฟ้องร้องชำระหนี้จากจำเลยเป็นส่วนตัว ก็ให้กรรมการบริษัทโจทก์กรอกวันถึงกำหนดแห่งตั๋วเอาเอง ดังนี้ กำหนดใช้เงินตามตั๋วต้องเป็นไปตามกำหนดเวลาในใบประทวนสินค้าคือ ระยะละ 3 เดือน ถ้ามีการต่ออายุใบประทวนสินค้าไปเท่าไร กำหนดใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินก็ตามไปด้วยถ้าไม่มีการต่ออายุใบประทวนสินค้าเมื่อไร การใช้เงินตามตั๋วก็ถึงกำหนดไปด้วยเมื่อนั้น แล้วจึงให้ฝ่ายโจทก์กรอกวันถึงกำหนดใช้เงินลงในตั๋ว ข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยกันเองเช่นนี้ ต้องถือว่าตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับนี้มีกำหนดเวลาใช้เงินตามกำหนดเวลาในใบประทวนสินค้า หาใช่กำหนดให้ใช้เงินเมื่อเห็นตั๋วไม่ ข้อตกลงเช่นว่านี้ไม่เป็นการผิดหรือขัดต่อกฎหมาย และไม่เป็นการขยายอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1785/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันข้ามอายุความ: ความผูกพันของผู้ค้ำประกันเมื่อหนี้ขาดอายุความแล้วไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย
ข้อความซึ่งระบุไว้ในสัญญาค้ำประกันว่าแม้ลูกหนี้ตายเกิน 1 ปีผู้ค้ำประกันก็คงยอมรับใช้แทน นั้น ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน และไม่เป็นการขยายอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1785/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันที่ระบุการรับผิดแม้ลูกหนี้เสียชีวิตเกิน 1 ปี ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย และไม่เป็นการขยายอายุความ
ข้อความซึ่งระบุไว้ในสัญญาค้ำประกันว่า แม้ลูกหนี้ตายเกิน 1 ปีผู้ค้ำประกันก็คงยอมรับใช้แทน นั้น ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน และไม่เป็นการขยายอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1145/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความ: การนับวันสุดท้ายในกรณีวันหยุดราชการ ศาลฎีกาชี้ว่าสามารถนำมาตรา 161 มาใช้ได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 191 นั้น หมายความว่าคู่กรณีจะตกลงกันแก้ไขเปลี่ยนแปลงอายุความตามกฎหมายให้สั้นเข้ามาหรือให้ยาวออกไปไม่ได้ แต่อายุความก็เป็นระยะเวลาอย่างหนึ่งเหมือนกัน จึงนำความในมาตรา 161 มาใช้ได้ เมื่อวันสุดท้ายแห่งอายุความเป็นวันหยุด ก็ให้นับวันที่เริ่มทำงานใหม่เข้าด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1145/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความลาภมิควรได้และการนับวันหยุดตามมาตรา 161
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 191 นั้น หมายความว่า คู่กรณีจะตกลงกันแก้ไขเปลี่ยนแปลงอายุความตามกฎหมายให้สั้นเข้ามาหรือให้ยาวออกไปไม่ได้ แต่อายุความก็เป็นระยะเวลาอย่างหนึ่งเหมือนกัน จึงนำความในมาตรา 161 มาใช้ได้ เมื่อวันสุดท้ายแห่งอายุความเป็นวันหยุด ก็ให้นับวันที่เริ่มทำงานใหม่เข้าด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1371/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันพิเศษ: ผู้ค้ำประกันยอมผูกพันหนี้ชั้นเดียวกับลูกหนี้ได้ แม้ไม่ฟ้องลูกหนี้ก่อน
สัญญาค้ำประกันมีข้อความว่า กรณีเมื่อลูกหนี้ผิดนัด ผู้ค้ำประกันยอมรับผิดชั้นเดียวกับลูกหนี้ทันทีโดยไม่ต้องฟ้องลูกหนี้ก่อน และมีข้อความอีกตอนหนึ่งว่า ยังยินยอมให้ผ่อนเวลาชำระหนี้ได้ และผู้ค้ำประกันยังคงรับผิดชอบอยู่เสมอ ดังนี้ถือว่าเป็นการตกลงพิเศษ ผู้ค้ำประกันหารับผิดเพียงฐานะผู้ค้ำประกันตามกฎหมายเท่านั้นไม่
อนึ่ง การที่ผู้ค้ำประกันตกลงกันเป็นพิเศษยอมรับผิดชั้นเดียวกับลูกหนี้นั้น หาขัดกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 114 ข้อตกลงนี้ไม่เป็นโมฆะ
ในกรณีลูกหนี้ตาย สัญญาค้ำประกันยังให้สิทธิเจ้าหนี้ฟ้องผู้ค้ำประกันได้ เมื่อพ้นกำหนดอายุความฟ้องความมรดกโดยผู้ค้ำประกันยินยอมและไม่ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในทางคดี เป็นข้อแสดงให้เห็นชัดอยู่แล้วว่า เจ้าหนี้ไม่จำต้องฟ้องลูกหนี้หรือทายาทหรือผู้จัดการมรดกของลูกหนี้
สัญญาค้ำประกันอีกข้อหนึ่งว่า ถ้าผู้กู้ถึงแก่ความตายไม่ได้รับชำระหนี้จากกองมรดกครบจำนวน ผู้ค้ำประกันยอมรับชำระหนี้จนครบนั้น มิได้หมายความว่าจะต้องฟ้องทายาทหรือผู้จัดการมรดกของลูกหนี้ด้วยตราบใดยังไม่ได้รับชำระหนี้หรือกองมรดก ผู้ค้ำประกันก็ยังต้องรับผิดชอบอยู่เสมอการที่ผู้ค้ำประกันตกลงจะไม่ยกอายุความของลูกหนี้ขึ้นต่อสู้นั้น ไม่ขัดต่อมาตรา 191 หรือ 192 เพราะไม่ใช่อายุความของผู้ค้ำประกัน และข้อตกลงนี้ไม่เป็นโมฆะ
อนึ่ง การที่ผู้ค้ำประกันตกลงกันเป็นพิเศษยอมรับผิดชั้นเดียวกับลูกหนี้นั้น หาขัดกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 114 ข้อตกลงนี้ไม่เป็นโมฆะ
ในกรณีลูกหนี้ตาย สัญญาค้ำประกันยังให้สิทธิเจ้าหนี้ฟ้องผู้ค้ำประกันได้ เมื่อพ้นกำหนดอายุความฟ้องความมรดกโดยผู้ค้ำประกันยินยอมและไม่ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในทางคดี เป็นข้อแสดงให้เห็นชัดอยู่แล้วว่า เจ้าหนี้ไม่จำต้องฟ้องลูกหนี้หรือทายาทหรือผู้จัดการมรดกของลูกหนี้
สัญญาค้ำประกันอีกข้อหนึ่งว่า ถ้าผู้กู้ถึงแก่ความตายไม่ได้รับชำระหนี้จากกองมรดกครบจำนวน ผู้ค้ำประกันยอมรับชำระหนี้จนครบนั้น มิได้หมายความว่าจะต้องฟ้องทายาทหรือผู้จัดการมรดกของลูกหนี้ด้วยตราบใดยังไม่ได้รับชำระหนี้หรือกองมรดก ผู้ค้ำประกันก็ยังต้องรับผิดชอบอยู่เสมอการที่ผู้ค้ำประกันตกลงจะไม่ยกอายุความของลูกหนี้ขึ้นต่อสู้นั้น ไม่ขัดต่อมาตรา 191 หรือ 192 เพราะไม่ใช่อายุความของผู้ค้ำประกัน และข้อตกลงนี้ไม่เป็นโมฆะ