คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 192

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 79 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3097/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ครบถ้วนและยกหนี้ส่วนที่เหลือ การฟ้องเรียกหนี้จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์จำเลยตกลงกันให้จำเลยทั้งสองผ่อนชำระหนี้ให้โจทก์โดยแบ่งชำระเป็น 2 งวด งวดแรกชำระภายในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2542 งวดที่สองชำระส่วนที่เหลือภายใน 30 วัน นับแต่ชำระงวดแรก จำเลยชำระเงินงวดแรกให้โจทก์แล้วตั้งแต่วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2542 จำเลยต้องชำระส่วนที่ค้างชำระภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2542 จะครบกำหนดชำระหนี้ในงวดที่สองวันที่ 10 มีนาคม 2542 ดังนั้น โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้จึงทวงถามให้จำเลยในฐานะลูกหนี้ให้ชำระหนี้ก่อนวันที่ 10 มีนาคม 2542 ซึ่งเป็นวันที่กำหนดชำระหนี้ไม่ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 191 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องจำเลยในวันสุดท้ายที่จำเลยยังมีสิทธิที่จะชำระหนี้ให้โจทก์อยู่ ยังไม่ถือว่าจำเลยผิดนัดชำระหนี้โจทก์ แต่จำเลยที่ 1 กลับยื่นคำให้การต่อสู้คดีว่าได้ชำระหนี้ให้โจทก์ครบถ้วนตามข้อตกลงแล้วโดยไม่ได้ยกเงื่อนเวลาชำระหนี้ขึ้นต่อสู้โจทก์ จึงเป็นการสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาโดยปริยายตาม ป.พ.พ. มาตรา 192 วรรคสอง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3827/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกสัญญารับฝากขายและการหักกลบลบหนี้ค่าเสียหายจากการไม่คืนพื้นที่
โจทก์และจำเลยทำสัญญารับฝากขายสินค้ากันโดยโจทก์ให้ค่าตอบแทนเดือนละ 120,000 บาท แก่จำเลย และโจทก์วางเงินไว้เป็นประกันแก่จำเลย 575,100 บาท โดยพื้นที่รับฝากสินค้าจำเลยเช่ามาจากบริษัท ซ. ต่อมาบริษัท ซ. บอกเลิกสัญญาเช่าพื้นที่กับจำเลย จำเลยจึงไม่สามารถให้โจทก์ใช้พื้นที่ได้ ทำให้สัญญารับฝากขายสินค้าพิพาทต้องเลิกกันโดยโทษฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่ได้ คู่สัญญาจึงต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 การชำระหนี้ของคู่สัญญาอันเกิดแก่การเลิกสัญญานั้น มาตรา 392 ให้นำบทบัญญัติแห่งมาตรา 369 ว่าด้วยการชำระหนี้ในสัญญาต่างตอบแทนมาใช้บังคับ โจทก์ต้องออกจากพื้นที่พิพาทเพื่อกลับคืนสู่ฐานะเดิม เมื่อโจทก์ยังไม่ได้ออกจากพื้นที่พิพาท จึงยังไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเอาเงินประกันคืนจากจำเลยได้ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาจึงหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบด้วย มาตรา 246 และ 247 แต่เมื่อจำเลยได้ ฟ้องแย้งและฎีกาขอให้เอาเงินค่าเสียหายที่โจทก์ต้องชำระแก่จำเลยหักออกจากเงินประกันที่โจทก์วางไว้กับจำเลย จึงเป็นกรณีที่จำเลยขอหักหนี้โดยไม่ต้องการประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาต่อไป ซึ่งย่อมกระทำได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 192 วรรคสอง จึงต้องนำเอาค่าเสียหายที่โจทก์ก่อขึ้นอันเนื่องมาจากการไม่ส่งมอบพื้นที่พิพาทให้แก่จำเลยตลอดเวลา ที่ยังไม่ส่งมอบพื้นที่พิพาทคืน หักกับเงินประกันที่โจทก์วางไว้กับจำเลยดังกล่าวจนกว่าจะส่งมอบพื้นที่พิพาทคืน
การที่จำเลยฎีกาว่า เมื่อหักกับเงินประกันของโจทก์ที่เหลืออยู่จำนวน 352,361.76 บาทแล้ว โจทก์จะต้องชำระเงินค่าเสียหายให้จำเลยอีกจำนวน 212,698.56 บาท นั้น เป็นฎีกาที่เกินกว่าคำขอตามฟ้องแย้งของจำเลย ศาลบังคับให้ไม่ได้ เพราะฟ้องแย้งเป็นคำฟ้องอย่างหนึ่ง ซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 ห้ามมิให้พิพากษาหรือทำคำสั่งให้สิ่งใดๆ เกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3827/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกสัญญารับฝากขาย การหักกลบลบหนี้ค่าเสียหาย และสิทธิในการได้รับเงินประกันคืน
โจทก์และจำเลยทำสัญญารับฝากขายสินค้ากันโดยโจทก์ให้ค่าตอบแทนเดือนละ 120,000 บาท แก่จำเลย และโจทก์วางเงิน ไว้เป็นประกันแก่จำเลย 575,100 บาท โดยพื้นที่รับฝากสินค้า จำเลยเช่ามาจากบริษัทซ.ต่อมาบริษัทซ.บอกเลิกสัญญาเช่าพื้นที่กับจำเลย จำเลยจึงไม่สามารถให้โจทก์ใช้พื้นที่ได้ ทำให้สัญญารับฝากขายสินค้าพิพาทต้องเลิกกันโดยโทษฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่ได้ คู่สัญญาจึงต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 การชำระหนี้ ของคู่สัญญาอันเกิดแก่การเลิกสัญญานั้น มาตรา 392 ให้นำบทบัญญัติแห่งมาตรา 369 ว่าด้วยการชำระหนี้ในสัญญาต่างตอบแทน มาใช้บังคับโจทก์ต้องออกจากพื้นที่พิพาทเพื่อกลับคืนสู่ฐานะเดิมแต่โจทก์เมื่อยังไม่ได้ออกจากพื้นที่พิพาท จึงยังไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเอาเงินประกันคืนจากจำเลยได้ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมาย อันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาจึงหยิบยก ขึ้นมาวินิจฉัยได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบด้วย มาตรา 246 และ 247 แต่เมื่อ จำเลยได้ฟ้องแย้งและฎีกาขอให้เอาเงินค่าเสียหายที่โจทก์ ต้องชำระแก่จำเลยหักออกจากเงินประกันที่โจทก์วางไว้กับ จำเลย จึงเป็นกรณีที่จำเลยขอหักหนี้โดยไม่ต้องการประโยชน์ แห่งเงื่อนเวลาต่อไป ซึ่งย่อมกระทำได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 192 วรรคสอง จึงต้องนำเอาค่าเสียหายที่โจทก์ก่อขึ้นอันเนื่องมาจากการ ไม่ส่งมอบพื้นที่พิพาทให้แก่จำเลยตลอดเวลาที่ยังไม่ส่งมอบ พื้นที่พิพาทคืนหักกับเงินประกันที่โจทก์วางไว้กับจำเลย ดังกล่าวจนกว่าจะส่งมอบพื้นที่พิพาทคืน การที่จำเลยฎีกาว่า เมื่อหักกับเงินประกันของโจทก์ที่เหลืออยู่ จำนวน 352,361.76 บาทแล้ว โจทก์จะต้องชำระเงินค่าเสียหาย ให้แก่จำเลยอีกจำนวน 212,698.56 บาทนั้นเป็นฎีกาที่เกินกว่า คำขอตามฟ้องแย้งของจำเลย ศาลบังคับให้ไม่ได้เพราะฟ้องแย้ง เป็นคำฟ้องอย่างหนึ่ง ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 ห้ามมิให้พิพากษาหรือทำคำสั่งให้สิ่งใด ๆ เกินไปกว่า หรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5760/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงในสัญญากู้เงินและการบังคับชำระหนี้: การผิดนัดและดอกเบี้ย
ตามสัญญากู้เงินฉบับพิพาทมีข้อตกลงว่า จำเลยทั้งสองจะต้องชำระหนี้เป็นรายเดือนทุก ๆ เดือน ภายในวันที่ 5 ของเดือน แต่ถึงอย่างไรก็ดีจำเลยทั้งสองจะต้องชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 19 พฤษภาคม 2541 และในตอนท้ายของสัญญายังระบุว่า ไม่เป็นการตัดสิทธิของผู้ให้กู้ที่จะเรียกร้องให้ผู้กู้ชำระหนี้ตามสัญญาทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก่อนกำหนดที่กล่าวมาก็ได้ตามแต่ผู้ให้กู้จะเห็นสมควร โดยมิพักต้องชี้แจงแสดงเหตุ กับมีข้อตกลงต่อท้ายสัญญาอีกว่า ถ้าผู้กู้ผิดนัดไม่ชำระต้นเงินหรือดอกเบี้ยตามข้อตกลงแห่งสัญญากู้เงินฉบับพิพาทให้ถือว่าผู้กู้ผิดนัดทั้งหมด ยินยอมให้คิดดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 13.5 ต่อปี หรือเท่ากับอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมที่ธนาคารพาณิชย์จะสามารถเรียกเก็บจากผู้กู้ได้ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นตามการแก่กรณี ทั้งนี้จนกว่าผู้กู้จะชำระหนี้คืนให้แก่ธนาคารผู้ให้กู้เสร็จสิ้นเชิง ดังนั้น เมื่อจำเลยทั้งสองผิดนัดไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ตามที่ได้ตกลงไว้ในข้อตกลงต่อท้ายสัญญากู้เงินจึงฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องบังคับเอาแก่จำเลยทั้งสองได้
ส่วนการที่จำเลยทั้งสองชำระหนี้บางส่วนหลังจากที่ตกเป็นฝ่ายผิดสัญญาแล้ว ก็เป็นสิทธิของโจทก์ที่จะรับชำระหนี้ได้ กรณีมิใช่การสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาตาม ป.พ.พ.มาตรา 192

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5760/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเงินกู้: การผิดนัดชำระหนี้รายเดือนไม่ตัดสิทธิผู้ให้กู้ในการเรียกร้องหนี้ทั้งหมดก่อนกำหนด
ตามสัญญากู้เงินฉบับพิพาทมีข้อตกลงว่า จำเลยทั้งสองจะต้องชำระหนี้เป็นรายเดือนทุก ๆ เดือน ภายในวันที่ 5 ของเดือนแต่ถึงอย่างไรก็ดีจำเลยทั้งสองจะต้องชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 19 พฤษภาคม 2541 และในตอนท้ายของสัญญายังระบุว่าไม่เป็นการตัดสิทธิของผู้ให้กู้ที่จะเรียกร้องให้ผู้กู้ชำระหนี้ตามสัญญาทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก่อนกำหนดที่กล่าวมาก็ได้ตามแต่ผู้ให้กู้จะเห็นสมควร โดยมิพักต้องชี้แจงแสดงเหตุ กับมีข้อตกลงต่อท้ายสัญญาอีกว่า ถ้าผู้กู้ผิดไม่ชำระต้นเงินหรือดอกเบี้ยตามข้อตกลงแห่งสัญญากู้เงินฉบับพิพาทให้ถือว่าผู้กู้ผิดนัดทั้งหมดยินยอมให้คิดดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 13.5 ต่อปี หรือเท่ากับอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมที่ธนาคารพาณิชย์ จะสามารถเรียกเก็บจากผู้กู้ได้ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นตามการแก่กรณี ทั้งนี้จนกว่าผู้กู้จะชำระหนี้คืนให้แก่ธนาคารผู้ให้กู้เสร็จสิ้นเชิง ดังนั้น เมื่อจำเลยทั้งสองผิดนัดไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ตามที่ได้ตกลงไว้ในข้อตกลง ต่อท้ายสัญญากู้เงินจึงฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ ย่อมมีสิทธิฟ้องบังคับเอาแก่จำเลยทั้งสองได้ ส่วนการที่จำเลยทั้งสองชำระหนี้บางส่วนหลังจากที่ตกเป็นฝ่าย ผิดสัญญาแล้ว ก็เป็นสิทธิของโจทก์ที่จะรับชำระหนี้ได้ กรณีมิใช่การสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 192

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4309/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดี: การมอบอำนาจช่วงและการมีผลบังคับใช้ย้อนหลัง
ในขณะที่โจทก์ยื่นคำฟ้อง โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์ได้มอบอำนาจให้ ส. ดำเนินกระบวนพิจารณาแทนโจทก์ ตลอดจนให้มีอำนาจแต่งตั้งตัวแทนช่วงกระทำการดังกล่าวตามหนังสือมอบอำนาจเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 2 และบรรยายฟ้องต่อไปว่า ส.ผู้รับมอบอำนาจได้มอบอำนาจช่วงให้ ว.เป็นผู้มีอำนาจยื่นฟ้องและแต่งตั้งทนายความแทนโจทก์ได้ ตามหนังสือมอบอำนาจช่วงเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 3 แสดงว่าในขณะยื่นคำฟ้อง ส.ได้มอบอำนาจช่วงให้ ว.มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองแทนโจทก์ได้ตามหนังสือมอบอำนาจและมอบอำนาจช่วงที่ได้แนบมาท้ายฟ้อง แม้วันที่ที่ระบุในหนังสือมอบอำนาจช่วงจะเป็นวันที่ภายหลังที่โจทก์ยื่นฟ้องแล้วก็ตาม เมื่อหนังสือมอบอำนาจช่วงไม่ได้ระบุเงื่อนเวลาเริ่มต้นของการมอบอำนาจช่วงว่าจะให้ผู้รับมอบอำนาจช่วงเริ่มมีอำนาจเมื่อใด จึงเป็นที่เห็นได้ว่าในขณะยื่นคำฟ้อง ส.ได้มอบอำนาจช่วงให้ ว.เป็นผู้มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ได้หาทำให้กลับกลายเป็นการมอบอำนาจช่วงภายหลังยื่นคำฟ้องอันจะทำให้ ว.ไม่มีอำนาจฟ้องแทนโจทก์ไม่
คดีนี้ยังมีประเด็นตามอุทธรณ์โจทก์และอุทธรณ์จำเลยที่ 1 ซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 2 ยังไม่ได้วินิจฉัย และหากศาลอุทธรณ์วินิจฉัยแล้วคดีอาจต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริง ศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในประเด็นที่ยังไม่ได้วินิจฉัยต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2003/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการเรียกร้องค่าสินค้า: เริ่มนับจากวันครบกำหนดระยะเวลาให้สินเชื่อ ไม่ใช่แค่วันส่งมอบ
ในการที่โจทก์ขายสินค้าวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างให้แก่จำเลยนั้นตามทางปฏิบัติโจทก์ได้กำหนดระยะเวลาให้สินเชื่อแก่จำเลย เพื่อชำระราคาสินค้าภายในระยะเวลาประมาณ 45ถึง 60 วัน นับแต่วันรับมอบสินค้าจึงถือไม่ได้ว่าวันที่โจทก์ส่งมอบสินค้าเป็นวันที่จำเลยต้องชำระราคาสินค้าแล้วฉะนั้น สิทธิเรียกร้องให้ชำระราคาสินค้าของโจทก์ยังไม่เกิดขึ้นจนกว่าจะครบกำหนดระยะเวลาให้สินเชื่อซึ่งปรากฏว่าตามใบแจ้งหนี้กำหนดให้จำเลยจะต้องชำระเงิน เมื่อนับถึงวันฟ้องยังไม่เกิน 2 ปี คดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2003/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดระยะเวลาชำระหนี้และการเกิดสิทธิเรียกร้อง
ในการที่โจทก์ขายสินค้าวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างให้แก่จำเลยนั้นตามทางปฏิบัติโจทก์ได้กำหนดระยะเวลาให้สินเชื่อแก่จำเลย เพื่อชำระราคาสินค้าภายในระยะเวลาประมาณ 45 ถึง 60 วัน นับแต่วันรับมอบสินค้าจึงถือไม่ได้ว่าวันที่โจทก์ส่งมอบสินค้าเป็นวันที่จำเลยต้องชำระราคาสินค้าแล้ว ฉะนั้น สิทธิเรียกร้องให้ชำระราคาสินค้าของโจทก์ยังไม่เกิดขึ้นจนกว่าจะครบกำหนดระยะเวลาให้สินเชื่อซึ่งปรากฏว่าตามใบแจ้งหนี้กำหนดให้จำเลยจะต้องชำระเงิน เมื่อนับถึงวันฟ้องยังไม่เกิน 2 ปี คดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2003/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการชำระราคาสินค้า: กำหนดระยะเวลาให้สินเชื่อเป็นจุดเริ่มต้นอายุความ
ในการที่โจทก์ขายสินค้าวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างให้แก่จำเลยนั้นตามทางปฏิบัติโจทก์ได้กำหนดระยะเวลาให้สินเชื่อแก่จำเลยเพื่อชำระราคาสินค้าภายในระยะเวลาประมาณ45ถึง60วันนับแต่วันรับมอบสินค้าจึงถือไม่ได้ว่าวันที่โจทก์ส่งมอบสินค้าเป็นวันที่จำเลยต้องชำระราคาสินค้าแล้วฉะนั้นสิทธิเรียกร้องให้ชำระราคาสินค้าของโจทก์ยังไม่เกิดขึ้นจนกว่าจะครบกำหนดระยะเวลาให้สินเชื่อซึ่งปรากฏว่าตามใบแจ้งหนี้กำหนดให้จำเลยจะต้องชำระเงินเมื่อนับถึงวันฟ้องยังไม่เกิน2ปีคดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/34(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 448/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือค้ำประกัน-การชำระหนี้แทน-การฟ้องไล่เบี้ย-การประวิงคดี-การผิดสัญญา
ศาลนัดสืบพยานจำเลยนัดแรกตั้งแต่วันที่15กรกฎาคม2536และได้มีการเลื่อนสืบพยานจำเลย5ครั้งในจำนวนนี้มีอยู่ครั้งเดียวที่ขอเลื่อนคดีเพราะเหตุที่โจทก์อ้างว่าไม่ได้เตรียมผู้รู้ภาษาจีนกลางมาควบคุมการแปลของล่ามฝ่ายจำเลยนอกจากนั้นที่จำเลยขอเลื่อนคดีมีสาเหตุมาจากฝ่ายจำเลยทั้งสิ้นโดยเฉพาะการเลื่อนคดีครั้งที่5ศาลได้กำชับว่านัดต่อไปให้จำเลยเตรียมพยานมาให้พร้อมแต่เมื่อถึงวันนัดสืบพยานจำเลยครั้งที่6จำเลยขอเลื่อนคดีอีกอ้างว่าพยานได้เดินทางมาในประเทศไทยแล้วแต่ได้รับโทรสารว่าที่บ้านของพยานที่ต่างประเทศมีเรื่องด่วนให้รีบกลับพยานจึงเดินทางกลับต่างประเทศการสืบพยานในคดีไม่ว่าจะมีการสืบปากเดียวหรือหลายปากและทุนทรัพย์ไม่ว่ามากหรือน้อยอยู่ที่ว่าคู่ความเอาใจใส่ที่จะสืบเพียงใดคดีนี้แม้จำเลยจะแถลงว่าสืบพยานปากเดียวแต่ขอเลื่อนคดีหลายครั้งเป็นเวลาหลายเดือนจนศาลต้องกำชับให้เตรียมพยานมาให้พร้อมแต่จำเลยก็ไม่สนใจและไม่เห็นความสำคัญในการดำเนินคดีให้เสร็จไปโดยรวดเร็วพฤติการณ์ของจำเลยดังกล่าวเป็นการประวิงคดีศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีและถือว่าไม่มีพยานมาสืบชอบแล้ว จำเลยให้การต่อสู้เรื่องฟ้องเคลือบคลุมเป็น2ตอนในตอนแรกอ้างว่าโจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้ชัดว่าจำเลยได้ชำระเงินต้นเท่าใดมีการชำระเงินกันอย่างไรนั้นโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้ผ่อนชำระให้โจทก์หลายครั้งแต่ไม่ตรงตามสัญญาและครั้งสุดท้ายชำระเมื่อวันที่27กันยายน2534พร้อมกับแนบรายละเอียดบัญชีเงินกู้ลูกหนี้มาท้ายฟ้องด้วยการบรรยายฟ้องเช่นนี้และมีเอกสารแนบมาท้ายฟ้องประกอบด้วยรายการชำระหนี้และยอดค้างชำระนับว่าเป็นการแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาแล้วและในตอนที่สองจำเลยอ้างว่าโจทก์มิได้บรรยายให้ชัดแจ้งว่าบริษัทท. ได้แจ้งให้โจทก์ทราบเมื่อใดและแจ้งว่าจำเลยได้ปฏิบัติผิดสัญญาอย่างไรโจทก์รับผิดชอบตามหนังสือค้ำประกันอย่างไรนั้นข้ออ้างดังกล่าวเป็นเรื่องระหว่างจำเลยกับคู่สัญญาที่จำเลยต้องรับผิดสำหรับโจทก์เพียงแต่เป็นผู้ออกหนังสือค้ำประกันต่อคู่สัญญาของจำเลยตามที่จำเลยขอและโจทก์ใช้เงินให้ไปเช่นนี้ความสัมพันธ์ตลอดจนการผิดสัญญาของจำเลยกับคู่สัญญาโจทก์ไม่จำต้องบรรยายในคำฟ้องเพียงแต่บรรยายให้เห็นถึงความรับผิดของจำเลยต่อโจทก์นับว่าเป็นการชัดแจ้งเพียงพอที่จำเลยจะต้องเข้าใจข้อหาได้ดีแล้วฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม สัญญากู้ได้กระทำกันเมื่อวันที่23มกราคม2533กำหนดให้จำเลยชำระหนี้ให้โจทก์48งวดงวดละเดือนจำเลยไม่ได้ผ่อนชำระตามกำหนดในสัญญาซึ่งถือว่าจำเลยผิดนัดแต่หลังจากนั้นเมื่อจำเลยชำระหนี้ให้โจทก์บ้างบางส่วนโจทก์ได้ชำระหนี้ทุกครั้งที่จำเลยชำระต่อมาวันที่30มีนาคม2535โจทก์ได้บอกเลิกสัญญาและกำหนดให้จำเลยชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายใน15วันแต่จำเลยไม่ชำระดังนี้การที่จำเลยไม่ชำระหนี้ให้ตรงตามเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาถือว่าจำเลยผิดสัญญาโจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ตามที่คู่สัญญาได้กำหนดไว้แต่ที่โจทก์ยอมรับชำระหนี้ภายหลังที่จำเลยผิดสัญญาแล้วจะถือว่าโจทก์ไม่ถือเอาเงื่อนเวลาในการชำระหนี้เป็นสาระสำคัญหรือสละเงื่อนเวลานั้นจำเลยไม่มีพยานมาสืบให้เห็นว่าเป็นอย่างที่จำเลยอ้างทั้งตามข้อตกลงในสัญญาเงินกู้ก็ระบุว่าการไม่ดำเนินการหรือความล่าช้าในการดำเนินการใช้สิทธิของผู้ให้กู้คือโจทก์มิได้แสดงว่าโจทก์สละสิทธิตามที่ระบุไว้ในสัญญาจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ไม่ถือเงื่อนเวลาในการชำระหนี้เป็นสาระสำคัญและสละเงื่อนเวลาอันจะถือว่าจำเลยไม่ผิดสัญญาเมื่อจำเลยผิดสัญญาโจทก์ย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและเรียกเงินกู้คืนได้ ที่จำเลยฎีกาว่าการค้ำประกันและการขยายระยะเวลาค้ำประกันรายนี้มิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือใช้บังคับไม่ได้นั้นจำเลยมิได้ให้การต่อสู้คดีไว้ทั้งยังรับว่าได้มีการค้ำประกันจริงแต่โต้แย้งว่ามิได้ขยายระยะเวลาค้ำประกันเท่านั้นจำเลยจึงไม่มีสิทธิจะโต้แย้งในชั้นฎีกาว่าการค้ำประกันมิได้ทำเป็นหนังสือ จำเลยขอให้โจทก์ออกหนังสือค้ำประกันให้โดยจำเลยรับรองว่าเมื่อโจทก์ได้รับแจ้งว่าจำเลยผิดนัดจำเลยยอมให้โจทก์ชำระเงินได้ทันทีโดยไม่ต้องแจ้งให้จำเลยทราบดังนั้นเมื่อโจทก์ชำระหนี้ให้แก่บริษัทท. แทนจำเลยไปแล้วแม้จะไม่ได้บอกให้จำเลยทราบก่อนโจทก์ก็มีสิทธิไล่เบี้ยจากจำเลย
of 8