คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 192

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 79 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3095/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมรับหนี้ในคำฟ้องทำให้เสียสิทธิอายุความ แม้จะหักกลบลบหนี้
ขณะยื่นคำฟ้องซึ่งเป็นเวลาที่อายุความครบบริบูรณ์แล้ว โจทก์ได้ยอมรับในคำฟ้องว่า โจทก์ต้องชำระราคาสิ่งของที่ซื้อให้แก่จำเลยตามสัญญาและยอมหักค่าสิ่งของดังกล่าวเป็นค่าปรับส่วนหนึ่ง คำรับของโจทก์ตามฟ้องดังกล่าวจึงถือว่าโจทก์ได้ละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 192

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3095/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมรับหนี้ในคำฟ้องทำให้เสียสิทธิอายุความ
ขณะยื่นคำฟ้องซึ่งเป็นเวลาที่อายุความครบบริบูรณ์แล้วโจทก์ได้ยอมรับในคำฟ้องว่าโจทก์ต้องชำระราคาสิ่งของ ที่ซื้อให้แก่จำเลยตามสัญญาและยอมหักค่าสิ่งของดังกล่าวเป็นค่าปรับส่วนหนึ่งคำรับของโจทก์ตามฟ้องดังกล่าวจึงถือว่าโจทก์ได้ละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา192.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1241/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมสมบูรณ์แม้ไม่เป็นเอกสารฝ่ายเมือง, อายุความ, และสินสมรส
เจ้ามรดกมีเจตนาจะทำพินัยกรรมเป็นแบบเอกสารฝ่ายเมืองแต่ไม่ได้ไปทำต่อกรมการอำเภอ จึงไม่สมบูรณ์เป็นพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1658 แต่พินัยกรรมดังกล่าวเจ้ามรดกเป็นผู้เขียนขึ้นเองทั้งฉบับ จึงมีผลใช้บังคับได้ตามมาตรา 1657 หากเจ้ามรดกไม่ประสงค์ให้พินัยกรรมมีผลบังคับได้ต่อไป จะต้องเพิกถอนเสียโดยการทำลายหรือขีดฆ่าเสียด้วยความตั้งใจตามมาตรา 1695 แม้เจ้ามรดกจะได้พูดสั่งเสียต่อหน้าญาติผู้ใหญ่หลายคนเป็นทำนองเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อกำหนดในพินัยกรรม แต่ไม่มีการบันทึกและลงลายมือชื่อให้ถูกต้องสมบูรณ์เป็นพินัยกรรมแบบใดแบบหนึ่งตามมาตรา1656 ถึงมาตรา 1669 จึงไม่มีผลเปลี่ยนแปลงแก้ไขพินัยกรรม
การที่จำเลยตกลงแบ่งที่นา บ้านและยุ้งข้าวพิพาทให้แก่โจทก์ตามพินัยกรรมแล้ว เพิ่งกลับใจไม่ยอมโอนให้ในภายหลัง ย่อมถือได้ว่าจำเลยได้ละเสียแล้วซึ่งประโยชน์แห่งอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 192 แม้โจทก์จะฟ้องคดีภายหลังเจ้ามรดกถึงแก่กรรมแล้วเกิน 1 ปี คดีก็ไม่ขาดอายุความ
บ้านและยุ้งข้าวพิพาทเป็นของเจ้ามรดกมีมาก่อนแต่งงานกับจำเลยจึงมิใช่สินสมรสของจำเลยกับเจ้ามรดก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1241/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมไม่สมบูรณ์แต่ใช้บังคับได้ อายุความ และสินสมรส
เจ้ามรดกมีเจตนาจะทำพินัยกรรมเป็นแบบเอกสารฝ่ายเมืองแต่ไม่ได้ไปทำต่อกรมการอำเภอจึงไม่สมบูรณ์เป็นพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1658แต่พินัยกรรมดังกล่าวเจ้ามรดกเป็นผู้เขียนขึ้นเองทั้งฉบับจึงมีผลใช้บังคับได้ตามมาตรา1657หากเจ้ามรดกไม่ประสงค์ให้พินัยกรรมมีผลบังคับได้ต่อไปจะต้องเพิกถอนเสียโดยการทำลายหรือขีดฆ่าเสียด้วยความตั้งใจตามมาตรา1695แม้เจ้ามรดกจะได้พูดสั่งเสียต่อหน้าญาติผู้ใหญ่หลายคนเป็นทำนองเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อกำหนดในพินัยกรรมแต่ไม่มีการบันทึกและลงลายมือชื่อให้ถูกต้องสมบูรณ์เป็นพินัยกรรมแบบใดแบบหนึ่งตามมาตรา1656ถึงมาตรา1669จึงไม่มีผลเปลี่ยนแปลงแก้ไขพินัยกรรม การที่จำเลยตกลงแบ่งที่นาบ้านและยุ้งข้าวพิพาทให้แก่โจทก์ตามพินัยกรรมแล้วเพิ่งกลับใจไม่ยอมโอนให้ในภายหลังย่อมถือได้ว่าจำเลยได้ละเสียแล้วซึ่งประโยชน์แห่งอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา192แม้โจทก์จะฟ้องคดีภายหลังเจ้ามรดกถึงแก่กรรมแล้วเกิน1ปีคดีก็ไม่ขาดอายุความ บ้านและยุ้งข้าวพิพาทเป็นของเจ้ามรดกมีมาก่อนแต่งงานกับจำเลยจึงมิใช่สินสมรสของจำเลยกับเจ้ามรดก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2823/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้หลังอายุความ การละเสียสิทธิแห่งอายุความ และผลของการชำระหนี้บางส่วน
ภายหลังจากหนี้ขาดอายุความแล้ว จำเลยมีหนังสือรับรองยอดหนี้สิน ที่ค้างชำระส่งไปยังผู้อำนวยการ กองตรวจเงินรัฐวิสาหกิจและเงินทุนสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินระบุว่า จำเลยเป็นลูกหนี้โจทก์และจำเลยได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์บางส่วน ถือได้ว่าจำเลยละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความจำเลยจึงไม่มีสิทธิยกอายุความ ขึ้นต่อสู้และต้องรับผิดชำระหนี้ที่ค้างให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2823/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้หลังอายุความ: การละเสียซึ่งสิทธิในการยกอายุความ
ภายหลังจากหนี้ขาดอายุความแล้ว จำเลยมีหนังสือรับรองยอดหนี้สิน ที่ค้างชำระส่งไปยังผู้อำนวยการ กองตรวจเงินรัฐวิสาหกิจและเงินทุนสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินระบุว่า จำเลยเป็นลูกหนี้โจทก์ และจำเลยได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์บางส่วนถือได้ว่าจำเลยละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความจำเลยจึงไม่มีสิทธิยกอายุความขึ้นต่อสู้และต้องรับผิดชำระหนี้ที่ค้างให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2048/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสภาพหนี้หลังอายุความสิ้นสุด และผลกระทบต่อการยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้
การรับสภาพหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 นั้น ต้องกระทำกันขึ้นก่อนที่กำหนดอายุความนั้นจะสิ้นสุดลง ส่วนการรับสภาพหนี้ที่กระทำหลังจากอายุความสิ้นสุดลงแล้วนั้นถือว่าลูกหนี้ละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความนั้นแล้วตามมาตรา 192 จะยกเอาอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้อีกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1457/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาผ่อนชำระหนี้หลังขาดอายุความ ถือเป็นการยอมรับสภาพหนี้ใหม่ และมีผลผูกพันตามกฎหมาย
ข้อความในเอกสารซึ่งโจทก์และจำเลยทั้งสองทำขึ้นไว้ที่สถานีตำรวจมีแต่เพียงว่า จำเลยที่ 1 ยอมผ่อนชำระเงินตามเช็คเป็นรายเดือนให้แก่โจทก์และมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันในการชำระเงิน ไม่มีข้อความว่าโจทก์ยอมถอนคำร้องทุกข์หรือยอมเลิกคดีอาญาที่ได้แจ้งความไว้นั้น เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 ยอมผ่อนผันแต่ฝ่ายเดียวไม่มีลักษณะเป็นสัญญาซึ่งผู้เป็นคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายระงับข้อพิพาทให้เสร็จไป ด้วยการยอมผ่อนผันให้แก่กัน จึงมิใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ แต่มีลักษณะเป็นการที่จำเลยที่1รับสภาพความรับผิดโดยสัญญา และเป็นการที่จำเลยที่ 1 ให้ประกันแก่โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ไว้โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันความรับผิด จำเลยทั้งสองจึงมีความรับผิดต้องใช้หนี้ตามสัญญานั้น
เมื่อหนี้ตามเช็คที่จำเลยที่ 1 มีต่อโจทก์ได้ล่วงพ้นอายุความ 1 ปีไปแล้วจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญายอมรับสภาพความรับผิดต่อโจทก์ และมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ละเสียซึ่งอายุความที่ครบบริบูรณ์แล้ว สัญญาดังกล่าวย่อมสมบูรณ์ผูกพันจำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 188 วรรคสาม, 192 วรรคแรก
ศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยในประเด็นที่ว่าจำเลยชำระหนี้ให้แก่โจทก์แล้วหรือไม่เพียงใด ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นดังกล่าวได้ โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1457/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาผ่อนผันหนี้ & อายุความ – สัญญาใหม่ทำให้หนี้เดิมไม่ขาดอายุความ
ข้อความในเอกสารซึ่งโจทก์และจำเลยทั้งสองทำขึ้นไว้ที่สถานีตำรวจมีแต่เพียงว่า จำเลยที่ 1 ยอมผ่อนชำระเงินตามเช็คเป็นรายเดือนให้แก่โจทก์และมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันในการชำระเงิน ไม่มีข้อความว่าโจทก์ยอมถอนคำร้องทุกข์หรือยอมเลิกคดีอาญาที่ได้แจ้งความไว้นั้นเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 ยอมผ่อนผันแต่ฝ่ายเดียวไม่มีลักษณะเป็นสัญญาซึ่งผู้เป็นคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายระงับข้อพิพาทให้เสร็จไป ด้วยการยอมผ่อนผันให้แก่กัน จึงมิใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ แต่มีลักษณะเป็นการที่จำเลยที่1รับสภาพความรับผิดโดยสัญญา และเป็นการที่จำเลยที่ 1 ให้ประกันแก่โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ไว้โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันความรับผิด จำเลยทั้งสองจึงมีความรับผิดต้องใช้หนี้ตามสัญญานั้น
เมื่อหนี้ตามเช็คที่จำเลยที่ 1 มีต่อโจทก์ได้ล่วงพ้นอายุความ 1 ปีไปแล้ว จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญายอมรับสภาพความรับผิดต่อโจทก์ และมีจำเลยที่ 2เป็นผู้ค้ำประกัน ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ละเสียซึ่งอายุความที่ครบบริบูรณ์แล้ว สัญญาดังกล่าวย่อมสมบูรณ์ผูกพันจำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 188 วรรคสาม, 192 วรรคแรก
ศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยในประเด็นที่ว่าจำเลยชำระหนี้ให้แก่โจทก์แล้วหรือไม่เพียงใด ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นดังกล่าวได้ โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1584/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกอายุความในคดีมรดก: จำเลยต้องอ้างอย่างชัดเจนตามกฎหมาย
จำเลยให้การว่าฟ้องของโจทก์ขาดอายุความ เพราะคดีนี้เป็นคดีเกี่ยวกับมรดก จำเลยเป็นทายาทตามพินัยกรรม โจทก์ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปี เป็นคำให้การที่จำเลยประสงค์ยกอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 เป็นข้อต่อสู้ ที่จำเลยให้การอีกข้อหนึ่งว่าโจทก์ขาดอำนาจฟ้องเพราะมิได้ฟ้องคดีภายในกำหนด 60 วัน ตามคำสั่งของนายอำเภอ ก็ยังไม่พอแปลได้ว่า จำเลยได้ยกอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1710 เป็นข้อต่อสู้ คดีไม่มีประเด็นว่าฟ้องของโจทก์ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1710
of 8