คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 143

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 21 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3110/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานพยายามกระทำชำเราเด็กหญิงซึ่งอยู่ในความดูแลตามหน้าที่ราชการ พยานหลักฐานน้ำหนักเพียงพอ
การรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ว่าจำเลยมีความผิดหรือบริสุทธิ์เป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนที่จะดำเนินการตามที่เห็นสมควร เมื่อโจทก์เห็นว่าพยานหลักฐานในสำนวนนี้มีน้ำหนักเพียงพอที่จะลงโทษจำเลย การที่โจทก์ไม่สั่งให้พนักงานสอบสวนสอบปากคำเด็กหญิง ส. และเด็กหญิง น. ไว้เป็นพยานและนำมาเบิกความต่อศาลจึงไม่เป็นพิรุธแต่ประการใด
การที่จำเลยดำรงตำแหน่งผู้ช่วยครูใหญ่ จำเลยย่อมมีหน้าที่ปกครองดูแลผู้เสียหายซึ่งเป็นศิษย์ของจำเลย เมื่อจำเลยพยายามกระทำชำเราผู้เสียหายจำเลยจึงมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 80, 277 วรรคสอง (เดิม), 284 วรรคแรก, 285

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4396/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสอบสวนและการฟ้องคดีอาญา: การสอบสวนเพิ่มเติมโดยพนักงานสอบสวนกองปราบปรามหลังพนักงานอัยการยังมิได้สั่งฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดต่อเจ้าพนักงานและพระราชบัญญัติศุลกากร เดิมพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอสะเดา ซึ่งเป็นท้องที่เกิดเหตุเป็นผู้สอบสวน ต่อมากรมตำรวจได้แต่งตั้งให้ พนักงานสอบสวนกองปราบปรามทำการสอบสวนคดีนี้แต่ฝ่ายเดียว พนักงานสอบสวนกองปราบปรามจึงติดต่อขอรับสำนวนการสอบสวน จากพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอสะเดาหลายครั้ง แต่ไม่สามารถรับสำนวนการสอบสวนมาได้ ต่อมาพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอสะเดากลับส่งสำนวนการสอบสวนไปยัง พนักงานอัยการโดยมีความเห็นสั่งฟ้องจำเลยที่ 1 พนักงานสอบสวนกองปราบปรามจึงติดต่อขอสำนวนการสอบสวนคืนจากพนักงานอัยการ ซึ่งขณะนั้นยังมิได้มีคำสั่งให้ฟ้องหรือไม่ฟ้อง จำเลยที่ 1 พนักงานอัยการได้คืนสำนวนการสอบสวนดังกล่าวให้แก่พนักงานสอบสวนกองปราบปรามทำการสอบสวนต่อไป โดยสอบบุคคลอื่นเป็นผู้ต้องหาอีกหลายคนซึ่งมีจำเลยที่ 2 รวมอยู่ด้วยภายหลังพนักงานอัยการได้แนะนำให้พนักงานสอบสวนกองปราบปรามคืนสำนวนการสอบสวน และต่อมามีคำสั่งให้พนักงานสอบสวนกองปราบปรามสอบสวนเพิ่มเติมทำการสอบสวนจนเสร็จสิ้น กรณีเช่นนี้พนักงานสอบสวนกองปราบปรามยังมีอำนาจทำการสอบสวนคดีนี้อยู่การสอบสวนเพิ่มเติมของพนักงานสอบสวนกองปราบปรามดังกล่าว หาขัดกับบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 139 ถึง มาตรา 143 ไม่ การสอบสวนของ พนักงานสอบสวนกองปราบปรามจึงชอบด้วยกฎหมาย และ พนักงานอัยการโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 11/2528)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4396/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสอบสวนและการฟ้องคดีอาญา: การส่งสำนวนระหว่างพนักงานสอบสวนและการสอบสวนเพิ่มเติม
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดต่อเจ้าพนักงานและพระราชบัญญัติศุลกากร เดิมพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอสะเดา ซึ่งเป็นท้องที่เกิดเหตุเป็นผู้สอบสวน ต่อมากรมตำรวจได้แต่งตั้งให้ พนักงานสอบสวนกองปราบปรามทำการสอบสวนคดีนี้แต่ฝ่ายเดียว พนักงานสอบสวนกองปราบปรามจึงติดต่อขอรับสำนวนการสอบสวน จากพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอสะเดาหลายครั้ง แต่ไม่สามารถรับสำนวนการสอบสวนมาได้ ต่อมาพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอสะเดากลับส่งสำนวนการสอบสวนไปยัง พนักงานอัยการโดยมีความเห็นสั่งฟ้องจำเลยที่ 1 พนักงานสอบสวนกองปราบปรามจึงติดต่อขอสำนวนการสอบสวนคืนจากพนักงานอัยการ ซึ่งขณะนั้นยังมิได้มีคำสั่งให้ฟ้องหรือไม่ฟ้อง จำเลยที่ 1 พนักงานอัยการได้คืนสำนวนการสอบสวนดังกล่าวให้แก่พนักงานสอบสวนกองปราบปรามทำการสอบสวนต่อไป โดยสอบ บุคคลอื่นเป็นผู้ต้องหาอีกหลายคนซึ่งมีจำเลยที่ 2 รวมอยู่ด้วยภายหลังพนักงานอัยการได้แนะนำให้พนักงานสอบสวนกองปราบปรามคืนสำนวนการสอบสวน และต่อมามีคำสั่งให้พนักงานสอบสวนกองปราบปรามสอบสวนเพิ่มเติมทำการสอบสวนจนเสร็จสิ้น กรณีเช่นนี้พนักงานสอบสวนกองปราบปรามยังมีอำนาจทำการสอบสวนคดีนี้อยู่การสอบสวนเพิ่มเติมของพนักงานสอบสวนกองปราบปรามดังกล่าว หาขัดกับบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 139ถึง มาตรา 143 ไม่ การสอบสวนของ พนักงานสอบสวนกองปราบปรามจึงชอบด้วยกฎหมาย และพนักงานอัยการโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่1 และที่ 2 ได้ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 11/2528)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3239/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขัดขวางการจับกุม – วันเกิดเหตุคลาดเคลื่อน – คำสั่งไม่ฟ้องไม่กระทบความผิด
พยานโจทก์ปากหนึ่งเบิกความถึงวันเกิดเหตุแตกต่างไปจากคำเบิกความของพยานโจทก์อีกสองปากที่เบิกความถึงวันเกิดเหตุตรงตามฟ้อง ซึ่งน่าเชื่อว่าเป็นกรณีที่พยานโจทก์ปากนั้นจำวันเกิดเหตุคลาดเคลื่อนไป เมื่อศาลใช้ดุลพินิจวินิจฉัยคำพยานดังกล่าวประกอบพยานหลักฐานอื่นฟังข้อเท็จจริงว่าวันเวลาเกิดเหตุตรงตามที่โจทก์บรรยายในคำฟ้องจึงถือไม่ได้ว่าข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้อง
การที่จำเลยขัดขวางเจ้าพนักงานตำรวจในการเข้าจับกุม ก. ในข้อหาเล่นการพนัน ซึ่งเป็นการปฏิบัติการตามหน้าที่ โดยไม่ปรากฏว่าการเข้าจับกุมดังกล่าวฝ่าฝืนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย ย่อมเป็นความผิดสำเร็จตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 138 แล้ว แม้ต่อมาพนักงานอัยการจะมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้อง ก. ก็จะถือว่าไม่มีการเล่นการพนัน หรือการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานตำรวจฝ่าฝืนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3239/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขัดขวางการจับกุมเจ้าพนักงาน แม้ผู้ถูกจับไม่ถูกฟ้อง ก็ยังมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 138
พยานโจทก์ปากหนึ่งเบิกความถึงวันเกิดเหตุแตกต่างไปจากคำเบิกความของพยานโจทก์อีกสองปากที่เบิกความถึงวันเกิดเหตุตรงตามฟ้อง ซึ่งน่าเชื่อว่าเป็นกรณีที่พยานโจทก์ปากนั้นจำวันเกิดเหตุคลาดเคลื่อนไป เมื่อศาลใช้ดุลพินิจวินิจฉัยคำพยานดังกล่าวประกอบพยานหลักฐานอื่นฟังข้อเท็จจริงว่าวันเวลาเกิดเหตุตรงตามที่โจทก์บรรยายในคำฟ้องจึงถือไม่ได้ว่าข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้อง
การที่จำเลยขัดขวางเจ้าพนักงานตำรวจในการเข้าจับกุม ก.ในข้อหาเล่นการพนัน ซึ่งเป็นการปฏิบัติการตามหน้าที่ โดยไม่ปรากฏว่าการเข้าจับกุมดังกล่าวฝ่าฝืนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย ย่อมเป็นความผิดสำเร็จตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 138 แล้ว แม้ต่อมาพนักงานอัยการจะมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้อง ก. ก็จะถือว่าไม่มีการเล่นการพนัน หรือการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานตำรวจฝ่าฝืนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4064/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสั่งฟ้องของอธิบดีกรมอัยการ แม้ยังมิได้ผ่านความเห็นพนักงานสอบสวน และการแก้ไขคำสั่งไม่ฟ้อง
อธิบดีกรมอัยการมีอำนาจดำเนินคดีได้ทุกศาลตามพระราชบัญญัติพนักงานอัยการฯ ฉะนั้น อธิบดีกรมอัยการจึงมีอำนาจสั่งให้พนักงานอัยการจังหวัดส่งสำนวนไปให้พิจารณาได้โดยไม่จำต้องเป็นผู้รับสำนวนการสอบสวนและความเห็นจากพนักงานสอบสวนโดยตรงตามมาตรา 143 และ 145 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
คดีที่พนักงานอัยการจังหวัดได้ทำคำสั่งไม่ฟ้องโดยยังไม่ได้ส่งสำนวนและคำสั่งเสนอผู้ว่าราชการจังหวัด ถือได้ว่า สำนวนการสอบสวนยังอยู่ในอำนาจของพนักงานอัยการ ย่อมแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำสั่งได้ อธิบดีกรมอัยการจึงมีอำนาจออกคำสั่งฟ้องผู้ต้องหานั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4064/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสั่งฟ้องของอธิบดีกรมอัยการ: แก้ไขคำสั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการจังหวัดได้
อธิบดีกรมอัยการมีอำนาจดำเนินคดีได้ทุกศาลตามพระราชบัญญัติพนักงานอัยการฯ ฉะนั้น อธิบดีกรมอัยการจึงมีอำนาจสั่งให้พนักงานอัยการจังหวัดส่งสำนวนไปให้พิจารณาได้โดยไม่จำต้องเป็นผู้รับสำนวนการสอบสวนและความเห็นจากพนักงานสอบสวนโดยตรงตามมาตรา 143 และ 145 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
คดีที่พนักงานอัยการจังหวัดได้ทำคำสั่งไม่ฟ้องโดยยังไม่ได้ส่งสำนวนและคำสั่งเสนอผู้ว่าราชการจังหวัด ถือได้ว่า สำนวนการสอบสวนยังอยู่ในอำนาจของพนักงานอัยการ ย่อมแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำสั่งได้อธิบดีกรมอัยการจึงมีอำนาจออกคำสั่งฟ้องผู้ต้องหานั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1100/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปรียบเทียบปรับที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายในความผิดลหุโทษ ย่อมไม่ตัดสิทธิโจทก์ฟ้องในความผิดที่หนักกว่า
จำเลยกระทำความผิดกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทเป็นทั้งความผิดลหุโทษและที่มิใช่ลหุโทษ แต่ชั้นสอบสวนพนักงานสอบสวนตั้งข้อหาในความผิดลหุโทษแต่บทเดียวแล้วเปรียบเทียบปรับไป ถือว่าเป็นการเปรียบเทียบที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ทำให้คดีเลิกกันอันเป็นเหตุให้สิทธินำคดีมาฟ้องระงับไป พนักงานอัยการมีสิทธิฟ้องจำเลยในความผิดที่มิใช่ลหุโทษอีกได้
คืนเกิดเหตุมีการชุมนุมกันกระทำพิธีสวดมนต์ทำบุญฉลองกระดูกผู้ตายตามพุทธศาสนาบนหอสวดมนต์ จำเลยขึ้นมาส่งเสียงเอะอะอื้อฉาว ซ้ำยังกล่าวว่า พระนี่ยุ่งจริงพระไม่มีความหมายแล้วจำเลยนั่งลงใช้มือตบกระดาน 7-8 ครั้งและชักปืนพกออกจากเอวมาถือไว้ หันปากกระบอกปืนมาทางพระแล้วปืนตกลงยังพื้นหอสวดมนต์ การกระทำของจำเลยดังกล่าวถึงแม้ผู้ที่ไปชุมนุมกันจะไม่มีปฏิกิริยาวุ่นวายขึ้นก็ตาม ก็ยังถือได้ว่าเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 207

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1100/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดหลายบท - การเปรียบเทียบปรับที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย - สิทธิฟ้องคดีอาญา
จำเลยกระทำความผิดกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท เป็นทั้งความผิดลหุโทษและที่มิใช่ลหุโทษ แต่ชั้นสอบสวนพนักงานสอบสวนตั้งข้อหาในความผิดลหุโทษแต่บทเดียว แล้วเปรียบเทียบปรับไป ถือว่าเป็นการเปรียบเทียบที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ทำให้คดีเลิกกันอันเป็นเหตุให้สิทธินำคดีมาฟ้องระงับไป พนักงานอัยการมีสิทธิฟ้องจำเลยในความผิดที่มิใช่ลหุโทษอีกได้
คืนเกิดเหตุมีการชุมนุมกันกระทำพิธีสวดมนต์ทำบุญฉลองกระดูกผู้ตายตามพุทธศาสนาบนหอสวดมนต์ จำเลยขึ้นมาส่งเสียงเอะอะอื้อฉาวซ้ำยังกล่าวว่า พระนี่ยุ่งจริง พระไม่มีความหมายแล้วจำเลยนั่งลงใช้มือตบกระดาน 7-8 ครั้งและชักปืนพกออกจากเอวมาถือไว้ หันปากกระบอกปืนมาทางพระ แล้วปืนตกลงยังพื้นหอสวดมนต์ การกระทำของจำเลยดังกล่าว ถึงแม้ผู้ที่ไปชุมนุมกันจะไม่มีปฏิกิริยาวุ่นวายขึ้นก็ตาม ก็ยังถือได้ว่าเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 207

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1813/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการเรียกเอกสารพยานหลักฐาน และหน้าที่ของผู้ครอบครองเอกสารในการส่งตามคำสั่งศาล
สำนวนการสอบสวนคดีอาญาซึ่งอยู่ในความครอบครองของพนักงานอัยการ. เมื่อศาลมีคำสั่งเรียกมาเพื่อใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดีแพ่ง. พนักงานอัยการจะไม่ยอมส่ง.โดยอ้างว่าผู้ต้องหาหลบหนียังอยู่ในระหว่างหมายจับ ถ้าจับได้มา.จะไม่มีสำนวนดำเนินคดีนั้น.ไม่เป็นเหตุตามกฎหมายที่จะปฏิเสธคำสั่งของศาลได้.ทั้งทางแก้ก็มีอยู่แล้วโดยการคัดสำเนาส่งศาลแทน.
พนักงานอัยการเคยนำส่งสำนวนการสอบสวนมาศาลครั้งหนึ่งแล้วในวันพิจารณาและขอรับคืนไปเมื่อเสร็จการพิจารณาเฉพาะวัน. ครั้นภายหลังศาลมีคำสั่งเรียกให้ส่งมาเพื่อใช้พิจารณาประกอบการพิพากษา. พนักงานอัยการจะปฏิเสธไม่ยอมส่งโดยอ้างว่าเป็นความลับในราชการ. ย่อมฟังไม่ขึ้น.
การอนุญาตให้คู่ความอ้างเอกสารใดเป็นพยาน และจะมีคำสั่งเรียกมาหรือไม่เป็นอำนาจของศาลที่จะสั่งได้ตามกฎหมาย.ผู้ครอบครองเอกสารจะโต้แย้งว่า.ศาลไม่ควรอนุญาตหรือ.ไม่ควรเรียกมาหาได้ไม่.
คำสั่งของศาลที่เรียกเอกสารจากผู้ครอบครอง.กฎหมายมิได้กำหนดแบบไว้. ศาลจะมีคำสั่งในรูปหนังสือราชการก็อาจทำได้.
การหมายเรียกบุคคลที่ปฏิเสธไม่ยอมส่งเอกสารมาศาลเพื่อให้ชี้แจงเหตุผลนั้น.เมื่อศาลมีคำสั่งยืนยันให้ส่งเอกสารก็แสดงอยู่ในตัวว่าการปฏิเสธนั้นไม่มีเหตุผลฟังได้.
of 3