พบผลลัพธ์ทั้งหมด 15 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3185/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายเรียกที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และผลกระทบต่อกระบวนการพิจารณาคดี
จำเลยที่ 2 มิได้เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ในการขายสินค้าให้แก่กรมสรรพาวุธทหารบกซึ่งมีโจทก์เป็นนายหน้า จึงถือไม่ได้ว่าสถานที่อันเป็นถิ่นที่อยู่หรือสำนักทำการงานของจำเลยที่ 2 เป็นภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่นอกราชอาณาจักร การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งให้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องตั้งต้นคดีแก่จำเลยที่ 1 ณ สถานที่อันเป็นถิ่นที่อยู่หรือสำนักทำการงานที่จำเลยที่ 2 ใช้ประกอบกิจการจึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 3 (2) (ข), 83 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 124/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทภาษีอากร กรณีการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีการค้า และภาษีหัก ณ ที่จ่าย โดยมีประเด็นเรื่องรายได้จากการประกอบการค้าและรายได้จากการจ้างทำของ
แม้องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยกับโจทก์จะได้ลงนามในสัญญาซึ่งทำไว้แต่เพียงฉบับเดียวและในสัญญาจะระบุจำนวนเงินที่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยต้องชำระแก่โจทก์ไว้เพียงจำนวนเดียวก็ไม่ใช่ข้อบ่งชี้ว่าองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยจ้างโจทก์ทำของคือก่อสร้างและติดตั้งอุปกรณ์เครือข่ายชุมทางโทรศัพท์โดยตกลงให้โจทก์เป็นผู้จัดสัมภาระไม่เพราะนิติกรรมสองฝ่ายหรือสัญญานั้นเกิดขึ้นได้จากการกระทำด้วยใจสมัครมุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลซึ่งฝ่ายหนึ่งแสดงเจตนาด้วยคำเสนออีกฝ่ายหนึ่งแสดงเจตนาด้วยคำสนองรับที่ถูกต้องตรงกันดังนั้นหากคู่สัญญาแสดงเจตนาทำเอกเทศสัญญาสองลักษณะต่างกันแม้จะทำเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ในสัญญาฉบับเดียวกันก็ย่อมกระทำได้ไม่มีกฎหมายห้ามคดีนี้องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย เจตนาทำสัญญากับโจทก์2ลักษณะเอกเทศสัญญาคือสัญญาซื้อขายเครื่องมือวัสดุอุปกรณ์กับสัญญาจ้างทำของก่อสร้างและติดตั้งอุปกรณ์เครือข่ายชุมทางโทรศัพท์ดังที่มีข้อความระบุไว้ในManagementProposalSection1Contract2AgreementforSale,InstallationandConstruction(สัญญาซื้อขายติดตั้งและก่อสร้าง)ตามเอกสารหมายจ.6หน้า120ว่า"บันทึกและตกลงข้อเสนอของเบลส์(โจทก์)ตั้งอยู่บนสมมุติฐานที่ว่าการจัดหาเครื่องมือและวัตถุดิบและการบริการติดตั้งจะเป็นสัญญาที่แยกต่างหากจากกันในสัญญาระหว่างTOT(องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย) กับเบลส์นอกจากนี้ในRecordofNegotiationนั้นSummaryofCostตามเอกสารหมายจ.2หน้า209ยังได้แบ่งมูลค่าของสัญญาออกเป็นMainStemsและOptionalStemsโดยแยกรายละเอียดลงไว้เป็นแต่ละรายการด้วยว่าค่าอะไรจำนวนเท่าใดต้องจ่ายด้วยเงินตราสกุลใดไว้ด้วยเอกสารหมายจ.2และจ.6นี้เป็นเอกสารที่ระบุไว้ในสัญญาเอกสารหมายจ.10ข้อโอและข้อไอซึ่งข้อ1ของสัญญาเอกสารหมายจ.10ระบุว่าเป็นเอกสารประกอบสัญญาที่ก่อให้เกิดและเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาฉะนั้นจะต้องตีความเจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญาจากถ้อยคำสำนวนที่ได้เขียนลงไว้ในเอกสารประกอบสัญญาทั้งสองฉบับดังกล่าวแล้วให้เป็นผลบังคับได้ว่าโจทก์และองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเจตนาทำสัญญาซื้อขายคือขายเครื่องมือวัสดุอุปกรณ์กับสัญญาจ้างทำของคือก่อสร้างติดตั้งเครือข่ายชุมทางโทรศัพท์แยกต่างหากจากกันเป็น2ลักษณะเอกเทศสัญญาและแยกราคาทรัพย์สินที่ซื้อขายออกต่างหากจากสินจ้างหาใช่คู่สัญญาเจตนาทำสัญญาจ้างทำของโดยตกลงให้โจทก์เป็นผู้จัดหาสัมภาระไม่ ขณะโจทก์ทำสัญญากับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย นั้นโจทก์ยังไม่มีสถานธุรกิจประจำซึ่งโจทก์ใช้ประกอบธุรกิจการขายตั้งอยู่ในประเทศไทยจึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์มีสถานประกอบการถาวรในประเทศไทยในขณะทำสัญญาขายเครื่องมือวัสดุอุปกรณ์ให้แก่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ส่วนที่จำเลยอ้างว่าสัญญาจ้างทำของคือก่อสร้างและติดตั้งอุปกรณ์เครือข่ายชุมทางโทรศัพท์เป็นโครงการที่โจทก์ต้องเข้ามาดำเนินการมีกำหนดระยะเวลาเกินกว่า6เดือนจึงถือว่าโจทก์มีสถานประกอบการถาวรในประเทศไทยตามข้อง5.2(ซ)แห่งความตกลงระหว่างราชอาณาจักรไทยกับเบลเยี่ยมเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนนั้นความตกลงในข้อดังกล่าวมีความหมายเพียงว่ากรณีที่โจทก์ไม่มีสถานประกอบการถาวรตามความตกลงข้อ5.1แต่มีสถานที่ตั้งโครงการติดตั้งหรือโครงการประกอบดำรงอยู่ในประเทศไทยเกินกว่า6เดือนก็ให้ถือว่าโจทก์มีสถานประกอบการถาวรในประเทศไทยสำหรับธุรกิจตามสัญญาจ้างทำของนั้นเท่ากับหาได้มีความหมายว่าสถานประกอบการถาวรในประเทศไทยดังกล่าวเป็นสถานประกอบการถาวรของโจทก์สำหรับธุรกิจตามสัญญาซื้อขายเครื่องมือวัสดุอุปกรณ์ไปด้วยไม่ฉะนั้นกำไรจากธุรกิจการขายเครื่องมือวัสดุอุปกรณ์ตามสัญญาซื้อขายที่โจทก์ทำกับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ที่ผู้ขายอยู่ต่างประเทศซื้อขายกันในราคาซี.ไอ.เอฟ.ผู้ซื้อส่งเงินไปชำระแก่ผู้ขายณต่างประเทศและรับผิดชำระอากรขาเข้าเองอันเป็นสัญญาที่แยกต่างหากจากสัญญาจ้างทำของจึงถือไม่ได้ว่าเกิดขึ้นจากการประกอบธุรกิจโดยผ่านสถานประกอบการถาวรของโจทก์ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศไทยโจทก์เป็นวิสาหกิจซึ่งดำเนินการโดยผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศเบลเยี่ยมจึงอยู่ภายใต้อำนาจการจัดเก็บภาษีตามกฎหมายของประเทศเบลเยี่ยมตามบังคับข้อ7.1แห่งความตกลงระหว่างราชอาณาจักรไทยกับเบลเยี่ยมเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีซ้อนในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้และได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร(ฉบับที่18)พ.ศ.2505มาตรา3เมื่อปรากฎว่ารายรับจำนวน41,026,412.58บาทที่เจ้าพนักงานประเมินนำมาเป็นฐานในการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของโจทก์สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี2525ในอัตราร้อยละ5ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายตามประมวลรัษฎากรมาตรา71(1)นั้นโจทก์อ้างว่าเป็นรายรับค่าขายเครื่องมือวัสดุอุปกรณ์จำนวน32,473,226.58บาทที่องค์การโทรศํพท์แห่งประเทศไทยส่งไปชำระแก่โจทก์ที่สำนักงานใหญ่ประเทศเบลเยี่ยมโดยตรงส่วนอีกจำนวน8,553,186บาทนั้นโจทก์อ้างว่าเป็นค่าก่อสร้างค่าขนส่งและค่าอากรขาเข้าแต่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่เชื่อข้ออ้างของโจทก์เฉพาะเงินจำนวนหลังเพราะโจทก์ไม่มีหลักฐานมาพิสูจน์ดังนี้จึงฟังได้ว่าเงินรายรับจำนวน32,473,226.58บาทเป็นรายรับตามสัญญาซื้อขายเจ้าพนักงานประเมินจึงนำมารวมเป็นฐานในการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของโจทก์สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี2525ไม่ได้เพราะไม่ใช้กำไรจากกิจการที่โจทก์ได้รับผ่านสถานประกอบการถาวรในประเทศไทยเจ้าพนักงานประเมินคงมีอำนาจประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของโจทก์สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี2525จากยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใดๆของเงินจำนวน8,553,186บาทอันเป็นเงินค่าก่อสร้างตามสัญญาจ้างทำของซึ่งโจทก์พิสูจน์ไม่ได้ว่ามีค่าขนส่งและค่าอากรขาเข้ารวมอยู่ด้วยเท่านั้นคำนวณแล้วเป็นค่าภาษีจำนวน427,659.30บาทเมื่อหักค่าภาษีหักณที่จ่ายจำนวน410,264.17บาทออกให้แล้วโจทก์คงต้องรับผิดในค่าภาษีรายการนี้เพียงจำนวน17,395.13บาทส่วนภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี2526และปี2527ซึ่งเจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินจากยอดรายรับจำนวน149,023,234.30บาทและ272,231,011.52บาทนั้นโจทก์ไม่ได้นำสืบพิสูจน์ให้เห็นว่ามีรายรับของสัญญาซื้อขายรวมอยู่ด้วยจึงต้องฟังว่าเป็นรายรับของสัญญาจ้างทำของซึ่งโจทก์ไม่ได้รับยกเว้นภาษีตามความตกลงระหว่างราชอาณาจักรไทยกับเบลเยี่ยมเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้การที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินจากยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใดๆในอัตราร้อยละ5ตามประมวลรัษฎากรมาตรา71(1)จึงชอบแล้ว ภาษีเงินได้ที่โจทก์จำหน่ายกำไรออกไปจากประเทศไทยสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี2525นั้นเจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินจากฐานเงินได้412,026,412.58บาทซึ่งรวมเอารายรับตามสัญญาซื้อขายจำนวน32,473,226.58บาทที่ได้รับยกเว้นภาษีเข้าไปด้วยจึงเป็นการไม่ชอบต้องประเมินจากยอดรายรับตามสัญญาจ้างทำของจำนวน8,553,186บาทเท่านั้นคำนวณแล้วเป็นค่าภาษีเงินได้ที่โจทก์จำหน่ายกำไรออกไปจากประเทศไทยในรอบระยะเวลาบัญชีปี2525เพียงจำนวน106,908.16บาทส่วนภาษีเงินได้ที่โจทก์จำหน่ายกำไรออกไปจากประเทศไทยในรอบระยะเวลาบัญชีปี2526และปี2527นั้นเนื่องจากไม่ปรากฎว่ายอดรายรับในปีดังกล่าวมีรายรับตามสัญญาซื้อขายรวมอยู่ด้วยการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินจึงชอบแล้ว การที่ลูกจ้างของโจทก์ที่เป็นชาวเบลเยี่ยม เข้ามาทำงานในประเทศไทยถูกสำนักงานใหญ่หักภาษีเงินได้ไว้เพื่อเสียตามกฎหมายประเทศเบลเยี่ยม แล้วยังถูกสถานประกอบการถาวรในประเทศไทยหักภาษีเงินได้ไว้ณที่จ่ายและนำส่งแก่เจ้าพนักงานของจำเลยอีกสถานประกอบการถาวรในประเทศไทยจึงให้ลูกจ้างยืมเงินตามจำนวนดังกล่าวไปชำระก่อนแล้วจึงนำไปหักกลบกับเงินที่สำนักงานใหญ่ได้หักไว้เป็นค่าภาษีตามกฎหมายประเทศเบลเยี่ยม กรณีจึงหาใช่โจทก์ออกเงินค่าภาษีเงินได้หักณที่จ่ายให้แก่ลูกจ้างไม่ โจทก์ประกอบการค้ารับจ้างทำของโดยมีรายรับในรอบระยะเวลาบัญชีปี2525สำหรับเดือนกันยายนและพฤศจิกายน2525จำนวนเพียง8,553,186บาทแต่โจทก์มิได้ยื่นแบบแสดงรายการค้าไว้จึงต้องรับผิดชำระเบี้ยปรับค่าภาษีการค้า2เท่าตามประมวลรัษฎากรมาตรา89(2)กับค่าปรับภาษีบำรุงเทศบาลด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1216/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีเพิกถอนการโอนทรัพย์สินในคดีล้มละลาย: คดีปลดเปลื้องทุกข์ ไม่จำกัดทุนทรัพย์ อุทธรณ์ได้
คดีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร้องขอให้เพิกการถอนโอนและการฉ้อฉลซึ่งผลของการที่ขอให้เพิกถอนมีแต่เพียงให้ทรัพย์กลับคืนมาเป็นของลูกหนี้ตามเดิมเท่านั้นหาได้มีการเรียกร้องทรัพย์หรือขอให้ได้รับประโยชน์เพื่มขึ้นอย่างไรไม่จึงถือว่าเป็นคดีที่ฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หาต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงไม่
เมื่อปรากฏว่าในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาผู้ร้องและผู้คัดค้านต่างเสียค่าขึ้นศาลมาอย่างคดีมีทุนทรัพย์เป็นจำนวนเกินกว่าจำนวนค่าขึ้นศาลที่จะต้องเสียอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์ศาลฎีกามีอำนาจสั่งคืนค่าขึ้นศาลในส่วนที่เสียเกินมาแก่ผู้ร้องและผู้คัดค้านหากเห็นสมควร
เมื่อปรากฏว่าในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาผู้ร้องและผู้คัดค้านต่างเสียค่าขึ้นศาลมาอย่างคดีมีทุนทรัพย์เป็นจำนวนเกินกว่าจำนวนค่าขึ้นศาลที่จะต้องเสียอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์ศาลฎีกามีอำนาจสั่งคืนค่าขึ้นศาลในส่วนที่เสียเกินมาแก่ผู้ร้องและผู้คัดค้านหากเห็นสมควร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 861/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดอำนาจศาล: ศาลรับฟังพยานจากทุกฝ่ายได้ ผู้เสียหายจำกัดสิทธิอุทธรณ์ฎีกา
ความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลเมื่อชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาไต่สวน ศาลก็ย่อมฟังข้อเท็จจริงได้จากหลักฐานและคำพยานที่ปรากฏมีอยู่ในสำนวนประกอบการวินิจฉัยได้ทั้งหมดไม่ว่าผู้ใดจะเป็นผู้อ้างหรือนำมาสืบ และผู้ถูกหาว่าละเมิดอำนาจศาลก็มีโอกาศซักค้านพยานนั้นได้ อยู่แล้ว ศาลย่อมฟังลงโทษฐานละเมิดอำนาจศาลได้ ไม่ขัดต่อกฎหมาย
โจทก์ยื่นคำร้องว่า ผู้ร้องทำร้ายพยานโจทก์ข้างฝานอกห้องพิจารณาบนศาล ผู้ร้องยื่นคำร้องว่าพยานโจทก์ทำร้ายผู้ร้องฝ่ายเดียว ต่างฝ่ายต่างขอให้ลงโทษอีกฝ่ายในฐานละเมิดอำนาจศาล จำคุก 4 เดือน เช่นนี้ ผู้ร้องไม่มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาว่าพยานโจทก์ดังกล่าวมีความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลด้วยเพราะผู้ร้องไม่ใช่ผู้เสียหายในส่วนการละเมิดอำนาจศาลของพยานโจทก์ดังกล่าวนั้น
โจทก์ยื่นคำร้องว่า ผู้ร้องทำร้ายพยานโจทก์ข้างฝานอกห้องพิจารณาบนศาล ผู้ร้องยื่นคำร้องว่าพยานโจทก์ทำร้ายผู้ร้องฝ่ายเดียว ต่างฝ่ายต่างขอให้ลงโทษอีกฝ่ายในฐานละเมิดอำนาจศาล จำคุก 4 เดือน เช่นนี้ ผู้ร้องไม่มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาว่าพยานโจทก์ดังกล่าวมีความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลด้วยเพราะผู้ร้องไม่ใช่ผู้เสียหายในส่วนการละเมิดอำนาจศาลของพยานโจทก์ดังกล่าวนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 861/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดอำนาจศาล: ศาลรับฟังพยานหลักฐานจากทุกฝ่ายได้ ผู้เสียหายเท่านั้นร้องขอโทษได้
ความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลเมื่อศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาไต่สวน ศาลก็ย่อมฟังข้อเท็จจริงได้จากหลักฐานและคำพยานที่ปรากฏมีอยู่ในสำนวนประกอบการวินิจฉัยได้ทั้งหมดไม่ว่าผู้ใดจะเป็นผู้อ้างหรือนำมาสืบ และผู้ถูกหาว่าละเมิดอำนาจศาลก็มีโอกาสซักค้านพยานนั้นได้อยู่แล้ว ศาลย่อมฟังลงโทษฐานละเมิดอำนาจศาลได้ ไม่ขัดต่อกฎหมาย
โจทก์ยื่นคำร้องว่า ผู้ร้องทำร้ายพยานโจทก์ข้างฝานอกห้องพิจารณาบนศาล ผู้ร้องยื่นคำร้องว่าพยานโจทก์ทำร้ายผู้ร้องฝ่ายเดียว ต่างฝ่ายต่างขอให้ลงโทษอีกฝ่ายในฐานละเมิดอำนาจศาล ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วฟังว่า ผู้ร้องทำร้ายพยานโจทก์ ลงโทษผู้ร้องข้างเดียวฐานละเมิดอำนาจศาล จำคุก 4 เดือน เช่นนี้ ผู้ร้องไม่มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาว่าพยานโจทก์ดังกล่าวมีความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลด้วยเพราะผู้ร้อง ไม่ใช่ผู้เสียหายในส่วนการละเมิดอำนาจศาลของพยานโจทก์ดังกล่าวนั้น
โจทก์ยื่นคำร้องว่า ผู้ร้องทำร้ายพยานโจทก์ข้างฝานอกห้องพิจารณาบนศาล ผู้ร้องยื่นคำร้องว่าพยานโจทก์ทำร้ายผู้ร้องฝ่ายเดียว ต่างฝ่ายต่างขอให้ลงโทษอีกฝ่ายในฐานละเมิดอำนาจศาล ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วฟังว่า ผู้ร้องทำร้ายพยานโจทก์ ลงโทษผู้ร้องข้างเดียวฐานละเมิดอำนาจศาล จำคุก 4 เดือน เช่นนี้ ผู้ร้องไม่มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาว่าพยานโจทก์ดังกล่าวมีความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลด้วยเพราะผู้ร้อง ไม่ใช่ผู้เสียหายในส่วนการละเมิดอำนาจศาลของพยานโจทก์ดังกล่าวนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 739/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรวมฟ้องจำเลยหลายคนในคดีบุกรุก และการเสียค่าขึ้นศาลเมื่อยังไม่ชัดเจนว่ามีการโต้แย้งกรรมสิทธิ์
โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยแต่ละคนต่างละเมิดสิทธิของโจทก์โดยลำพังตนต่างหากจากกัน โดยจำเลยมิต้องร่วมกันรับผิดชอบต่อโจทก์ เช่นนี้ โจทก์จะรวมฟ้องจำเลยทุกคนในคดีเดียวกันหาได้ไม่ โจทก์จะต้องแยกฟ้องจำเลยแต่ละคนเป็นรายสำนวนไป
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาท แม้โจทก์จะรับว่า เมื่อจำเลยฟ้องระหว่างกัน เกี่ยวกับที่รายพิพาทนี้ ในคดีอื่นจำเลยก็ได้โต้แย้งกรรมสิทธิ์กันก็ดี แต่ในชั้นที่โจทก์ฟ้องในคดีนี้ จำเลยอาจไม่โต้แย้งกรรมสิทธิกับโจทก์ก็ได้ คดีเช่นนี้ยังไม่ควรให้โจทก์ตีราคาทุนทรัพย์และเสียค่าขึ้นศาลตามราคาทรัพย์ในขณะรับฟ้อง ควรรอฟังจำเลยให้การเสียก่อน
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาท แม้โจทก์จะรับว่า เมื่อจำเลยฟ้องระหว่างกัน เกี่ยวกับที่รายพิพาทนี้ ในคดีอื่นจำเลยก็ได้โต้แย้งกรรมสิทธิ์กันก็ดี แต่ในชั้นที่โจทก์ฟ้องในคดีนี้ จำเลยอาจไม่โต้แย้งกรรมสิทธิกับโจทก์ก็ได้ คดีเช่นนี้ยังไม่ควรให้โจทก์ตีราคาทุนทรัพย์และเสียค่าขึ้นศาลตามราคาทรัพย์ในขณะรับฟ้อง ควรรอฟังจำเลยให้การเสียก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 891/2499
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิบัติทางฟ้อง: วันเวลาทำผิดต่างจากฟ้อง แม้จำเลยไม่เสียเปรียบ ต้องยกฟ้อง
เมื่อข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวันหรือเวลาที่จำเลยกระทำผิดตามที่ปรากฏในการพิจารณาต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้อง ศาลต้องยกฟ้องตาม มาตรา192 วรรคสอง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ใช้อยู่ในขณะฟ้องคดีนี้) จำเลยจะผิดหลงหรือเสียเปรียบในการต่อสู้คดีหรือไม่ไม่สำคัญ
ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาแม้จะมี พระะราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2499 ให้ยกเลิกมาตรา192 และใช้ข้อความใหม่แทนก็ดี ก็จะนำมาใช้แก่คดีที่ฟ้องไว้ก่อนแล้วหาได้ไม่ (ประชุมใหญ่ที่ 5/2499)
ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาแม้จะมี พระะราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2499 ให้ยกเลิกมาตรา192 และใช้ข้อความใหม่แทนก็ดี ก็จะนำมาใช้แก่คดีที่ฟ้องไว้ก่อนแล้วหาได้ไม่ (ประชุมใหญ่ที่ 5/2499)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 890/2499
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาที่ยื่นก่อนกฎหมายวิธีพิจารณาใหม่ ใช้กฎหมายเดิมบังคับ แม้ส่งสำเนาฎีกาไม่ได้
คดีที่ได้ยื่นฟ้องฎีกาก่อนวันประกาศใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาที่แก้ไขใหม่นั้น ต้องใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาที่ใช้อยู่เดิมบังคับเมื่อส่งสำเนาฎีกาไม่ได้ต้องจำหน่ายคดี(ประชุมใหญ่ครั้งที่5/2499)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 87/2479
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่จดทะเบียน: ฟ้องได้หากหุ้นส่วนทั้งหมดร่วมกัน
ผู้จัดการห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนไปทำสัญญาแทนห้างหุ้นส่วน ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนรวมกันเป็นโจทก์ฟ้องคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งได้
เดิมผู้เป็นหุ้นส่วนคนเดียวในห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยศาลยกฟ้อง ต่อมาผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนได้เข้าเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในมูลหนี้รายเดียวกันกับเรื่องเดิมได้เพราะเป็นเรื่องคนละประเด็น
คดีที่โจทก์ได้ยื่นฟ้องก่อนวันใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งต้องใช้พ.ร.บ.วิธีพิจารณาแพ่งร.ศ.127 ซึ่งเป็นกฎหมายซึ่งใช้อยู่ในเวลานั้นในการวินิจฉัยว่าฟ้องต้องห้ามหรือไม่
เดิมผู้เป็นหุ้นส่วนคนเดียวในห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยศาลยกฟ้อง ต่อมาผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนได้เข้าเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในมูลหนี้รายเดียวกันกับเรื่องเดิมได้เพราะเป็นเรื่องคนละประเด็น
คดีที่โจทก์ได้ยื่นฟ้องก่อนวันใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งต้องใช้พ.ร.บ.วิธีพิจารณาแพ่งร.ศ.127 ซึ่งเป็นกฎหมายซึ่งใช้อยู่ในเวลานั้นในการวินิจฉัยว่าฟ้องต้องห้ามหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 798/2474
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทที่ยุติตามสัญญาประนีประนอมแล้ว ไม่อาจนำมาฟ้องร้องอีกได้
ข้อพิพาทกับยุตติแล้วจะรื้อร้องฟ้องอีกไม่ได้