คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 3 (2) (ข)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3185/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกคดีทรัพย์สินทางปัญญาที่ผิดสถานที่ และการพิสูจน์ความสัมพันธ์ทางนิติสัมพันธ์ของตัวแทน
เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ในการขายสินค้าดังกล่าว จึงถือไม่ได้ว่าสถานที่อันเป็นถิ่นที่อยู่หรือสำนักทำการและงานของจำเลยที่ 2 เป็นภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งให้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องตั้งต้นคดีแก่จำเลยที่ 1 ณ สถานที่อันเป็นถิ่นที่อยู่หรือสำนักทำการงานที่จำเลยที่ 2 ใช้ประกอบกิจการจึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 3 (2) (ข), 83 ทวิ และมีผลให้กระบวนพิจารณาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 หลังจากนั้นไม่ชอบไปด้วย เรื่องดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246 ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศจึงเห็นสมควรเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4580/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้ขนส่งทางทะเลในสัญญาประกันภัย การชำระค่าสินไหมทดแทน และการรับช่วงสิทธิ
บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 3 เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับเขตอำนาจศาลที่ให้โอกาสโจทก์ที่จะเสนอคำฟ้องต่อศาลในกรณีที่จำเลยไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรได้หากจำเลยประกอบหรือเคยประกอบกิจการทั้งหมดหรือแต่บางส่วนในราชอาณาจักรทั้งโดยตนเองหรือตัวแทนหรือเพียงแต่จำเลยมีผู้ติดต่อในการประกอบกิจการในราชอาณาจักรเท่านั้น ก็ถือว่าสถานที่ที่ใช้หรือเคยใช้ประกอบกิจการหรือติดต่อดังกล่าวหรือสถานที่อันเป็นถิ่นที่อยู่ของตัวแทนหรือของผู้ติดต่อในวันที่มีการเสนอคำฟ้องหรือภายในกำหนด 2 ปี ก่อนนั้นเป็นภูมิลำเนาของจำเลย ซึ่งโจทก์สามารถเสนอคำฟ้องต่อศาลที่สถานที่ดังกล่าวอยู่ในเขตศาลได้ จำเลยที่ 2 เป็นผู้ติดต่อในการประกอบกิจการขนส่งของจำเลยที่ 1 โดยเป็นผู้ติดต่อในการนำเรือให้ถึงท่าปลายทางและติดต่อนำเรือออกจากท่าปลายทางตลอดจนการติดต่อทำหน้าที่เป็นตัวแทนเรือในกิจการขนส่งทางทะเลอันเป็นธุรกิจบริการของจำเลยที่ 2 แม้จำเลยที่ 2 จะไม่ใช่ผู้ร่วมขนส่งกับจำเลยที่ 1 แต่ก็ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ติดต่อในการประกอบกิจการขนส่งของจำเลยที่ 1 ในราชอาณาจักรเมื่อปรากฏตามคำฟ้องว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ติดต่อในการประกอบกิจการของจำเลยที่ 1 มีภูมิลำเนาในเขตศาลแพ่งกรุงเทพใต้ จึงถือว่าภูมิลำเนาของจำเลยที่ 2 เป็นภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ศาลแพ่งกรุงเทพใต้อันเป็นศาลที่ถือว่าจำเลยที่ 1 มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(1) ได้ โจทก์ได้ทำสัญญาประกันภัยทางทะเลกับบริษัทผู้เอาประกันภัย ซึ่งเป็นผู้รับตราส่งสินค้าที่เอาประกันภัยดังกล่าว เมื่อโจทก์ผู้รับประกันภัยได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยดังกล่าวแก่บริษัทผู้เอาประกันภัยซึ่งเป็นผู้รับตราส่งสินค้าที่เอาประกันภัย โจทก์ย่อมรับช่วงสิทธิของผู้รับตราส่งมาฟ้องจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งสินค้าดังกล่าวได้ การรับประกันภัยของโจทก์เป็นการรับประกันภัยสินค้าตามจำนวนหน่วย การระบุน้ำหนักไว้เป็นเพียงให้ทราบถึงน้ำหนักของสินค้ารวมทุกหน่วยเท่านั้น และความเสียหายที่เกิดแก่สินค้าเป็นกรณีที่สินค้านั้นสูญหายไปบางส่วนจำนวน 10 หน่วยและสินค้าเสียหายเพราะเหล็กบุบย่นไปบางส่วน ซึ่งตามสัญญาประกันภัยได้ให้ความคุ้มครอง โจทก์ผู้รับประกันภัยจึงต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัยทางทะเลต่อผู้รับตราส่งซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยแม้โจทก์จะรับประกันภัยสินค้าที่ขนส่งทางทะเลไว้จากผู้รับตราส่งภายหลังจากที่เรือซึ่งรับขนส่งสินค้าดังกล่าวออกเดินทางจากท่าเรือต้นทางแล้วก็ตาม แต่ก็ปรากฏว่าเรือดังกล่าวถึงท่าปลายทางภายหลังวันที่โจทก์รับประกันภัยสินค้าที่ขนส่งทางทะเล ซึ่งจำเลยที่ 1 มิได้นำสืบโต้แย้งว่าความเสียหายมิได้เกิดขึ้นในระหว่างการขนส่งของจำเลยที่ 1 และมิได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าวโดยโจทก์รู้อยู่แล้วเช่นนั้นยังจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้รับตราส่งไปการจ่ายค่าสินไหมทดแทนของโจทก์แก่ผู้รับตราส่งจึงเป็นการชำระหนี้ไปตามความรับผิดตามสัญญาประกันภัยทางทะเล หาใช่การชำระหนี้ตามอำเภอใจโดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระและไม่สุจริต เมื่อโจทก์ได้ชำระค่าสินไหมทดแทนความเสียหายให้แก่ผู้เอาประกันภัยซึ่งเป็นเจ้าหนี้และเป็นผู้รับตราส่งสำหรับสินค้าที่เอาประกันภัยแล้ว โจทก์ในฐานะลูกหนี้ย่อมเข้าสู่ฐานะเป็นผู้รับช่วงสิทธิของผู้รับตราส่งผู้เป็นเจ้าหนี้มาเรียกร้องเอาค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1ผู้ขนส่งซึ่งต้องรับผิดต่อผู้รับตราส่ง จำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งสินค้าที่เอาประกันภัยไว้จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ผู้รับช่วงสิทธิของผู้รับตราส่ง บทบัญญัติมาตรา 61 แห่งพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534เป็นเรื่องการคำนวณราคาของที่สูญหายหรือเสียหายว่าผู้ขนส่งของทางทะเลจะต้องรับผิดตามสัญญารับขนของทางทะเลเพียงใด ไม่อาจนำมาใช้บังคับแก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยทางทะเลได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4580/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาลฟ้องจำเลยต่างประเทศ, การรับประกันภัยทางทะเล, และการรับช่วงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย
ป.วิ.พ. มาตรา 3 เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับเขตอำนาจศาลที่ให้โอกาสโจทก์ที่จะเสนอคำฟ้องต่อศาลในกรณีที่จำเลยไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรได้ หากจำเลยประกอบหรือเคยประกอบกิจการทั้งหมดหรือ แต่บางส่วน ในราชอาณาจักรทั้งโดยตนเองหรือตัวแทน หรือเพียงแต่จำเลยมีผู้ติดต่อในการประกอบกิจการในราชอาณาจักรเท่านั้น ก็ถือว่าสถานที่ที่ใช้หรือเคยใช้ประกอบกิจการหรือติดต่อดังกล่าว หรือสถานที่อันเป็นถิ่นที่อยู่ของตัวแทนหรือ ของผู้ติดต่อในวันที่มีการเสนอคำฟ้องหรือภายในกำหนด 2 ปี ก่อนนั้นเป็นภูมิลำเนาของจำเลย ซึ่งโจทก์สามารถเสนอคำฟ้องต่อศาลที่สถานที่ดังกล่าวอยู่ในเขตศาลได้
จำเลยที่ 2 เป็นผู้ติดต่อในการประกอบกิจการขนส่งของจำเลยที่ 1 โดยเป็นผู้ติดต่อในการนำเรือให้ถึง ท่าปลายทางและติดต่อนำเรือออกจากท่าปลายทาง ตลอดจนติดต่อทำหน้าที่เป็นตัวแทนเรือในกิจการขนส่งทางทะเลอันเป็นธุรกิจบริการของจำเลยที่ 2 แม้จำเลยที่ 2 จะไม่ใช่ผู้ร่วมขนส่งกับจำเลยที่ 1 แต่ก็ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ติดต่อในการประกอบกิจการขนส่งของจำเลยที่ 1 ในราชอาณาจักร เมื่อปรากฏตามคำฟ้องว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ติดต่อในการประกอบกิจการของจำเลยที่ 1 มีภูมิลำเนาในเขตศาลแพ่งกรุงเทพใต้ จึงถือว่าภูมิลำเนาของจำเลยที่ 2 เป็นภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ อันเป็นศาลที่ถือว่าจำเลยที่ 1 มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 (1)
โจทก์ได้ทำสัญญาประกันภัยทางทะเลกับผู้เอาประกันภัยซึ่งเป็นผู้รับตราส่งสินค้าที่เอาประกันภัยดังกล่าว เมื่อโจทก์ผู้รับประกันภัยได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยดังกล่าวแก่ผู้เอาประกันภัยซึ่งเป็นผู้รับตราส่งสินค้าที่เอาประกันภัย โจทก์ย่อมรับช่วงสิทธิของผู้รับตราส่งมาฟ้องจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งสินค้าดังกล่าวได้
การรับประกันภัยของโจทก์เป็นการรับประกันภัยสินค้าตามจำนวนหน่วย การระบุน้ำหนักไว้เป็นเพียงให้ทราบถึงน้ำหนักของสินค้ารวมทุกหน่วยเท่านั้น และความเสียหายที่เกิดแก่สินค้าเป็นกรณีที่สินค้านั้นสูญหายไปบางส่วนจำนวน 10 หน่วย และสินค้าเสียหายเพราะเหล็กบุบย่นไปบางส่วน ซึ่งตามสัญญาประกันภัยได้ให้ความคุ้มครอง โจทก์ผู้รับประกันภัยจึงต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัยทางทะเลต่อผู้รับตราส่งซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัย แม้โจทก์จะรับประกันภัยสินค้าที่ขนส่งทางทะเลไว้จากผู้รับตราส่งภายหลังจากที่เรือซึ่งรับขนส่งสินค้าดังกล่าวออกเดินทางจาก ท่าเรือต้นทางแล้วก็ตาม แต่ก็ปรากฏว่าเรือดังกล่าวถึงท่าปลายทางภายหลังวันที่โจทก์รับประกันภัยสินค้าที่ขนส่ง ทางทะเล ซึ่งจำเลยที่ 1 มิได้นำสืบโต้แย้งว่าความเสียหายมิได้เกิดขึ้นในระหว่างการขนส่งของจำเลยที่ 1 และ มิได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าวโดยโจทก์รู้อยู่แล้วเช่นนั้นยังจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้รับตราส่งไป การจ่ายค่าสินไหมทดแทนของโจทก์แก่ผู้รับตราส่งจึงเป็นการชำระหนี้ไปตามความรับผิดตามสัญญาประกันภัย ทางทะเล หาใช่การชำระหนี้ตามอำเภอใจโดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระและไม่สุจริต
มาตรา 61 แห่ง พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 เป็นเรื่องการคำนวณราคาของที่สูญหายหรือ เสียหายว่าผู้ขนส่งทางทะเลจะต้องรับผิดตามสัญญารับขนของทางทะเลเพียงใด ไม่อาจนำมาใช้บังคับแก่โจทก์ซึ่งเป็น ผู้รับประกันภัยทางทะเลได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6437/2541 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งและผู้ร่วมขนส่งในความเสียหายของสินค้า รวมถึงการกำหนดภูมิลำเนาของบริษัทต่างชาติ
จำเลยที่ 1 และที่ 3 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด จดทะเบียนที่ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี จำเลยที่ 2 และที่ 4 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด จดทะเบียนในประเทศไทย ผู้ขายสินค้าพิพาท ได้ว่าจ้างให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ขนส่งสินค้าพิพาท โดยจำเลยที่ 1 มีหน้าที่รับสินค้าพิพาทจากผู้ขายสินค้าและบรรทุกสินค้าลงเรือ เมื่อเรือขนสินค้ามาถึงท่าเรือปลายทางจำเลยที่ 1 และที่ 2 จะต้องติดต่อประสานงานในการนำเรือเจ้าจอดเทียบท่า และติดต่อพิธีการทางศุลกากร ในการติดต่อขอรับสินค้าบริษัท อ.ผู้สั่งซื้อสินค้าจะต้องติดต่อกับจำเลยที่ 2เพื่อชำระค่าระวางบรรทุกสินค้า เมื่อจำเลยที่ 2 รับชำระค่าระวางบรรทุกสินค้าแล้ว จะแจ้งให้จำเลยที่ 4 ออกใบปล่อยสินค้าให้ และใบตราส่งซึ่งจำเลยที่ 1 ออกให้แก่ผู้ขายสินค้ามีข้อความระบุว่า การปล่อยสินค้าให้ติดต่อจำเลยที่ 2 และมีข้อความระบุอีกว่า ค่าระวางบรรทุกสินค้าให้ชำระที่เมืองท่าปลายทาง แสดงว่า จำเลยที่ 2 ทำหน้าที่เก็บค่าระวางบรรทุกสินค้าสำหรับสินค้าพิพาทแทนจำเลยที่ 1 เช่นนี้ ย่อมฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 มีจำเลยที่ 2เป็นผู้ติดต่อในการประกอบกิจการของจำเลยที่ 1 ในราชอาณาจักร จึงถือได้ว่าภูมิลำเนาของจำเลยที่ 2 ซึ่งจำเลยที่ 1 ใช้ในการติดต่อดังกล่าวเป็นภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 ด้วย โจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ต่อศาลแพ่งได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 3 (2) (ข) ในวันที่มีการออกใบตราส่งฉบับแรกคือวันที่ 28 เมษายน 2534และวันที่มีการส่งมอบและตรวจรับสินค้าพิพาทคือวันที่ 8 มิถุนายน 2534 พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 ยังไม่มีผลใช้บังคับ แต่พระราชบัญญัติดังกล่าวเพิ่งจะมีผลใช้บังคับในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2535 ดังนั้น จึงต้องนำ ป.พ.พ.มาตรา 616ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่มูลคดีเกิดขึ้น อันเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาใช้บังคับ ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 4 วรรคสอง มิใช่ถือเอาวันที่โจทก์ทั้งสองฟ้องคดี และกรณีไม่อาจนำเอา พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาใช้บังคับกับคดีนี้ได้
จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับสินค้าจากผู้ส่งที่ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และจำเลยที่ 1 เป็นผู้ติดต่อให้เรือ ท.ขนส่งสินค้าดังกล่าว โดยจำเลยที่ 1เป็นผู้ออกใบตราส่งให้แก่ผู้ส่ง จำเลยที่ 1 จึงมีฐานะเป็นผู้ขนส่งตามบทบัญญัติแห่งป.พ.พ.มาตรา 608 จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชอบในการที่สินค้าพิพาทสูญหายไปตาม มาตรา 616
ในการติดต่อขอรับสินค้าพิพาทบริษัท อ.ผู้สั่งซื้อสินค้าจะต้องติดต่อกับจำเลยที่ 2 และจะต้องชำระค่าระวางบรรทุกสินค้าให้แก่จำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 2 รับชำระค่าระวางบรรทุกสินค้าแล้ว จะแจ้งไปยังจำเลยที่ 4 ให้ออกใบปล่อยสินค้าให้ และตามใบตราส่ง ซึ่งจำเลยที่ 1 ออกให้แก่ผู้ส่งสินค้าระบุให้ผู้รับตราส่งติดต่อจำเลยที่ 2 ในการขอรับสินค้า ทั้งตามใบตราส่งที่จำเลยที่ 3 ออกให้แก่จำเลยที่ 1 ในฐานตัวแทนของผู้ส่งสินค้าก็ระบุให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับตราส่งนอกจากนั้น จำเลยที่ 2 ยังมีหน้าที่ติดต่อกับบริษัทเรือเพื่อรับเอกสารการปล่อยสินค้าพฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 ดังกล่าว รับฟังได้ว่าเป็นการดำเนินงานขนส่งสินค้าร่วมกับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดในการสูญหายของสินค้าพิพาทด้วย
สำหรับจำเลยที่ 4 เป็นผู้ทำการขนถ่ายสินค้าที่บรรทุกมากับเรือท. และนำสินค้าดังกล่าวไปมอบให้แก่การท่าเรือสัตหีบ พฤติการณ์ของจำเลยที่ 4ดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยที่ 4 เป็นผู้ร่วมทำการขนส่งสินค้าพิพาทด้วย จำเลยที่ 4จึงต้องร่วมรับผิดในความสูญหายของสินค้าพิพาทดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6437/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง, การขนส่งสินค้า, ความรับผิดของผู้ขนส่ง, สินค้าสูญหาย, การชดใช้ค่าเสียหาย
จำเลยที่ 1 มีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ติดต่อในการประกอบกิจการของจำเลยที่ 1 ในราชอาณาจักรจึงถือได้ว่าภูมิลำเนาของจำเลยที่ 2 ซึ่งจำเลยที่ 1 ใช้ในการติดต่อดังกล่าวเป็นภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 ด้วยโจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ต่อศาล
แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 609 วรรคสองจะบัญญัติว่า "รับขนของทางทะเลท่านให้บังคับตามกฎหมายและกฎข้อบังคับว่าด้วยการนั้น" ก็ตาม แต่เนื่องจากคดีนี้ทั้ง วันที่มีการออกใบตราส่งฉบับแรกและวันที่มีการส่งมอบ และตรวจรับสินค้าพิพาทเป็นวันก่อนที่พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 ใช้บังคับ จึงต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 616 ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่มูลคดีเกิดขึ้นอันเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาใช้บังคับ ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 วรรคสอง มิใช่ถือเอาวันที่โจทก์ทั้งสองฟ้อง
จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับสินค้าจากผู้ส่งและเป็นผู้ติดต่อเรือให้ขนสินค้าโดยเป็นผู้ออกใบตราส่งให้แก่ผู้ส่ง จึงมีฐานะเป็น ผู้ขนส่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 616
จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับติดต่อกับผู้รับสินค้าในการส่งมอบสินค้า เมื่อได้รับชำระค่าระวางเรือก็จะแจ้งให้จำเลยที่ 4 ออกใบปล่อยสินค้า ใบตราส่งที่จำเลยที่ 1 ออกให้แก่ผู้ส่งสินค้าก็ระบุให้ผู้รับตราส่งติดต่อจำเลยที่ 2 ในการขอรับสินค้าทั้งใบตราส่งที่จำเลยที่ 3 ออกให้แก่จำเลยที่ 1 ในฐานตัวแทนของผู้ส่งสินค้าก็ระบุให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับตราส่งพฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวเป็นการดำเนินงานขนส่งสินค้าร่วมกับจำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิด ในการสูญหายของสินค้าด้วย
จำเลยที่ 4 เป็นผู้ทำการขนถ่ายสินค้าที่บรรทุกมากับเรือและนำสินค้าดังกล่าวไปมอบให้แก่การท่าเรือสัตหีบ พฤติการณ์ของจำเลยที่ 4 ดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยที่ 4 เป็นผู้ร่วมทำการขนส่งสินค้าพิพาทด้วย จึงต้องร่วมรับผิดในความสูญหายของสินค้า
พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534มีผลใช้บังคับในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2535 ภายหลังจากมูลคดีได้เกิดขึ้น จึงไม่อาจนำการจำกัดความรับผิดตามพระราชบัญญัติดังกล่าวมาใช้บังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6437/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีรับขนของทางทะเล, การใช้กฎหมายที่ใช้บังคับ, และความรับผิดของผู้ขนส่งร่วม
จำเลยที่ 1 และที่ 3 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดจดทะเบียนที่ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีจำเลยที่ 2 และที่ 4 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดจดทะเบียนในประเทศไทย ผู้ขายสินค้าพิพาท ได้ว่าจ้างให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ขนส่งสินค้าพิพาท โดยจำเลยที่ 1มีหน้าที่รับสินค้าพิพาทจากผู้ขายสินค้าและบรรทุกสินค้าลงเรือเมื่อเรือขนสินค้ามาถึงท่าเรือปลายทางจำเลยที่ 1และที่ 2 จะต้องติดต่อประสานงานในการนำเรือเข้าจอดเทียบท่า และติดต่อพิธีการทางศุลกากร ในการติดต่อขอรับสินค้า บริษัทอ.ผู้สั่งซื้อสินค้าจะต้องติดต่อกับจำเลยที่ 2 เพื่อชำระค่าระวางบรรทุกสินค้า เมื่อจำเลยที่ 2 รับชำระค่าระวางบรรทุกสินค้าแล้วจะแจ้งให้จำเลยที่ 4 ออกใบปล่อยสินค้าให้ และใบตราส่งซึ่งจำเลยที่ 1 ออกให้แก่ผู้ขายสินค้ามีข้อความระบุว่าการปล่อยสินค้าให้ติดต่อจำเลยที่ 2 และมีข้อความระบุอีกว่าค่าระวางบรรทุกสินค้าให้ชำระที่เมืองท่าปลายทาง แสดงว่าจำเลยที่ 2 ทำหน้าที่เก็บค่าระวางบรรทุกสินค้าสำหรับสินค้าพิพาทแทนจำเลยที่ 1 เช่นนี้ ย่อมฟังได้ว่าจำเลยที่ 1มีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ติดต่อในการประกอบกิจการของจำเลยที่ 1ในราชอาณาจักร จึงถือได้ว่าภูมิลำเนาของจำเลยที่ 2ซึ่งจำเลยที่ 1 ใช้ในการติดต่อดังกล่าวเป็นภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 ด้วย โจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1ต่อศาลแพ่งได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 3(2)(ข) ในวันที่มีการออกใบตราส่งฉบับแรกคือวันที่28 เมษายน 2534 และวันที่มีการส่งมอบและตรวจรับสินค้าพิพาทคือวันที่ 8 มิถุนายน 2534 พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลพ.ศ. 2534 ยังไม่มีผลใช้บังคับ แต่พระราชบัญญัติดังกล่าวเพิ่งจะ มีผลใช้บังคับในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2535 ดังนั้น จึงต้องนำ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 616 ซึ่งเป็นบทกฎหมาย ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่มูลคดีเกิดขึ้น อันเป็น บทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่มูลคดีเกิดขึ้น อันเป็นบทกฎหมาย ที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาใช้บังคับ ตามบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 วรรคสองมิใช่ถือเอาวันที่โจทก์ทั้งสองฟ้องคดี และกรณีไม่อาจนำเอาพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534มาใช้บังคับกับคดีนี้ได้ จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับสินค้าจากผู้ส่งที่ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมณี และจำเลยที่ 1เป็นผู้ติดต่อให้เรือท.ขนส่งสินค้าดังกล่าว โดยจำเลยที่ 1เป็นผู้ออกใบตราส่งให้แก่ผู้ส่ง จำเลยที่ 1 จึงมีฐานะ เป็นผู้ขนส่งตามบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 608 จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชอบในการที่สินค้า พิพาทสูญหายไปตาม มาตรา 616 ในการติดต่อขอรับสินค้าพิพาท บริษัทอ. ผู้สั่งซื้อสินค้าจะต้องติดต่อกับจำเลยที่ 2 และจะต้องชำระค่าระวางบรรทุกสินค้าให้แก่จำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 2 รับชำระค่าระวางบรรทุกสินค้าแล้ว จะแจ้งไปยังจำเลยที่ 4ให้ออกใบปล่อยสินค้าให้ และตามใบตราส่งซึ่งจำเลยที่ 1ออกให้แก่ผู้ส่งสินค้าระบุให้ผู้รับตราส่งติดต่อจำเลยที่ 2ในการขอรับสินค้า ทั้งตามใบตราส่งที่จำเลยที่ 3ออกให้แก่จำเลยที่ 1 ในฐานตัวแทนของผู้ส่งสินค้าก็ระบุให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับตราส่งนอกจากนั้น จำเลยที่ 2ยังมีหน้าที่ติดต่อกับบริษัทเรือเพื่อรับเอกสารการปล่อยสินค้าพฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวรับฟังได้ว่าเป็นการดำเนินงานขนส่งสินค้าร่วมกับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดในการสูญหายของสินค้าพิพาทด้วย สำหรับจำเลยที่ 4 เป็นผู้ทำการขนถ่ายสินค้า ที่บรรทุกมากับเรือท. และนำสินค้าดังกล่าวไปมอบให้แก่การท่าเรือ พฤติการณ์ของจำเลยที่ 4 ดังกล่าว ถือได้ว่าจำเลยที่ 4 เป็นผู้ร่วมทำการขนส่งสินค้าพิพาทด้วย จำเลยที่ 4 จึงต้องร่วมรับผิดในความสูญหายของสินค้า พิพาทดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6437/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งและตัวแทนขนส่งในความเสียหายของสินค้า การพิสูจน์ความรับผิดและค่าเสียหาย
จำเลยที่ 1 มีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ติดต่อในการประกอบกิจการของจำเลยที่ 1 ในราชอาณาจักรจึงถือได้ว่าภูมิลำเนาของจำเลยที่ 2 ซึ่งจำเลยที่ 1 ใช้ในการติดต่อดังกล่าวเป็นภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 ด้วยโจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ต่อศาล แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 609 วรรคสองจะบัญญัติว่า "รับขนของทางทะเลท่านให้บังคับตามกฎหมายและกฎข้อบังคับว่าด้วยการนั้น" ก็ตาม แต่เนื่องจากคดีนี้ทั้ง วันที่มีการออกใบตราส่งฉบับแรกและวันที่มีการส่งมอบ และตรวจรับสินค้าพิพาทเป็นวันก่อนที่พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 ใช้บังคับ จึงต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 616 ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่มูลคดีเกิดขึ้นอันเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาใช้บังคับ ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 วรรคสองมิใช่ถือเอาวันที่โจทก์ทั้งสองฟ้อง จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับสินค้าจากผู้ส่งและเป็นผู้ติดต่อเรือให้ ขนสินค้าโดยเป็นผู้ออกใบตราส่งให้แก่ผู้ส่ง จึงมีฐานะเป็น ผู้ขนส่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 616 จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับติดต่อกับผู้รับสินค้าในการส่งมอบสินค้า เมื่อได้รับชำระค่าระวางเรือก็จะแจ้งให้จำเลยที่ 4ออกใบปล่อยสินค้า ใบตราส่งที่จำเลยที่ 1 ออกให้แก่ผู้ส่งสินค้าก็ระบุให้ผู้รับตราส่งติดต่อจำเลยที่ 2 ในการขอรับสินค้าทั้งใบตราส่งที่จำเลยที่ 3 ออกให้แก่จำเลยที่ 1 ในฐานตัวแทนของผู้ส่งสินค้าก็ระบุให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับตราส่งพฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวเป็นการดำเนิน งานขนส่งสินค้าร่วมกับจำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิด ในการสูญหายของสินค้าด้วย จำเลยที่ 4 เป็นผู้ทำการขนถ่ายสินค้าที่บรรทุกมากับเรือและนำสินค้าดังกล่าวไปมอบให้แก่การท่าเรือสัตหีบ พฤติการณ์ของจำเลยที่ 4 ดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยที่ 4 เป็นผู้ร่วมทำการขนส่งสินค้าพิพาทด้วย จึงต้องร่วมรับผิดในความสูญหายของสินค้า พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534มีผลใช้บังคับในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2535 ภายหลังจากมูลคดีได้เกิดขึ้น จึงไม่อาจนำการจำกัดความรับผิดตามพระราชบัญญัติดังกล่าวมาใช้บังคับ