คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ม. 37

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 141 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 315-327/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างในการเลิกจ้างและสิทธิเรียกร้องค่าชดเชยและโบนัส กรณีบริษัทอยู่ระหว่างการปรับโครงสร้าง
ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยเป็นหนึ่งในผู้ร่วมทุนจัดตั้งธนาคาร จ. โดยตกลงให้จำเลยทดรองจ่ายค่าจ้างแก่พนักงานของธนาคารรวมทั้งโจทก์ไปก่อน จำเลยจึงเป็นผู้ร่วมทุนถือหุ้นในธนาคารและเป็นแกนนำในการจัดตั้งธนาคาร จำเลยกับผู้ร่วมทุนทั้งหมดย่อมมีฐานะร่วมเป็นนายจ้างของโจทก์ประกอบกับโครงการจัดตั้งธนาคาร จ. จะต้องระงับลงเพราะจำเลยกับบริษัทเงินทุน ซ. หนึ่งในผู้ร่วมทุนถูกทางราชการสั่งให้ระงับการดำเนินการ ธนาคาร จ. จึงไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคล จำเลยอุทธรณ์ว่า ธนาคาร จ. เป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์จำเลย และมีผู้ร่วมก่อการเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทน อีกทั้งโจทก์ไม่ได้ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับการทำงานของจำเลย จนปัจจุบันนี้จำเลยก็ยังมิได้เข้าชื่อซื้อหุ้นธนาคาร จ. จะถือว่าจำเลยเป็นผู้ร่วมทุนถือหุ้นมิได้ จำเลยมิได้มีส่วนควบคุมดูแลสั่งการหรือบังคับบัญชาโจทก์ จำเลยทดรองจ่ายค่าจ้างแทนธนาคาร จ. เท่านั้น จำเลยมิได้เป็นนายจ้างโจทก์ทั้งสิบสาม จึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานเพื่อนำไปสู่ข้อกฎหมาย เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
คำฟ้องของโจทก์บรรยายถึงค่าจ้างค้างจ่าย อายุงาน และค่าจ้างอัตราสุดท้ายไว้อย่างชัดแจ้งแล้ว เมื่อจำเลยไม่ให้การปฏิเสธก็ต้องถือว่าจำเลยยอมรับว่าโจทก์มีอายุงาน ค่าจ้างอัตราสุดท้ายและค่าจ้างค้างจ่ายตามฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
แม้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 37 วรรคสอง จะให้สิทธิแก่จำเลยที่จะยื่นคำให้การหรือไม่ก็ได้ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยให้การเป็นหนังสือแล้วก็ต้องเป็นไปตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เมื่อจำเลยไม่ได้ให้การโดยชัดแจ้งในข้อใดย่อมถือว่าจำเลยให้การรับในข้อนั้นแล้ว
จำเลยให้การว่า จำเลยไม่เคยรับที่จะจ่ายเงินโบนัสให้แก่โจทก์ตามฟ้องเนื่องจากมิได้เป็นลูกจ้างของจำเลย เท่ากับจำเลยให้การปฏิเสธในประเด็นนี้โดยชัดแจ้งแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องนำสืบให้ได้ความตามฟ้อง เมื่อโจทก์ไม่นำสืบในประเด็นนี้ประกอบกับสัญญาจ้างงานระบุว่า ในระหว่างที่ยังมิได้มีการจดทะเบียนจัดตั้งธนาคาร จ. เป็นนิติบุคคล โจทก์ทั้งสิบสามจะได้รับสิทธิประโยชน์ สวัสดิการต่าง ๆ ของจำเลยในส่วนที่มิได้ระบุไว้ในสัญญานี้ ยกเว้นเรื่องการจ่ายเงินโบนัสจะเป็นไปตามประกาศของโครงการธนาคาร จ. จนกว่าจะมีการจัดตั้งธนาคาร จ. เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โจทก์จึงจะได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการต่าง ๆ ตามระเบียบข้อบังคับของธนาคาร จ. แสดงว่า โจทก์จะได้รับเงินโบนัสต่อเมื่อมีการจัดตั้งธนาคาร จ. เสร็จเรียบร้อยแล้ว เมื่อไม่อาจจัดตั้งธนาคารดังกล่าวได้ ประกอบกับระเบียบข้อบังคับของจำเลยไม่ได้กำหนดให้มีการจ่ายเงินโบนัสแก่พนักงานโจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินโบนัส
จำเลยอุทธรณ์ว่า พระราชกฤษฎีกาการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2540บัญญัติให้องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินจัดการชำระบัญชีรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยออกประมูลเพื่อแบ่งให้แก่เจ้าหนี้ทุกราย โจทก์ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้เฉลี่ยกับเจ้าหนี้ทุกราย แต่โจทก์ไม่ปฏิบัติตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว โดยใช้สิทธิไม่สุจริตยื่นฟ้องคดีนี้จึงไม่ชอบ แม้จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ในประเด็นข้อนี้อันเป็นเรื่องอำนาจฟ้องไว้ในชั้นพิจารณาของศาลแรงงานก็ตาม แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยย่อมยกขึ้นอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคสอง ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
พระราชกฤษฎีกาการปฏิรูปสถาบันการเงิน พ.ศ. 2540 มีบทบัญญัติห้ามฟ้องไว้แต่เฉพาะในมาตรา 26 โดยห้ามมิให้บุคคลใดฟ้องบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการและสถาบันการเงินที่เกี่ยวข้องเป็นคดีล้มละลายในระหว่างดำเนินการตามแผนเพื่อการแก้ไขฟื้นฟูที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการองค์การเท่านั้นเมื่อคดีนี้ไม่ใช่คดีล้มละลาย โจทก์จึงไม่ต้องห้ามฟ้องคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6630/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผู้รับมอบอำนาจให้การแทนจำเลยในคดีแรงงาน และการวินิจฉัยคดีโดยไม่มีข้อเท็จจริงสนับสนุน
ใบมอบอำนาจที่จำเลยยื่นต่อศาลแรงงานได้ระบุไว้ชัดแจ้งว่าป. ผู้มีอำนาจลงนามแทนจำเลยมอบอำนาจให้ ย.เป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยเกี่ยวกับการพิจารณาและการสืบพยานโจทก์ที่ศาลแรงงาน เมื่อคำให้การเป็นกระบวนพิจารณาอย่างหนึ่งและเป็นส่วนหนึ่งของการพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 (8)ย.จึงมีอำนาจให้การด้วยวาจากต่อศาลแรงงานได้
การห้ามมิให้ว่าความอย่างทนายความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 60หมายถึงห้ามมิให้ผู้รับมอบอำนาจซักถามพยานในศาลอย่างทนายความเท่านั้น แต่มิได้ห้ามมิให้ผู้รับมอบอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างอื่นต่อศาล
การยื่นคำให้การหรือการให้การด้วยวาจาต่อศาลแรงงาน เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างหนึ่งที่มิใช่เป็นการว่าความอย่างทนายความ ย.ผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยจึงมีอำนาจให้การด้วยวาจาต่อศาลแทนจำเลยได้ และเมื่อเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่อยู่ในขอบอำนาจที่ได้รับมอบอำนาจจากจำเลย ศาลแรงงานจึงรับคำให้การด้วยวาจาของ ย.ไว้พิจารณาได้
จำเลยให้การด้วยวาจา ศาลแรงงานได้บันทึกไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาว่า จำเลยได้ค้างจ่ายค่าจ้างโจทก์ และจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์โดยยังไม่ได้จ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ตามที่โจทก์ฟ้องจริง แต่ตามคำให้การที่ศาลบันทึกไว้ดังกล่าว จำเลยมิได้ยอมรับว่าเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์ไม่ได้กระทำความผิด กรณีจะถือว่าจำเลยไม่ได้ให้การโดยแจ้งชัดว่าปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ที่ว่าโจทก์ไม่ได้กระทำความผิด และจะนำ ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง มาใช้อย่างเคร่งครัดในกรณีเช่นนี้ไม่ได้ เพราะศาลแรงงานเป็นผู้บันทึกคำให้การจำเลยไว้เอง
เมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติไม่ได้ว่า จำเลยยอมรับว่าเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์ไม่ได้กระทำความผิดตามคำฟ้อง การที่ศาลแรงงานสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลยแล้ววินิจฉัยว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์ไม่ได้กระทำความผิด จึงเป็นการวินิจฉัยโดยไม่มีข้อเท็จจริงดังกล่าวในสำนวน เป็นการไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 51 วรรคหนึ่ง
คดีแรงงานเป็นคดีมีลักษณะพิเศษอันควรระงับลงได้ด้วยความเข้าใจอันดีต่อกันดังที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 38 วรรคหนึ่ง เมื่อไม่ปรากฏว่าศาลแรงงานได้ไกล่เกลี่ยให้โจทก์จำเลยได้ตกลงกันหรือประนีประนอมยอมความกัน ศาลฎีกาจึงให้ศาลแรงงานดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ตั้งแต่การไกล่เกลี่ยโจทก์จำเลยตามมาตรา 38 เป็นต้นไปแล้วมีคำสั่งหรือคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6630/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผู้รับมอบอำนาจดำเนินคดีแรงงาน & การวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่ไม่ชัดเจน
ใบมอบอำนาจที่จำเลยยื่นต่อศาลแรงงานได้ระบุไว้ชัดแจ้งว่า ป. ผู้มีอำนาจลงนามแทนจำเลยมอบอำนาจให้ ย. เป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยเกี่ยวกับการพิจารณาและการสืบพยานโจทก์ที่ศาลแรงงาน เมื่อคำให้การเป็นกระบวนพิจารณาอย่างหนึ่งและเป็นส่วนหนึ่งของการพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(8) ย. จึงมีอำนาจให้การด้วยวาจาต่อศาลแรงงานได้
การห้ามมิให้ว่าความอย่างทนายความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 60 หมายถึงห้ามมิให้ผู้รับมอบอำนาจซักถามพยานในศาลอย่างทนายความเท่านั้น แต่มิได้ห้ามมิให้รับมอบอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างอื่นต่อศาล
การยื่นคำให้การหรือการให้การด้วยวาจาต่อศาลแรงงาน เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างหนึ่งที่มิใช่เป็นการว่าความอย่างทนายความ ย. ผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยจึงมีอำนาจให้การด้วยวาจาต่อศาลแทนจำเลยได้ และเมื่อเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่อยู่ในขอบอำนาจที่ได้รับมอบอำนาจจากจำเลย ศาลแรงงานจึงรับคำให้การด้วยวาจาของ ย. ไว้พิจารณาได้
จำเลยให้การด้วยวาจา ศาลแรงงานได้บันทึกไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาว่า จำเลยได้ค้างจ่ายค่าจ้างโจทก์ และจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์โดยยังไม่ได้จ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ตามที่โจทก์ฟ้องจริง แต่ตามคำให้การที่ศาลบันทึกไว้ดังกล่าว จำเลยมิได้ยอมรับว่าเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์ไม่ได้กระทำความผิด กรณีจะถือว่าจำเลยไม่ได้ให้การโดยแจ้งชัดว่าปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ที่ว่าโจทก์ไม่ได้กระทำความผิด และจะนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง มาใช้อย่างเคร่งครัดในกรณีเช่นนี้ไม่ได้ เพราะศาลแรงงานเป็นผู้บันทึกคำให้การจำเลยไว้เอง
เมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติไม่ได้ว่า จำเลยยอมรับว่าเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์ไม่ได้กระทำความผิดตามคำฟ้อง การที่ศาลแรงงานสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลยแล้ววินิจฉัยว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์ไม่ได้กระทำความผิด จึงเป็นการวินิจฉัยโดยไม่มีข้อเท็จจริงดังกล่าวในสำนวน เป็นการไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 51 วรรคหนึ่ง
คดีแรงงานเป็นคดีมีลักษณะพิเศษอันควรระงับลงได้ด้วยความเข้าใจอันดีต่อกันดังที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 38 วรรคหนึ่ง เมื่อไม่ปรากฏว่าศาลแรงงานได้ไกล่เกลี่ยให้โจทก์จำเลยได้ตกลงกันหรือประนีประนอมยอมความกัน ศาลฎีกาจึงให้ศาลแรงงานดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ตั้งแต่การไกล่เกลี่ยโจทก์จำเลยตามมาตรา 38 เป็นต้นไป แล้วมีคำสั่งหรือคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4812/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสินบนของลูกจ้างส่งผลถึงการเลิกจ้าง และข้อจำกัดในการอุทธรณ์ข้อเท็จจริง
ที่โจทก์อุทธรณ์ข้อแรกว่า ข้อเท็จจริงที่ฟังมาเป็นยุติว่า เงินที่โจทก์ได้รับจาก จ. เดือนละ 3,000 บาท ไม่ใช่เงินของจำเลย และจำเลยจ่ายเงินค่ารับส่งพนักงานในจำนวนที่ต่ำลง การกระทำของโจทก์จึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ของจำเลยหาใช่เป็นการแสวงหาประโยชน์สำหรับตัวโจทก์หรือผู้อื่นไม่ จะถือว่าการกระทำของโจทก์เป็นการกระทำโดยทุจริตต่อหน้าที่และฝ่าฝืนข้อบังคับในการทำงานเป็นกรณีร้ายแรงไม่ได้นั้น มีความหมายว่า โจทก์อ้างว่าไม่ได้ทุจริตต่อหน้าที่เพราะการที่โจทก์รับเงินจากจ.ไม่เป็นการรับไว้เพื่อแสวงหาประโยชน์สำหรับโจทก์หรือผู้อื่น แต่เพื่อแสวงหาประโยชน์แก่จำเลยโดยเฉพาะ อันเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานรับฟังมาว่าโจทก์รับเงินไว้โดยทราบดีว่า จ.จ่ายเงินแก่โจทก์เพราะมีความประสงค์ให้โจทก์อำนวยความสะดวกในการประมูลรถรับส่งพนักงานต่อไป ซึ่งเป็นกรณีที่โจทก์รับเงินไว้โดยมิชอบเพื่อประโยชน์แก่โจทก์เองหรือผู้อื่น และที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ทำให้จำเลยจ่ายเงินค่ารับส่งพนักงานในจำนวนที่ต่ำลง ก็เป็นการยกข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาศาลแรงงานเพียงบางส่วนขึ้นอ้าง ซึ่งนี้ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงมาว่า หาก จ.ไม่ต้องจ่ายเงินแก่โจทก์เงินที่ต้องใช้ในการประมูลรถรับส่งพนักงานจะมีจำนวนต่ำลง การรับเงินของโจทก์จากบุคคลดังกล่าวจึงมีผลกระทบทำให้จำเลยต้องเสียเงินในส่วนที่ไม่จำเป็นไป อันเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงอีกประการหนึ่ง อุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงทั้งสิ้น ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ตามหนังสือเลิกจ้างข้อความว่า จำเลยมีความจำเป็นต้องเลิกจ้างโจทก์ โดยจำเลยพิจารณาแล้วเห็นว่าการปฏิบัติงานของโจทก์ไม่เป็นที่น่าไว้วางใจ และโจทก์ได้กระทำความผิดในเรื่องการรับสินบนจากผู้รับจ้างกับผู้ประกอบการรับ - ส่งพนักงาน ซึ่งทำให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงเกี่ยวกับการคัดเลือกผู้รับจ้างมีความหมายว่า เหตุที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์กระทำผิดในเรื่องการรับเงินจากผู้ที่โจทก์มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการทำงานและมีผลทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย ซึ่งเท่ากับจำเลยอ้างเหตุว่าโจทก์กระทำการทุจริตต่อหน้าที่และฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอย่างร้ายแรงนั่นเอง การที่ศาลแรงงานยกเหตุในการเลิกจ้างดังกล่าวขึ้นมาวินิจฉัยจึงชอบด้วย พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานพ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคสามแล้ว
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยจ้างโจทก์เป็นลูกจ้างทำหน้าที่ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายบุคคล จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์มิได้กระทำความผิดและไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้า เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม โจทก์ทำงานติดต่อกันเกินกว่า 1 ปี แต่ไม่ครบ3 ปี จึงมีสิทธิได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน เป็นเงิน 39,390บาท สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นเงิน 13,567.66 บาท และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมเป็นเงิน 40,000 บาท ขอให้บังคับจำเลยจ่ายเงินดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ในค่าชดเชยนับแต่วันเลิกจ้าง และในสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้ากับค่าเสียหายนับแต่วันฟ้อง จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
จำเลยให้การว่า โจทก์มีหน้าที่เกี่ยวกับการจัดสวัสดิการพนักงานของจำเลยและรับสมัครบุคคลเข้าทำงานกับจำเลย โจทก์เรียกรับเงินจากห้างหุ้นส่วนจำกัดจันทร์สุดาการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นผู้รับส่งพนักงานของจำเลย เดือนละ 3,000บาท และเรียกเงินจากผู้สมัครงานกับจำเลยคนละ 1,000 บาท เป็นการทุจริตต่อหน้าที่ทำให้จำเลยเสียหาย จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายเงินใด ๆ ให้โจทก์ขอให้ยกฟ้อง
ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า โจทก์ทำงานในตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายบุคคล มีหน้าที่ในการติดต่อบุคคลภายนอกให้เข้าทำสัญญารับส่งพนักงานกับจำเลยแต่กลับรับเงินจากห้างหุ้นส่วนจำกัดจันทร์สุดาการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นผู้เข้ามารับจ้างรับส่งพนักงาน โดยโจทก์ทราบดีว่า เหตุที่ห้างหุ้นส่วนจำกัดจันทร์สุดาการท่องเที่ยวจ่ายเงินให้ก็เพื่อต้องการให้โจทก์อำนวยความสะดวกในการประมูลรถและชนะการประมูลได้เป็นผู้รับจ้างรับส่งพนักงานต่อไป และที่โจทก์รับเงินเนื่องจากโจทก์อยู่ในหน้าที่ต้องจัดหาผู้เข้ามารับส่งพนักงานในแต่ละปี และคอยดูแลความเรียบร้อยในเรื่องดังกล่าว การรับเงินของโจทก์จึงเป็นการรับเงินโดยอาศัยงานในหน้าที่ อันเป็นการได้รับมาโดยไม่สมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่และอาจส่งผลกระทบทำให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างเสียประโยชน์ การกระทำของโจทก์จึงเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ และเป็นกรณีฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอย่างร้ายแรง การเลิกจ้างของจำเลยจึงไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและไม่ต้องจ่ายเงินตามฟ้อง พิพากษายกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่า ที่โจทก์อุทธรณ์ข้อแรกว่าข้อเท็จจริงที่ฟังมาเป็นยุติว่า เงินที่โจทก์ได้รับจากห้างหุ้นส่วนจำกัดจันทร์สุดาการท่องเที่ยวเดือนละ 3,000 บาท ไม่ใช่เงินของจำเลย และจำเลยจ่ายเงินค่ารับส่งพนักงานในจำนวนที่ต่ำลง การกระทำของโจทก์จึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ของจำเลยหาใช่เป็นการแสวงหาประโยชน์สำหรับตัวโจทก์หรือผู้อื่นไม่ จะถือว่าการกระทำของโจทก์ เป็นการกระทำโดยทุจริตต่อหน้าที่และฝ่าฝืนข้อบังคับในการทำงานเป็นกรณีร้ายแรงไม่ได้นั้น เห็นว่า อุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวมีความหมายว่า โจทก์อ้างว่าไม่ได้ทุจริตต่อหน้าที่เพราะการที่โจทก์รับเงินจากห้างหุ้นส่วนจำกัดจันทร์สุดาการท่องเที่ยวไม่เป็นการรับไว้เพื่อแสวงหาประโยชน์สำหรับโจทก์หรือผู้อื่น แต่เพื่อแสวงหาประโยชน์แก่จำเลยโดยเฉพาะ อันเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางรับฟังมาว่าโจทก์รับเงินไว้โดยทราบดีว่าห้างหุ้นส่วนจำกัดจันทร์สุดาการท่องเที่ยวจ่ายเงินแก่โจทก์เพราะมีความประสงค์ให้โจทก์อำนวยความสะดวกในการประมูลรถรับส่งพนักงานต่อไปซึ่งเป็นกรณีที่โจทก์รับเงินไว้โดยมิชอบเพื่อประโยชน์แก่โจทก์เองหรือผู้อื่น และที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ทำให้จำเลยจ่ายเงินค่ารับส่งพนักงานในจำนวนที่ต่ำลง ก็เป็นการยกข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลางเพียงบางส่วนขึ้นอ้าง ซึ่งเรื่องนี้ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า หากห้างหุ้นส่วนจำกัดจันทร์สุดาการท่องเที่ยวไม่ต้องจ่ายเงินแก่โจทก์ เงินที่ต้องใช้ในการประมูลรถรับส่งพนักงานจะมีจำนวนต่ำลง การรับเงินของโจทก์จากบุคคลดังกล่าวจึงมีผลกระทบทำให้จำเลยต้องเสียเงินในส่วนที่ไม่จำเป็นไป อันเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงอีกประการหนึ่ง อุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงทั้งสิ้น ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ส่วนที่โจทก์อุทธรณ์ข้อสุดท้ายว่า หนังสือเลิกจ้างโจทก์ไม่ได้ระบุเหตุเลิกจ้างว่าโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่และฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอย่างร้ายแรง ศาลแรงงานกลางจึงไม่อาจหยิบยกเรื่องโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่และฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอย่างร้ายแรงขึ้นมาวินิจฉัยให้จำเลยได้นั้น เห็นว่า ตามหนังสือเลิกจ้างเอกสารหมาย จ.1 ระบุข้อความว่า จำเลยมีความจำเป็นต้องเลิกจ้างโจทก์ โดยจำเลยพิจารณาแล้วเห็นว่าการปฏิบัติงานของโจทก์ไม่เป็นที่น่าไว้วางใจ และโจทก์ได้กระทำความผิดในเรื่องการรับสินบนจากผู้รับจ้างกับผู้ประกอบการรับ - ส่งพนักงาน ซึ่งทำให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงเกี่ยวกับการคัดเลือกผู้รับจ้าง หนังสือดังกล่าวมีความหมายว่า เหตุที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์กระทำผิดในเรื่องการรับเงินจากผู้ที่โจทก์มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการทำงานและมีผลทำให้จำเลยได้รับความเสียหายซึ่งเท่ากับจำเลยอ้างเหตุว่าโจทก์กระทำการทุจริตต่อหน้าที่และฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอย่างร้ายแรงนั่นเอง ที่ศาลแรงงานกลางยกเหตุในการเลิกจ้างดังกล่าวขึ้นมาวินิจฉัยจึงชอบด้วยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา17 วรรคสามแล้ว
พิพากษายืน.
(เสรี ชุณหถนอม - พิมล สมานิตย์ - มงคล คุปต์กาญจนากุล)ศาลแรงงานกลาง นายอิศรา วรรณสวาท
นายอนันต์ ชุมวิสูตร - ตรวจ
นายเกษมสันต์ วิลาวรรณ - ผู้ช่วยผู้พิพากษาฯ
นายเอกศักดิ์ ยันตรปกรณ์ - ย่อ
รุจิรา พิมพ์/ทาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4812/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมจากกรณีทุจริตต่อหน้าที่และการรับสินบน ศาลฎีกายืนตามคำพิพากษาศาลแรงงาน
ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ข้อเท็จจริงที่ฟังมาเป็นยุติว่า เงินที่โจทก์ได้รับจาก จ. เดือนละ 3,000 บาท ไม่ใช่เงินของจำเลย และจำเลยจ่ายเงินค่ารับส่งพนักงานในจำนวนที่ต่ำลง การกระทำของโจทก์จึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ของจำเลย หาใช่เป็นการแสวงหาประโยชน์สำหรับตัวโจทก์หรือผู้อื่นไม่ จะถือว่าการกระทำของโจทก์เป็นการกระทำโดยทุจริตต่อหน้าที่และฝ่าฝืนข้อบังคับในการทำงานเป็นกรณีร้ายแรงไม่ได้นั้น มีความหมายว่า โจทก์อ้างว่าไม่ได้ทุจริตต่อหน้าที่เพราะการที่โจทก์รับเงินจาก จ. ไม่เป็นการรับไว้เพื่อแสวงหาประโยชน์สำหรับโจทก์หรือผู้อื่น แต่เพื่อแสวงหาประโยชน์แก่จำเลยโดยเฉพาะอันเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานรับฟังมาว่า โจทก์รับเงินไว้โดยทราบดีว่า จ. จ่ายเงินแก่โจทก์เพราะมีความประสงค์ให้โจทก์อำนวยความสะดวกในการประมูลรถรับส่งพนักงานต่อไป ซึ่งเป็นกรณีที่โจทก์รับเงินไว้โดยมิชอบเพื่อประโยชน์แก่โจทก์เองหรือผู้อื่น และที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ทำให้จำเลยจ่ายเงินค่ารับส่งพนักงานในจำนวนที่ต่ำลง ก็เป็นการยกข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาศาลแรงงานเพียงบางส่วนขึ้นอ้าง ซึ่งข้อนี้ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงมาว่า หาก จ. ไม่ต้องจ่ายเงินแก่โจทก์ เงินที่ต้องใช้ในการประมูลรถรับส่งพนักงานจะมีจำนวนต่ำลง การรับเงินของโจทก์จากบุคคลดังกล่าวจึงมีผลกระทบทำให้จำเลยต้องเสียเงินในส่วนที่ไม่จำเป็นไป อุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวล้วนเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงทั้งสิ้น ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
ตามหนังสือเลิกจ้างข้อความว่า จำเลยมีความจำเป็นต้องเลิกจ้างโจทก์โดยจำเลยพิจารณาแล้วเห็นว่าการปฏิบัติงานของโจทก์ไม่เป็นที่น่าไว้วางใจและโจทก์ได้กระทำความผิดในเรื่องการรับสินบนจากผู้รับจ้างกับผู้ประกอบการรับ-ส่งพนักงาน ซึ่งทำให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงเกี่ยวกับการคัดเลือกผู้รับจ้าง มีความหมายว่า เหตุที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์กระทำผิดในเรื่องการรับเงินจากผู้ที่โจทก์มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการทำงานและมีผลทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย ซึ่งเท่ากับจำเลยอ้างเหตุว่าโจทก์กระทำการทุจริตต่อหน้าที่และฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอย่างร้ายแรงนั่นเอง การที่ศาลแรงงานยกเหตุในการเลิกจ้างดังกล่าวขึ้นมาวินิจฉัยชอบด้วยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคสาม แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2132/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยนอกประเด็นข้อพิพาทในคดีแรงงาน และการรับฟังพยานหลักฐานของศาล
โจทก์ฟ้องเรียกเงินกองทุนเลี้ยงชีพในส่วนของจำเลยที่สะสมไว้ให้แก่โจทก์ จำเลยให้การต่อสู้ว่า เงินกองทุนเลี้ยงชีพที่โจทก์ฟ้อง จำเลยได้จ่ายให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยได้จ่ายเงินกองทุนเลี้ยงชีพในส่วนของจำเลยให้แก่โจทก์แล้วหรือไม่ การที่ศาลแรงงานวินิจฉัยว่าการกระทำผิดของโจทก์เป็นเหตุให้โจทก์ไม่มีสิทธิรับเงินสมทบกองทุนเลี้ยงชีพในส่วนของจำเลยอันเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นตามคำให้การของจำเลย ย่อมเป็นการมิชอบ ศาลฎีกาให้ยกคำพิพากษาศาลแรงงาน และให้ศาลแรงงานวินิจฉัยข้อเท็จจริงตามประเด็นดังกล่าวข้างต้นใหม่
โจทก์ฟ้องเรียกเงินโบนัสจากจำเลยในปี 2540 ส่วนที่ขาดอีกครึ่งหนึ่งของเงินโบนัสคิดเท่าเงินเดือนของโจทก์จำนวน 2.65 เดือน เป็นเงิน40,582 บาท พร้อมดอกเบี้ย จำเลยให้การว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยการปลดออกจากงานฐานทุจริตต่อหน้าที่ซึ่งเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรมแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเงินโบนัสจากจำเลย คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทต้องวินิจฉัยว่า โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินโบนัสเนื่องจากโจทก์ถูกปลดออกจากงานฐานทุจริตต่อหน้าที่หรือไม่ การที่ศาลแรงงานวินิจฉัยว่า โจทก์ถูกเลิกจ้างเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2540 จึงทำงานไม่ครบปีหรือตามเกณฑ์ที่จำเลยกำหนด โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินโบนัสครึ่งปีหลังของปี2540 จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นตามคำให้การ เป็นการมิชอบ ศาลแรงงานจำต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงตามประเด็นดังกล่าวข้างต้นใหม่เช่นเดียวกัน
ตามมาตรา 44 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงที่สมบูรณ์ การอ้างและการยื่นบัญชีระบุพยานของคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งให้กระทำได้ภายในระยะเวลาที่ศาลแรงงานกำหนดตามที่เห็นสมควร แม้คดีนี้จำเลยสืบพยานบุคคลปาก อ. โดยยื่นบัญชีระบุพยาน ศาลแรงงานได้บันทึกคำให้การของ อ. ที่เบิกความถึงเอกสารหมาย ล.7 ซึ่งศาลแรงงานได้รับเอกสารดังกล่าวที่จำเลยอ้างส่งศาล และหมายเอกสารดังกล่าวไว้ แล้วระบุเอกสารให้แยกเก็บ โดยจำเลยนำสืบพยานเอกสารดังกล่าวโดยไม่ส่งสำเนาให้โจทก์ก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน ก็ตามแต่การที่ศาลแรงงานรับเอกสารดังกล่าวไว้หมาย ล.7 และได้วินิจฉัยถึงเอกสารดังกล่าวในคำพิพากษา แสดงว่าศาลแรงงานเห็นว่า เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมในอันที่จะให้ได้ความแจ้งชัดในข้อเท็จจริงแห่งคดี จึงรับฟังเอกสารหมาย ล.7 โดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 45 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นบทบัญญัติให้ใช้ในการพิจารณาคดีแรงงานโดยเฉพาะการที่ศาลแรงงานกลางรับฟังข้อเท็จจริงตามเอกสารหมาย ล.7 จึงไม่ขัดต่อ ป.วิ.พ.มาตรา 90 วรรคหนึ่ง
จำเลยให้การว่า โจทก์มีหน้าที่ในการประเมินราคาทรัพย์สินของลูกค้าจำเลย โจทก์ได้เรียกและรับเงินจากลูกค้าโดยไม่มีสิทธิ การกระทำของโจทก์เป็นการทุจริตต่อหน้าที่โดยอาศัยอำนาจหน้าที่ที่โจทก์มีอยู่หาประโยชน์แก่ตนเองหรือผู้อื่นอันเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับหรือคำสั่งของจำเลยอย่างร้ายแรง จำเลยมีอำนาจเลิกจ้างโจทก์ได้ จะเห็นได้ว่า จำเลยได้ให้การปฏิเสธคำฟ้องของโจทก์ โดยกล่าวอ้างสาเหตุว่าโจทก์กระทำการเรียกและรับเงินจากลูกค้าโดยไม่ชอบ อันเป็นการกระทำที่ทุจริตต่อหน้าที่ เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของจำเลยอย่างร้ายแรง ถือได้ว่าเป็นการให้การปฏิเสธคำฟ้องของโจทก์โดยชัดแจ้งว่าจำเลยมีเหตุที่จะเลิกจ้างโจทก์ได้มิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งโจทก์ ทั้งได้อ้างสาเหตุแห่งการเลิกจ้างครบถ้วนแล้ว ส่วนการที่โจทก์เรียกเงินจากลูกค้ารายใด โจทก์รับเงินอย่างใด จำนวนกี่ราย เป็นรายละเอียดที่จำเลยมีสิทธินำสืบพยานได้ในชั้นพิจารณาคำให้การดังกล่าวของจำเลยจึงเป็นคำให้การที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2132/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบพยานหลักฐานที่ไม่เปิดเผยก่อนสืบพยาน และการให้เหตุผลที่ไม่ชัดเจนในการวินิจฉัยคดีแรงงาน
โจทก์ฟ้องเรียกเงินกองทุนเลี้ยงชีพในส่วนของ จำเลยที่สะสมไว้ให้แก่โจทก์ จำเลยให้การต่อสู้ว่า เงินกองทุนเลี้ยงชีพที่โจทก์ฟ้อง จำเลยได้จ่ายให้แก่โจทก์ ครบถ้วนแล้ว คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยได้จ่าย เงินกองทุนเลี้ยงชีพในส่วนของจำเลยให้แก่โจทก์แล้วหรือไม่ การที่ศาลแรงงานวินิจฉัยว่าการกระทำผิดของโจทก์ เป็นเหตุให้โจทก์ไม่มีสิทธิรับเงินสมทบกองทุนเลี้ยงชีพ ในส่วนของจำเลยอันเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นตามคำให้การ ของจำเลย ย่อมเป็นการมิชอบ ศาลฎีกาให้ยกคำพิพากษาศาลแรงงาน และให้ศาลแรงงานวินิจฉัยข้อเท็จจริงตามประเด็นดังกล่าว ข้างต้นใหม่ โจทก์ฟ้องเรียกเงินโบนัสจากจำเลยในปี 2540 ส่วนที่ขาดอีก ครึ่งหนึ่งของเงินโบนัสคิดเท่าเงินเดือนของโจทก์จำนวน 2.65 เดือน เป็นเงิน 40,582 บาท พร้อมดอกเบี้ย จำเลยให้การว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยการปลดออกจากงานฐานทุจริต ต่อหน้าที่ซึ่งเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรมแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิ เรียกเงินโบนัสจากจำเลย คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทต้อง วินิจฉัยว่า โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินโบนัสเนื่องจากโจทก์ถูกปลดออกจากงานฐานทุจริตต่อหน้าที่หรือไม่ การที่ ศาลแรงงานวินิจฉัยว่า โจทก์ถูกเลิกจ้างเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2540 จึงทำงานไม่ครบปีหรือตามเกณฑ์ ที่จำเลยกำหนด โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินโบนัสครึ่งปีหลัง ของปี 2540 จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นตามคำให้การ เป็นการมิชอบ ศาลแรงงานจำต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงตามประเด็น ดังกล่าวข้างต้นใหม่เช่นเดียวกัน ตามมาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและ วิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริง ที่สมบูรณ์ การอ้างและการยื่นบัญชีระบุพยานของคู่ความฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่งให้กระทำได้ภายในระยะเวลาที่ศาลแรงงานกำหนด ตามที่เห็นสมควร แม้คดีนี้จำเลยสืบพยานบุคคลปาก อ. โดยยื่นบัญชีระบุพยานไว้แล้วและศาลแรงงานได้บันทึกคำให้การ ของอ.ที่เบิกความถึงเอกสารหมาย ล.7 ซึ่งศาลแรงงานได้รับเอกสารดังกล่าวที่จำเลยอ้างส่งศาล และหมายเอกสาร ดังกล่าวไว้แล้วระบุเอกสารให้แยกเก็บ โดยจำเลยนำสืบพยาน เอกสารดังกล่าวโดยไม่ส่งสำเนาให้โจทก์ก่อนวันสืบพยาน ไม่น้อยกว่าเจ็ดวันก็ตาม แต่การที่ศาลแรงงานรับเอกสาร ดังกล่าวไว้และได้วินิจฉัยถึงเอกสารดังกล่าวในคำพิพากษา แสดงว่า ศาลแรงงานเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ในอันที่จะให้ได้ความแจ้งชัดในข้อเท็จจริงแห่งคดีจึงรับฟัง เอกสารหมาย ล.7 โดยอาศัยอำนาจตาม พระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 45 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นบทบัญญัติให้ใช้ในการพิจารณา คดีแรงงานโดยเฉพาะ เช่นนี้การที่ศาลแรงงานกลางรับฟังข้อเท็จจริงตามเอกสารหมาย ล.7 จึงไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90 วรรคหนึ่ง จำเลยให้การว่า โจทก์มีหน้าที่ในการประเมินราคาทรัพย์สิน ของลูกค้าจำเลย โจทก์ได้เรียกและรับเงินจากลูกค้า โดยไม่มีสิทธิ การกระทำของโจทก์เป็นการทุจริตต่อหน้าที่ โดยอาศัยอำนาจหน้าที่ที่โจทก์มีอยู่หาประโยชน์แก่ตนเอง หรือผู้อื่นอันเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับหรือคำสั่งของจำเลย อย่างร้ายแรง จำเลยมีอำนาจเลิกจ้างโจทก์ได้ ย่อมเห็นได้ว่า จำเลยได้ให้การปฏิเสธคำฟ้องของโจทก์โดยกล่าวอ้างสาเหตุว่าโจทก์กระทำการเรียกและรับเงินจากลูกค้าโดยไม่ชอบ อันเป็นการกระทำที่ทุจริตต่อหน้าที่ เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของจำเลยอย่างร้ายแรง ถือได้ว่าเป็นการให้การปฏิเสธคำฟ้องของโจทก์โดยชัดแจ้งว่าจำเลยมีเหตุที่จะเลิกจ้างโจทก์ได้มิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งโจทก์ ทั้งได้อ้างสาเหตุแห่งการเลิกจ้างครบถ้วนแล้ว ส่วนการที่ โจทก์เรียกเงินจากลูกค้ารายใด โจทก์รับเงินอย่างใด จำนวน กี่ราย เป็นรายละเอียดที่จำเลยมีสิทธินำสืบพยานได้ในชั้นพิจารณา คำให้การดังกล่าวของจำเลยจึงไม่เป็นคำให้การที่ขัดต่อกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2132/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยข้อพิพาทแรงงานเกี่ยวกับเงินกองทุนเลี้ยงชีพและโบนัส จำเป็นต้องพิจารณาประเด็นตามที่จำเลยให้การไว้
โจทก์ฟ้องเรียกเงินกองทุนเลี้ยงชีพในส่วนของจำเลยที่สะสมไว้ให้แก่โจทก์ จำเลยให้การต่อสู้ว่าเงินกองทุนเลี้ยงชีพที่โจทก์ฟ้อง จำเลยได้จ่ายให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยได้จ่ายเงินกองทุนเลี้ยงชีพในส่วนของจำเลยให้แก่โจทก์แล้วหรือไม่การที่ศาลแรงงานวินิจฉัยว่าการกระทำผิดของโจทก์เป็นเหตุให้โจทก์ไม่มีสิทธิรับเงินสมทบกองทุนเลี้ยงชีพในส่วนของจำเลย อันเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นตามคำให้การของจำเลย ย่อมเป็นการมิชอบ ศาลฎีกาให้ยกคำพิพากษาศาลแรงงาน และให้ศาลแรงงานวินิจฉัยข้อเท็จจริงตามประเด็นดังกล่าว ข้างต้นใหม่ โจทก์ฟ้องเรียกเงินโบนัสจากจำเลยในปี 2540ส่วนที่ขาดอีกครึ่งหนึ่งของเงินโบนัสคิดเท่าเงินเดือนของโจทก์จำนวน 2.65 เดือน เป็นเงิน 40,582 บาทพร้อมดอกเบี้ย จำเลยให้การว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยการ ปลดออกจากงานฐานทุจริตต่อหน้าที่ซึ่งเป็นการเลิกจ้าง ที่เป็นธรรมแล้วโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเงินโบนัสจากจำเลย คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทต้องวินิจฉัยว่า โจทก์ไม่มีสิทธิ ได้รับเงินโบนัสเนื่องจากโจทก์ถูกปลดออกจากงานฐานทุจริต ต่อ หน้าที่หรือไม่ การที่ศาลแรงงานวินิจฉัยว่า โจทก์ ถูกเลิกจ้างเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2540 จึงทำงานไม่ครบปีหรือตามเกณฑ์ที่จำเลยกำหนดโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงิน โบนัสครึ่งปีหลังของปี 2540 จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ตามคำให้การ เป็นการมิชอบ ศาลแรงงานจำต้องวินิจฉัย ข้อเท็จจริงตามประเด็นดังกล่าวข้างต้นใหม่เช่นเดียวกัน ตามมาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงที่สมบูรณ์ การอ้างและการยื่นบัญชีระบุพยานของคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งให้กระทำได้ภายในระยะเวลาที่ศาลแรงงานกำหนดตามที่เห็นสมควร แม้คดีนี้จำเลยสืบพยานบุคคลปาก อ.โดยยื่นบัญชีระบุพยาน ศาลแรงงานได้บันทึกคำให้การของ อ.ที่เบิกความถึงเอกสารหมาย ล.7 ซึ่งศาลแรงงานได้รับเอกสารดังกล่าวที่จำเลยอ้างส่งศาลและหมายเอกสารดังกล่าวไว้แล้วระบุเอกสารให้แยกเก็บ โดยจำเลยนำสืบพยานเอกสารดังกล่าว โดยไม่ส่งสำเนาให้โจทก์ก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวันก็ตาม แต่การที่ศาลแรงงานรับเอกสารดังกล่าวไว้หมาย ล.7 และได้วินิจฉัยถึงเอกสารดังกล่าวในคำพิพากษา แสดงว่า ศาลแรงงานเห็นว่า เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมในอันที่ จะให้ได้ความแจ้งชัดในข้อเท็จจริงแห่งคดีจึงรับฟังเอกสารหมาย ล.7 โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 45 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นบทบัญญัติให้ใช้ในการพิจารณาคดีแรงงานโดยเฉพาะการที่ศาลแรงงานรับฟังข้อเท็จจริงตามเอกสารหมาย ล.7 จึงไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90 วรรคหนึ่ง จำเลยให้การว่า โจทก์มีหน้าที่ในการประเมินราคาทรัพย์สิน ของลูกค้าจำเลย โจทก์ได้เรียกและรับเงินจากลูกค้าโดย ไม่มีสิทธิ การกระทำของโจทก์เป็นการทุจริตต่อหน้าที่ โดยอาศัยอำนาจหน้าที่ที่โจทก์มีอยู่หาประโยชน์แก่ตนเอง หรือผู้อื่น อันเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับหรือคำสั่ง ของจำเลยอย่างร้ายแรง จำเลยมีอำนาจเลิกจ้างโจทก์ได้ จะเห็นได้ว่า จำเลยได้ให้การปฏิเสธคำฟ้องของโจทก์ โดยกล่าวอ้างสาเหตุว่าโจทก์กระทำการเรียกและรับเงิน จากลูกค้าโดยไม่ชอบ อันเป็นการกระทำที่ทุจริตต่อหน้าที่เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของจำเลยอย่างร้ายแรงถือได้ว่าเป็นการให้การปฏิเสธคำฟ้องของโจทก์โดยชัดแจ้งว่า จำเลยมีเหตุที่จะเลิกจ้างโจทก์ได้ มิใช่เป็นการเลิกจ้าง ที่ไม่เป็นธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งโจทก์ ทั้งได้อ้างสาเหตุ แห่งการเลิกจ้างครบถ้วนแล้ว ส่วนการที่โจทก์เรียกเงิน จากลูกค้ารายใด โจทก์รับเงินอย่างใด จำนวนกี่ราย เป็นรายละเอียดที่จำเลยมีสิทธินำสืบพยานได้ในชั้นพิจารณา คำให้การดังกล่าวของจำเลยจึงเป็นคำให้การที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5764/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่อนุญาตแก้ไขคำให้การและการเลื่อนคดีในคดีแรงงาน ศาลฎีกาพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลแรงงาน
ศาลแรงงานสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยแก้ไขคำให้การ แม้มีผลเป็นการสั่งไม่รับคำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 228(3) จำเลยย่อมอุทธรณ์คำสั่งได้ทันทีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 228 วรรคสอง ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 แต่จำเลยอุทธรณ์คำสั่งศาลแรงงานดังกล่าวในระหว่างพิจารณาของศาลแรงงานเพื่อให้ศาลฎีกาสั่งให้ศาลแรงงานมีคำสั่งรับคำร้องขอแก้ไขคำให้การดังกล่าวของจำเลยไว้พิจารณานั้น เมื่อปรากฏว่าหลังจากศาลแรงงานสั่งเพิกถอนคำสั่งเดิมที่สั่งรับอุทธรณ์ข้อนี้ของจำเลยไว้ และมีคำสั่งใหม่เป็นไม่รับอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวของจำเลย และจำเลยได้อุทธรณ์ประเด็นข้อนี้รวมมากับอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลแรงงาน ซึ่งศาลแรงงานได้สั่งรับอุทธรณ์ข้อนี้ไว้แล้วศาลฎีกาเห็นควรวินิจฉัยอุทธรณ์ข้อนี้ให้ การที่จำเลยยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การโดยอ้างว่าเพิ่งตรวจพบเอกสารและได้รับแจ้งจากการไฟฟ้านครหลวงหลังจากจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามแล้วจึงขอเพิ่มเติมคำให้การว่าโจทก์ที่ 1 และที่ 3 จงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหายและขณะที่โจทก์ทั้งสามเป็นลูกจ้างจำเลย โจทก์ที่ 1 และที่ 3มาทำงานสายเป็นประจำอันเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ฟ้องโจทก์ทั้งสามเคลือบคลุมและโจทก์ทั้งสามได้ร้องต่อเจ้าหน้าที่แรงงานเขตบางเขน จึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้น เมื่อปรากฏว่าคดีนี้ข้อเท็จจริงเป็นยุติตามที่ศาลแรงงานรับฟังว่า อ. พยานจำเลยเป็นผู้แจ้งการเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามว่าเหตุที่จำเลยเลิกจ้างเนื่องจากจำเลยไม่มีงานให้โจทก์ทั้งสามทำ ดังนั้น ขณะจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามจำเลยมิได้ติดใจหรือถือว่าโจทก์ทั้งสามกระทำความผิดจำเลยย่อมไม่อาจยกเหตุซึ่งอ้างว่าเพิ่งทราบการกระทำความผิดของโจทก์ทั้งสามหลังจากเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามแล้วขึ้นเป็นข้อต่อสู้เพื่อให้จำเลยหลุดพ้นจากความรับผิดในการจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าได้ แม้ศาลฎีกาจะอนุญาตให้จำเลยแก้ไขคำให้การก็ไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงได้จึงไม่มีเหตุที่จะอนุญาตให้จำเลยแก้ไขคำให้การตามที่จำเลยอ้าง ศาลแรงงานไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีและงดสืบพยานจำเลยเนื่องจากจำเลยขอเลื่อนคดีมาหลายครั้งแล้ว ทั้งจำเลยเคยแถลงต่อศาลว่าจะสืบพยานจำเลยให้เสร็จภายในกำหนด หากไม่อาจสืบพยานได้ทันภายในกำหนดให้ถือว่าไม่ติดใจสืบพยานจำเลยอีกต่อไป อุทธรณ์ของจำเลยเช่นนี้เป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจของศาลแรงงานในการพิจารณาว่าสมควรจะอนุญาตให้เลื่อนคดีหรือไม่ จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4635/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหลังได้รับค่าชดเชย
ประเด็นต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยว่า หลังจากจำเลยเลิกจ้างโจทก์แล้วโจทก์ได้รับเงินต่าง ๆ จากจำเลยและโจทก์ทำบันทึกสละสิทธิในการที่จะเรียกร้องเงินหรือทรัพย์สินหรือข้อเรียกร้องอื่นใดตามกฎหมายต่อไปทั้งสิ้น โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมจากจำเลย เมื่อเป็นข้อที่จำเลยให้การต่อสู้ไว้ในคำให้การแล้ว แม้ศาลแรงงานกลางมิได้กำหนดไว้เป็นประเด็นโดยตรงว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ หรือการที่โจทก์ทำบันทึกสละสิทธิในการเรียกร้องเงินหรือทรัพย์สินหรือข้อเรียกร้องอื่นใดตามบันทึกดังกล่าวแล้ว โจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายตามฟ้องจากจำเลยอีกหรือไม่ก็ตาม แต่ศาลแรงงานกลางได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมหรือไม่ หากเลิกจ้างไม่เป็นธรรม สมควรที่จะให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานในตำแหน่งเดิมหรือให้ใช้ค่าเสียหายเพียงใด ดังนั้น ประเด็นที่ว่าให้ใช้ค่าเสียหายเพียงใดจึงเป็นประเด็นซึ่งครอบคลุมถึงข้อต่อสู้ดังกล่าวของจำเลยไว้ด้วยแล้ว
จำเลยอุทธรณ์เป็นข้อกฎหมายซึ่งศาลแรงงานมิได้นำมาวินิจฉัยแต่เมื่อข้อเท็จจริงตามที่ศาลแรงงานฟังมาพอแก่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายแล้วศาลฎีกาจึงเห็นสมควรวินิจฉัยไปโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางพิพากษาใหม่ ข้อเท็จจริงตามที่ศาลแรงงานกลางฟังเป็นยุติว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์และจำเลยจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้าง7 เดือน เป็นเงิน เงินช่วยเหลือจำนวน 300,000 บาท และเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจำนวน 872,374 บาท ให้แก่โจทก์แล้ว และโจทก์ได้ทำหนังสือรับเงินชดเชยค่าตอบแทนในการเลิกจ้างให้ไว้แก่จำเลยระบุว่า โจทก์ขอสละสิทธิในการที่จะเรียกร้องเงินหรือทรัพย์สินหรือข้อเรียกร้องอื่นใดตามกฎหมายต่อไปทั้งสิ้น เมื่อค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามที่โจทก์ฟ้องคดีนี้เป็นเงินตามกฎหมายอย่างหนึ่ง แต่มิใช่เป็นเงินค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน โจทก์ย่อมสละเงินดังกล่าวได้ การที่โจทก์ทำบันทึกสละสิทธิในการเรียกร้องเงินดังกล่าวย่อมมีผลผูกพันโจทก์โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายตามฟ้องจากจำเลยอีก
of 15