พบผลลัพธ์ทั้งหมด 141 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2621/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานทุจริตต่อหน้าที่จากการรับงานนอกและเบียดบังทรัพย์สินของนายจ้าง
จำเลยได้ให้การด้วยวาจาต่อสู้คดีว่าโจทก์ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย รับงานนอกมาทำในระหว่างการทำงานโดยใช้อุปกรณ์ของจำเลย แม้จะมิได้ระบุว่าฝ่าฝืนในข้อใด แต่จำเลยก็ได้บรรยายการกระทำของโจทก์ชัดเจนอยู่ในตัวพอที่จะปรับกับระเบียบข้อบังคับของจำเลยได้ว่า การกระทำของโจทก์เป็นการทุจริตต่อหน้าที่หรือไม่
โจทก์ทำงานออกแบบเสื้อให้จำเลย โดยหน้าที่โจทก์ย่อมต้องปฏิบัติงานให้จำเลยในระหว่างทำงานให้ลุล่วงไปตามสมควรเพื่อหวังให้เกิดผลคุ้มค่ากับค่าจ้างที่จำเลยจ่ายให้เป็นการตอบแทน การที่โจทก์รับงานนอกเข้ามาทำในระหว่างทำงานโดยใช้อุปกรณ์ของจำเลยอันได้แก่ พู่กัน สี และกระดาษเป็นการเบียดบังทั้งเวลาและทรัพย์สินของจำเลยโดยมิชอบต่อหน้าที่เพื่อแสวงหาประโยชน์สำหรับตนเอง จำเลยย่อมได้รับความเสียหาย การกระทำของโจทก์ถือได้ว่าเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์ทำงานออกแบบเสื้อให้จำเลย โดยหน้าที่โจทก์ย่อมต้องปฏิบัติงานให้จำเลยในระหว่างทำงานให้ลุล่วงไปตามสมควรเพื่อหวังให้เกิดผลคุ้มค่ากับค่าจ้างที่จำเลยจ่ายให้เป็นการตอบแทน การที่โจทก์รับงานนอกเข้ามาทำในระหว่างทำงานโดยใช้อุปกรณ์ของจำเลยอันได้แก่ พู่กัน สี และกระดาษเป็นการเบียดบังทั้งเวลาและทรัพย์สินของจำเลยโดยมิชอบต่อหน้าที่เพื่อแสวงหาประโยชน์สำหรับตนเอง จำเลยย่อมได้รับความเสียหาย การกระทำของโจทก์ถือได้ว่าเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5076/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอำนาจและการไต่สวนเหตุจำเป็นในการไม่สามารถมาศาลได้ในคดีแรงงาน
ในวันนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ของศาลแรงงานกลางจำเลยมอบอำนาจให้ พ. มาชี้แจงข้อเท็จจริงแก้ข้อกล่าวหาของโจทก์ แต่ พ.มีความจำเป็นต้องไปตามคำสั่งของเจ้าพนักงานตำรวจ จำเลยจึงมอบให้ ส.ถือหนังสือมอบอำนาจและหนังสือของ พ. ที่ขอเลื่อนการให้การมายื่นต่อศาล-แรงงานกลาง เมื่อจำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่โดยได้แถลงให้ศาลทราบถึงความจำเป็นที่ไม่อาจมาศาลได้ ศาลแรงงานกลางก็ชอบที่ดำเนินการไต่สวนเพื่อจะได้ทราบว่าจำเลยมีเหตุจำเป็นจริงหรือไม่ ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 41
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5076/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งเหตุจำเป็นที่ไม่อาจมาศาลได้และการพิจารณาใหม่คดีแรงงาน
ในวันนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ของศาลแรงงานกลางจำเลยมอบอำนาจให้ พ. มาชี้แจงข้อเท็จจริงแก้ข้อกล่าวหาของโจทก์ แต่ พ. มีความจำเป็นต้องไปตามคำสั่งของเจ้าพนักงานตำรวจจำเลยจึงมอบให้ ส.ถือหนังสือมอบอำนาจและหนังสือของพ.ที่ขอเลื่อนการให้การมายื่นต่อศาลแรงงานกลาง เมื่อจำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่โดยได้แถลงให้ศาลทราบถึงความจำเป็นที่ไม่อาจมาศาลได้ ศาลแรงงานกลางก็ชอบที่ดำเนินการไต่สวนเพื่อจะได้ทราบว่าจำเลยมีเหตุจำเป็นจริงหรือไม่ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 41
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4576/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดี: ผู้ร้องไม่มีอำนาจกระทำแทนบริษัท และไม่เป็นนายจ้างโจทก์ จึงไม่มีอำนาจคัดค้านการฟ้อง
ผู้ร้องมิใช่กรรมการผู้มีอำนาจกระทำแทนบริษัทจำเลย และผู้ร้องก็มิได้มีฐานะเป็นนายจ้างโจทก์ตามกฎหมาย ผู้ร้องคัดค้านและปฏิเสธฟ้องโจทก์เข้ามาในฐานะกรรมการผู้ไม่มีอำนาจกระทำแทนบริษัทจำเลยซึ่งกระทำเป็นการส่วนตัว จึงไม่มีอำนาจที่จะกระทำได้ คำร้องคัดค้านดังกล่าวของผู้ร้องถือไม่ได้ว่าเป็นการร้องสอดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4576/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการร้องคัดค้านคดีแรงงาน: ผู้ถือหุ้นเดิมที่ถูกจำกัดอำนาจ ย่อมไม่มีสิทธิร้องคัดค้านในฐานะนายจ้าง
ผู้ร้องมิใช่กรรมการผู้มีอำนาจกระทำแทนบริษัทจำเลยและผู้ร้องก็มิได้มีฐานะเป็นนายจ้างโจทก์ตามกฎหมายผู้ร้องคัดค้านและปฏิเสธฟ้องโจทก์เข้ามาในฐานะกรรมการผู้ไม่มีอำนาจกระทำแทนบริษัทจำเลยซึ่งกระทำเป็นการส่วนตัวจึงไม่มีอำนาจที่จะกระทำได้ คำร้องคัดค้านดังกล่าวของผู้ร้องถือไม่ได้ว่าเป็นการร้องสอดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3831/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดในคดีแรงงาน: การพิจารณาตาม พ.ร.บ.แรงงาน vs. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
การขาดนัดที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงาน และวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 40,41 เป็นกรณีที่ศาลสั่งรับฟ้องคดีโจทก์แล้วได้สั่งให้โจทก์ มาศาลในวันเวลานัดตามมาตรา 37 เพื่อที่ศาลจะได้ทำการ ไกล่เกลี่ยให้คู่ความได้ตกลงกันตาม มาตรา 38 เท่านั้น เมื่อศาลแรงงานกลางได้มีคำสั่งรับฟ้องของโจทก์แล้ว ได้นัดพิจารณา และสั่งให้โจทก์มาศาลในวันเวลานัดด้วย ซึ่งต่อมาโจทก์และจำเลยที่ 2 ก็ได้มาศาลตามวันเวลานัด ดังกล่าวและศาลได้ทำการไกล่เกลี่ยตามมาตรา 38 แต่ตกลงกัน ไม่ได้ จึงได้จดประเด็นข้อพิพาทไว้ตามมาตรา 39 และได้นัดวัน สืบพยานโจทก์ดังกล่าว จึงมิใช่เป็นการไม่มาศาลตามมาตรา 37 เพราะขั้นตอนต่าง ๆ ตามมาตรา 37,38 และ 39 ได้ผ่านพ้นไปแล้ว และกรณีที่โจทก์ไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ภายหลังจากนั้น พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มิได้บัญญัติวิธีการดำเนินกระบวนพิจารณาไว้ โดยเฉพาะ จึงต้องนำเอาประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 200 มาใช้บังคับโดยอนุโลมดังที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3831/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดีแรงงาน: การใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งโดยอนุโลมเมื่อ พ.ร.บ.แรงงานไม่ได้บัญญัติไว้
บทบัญญัติเกี่ยวกับกรณีขาดนัดที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 40,41 นั้น เป็นกรณีที่ศาลสั่งรับฟ้องแล้วได้สั่งให้โจทก์มาศาลในวันเวลานัดตามมาตรา 37 เพื่อที่ศาลจะได้ทำการไกล่เกลี่ยให้คู่ความได้ตกลงกันตามมาตรา 38 เท่านั้น ส่วนกรณีที่โจทก์ไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ภายหลังจากนั้น พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มิได้บัญญัติวิธีการดำเนินกระบวนพิจารณาไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำเอาประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 200 มาใช้บังคับโดยอนุโลมดังที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3410/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ยื่นคำให้การ และการเลื่อนคดีโดยไม่มีเหตุผลสมควร ศาลไม่อนุญาตให้ยื่นคำให้การได้
ศาลแรงงานกลางอนุญาตให้เลื่อนวันนัดพิจารณาจากวันที่ 28มีนาคม 2532 ไปเป็นวันที่ 17 เมษายน 2532 ตามคำร้อง ของ จำเลยที่อ้างว่า ส. หุ้นส่วนผู้จัดการไปติดต่อธุรกิจในต่างประเทศเป็นการให้โอกาสและความเที่ยงธรรมแก่จำเลยในการต่อสู้คดีตามสมควรแล้ว ในช่วงเวลาดังกล่าวจำเลยอาจยื่นคำให้การได้ในวันหรือก่อนวันนัดพิจารณาครั้งหลัง การที่จำเลยไม่มาศาลในวันนัดพิจารณาดังกล่าวโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้องและไม่ได้ยื่นคำให้การก่อนหรือในวันนัดพิจารณา แสดงว่าจำเลยเห็นว่าวันนัดของศาลไม่ใช่เป็นเรื่องสำคัญ และไม่เอาใจใส่ต่อคดีของตน ดังนั้นที่จำเลยเพิ่งยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การในวันที่ 4 พฤษภาคม 2532 ซึ่งเป็นวันนัดสืบพยานโจทก์ โดยอ้างว่า ส. ไปติดต่อธุรกิจที่ต่างประเทศอีก จึงเป็นพฤติการณ์ที่ถือได้ว่าจำเลยไม่เอาใจใส่ต่อคดีและเจตนาประวิงคดีไม่มีเหตุอันสมควรที่จะอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3410/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่เอาใจใส่คดีและการประวิงคดีของจำเลย ศาลฎีกามีคำพิพากษายืนตามคำสั่งไม่อนุญาตให้ยื่นคำให้การ
ศาลแรงงานกลางอนุญาตให้เลื่อนวันนัดพิจารณาจากวันที่ 28มีนาคม 2532 ไปเป็นวันที่ 17 เมษายน 2532 ตามคำร้อง ของ จำเลยที่อ้างว่า ส. หุ้นส่วนผู้จัดการไปติดต่อธุรกิจในต่างประเทศเป็นการให้โอกาสและความเที่ยงธรรมแก่จำเลยในการต่อสู้คดีตามสมควรแล้ว ในช่วงเวลาดังกล่าวจำเลยอาจยื่นคำให้การได้ในวันหรือก่อนวันนัดพิจารณาครั้งหลัง การที่จำเลยไม่มาศาลในวันนัดพิจารณาดังกล่าวโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้องและไม่ได้ยื่นคำให้การก่อนหรือในวันนัดพิจารณา แสดงว่าจำเลยเห็นว่าวันนัดของศาลไม่ใช่เป็นเรื่องสำคัญ และไม่เอาใจใส่ต่อคดีของตน ดังนั้นที่จำเลยเพิ่งยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การในวันที่ 4 พฤษภาคม 2532 ซึ่งเป็นวันนัดสืบพยานโจทก์ โดยอ้างว่า ส. ไปติดต่อธุรกิจที่ต่างประเทศอีก จึงเป็นพฤติการณ์ที่ถือได้ว่าจำเลยไม่เอาใจใส่ต่อคดีและเจตนาประวิงคดีไม่มีเหตุอันสมควรที่จะอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4823/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่มาศาลตามนัดสืบพยาน ไม่ถือเป็นการขาดนัดพิจารณา สิทธิขอพิจารณาใหม่จึงไม่เกิด
วันที่ 11 เมษายน 2531 อันเป็นวันนัดพิจารณาตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 40 วรรคหนึ่งโจทก์จำเลยมาศาล ศาลแรงงานกลางกำหนดประเด็นข้อพิพาทแล้วกำหนดนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 22 เมษายน 2531 เวลา 9 นาฬิกา วันเวลาดังกล่าวจึงเป็นวันนัดสืบพยานโจทก์ ไม่ใช่วันนัดพิจารณาตามมาตรา 40 วรรคหนึ่ง การที่โจทก์ไม่มาศาลในวันนัดสืบพยาน ศาลแรงงานกลางก็ไม่ได้มีคำสั่งแสดงว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาแต่มีคำสั่งว่าโจทก์ไม่มีพยานนำเข้าสืบ และสั่งงดสืบพยานจำเลยพิพากษายกฟ้องโจทก์กระบวนพิจารณาที่ศาลแรงงานกลางดำเนินคดีมาไม่ใช่เป็นการ ิพิจารณาเลยขาดนัด โจทก์จึงไม่มีสิทธิร้องขอให้พิจารณาใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 207 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31