พบผลลัพธ์ทั้งหมด 141 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3041/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับคำให้การทางวาจาและการยื่นคำให้การเป็นหนังสือ ศาลต้องรับคำให้การใหม่หากยังไม่ได้มีคำสั่งรับคำให้การเดิม
ในวันนัดพิจารณาศาลแรงงานได้บันทึกคำให้การของจำเลยและกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้แล้ว ต่อมาจำเลยยื่นคำให้การเป็นหนังสือ ศาลแรงงานสั่งว่า "จำเลยเคยให้การด้วยวาจาไว้แล้ว รวมสำนวนไว้ สำเนาให้โจทก์" ดังนี้ ไม่เป็นการแสดงว่าศาลแรงงานได้มีคำสั่งรับคำให้การเป็นหนังสือไว้แทนคำให้การที่บันทึกไว้เดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3041/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำให้การใหม่ที่มิได้ยกขึ้นในศาลล่าง เป็นอุทธรณ์ที่ต้องห้ามตามกฎหมาย
ในวันนัดพิจารณาศาลแรงงานได้บันทึกคำให้การของจำเลยและกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้แล้ว ต่อมาจำเลยยื่นคำให้การเป็นหนังสือศาลแรงงานสั่งว่า "จำเลยเคยให้การด้วยวาจาไว้แล้ว รวมสำนวนไว้ สำเนาให้โจทก์" ดังนี้ ไม่เป็นการแสดงว่าศาลแรงงานได้มีคำสั่งรับคำให้การเป็นหนังสือไว้แทนคำให้การที่บันทึกไว้เดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1601-1603/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างต้องพิจารณาเหตุผลในขณะเลิกจ้าง แม้เหตุผลที่อ้างภายหลังไม่ตรงกับเหตุผลที่ใช้ในการเลิกจ้าง
การเลิกจ้างจะเป็นธรรมต่อลูกจ้างหรือไม่นั้น จะต้องพิจารณาถึงเหตุของการเลิกจ้างในขณะที่เลิกจ้างเป็นสำคัญ เมื่อนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างอ้างเหตุว่าลางานเกิน 30 วันในรอบปี 2 ปีติดต่อกัน ดังนั้น ข้อที่อ้างว่านายจ้างขาดความเชื่อถือในตัวลูกจ้างจึงไม่เป็นเหตุของการเลิกจ้างที่นายจ้างจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1601-1603/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างต้องพิจารณาเหตุผลขณะเลิกจ้าง การอ้างเหตุผลอื่นภายหลังใช้ต่อสู้ไม่ได้
การเลิกจ้างจะเป็นธรรมต่อลูกจ้างหรือไม่นั้น จะต้องพิจารณาถึงเหตุของการเลิกจ้างในขณะที่เลิกจ้างเป็นสำคัญเมื่อนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างอ้างเหตุว่าลางานเกิน 30 วันในรอบปี 2 ปีติดต่อกัน ดังนั้น ข้อที่อ้างว่านายจ้างขาดความเชื่อถือในตัวลูกจ้างจึงไม่เป็นเหตุของการ เลิกจ้างที่นายจ้างจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1578-1580/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการได้รับเงินสมทบทุนเมื่อทำงานเกิน 10 ปี แม้ลาออกก่อนเกษียณ หรือถูกเลิกจ้าง
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ทำงานรับจ้างจำเลยมา 11 ปี 3 เดือนแล้วลาออก โจทก์มีสิทธิได้รับเงินสมทบทุนตามข้อบังคับของจำเลยจำเลยต่อสู้คดีด้วยเหตุข้อเดียวว่า โจทก์ต้องทำงานรับจ้างจำเลย 12 ปีจึงจะมีสิทธิรับเงินสมทบทุน ดังนี้ เมื่อข้อบังคับของจำเลยมีความว่า"ในกรณีที่พนักงานผู้ที่ทำงานมากับบริษัทเกินกว่าสิบปีแล้วลาออกก่อนเกษียณอายุโดยเหตุจำเป็นและพนักงานผู้นั้นได้ทำความดีไว้แก่บริษัทเป็นอย่างมาก บริษัทอาจจะพิจารณาจ่ายเงินทุนครบเกษียณอายุให้ก็ได้ ทั้งนี้แล้วแต่ดุลพินิจของบริษัท" โจทก์ซึ่งทำงานมาเกินกว่า10 ปีก็ต้องได้รับเงินสมทบทุนจากจำเลย เพราะจำเลยไม่เคยให้การต่อสู้คดีว่า โจทก์มิได้ทำความดีอย่างมากไว้แก่ บริษัทอันจะเป็นเหตุให้จำเลยใช้ดุลพินิจไม่จ่ายเงินสมทบทุนแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 895/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยขาดนัดพิจารณาคดีแรงงาน ศาลชอบที่จะพิจารณาและตัดสินคดีไปฝ่ายเดียวได้
เมื่อจำเลยไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ซึ่งโจทก์มีหน้าที่นำสืบก่อน ถือได้ว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 197 วรรคสอง ศาลชอบที่จะพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 202 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 โดยไม่จำต้องเลื่อนไปสืบพยานจำเลยอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 895/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยขาดนัดพิจารณาคดีแรงงาน ศาลพิจารณาและชี้ขาดได้โดยไม่ต้องสืบพยานจำเลย
เมื่อจำเลยไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ซึ่งโจทก์มีหน้าที่นำสืบก่อน ถือได้ว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 197 วรรคสอง ศาลชอบที่จะพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 202 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522มาตรา 31 โดยไม่จำต้องเลื่อนไปสืบพยานจำเลยอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3567/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัด การยื่นคำให้การช้า การเปลี่ยนแปลงภูมิลำเนาของนิติบุคคล และผลกระทบต่อการพิจารณาคดี
ศาลแรงงานมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัด ให้พิจารณาชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียวเพราะจำเลยไม่มาศาลในวันพิจารณา เมื่อจำเลยมาศาลในวันนัดสืบพยานและยื่นคำร้องว่าไม่จงใจขาดนัดขอให้ศาลอนุญาตให้ยื่นคำให้การแม้จะพ้นกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันที่ศาลแรงงานมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดซึ่งไม่อาจเพิกถอนคำสั่งนั้นได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 41 ก็ตาม แต่ก็ถือได้ว่าจำเลยมาศาลในระหว่างการพิจารณาคดีฝ่ายเดียวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 205 วรรคสอง ศาลแรงงานต้องพิจารณาว่าการขาดนัดของจำเลยเป็นไปโดยมิได้จงใจหรือมีเหตุอันสมควรหรือไม่ หากได้ความว่าจำเลยขาดนัดโดยมิได้จงใจหรือมีเหตุอันสมควรก็ชอบที่จะอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การและนัดพิจารณาคดีใหม่
ถิ่นที่สำนักงานใหญ่หรือที่ตั้งทำการของนิติบุคคลอันนับว่าเป็นภูมิลำเนาของนิติบุคคลนั้น หมายถึงถิ่นอันเป็นที่ตั้งสำนักงานบริหารกิจการของนิติบุคคลตามความเป็นจริง หาใช่เพียงแต่ปรากฏตามทะเบียนว่าเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่เท่านั้นไม่ฉะนั้น เมื่อโจทก์ทราบว่าภูมิลำเนาของจำเลยซึ่งเป็นนิติบุคคลเปลี่ยนไปแล้ว ก็จะถือเอาประโยชน์จาก การที่ในทะเบียนยังปรากฏว่าจำเลยมีสำนักงานใหญ่อยู่ ณ ภูมิลำเนาเดิมมิได้
ถิ่นที่สำนักงานใหญ่หรือที่ตั้งทำการของนิติบุคคลอันนับว่าเป็นภูมิลำเนาของนิติบุคคลนั้น หมายถึงถิ่นอันเป็นที่ตั้งสำนักงานบริหารกิจการของนิติบุคคลตามความเป็นจริง หาใช่เพียงแต่ปรากฏตามทะเบียนว่าเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่เท่านั้นไม่ฉะนั้น เมื่อโจทก์ทราบว่าภูมิลำเนาของจำเลยซึ่งเป็นนิติบุคคลเปลี่ยนไปแล้ว ก็จะถือเอาประโยชน์จาก การที่ในทะเบียนยังปรากฏว่าจำเลยมีสำนักงานใหญ่อยู่ ณ ภูมิลำเนาเดิมมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3567/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดในคดีแรงงาน การย้ายภูมิลำเนาของจำเลย และสิทธิในการยื่นคำให้การ
ศาลแรงงานมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัด ให้พิจารณาชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียวเพราะจำเลยไม่มาศาลในวันพิจารณา เมื่อจำเลยมาศาลในวันนัดสืบพยานและยื่นคำร้องว่าไม่จงใจขาดนัดขอให้ศาลอนุญาตให้ยื่นคำให้การแม้จะพ้นกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันที่ศาลแรงงานมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดซึ่งไม่อาจเพิกถอนคำสั่งนั้นได้ตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 41 ก็ตาม แต่ก็ถือได้ว่าจำเลยมาศาลในระหว่างการพิจารณาคดีฝ่ายเดียวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 205 วรรคสอง ศาลแรงงานต้องพิจารณาว่าการขาดนัดของจำเลยเป็นไปโดยมิได้จงใจหรือมีเหตุอันสมควรหรือไม่ หากได้ความว่าจำเลยขาดนัดโดยมิได้จงใจหรือมีเหตุอันสมควรก็ชอบที่จะอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การและนัดพิจารณาคดีใหม่
ถิ่นที่สำนักงานใหญ่หรือที่ตั้งทำการของนิติบุคคลอันนับว่าเป็นภูมิลำเนาของนิติบุคคลนั้น หมายถึงถิ่นอันเป็นที่ตั้งสำนักงานบริหารกิจการของนิติบุคคลตามความเป็นจริง หาใช่เพียงแต่ปรากฏตามทะเบียนว่าเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่เท่านั้นไม่ฉะนั้น เมื่อโจทก์ทราบว่าภูมิลำเนาของจำเลยซึ่งเป็นนิติบุคคลเปลี่ยนไปแล้ว ก็จะถือเอาประโยชน์จาก การที่ในทะเบียนยังปรากฏว่าจำเลยมีสำนักงานใหญ่อยู่ ณ ภูมิลำเนาเดิมมิได้
ถิ่นที่สำนักงานใหญ่หรือที่ตั้งทำการของนิติบุคคลอันนับว่าเป็นภูมิลำเนาของนิติบุคคลนั้น หมายถึงถิ่นอันเป็นที่ตั้งสำนักงานบริหารกิจการของนิติบุคคลตามความเป็นจริง หาใช่เพียงแต่ปรากฏตามทะเบียนว่าเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่เท่านั้นไม่ฉะนั้น เมื่อโจทก์ทราบว่าภูมิลำเนาของจำเลยซึ่งเป็นนิติบุคคลเปลี่ยนไปแล้ว ก็จะถือเอาประโยชน์จาก การที่ในทะเบียนยังปรากฏว่าจำเลยมีสำนักงานใหญ่อยู่ ณ ภูมิลำเนาเดิมมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3203/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยที่ 12 มีสิทธิแก้ต่างได้ แม้ไม่ได้ยื่นคำให้การเป็นหนังสือ หากศาลรับรองคำแถลงและกำหนดหน้าที่สืบพยาน
การที่จำเลยที่ 12 แถลงขอถือเอาคำให้การของจำเลยที่ 1 ถึงจำเลยที่ 11 ซึ่งได้ยื่นเป็นหนังสือและศาลแรงงานกลางได้รับคำให้การนั้นแล้วเป็นคำให้การของจำเลยที่ 12 ด้วย และศาลแรงงานกลางได้บันทึกคำแถลงนั้นไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาแล้วกำหนดหน้าที่นำสืบไปตามประเด็นแห่งคดี จึงเท่ากับจำเลยที่ 12 ได้ให้การต่อสู้คดีเช่นเดียวกับคำให้การของจำเลยที่ 1ถึงจำเลยที่ 11และศาลแรงงานกลางได้รับคำให้การนั้นแล้วจำเลยที่ 12 จึงมีสิทธินำพยานเข้าสืบตามข้อต่อสู้ได้