คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ม. 38

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 27 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3904/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องและการสละข้อหาในคดีแรงงาน ศาลอนุญาตได้หากไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ
โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมฟ้องภายหลังยื่นคำฟ้อง ศาลแรงงานมีคำสั่งอนุญาต ในวันนัดพิจารณา ศาลแรงงานมีอำนาจไกล่เกลี่ยคู่ความให้ตกลงกันหรือประนีประนอมยอมความกันและโจทก์แถลงสละข้อหาตามคำฟ้องเพิ่มเติมดังกล่าวในวันนี้ได้ การที่ศาลแรงงานกำหนดประเด็นพิพาทแห่งคดีและมีคำสั่ง ให้โจทก์นำพยานเข้าสืบในวันเดียวกัน จึงชอบด้วย วิธีพิจารณาความแล้ว เมื่อโจทก์ได้สละข้อหาตามคำฟ้องเพิ่มเติมไปแล้วจำเลยจึงไม่จำต้องยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การในประเด็นดังกล่าวเข้ามาอีก เพราะไม่เป็นสาระแก่คดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3831/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดในคดีแรงงาน: การพิจารณาตาม พ.ร.บ.แรงงาน vs. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
การขาดนัดที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงาน และวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 40,41 เป็นกรณีที่ศาลสั่งรับฟ้องคดีโจทก์แล้วได้สั่งให้โจทก์ มาศาลในวันเวลานัดตามมาตรา 37 เพื่อที่ศาลจะได้ทำการ ไกล่เกลี่ยให้คู่ความได้ตกลงกันตาม มาตรา 38 เท่านั้น เมื่อศาลแรงงานกลางได้มีคำสั่งรับฟ้องของโจทก์แล้ว ได้นัดพิจารณา และสั่งให้โจทก์มาศาลในวันเวลานัดด้วย ซึ่งต่อมาโจทก์และจำเลยที่ 2 ก็ได้มาศาลตามวันเวลานัด ดังกล่าวและศาลได้ทำการไกล่เกลี่ยตามมาตรา 38 แต่ตกลงกัน ไม่ได้ จึงได้จดประเด็นข้อพิพาทไว้ตามมาตรา 39 และได้นัดวัน สืบพยานโจทก์ดังกล่าว จึงมิใช่เป็นการไม่มาศาลตามมาตรา 37 เพราะขั้นตอนต่าง ๆ ตามมาตรา 37,38 และ 39 ได้ผ่านพ้นไปแล้ว และกรณีที่โจทก์ไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ภายหลังจากนั้น พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มิได้บัญญัติวิธีการดำเนินกระบวนพิจารณาไว้ โดยเฉพาะ จึงต้องนำเอาประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 200 มาใช้บังคับโดยอนุโลมดังที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3831/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดีแรงงาน: การใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งโดยอนุโลมเมื่อ พ.ร.บ.แรงงานไม่ได้บัญญัติไว้
บทบัญญัติเกี่ยวกับกรณีขาดนัดที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 40,41 นั้น เป็นกรณีที่ศาลสั่งรับฟ้องแล้วได้สั่งให้โจทก์มาศาลในวันเวลานัดตามมาตรา 37 เพื่อที่ศาลจะได้ทำการไกล่เกลี่ยให้คู่ความได้ตกลงกันตามมาตรา 38 เท่านั้น ส่วนกรณีที่โจทก์ไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ภายหลังจากนั้น พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มิได้บัญญัติวิธีการดำเนินกระบวนพิจารณาไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำเอาประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 200 มาใช้บังคับโดยอนุโลมดังที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 765/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมรับข้อตกลงท้าทายทางกฎหมายในคดีแรงงาน และผลผูกพันต่อผู้แทนดำเนินคดี
โจทก์ทั้งเจ็ดคนและจำเลยตกลงท้ากันให้ศาลแรงงานวินิจฉัยว่า การที่ ร. ค้างชำระค่าจ้างโจทก์นั้นจำเลยจะต้องรับผิดด้วยหรือไม่ ถ้าจำเลยไม่ต้องรับผิดโจทก์ยอมแพ้คดี ถ้าต้องรับผิดจำเลยยอมใช้ค่าจ้างตามฟ้อง เมื่อศาลแรงงานวินิจฉัยว่าจำเลยต้องรับผิดใช้ค่าจ้างแก่โจทก์ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ข้อ 7 จำเลยก็ต้องแพ้คดีตามคำท้าหาจำต้องวินิจฉัยว่าลักษณะคดีเป็นจ้างทำของหรือจ้างแรงงานไม่ แต่เมื่อปรากฏว่าศาลแรงงานมิได้พิพากษาให้จำเลยชำระค่าจ้างแก่โจทก์ที่ 5 ซึ่งร่วมท้าด้วย เป็นการไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ที่ 5 ด้วย
ในวันท้ากันดังกล่าวศาลแรงงานจดรายงานกระบวนพิจารณาว่าโจทก์จำเลยและทนายจำเลยมาศาล แต่ไม่มีลายมือชื่อโจทก์ที่1 ในรายงานนั้น และไม่แจ้งว่าโจทก์ที่ 1 ไม่มาศาลคำท้าจะมีผลผูกพันโจทก์ที่ 1 ด้วยหรือไม่ ข้อเท็จจริงยังไม่เพียงพอแก่การวินิจฉัย ศาลฎีกาย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานดำเนินการพิจารณาในข้อนี้แล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 765/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การท้าทายข้อกฎหมายในคดีแรงงาน และผลผูกพันของข้อตกลงต่อโจทก์ที่ไม่ได้ร่วมท้า
โจทก์ทั้งเจ็ดคนและจำเลยตกลงท้ากันให้ศาลแรงงานวินิจฉัยว่า การที่ ร. ค้างชำระค่าจ้างโจทก์นั้นจำเลยจะต้องรับผิดด้วยหรือไม่ ถ้าจำเลยไม่ต้องรับผิดโจทก์ยอมแพ้คดี ถ้าต้องรับผิดจำเลยยอมใช้ค่าจ้างตามฟ้อง เมื่อศาลแรงงานวินิจฉัยว่าจำเลยต้องรับผิดใช้ค่าจ้างแก่โจทก์ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ข้อ 7 จำเลยก็ต้องแพ้คดีตามคำท้าหาจำต้องวินิจฉัยว่าลักษณะคดีเป็นจ้างทำของหรือจ้างแรงงานไม่ แต่เมื่อปรากฏว่าศาลแรงงานมิได้พิพากษาให้จำเลยชำระค่าจ้างแก่โจทก์ที่ 5 ซึ่งร่วมท้าด้วย เป็นการไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ที่ 5 ด้วย
ในวันท้ากันดังกล่าวศาลแรงงานจดรายงานกระบวนพิจารณาว่า โจทก์จำเลยและทนายจำเลยมาศาล แต่ไม่มีลายมือชื่อโจทก์ที่1ในรายงานนั้น และไม่แจ้งว่าโจทก์ที่ 1 ไม่มาศาล คำท้าจะมีผลผูกพันโจทก์ที่ 1 ด้วยหรือไม่ ข้อเท็จจริงยังไม่เพียงพอแก่การวินิจฉัย ศาลฎีกาย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานดำเนินการพิจารณาในข้อนี้แล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3041/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำให้การใหม่ที่มิได้ยกขึ้นในศาลล่าง เป็นอุทธรณ์ที่ต้องห้ามตามกฎหมาย
ในวันนัดพิจารณาศาลแรงงานได้บันทึกคำให้การของจำเลยและกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้แล้ว ต่อมาจำเลยยื่นคำให้การเป็นหนังสือศาลแรงงานสั่งว่า "จำเลยเคยให้การด้วยวาจาไว้แล้ว รวมสำนวนไว้ สำเนาให้โจทก์" ดังนี้ ไม่เป็นการแสดงว่าศาลแรงงานได้มีคำสั่งรับคำให้การเป็นหนังสือไว้แทนคำให้การที่บันทึกไว้เดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3041/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับคำให้การทางวาจาและการยื่นคำให้การเป็นหนังสือ ศาลต้องรับคำให้การใหม่หากยังไม่ได้มีคำสั่งรับคำให้การเดิม
ในวันนัดพิจารณาศาลแรงงานได้บันทึกคำให้การของจำเลยและกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้แล้ว ต่อมาจำเลยยื่นคำให้การเป็นหนังสือ ศาลแรงงานสั่งว่า "จำเลยเคยให้การด้วยวาจาไว้แล้ว รวมสำนวนไว้ สำเนาให้โจทก์" ดังนี้ ไม่เป็นการแสดงว่าศาลแรงงานได้มีคำสั่งรับคำให้การเป็นหนังสือไว้แทนคำให้การที่บันทึกไว้เดิม
of 3