คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ม. 40

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 62 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6514/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายคดีแรงงานเนื่องจากโจทก์ขาดนัดสืบพยาน ไม่แจ้งเหตุ และเกินกรอบเวลาที่กฎหมายกำหนด
การที่โจทก์จะใช้สิทธิขอให้ศาลแรงงานมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีและดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่โดยการแถลงให้ศาลทราบถึงความจำเป็นที่โจทก์ไม่อาจมาศาลตามกำหนดนัดได้ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ศาลแรงงานมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีของโจทก์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 41 จะต้องเป็นกรณีที่ศาลแรงงานมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความตามมาตรา 40 วรรคหนึ่งเนื่องจากโจทก์ได้ทราบคำสั่งให้มาศาลในวันนัดพิจารณาคดีตามมาตรา 37 แล้ว แต่โจทก์ไม่มาศาลตามกำหนดโดยไม่แจ้งให้ศาลแรงงานทราบถึงเหตุที่ไม่มาซึ่งถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีที่ฟ้องอีกต่อไป
ในวันที่ศาลแรงงานนัดพิจารณาตามมาตรา 37 โจทก์และจำเลยมาศาลตามกำหนดนัด จำเลยยื่นคำให้การเป็นหนังสือ ศาลแรงงานได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทแล้ว และได้เลื่อนไปนัดสืบพยานโจทก์ในวันที่ 2 พฤศจิกายน 2542 ดังนั้นวันที่ 2 พฤศจิกายน 2542 จึงเป็นวันนัดสืบพยานโจทก์ เมื่อโจทก์ทราบนัดแล้วไม่มาศาลตามกำหนดศาลแรงงานสั่งจำหน่ายคดีของโจทก์ เนื่องจากโจทก์ไม่ไปศาลตามกำหนดนัดในวันนัดสืบพยานโจทก์ซึ่งล่วงพ้นวันนัดพิจารณาคดีตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 37 แล้ว และวันดังกล่าวไม่ใช่วันนัดพิจารณาตามมาตรา 40 วรรคหนึ่ง คำสั่งของศาลแรงงานจึงเป็นการสั่งให้จำหน่ายคดีเนื่องจากโจทก์ขาดนัดพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง พ.ศ. 2522 มาตรา 201 วรรคหนึ่งประกอบกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 ซึ่งห้ามมิให้โจทก์อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวหรือมีคำขอให้พิจารณาคดีนั้นใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5263/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งศาลแรงงานเกี่ยวกับการพิจารณาใหม่และการวางหลักประกันต้องเป็นไปตามกฎหมายเฉพาะและให้โอกาสคู่ความคัดค้าน
การขอให้พิจารณาใหม่ในคดีแรงงาน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 ได้บัญญัติ เกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้โดยเฉพาะแล้ว จึงต้องบังคับไปตามบทกฎหมายดังกล่าว ไม่อาจนำ ป.วิ.พ. มาใช้บังคับโดยอนุโลมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ได้
จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ต่อศาลแรงงานว่ามิได้จงใจขาดนัด แต่เป็นเพราะจำเลยไม่ได้รับสำเนาคำฟ้องของโจทก์และจำเลยไม่คิดว่าโจทก์จะฟ้องจำเลย เนื่องจากก่อนมีการเลิกจ้างได้มีการตกลงเป็นที่เข้าใจกันแล้ว ถือได้ว่าจำเลยได้อ้างถึงความจำเป็นที่ไม่ได้มาศาลแล้ว เมื่อคำร้องของจำเลยได้ยื่นต่อศาลแรงงานกลางภายในกำหนด เจ็ดวันนับแต่วันที่จำเลยทราบคำบังคับ คำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยจึงชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและ วิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 41 แล้ว ศาลแรงงานต้องรับคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยไว้ดำเนินการ ไต่สวนต่อไป
คำร้องขอของจำเลยที่นำที่ดินมาวางเป็นประกันการทุเลาการบังคับคดีและให้ถอนการอายัดเงิน เป็นคำร้องที่ ป.วิ.พ. มิได้บัญญัติไว้ว่าให้ทำได้แต่ฝ่ายเดียว ซึ่ง ป.วิ.พ. มาตรา 21 (2) บัญญัติห้ามมิให้ศาลทำคำสั่งในเรื่องนั้น โดยมิได้ให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมีโอกาสคัดค้านก่อน การที่ศาลแรงงานมีคำสั่งให้รับที่ดินหลักประกันของจำเลยและ ให้ถอนการอายัดเงินตามคำร้องขอของจำเลย โดยมิได้ให้โอกาสแก่โจทก์โต้แย้งคัดค้านเสียก่อน จึงขัดต่อบทกฎหมาย ดังกล่าวประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5263/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาใหม่ในคดีแรงงานและการทุเลาการบังคับคดี: ศาลต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.แรงงาน และเปิดโอกาสคัดค้าน
การขอให้พิจารณาใหม่ในคดีแรงงาน พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 ได้บัญญัติ เกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้โดยเฉพาะแล้ว จึงไม่อาจนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ได้
จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ต่อศาลแรงงานว่ามิได้จงใจขาดนัด แต่เป็นเพราะจำเลยไม่ได้รับสำเนาคำฟ้องของโจทก์และจำเลยไม่คิดว่าโจทก์จะฟ้องจำเลย เนื่องจากก่อนมีการเลิกจ้างได้มีการตกลงเป็นที่เข้าใจกันแล้วถือได้ว่าจำเลยได้อ้างถึงความจำเป็นที่ไม่ได้มาศาลแล้วเมื่อคำร้องของจำเลยได้ยื่นต่อศาลแรงงานภายในกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันที่จำเลยทราบคำบังคับ คำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยจึงชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 41 แล้ว ศาลแรงงานต้องรับคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยไว้ดำเนินการไต่สวนต่อไป
คำร้องขอของจำเลยที่นำที่ดินมาวางเป็นประกันการทุเลาการบังคับคดีและให้ถอนการอายัดเงิน เป็นคำร้องที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมิได้บัญญัติไว้ว่าให้ทำได้แต่ฝ่ายเดียว ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 21(2) บัญญัติห้ามมิให้ศาลทำคำสั่งในเรื่องนั้น โดยมิได้ให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมีโอกาสคัดค้านก่อน การที่ศาลแรงงานมีคำสั่งให้รับที่ดิน หลักประกันของจำเลยและให้ถอนการอายัดเงินตามคำร้องขอของจำเลย โดยมิได้ให้โอกาสแก่โจทก์โต้แย้งคัดค้านเสียก่อน จึงขัดต่อบทกฎหมาย ดังกล่าวประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3005/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแรงงานพิจารณาคดีขาดนัด & ความรับผิดร่วมของผูรับเหมาในค่าจ้าง & ดอกเบี้ยค่าจ้างค้างจ่าย
ในการพิจารณาพิพากษาคดีแรงงาน แม้ในกรณีจำเลยขาดนัดที่ให้ศาลชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียวนั้น หากศาลแรงงานเห็นว่าตามคำฟ้อง คำให้การคำแถลงของคู่ความ และพยานหลักฐานอื่นที่ปรากฏอยู่ในสำนวน คดีพอวินิจฉัยได้แล้วศาลแรงงานย่อมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีไปได้โดยไม่จำต้องสืบพยานหลักฐานของโจทก์หรือจำเลย
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ข้อ 7 วรรคหนึ่ง กำหนดให้ผู้รับเหมาชั้นต้นต้องร่วมรับผิดกับผู้รับเหมาช่วงซึ่งเป็นนายจ้างในค่าจ้างที่ต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้าง จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับเหมาช่วงและเป็นนายจ้างโจทก์ยังไม่ชำระค่าจ้างให้โจทก์ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รับเหมาชั้นต้น และจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในค่าจ้างตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ31 วรรคหนึ่ง กำหนดไว้เป็นการเฉพาะให้นายจ้างที่ผิดนัดในการจ่ายค่าจ้างต้องจ่ายดอกเบี้ยแก่ลูกจ้างในระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ดังนั้น เมื่อจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างผิดนัดไม่จ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้าง จำเลยจึงต้องจ่ายดอกเบี้ยให้โจทก์ในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3005/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้รับเหมาชั้นต้นต้องร่วมรับผิดในค่าจ้างลูกจ้างของผู้รับเหมาช่วง แม้จำเลยขาดนัดศาลก็วินิจฉัยได้จากเอกสาร
ในการพิจารณาพิพากษาคดีแรงงาน แม้ในกรณีจำเลยขาดนัดที่ให้ศาลชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียวนั้นหากศาลแรงงานเห็นว่าตามคำฟ้อง คำให้การคำแถลงของคู่ความ และพยานหลักฐานอื่นที่ปรากฏอยู่ในสำนวนคดีพอวินิจฉัยได้แล้วศาลแรงงานย่อมมีอำนาจพิจารณา พิพากษาคดีไปได้โดยไม่จำต้องสืบพยานหลักฐานของ โจทก์หรือจำเลย ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ข้อ 7 วรรคหนึ่งกำหนดให้ผู้รับเหมาชั้นต้นต้องร่วมรับผิดกับผู้รับเหมาช่วงซึ่งเป็นนายจ้างในค่าจ้างที่ต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างจำเลยที่ 1 เป็นผู้รับเหมาช่วงและเป็นนายจ้างโจทก์ยังไม่ชำระค่าจ้างให้โจทก์ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รับเหมาชั้นต้น และจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในค่าจ้างตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 31 วรรคหนึ่ง กำหนดไว้เป็นการเฉพาะให้นายจ้างที่ผิดนัดในการจ่ายค่าจ้างต้องจ่ายดอกเบี้ยแก่ลูกจ้างในระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ดังนั้น เมื่อจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างผิดนัดไม่จ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างจำเลยจึงต้องจ่ายดอกเบี้ยให้โจทก์ในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5076/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งเหตุจำเป็นที่ไม่อาจมาศาลได้และการพิจารณาใหม่คดีแรงงาน
ในวันนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ของศาลแรงงานกลางจำเลยมอบอำนาจให้ พ. มาชี้แจงข้อเท็จจริงแก้ข้อกล่าวหาของโจทก์ แต่ พ. มีความจำเป็นต้องไปตามคำสั่งของเจ้าพนักงานตำรวจจำเลยจึงมอบให้ ส.ถือหนังสือมอบอำนาจและหนังสือของพ.ที่ขอเลื่อนการให้การมายื่นต่อศาลแรงงานกลาง เมื่อจำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่โดยได้แถลงให้ศาลทราบถึงความจำเป็นที่ไม่อาจมาศาลได้ ศาลแรงงานกลางก็ชอบที่ดำเนินการไต่สวนเพื่อจะได้ทราบว่าจำเลยมีเหตุจำเป็นจริงหรือไม่ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 41

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3831/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดในคดีแรงงาน: การพิจารณาตาม พ.ร.บ.แรงงาน vs. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
การขาดนัดที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงาน และวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 40,41 เป็นกรณีที่ศาลสั่งรับฟ้องคดีโจทก์แล้วได้สั่งให้โจทก์ มาศาลในวันเวลานัดตามมาตรา 37 เพื่อที่ศาลจะได้ทำการ ไกล่เกลี่ยให้คู่ความได้ตกลงกันตาม มาตรา 38 เท่านั้น เมื่อศาลแรงงานกลางได้มีคำสั่งรับฟ้องของโจทก์แล้ว ได้นัดพิจารณา และสั่งให้โจทก์มาศาลในวันเวลานัดด้วย ซึ่งต่อมาโจทก์และจำเลยที่ 2 ก็ได้มาศาลตามวันเวลานัด ดังกล่าวและศาลได้ทำการไกล่เกลี่ยตามมาตรา 38 แต่ตกลงกัน ไม่ได้ จึงได้จดประเด็นข้อพิพาทไว้ตามมาตรา 39 และได้นัดวัน สืบพยานโจทก์ดังกล่าว จึงมิใช่เป็นการไม่มาศาลตามมาตรา 37 เพราะขั้นตอนต่าง ๆ ตามมาตรา 37,38 และ 39 ได้ผ่านพ้นไปแล้ว และกรณีที่โจทก์ไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ภายหลังจากนั้น พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มิได้บัญญัติวิธีการดำเนินกระบวนพิจารณาไว้ โดยเฉพาะ จึงต้องนำเอาประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 200 มาใช้บังคับโดยอนุโลมดังที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3831/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดในคดีแรงงาน: การนำ ป.วิ.พ. มาใช้บังคับเมื่อ พ.ร.บ.แรงงานฯ ไม่ได้บัญญัติไว้
กรณีขาดนัดที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานมาตรา 40,41 เป็นกรณีที่ศาลรับฟ้องแล้วสั่งให้คู่ความมาศาลในวันนัดตามมาตรา 37 เพื่อศาลจะได้ไกล่เกลี่ยตามมาตรา 38 หากตกลงกันไม่ได้จึงจะจดประเด็นข้อพิพาทตามมาตรา 39 และนัดสืบพยานโจทก์แต่กรณีที่คู่ความไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานภายหลังจากนั้นพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ ไม่ได้บัญญัติไว้เฉพาะต้องนำ ป.วิ.พ.มาใช้บังคับโดยอนุโลมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงาน มาตรา 31.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3410/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ยื่นคำให้การ และการเลื่อนคดีโดยไม่มีเหตุผลสมควร ศาลไม่อนุญาตให้ยื่นคำให้การได้
ศาลแรงงานกลางอนุญาตให้เลื่อนวันนัดพิจารณาจากวันที่ 28มีนาคม 2532 ไปเป็นวันที่ 17 เมษายน 2532 ตามคำร้อง ของ จำเลยที่อ้างว่า ส. หุ้นส่วนผู้จัดการไปติดต่อธุรกิจในต่างประเทศเป็นการให้โอกาสและความเที่ยงธรรมแก่จำเลยในการต่อสู้คดีตามสมควรแล้ว ในช่วงเวลาดังกล่าวจำเลยอาจยื่นคำให้การได้ในวันหรือก่อนวันนัดพิจารณาครั้งหลัง การที่จำเลยไม่มาศาลในวันนัดพิจารณาดังกล่าวโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้องและไม่ได้ยื่นคำให้การก่อนหรือในวันนัดพิจารณา แสดงว่าจำเลยเห็นว่าวันนัดของศาลไม่ใช่เป็นเรื่องสำคัญ และไม่เอาใจใส่ต่อคดีของตน ดังนั้นที่จำเลยเพิ่งยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การในวันที่ 4 พฤษภาคม 2532 ซึ่งเป็นวันนัดสืบพยานโจทก์ โดยอ้างว่า ส. ไปติดต่อธุรกิจที่ต่างประเทศอีก จึงเป็นพฤติการณ์ที่ถือได้ว่าจำเลยไม่เอาใจใส่ต่อคดีและเจตนาประวิงคดีไม่มีเหตุอันสมควรที่จะอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3410/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่เอาใจใส่คดีและการประวิงคดีของจำเลย ศาลฎีกามีคำพิพากษายืนตามคำสั่งไม่อนุญาตให้ยื่นคำให้การ
ศาลแรงงานกลางอนุญาตให้เลื่อนวันนัดพิจารณาจากวันที่ 28มีนาคม 2532 ไปเป็นวันที่ 17 เมษายน 2532 ตามคำร้อง ของ จำเลยที่อ้างว่า ส. หุ้นส่วนผู้จัดการไปติดต่อธุรกิจในต่างประเทศเป็นการให้โอกาสและความเที่ยงธรรมแก่จำเลยในการต่อสู้คดีตามสมควรแล้ว ในช่วงเวลาดังกล่าวจำเลยอาจยื่นคำให้การได้ในวันหรือก่อนวันนัดพิจารณาครั้งหลัง การที่จำเลยไม่มาศาลในวันนัดพิจารณาดังกล่าวโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้องและไม่ได้ยื่นคำให้การก่อนหรือในวันนัดพิจารณา แสดงว่าจำเลยเห็นว่าวันนัดของศาลไม่ใช่เป็นเรื่องสำคัญ และไม่เอาใจใส่ต่อคดีของตน ดังนั้นที่จำเลยเพิ่งยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การในวันที่ 4 พฤษภาคม 2532 ซึ่งเป็นวันนัดสืบพยานโจทก์ โดยอ้างว่า ส. ไปติดต่อธุรกิจที่ต่างประเทศอีก จึงเป็นพฤติการณ์ที่ถือได้ว่าจำเลยไม่เอาใจใส่ต่อคดีและเจตนาประวิงคดีไม่มีเหตุอันสมควรที่จะอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การ
of 7