คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ม. 40

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 62 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4823/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่มาศาลตามนัดสืบพยาน ไม่ถือเป็นการขาดนัดพิจารณา สิทธิขอพิจารณาใหม่จึงไม่เกิด
วันที่ 11 เมษายน 2531 อันเป็นวันนัดพิจารณาตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 40 วรรคหนึ่งโจทก์จำเลยมาศาล ศาลแรงงานกลางกำหนดประเด็นข้อพิพาทแล้วกำหนดนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 22 เมษายน 2531 เวลา 9 นาฬิกา วันเวลาดังกล่าวจึงเป็นวันนัดสืบพยานโจทก์ ไม่ใช่วันนัดพิจารณาตามมาตรา 40 วรรคหนึ่ง การที่โจทก์ไม่มาศาลในวันนัดสืบพยาน ศาลแรงงานกลางก็ไม่ได้มีคำสั่งแสดงว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาแต่มีคำสั่งว่าโจทก์ไม่มีพยานนำเข้าสืบ และสั่งงดสืบพยานจำเลยพิพากษายกฟ้องโจทก์กระบวนพิจารณาที่ศาลแรงงานกลางดำเนินคดีมาไม่ใช่เป็นการ ิพิจารณาเลยขาดนัด โจทก์จึงไม่มีสิทธิร้องขอให้พิจารณาใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 207 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3532/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องคดีแรงงานหลังศาลจำหน่ายคดีออกจากสารบบ และการคำนวณสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
โจทก์เคยฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลาง แล้วโจทก์มิได้ไปศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์จำเลย เช่นนี้เมื่อศาลแรงงานกลางมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความตามมาตรา 40 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ โจทก์มีสิทธิขอให้ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีเพื่อให้ดำเนินกระบวนพิจารณาคดีนั้นต่อไป ใหม่ได้ตามมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว หากโจทก์มิได้ร้องขอดังกล่าวโจทก์ก็มีสิทธิเสนอคำฟ้องของตนต่อศาลแรงงานกลางใหม่ได้ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยอายุความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201 วรรคหนึ่งประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31
จำเลยจ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ทุกวันที่ 5 และ 20 ของเดือนเมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์วันที่ 13 เดือนสิงหาคม โดยมิได้บอกกล่าวล่วงหน้าโจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าได้ถึงวันที่ 5 ของเดือนถัดไปเป็นเวลา 23 วันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3532/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องคดีแรงงานหลังจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ และการคำนวณสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
โจทก์เคยฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลาง แล้วโจทก์มิได้ไปศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์จำเลย เช่นนี้เมื่อศาลแรงงานกลางมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความตามมาตรา 40 วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ โจทก์มีสิทธิขอให้ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีเพื่อให้ดำเนินกระบวนพิจารณาคดีนั้นต่อไปใหม่ได้ตามมาตรา41 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว หากโจทก์มิได้ร้องขอดังกล่าวโจทก์ก็มีสิทธิเสนอคำฟ้องของตนต่อศาลแรงงานกลางใหม่ได้ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยอายุความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201 วรรคหนึ่งประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31
จำเลยจ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ทุกวันที่ 5 และ 20 ของเดือนเมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์วันที่ 13 เดือนสิงหาคม โดยมิได้บอกกล่าวล่วงหน้าโจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าได้ถึงวันที่ 5 ของเดือนถัดไปเป็นเวลา 23 วันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 865-875/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยจงใจขาดนัดพิจารณาคดีหลังเปลี่ยนแปลงอำนาจกรรมการ แม้มีเหตุขัดข้องก่อนหน้า ศาลฎีกายกอุทธรณ์
จำเลยได้รับหมายเรียกและทราบกำหนดนัดพิจารณาของศาลแล้วแต่ไม่แต่งทนายความเข้ามาดำเนินคดีเพราะขณะนั้นจำเลยมีกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนไม่ครบ ต่อมาจำเลยได้ดำเนินการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงอำนาจกรรมการให้ ส. คนเดียวลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัทกระทำการแทนจำเลยได้ ซึ่งหลังจากที่มีการเปลี่ยนแปลงอำนาจกรรมการของจำเลยแล้วยังอยู่ในระหว่างนัดสืบพยานโจทก์ เมื่อจำเลยไม่ดำเนินการแจ้งข้อขัดข้องให้ศาลทราบ ย่อมถือว่าจำเลยจงใจขาดนัดพิจารณา ไม่มีเหตุที่จะขอพิจารณาใหม่.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3567/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดในคดีแรงงาน การย้ายภูมิลำเนาของจำเลย และสิทธิในการยื่นคำให้การ
ศาลแรงงานมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัด ให้พิจารณาชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียวเพราะจำเลยไม่มาศาลในวันพิจารณา เมื่อจำเลยมาศาลในวันนัดสืบพยานและยื่นคำร้องว่าไม่จงใจขาดนัดขอให้ศาลอนุญาตให้ยื่นคำให้การแม้จะพ้นกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันที่ศาลแรงงานมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดซึ่งไม่อาจเพิกถอนคำสั่งนั้นได้ตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 41 ก็ตาม แต่ก็ถือได้ว่าจำเลยมาศาลในระหว่างการพิจารณาคดีฝ่ายเดียวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 205 วรรคสอง ศาลแรงงานต้องพิจารณาว่าการขาดนัดของจำเลยเป็นไปโดยมิได้จงใจหรือมีเหตุอันสมควรหรือไม่ หากได้ความว่าจำเลยขาดนัดโดยมิได้จงใจหรือมีเหตุอันสมควรก็ชอบที่จะอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การและนัดพิจารณาคดีใหม่
ถิ่นที่สำนักงานใหญ่หรือที่ตั้งทำการของนิติบุคคลอันนับว่าเป็นภูมิลำเนาของนิติบุคคลนั้น หมายถึงถิ่นอันเป็นที่ตั้งสำนักงานบริหารกิจการของนิติบุคคลตามความเป็นจริง หาใช่เพียงแต่ปรากฏตามทะเบียนว่าเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่เท่านั้นไม่ฉะนั้น เมื่อโจทก์ทราบว่าภูมิลำเนาของจำเลยซึ่งเป็นนิติบุคคลเปลี่ยนไปแล้ว ก็จะถือเอาประโยชน์จาก การที่ในทะเบียนยังปรากฏว่าจำเลยมีสำนักงานใหญ่อยู่ ณ ภูมิลำเนาเดิมมิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3567/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัด การยื่นคำให้การช้า การเปลี่ยนแปลงภูมิลำเนาของนิติบุคคล และผลกระทบต่อการพิจารณาคดี
ศาลแรงงานมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัด ให้พิจารณาชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียวเพราะจำเลยไม่มาศาลในวันพิจารณา เมื่อจำเลยมาศาลในวันนัดสืบพยานและยื่นคำร้องว่าไม่จงใจขาดนัดขอให้ศาลอนุญาตให้ยื่นคำให้การแม้จะพ้นกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันที่ศาลแรงงานมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดซึ่งไม่อาจเพิกถอนคำสั่งนั้นได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 41 ก็ตาม แต่ก็ถือได้ว่าจำเลยมาศาลในระหว่างการพิจารณาคดีฝ่ายเดียวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 205 วรรคสอง ศาลแรงงานต้องพิจารณาว่าการขาดนัดของจำเลยเป็นไปโดยมิได้จงใจหรือมีเหตุอันสมควรหรือไม่ หากได้ความว่าจำเลยขาดนัดโดยมิได้จงใจหรือมีเหตุอันสมควรก็ชอบที่จะอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การและนัดพิจารณาคดีใหม่
ถิ่นที่สำนักงานใหญ่หรือที่ตั้งทำการของนิติบุคคลอันนับว่าเป็นภูมิลำเนาของนิติบุคคลนั้น หมายถึงถิ่นอันเป็นที่ตั้งสำนักงานบริหารกิจการของนิติบุคคลตามความเป็นจริง หาใช่เพียงแต่ปรากฏตามทะเบียนว่าเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่เท่านั้นไม่ฉะนั้น เมื่อโจทก์ทราบว่าภูมิลำเนาของจำเลยซึ่งเป็นนิติบุคคลเปลี่ยนไปแล้ว ก็จะถือเอาประโยชน์จาก การที่ในทะเบียนยังปรากฏว่าจำเลยมีสำนักงานใหญ่อยู่ ณ ภูมิลำเนาเดิมมิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2810/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดีแรงงานและการพิจารณาคำร้องใหม่เมื่อจำเลยไม่ทราบกำหนดนัด
บทบัญญัติมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 ที่ว่า ในกรณีที่ศาลแรงงานมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาตามมาตรา 40 วรรคสอง หากจำเลยมาแถลงให้ศาลแรงงานทราบถึงความจำเป็นที่ไม่อาจมาศาลได้ภายในกำหนด 7 วัน นับแต่วันที่ศาลแรงงานมีคำสั่ง ศาลแรงงานมีอำนาจไต่สวนถึงเหตุแห่งความจำเป็นนั้นได้และหากเห็นเป็นการสมควร ให้ศาลแรงงานมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งตามมาตรา 40 นั้นใหม่ เสมือนหนึ่งมิได้เคยมีกระบวนพิจารณาเช่นว่านั้น เป็นกรณีที่จำเลยได้รับหมายเรียกและกำหนดนัดพิจารณาแล้ว หากจำเลยอ้างว่าจำเลยไม่ทราบกำหนดนัดพิจารณาเพราะสถานที่ส่งสำเนาคำฟ้องและหมายเรียกไม่ใช่ภูมิลำเนาแท้จริงของจำเลยกรณีต้องปรับด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 208 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2810/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดีแรงงานและการพิจารณาคำร้องใหม่เมื่อจำเลยไม่ทราบกำหนดนัด
บทบัญญัติมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 ที่ว่า ในกรณีที่ศาลแรงงานมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาตามมาตรา 40 วรรคสอง หากจำเลยมาแถลงให้ศาลแรงงานทราบถึงความจำเป็นที่ไม่อาจมาศาลได้ภายในกำหนด 7 วัน นับแต่วันที่ศาลแรงงานมีคำสั่ง ศาลแรงงานมีอำนาจไต่สวนถึงเหตุแห่งความจำเป็นนั้นได้และหากเห็นเป็นการสมควร ให้ศาลแรงงานมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งตามมาตรา 40 นั้นใหม่ เสมือนหนึ่งมิได้เคยมีกระบวนพิจารณาเช่นว่านั้น เป็นกรณีที่จำเลยได้รับหมายเรียกและกำหนดนัดพิจารณาแล้ว หากจำเลยอ้างว่าจำเลยไม่ทราบกำหนดนัดพิจารณาเพราะสถานที่ส่งสำเนาคำฟ้องและหมายเรียกไม่ใช่ภูมิลำเนาแท้จริงของจำเลยกรณีต้องปรับด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 208 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2049/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องซ้ำคดีแรงงานหลังศาลจำหน่ายคดี โจทก์ยังมีสิทธิฟ้องใหม่ได้
การที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งจำหน่ายคดีโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 40 วรรคแรก นั้นมาตรา 41 เพียงแต่บัญญัติให้สิทธิโจทก์ที่จะร้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีและดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปใหม่ได้เท่านั้น มิได้ตัดสิทธิโจทก์ที่จะเสนอคำฟ้องเรื่องเดียวกันนี้ใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1270-1271/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดสืบพยานและภาระการพิสูจน์ในคดีแรงงาน: ศาลมิพักต้องไต่สวนเหตุจำเป็นหากโจทก์ไม่มีพยานสนับสนุนข้ออ้าง
ในวันนัดสืบพยานโจทก์นัดแรก ทนายโจทก์ขอเลื่อนอ้างว่าพยานติดธุระ และแถลงด้วยว่า หากนัดหน้าโจทก์ไม่มีพยานมาศาลอีกยอมให้ถือว่าโจทก์ไม่มีพยานมาสืบศาลแรงงานกลางอนุญาตให้เลื่อนไป ครั้นถึงวันสืบพยานโจทก์ในนัดต่อมา โจทก์ไม่มาศาลโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้อง ศาลแรงงานกลางสั่งงดสืบพยานจำเลยโดยถือว่าโจทก์ไม่มีพยานมาสืบพิพากษาให้โจทก์แพ้คดี ดังนี้ มิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ไม่มาศาลตามกำหนดซึ่งจะต้องจำหน่ายคดีตามมาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ แต่เป็นเรื่องที่โจทก์ไม่มีพยานมาสืบสนับสนุนข้ออ้างของตนไม่มีเหตุที่จะต้องไต่สวนคำร้องที่อ้างถึงความจำเป็นที่ไม่อาจมาศาลได้ตามมาตรา 41
of 7